Facebook :Travel @ Manager
ยังคงเป็นกระแสโด่งดังอยู่มาก สำหรับละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ที่นอกจากจะทำให้หลายๆ คนหันกลับมาชมละครไทยอีกครั้ง ก็ยังทำให้เกิดการท่องเที่ยวตามรอยละครเรื่องนี้ จนทำให้แหล่งท่องเที่ยวหลายๆ จุดแทบแตก อย่างที่ วัดไชยวัฒนาราม วัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา ก็เกิดกระแสแต่งชุดไทยชมวัดกันขึ้น เรียกว่าทำให้การท่องเที่ยวของอยุธยาคึกคักขึ้นทันตาเห็น
แต่ต้องบอกว่าแหล่งท่องเที่ยวตามรอยละครบุพเพสันนิวาส ไม่ได้มีเพียงแค่สองจุดนี้เท่านั้น ยังมีอีกหลายแห่งที่เป็นทั้งพื้นที่ตามประวัติศาสตร์จริงที่ปรากฏอยู่ในละคร และบางแห่งก็เป็นจุดที่ใช้ถ่ายทำฉากต่างๆ ในเรื่อง “ตะลอนเที่ยว” เลยได้รวบรวม “13 จุด ตามรอยละครบุพเพสันนิวาส” ให้ได้ไปเก็บภาพสวยๆ กัน
วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
ใครที่อยากตามรอยละครเรื่องนี้ ก็ต้องคิดถึง “วัดไชยวัฒนาราม” เป็นแห่งแรก ด้วยเป็นฉากที่เปิดตั้งแต่ตอนแรกของเรื่อง ทั้งในยุคปัจจุบัน และในยุคกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังมีความงดงามด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ยิ่งได้ใส่ชุดไทยสวยๆ มาถ่ายรูปที่นี่ก็เหมาะเป็นอย่างยิ่ง
ที่นี่เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยมีการนำรูปแบบแผนผังของวัดมาจากนครวัด มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลางตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส และมีปรางค์บริวารอยู่รายล้อม แล้วก็มีระเบียงคดภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยจำนวน 120 องค์
มุมยอดฮิตในการถ่ายรูปที่วัดไชยวัฒนาราม อยู่ที่หน้าวัด บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา หันหน้ากลับเข้ามาทางวัด จะเห็นปรางค์ประธานองค์ใหญ่เด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลาง มาดูช่วงกลางวันก็ว่าสวยแล้ว แต่ช่วงย่ำค่ำ พระอาทิตย์ตกดิน ก็จะมีการเปิดไฟส่องสว่างรอบๆ วัด ทำให้องค์พระปรางค์ดูงามอร่ามโดดเด่นเสียยิ่งกว่าตอนกลางวัน น่าเสียดายที่ช่วงนี้มีการบูรณะบางส่วนภายในวัด จนทำให้มุมถ่ายรูปน้อยลงไปด้วย แต่ลองเดินดูรอบๆ วัด และบริเวณระเบียงคด ก็มีจุดสวยๆ หลายจุดให้ได้ชม
วัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา
ก็เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติการสร้างมาตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา มีการวางผังตามความนิยมของวัดในสมัยอยุธยาตอนต้น คือ มีพระปรางค์องค์ใหญ่อยู่ตรงกลาง ศิลปะอยุธยาตอนต้นผสมศิลปะแบบขอม มีระเบียงคดล้อมรอบ ภายในระเบียงคดประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นเรียงรายอยู่โดยรอบ ด้านข้างพระปรางค์ มีมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ส่วนด้านหน้าก็มีพระวิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังเป็นโบสถ์
เหตุที่วัดนี้เป็นอีกหนึ่งแห่งที่รอดพ้นจากการถูกเผาทำลายในช่วงการเสียกรุงครั้งที่ 2 เนื่องจากเป็นวัดที่อยู่นอกเมือง จึงทำให้ยังมีโบราณสถานและโบราณวัตถุหลงเหลือให้เราเห็นได้อีกมากมาย แม้ว่าจะมีบางส่วนพังทลายลงไปบ้างก็ตาม
ใครที่อยากถ่ายรูปจุดเดียวกับแม่หญิงการะเกดแบบเป๊ะๆ ให้เดินมาบริเวณประตูด้านหลังองค์ปรางค์ประธาน คือจุดที่เป็นประตูลงอาคม พอผ่านประตูเข้ามาก็จะเห็นพระพุทธรูปสีทองอร่ามภายในระเบียงคด ถ้าได้ใส่ชุดไทยมาเดินอยู่ตามทางก็ดูเก๋ไก๋ไม่น้อย
วัดเชิงท่า จ.พระนครศรีอยุธยา
ในเรื่องนั้นกำหนดให้เป็นวัดเดิมอโยธยา เป็นตอนที่บ้านออกญาโหราธิบดีนั่งเรือมาทำบุญกันที่วัด ฉากนี้ถ่ายทำกันในศาลาการเปรียญหลังเก่า ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในมีธรรมาสน์ปิดทองคำเปลวงดงาม ลายจำหลักไม้หน้าบันว่ากันว่าเป็นของเดิมที่เหลือรอดมาจากครั้งกรุงแตก มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติในปฐมสมโพธิกถา
และภายในวัดแห่งนี้ยังมีจุดน่าสนใจอีกก็คือ พระปรางค์ห้ายอดสมัยอยุธยา ซึ่งมีลักษณะพิเศษ ก่อฐานพระปรางค์เป็นทรงแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสร้างวิหารยื่นออกไปเป็นรูปกากบาท โดยเฉพาะทางทิศใต้ซึ่งเป็นด้านหน้าวัดแต่เดิม (หันหน้ามาทางแม่น้ำ) สร้างเป็นวิหารขนาดใหญ่ เป็นมหาปราสาทยอดปรางค์ที่สามารถพบได้ที่วัดเชิงท่าแห่งนี้ที่เดียว
วัดธรรมาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
ถ้ายังจำฉากก่อพระเจดีย์ทรายในงานวัดกันได้ ก็คือฉากที่มาถ่ายทำที่ “วัดธรรมาราม” แห่งนี้ โดยวัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับเจดีย์ศรีสุริโยทัย
ที่ตั้งของวัด ในอดีตมักจะเป็นที่ตั้งของค่ายกองทัพพม่า เนื่องจากตั้งอยู่ตรงข้ามกับพระราชวังโบราณ ใกล้กับจุดตัดของแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำเจ้าพรยา ถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง ปัจจุบัน ภายในวัดมีเจดีย์ประธานทรงกลมบนฐานประทักษิณสี่เหลี่ยมเป็นประธานของวัด มีพระวิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก และพระอุโบสถตั้งอยู่ทางดัานหลังของเจดีย์ประธานทางทิศตะวันตก ส่วนหอไตรและหอระฆังตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำทางทิศตะวันออก ในเขตสังฆาวาส
ตลาดอยุธยาไนท์มาร์เก็ต และ ถนนคนเดินตลาดกรุงศรี จ.พระนครศรีอยุธยา
เห็นขึ้นชื่อว่าเป็นตลาด อาจจะสงสัยว่าที่นี่มีอะไรให้มาตามรอยละคร จำฉากที่แม่หญิงมาชอปปิ้งที่ “ป่าผ้าเหลือง” ได้หรือไม่ ที่นี่มีขายทั้งสบง จีวร และเครื่องอัฐบริขาร เพื่อนำไปถวายพระ ซึ่งที่ตั้งของป่าผ้าเหลืองนั้น ปัจจุบันก็คือ “ตลาดอยุธยาไนท์มาร์เก็ต” และ “ถนนคนเดินตลาดกรุงศรี” นั่นเอง
บริเวณริมถนนศรีสรรเพชญ์ ด้านข้างศาลากลางเก่า เป็นที่ตั้งของ “ตลาดอยุธยาไนท์มาร์เก็ต” ที่จะเปิดบริการในช่วงเย็นไปถึงค่ำๆ ของวันศุกร์-อาทิตย์ ลึกเข้าไปด้านในก็จะเป็น “ถนนคนเดินตลาดกรุงศรี” ที่จะเปิดทุกวัน ทั้งกลางวันและกลางคืน มีทั้งตลาดบกและตลาดน้ำ ที่ให้บรรยากาศของตลาดเก่า ด้วยพ่อค้าแม่ค้าที่นุ่งโจงห่มสไบมาขายของกัน ถ้าอยากทำตัวให้กลมกลืน ลองแต่งชุดไทยมาเดินเล่นที่ตลาดด้วยก็ได้
วิหารพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา
จากฉากในละคร จะสามารถมองเห็นวิหารพระมงคลบพิตรได้จากบริเวณป่าผ้าเหลือง โดยวิหารแห่งนี้ ภายในประดิษฐาน “พระมงคลบพิตร” พระพุทธรูปโบราณองค์ใหญ่ สันนิษฐานว่าเดิมประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาได้มีการอัญเชิญมาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ (จุดที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน) และมีการสร้างมณฑปครอบไว้ ต่อมาได้รับความเสียหายเมื่อช่วงเสียกรุงครั้งที่ 2 แล้วจึงมีการบูรณะขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจนกลายเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่สีทองอร่ามแบบที่เห็นในปัจจุบัน
ป้อมเพชร จ.พระนครศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักบรรจบกัน จุดนี้จะมีเรือสำเภาจากต่างชาติที่เข้ามาค้าขายกับอยุธยาจอดเรียงรายอยู่ โดยสินค้าสำคัญที่ทางอยุธยาส่งออกขายก็มีพวกเครื่องเทศ พริกไทย ข้าว ของป่า ไม้กฤษณา กำยาน น้ำมันครั่ง และเครื่องถ้วยสังคโลกของสุโขทัย
และบริเวณสามเปลี่ยมปากแม่น้ำนี้เอง ก็จะมีป้อมสำคัญตั้งอยู่ คือ “ป้อมเพชร” ถือเป็นป้อมที่มีขนาดใหญ่และมีสำคัญที่สุดในเชิงยุทธศาสตร์จากจำนวน 16 ป้อมที่อยู่รอบพระนคร เพราะเป็นประตูเมืองที่ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามาจากโลกภายนอก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่ใช้ติดต่อกับต่างชาติอีกด้วย
ปัจจุบัน แม้ป้อมเพชรจะหลงเหลือเพียงซากปรักหักพัง แต่ก็ยังเป็นจุดที่มีความสวยงาม สามารถมายืนชมวิวจุดบรรจบของแม่น้ำสองสาย ทางซ้ายมือจะเป็นแม่น้ำป่าสัก มี “วัดพนัญเชิง” ตั้งอยู่ทางฝั่งตรงข้ามป้อม ส่วนด้านขวามือเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา มี “วัดบางกระจะ” ตั้งอยู่ตรงข้ามป้อม
หมู่บ้านโปรตุเกส จ.พระนครศรีอยุธยา
เป็นชุมชนของชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายและอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ในบรรดาชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายในสมัยอยุธยานั้น ชาวโปรตุเกสถือเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามา มีการเจริญสัมพันธไมตรีกันอย่างเป็นทางการ จากนั้น ชาวโปรตุเกสมีความดีความชอบในการเข้าร่วมสงคราม จึงได้รับพระราชทานที่ดินเป็นบำเหน็จรางวัล ให้ชาวโปรตุเกสมาตั้งบ้านเรือนและสร้างวัดถือศาสนาคริสต์ได้อย่างเสรี
ในหมู่บ้านโปรตุเกสยุคกรุงศรีอยุธยา จะมีโบสถ์ในคริสต์ศาสนาอยู่ 3 แห่ง คือ โบสถ์นักบุญเปรโตร คณะโดมินิกัน, โบสถ์คณะฟรานซิสกัน และ โบสถ์เซนต์เปาโล (คณะเยซูอิต) ในปัจจุบัน หากมาที่หมู่บ้านโปรตุเกสก็จะพบเพียงแค่ซากโบสถ์นักบุญเปรโตร คณะโดมินิกัน และบริเวณด้านหน้าโบสถ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีการขุดค้นพบสุสานที่มีโครงกระดูกมนุษย์ฝังอยู่กว่า 200 โครง ซึ่งมีการจัดแสดงเป็นตัวอย่าง และมีนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับชุมชนชาวโปรตุเกสด้วย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา
ที่นี่จะเห็นอยู่ในฉากที่เกศสุรางค์นั่งเรียนหนังสือในยุคปัจจุบัน ซึ่งที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และศิลปวัตถุที่พบใน จ.พระนครศรีอยุธยา และจากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานที่สำคัญๆ ไว้มากมาย ซึ่งจัดแสดงไว้ภายใน 3 อาคาร
ภายในอาคารตึกเจ้าสามพระยา ซึ่งเป็นอาคารหลักที่สำคัญที่สุด ด้านในอาคารชั้นล่างมีการจัดแสดงพระพุทธรูปโบราณที่งดงามอันล้ำค่ามากมาย และมีงานแกะสลักไม้ฝีมือช่างสมัยอยุธยาอันตื่นตาให้ได้ชม ด้านบนมีของโบราณหลากหลายให้ได้ชมมากมายไม่ว่าจะเป็น ใบเสมาโบราณ ตู้พระไตรปิฎก พระพุทธรูปเก่าแก่ และมีห้องที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุโบราณให้ได้สักการะ ห้องจัดแสดงทองคำ พระทองคำ ของโบราณมากมายที่ได้มาจากกรุวัดราชบูรณะ
ส่วนอีกสองอาคาร คือ หมู่อาคารเรือนไทย ที่จัดแสดงเพื่อรักษารูปแบบเรือนไทยภาคกลาง มีสิ่งของเครื่องใช้ในอดีตแสดงอยู่ และ อาคารศิลปะในประเทศไทย จัดแสดงศิลปะวัตถุสมัยต่างๆ ที่รวบรวมได้จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จ.ลพบุรี
เนื่องจากในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 โดยได้เสด็จมาประทับที่ลพบุรีทุกปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน และในช่วงปลายรัชกาลก็เสด็จมาประทับที่ลพบุรีเกือบจะตลอดทั้งปี จนกระทั่งเสด็จสวรรคตที่นี่ด้วย
เมื่อสร้างลพบุรีให้เป็นราชธานีแห่งที่สอง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังขึ้นที่นี่ด้วย เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชวังแห่งนี้ถูกทิ้งร้าง มาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการบูรณะพระราชวังเดิม และมีการสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ และมีการพระราชทานนามพระราชวังแห่งนี้ว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์”
ปัจจุบัน พระนารายณ์ราชนิเวศน์ถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ โดยยังมีพระที่นั่ง และสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลงเหลือให้ชมอยู่ พื้นที่ภายในพระราชวังแบ่งออกเป็นสามเขต เริ่มจาก “เขตพระราชฐานชั้นนอก” มี “อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก” ที่เป็นระบบการจ่ายน้ำผ่านท่อดินเผาที่เชื่อมมาจากอ่างซับเหล็ก “สิบสองท้องพระคลัง” มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ผนังประตูและหน้าต่างเจาะเป็นช่อโค้งแหลม จำนวน 12 ห้อง เรียงกันเป็นแถวยาว 2 แถว แถวละ 6 ห้อง สันนิษฐานว่าใช้เป็นสถานที่เก็บของหรือทรัพย์สมบัติต่างๆ
“ตึกเลี้ยงรับรองแขกเมือง” ตั้งอยู่กลางอุทยาน ใกล้กับสิบสองท้องพระคลัง ล้อมรอบด้วยสระน้ำขนาดใหญ่ 3 สระ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานเลี้ยงแก่คณะทูตจากประเทศฝรั่งเศส ณ ตึกแห่งนี้ “ตึกพระเจ้าเหา” สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นหอพระประจำพระราชวัง และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายในตึก ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้อาจมีชื่อว่าพระเจ้าเหา จึงเป็นชื่อของตึกนี้ “โรงช้างหลวง” มีทั้งหมด 10 โรง
ต่อมาเป็น “เขตพระราชฐานชั้นกลาง” ด้านในประกอบด้วย “ทิมดาบ” เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ใช้เป็นที่ตั้งของทหารรักษาการเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ “พระที่นั่งจันทรพิศาล” ตามบันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวไว้ว่า เป็นหอประชุมขององคมนตรี สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2401 โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นใหม่บริเวณที่เดิมเป็นพระที่นั่งสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ใช้เป็นท้องพระโรงด้านหน้ามีมุขเด็จสำหรับออกให้ข้าราชการเฝ้า “พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท” สร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มียอดแหลมทรงมณฑป ศิลปกรรมแบบไทยผสมฝรั่งเศส
และยังมี “หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ” ซึ่งประกอบด้วยอาคารทั้งหมด 4 หลัง ได้แก่ พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย พระที่นั่งไชยศาสตรากร และ พระที่นั่งอักษรศาสตราคม ปัจจุบัน ที่พระที่นั่งจันทรพิศาลและพระที่นั่งพิมานมงกุฎ จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ ใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์” โดยมีการจัดแสดงโบราณวัตถุตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในลพบุรี รวมถึงการจัดแสดงเป็นห้องบรรทมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ส่วน “เขตพระราชฐานชั้นใน” ประกอบด้วย “พระที่นั่งสุทธาสวรรย์” เป็นพระที่นั่ง2ชั้นก่ออิฐถือปูนมุงหลังคากระเบื้องเคลือบแบบจีน เป็นพระที่นั่งที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2231 โดยทางพิพิธภัณฑ์ไม่อนุญาตให้ขึ้นไปบนฐานของพระที่นั่งองค์นี้ “หมู่ตึกพระประเทียบ” ตั้งอยู่ด้านหลังพระที่นั่งพิมานมงกุฎ ใช้เป็นที่พักของข้าราชการฝ่ายใน สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บ้านหลวงรับราชทูต จ.ลพบุรี
หรือที่รู้จักกันในชื่อ “บ้านวิชาเยนทร์” ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อคราวรับราชทูตฝรั่งเศส โดยระหว่างที่ไม่มีคณะทูต ก็ได้โปรดให้ออกญาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นผู้ดูแลหมู่ตึกนี้ จึงทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นบ้านของออกญาวิชาเยนทร์
ภายในพื้นที่หมู่ตึกนี้ มีทั้งโบสถ์ในศาสนาคริสต์ ผังโบสถ์เป็นแบบยุโรปแต่มีซุ้มประตุหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้ว มีบัวปลายเสาเป็นรูปกลีบบัวยาว ซึ่งเป็นศิลปะแบบไทย แล้วก็ยังมีที่พักอาศัย ห้องจัดเลี้ยง โรงครัว ฯลฯ
ที่บ้านหลวงรับราชทูตแห่งนี้ ก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งสามารถแต่งชุดไทยมาถ่ายภาพกันได้อย่างสวยงาม และเป็นอีกหนึ่งฉากที่ปรากฎอยู่ในเนื้อเรื่องของละครบุพเพสันนิวาส ตอนที่แม่หญิงการะเกดเดินทางมายังเมืองละโว้ และได้แวะมาเยี่ยมเยียนแม่มะลิ (มารี กีมาร์) ที่บ้านหลังนี้
พระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี
อีกหนึ่งสัญลักษณ์สำคัญของเมืองลพบุรี ที่แม่หญิงการะเกดอยากเห็นหนักหนา มีลักษณะเป็นพระปรางค์เรียงต่อกันสามองค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมต่อกัน โดยองค์พระปรางค์นี้เป็นศิลปะเขมรแบบบายน สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลงและตกแต่งลวดลายปูนปั้นสวยงาม เดิมนั้นน่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาดัดแปลงเป็นเทวสถาน โดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ด้านในองค์พระปรางค์
จนมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้มีการบูรณะให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรปในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันยังคงประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง
หากมาเดินชมบริเวณพระปรางค์สามยอด ก็จะเห็นฝูงลิงกระจายตัวอยู่รอบๆ ตามบ่อน้ำบ้าง ตามพื้นหญ้าบ้าง ตามองค์พระปรางค์บ้าง เลยมีนักท่องเที่ยวนิยมให้อาหารลิงจ๋อเหล่านี้ ทั้งบริเวณที่ศาลพระกาฬ และบริเวณพระปรางค์สามยอด
เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ
หากดูในแผนที่ของเมืองโบราณ จะเห็นว่ามีรูปร่างคล้ายกับแผนที่ประเทศไทย โดยมีการจำลองงานสถาปัตยกรรมอันสวยงามและทรงคุณค่าของไทยมาไว้มากมาย มีทั้งสถาปัตยกรรมที่รื้อถอนจากของจริงมาปลูก มีทั้งการจำลองมาจากของจริง และใช้องค์ความรู้สร้างขึ้นมาใหม่
สถาปัตยกรรมสวยๆ แบบนี้ มีใช้ชมครบทุกภาคทั่วประเทศไทย อย่างเช่น พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ที่จำลองมาจากยุคกรุงศรีอยุธยา พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จำลองมาจากในพระบรมมหาราชวัง วิหารหลวงวัดมหาธาตุ จาก จ.สุโขทัย พระธาตุพนม จาก จ.นครพนม เป็นต้น
ส่วนใครที่อยากมาเที่ยวตลาดเหมือนแม่หญิงการะเกด ต้องมาที่โซนตลาดน้ำของเมืองโบราณ เพราะที่นี่มีการจำลองตลาดน้ำแบบโบราณ มาแต่งชุดไทยแล้วเดินถ่ายภาพที่นี่ ได้บรรยากาศสุดๆ
เตือนกันไว้นิดสำหรับใครที่จะไปเที่ยวตามรอยละคร อยากให้ช่วยกันดูแลรักษาสถานที่และสิ่งของต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ในวัดและโบราณสถานต่างๆ ควรให้ความเคารพสถานที่ โพสท่าอย่างสำรวม ไม่ปีนป่ายหรือทำความเสียหายแก่โบราณสถานและโบราณวัตถุ เพื่อที่แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้จะได้คงอยู่ให้คนอื่นๆ ได้มาร่วมชื่นชมกันด้วย
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ยังคงเป็นกระแสโด่งดังอยู่มาก สำหรับละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ที่นอกจากจะทำให้หลายๆ คนหันกลับมาชมละครไทยอีกครั้ง ก็ยังทำให้เกิดการท่องเที่ยวตามรอยละครเรื่องนี้ จนทำให้แหล่งท่องเที่ยวหลายๆ จุดแทบแตก อย่างที่ วัดไชยวัฒนาราม วัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา ก็เกิดกระแสแต่งชุดไทยชมวัดกันขึ้น เรียกว่าทำให้การท่องเที่ยวของอยุธยาคึกคักขึ้นทันตาเห็น
แต่ต้องบอกว่าแหล่งท่องเที่ยวตามรอยละครบุพเพสันนิวาส ไม่ได้มีเพียงแค่สองจุดนี้เท่านั้น ยังมีอีกหลายแห่งที่เป็นทั้งพื้นที่ตามประวัติศาสตร์จริงที่ปรากฏอยู่ในละคร และบางแห่งก็เป็นจุดที่ใช้ถ่ายทำฉากต่างๆ ในเรื่อง “ตะลอนเที่ยว” เลยได้รวบรวม “13 จุด ตามรอยละครบุพเพสันนิวาส” ให้ได้ไปเก็บภาพสวยๆ กัน
วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
ใครที่อยากตามรอยละครเรื่องนี้ ก็ต้องคิดถึง “วัดไชยวัฒนาราม” เป็นแห่งแรก ด้วยเป็นฉากที่เปิดตั้งแต่ตอนแรกของเรื่อง ทั้งในยุคปัจจุบัน และในยุคกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังมีความงดงามด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ยิ่งได้ใส่ชุดไทยสวยๆ มาถ่ายรูปที่นี่ก็เหมาะเป็นอย่างยิ่ง
ที่นี่เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยมีการนำรูปแบบแผนผังของวัดมาจากนครวัด มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลางตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส และมีปรางค์บริวารอยู่รายล้อม แล้วก็มีระเบียงคดภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยจำนวน 120 องค์
มุมยอดฮิตในการถ่ายรูปที่วัดไชยวัฒนาราม อยู่ที่หน้าวัด บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา หันหน้ากลับเข้ามาทางวัด จะเห็นปรางค์ประธานองค์ใหญ่เด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลาง มาดูช่วงกลางวันก็ว่าสวยแล้ว แต่ช่วงย่ำค่ำ พระอาทิตย์ตกดิน ก็จะมีการเปิดไฟส่องสว่างรอบๆ วัด ทำให้องค์พระปรางค์ดูงามอร่ามโดดเด่นเสียยิ่งกว่าตอนกลางวัน น่าเสียดายที่ช่วงนี้มีการบูรณะบางส่วนภายในวัด จนทำให้มุมถ่ายรูปน้อยลงไปด้วย แต่ลองเดินดูรอบๆ วัด และบริเวณระเบียงคด ก็มีจุดสวยๆ หลายจุดให้ได้ชม
วัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา
ก็เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติการสร้างมาตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา มีการวางผังตามความนิยมของวัดในสมัยอยุธยาตอนต้น คือ มีพระปรางค์องค์ใหญ่อยู่ตรงกลาง ศิลปะอยุธยาตอนต้นผสมศิลปะแบบขอม มีระเบียงคดล้อมรอบ ภายในระเบียงคดประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นเรียงรายอยู่โดยรอบ ด้านข้างพระปรางค์ มีมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ส่วนด้านหน้าก็มีพระวิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังเป็นโบสถ์
เหตุที่วัดนี้เป็นอีกหนึ่งแห่งที่รอดพ้นจากการถูกเผาทำลายในช่วงการเสียกรุงครั้งที่ 2 เนื่องจากเป็นวัดที่อยู่นอกเมือง จึงทำให้ยังมีโบราณสถานและโบราณวัตถุหลงเหลือให้เราเห็นได้อีกมากมาย แม้ว่าจะมีบางส่วนพังทลายลงไปบ้างก็ตาม
ใครที่อยากถ่ายรูปจุดเดียวกับแม่หญิงการะเกดแบบเป๊ะๆ ให้เดินมาบริเวณประตูด้านหลังองค์ปรางค์ประธาน คือจุดที่เป็นประตูลงอาคม พอผ่านประตูเข้ามาก็จะเห็นพระพุทธรูปสีทองอร่ามภายในระเบียงคด ถ้าได้ใส่ชุดไทยมาเดินอยู่ตามทางก็ดูเก๋ไก๋ไม่น้อย
วัดเชิงท่า จ.พระนครศรีอยุธยา
ในเรื่องนั้นกำหนดให้เป็นวัดเดิมอโยธยา เป็นตอนที่บ้านออกญาโหราธิบดีนั่งเรือมาทำบุญกันที่วัด ฉากนี้ถ่ายทำกันในศาลาการเปรียญหลังเก่า ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในมีธรรมาสน์ปิดทองคำเปลวงดงาม ลายจำหลักไม้หน้าบันว่ากันว่าเป็นของเดิมที่เหลือรอดมาจากครั้งกรุงแตก มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติในปฐมสมโพธิกถา
และภายในวัดแห่งนี้ยังมีจุดน่าสนใจอีกก็คือ พระปรางค์ห้ายอดสมัยอยุธยา ซึ่งมีลักษณะพิเศษ ก่อฐานพระปรางค์เป็นทรงแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสร้างวิหารยื่นออกไปเป็นรูปกากบาท โดยเฉพาะทางทิศใต้ซึ่งเป็นด้านหน้าวัดแต่เดิม (หันหน้ามาทางแม่น้ำ) สร้างเป็นวิหารขนาดใหญ่ เป็นมหาปราสาทยอดปรางค์ที่สามารถพบได้ที่วัดเชิงท่าแห่งนี้ที่เดียว
วัดธรรมาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
ถ้ายังจำฉากก่อพระเจดีย์ทรายในงานวัดกันได้ ก็คือฉากที่มาถ่ายทำที่ “วัดธรรมาราม” แห่งนี้ โดยวัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับเจดีย์ศรีสุริโยทัย
ที่ตั้งของวัด ในอดีตมักจะเป็นที่ตั้งของค่ายกองทัพพม่า เนื่องจากตั้งอยู่ตรงข้ามกับพระราชวังโบราณ ใกล้กับจุดตัดของแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำเจ้าพรยา ถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง ปัจจุบัน ภายในวัดมีเจดีย์ประธานทรงกลมบนฐานประทักษิณสี่เหลี่ยมเป็นประธานของวัด มีพระวิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก และพระอุโบสถตั้งอยู่ทางดัานหลังของเจดีย์ประธานทางทิศตะวันตก ส่วนหอไตรและหอระฆังตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำทางทิศตะวันออก ในเขตสังฆาวาส
ตลาดอยุธยาไนท์มาร์เก็ต และ ถนนคนเดินตลาดกรุงศรี จ.พระนครศรีอยุธยา
เห็นขึ้นชื่อว่าเป็นตลาด อาจจะสงสัยว่าที่นี่มีอะไรให้มาตามรอยละคร จำฉากที่แม่หญิงมาชอปปิ้งที่ “ป่าผ้าเหลือง” ได้หรือไม่ ที่นี่มีขายทั้งสบง จีวร และเครื่องอัฐบริขาร เพื่อนำไปถวายพระ ซึ่งที่ตั้งของป่าผ้าเหลืองนั้น ปัจจุบันก็คือ “ตลาดอยุธยาไนท์มาร์เก็ต” และ “ถนนคนเดินตลาดกรุงศรี” นั่นเอง
บริเวณริมถนนศรีสรรเพชญ์ ด้านข้างศาลากลางเก่า เป็นที่ตั้งของ “ตลาดอยุธยาไนท์มาร์เก็ต” ที่จะเปิดบริการในช่วงเย็นไปถึงค่ำๆ ของวันศุกร์-อาทิตย์ ลึกเข้าไปด้านในก็จะเป็น “ถนนคนเดินตลาดกรุงศรี” ที่จะเปิดทุกวัน ทั้งกลางวันและกลางคืน มีทั้งตลาดบกและตลาดน้ำ ที่ให้บรรยากาศของตลาดเก่า ด้วยพ่อค้าแม่ค้าที่นุ่งโจงห่มสไบมาขายของกัน ถ้าอยากทำตัวให้กลมกลืน ลองแต่งชุดไทยมาเดินเล่นที่ตลาดด้วยก็ได้
วิหารพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา
จากฉากในละคร จะสามารถมองเห็นวิหารพระมงคลบพิตรได้จากบริเวณป่าผ้าเหลือง โดยวิหารแห่งนี้ ภายในประดิษฐาน “พระมงคลบพิตร” พระพุทธรูปโบราณองค์ใหญ่ สันนิษฐานว่าเดิมประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาได้มีการอัญเชิญมาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ (จุดที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน) และมีการสร้างมณฑปครอบไว้ ต่อมาได้รับความเสียหายเมื่อช่วงเสียกรุงครั้งที่ 2 แล้วจึงมีการบูรณะขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจนกลายเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่สีทองอร่ามแบบที่เห็นในปัจจุบัน
ป้อมเพชร จ.พระนครศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักบรรจบกัน จุดนี้จะมีเรือสำเภาจากต่างชาติที่เข้ามาค้าขายกับอยุธยาจอดเรียงรายอยู่ โดยสินค้าสำคัญที่ทางอยุธยาส่งออกขายก็มีพวกเครื่องเทศ พริกไทย ข้าว ของป่า ไม้กฤษณา กำยาน น้ำมันครั่ง และเครื่องถ้วยสังคโลกของสุโขทัย
และบริเวณสามเปลี่ยมปากแม่น้ำนี้เอง ก็จะมีป้อมสำคัญตั้งอยู่ คือ “ป้อมเพชร” ถือเป็นป้อมที่มีขนาดใหญ่และมีสำคัญที่สุดในเชิงยุทธศาสตร์จากจำนวน 16 ป้อมที่อยู่รอบพระนคร เพราะเป็นประตูเมืองที่ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามาจากโลกภายนอก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่ใช้ติดต่อกับต่างชาติอีกด้วย
ปัจจุบัน แม้ป้อมเพชรจะหลงเหลือเพียงซากปรักหักพัง แต่ก็ยังเป็นจุดที่มีความสวยงาม สามารถมายืนชมวิวจุดบรรจบของแม่น้ำสองสาย ทางซ้ายมือจะเป็นแม่น้ำป่าสัก มี “วัดพนัญเชิง” ตั้งอยู่ทางฝั่งตรงข้ามป้อม ส่วนด้านขวามือเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา มี “วัดบางกระจะ” ตั้งอยู่ตรงข้ามป้อม
หมู่บ้านโปรตุเกส จ.พระนครศรีอยุธยา
เป็นชุมชนของชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายและอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ในบรรดาชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายในสมัยอยุธยานั้น ชาวโปรตุเกสถือเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามา มีการเจริญสัมพันธไมตรีกันอย่างเป็นทางการ จากนั้น ชาวโปรตุเกสมีความดีความชอบในการเข้าร่วมสงคราม จึงได้รับพระราชทานที่ดินเป็นบำเหน็จรางวัล ให้ชาวโปรตุเกสมาตั้งบ้านเรือนและสร้างวัดถือศาสนาคริสต์ได้อย่างเสรี
ในหมู่บ้านโปรตุเกสยุคกรุงศรีอยุธยา จะมีโบสถ์ในคริสต์ศาสนาอยู่ 3 แห่ง คือ โบสถ์นักบุญเปรโตร คณะโดมินิกัน, โบสถ์คณะฟรานซิสกัน และ โบสถ์เซนต์เปาโล (คณะเยซูอิต) ในปัจจุบัน หากมาที่หมู่บ้านโปรตุเกสก็จะพบเพียงแค่ซากโบสถ์นักบุญเปรโตร คณะโดมินิกัน และบริเวณด้านหน้าโบสถ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีการขุดค้นพบสุสานที่มีโครงกระดูกมนุษย์ฝังอยู่กว่า 200 โครง ซึ่งมีการจัดแสดงเป็นตัวอย่าง และมีนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับชุมชนชาวโปรตุเกสด้วย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา
ที่นี่จะเห็นอยู่ในฉากที่เกศสุรางค์นั่งเรียนหนังสือในยุคปัจจุบัน ซึ่งที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และศิลปวัตถุที่พบใน จ.พระนครศรีอยุธยา และจากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานที่สำคัญๆ ไว้มากมาย ซึ่งจัดแสดงไว้ภายใน 3 อาคาร
ภายในอาคารตึกเจ้าสามพระยา ซึ่งเป็นอาคารหลักที่สำคัญที่สุด ด้านในอาคารชั้นล่างมีการจัดแสดงพระพุทธรูปโบราณที่งดงามอันล้ำค่ามากมาย และมีงานแกะสลักไม้ฝีมือช่างสมัยอยุธยาอันตื่นตาให้ได้ชม ด้านบนมีของโบราณหลากหลายให้ได้ชมมากมายไม่ว่าจะเป็น ใบเสมาโบราณ ตู้พระไตรปิฎก พระพุทธรูปเก่าแก่ และมีห้องที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุโบราณให้ได้สักการะ ห้องจัดแสดงทองคำ พระทองคำ ของโบราณมากมายที่ได้มาจากกรุวัดราชบูรณะ
ส่วนอีกสองอาคาร คือ หมู่อาคารเรือนไทย ที่จัดแสดงเพื่อรักษารูปแบบเรือนไทยภาคกลาง มีสิ่งของเครื่องใช้ในอดีตแสดงอยู่ และ อาคารศิลปะในประเทศไทย จัดแสดงศิลปะวัตถุสมัยต่างๆ ที่รวบรวมได้จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จ.ลพบุรี
เนื่องจากในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 โดยได้เสด็จมาประทับที่ลพบุรีทุกปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน และในช่วงปลายรัชกาลก็เสด็จมาประทับที่ลพบุรีเกือบจะตลอดทั้งปี จนกระทั่งเสด็จสวรรคตที่นี่ด้วย
เมื่อสร้างลพบุรีให้เป็นราชธานีแห่งที่สอง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังขึ้นที่นี่ด้วย เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชวังแห่งนี้ถูกทิ้งร้าง มาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการบูรณะพระราชวังเดิม และมีการสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ และมีการพระราชทานนามพระราชวังแห่งนี้ว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์”
ปัจจุบัน พระนารายณ์ราชนิเวศน์ถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ โดยยังมีพระที่นั่ง และสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลงเหลือให้ชมอยู่ พื้นที่ภายในพระราชวังแบ่งออกเป็นสามเขต เริ่มจาก “เขตพระราชฐานชั้นนอก” มี “อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก” ที่เป็นระบบการจ่ายน้ำผ่านท่อดินเผาที่เชื่อมมาจากอ่างซับเหล็ก “สิบสองท้องพระคลัง” มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ผนังประตูและหน้าต่างเจาะเป็นช่อโค้งแหลม จำนวน 12 ห้อง เรียงกันเป็นแถวยาว 2 แถว แถวละ 6 ห้อง สันนิษฐานว่าใช้เป็นสถานที่เก็บของหรือทรัพย์สมบัติต่างๆ
“ตึกเลี้ยงรับรองแขกเมือง” ตั้งอยู่กลางอุทยาน ใกล้กับสิบสองท้องพระคลัง ล้อมรอบด้วยสระน้ำขนาดใหญ่ 3 สระ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานเลี้ยงแก่คณะทูตจากประเทศฝรั่งเศส ณ ตึกแห่งนี้ “ตึกพระเจ้าเหา” สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นหอพระประจำพระราชวัง และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายในตึก ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้อาจมีชื่อว่าพระเจ้าเหา จึงเป็นชื่อของตึกนี้ “โรงช้างหลวง” มีทั้งหมด 10 โรง
ต่อมาเป็น “เขตพระราชฐานชั้นกลาง” ด้านในประกอบด้วย “ทิมดาบ” เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ใช้เป็นที่ตั้งของทหารรักษาการเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ “พระที่นั่งจันทรพิศาล” ตามบันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวไว้ว่า เป็นหอประชุมขององคมนตรี สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2401 โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นใหม่บริเวณที่เดิมเป็นพระที่นั่งสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ใช้เป็นท้องพระโรงด้านหน้ามีมุขเด็จสำหรับออกให้ข้าราชการเฝ้า “พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท” สร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มียอดแหลมทรงมณฑป ศิลปกรรมแบบไทยผสมฝรั่งเศส
และยังมี “หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ” ซึ่งประกอบด้วยอาคารทั้งหมด 4 หลัง ได้แก่ พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย พระที่นั่งไชยศาสตรากร และ พระที่นั่งอักษรศาสตราคม ปัจจุบัน ที่พระที่นั่งจันทรพิศาลและพระที่นั่งพิมานมงกุฎ จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ ใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์” โดยมีการจัดแสดงโบราณวัตถุตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในลพบุรี รวมถึงการจัดแสดงเป็นห้องบรรทมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ส่วน “เขตพระราชฐานชั้นใน” ประกอบด้วย “พระที่นั่งสุทธาสวรรย์” เป็นพระที่นั่ง2ชั้นก่ออิฐถือปูนมุงหลังคากระเบื้องเคลือบแบบจีน เป็นพระที่นั่งที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2231 โดยทางพิพิธภัณฑ์ไม่อนุญาตให้ขึ้นไปบนฐานของพระที่นั่งองค์นี้ “หมู่ตึกพระประเทียบ” ตั้งอยู่ด้านหลังพระที่นั่งพิมานมงกุฎ ใช้เป็นที่พักของข้าราชการฝ่ายใน สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บ้านหลวงรับราชทูต จ.ลพบุรี
หรือที่รู้จักกันในชื่อ “บ้านวิชาเยนทร์” ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อคราวรับราชทูตฝรั่งเศส โดยระหว่างที่ไม่มีคณะทูต ก็ได้โปรดให้ออกญาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นผู้ดูแลหมู่ตึกนี้ จึงทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นบ้านของออกญาวิชาเยนทร์
ภายในพื้นที่หมู่ตึกนี้ มีทั้งโบสถ์ในศาสนาคริสต์ ผังโบสถ์เป็นแบบยุโรปแต่มีซุ้มประตุหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้ว มีบัวปลายเสาเป็นรูปกลีบบัวยาว ซึ่งเป็นศิลปะแบบไทย แล้วก็ยังมีที่พักอาศัย ห้องจัดเลี้ยง โรงครัว ฯลฯ
ที่บ้านหลวงรับราชทูตแห่งนี้ ก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งสามารถแต่งชุดไทยมาถ่ายภาพกันได้อย่างสวยงาม และเป็นอีกหนึ่งฉากที่ปรากฎอยู่ในเนื้อเรื่องของละครบุพเพสันนิวาส ตอนที่แม่หญิงการะเกดเดินทางมายังเมืองละโว้ และได้แวะมาเยี่ยมเยียนแม่มะลิ (มารี กีมาร์) ที่บ้านหลังนี้
พระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี
อีกหนึ่งสัญลักษณ์สำคัญของเมืองลพบุรี ที่แม่หญิงการะเกดอยากเห็นหนักหนา มีลักษณะเป็นพระปรางค์เรียงต่อกันสามองค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมต่อกัน โดยองค์พระปรางค์นี้เป็นศิลปะเขมรแบบบายน สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลงและตกแต่งลวดลายปูนปั้นสวยงาม เดิมนั้นน่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาดัดแปลงเป็นเทวสถาน โดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ด้านในองค์พระปรางค์
จนมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้มีการบูรณะให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรปในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันยังคงประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง
หากมาเดินชมบริเวณพระปรางค์สามยอด ก็จะเห็นฝูงลิงกระจายตัวอยู่รอบๆ ตามบ่อน้ำบ้าง ตามพื้นหญ้าบ้าง ตามองค์พระปรางค์บ้าง เลยมีนักท่องเที่ยวนิยมให้อาหารลิงจ๋อเหล่านี้ ทั้งบริเวณที่ศาลพระกาฬ และบริเวณพระปรางค์สามยอด
เมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ
หากดูในแผนที่ของเมืองโบราณ จะเห็นว่ามีรูปร่างคล้ายกับแผนที่ประเทศไทย โดยมีการจำลองงานสถาปัตยกรรมอันสวยงามและทรงคุณค่าของไทยมาไว้มากมาย มีทั้งสถาปัตยกรรมที่รื้อถอนจากของจริงมาปลูก มีทั้งการจำลองมาจากของจริง และใช้องค์ความรู้สร้างขึ้นมาใหม่
สถาปัตยกรรมสวยๆ แบบนี้ มีใช้ชมครบทุกภาคทั่วประเทศไทย อย่างเช่น พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ที่จำลองมาจากยุคกรุงศรีอยุธยา พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จำลองมาจากในพระบรมมหาราชวัง วิหารหลวงวัดมหาธาตุ จาก จ.สุโขทัย พระธาตุพนม จาก จ.นครพนม เป็นต้น
ส่วนใครที่อยากมาเที่ยวตลาดเหมือนแม่หญิงการะเกด ต้องมาที่โซนตลาดน้ำของเมืองโบราณ เพราะที่นี่มีการจำลองตลาดน้ำแบบโบราณ มาแต่งชุดไทยแล้วเดินถ่ายภาพที่นี่ ได้บรรยากาศสุดๆ
เตือนกันไว้นิดสำหรับใครที่จะไปเที่ยวตามรอยละคร อยากให้ช่วยกันดูแลรักษาสถานที่และสิ่งของต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ในวัดและโบราณสถานต่างๆ ควรให้ความเคารพสถานที่ โพสท่าอย่างสำรวม ไม่ปีนป่ายหรือทำความเสียหายแก่โบราณสถานและโบราณวัตถุ เพื่อที่แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้จะได้คงอยู่ให้คนอื่นๆ ได้มาร่วมชื่นชมกันด้วย
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager