Facebook :Travel @ Manager

ช่วงนี้คอละครคงกำลังรอให้ถึงวันพุธ-พฤหัส เร็วๆ จะได้ดูละครยอดฮิต “บุพเพสันนิวาส” เรื่องราวระหว่างแม่หญิงการะเกดกับขุนหมื่นกำลังดำเนินไปอย่างสนุกสนาน ขณะเดียวกันก็ทำให้คนดูได้ทราบเรื่องราวประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาที่น่าสนใจในช่วงแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอีกด้วย
ในละครเรื่องนี้ยังมีตัวละครสำคัญที่มีตัวตนจริงอยู่ในประวัติศาสตร์แผ่นดินอยุธยาอย่าง “ท้าวทองกีบม้า” หรือดอญ่า มารี กีมาร์ (Dona Marie Guimar) สตรีผู้ที่เป็นลูกผสมมีเชื้อสายโปรตุเกส ญี่ปุ่นและเบงกาลี เธอผู้นี้เป็นภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (นามเดิม คอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวกรีก) อัครมหาเสนาบดีผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


เนื่องจากสามีมีตำแหน่งหน้าที่การงานใหญ่โต หน้าที่หลักของเธอจึงเป็นการจัดสำรับอาหารคาวหวานออกต้อนรับแขกเหรื่อที่มาเยือน และฝีมือทำอาหารของเธอก็ไม่น้อยหน้าใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมนูของหวานที่มีต้นตำรับสืบทอดมาจากสายเลือดโปรตุเกสของเธอ
ขนมไทยโบราณมักจะมีส่วนผสมของแป้ง น้ำตาล มะพร้าวและกะทิเป็นหลัก แต่ขนมที่มารี กีมาร์ทำนั้นใช้ไข่แดงกับน้ำตาลเป็นหลัก ทำให้รสชาติหอมหวานและมีสีเหลืองทองงดงาม จนกลายมาเป็นชื่อของขนมตระกูลทองทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ทองพลุ ฯลฯ วิธีทำก็คล้ายกันคือใช้ไข่แดงจากไข่เป็ดลงไปต้มในน้ำเชื่อมเดือดๆ ถ้าเป็นฝอยทองก็โรยในน้ำเชื่อมเดือดๆ ให้เป็นเส้น ถ้าเป็นทองหยอดก็ตักไข่แดงหยอดลงไปในน้ำเชื่อมให้เป็นลูกกลมๆ หรือถ้าเป็นทองหยิบก็ตักไข่แดงต้มในน้ำเชื่อมให้เป็นเป็นแผ่น แล้วนำมาหยิบเป็นจีบใส่ถ้วยตะไลให้คงรูป
ไม่เพียงอร่อยถูกใจคนไทยและฝรั่งต่างชาติในแผ่นกรุงศรีอยุธยา แต่ชื่อที่ตั้งมายังมีคำว่า “ทอง” อันมีความหมายเป็นมงคล ดังนั้นในงานบุญต่างๆ คนไทยจึงมักเตรียมทำขนมเหล่านี้ถวายพระและให้แขกเหรื่อได้ชิม ขนมเหล่านี้จึงเป็นที่นิยมสืบทอดกันต่อมาจนปัจจุบัน และขนมที่คนไทยในสมัยนั้นเคยเรียกว่าเป็น “ขนมฝรั่ง” แต่ทุกวันนี้ ขนมที่มีต้นกำเนิดจากฝรั่งเหล่านั้นกลับถูกเรียกว่าเป็น “ขนมไทย” และใช้ในงานมงคลของไทยมาจนถึงทุกวันนี้


ไม่เพียงขนมตระกูลทองเท่านั้น แต่ขนมอื่นๆ อย่างเม็ดขนุน ลูกชุบ หรือขนมหม้อแกง ก็เชื่อว่ามีที่มาจากขนมของโปรตุเกสด้วยเช่นกัน โดยทุกวันนี้ในประเทศโปรตุเกสเองก็ยังมีขนมที่หน้าตาและรสชาติคล้ายกันกับขนมของบ้านเรา
ส่วนมารี กีมาร์นั้น หลังจากที่สามีเสียชีวิตไป ในช่วงบั้นปลายชีวิตเธอได้เข้ามารับราชการเป็นหัวหน้าพนักงานเครื่องต้นในวังในแผ่นดินของสมเด็จพระเพทราชา อีกทั้งยังมีหน้าที่ดูแลฉลองพระองค์และเครื่องใช้ต่างๆ ภายในพระราชวัง เป็นที่รู้จักกันในชื่อท้าวทองกีบม้า ก่อนที่จะเสียชีวิตไปเมื่อใดไม่ทราบเพราะไม่มีบันทึกไว้
แต่ชื่อของ “ท้าวทองกีบม้า” ยังคงเป็นที่กล่าวขานมาจนถึงปัจจุบันในฐานะผู้ที่เชื่อมสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส ผ่านขนมฝรั่ง อันกลายมาเป็นขนมประจำชาติไทยอย่างในทุกวันนี้

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ช่วงนี้คอละครคงกำลังรอให้ถึงวันพุธ-พฤหัส เร็วๆ จะได้ดูละครยอดฮิต “บุพเพสันนิวาส” เรื่องราวระหว่างแม่หญิงการะเกดกับขุนหมื่นกำลังดำเนินไปอย่างสนุกสนาน ขณะเดียวกันก็ทำให้คนดูได้ทราบเรื่องราวประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาที่น่าสนใจในช่วงแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอีกด้วย
ในละครเรื่องนี้ยังมีตัวละครสำคัญที่มีตัวตนจริงอยู่ในประวัติศาสตร์แผ่นดินอยุธยาอย่าง “ท้าวทองกีบม้า” หรือดอญ่า มารี กีมาร์ (Dona Marie Guimar) สตรีผู้ที่เป็นลูกผสมมีเชื้อสายโปรตุเกส ญี่ปุ่นและเบงกาลี เธอผู้นี้เป็นภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (นามเดิม คอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวกรีก) อัครมหาเสนาบดีผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เนื่องจากสามีมีตำแหน่งหน้าที่การงานใหญ่โต หน้าที่หลักของเธอจึงเป็นการจัดสำรับอาหารคาวหวานออกต้อนรับแขกเหรื่อที่มาเยือน และฝีมือทำอาหารของเธอก็ไม่น้อยหน้าใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมนูของหวานที่มีต้นตำรับสืบทอดมาจากสายเลือดโปรตุเกสของเธอ
ขนมไทยโบราณมักจะมีส่วนผสมของแป้ง น้ำตาล มะพร้าวและกะทิเป็นหลัก แต่ขนมที่มารี กีมาร์ทำนั้นใช้ไข่แดงกับน้ำตาลเป็นหลัก ทำให้รสชาติหอมหวานและมีสีเหลืองทองงดงาม จนกลายมาเป็นชื่อของขนมตระกูลทองทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ทองพลุ ฯลฯ วิธีทำก็คล้ายกันคือใช้ไข่แดงจากไข่เป็ดลงไปต้มในน้ำเชื่อมเดือดๆ ถ้าเป็นฝอยทองก็โรยในน้ำเชื่อมเดือดๆ ให้เป็นเส้น ถ้าเป็นทองหยอดก็ตักไข่แดงหยอดลงไปในน้ำเชื่อมให้เป็นลูกกลมๆ หรือถ้าเป็นทองหยิบก็ตักไข่แดงต้มในน้ำเชื่อมให้เป็นเป็นแผ่น แล้วนำมาหยิบเป็นจีบใส่ถ้วยตะไลให้คงรูป
ไม่เพียงอร่อยถูกใจคนไทยและฝรั่งต่างชาติในแผ่นกรุงศรีอยุธยา แต่ชื่อที่ตั้งมายังมีคำว่า “ทอง” อันมีความหมายเป็นมงคล ดังนั้นในงานบุญต่างๆ คนไทยจึงมักเตรียมทำขนมเหล่านี้ถวายพระและให้แขกเหรื่อได้ชิม ขนมเหล่านี้จึงเป็นที่นิยมสืบทอดกันต่อมาจนปัจจุบัน และขนมที่คนไทยในสมัยนั้นเคยเรียกว่าเป็น “ขนมฝรั่ง” แต่ทุกวันนี้ ขนมที่มีต้นกำเนิดจากฝรั่งเหล่านั้นกลับถูกเรียกว่าเป็น “ขนมไทย” และใช้ในงานมงคลของไทยมาจนถึงทุกวันนี้
ไม่เพียงขนมตระกูลทองเท่านั้น แต่ขนมอื่นๆ อย่างเม็ดขนุน ลูกชุบ หรือขนมหม้อแกง ก็เชื่อว่ามีที่มาจากขนมของโปรตุเกสด้วยเช่นกัน โดยทุกวันนี้ในประเทศโปรตุเกสเองก็ยังมีขนมที่หน้าตาและรสชาติคล้ายกันกับขนมของบ้านเรา
ส่วนมารี กีมาร์นั้น หลังจากที่สามีเสียชีวิตไป ในช่วงบั้นปลายชีวิตเธอได้เข้ามารับราชการเป็นหัวหน้าพนักงานเครื่องต้นในวังในแผ่นดินของสมเด็จพระเพทราชา อีกทั้งยังมีหน้าที่ดูแลฉลองพระองค์และเครื่องใช้ต่างๆ ภายในพระราชวัง เป็นที่รู้จักกันในชื่อท้าวทองกีบม้า ก่อนที่จะเสียชีวิตไปเมื่อใดไม่ทราบเพราะไม่มีบันทึกไว้
แต่ชื่อของ “ท้าวทองกีบม้า” ยังคงเป็นที่กล่าวขานมาจนถึงปัจจุบันในฐานะผู้ที่เชื่อมสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส ผ่านขนมฝรั่ง อันกลายมาเป็นขนมประจำชาติไทยอย่างในทุกวันนี้
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager