Facebook :Travel @ Manager

นานๆ ทีฉันจะมีโอกาสผ่านมาแถววัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (ภูเขาทอง) กรุงเทพฯ ก็เลยขอเข้าวัดไหว้พระทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลกันเสียหน่อย หากใครมาที่วัดแห่งนี้จะต้องไม่พลาดเดินขึ้นบันไดเพื่อไปกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ และชมทิวทัศน์อันงดงามของเมืองกรุงบน “ภูเขาทอง”
นอกจากภูเขาทองแล้ว วัดสระเกศยังมี สิ่งน่าสนใจอันหลากหลาย โดยเฉพาะ 8 จุดไฮไลท์ รอบภูเขาทอง ที่ได้ทำการเปิดตัวไปในช่วงสงกรานต์ของปีนี้

อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะรู้จักกับ 8 จุดที่น่าสนใจ ฉันขอเล่าประวัติความเป็นมาของวัดแห่งนี้คร่าวๆ กันเสียหน่อย “วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร” หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดสระเกศ” เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมใช้ชื่อว่า วัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน (อาบน้ำ) เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2325
ต้นพระศรีมหาโพธิ์
เมื่อได้รู้ประวัติอย่างคร่าวๆ กันแล้ว จากนั้นฉันของพามาชม 8 จุดไฮไลท์ของการจัดงาน โดยเริ่มต้นที่ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” มีอายุกว่า 200 ปี ประวัติความเป็นมาของต้นโพธิ์นั้น มีความว่าสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในลังกา ทรงโปรดให้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ไปปลูกที่ศรีลังกาด้วย จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้มีการส่งสมณทูต โดยมีพระอาจารย์ดี พระอาจารย์เทพ จากวัดสระเกศ เป็นหัวหน้าสมณทูต ไปสืบพระพุทธศาสนาในลังกา กษัตริย์ลังกา ได้พระราชทานหน่อพระศรีมหาโพธิ์ถวายรัชกาลที่ 2 จำนวน 3 หน่อ ทรงโปรดให้ปลูกที่หน้าพระอุโบสถ วัดสระเกศ วัดสุทัศน์ และวัดมหาธาตุ โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกโดยพระองค์เอง ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2357 และได้พระราชทานน้ำสรงต้นพระศรีมหาโพธิ์ในวันสงกรานต์ จึงนับเป็นโบราณราชประเพณีปฏิบัติสืบเนื่องมาเป็นประจำทุกปี

พระอุโบสถ
ต่อมาในจุดที่ 2 ฉันมุ่งหน้าไปที่พระอุโบสถ เพื่อไปชมความงดงามและกราบสักการะหลวงพ่อพระประธาน “พระอุโบสถวัดสระเกศ” ซึ่งถูกสร้างขึ้นใหม่แทนพระอุโบสถหลังเดิมของวัดสระแก ในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยพระอุโบสถนั้นตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว อยู่บนลานกระเบื้องสีเหลืองนวลลวดลายโบราณ มีพัทธสีมากำหนดเขตพระอุโบสถประดิษฐานอยู่รอบ 8 ทิศ ในซุ้มทรงกูบช้าง ประดับด้วยกระเบื้องที่สั่งมาจากเมืองจีนอย่างวิจิตรสวยงาม และที่หน้าบันพระอุโบสถทั้งด้านหน้า-หลัง สลักลายกนก ลายก้านขดประดับกระจกสี ตรงกลางประดับรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เมื่อได้มองแล้ววิจิตสวยงามประทับใจมาก


ภายในพระอุโบสถแห่งนี้ เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระประธาน” พระพุทธรูปปางสมาธิที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ได้ถูกบูรณะใหม่พร้อมกับการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ในสมัยรัชกาลที่1 ด้วยการลงรักปิดทองทับองค์เดิม และเนื่องจากองค์พระประธานมีมาแต่เก่าก่อน รัชกาลที่ 1 จึงไม่ทรงพระราชทานชื่อ คนทั่วไปจึงเรียกพระประธานประจำพระอุโบสถว่า “หลวงพ่อพระประธาน” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และภายในพระอุโบสถยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันงดงามให้ได้ชมอีกด้วย

พระวิหารหลวงพ่ออัฏฐารส
และจุดที่ 3จากนั้นฉันก็เดินต่อมาที่ “พระวิหาร” ซึ่งภายในเป็นที่ประดิษฐาน “พระอัฏฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตร” โดยเป็นพระพุทธรูปยืนศิลปะสมัยสุโขทัยตอนต้น อายุกว่า 700 ปี และเป็นพระพุทธรูปยืนที่มีความสูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร มีความสูงถึง 10.75 เมตร โดยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจาก “วัดวิหารทอง” วัดประจำพระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก มาประดิษฐานที่วิหารแห่งนี้จวบจนปัจจุบัน

พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง)
จุดที่ 4 “พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง)” ชมความงดงามของพระบรมบรรพตภูเขาทอง นับเป็นพุทธสถานที่สำคัญ และเป็นสัญลักษณ์ของวัดที่คนทั่วโลกรู้จักกันมาก โดยภูเขาทองแห่งนี้ รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นไว้เป็นปูชนียสถานในพระนครเหมือนดั่งที่กรุงเก่ามีวัดภูเขาทอง


แต่เนื่องจากที่ตั้งนั้นอยู่ติดน้ำจึงได้เกิดการทรุดลงเสมอ ครั้นพอถึงสมัยรัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าให้สร้างใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2406 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นภูเขา มีพระเจดีย์อยู่ด้านบน และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอด มีบันไดเวียนขึ้นลง 2 สาย และโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อจากภูเขาทองเป็น "บรมบรรพต" แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ทำการก่อสร้างพระบรมบรรพตจนแล้วเสร็จและงดงามมาจนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อดำ
หลังจากขึ้นไปชมพระบรมบรรพตแล้ว จากนั้นฉันก็เดินเรื่อยมาพร้อมกับแวะสักการะ “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่สันนิษฐานว่าสร้างในช่วงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสร้างไว้ให้ผู้ที่ไม่สามารถขึ้นไปบูชาบนองค์บรมบรรพตได้บูชาที่พระพุทธรูปองค์นี้แทน

หลวงพ่อโต
หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปหล่อ ปิดทอง ในสมัยรัชกาลที่ 3 หน้าตักกว้าง 7 ศอก 1 คืบ ส่วนสูง 10 ศอก นับว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะที่ใหญ่มากองค์หนึ่ง พระพุทธรูปที่ใหญ่ขนาดนี้ส่วนมากปั้นด้วยปูน ชาวบ้านเรียกกันว่า “หลวงพ่อโต” คงจะเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปใหญ่นั้นเอง

และอีก 2 จุดสุดท้าย คือ "ศาลาการเปรียญ" และ "ลานกิจกรรมพระเจดีย์ทราย เจดีย์ข้าวสาร" ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถมารับหนังสือ “เป็นบุญจริงๆ นะ” รวมคำสอนเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พร้อมสัมผัสกับบรรยากาศ ตลาดย้อนยุค และการแต่งกาย ชุดไทยที่สวยงาม
นอกจากนี้ภายในงาน ยังมีการจำหน่ายอาหารไทยทั้งคาวและหวาน รวมทั้งการสาธิต งานหัตถศิลป์ต่างๆ เป็นต้น และยังมีกิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรม หมุนเวียนสลับสับเปลี่ยนกันไป ในแต่ละวัน อาทิ ฟ้อนขันดอก เซิ้งโปงลาง การแสดงชุดตารีบุหงา ชุดวิชนี ฟ้อนที (ฟ้อนร่ม) การแสดงไทพวน ตารีกีปัส หุ่นละครเล็กจับนางเวลา นาคาอวยชัย การแสดงชุด กลองเภรีก้องหล้า การแสดงชุดระบำสี่ภาค อีกด้วย
พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เปิดทุกวัน เวลา 8.00 น. - 17.00 น.
การเดินทาง: รถประจำทาง: สาย 8, 15, 37, 47, 49 ปอ. 37, 49 หรือจะนั่งเรือโดยสารคลองแสนแสบ แล้วลงท่าผ่านฟ้าลีลาศ แล้วเดินต่อไปที่วัดศระเกศไม่ไกลมาก
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
นานๆ ทีฉันจะมีโอกาสผ่านมาแถววัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (ภูเขาทอง) กรุงเทพฯ ก็เลยขอเข้าวัดไหว้พระทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลกันเสียหน่อย หากใครมาที่วัดแห่งนี้จะต้องไม่พลาดเดินขึ้นบันไดเพื่อไปกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ และชมทิวทัศน์อันงดงามของเมืองกรุงบน “ภูเขาทอง”
นอกจากภูเขาทองแล้ว วัดสระเกศยังมี สิ่งน่าสนใจอันหลากหลาย โดยเฉพาะ 8 จุดไฮไลท์ รอบภูเขาทอง ที่ได้ทำการเปิดตัวไปในช่วงสงกรานต์ของปีนี้
อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะรู้จักกับ 8 จุดที่น่าสนใจ ฉันขอเล่าประวัติความเป็นมาของวัดแห่งนี้คร่าวๆ กันเสียหน่อย “วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร” หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า “วัดสระเกศ” เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมใช้ชื่อว่า วัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน (อาบน้ำ) เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2325
ต้นพระศรีมหาโพธิ์
เมื่อได้รู้ประวัติอย่างคร่าวๆ กันแล้ว จากนั้นฉันของพามาชม 8 จุดไฮไลท์ของการจัดงาน โดยเริ่มต้นที่ “ต้นพระศรีมหาโพธิ์” มีอายุกว่า 200 ปี ประวัติความเป็นมาของต้นโพธิ์นั้น มีความว่าสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในลังกา ทรงโปรดให้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ไปปลูกที่ศรีลังกาด้วย จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้มีการส่งสมณทูต โดยมีพระอาจารย์ดี พระอาจารย์เทพ จากวัดสระเกศ เป็นหัวหน้าสมณทูต ไปสืบพระพุทธศาสนาในลังกา กษัตริย์ลังกา ได้พระราชทานหน่อพระศรีมหาโพธิ์ถวายรัชกาลที่ 2 จำนวน 3 หน่อ ทรงโปรดให้ปลูกที่หน้าพระอุโบสถ วัดสระเกศ วัดสุทัศน์ และวัดมหาธาตุ โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกโดยพระองค์เอง ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2357 และได้พระราชทานน้ำสรงต้นพระศรีมหาโพธิ์ในวันสงกรานต์ จึงนับเป็นโบราณราชประเพณีปฏิบัติสืบเนื่องมาเป็นประจำทุกปี
พระอุโบสถ
ต่อมาในจุดที่ 2 ฉันมุ่งหน้าไปที่พระอุโบสถ เพื่อไปชมความงดงามและกราบสักการะหลวงพ่อพระประธาน “พระอุโบสถวัดสระเกศ” ซึ่งถูกสร้างขึ้นใหม่แทนพระอุโบสถหลังเดิมของวัดสระแก ในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยพระอุโบสถนั้นตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว อยู่บนลานกระเบื้องสีเหลืองนวลลวดลายโบราณ มีพัทธสีมากำหนดเขตพระอุโบสถประดิษฐานอยู่รอบ 8 ทิศ ในซุ้มทรงกูบช้าง ประดับด้วยกระเบื้องที่สั่งมาจากเมืองจีนอย่างวิจิตรสวยงาม และที่หน้าบันพระอุโบสถทั้งด้านหน้า-หลัง สลักลายกนก ลายก้านขดประดับกระจกสี ตรงกลางประดับรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เมื่อได้มองแล้ววิจิตสวยงามประทับใจมาก
ภายในพระอุโบสถแห่งนี้ เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระประธาน” พระพุทธรูปปางสมาธิที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ได้ถูกบูรณะใหม่พร้อมกับการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ในสมัยรัชกาลที่1 ด้วยการลงรักปิดทองทับองค์เดิม และเนื่องจากองค์พระประธานมีมาแต่เก่าก่อน รัชกาลที่ 1 จึงไม่ทรงพระราชทานชื่อ คนทั่วไปจึงเรียกพระประธานประจำพระอุโบสถว่า “หลวงพ่อพระประธาน” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และภายในพระอุโบสถยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันงดงามให้ได้ชมอีกด้วย
พระวิหารหลวงพ่ออัฏฐารส
และจุดที่ 3จากนั้นฉันก็เดินต่อมาที่ “พระวิหาร” ซึ่งภายในเป็นที่ประดิษฐาน “พระอัฏฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตร” โดยเป็นพระพุทธรูปยืนศิลปะสมัยสุโขทัยตอนต้น อายุกว่า 700 ปี และเป็นพระพุทธรูปยืนที่มีความสูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร มีความสูงถึง 10.75 เมตร โดยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจาก “วัดวิหารทอง” วัดประจำพระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก มาประดิษฐานที่วิหารแห่งนี้จวบจนปัจจุบัน
พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง)
จุดที่ 4 “พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง)” ชมความงดงามของพระบรมบรรพตภูเขาทอง นับเป็นพุทธสถานที่สำคัญ และเป็นสัญลักษณ์ของวัดที่คนทั่วโลกรู้จักกันมาก โดยภูเขาทองแห่งนี้ รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นไว้เป็นปูชนียสถานในพระนครเหมือนดั่งที่กรุงเก่ามีวัดภูเขาทอง
แต่เนื่องจากที่ตั้งนั้นอยู่ติดน้ำจึงได้เกิดการทรุดลงเสมอ ครั้นพอถึงสมัยรัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าให้สร้างใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2406 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นภูเขา มีพระเจดีย์อยู่ด้านบน และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอด มีบันไดเวียนขึ้นลง 2 สาย และโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อจากภูเขาทองเป็น "บรมบรรพต" แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ทำการก่อสร้างพระบรมบรรพตจนแล้วเสร็จและงดงามมาจนถึงปัจจุบัน
หลวงพ่อดำ
หลังจากขึ้นไปชมพระบรมบรรพตแล้ว จากนั้นฉันก็เดินเรื่อยมาพร้อมกับแวะสักการะ “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่สันนิษฐานว่าสร้างในช่วงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสร้างไว้ให้ผู้ที่ไม่สามารถขึ้นไปบูชาบนองค์บรมบรรพตได้บูชาที่พระพุทธรูปองค์นี้แทน
หลวงพ่อโต
หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปหล่อ ปิดทอง ในสมัยรัชกาลที่ 3 หน้าตักกว้าง 7 ศอก 1 คืบ ส่วนสูง 10 ศอก นับว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะที่ใหญ่มากองค์หนึ่ง พระพุทธรูปที่ใหญ่ขนาดนี้ส่วนมากปั้นด้วยปูน ชาวบ้านเรียกกันว่า “หลวงพ่อโต” คงจะเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปใหญ่นั้นเอง
และอีก 2 จุดสุดท้าย คือ "ศาลาการเปรียญ" และ "ลานกิจกรรมพระเจดีย์ทราย เจดีย์ข้าวสาร" ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถมารับหนังสือ “เป็นบุญจริงๆ นะ” รวมคำสอนเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พร้อมสัมผัสกับบรรยากาศ ตลาดย้อนยุค และการแต่งกาย ชุดไทยที่สวยงาม
นอกจากนี้ภายในงาน ยังมีการจำหน่ายอาหารไทยทั้งคาวและหวาน รวมทั้งการสาธิต งานหัตถศิลป์ต่างๆ เป็นต้น และยังมีกิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรม หมุนเวียนสลับสับเปลี่ยนกันไป ในแต่ละวัน อาทิ ฟ้อนขันดอก เซิ้งโปงลาง การแสดงชุดตารีบุหงา ชุดวิชนี ฟ้อนที (ฟ้อนร่ม) การแสดงไทพวน ตารีกีปัส หุ่นละครเล็กจับนางเวลา นาคาอวยชัย การแสดงชุด กลองเภรีก้องหล้า การแสดงชุดระบำสี่ภาค อีกด้วย
พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เปิดทุกวัน เวลา 8.00 น. - 17.00 น.
การเดินทาง: รถประจำทาง: สาย 8, 15, 37, 47, 49 ปอ. 37, 49 หรือจะนั่งเรือโดยสารคลองแสนแสบ แล้วลงท่าผ่านฟ้าลีลาศ แล้วเดินต่อไปที่วัดศระเกศไม่ไกลมาก
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager