Facebook :Travel @ Manager

ใครว่า “ยิ่งดังยิ่งดี” ?? บางครั้งกลับกลายเป็น “ยิ่งดังยิ่งเละ” เสียมากกว่า
เรากำลังพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวหลายๆ แห่งในเมืองไทยที่เมื่อได้รับความนิยมมากๆ แทนที่จะสร้างเฉพาะวามคึกคักและนำเม็ดเงินมาให้เจ้าของพื้นที่ แต่ก็มักจะสร้างปัญหาตามมาด้วย ยิ่งบวกกับนิสัยของนักท่องเที่ยวไทยที่ชอบ “เที่ยวตามกระแส” ที่ไหนดังก็แห่ไปเที่ยวตามๆ กัน บางครั้งไม่เคารพสถานที่ ไม่ศึกษาข้อมูล จนทำให้เกิดปัญหา
อย่างล่าสุดที่ “หมู่บ้านคีรีวง” อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราชที่เป็นประเด็นร้อนขึ้นมาเมื่อคนพื้นที่โพสต์ระบายความในใจผ่านโลกโซเชียลถึงสภาพในหมู่บ้านที่ไม่น่าอยู่ เมื่อนักท่องเที่ยวแห่มาเที่ยวในช่วงเทศกาลจนทำรถติดกว่าสิบกิโล แถมเป็นนักท่องเที่ยวไร้ระเบียบ เซลฟีกลางถนน จอดรถถ่ายรูปกลางสะพาน จอดรถในที่ห้ามจอด ถีบจักรยานสับสนทำให้ชาวบ้านเกิดอุบัติเหตุ แถมรบกวนความสงบทั้งขยะ อากาศ น้ำเสีย เกิดอิทธิพลท้องถิ่น ทำลายสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต
(คลิกอ่าน “คีรีวง” เสื่อมแล้ว! นักท่องเที่ยวไร้ระเบียบตรึม-สิ่งแวดล้อมเละ ถึงขนาดอยู่บ้านตัวเองไม่ได้)

ชาวคีรีวงที่ได้รับความเดือดร้อนท่านนั้นยังได้กล่าวไปถึงนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐว่าเป็นนโยบายการหาเงินที่มักง่าย ไม่รับผิดชอบระยะยาว ทำให้เกิดปัญหาให้ชาวบ้าน ทั้งเกิดอิทธิพลในท้องถิ่น เกิดช่องว่างทางรายได้ ทำลายสิ่งแวดล้อม ภูมิทัศน์ ต้นไม้ ลำคลอง และรบกวนวิถีชีวิต โดยรัฐไม่ได้วางแผนอะไรรองรับอย่างเป็นระบบ
จนต้องวอนขอร้อง “นักท่องเที่ยว” ให้โปรดระลึกไว้เสมอเวลาไปเที่ยวบ้านใครก็ตาม “กรุณาเคารพซึ่งวิถีชีวิต อย่าไปเบียดเบียนความปกติสุขของใครเขา”
นี่ไม่ใช่กรณีแรกที่ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตได้ทำลายวิถีชีวิตและความสงบของคนในพื้นที่ แต่เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ กรณีเท่านั้น ที่แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังหลายๆ แห่งถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นเกี่ยวกับเรื่องความ “ดังแล้วเละ” มีที่ไหนบ้างไปดูกัน

“ปาย” กับตัวตนที่เหลืออยู่
เมืองเล็กๆ ในอ้อมกอดแห่งขุนเขาอย่าง “ปาย” อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน เดิมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในหมู่นักท่องเที่ยวแบ็คแพ็คเกอร์ทั้งไทยและต่างชาติ ต่อมาความนิยมเริ่มแพร่หลายจนกลายเป็นจุดมุ่งหมายสุดฮิตของนักท่องเที่ยวไปทั่ว ปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นไม่หยุดหย่อนโดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ถึงขนาดในช่วงไฮซีซันหรือช่วงฤดูหนาวคนจองที่พักจนเต็มแน่น รถติดในเมือง อาหารหมดร้าน น้ำมันหมดปั๊ม คนล้นถนนคนเดิน
เรื่องดีก็คือเศรษฐกิจของเมืองปายคึกคัก คนปายมีอาชีพ แต่เมื่อความเจริญเข้ามามากเกินไปก็ทำให้วิถีชีวิตของคนพื้นที่ไม่เหมือนเดิม เมืองปายกลายเป็นเมืองเปรอะ ผู้ประกอบการในพื้นที่เริ่มหายไป คนขายไร่นาให้นายทุนเข้ามาสร้างโรงแรมรีสอร์ทและร้านค้าสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว

จุดเด่นของปายที่โดดเด่นในเรื่องของธรรมชาติ ชนเผ่า วิถีทางวัฒนธรรมก็เริ่มเปลี่ยนไป นักท่องเที่ยวไม่ได้มาเพื่อชมความเป็นธรรมชาติและเรียนรู้วิถีชีวิต กลายเป็นมาเที่ยวเพื่อหาความอินดี้ ความโรแมนติก มาถ่ายรูปกับหลักกิโลเมตรยักษ์ มาถ่ายรูปกับร้านกาแฟ แต่ถ้าต้องการหาความเป็นปายจริงๆ ต้องออกนอกเมืองแทน

“เชียงคาน” ที่เคยสงบงาม
คล้ายกันกับที่ “เชียงคาน” ชุมชนน่ารักริมแม่น้ำโขงในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ที่เดิมเป็นเมืองเล็กๆ เงียบๆ แต่น่ารักด้วยบ้านเรือนไม้ริมชายโขงมีเสน่ห์ชวนให้ค้นหา แต่เมื่อกระแสการท่องเที่ยวถาโถมเข้ามา เชียงคานที่เคยสงบนิ่งก็ถูกทำให้เซไปเหมือนกัน
เมื่อเชียงคานฮอตฮิต ความเปลี่ยนแปลงก็ตามมา วิถีแห่งเชียงคานก็เปลี่ยนไป กลุ่มทุนต่างถิ่นรุกโหมเข้าโจมตีเมืองเชียงคานอย่างหนัก มาเช่าบ้าน เช่าที่บนถนนชายโขง พร้อมปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยให้เป็นที่พัก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านโปสการ์ด ร้านขายของที่ระลึกให้บริการนักท่องเที่ยว บ้านไม้เรือนแถวที่เคยมีเสน่ห์กลับถูกตกแต่งสีสันฉาบทอหน้าตาใหม่ให้กลายเป็นอาคารสีสดใส แบบอาร์ตๆ แต่ก็ดูผิดที่ผิดทาง

ชาวเชียงคานจำนวนมากได้เสียความเป็นตัวตนไปมาก ชาวบ้านบนถนนริมโขงหลายคน ขายที่ดิน ขายบ้าน หรือให้เช่าระยะยาว แล้วย้ายออกไปอยู่นอกพื้นที่ หรือไม่ก็เข้ากรุงเทพฯตามไปอยู่กับลูกหลานญาติพี่น้อง วิถีวัฒนธรรมบริเวณถนนชายโขงเปลี่ยนไป ชาวบ้านละทิ้งอาชีพดั้งเดิมหันมาเปิดห้องพัก ร้านค้า ขณะที่นิสัยใจคอก็เปลี่ยนไป หันไปมุ่งเน้นผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง อัธยาศัยไมตรีเริ่มเหือดหายไป มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น เอาเปรียบกันและกัน
วัฒนธรรมการตักบาตรข้าวเหนียวเริ่มผิดเพี้ยนไปจากเดิม มีการเตรียมชุดใส่บาตร ข้าว ขนมอาหาร หวานคาวและเงิน สำหรับใส่บาตรพระ (ตามความต้องการของนักท่องเที่ยว) ขณะที่วิถีดั้งของชาวเชียงคานจะใส่แต่ข้าวเหนียวเท่านั้น หลังจากจึงนำอาหารไปถวายที่วัด (ไปจังหัน) หรือบริจาคเงินที่วัด
สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ปายและเชียงคานมีคล้ายกัน แต่ทุกวันนี้ที่กระแสความฮิตสร่างซาลง นักท่องเที่ยวไม่ได้ถาโถมจนตั้งตัวไม่ติดอย่างในช่วงแรกๆ ทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทาง มีคนในพื้นที่รวมตัวกันเพื่ออนุรักษ์ความเป็นท้องถิ่นไว้ แต่วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปก็ยากที่จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม

ชมหิ่งห้อยที่ “อัมพวา” ความสวยงามที่มาพร้อมปัญหา
กิจกรรมท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยยามค่ำคืนนับเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวยอดนิยมที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยหิ่งห้อยส่วนใหญ่ในอัมพวาจะอาศัยอยู่ที่ต้นลำพู ยามค่ำคืนจะส่องแสงกระพริบวิบวับงดงามยิ่งนัก เมื่อกิจการโฮมสเตย์และจัดทัวร์ชมหิ่งห้อยเริ่มจัดขึ้นที่อัมพวา แรกๆก็เป็นการบอกเล่าแบบปากต่อปากจนกระทั่งมีผู้ให้ความสนใจมาเที่ยวชมหิ่งห้อยแพร่หลายมากขึ้น
ขณะเดียวกันกิจกรรมการชมหิ่งห้อยที่เติบโตอย่างรวดเร็วได้ก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ การผุดขึ้นของรีสอร์ท โฮมสเตย์จำนวนมากอันเป็นหนึ่งในสาเหตุของแหล่งมลพิษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาขยะ ของเสีย ปัญหาทางเสียง ปัญหาด้านกลิ่นควันของน้ำมัน รวมไปถึงปัญหาอันเกิดจากคลื่นซัดตลิ่งบ้านจากการแล่นของเรือเครื่อง

นอกจากนี้การที่คนไปเที่ยวชมหิ่งห้อยหันมากๆในยามค่ำคืนก็ได้ไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของบ้านเรือนที่อยู่ใกล้ๆกับจุดชมหิ่งห้อย จนบางบ้านแทบไม่เป็นอันกินอันนอน เพราะมีเรือวิ่งเข้าออกไม่ได้ขาด แถมนักท่องเที่ยวส่งเสียงดัง บ้างร้องบอกให้คนในบ้านปิดไฟ บางบ้านที่อยู่ใกล้กับจุดชมหิ่งห้อยจึงตัดสินใจตัดต้นลำพูทิ้งเสียให้สิ้นเรื่องสิ้นราว

“หลีเป๊ะ” ที่เปลี่ยนไป
“เกาะหลีเป๊ะ” เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา จ.สตูล ที่ทุกวันนี้คนมาสตูลมักจะถามถึงแต่เกาะหลีเป๊ะ เนื่องด้วยความงดงามตามธรรมชาติของเกาะหลีเป๊ะ คำเล่าขานแบบปากต่อปากและแรงโปรโมท ทำให้เกาะหลีเป๊ะมีชื่อเสียงโด่งดังขจรขจายไปไกลและมาแรงแบบก้าวกระโดด
ก้าวกระโดดจนบนเกาะมีสภาพเปลี่ยนไปมากมาย มีที่พักๆ ใหม่สร้างเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ อาคารบ้านเรือนเริ่มเต็มแน่น ที่ทางก็ราคาสูงขึ้น ส่วนป่าที่มีอยู่น้อยแล้วก็ยิ่งน้อยลงไปอีก บนเกาะหลีเป๊ะเต็มไปด้วยรีสอร์ทที่พัก ร้านอาหาร บาร์เบียร์ และสิ่งปลูกสร้างมากมาย จนล่าสุด ทาง คสช. ต้องเข้ามารื้อถอนรีสอร์ทที่ผิดกฎหมาย และจัดระเบียบชายหาดเพื่อไม่ให้เกาะหลีเป๊ะดูรกและไร้ระเบียบจนเกินไป
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนเกาะหลีเป๊ะยังทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเกาะหลีเป๊ะในช่วงเดือนสิงหาคม 2560 จนปรากฏเป็นข่าวโด่งดัง นับเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าเชื่อเพราะเดิมเกาะแห่งนี้ต่อให้ฝนตกหนักแค่ไหน น้ำจากบนเนินเขาก็จะไหลบ่าลงสู่ทะเลภายในเวลาไม่นาน แต่หลังจากที่เกาะหลีเป๊ะในวันนี้เต็มไปด้วยรีสอร์ท ที่พัก ซึ่งที่พักหลายๆ แห่งสร้างขวางทางไหลของน้ำ เมื่อมีฝนตกหนักน้ำจึงเจิ่งนองท่วมขังเกาะหลีเป๊ะแบบเหนือความคาดหมาย


“เกาะตาชัย” สวยใสจนต้องปิดเกาะ
“เกาะตาชัย” เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ในน่านน้ำทะเลพังงา แม้จะมีพื้นที่เพียง 12 ตร.กม. และมีชายหาดเพียงแห่งเดียวอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะ แต่ด้วยความสวยใสของธรรมชาติบนเกาะ ไม่ว่าจะเป็นแนวหาดทรายยาวขาวสะอาดและมีความละเอียดดุจแป้ง น้ำทะเลที่สวยใสราวกระจก ที่มีโลกใต้ทะเลอันสวยงามทั้งแนวปะการังและปลาหลากหลายชนิด สามารถเล่นน้ำ ดำน้ำตื้น และสามารถดำน้ำลึกได้ที่บริเวณกองหินใต้น้ำใกล้หัวแหลมทางด้านใต้ของเกาะ ซึ่งเป็นจุดที่นักดำน้ำมีโอกาสจะพบเห็นฉลามวาฬและปลากระเบนราหูได้มากที่สุดจุดหนึ่งของทะเลไทยฝั่งอันดามัน
ด้วยธรรมชาติอันสวยงามเช่นนี้ ทำให้เกาะตาชัยโด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน ได้รับการยกให้เป็นดัง “สวรรค์แห่งใหม่” แห่งท้องทะเลอันดามัน นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศต่างมุ่งหน้ามายังเกาะตาชัย

แม้เกาะตาชัยจะเปิดเกาะให้เที่ยวแบบวันเดย์ทริป ไม่มีที่พักบนเกาะและไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวพักค้างบนเกาะ และเปิดเฉพาะช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม เท่านั้น แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความโด่งดังของเกาะตาชัยได้จนเกิดปัญหา “นักท่องเที่ยวล้นเกาะ”
ขณะที่การบริหารจัดการของทางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันก็ยังทำได้ไม่ดี เพราะคาดไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจมาเที่ยวที่เกาะตาชัยมากถึงเพียงนี้ ทำให้ไม่มีการควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยว ทั้งที่เกาะตาชัยสามารถรับนักท่องเที่ยวได้ราว 200 คน แต่ที่ผ่านมาก่อนจะมีการปิดเกาะนั้นมีนักท่องเที่ยวขึ้นเที่ยวบนเกาะในวันธรรมดาหลายร้อยคน ส่วนถ้าเป็นในวันหยุดยาวก็มีนับพันคนเลยทีเดียว จนเกิดปัญหาขยะล้นเกาะ ปัญหาน้ำมันเรือลอยในทะเล สมอเรือส่งผลเสียหายต่อแนวปะการัง รวมถึง “ปูไก่” สัตว์หายากบนเกาะก็ถูกนักท่องเที่ยวรุกรานจนหายไปจำนวนมาก
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ถูกตีแผ่จนปรากฏเป็นข่าวโด่งดังโดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ส่งผลกระเทือนต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการท่องเที่ยวบนเกาะตาชัย ทำให้ต้องมีการมาพูดคุยปัญหาสร้างข้อตกลงกันใหม่ ระหว่างอุทยานฯกับผู้ประกอบการ จนนำมาสู่ข้อสรุปสุดท้าย คือการปิดเกาะอย่างไม่มีกำหนด...
ในอนาคตคงจะต้องมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ถูกโปรโมตจนดังเปรี้ยงปร้างขึ้นมาอีก ก็ขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นกับแหล่งท่องเที่ยวที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นบทเรียนให้คนในพื้นที่เตรียมความพร้อมในการรับมือ ให้ช่วยกันยึดถือวิถีชีวิตและประเพณีที่ดีงามของชุมชนต่อไป รวมทั้งต้องมีการพูดคุยและตกลงกันในชุมชนให้ดี และที่สำคัญก็คือ “นักท่องเที่ยว” ทั้งหลาย จงทำตนให้เป็นผู้เยี่ยมชมที่ดี เคารพสถานที่และเจ้าของพื้นที่ อย่าได้เป็นนักทำลายทำให้เจ้าของบ้านต้องปวดหัวจนไม่อยากต้อนรับอีกเลย
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
ใครว่า “ยิ่งดังยิ่งดี” ?? บางครั้งกลับกลายเป็น “ยิ่งดังยิ่งเละ” เสียมากกว่า
เรากำลังพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวหลายๆ แห่งในเมืองไทยที่เมื่อได้รับความนิยมมากๆ แทนที่จะสร้างเฉพาะวามคึกคักและนำเม็ดเงินมาให้เจ้าของพื้นที่ แต่ก็มักจะสร้างปัญหาตามมาด้วย ยิ่งบวกกับนิสัยของนักท่องเที่ยวไทยที่ชอบ “เที่ยวตามกระแส” ที่ไหนดังก็แห่ไปเที่ยวตามๆ กัน บางครั้งไม่เคารพสถานที่ ไม่ศึกษาข้อมูล จนทำให้เกิดปัญหา
อย่างล่าสุดที่ “หมู่บ้านคีรีวง” อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราชที่เป็นประเด็นร้อนขึ้นมาเมื่อคนพื้นที่โพสต์ระบายความในใจผ่านโลกโซเชียลถึงสภาพในหมู่บ้านที่ไม่น่าอยู่ เมื่อนักท่องเที่ยวแห่มาเที่ยวในช่วงเทศกาลจนทำรถติดกว่าสิบกิโล แถมเป็นนักท่องเที่ยวไร้ระเบียบ เซลฟีกลางถนน จอดรถถ่ายรูปกลางสะพาน จอดรถในที่ห้ามจอด ถีบจักรยานสับสนทำให้ชาวบ้านเกิดอุบัติเหตุ แถมรบกวนความสงบทั้งขยะ อากาศ น้ำเสีย เกิดอิทธิพลท้องถิ่น ทำลายสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต
(คลิกอ่าน “คีรีวง” เสื่อมแล้ว! นักท่องเที่ยวไร้ระเบียบตรึม-สิ่งแวดล้อมเละ ถึงขนาดอยู่บ้านตัวเองไม่ได้)
ชาวคีรีวงที่ได้รับความเดือดร้อนท่านนั้นยังได้กล่าวไปถึงนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐว่าเป็นนโยบายการหาเงินที่มักง่าย ไม่รับผิดชอบระยะยาว ทำให้เกิดปัญหาให้ชาวบ้าน ทั้งเกิดอิทธิพลในท้องถิ่น เกิดช่องว่างทางรายได้ ทำลายสิ่งแวดล้อม ภูมิทัศน์ ต้นไม้ ลำคลอง และรบกวนวิถีชีวิต โดยรัฐไม่ได้วางแผนอะไรรองรับอย่างเป็นระบบ
จนต้องวอนขอร้อง “นักท่องเที่ยว” ให้โปรดระลึกไว้เสมอเวลาไปเที่ยวบ้านใครก็ตาม “กรุณาเคารพซึ่งวิถีชีวิต อย่าไปเบียดเบียนความปกติสุขของใครเขา”
นี่ไม่ใช่กรณีแรกที่ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตได้ทำลายวิถีชีวิตและความสงบของคนในพื้นที่ แต่เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ กรณีเท่านั้น ที่แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังหลายๆ แห่งถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นเกี่ยวกับเรื่องความ “ดังแล้วเละ” มีที่ไหนบ้างไปดูกัน
“ปาย” กับตัวตนที่เหลืออยู่
เมืองเล็กๆ ในอ้อมกอดแห่งขุนเขาอย่าง “ปาย” อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน เดิมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในหมู่นักท่องเที่ยวแบ็คแพ็คเกอร์ทั้งไทยและต่างชาติ ต่อมาความนิยมเริ่มแพร่หลายจนกลายเป็นจุดมุ่งหมายสุดฮิตของนักท่องเที่ยวไปทั่ว ปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นไม่หยุดหย่อนโดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ถึงขนาดในช่วงไฮซีซันหรือช่วงฤดูหนาวคนจองที่พักจนเต็มแน่น รถติดในเมือง อาหารหมดร้าน น้ำมันหมดปั๊ม คนล้นถนนคนเดิน
เรื่องดีก็คือเศรษฐกิจของเมืองปายคึกคัก คนปายมีอาชีพ แต่เมื่อความเจริญเข้ามามากเกินไปก็ทำให้วิถีชีวิตของคนพื้นที่ไม่เหมือนเดิม เมืองปายกลายเป็นเมืองเปรอะ ผู้ประกอบการในพื้นที่เริ่มหายไป คนขายไร่นาให้นายทุนเข้ามาสร้างโรงแรมรีสอร์ทและร้านค้าสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว
จุดเด่นของปายที่โดดเด่นในเรื่องของธรรมชาติ ชนเผ่า วิถีทางวัฒนธรรมก็เริ่มเปลี่ยนไป นักท่องเที่ยวไม่ได้มาเพื่อชมความเป็นธรรมชาติและเรียนรู้วิถีชีวิต กลายเป็นมาเที่ยวเพื่อหาความอินดี้ ความโรแมนติก มาถ่ายรูปกับหลักกิโลเมตรยักษ์ มาถ่ายรูปกับร้านกาแฟ แต่ถ้าต้องการหาความเป็นปายจริงๆ ต้องออกนอกเมืองแทน
“เชียงคาน” ที่เคยสงบงาม
คล้ายกันกับที่ “เชียงคาน” ชุมชนน่ารักริมแม่น้ำโขงในอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ที่เดิมเป็นเมืองเล็กๆ เงียบๆ แต่น่ารักด้วยบ้านเรือนไม้ริมชายโขงมีเสน่ห์ชวนให้ค้นหา แต่เมื่อกระแสการท่องเที่ยวถาโถมเข้ามา เชียงคานที่เคยสงบนิ่งก็ถูกทำให้เซไปเหมือนกัน
เมื่อเชียงคานฮอตฮิต ความเปลี่ยนแปลงก็ตามมา วิถีแห่งเชียงคานก็เปลี่ยนไป กลุ่มทุนต่างถิ่นรุกโหมเข้าโจมตีเมืองเชียงคานอย่างหนัก มาเช่าบ้าน เช่าที่บนถนนชายโขง พร้อมปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยให้เป็นที่พัก ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านโปสการ์ด ร้านขายของที่ระลึกให้บริการนักท่องเที่ยว บ้านไม้เรือนแถวที่เคยมีเสน่ห์กลับถูกตกแต่งสีสันฉาบทอหน้าตาใหม่ให้กลายเป็นอาคารสีสดใส แบบอาร์ตๆ แต่ก็ดูผิดที่ผิดทาง
ชาวเชียงคานจำนวนมากได้เสียความเป็นตัวตนไปมาก ชาวบ้านบนถนนริมโขงหลายคน ขายที่ดิน ขายบ้าน หรือให้เช่าระยะยาว แล้วย้ายออกไปอยู่นอกพื้นที่ หรือไม่ก็เข้ากรุงเทพฯตามไปอยู่กับลูกหลานญาติพี่น้อง วิถีวัฒนธรรมบริเวณถนนชายโขงเปลี่ยนไป ชาวบ้านละทิ้งอาชีพดั้งเดิมหันมาเปิดห้องพัก ร้านค้า ขณะที่นิสัยใจคอก็เปลี่ยนไป หันไปมุ่งเน้นผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง อัธยาศัยไมตรีเริ่มเหือดหายไป มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น เอาเปรียบกันและกัน
วัฒนธรรมการตักบาตรข้าวเหนียวเริ่มผิดเพี้ยนไปจากเดิม มีการเตรียมชุดใส่บาตร ข้าว ขนมอาหาร หวานคาวและเงิน สำหรับใส่บาตรพระ (ตามความต้องการของนักท่องเที่ยว) ขณะที่วิถีดั้งของชาวเชียงคานจะใส่แต่ข้าวเหนียวเท่านั้น หลังจากจึงนำอาหารไปถวายที่วัด (ไปจังหัน) หรือบริจาคเงินที่วัด
สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ปายและเชียงคานมีคล้ายกัน แต่ทุกวันนี้ที่กระแสความฮิตสร่างซาลง นักท่องเที่ยวไม่ได้ถาโถมจนตั้งตัวไม่ติดอย่างในช่วงแรกๆ ทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทาง มีคนในพื้นที่รวมตัวกันเพื่ออนุรักษ์ความเป็นท้องถิ่นไว้ แต่วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปก็ยากที่จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม
ชมหิ่งห้อยที่ “อัมพวา” ความสวยงามที่มาพร้อมปัญหา
กิจกรรมท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยยามค่ำคืนนับเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวยอดนิยมที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยหิ่งห้อยส่วนใหญ่ในอัมพวาจะอาศัยอยู่ที่ต้นลำพู ยามค่ำคืนจะส่องแสงกระพริบวิบวับงดงามยิ่งนัก เมื่อกิจการโฮมสเตย์และจัดทัวร์ชมหิ่งห้อยเริ่มจัดขึ้นที่อัมพวา แรกๆก็เป็นการบอกเล่าแบบปากต่อปากจนกระทั่งมีผู้ให้ความสนใจมาเที่ยวชมหิ่งห้อยแพร่หลายมากขึ้น
ขณะเดียวกันกิจกรรมการชมหิ่งห้อยที่เติบโตอย่างรวดเร็วได้ก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ การผุดขึ้นของรีสอร์ท โฮมสเตย์จำนวนมากอันเป็นหนึ่งในสาเหตุของแหล่งมลพิษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาขยะ ของเสีย ปัญหาทางเสียง ปัญหาด้านกลิ่นควันของน้ำมัน รวมไปถึงปัญหาอันเกิดจากคลื่นซัดตลิ่งบ้านจากการแล่นของเรือเครื่อง
นอกจากนี้การที่คนไปเที่ยวชมหิ่งห้อยหันมากๆในยามค่ำคืนก็ได้ไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของบ้านเรือนที่อยู่ใกล้ๆกับจุดชมหิ่งห้อย จนบางบ้านแทบไม่เป็นอันกินอันนอน เพราะมีเรือวิ่งเข้าออกไม่ได้ขาด แถมนักท่องเที่ยวส่งเสียงดัง บ้างร้องบอกให้คนในบ้านปิดไฟ บางบ้านที่อยู่ใกล้กับจุดชมหิ่งห้อยจึงตัดสินใจตัดต้นลำพูทิ้งเสียให้สิ้นเรื่องสิ้นราว
“หลีเป๊ะ” ที่เปลี่ยนไป
“เกาะหลีเป๊ะ” เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา จ.สตูล ที่ทุกวันนี้คนมาสตูลมักจะถามถึงแต่เกาะหลีเป๊ะ เนื่องด้วยความงดงามตามธรรมชาติของเกาะหลีเป๊ะ คำเล่าขานแบบปากต่อปากและแรงโปรโมท ทำให้เกาะหลีเป๊ะมีชื่อเสียงโด่งดังขจรขจายไปไกลและมาแรงแบบก้าวกระโดด
ก้าวกระโดดจนบนเกาะมีสภาพเปลี่ยนไปมากมาย มีที่พักๆ ใหม่สร้างเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ อาคารบ้านเรือนเริ่มเต็มแน่น ที่ทางก็ราคาสูงขึ้น ส่วนป่าที่มีอยู่น้อยแล้วก็ยิ่งน้อยลงไปอีก บนเกาะหลีเป๊ะเต็มไปด้วยรีสอร์ทที่พัก ร้านอาหาร บาร์เบียร์ และสิ่งปลูกสร้างมากมาย จนล่าสุด ทาง คสช. ต้องเข้ามารื้อถอนรีสอร์ทที่ผิดกฎหมาย และจัดระเบียบชายหาดเพื่อไม่ให้เกาะหลีเป๊ะดูรกและไร้ระเบียบจนเกินไป
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนเกาะหลีเป๊ะยังทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเกาะหลีเป๊ะในช่วงเดือนสิงหาคม 2560 จนปรากฏเป็นข่าวโด่งดัง นับเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าเชื่อเพราะเดิมเกาะแห่งนี้ต่อให้ฝนตกหนักแค่ไหน น้ำจากบนเนินเขาก็จะไหลบ่าลงสู่ทะเลภายในเวลาไม่นาน แต่หลังจากที่เกาะหลีเป๊ะในวันนี้เต็มไปด้วยรีสอร์ท ที่พัก ซึ่งที่พักหลายๆ แห่งสร้างขวางทางไหลของน้ำ เมื่อมีฝนตกหนักน้ำจึงเจิ่งนองท่วมขังเกาะหลีเป๊ะแบบเหนือความคาดหมาย
“เกาะตาชัย” สวยใสจนต้องปิดเกาะ
“เกาะตาชัย” เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ในน่านน้ำทะเลพังงา แม้จะมีพื้นที่เพียง 12 ตร.กม. และมีชายหาดเพียงแห่งเดียวอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะ แต่ด้วยความสวยใสของธรรมชาติบนเกาะ ไม่ว่าจะเป็นแนวหาดทรายยาวขาวสะอาดและมีความละเอียดดุจแป้ง น้ำทะเลที่สวยใสราวกระจก ที่มีโลกใต้ทะเลอันสวยงามทั้งแนวปะการังและปลาหลากหลายชนิด สามารถเล่นน้ำ ดำน้ำตื้น และสามารถดำน้ำลึกได้ที่บริเวณกองหินใต้น้ำใกล้หัวแหลมทางด้านใต้ของเกาะ ซึ่งเป็นจุดที่นักดำน้ำมีโอกาสจะพบเห็นฉลามวาฬและปลากระเบนราหูได้มากที่สุดจุดหนึ่งของทะเลไทยฝั่งอันดามัน
ด้วยธรรมชาติอันสวยงามเช่นนี้ ทำให้เกาะตาชัยโด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน ได้รับการยกให้เป็นดัง “สวรรค์แห่งใหม่” แห่งท้องทะเลอันดามัน นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศต่างมุ่งหน้ามายังเกาะตาชัย
แม้เกาะตาชัยจะเปิดเกาะให้เที่ยวแบบวันเดย์ทริป ไม่มีที่พักบนเกาะและไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวพักค้างบนเกาะ และเปิดเฉพาะช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม เท่านั้น แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความโด่งดังของเกาะตาชัยได้จนเกิดปัญหา “นักท่องเที่ยวล้นเกาะ”
ขณะที่การบริหารจัดการของทางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันก็ยังทำได้ไม่ดี เพราะคาดไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจมาเที่ยวที่เกาะตาชัยมากถึงเพียงนี้ ทำให้ไม่มีการควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยว ทั้งที่เกาะตาชัยสามารถรับนักท่องเที่ยวได้ราว 200 คน แต่ที่ผ่านมาก่อนจะมีการปิดเกาะนั้นมีนักท่องเที่ยวขึ้นเที่ยวบนเกาะในวันธรรมดาหลายร้อยคน ส่วนถ้าเป็นในวันหยุดยาวก็มีนับพันคนเลยทีเดียว จนเกิดปัญหาขยะล้นเกาะ ปัญหาน้ำมันเรือลอยในทะเล สมอเรือส่งผลเสียหายต่อแนวปะการัง รวมถึง “ปูไก่” สัตว์หายากบนเกาะก็ถูกนักท่องเที่ยวรุกรานจนหายไปจำนวนมาก
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ถูกตีแผ่จนปรากฏเป็นข่าวโด่งดังโดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ส่งผลกระเทือนต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการท่องเที่ยวบนเกาะตาชัย ทำให้ต้องมีการมาพูดคุยปัญหาสร้างข้อตกลงกันใหม่ ระหว่างอุทยานฯกับผู้ประกอบการ จนนำมาสู่ข้อสรุปสุดท้าย คือการปิดเกาะอย่างไม่มีกำหนด...
ในอนาคตคงจะต้องมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ถูกโปรโมตจนดังเปรี้ยงปร้างขึ้นมาอีก ก็ขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นกับแหล่งท่องเที่ยวที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นบทเรียนให้คนในพื้นที่เตรียมความพร้อมในการรับมือ ให้ช่วยกันยึดถือวิถีชีวิตและประเพณีที่ดีงามของชุมชนต่อไป รวมทั้งต้องมีการพูดคุยและตกลงกันในชุมชนให้ดี และที่สำคัญก็คือ “นักท่องเที่ยว” ทั้งหลาย จงทำตนให้เป็นผู้เยี่ยมชมที่ดี เคารพสถานที่และเจ้าของพื้นที่ อย่าได้เป็นนักทำลายทำให้เจ้าของบ้านต้องปวดหัวจนไม่อยากต้อนรับอีกเลย
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager