Facebook :Travel @ Manager
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าที่เขตจอมทอง ในฝั่งธนฯ มีวัดวาอารามมากมายถึง 18 วัดด้วยกัน แต่ละวัดนั้นก็จะมีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจและมีความสำคัญแตกต่างกันไป อย่างที่ “วัดไทร” ที่ฉันกำลังจะไปเยือนในครั้งนี้นั้น ก็เคยเป็นที่ประทับของ “พระเจ้าเสือ” ครั้งที่เสด็จประพาสทางทะเลมื่อ 300 กว่าปีมาแล้ว
ตามประวัติที่ฉันอ่านเจอบริเวณทางเข้าประตูวัดเล่าว่า "วัดไทร" นั้นถือเป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่เดิมมีชื่อว่า "วัดไซ" ซึ่งเขียนตามสำเนียงที่เรียกกัน และจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดไทร” เพราะคาดว่าเดิมมีต้นไทรใหญ่อยู่หน้าวัด โดยในสมัย ร.๔ ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดครั้งแรก และอีกครั้งหนึ่งในสมัย ร.๕ ช่วง พ.ศ. 2416 โดยมอบหมายให้ช่างชาวจีนชื่อ "จีนเต๋า" เป็นผู้ปฏิสังขรณ์
หลังจากที่ฉันอ่านประวัติคร่าวๆ แล้ว ก็ขอเข้าไปกราบพระประธานในอุโบสถหลังงาม ที่ตัวอุโบสถประดับประดาด้วยกระเบื้องสีขาวนวล แซมด้วยกระเบื้องสีต่างๆ เป็นลวดลาย ส่วนหลังคาเป็นกระเบื้องสีน้ำเงินดูโดดเด่น
สำหรับพระประธานด้านในคือ “พระพุทธมงคลอภิปูชนีย์” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวามีพระสาวกนั่งอยู่ ซึ่งหากใครอยากจะเข้ามาสักการะและชมความงามด้านในโบสถ์ ฉันแนะนำให้มาในช่วงที่พระสงฆ์ทำวัตรเช้าหรือเย็นของทุกวันเท่านั้น เพราะในช่วงเวลาอื่นอุโบสถจะไม่ได้เปิดให้เข้าด้านใน
ที่วัดไทรนี้ได้ชื่อว่ามี “โบสถ์ 2 สมัย” ด้วยกัน อุโบสถหลังที่ฉันได้เข้าไปมาแล้วนั้น เป็นอุโบสถสมัยปัจจุบัน (หลังใหม่) ส่วนอุโบสถสมัยแรก หรือที่ชาวบ้านจะเรียกว่า “โบสถ์หลังเก่า” จะตั้งอยู่ด้านหลังของอุโบสถปัจจุบัน สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2461 มีลักษณะเรียบง่ายและมีขนาดย่อมกว่าโบสถ์หลังใหม่ แต่น่าเสียดายที่ทางวัดไม่ได้เปิดให้เข้าไปชมพระพุทธรูปสลักหินทรายสีแดงปางต่างๆ ที่ด้านใน
ใกล้กับโบสถ์หลังเก่านั้น จะเป็นที่ตั้งของ “พระวิหารถาวรสามัคคีธรรม” สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2531 ด้านในมีรูปปั้นของ “พระครูถาวรสมณวงศ์” หรือ “หลวงปู่อ๋อย” อดีตเจ้าอาวาสของวัดไทร ที่ถือเป็นเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านยาสักและเล่นแร่แปรธาตุ เป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้านละแวกนี้ ส่วนด้านขวาของวิหารหลวงปู่อ๋อยจะเป็น “หอระฆังและหอกลองโบราณ” สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2539
จากนั้นฉันจึงหันหลังเดินมุ่งหน้าตรงไปยังบริเวณ “คลองสนามชัย” หรือ “คลองด่าน” เมื่อถึงริมน้ำแล้วให้มองซ้ายมือ จะเจอกับสะพานข้ามทางน้ำ และพอฉันเดินข้ามไปก็พบกับ “ตำหนักทองวัดไทร” หรือ “ตำหนักพระเจ้าเสือ” สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา
ตามประวัติเชื่อว่าเป็นตำหนักประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ) ครั้งเสด็จประพาสทางทะเล และได้แวะพักกลางทางบริเวณนี้ ช่วง พ.ศ.2246 - พ.ศ.2251 ส่วนบริเวณด้านหน้าของตำหนักจะเป็นศาลาท่าเทียบเรือ
ถัดจากตัวตำหนักจะมีศาลาขนาดไม่ใหญ่มากนัก ภายในมีรูปหล่อของ “พ่อหลวงขุนเสือ” (พระเจ้าเสือ) อยู่ ฉันจึงขอเข้าไปสักการะขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนจะเดินกลับ
ระหว่างทางเดินกลับฉันแนะนำให้เดินเลียบริมคลองสนามชัยมาเรื่อยๆ ซึ่งทางวัดทำทางเดินเท้าพร้อมหลังคาทอดยาวตลอดริมคลองไปจนถึงประตูหน้าวัด ช่วยกันแดดและกันฝนได้เป็นอย่างดี โดยบริเวณนี้เป็นเขตอภัยทานสามารถให้อาหารปลาได้ด้วย
หากใครมาที่เที่ยววัดไทรในช่วงเช้าแล้ว ก็อย่าลืมแวะเดินชมบรรยากาศตลาดเช้าเรียงรายอยู่ข้างกำแพงวัด ซึ่งปัจจุบันนี้น่าเสียดายที่ไม่มีตลาดน้ำแล้ว เนื่องจากชาวบ้านเริ่มสัญจรทางบกมากขึ้น แต่ก็ยังพอมีวิถีชีวิตของชาวบ้านริมคลองให้คนเมืองอย่างฉันได้เห็นอยู่บ้าง เป็นเสน่ห์ที่ชวนประทับใจจริงๆ
**************************************
“วัดไทร” ตั้งอยู่ริมคลองสนามชัย (คลองด่าน) บริเวณท้ายสุดของซอยเอกชัย 23 แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าที่เขตจอมทอง ในฝั่งธนฯ มีวัดวาอารามมากมายถึง 18 วัดด้วยกัน แต่ละวัดนั้นก็จะมีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจและมีความสำคัญแตกต่างกันไป อย่างที่ “วัดไทร” ที่ฉันกำลังจะไปเยือนในครั้งนี้นั้น ก็เคยเป็นที่ประทับของ “พระเจ้าเสือ” ครั้งที่เสด็จประพาสทางทะเลมื่อ 300 กว่าปีมาแล้ว
ตามประวัติที่ฉันอ่านเจอบริเวณทางเข้าประตูวัดเล่าว่า "วัดไทร" นั้นถือเป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่เดิมมีชื่อว่า "วัดไซ" ซึ่งเขียนตามสำเนียงที่เรียกกัน และจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดไทร” เพราะคาดว่าเดิมมีต้นไทรใหญ่อยู่หน้าวัด โดยในสมัย ร.๔ ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดครั้งแรก และอีกครั้งหนึ่งในสมัย ร.๕ ช่วง พ.ศ. 2416 โดยมอบหมายให้ช่างชาวจีนชื่อ "จีนเต๋า" เป็นผู้ปฏิสังขรณ์
หลังจากที่ฉันอ่านประวัติคร่าวๆ แล้ว ก็ขอเข้าไปกราบพระประธานในอุโบสถหลังงาม ที่ตัวอุโบสถประดับประดาด้วยกระเบื้องสีขาวนวล แซมด้วยกระเบื้องสีต่างๆ เป็นลวดลาย ส่วนหลังคาเป็นกระเบื้องสีน้ำเงินดูโดดเด่น
สำหรับพระประธานด้านในคือ “พระพุทธมงคลอภิปูชนีย์” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวามีพระสาวกนั่งอยู่ ซึ่งหากใครอยากจะเข้ามาสักการะและชมความงามด้านในโบสถ์ ฉันแนะนำให้มาในช่วงที่พระสงฆ์ทำวัตรเช้าหรือเย็นของทุกวันเท่านั้น เพราะในช่วงเวลาอื่นอุโบสถจะไม่ได้เปิดให้เข้าด้านใน
ที่วัดไทรนี้ได้ชื่อว่ามี “โบสถ์ 2 สมัย” ด้วยกัน อุโบสถหลังที่ฉันได้เข้าไปมาแล้วนั้น เป็นอุโบสถสมัยปัจจุบัน (หลังใหม่) ส่วนอุโบสถสมัยแรก หรือที่ชาวบ้านจะเรียกว่า “โบสถ์หลังเก่า” จะตั้งอยู่ด้านหลังของอุโบสถปัจจุบัน สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2461 มีลักษณะเรียบง่ายและมีขนาดย่อมกว่าโบสถ์หลังใหม่ แต่น่าเสียดายที่ทางวัดไม่ได้เปิดให้เข้าไปชมพระพุทธรูปสลักหินทรายสีแดงปางต่างๆ ที่ด้านใน
ใกล้กับโบสถ์หลังเก่านั้น จะเป็นที่ตั้งของ “พระวิหารถาวรสามัคคีธรรม” สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2531 ด้านในมีรูปปั้นของ “พระครูถาวรสมณวงศ์” หรือ “หลวงปู่อ๋อย” อดีตเจ้าอาวาสของวัดไทร ที่ถือเป็นเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านยาสักและเล่นแร่แปรธาตุ เป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้านละแวกนี้ ส่วนด้านขวาของวิหารหลวงปู่อ๋อยจะเป็น “หอระฆังและหอกลองโบราณ” สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2539
จากนั้นฉันจึงหันหลังเดินมุ่งหน้าตรงไปยังบริเวณ “คลองสนามชัย” หรือ “คลองด่าน” เมื่อถึงริมน้ำแล้วให้มองซ้ายมือ จะเจอกับสะพานข้ามทางน้ำ และพอฉันเดินข้ามไปก็พบกับ “ตำหนักทองวัดไทร” หรือ “ตำหนักพระเจ้าเสือ” สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา
ตามประวัติเชื่อว่าเป็นตำหนักประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ) ครั้งเสด็จประพาสทางทะเล และได้แวะพักกลางทางบริเวณนี้ ช่วง พ.ศ.2246 - พ.ศ.2251 ส่วนบริเวณด้านหน้าของตำหนักจะเป็นศาลาท่าเทียบเรือ
ถัดจากตัวตำหนักจะมีศาลาขนาดไม่ใหญ่มากนัก ภายในมีรูปหล่อของ “พ่อหลวงขุนเสือ” (พระเจ้าเสือ) อยู่ ฉันจึงขอเข้าไปสักการะขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนจะเดินกลับ
ระหว่างทางเดินกลับฉันแนะนำให้เดินเลียบริมคลองสนามชัยมาเรื่อยๆ ซึ่งทางวัดทำทางเดินเท้าพร้อมหลังคาทอดยาวตลอดริมคลองไปจนถึงประตูหน้าวัด ช่วยกันแดดและกันฝนได้เป็นอย่างดี โดยบริเวณนี้เป็นเขตอภัยทานสามารถให้อาหารปลาได้ด้วย
หากใครมาที่เที่ยววัดไทรในช่วงเช้าแล้ว ก็อย่าลืมแวะเดินชมบรรยากาศตลาดเช้าเรียงรายอยู่ข้างกำแพงวัด ซึ่งปัจจุบันนี้น่าเสียดายที่ไม่มีตลาดน้ำแล้ว เนื่องจากชาวบ้านเริ่มสัญจรทางบกมากขึ้น แต่ก็ยังพอมีวิถีชีวิตของชาวบ้านริมคลองให้คนเมืองอย่างฉันได้เห็นอยู่บ้าง เป็นเสน่ห์ที่ชวนประทับใจจริงๆ
**************************************
“วัดไทร” ตั้งอยู่ริมคลองสนามชัย (คลองด่าน) บริเวณท้ายสุดของซอยเอกชัย 23 แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager