โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
พังงา นอกจากจะมีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลสวยงามติดอันดับโลกแล้ว พังงายังเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าชายเลนมากที่สุดในเมืองไทย โดยปัจจุบันพังงามีพื้นที่ป่าชายเลนอยู่ราวๆถึงเกือบ 2 แสนไร่
ในพื้นที่ป่าชายเลนจำนวนมากนี้นอกจากจะเป็นแหล่งสรรพชีวิตต่างๆแล้ว ยังเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวชุมชนชายฝั่ง รวมถึงยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ ซึ่งหลายๆชุมชนได้นำความโดดเด่นของป่าชายเลนในพื้นที่มาผนวกรวมกับของดีในชุมชน แล้วสร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนดีๆขึ้นมา
ดังเช่นชุมชน“บ้านท่าดินแดง” หนึ่งในชุมชนมากของดีที่หลังจากผมได้ไปสัมผัสมา นอกจากจะชื่นชอบประทับใจแล้ว...ก็ยังรู้สึกเป็นหวั่นใจภัยคุกคามที่ถาโถมเข้ามายังชุมชนแห่งนี้ไม่ได้
ชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าดินแดง
บ้านท่าดินแดง ที่ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านติดกับทะเลและป่าชายเลน ในอดีตในยุคเหมืองแร่เฟื่องฟูพื้นที่แห่งนี้เคยมีการมาทำสัมปทานเหมืองแร่ด้วยกันถึง 2 เหมือง ก่อนที่จะเลิกราไปหลังสิ้นยุคทองของเหมืองแร่
กระทั่งมาถึงในปี 2547เกิดจุดเปลี่ยนสำคัญขึ้น เมื่อคลื่นยักษ์สึนามิได้ถั่งโถมเข้าทำลายพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันของไทย(และในพื้นที่อื่นๆอีกหลายประเทศ) หมู่บ้านท่าดินแดงนับเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายไม่น้อย
“ปฏิพัทธ์ วาหะรักษ์” หรือ “บังโหรน” หัวหน้าทีมไกด์ชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าดินแดง เล่าให้ผมฟังว่า หลังเหตุการณ์สึนามิผ่านพ้น มีหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือชาวบ้าน หนึ่งในนั้นก็คือ “องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ” หรือ F.A.O. ที่เข้ามาให้ความรู้และสร้างอาชีพปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้กับชาวบ้าน วันนี้ชาวบ้านที่นี่หลายๆคนได้จึงหันมาปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ขาย ควบคู่ไปกับวิถีอาชีพประมงพื้นบ้านที่ทำสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน
บังโหรน เล่าต่อว่า หลังจากเหตุการณ์สึนามิอีกเช่นกัน ได้มีคนเข้ามาแนะนำเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน กอปรกับที่ตนเคยทำอาชีพโรงแรมมาก่อนจึงเห็นพ้องต้องกัน(เช่นเดียวกับชาวบ้านอีกหลายคน) เนื่องจากในชุมชนบ้านท่าดินแดงมีของดีอยู่หลากหลาย หลังจากนั้นชาวบ้านที่นี่จึงได้มีการรวมกลุ่มจัดตั้ง“ชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าดินแดง”ขึ้นในราวปี 2549
แรกๆกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนที่นี่ก็เป็นเหมือนเช่นการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์คือ ล้มลุกคลุกคลานเจ็บตัวอยู่พักใหญ่ แต่ก็เริ่มพอตั้งตัวได้หลังปี 2553 เมื่อได้เข้าไปรวมกลุ่มกับเครือข่ายอื่นๆ ทำให้เริ่มเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น
ครั้นเมื่อมาในยุคนี้ที่โซเชียลมีเดียบูมอย่างมาก ชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าดินแดงก็ได้รับอานิสงส์จากการโพสต์ แชร์ บนโลกออนไลน์ ทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งไทย ฝรั่ง และจีน เดินทางเข้ามาอยู่เรื่อยๆ
ป่าชุมชนบนเหมืองเก่า
นั่นเป็นเรื่องราวเบื้องต้นของชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าดินแดง ซึ่งหลังจากนี้บังโหรนจะไปสัมผัสกับของดีบ้านท่าดินแดง(เป็นหนึ่งในโปรแกรมท่องเที่ยวที่ทางชุมชนกำหนดไว้) เริ่มกันตั้งแต่จุดตั้งต้นที่บริเวณขุมเหมืองเก่าที่ภายหลังเลิกราไป ปัจจุบันธรรมชาติได้จัดสรรให้กลายเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ที่มีวิวทิวทัศน์งดงาม
ที่นี่นอกจากจะเป็นท่าเรือชุมชนแล้วยังเป็นจุดเริมต้นของกิจกรรมพายเรือคายักเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน
ส่วนจุดสตาร์ทนั่งเรือคายัคเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและฝรั่งนั้น พวกเราต้องเดินกันต่อไปอีกหน่อย ผ่านผืนป่าชุมชนอันร่มรื่นเขียวครึ้ม ซึ่งเดิมเคยเป็นพื้นที่ทำเหมืองแร่มาก่อน(เหมืองปิยะ) ก่อนจะเลิกราไป แต่ปัจจุบันยังคงมีร่องรอยของรางแร่เหมืองเก่าและจุดร่อนแร่ของชาวบ้านในอดีตให้ทัศนากัน
วันนี้แม้ที่นี่จะยังมีแร่ดีบุกและขี้ตะกรันหลงเหลืออยู่ แต่ว่าขายไม่ได้ราคาแล้ว อาชีพร่อนแร่ที่ทำรายได้อู้ฟู่ในอดีต จึงกลายมาเป็นการสาธิตให้นักท่องเที่ยวชม โดยอดีตนักร่อนแร่ผู้ชำนาญ(วันนั้นมี 2 คุณป้าผู้ช่ำชอง) ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถไปร่วมแจมทดลองร่อนแร่กับนักร่อนแร่มืออาชีพของที่นี่ได้
ขณะที่บริเวณป่าชุมชนที่พวกเราเดินผ่านนั้นก็ไม่ธรรมดาเอาเสียเลย เพราะนี่เป็นผืนป่าที่ชาวบ้านท่าดินแดงได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาด้วยความภาคภูมิใจ
โดยหลังการปิดตัวลงของเหมืองแร่เมื่อราวปี 33-34 สภาพพื้นที่แห่งนี้ได้ถูกทิ้งร้างกลายเป็นพื้นดินปนทรายเสื่อมสภาพ
ต่อมาในราวปี 42-43 ชาวบ้านที่นี่จึงร่วมแรงร่วมใจกันปลูกป่าขึ้นบนพื้นดินปนทรายที่ใครหลายๆคนปรามาสว่าดินแบบนี้ปลูกอะไรก็ตาย แต่ชาวบ้านที่นี่เขามีการวางแผนการปลูกป่าที่ดี โดยในช่วงแรกพวกเขาเริ่มต้นด้วยการสร้างพื้นที่สีเขียวขึ้นมาก่อนจากการปลูกต้น“กระถินเทพา” ที่มีความอึดทนต่อสภาพพื้นที่และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว
เมื่อกระถินเทพาเติบโตสร้างพื้นที่สีเขียวน้อยๆขึ้นมา ก็เริ่มมีสัตว์เล็กๆมาอยู่อาศัย พืชบางชนิดก็ถือกำเนิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ(จัดสรร)
ขณะที่ชาวบ้านเองนั้นก็เดินหน้าหาต้นไม้พืชพันธุ์อื่นๆ(ที่คาดว่ามันจะเติบโตได้)มาปลูกป่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในทุกๆปี จนวันนี้จากอดีตพื้นที่เหมืองร้างที่มีแต่ดินปนทรายโล่งแล้ง ได้กลายมาเป็นผืนป่าชุมชนอันร่มรื่นเขียวครึ้มกินพื้นที่กว้างขวางเกือบ 80 ไร่
ภายในผืนป่ามากไปด้วยพืชพันธุ์อันหลากหลาย รวมถึงมีของป่าอย่าง ผักหวาน เห็ด มะม่วงหิมพานต์(กาหยี-ภาษาถิ่น) และสมุนไพร ให้ชาวบ้านได้เก็บไปกินไปขาย ตามกฎระเบียบป่าชุมชนของหมู่บ้านแห่งนี้
ล่องเรือชมป่าชายเลน
ป่าชุมชนบ้านท่าดินแดงเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างป่าชายเลนและลำคลอง อันเป็นจุดลงเรือคายัคเที่ยวลัดเลาะไปในร่องหลืบของป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์
ระหว่างเส้นทางนั่งเรือคายัก นอกจากจะได้ชมผืนป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ที่มากไปด้วยสรรพสัตว์และพืชพันธุ์อันหลากหลายแล้ว เรายังได้ชมวิถีการทำประมงพื้นบ้าน อย่าง การจับปลา ดักปู(ดำ) ไปเป็นอาหารหรือขาย ที่ถือเป็นอีกหนึ่งของดีของบ้านท่าดินแดง
อนึ่งการนั่งเรือคายักท่องป่าชายเลนของที่นี่จะมีสตาฟฟ์เป็นชาวบ้าน(ทั้งหญิง-ชาย) มาเป็นนายท้ายพายเรือชมป่าพร้อมให้ข้อมูลต่างๆที่น่าสนใจของสภาพพื้นที่ ส่วนถ้านักท่องเที่ยวคนไหนอยากจะทดลองพายเรือเองก็สามารถทำได้
สำหรับการนั่งเรือคายักท่องป่าชายเลนถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมไฮไลท์ของที่นี่ ซึ่งในเส้นทางจะค่อยๆลองจากลำคลองสายเล็กๆออกสู่คลองที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ คลองหยก คลองอ่าวหมัน ไปจนถึงคลองท่าดินแดงที่ติดกับปากอ่าว ที่มีขนาดใหญ่จนดูคล้ายๆแม่น้ำสายย่อมๆ
ต่อจากนั้นก็จะมีเรือหัวโทงลำใหญ่แล่นมาจอดรับพวกเราขึ้นจากเรือคายัค แล้วพามุ่งหน้าสู่“เขาหน้ายักษ์”ที่ถือเป็นอีกจุดไฮไลท์ของโปรแกรมท่องเที่ยวชุมชนบ้านท่าดินแดง
ทะเลงามเขาหน้ายักษ์
เขาหน้ายักษ์เป็นส่วนหนึ่งของแนวหาดท้ายเหมือง ที่มาของชื่อเขาลูกนี้มีเรื่องเล่าขานกันว่า
...เดิมหน้าผาที่นี่ซึ่งหันหน้าออกไปทางหมู่เกาะสิมิลันมีรูปร่างลักษณะดูคล้ายหน้ายักษ์อารมณ์โกรธเกรี้ยว กระทั่งมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเรือรบของทหารญี่ปุ่นหลายลำแล่นผ่านมาทางนี้ แล้วได้ล่มหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ทหารญี่ปุ่นต่างเชื่อว่าน่าจะเป็นอาถรรพ์หน้าผาหน้ายักษ์ของเขาลูกนี้ จึงใช้ปืนใหญ่ยิงหน้าผาหน้ายักษ์ให้จมลงทะเล กลายเป็นตำนานเขาหน้ายักษ์มาจนถึงทุกวันนี้...
สำหรับเส้นทางสู่เขาหน้ายักษ์ในโปรแกรมนี้ หลังเรานั่งเรือหัวโทงวิ่งไปออกทางปากอ่าวมาได้พักใหญ่ เรือก็มาจอดให้เราลงเดินเท้าต่อ ผ่านป่าทุ่งหญ้าสายสั้นๆ(ระยะทางไม่กี่ร้อยเมตร) ซึ่งหากใครเดินผ่านแล้วก็ผ่านเลย แต่หากใครลองเดินชมธรรมชาติไปเรื่อยๆก็จะพบว่าป่าแห่งนี้มีเสน่ห์และน่ายลอยู่ไม่น้อย
ในเส้นทางช่วงแรกของป่าแห่งนี้จะมี“ต้นทุ”(ชื่ออื่นๆเช่น โทะ พรวด ชวด ง้าย)ที่มีดอกสีชมพูอ่อน ขึ้นอยู่ทั่วไป ต้นทุมีผลแก่สีม่วงซึ่งผมแม้จะเคยเห็นมาหลายที่แล้ว แต่เพิ่งรู้ว่ามันกินได้ เมื่อบังโหรนเด็ดกินโชว์ให้ดูเป็นตัวอย่าง เราจึงทดลองกินตาม รสของมันหวานปะแล่มๆอมฝาดนิดๆ ถือเป็นของกินเล่นคลายร้อนในระหว่างทางได้ดีทีเดียว
จากนั้นถัดไปจะเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาขนาดย่อมๆที่มีต้นเสม็ดขาวขึ้นแทรกแซม รวมถึงขึ้นอยู่เบื้องหลังเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางฉากหลังของแนวเขาหน้ายักษ์ที่ทอดตัวตระหง่าน
ป่าทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งนี้ บังโหรนบอกว่าเป็นป่าใหม่เพิ่งเกิดขึ้นมาหลังสึนามิ เมื่อเดินผ่านไปท่ามกลางความโล่งร้อนของแสงแดดช่วงกลางวันแสกๆได้ไม่นาน ชนิดที่ร้องเพลงคุ้กกี้เสี่ยงทายได้ประมาณ 3-4 รอบ(แต่ผมร้องไม่จบ) พวกเราก็มาถึงยังบริเวณ “หาดเขาหน้ายักษ์” ซึ่งพลันที่ได้เห็นภาพที่ปรากฏเบื้องหน้า ความเหนื่อยล้าที่เดินมาก็พลันหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง!?!
หาดเขาหน้ายักษ์ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง หาดแห่งนี้เป็นส่วนช่วงปลายสุดของ“หาดท้ายเหมือง”แนวชายหาดความยาวต่อเนื่องกันราว 15 กม.
หาดเขาหน้ายักษ์เป็นเวิ้งอ่าวสงบ สะอาด สวยงาม มีพื้นทรายขาวนวล เนื้อทรายละเอียดยิบ น้ำทะเลใสแจ๋ว ค่อยๆไล่โทนจากสีเขียวอมฟ้าอ่อนๆไปสู่สีฟ้าแก่และน้ำเงินเข้มในเขตน้ำลึก นับเป็นแนวชายหาดที่มีความสวยงามใกล้เคียงกับแนวหาดทรายบนเกาะสิมิลัน เกาะสุรินทร์เลยทีเดียว
แถมชายหาดเขาหน้ายักษ์ยังไม่ใช่แนวชายหาดตัดลึก(เหมือนแนวชายหาดส่วนใหญ่ของหาดท้ายเหมือง) แต่หาดเขาหน้ายักษ์เป็นหาดที่มีความลาดชันน้อย แนวชายหาดค่อยๆไล่ระนาบออกสู่ท้องทะเล ทำให้หาดที่นี่สามารถลงแหวกว่ายเล่นน้ำได้อย่างเพลิดเพลิน
นอกจากนี้ที่ตรงช่วงสุดของเวิ้งอ่าวยังเป็นแนวผาเขาหน้ายักษ์ ยังมีแนวโขดหินเตี้ยๆริมผาให้เดินขึ้นไปยืนหามุมเท่ๆเก๋ๆถ่ายรูป ซึ่งเมื่อมองจากโขดหินตรงนี้เข้าไปยังแนวหน้าผา จะเห็นบางมุมของหน้าผาช่วงนี้มีลักษณะดูคล้ายหน้าของคนเหมือนกัน
เอ?!? หรือว่านี่จะเป็น“หน้ายักษ์ 2” เป็นลูกหลานของผาหน้ายักษ์ในตำนานที่ถูกญี่ปุ่นยิงปืนทำลาย
สำหรับหาดเขาหน้ายักษ์แล้วหากใครที่ได้มาเที่ยวกับคนรู้ใจ เมื่อได้มาเจอบรรยากาศอันสวยงามทรงเสน่ห์แบบนี้ ก็อาจจะพูดได้ว่า
“เขาหน้ายักษ์ แต่เธอน่ารัก”
สนามบินมา ป่าหาย
“พายเรือคายัค อนุรักษ์ป่าโกงกาง สวยงามหาดเขาหน้ายักษ์ ชมแปลงผักไฮโดรโปนิกส์ เกาะติดทุ่งหญ้าสะวันนา สุขอุราจับปูดำ”
คำขวัญท่องเที่ยวของหมู่บ้านท่าดินแดงที่ครอบคลุมมนต์เสน่ห์อันหลากหลายดังที่ผมได้เล่าขานกันมาในเบื้องต้น
แต่เมื่อเหรียญมีสองด้าน ชุมชนบ้านท่าดินแดงก็มีเรื่องราวด้านไม่โสภา อันเนื่องมาจากแผนการก่อสร้าง“สนามบินพังงา”ของสายการบินมหาเศรษฐีคนหนึ่ง ที่เบื้องต้นมีข่าวคราวอื้อฉาวอันเนื่องมาจากการชงของข้าราชการผู้ใหญ่บางคนในจังหวัดพังงา ที่เสนอให้นำพื้นที่“ป่าสงวนคลองทุ่งมะพร้าว”ที่กว้างใหญ่ไพศาลถึงราว 2 พันไร่มาสร้างสนามบินพังงา
งานนี้เห็นแค่ชื่อป่าสงวนมันก็ดูไม่เหมาะสมแล้ว ส่วนถ้ามันจำเป็นต้องสร้างจริงๆควรไปหาพื้นที่เหมาะสมอื่นๆมากกว่า เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีความไม่ชอบมาพากลบางอย่างเกิดขึ้น เมื่อผู้หลักผู้ใหญ่บางคนพยายามบิดเบือนให้พื้นที่ป่าสงวนทุ่งมะพร้าวกลายเป็น “ป่าเสื่อมโทรม”อีกต่างหาก
แล้วเรื่องนี้มันมาเกี่ยวอะไรกับชุมชนบ้านท่าดินแดง ก็บ้านท่าดินแดงนี่เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในใจกลางของพื้นที่ที่จะถูกนำไปสร้างสนามบิน ซึ่งถ้าปล่อยมีการให้สร้างสนามบินพังงาขึ้นในบริเวณนี้ ชุมชนบ้านท่าดินแดงต้องถูกย้ายออกไปทั้งหมด อีกทั้งยังทำให้ทรัพยากร ทั้งป่าบก ผืนป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ และทรัพยากรชายฝั่ง ต้องถูกทำลายอย่างมากมายมหาศาล
อย่างไรก็ดี กลับมีข้อมูลจากหน่วยงานฝ่ายชงให้สร้างสนามบินพังงาบอกว่า การสร้างสนามบินที่นี่“ไม่มีปัญหากับคนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง” แต่จากที่ผมลงไปสัมผัสชุมชนบ้านท่าดินแดงมา เจอแต่คนคัดค้านและเล่าถึงผลกระทบจากการสร้างสนามบินให้ฟังอย่างเปิดเผย
นอกจากนี้พวกเขายังได้ออกมาร้องทุกข์ ร้องเรียน ผ่านสื่อและอีกหลายหน่วยงาน จนบางคนถูกข่มขู่ คุกคาม
นั่นเลยทำให้ผมงุนงงว่า ไอ้คนที่บอกไม่มีปัญหากับชุมชนนั้นมันเอามาจากไหน
เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีเรื่องราวหมกเม็ดในเรื่องของการทำประชาพิจารณ์ และวิชามารอื่นๆต่อชาวบ้านผู้คัดค้านอีกหลากหลาย
อย่างไรก็ดีด้วยกระเสียงคัดค้านจากสังคมที่ดังหนาหู และเริ่มขยายตัวออกไปในวงกว้าง ทำให้นายทุนผู้คิดสร้างสนามบินเลือกที่จะ“ถอย”ออกมา ด้วยการชะลอโครงการดังกล่าวไว้ก่อน
แต่งานนี้ก็อย่าชะล่าใจไป เพราะชาวบ้านหลายคนที่บ้านท่าดินแดงบอกกับผมว่า เรื่องนี้ถ้าเผลอเมื่อไหร่ก็จะมีการหมกเม็ดชงเรื่องให้สร้างสนามบินพังงาขึ้นมาอีก พร้อมๆกับการสร้างข่าวเท็จ บิดเบือนข้อมูลในหลายๆเรื่อง ทั้งในเรื่องของสภาพพื้นที่ สิ่งแวดล้อม ผืนป่า และชุมชน
นี่จึงถือเป็นอีกเรื่องที่สังคมต้องช่วยกันจับตาและเฝ้าระวังให้ดี เพราะถ้าเกิดมีการดันทุรังให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนทุ่งมะพร้าวสร้างสนามบินพังงา นอกจากจะเกิดผลกระทบก่อให้เกิดการทำลายผืนป่าในจำนวนมหาศาลแล้ว
เมื่อสนามบินพังงามา
สภาพแวดล้อม ของดี และวิถีชีวิตของชาวชุมชนบ้านท่าดินแดง“พัง”!!! แน่นอน
******************************************
กิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนบ้านท่าดินแดงมีให้เลือกเป็นแพคเกจทั้งในรูปแบบครึ่งวัน เต็มวัน ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บังโหรน 084-443-3539 /บังดีน 086-273-0823 /บังจิ๋ว 086-274-7061 หรือดูที่เฟซบุก : กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านท่าดินแดง
และสามารถสอบถามรายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร การเดินทางในจังหวัดพังงา เชื่อมโยงกับชุมชนบ้านท่าดินแดง ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพังงา โทร. 0-7641-3400-2
******************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
พังงา นอกจากจะมีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลสวยงามติดอันดับโลกแล้ว พังงายังเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าชายเลนมากที่สุดในเมืองไทย โดยปัจจุบันพังงามีพื้นที่ป่าชายเลนอยู่ราวๆถึงเกือบ 2 แสนไร่
ในพื้นที่ป่าชายเลนจำนวนมากนี้นอกจากจะเป็นแหล่งสรรพชีวิตต่างๆแล้ว ยังเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวชุมชนชายฝั่ง รวมถึงยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ ซึ่งหลายๆชุมชนได้นำความโดดเด่นของป่าชายเลนในพื้นที่มาผนวกรวมกับของดีในชุมชน แล้วสร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนดีๆขึ้นมา
ดังเช่นชุมชน“บ้านท่าดินแดง” หนึ่งในชุมชนมากของดีที่หลังจากผมได้ไปสัมผัสมา นอกจากจะชื่นชอบประทับใจแล้ว...ก็ยังรู้สึกเป็นหวั่นใจภัยคุกคามที่ถาโถมเข้ามายังชุมชนแห่งนี้ไม่ได้
ชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าดินแดง
บ้านท่าดินแดง ที่ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านติดกับทะเลและป่าชายเลน ในอดีตในยุคเหมืองแร่เฟื่องฟูพื้นที่แห่งนี้เคยมีการมาทำสัมปทานเหมืองแร่ด้วยกันถึง 2 เหมือง ก่อนที่จะเลิกราไปหลังสิ้นยุคทองของเหมืองแร่
กระทั่งมาถึงในปี 2547เกิดจุดเปลี่ยนสำคัญขึ้น เมื่อคลื่นยักษ์สึนามิได้ถั่งโถมเข้าทำลายพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันของไทย(และในพื้นที่อื่นๆอีกหลายประเทศ) หมู่บ้านท่าดินแดงนับเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายไม่น้อย
“ปฏิพัทธ์ วาหะรักษ์” หรือ “บังโหรน” หัวหน้าทีมไกด์ชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าดินแดง เล่าให้ผมฟังว่า หลังเหตุการณ์สึนามิผ่านพ้น มีหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือชาวบ้าน หนึ่งในนั้นก็คือ “องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ” หรือ F.A.O. ที่เข้ามาให้ความรู้และสร้างอาชีพปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้กับชาวบ้าน วันนี้ชาวบ้านที่นี่หลายๆคนได้จึงหันมาปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ขาย ควบคู่ไปกับวิถีอาชีพประมงพื้นบ้านที่ทำสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน
บังโหรน เล่าต่อว่า หลังจากเหตุการณ์สึนามิอีกเช่นกัน ได้มีคนเข้ามาแนะนำเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน กอปรกับที่ตนเคยทำอาชีพโรงแรมมาก่อนจึงเห็นพ้องต้องกัน(เช่นเดียวกับชาวบ้านอีกหลายคน) เนื่องจากในชุมชนบ้านท่าดินแดงมีของดีอยู่หลากหลาย หลังจากนั้นชาวบ้านที่นี่จึงได้มีการรวมกลุ่มจัดตั้ง“ชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าดินแดง”ขึ้นในราวปี 2549
แรกๆกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนที่นี่ก็เป็นเหมือนเช่นการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์คือ ล้มลุกคลุกคลานเจ็บตัวอยู่พักใหญ่ แต่ก็เริ่มพอตั้งตัวได้หลังปี 2553 เมื่อได้เข้าไปรวมกลุ่มกับเครือข่ายอื่นๆ ทำให้เริ่มเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น
ครั้นเมื่อมาในยุคนี้ที่โซเชียลมีเดียบูมอย่างมาก ชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าดินแดงก็ได้รับอานิสงส์จากการโพสต์ แชร์ บนโลกออนไลน์ ทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งไทย ฝรั่ง และจีน เดินทางเข้ามาอยู่เรื่อยๆ
ป่าชุมชนบนเหมืองเก่า
นั่นเป็นเรื่องราวเบื้องต้นของชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าดินแดง ซึ่งหลังจากนี้บังโหรนจะไปสัมผัสกับของดีบ้านท่าดินแดง(เป็นหนึ่งในโปรแกรมท่องเที่ยวที่ทางชุมชนกำหนดไว้) เริ่มกันตั้งแต่จุดตั้งต้นที่บริเวณขุมเหมืองเก่าที่ภายหลังเลิกราไป ปัจจุบันธรรมชาติได้จัดสรรให้กลายเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ที่มีวิวทิวทัศน์งดงาม
ที่นี่นอกจากจะเป็นท่าเรือชุมชนแล้วยังเป็นจุดเริมต้นของกิจกรรมพายเรือคายักเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน
ส่วนจุดสตาร์ทนั่งเรือคายัคเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและฝรั่งนั้น พวกเราต้องเดินกันต่อไปอีกหน่อย ผ่านผืนป่าชุมชนอันร่มรื่นเขียวครึ้ม ซึ่งเดิมเคยเป็นพื้นที่ทำเหมืองแร่มาก่อน(เหมืองปิยะ) ก่อนจะเลิกราไป แต่ปัจจุบันยังคงมีร่องรอยของรางแร่เหมืองเก่าและจุดร่อนแร่ของชาวบ้านในอดีตให้ทัศนากัน
วันนี้แม้ที่นี่จะยังมีแร่ดีบุกและขี้ตะกรันหลงเหลืออยู่ แต่ว่าขายไม่ได้ราคาแล้ว อาชีพร่อนแร่ที่ทำรายได้อู้ฟู่ในอดีต จึงกลายมาเป็นการสาธิตให้นักท่องเที่ยวชม โดยอดีตนักร่อนแร่ผู้ชำนาญ(วันนั้นมี 2 คุณป้าผู้ช่ำชอง) ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถไปร่วมแจมทดลองร่อนแร่กับนักร่อนแร่มืออาชีพของที่นี่ได้
ขณะที่บริเวณป่าชุมชนที่พวกเราเดินผ่านนั้นก็ไม่ธรรมดาเอาเสียเลย เพราะนี่เป็นผืนป่าที่ชาวบ้านท่าดินแดงได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาด้วยความภาคภูมิใจ
โดยหลังการปิดตัวลงของเหมืองแร่เมื่อราวปี 33-34 สภาพพื้นที่แห่งนี้ได้ถูกทิ้งร้างกลายเป็นพื้นดินปนทรายเสื่อมสภาพ
ต่อมาในราวปี 42-43 ชาวบ้านที่นี่จึงร่วมแรงร่วมใจกันปลูกป่าขึ้นบนพื้นดินปนทรายที่ใครหลายๆคนปรามาสว่าดินแบบนี้ปลูกอะไรก็ตาย แต่ชาวบ้านที่นี่เขามีการวางแผนการปลูกป่าที่ดี โดยในช่วงแรกพวกเขาเริ่มต้นด้วยการสร้างพื้นที่สีเขียวขึ้นมาก่อนจากการปลูกต้น“กระถินเทพา” ที่มีความอึดทนต่อสภาพพื้นที่และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว
เมื่อกระถินเทพาเติบโตสร้างพื้นที่สีเขียวน้อยๆขึ้นมา ก็เริ่มมีสัตว์เล็กๆมาอยู่อาศัย พืชบางชนิดก็ถือกำเนิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ(จัดสรร)
ขณะที่ชาวบ้านเองนั้นก็เดินหน้าหาต้นไม้พืชพันธุ์อื่นๆ(ที่คาดว่ามันจะเติบโตได้)มาปลูกป่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในทุกๆปี จนวันนี้จากอดีตพื้นที่เหมืองร้างที่มีแต่ดินปนทรายโล่งแล้ง ได้กลายมาเป็นผืนป่าชุมชนอันร่มรื่นเขียวครึ้มกินพื้นที่กว้างขวางเกือบ 80 ไร่
ภายในผืนป่ามากไปด้วยพืชพันธุ์อันหลากหลาย รวมถึงมีของป่าอย่าง ผักหวาน เห็ด มะม่วงหิมพานต์(กาหยี-ภาษาถิ่น) และสมุนไพร ให้ชาวบ้านได้เก็บไปกินไปขาย ตามกฎระเบียบป่าชุมชนของหมู่บ้านแห่งนี้
ล่องเรือชมป่าชายเลน
ป่าชุมชนบ้านท่าดินแดงเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างป่าชายเลนและลำคลอง อันเป็นจุดลงเรือคายัคเที่ยวลัดเลาะไปในร่องหลืบของป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์
ระหว่างเส้นทางนั่งเรือคายัก นอกจากจะได้ชมผืนป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ที่มากไปด้วยสรรพสัตว์และพืชพันธุ์อันหลากหลายแล้ว เรายังได้ชมวิถีการทำประมงพื้นบ้าน อย่าง การจับปลา ดักปู(ดำ) ไปเป็นอาหารหรือขาย ที่ถือเป็นอีกหนึ่งของดีของบ้านท่าดินแดง
อนึ่งการนั่งเรือคายักท่องป่าชายเลนของที่นี่จะมีสตาฟฟ์เป็นชาวบ้าน(ทั้งหญิง-ชาย) มาเป็นนายท้ายพายเรือชมป่าพร้อมให้ข้อมูลต่างๆที่น่าสนใจของสภาพพื้นที่ ส่วนถ้านักท่องเที่ยวคนไหนอยากจะทดลองพายเรือเองก็สามารถทำได้
สำหรับการนั่งเรือคายักท่องป่าชายเลนถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมไฮไลท์ของที่นี่ ซึ่งในเส้นทางจะค่อยๆลองจากลำคลองสายเล็กๆออกสู่คลองที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่ คลองหยก คลองอ่าวหมัน ไปจนถึงคลองท่าดินแดงที่ติดกับปากอ่าว ที่มีขนาดใหญ่จนดูคล้ายๆแม่น้ำสายย่อมๆ
ต่อจากนั้นก็จะมีเรือหัวโทงลำใหญ่แล่นมาจอดรับพวกเราขึ้นจากเรือคายัค แล้วพามุ่งหน้าสู่“เขาหน้ายักษ์”ที่ถือเป็นอีกจุดไฮไลท์ของโปรแกรมท่องเที่ยวชุมชนบ้านท่าดินแดง
ทะเลงามเขาหน้ายักษ์
เขาหน้ายักษ์เป็นส่วนหนึ่งของแนวหาดท้ายเหมือง ที่มาของชื่อเขาลูกนี้มีเรื่องเล่าขานกันว่า
...เดิมหน้าผาที่นี่ซึ่งหันหน้าออกไปทางหมู่เกาะสิมิลันมีรูปร่างลักษณะดูคล้ายหน้ายักษ์อารมณ์โกรธเกรี้ยว กระทั่งมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเรือรบของทหารญี่ปุ่นหลายลำแล่นผ่านมาทางนี้ แล้วได้ล่มหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ทหารญี่ปุ่นต่างเชื่อว่าน่าจะเป็นอาถรรพ์หน้าผาหน้ายักษ์ของเขาลูกนี้ จึงใช้ปืนใหญ่ยิงหน้าผาหน้ายักษ์ให้จมลงทะเล กลายเป็นตำนานเขาหน้ายักษ์มาจนถึงทุกวันนี้...
สำหรับเส้นทางสู่เขาหน้ายักษ์ในโปรแกรมนี้ หลังเรานั่งเรือหัวโทงวิ่งไปออกทางปากอ่าวมาได้พักใหญ่ เรือก็มาจอดให้เราลงเดินเท้าต่อ ผ่านป่าทุ่งหญ้าสายสั้นๆ(ระยะทางไม่กี่ร้อยเมตร) ซึ่งหากใครเดินผ่านแล้วก็ผ่านเลย แต่หากใครลองเดินชมธรรมชาติไปเรื่อยๆก็จะพบว่าป่าแห่งนี้มีเสน่ห์และน่ายลอยู่ไม่น้อย
ในเส้นทางช่วงแรกของป่าแห่งนี้จะมี“ต้นทุ”(ชื่ออื่นๆเช่น โทะ พรวด ชวด ง้าย)ที่มีดอกสีชมพูอ่อน ขึ้นอยู่ทั่วไป ต้นทุมีผลแก่สีม่วงซึ่งผมแม้จะเคยเห็นมาหลายที่แล้ว แต่เพิ่งรู้ว่ามันกินได้ เมื่อบังโหรนเด็ดกินโชว์ให้ดูเป็นตัวอย่าง เราจึงทดลองกินตาม รสของมันหวานปะแล่มๆอมฝาดนิดๆ ถือเป็นของกินเล่นคลายร้อนในระหว่างทางได้ดีทีเดียว
จากนั้นถัดไปจะเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาขนาดย่อมๆที่มีต้นเสม็ดขาวขึ้นแทรกแซม รวมถึงขึ้นอยู่เบื้องหลังเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางฉากหลังของแนวเขาหน้ายักษ์ที่ทอดตัวตระหง่าน
ป่าทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งนี้ บังโหรนบอกว่าเป็นป่าใหม่เพิ่งเกิดขึ้นมาหลังสึนามิ เมื่อเดินผ่านไปท่ามกลางความโล่งร้อนของแสงแดดช่วงกลางวันแสกๆได้ไม่นาน ชนิดที่ร้องเพลงคุ้กกี้เสี่ยงทายได้ประมาณ 3-4 รอบ(แต่ผมร้องไม่จบ) พวกเราก็มาถึงยังบริเวณ “หาดเขาหน้ายักษ์” ซึ่งพลันที่ได้เห็นภาพที่ปรากฏเบื้องหน้า ความเหนื่อยล้าที่เดินมาก็พลันหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง!?!
หาดเขาหน้ายักษ์ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง หาดแห่งนี้เป็นส่วนช่วงปลายสุดของ“หาดท้ายเหมือง”แนวชายหาดความยาวต่อเนื่องกันราว 15 กม.
หาดเขาหน้ายักษ์เป็นเวิ้งอ่าวสงบ สะอาด สวยงาม มีพื้นทรายขาวนวล เนื้อทรายละเอียดยิบ น้ำทะเลใสแจ๋ว ค่อยๆไล่โทนจากสีเขียวอมฟ้าอ่อนๆไปสู่สีฟ้าแก่และน้ำเงินเข้มในเขตน้ำลึก นับเป็นแนวชายหาดที่มีความสวยงามใกล้เคียงกับแนวหาดทรายบนเกาะสิมิลัน เกาะสุรินทร์เลยทีเดียว
แถมชายหาดเขาหน้ายักษ์ยังไม่ใช่แนวชายหาดตัดลึก(เหมือนแนวชายหาดส่วนใหญ่ของหาดท้ายเหมือง) แต่หาดเขาหน้ายักษ์เป็นหาดที่มีความลาดชันน้อย แนวชายหาดค่อยๆไล่ระนาบออกสู่ท้องทะเล ทำให้หาดที่นี่สามารถลงแหวกว่ายเล่นน้ำได้อย่างเพลิดเพลิน
นอกจากนี้ที่ตรงช่วงสุดของเวิ้งอ่าวยังเป็นแนวผาเขาหน้ายักษ์ ยังมีแนวโขดหินเตี้ยๆริมผาให้เดินขึ้นไปยืนหามุมเท่ๆเก๋ๆถ่ายรูป ซึ่งเมื่อมองจากโขดหินตรงนี้เข้าไปยังแนวหน้าผา จะเห็นบางมุมของหน้าผาช่วงนี้มีลักษณะดูคล้ายหน้าของคนเหมือนกัน
เอ?!? หรือว่านี่จะเป็น“หน้ายักษ์ 2” เป็นลูกหลานของผาหน้ายักษ์ในตำนานที่ถูกญี่ปุ่นยิงปืนทำลาย
สำหรับหาดเขาหน้ายักษ์แล้วหากใครที่ได้มาเที่ยวกับคนรู้ใจ เมื่อได้มาเจอบรรยากาศอันสวยงามทรงเสน่ห์แบบนี้ ก็อาจจะพูดได้ว่า
“เขาหน้ายักษ์ แต่เธอน่ารัก”
สนามบินมา ป่าหาย
“พายเรือคายัค อนุรักษ์ป่าโกงกาง สวยงามหาดเขาหน้ายักษ์ ชมแปลงผักไฮโดรโปนิกส์ เกาะติดทุ่งหญ้าสะวันนา สุขอุราจับปูดำ”
คำขวัญท่องเที่ยวของหมู่บ้านท่าดินแดงที่ครอบคลุมมนต์เสน่ห์อันหลากหลายดังที่ผมได้เล่าขานกันมาในเบื้องต้น
แต่เมื่อเหรียญมีสองด้าน ชุมชนบ้านท่าดินแดงก็มีเรื่องราวด้านไม่โสภา อันเนื่องมาจากแผนการก่อสร้าง“สนามบินพังงา”ของสายการบินมหาเศรษฐีคนหนึ่ง ที่เบื้องต้นมีข่าวคราวอื้อฉาวอันเนื่องมาจากการชงของข้าราชการผู้ใหญ่บางคนในจังหวัดพังงา ที่เสนอให้นำพื้นที่“ป่าสงวนคลองทุ่งมะพร้าว”ที่กว้างใหญ่ไพศาลถึงราว 2 พันไร่มาสร้างสนามบินพังงา
งานนี้เห็นแค่ชื่อป่าสงวนมันก็ดูไม่เหมาะสมแล้ว ส่วนถ้ามันจำเป็นต้องสร้างจริงๆควรไปหาพื้นที่เหมาะสมอื่นๆมากกว่า เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีความไม่ชอบมาพากลบางอย่างเกิดขึ้น เมื่อผู้หลักผู้ใหญ่บางคนพยายามบิดเบือนให้พื้นที่ป่าสงวนทุ่งมะพร้าวกลายเป็น “ป่าเสื่อมโทรม”อีกต่างหาก
แล้วเรื่องนี้มันมาเกี่ยวอะไรกับชุมชนบ้านท่าดินแดง ก็บ้านท่าดินแดงนี่เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในใจกลางของพื้นที่ที่จะถูกนำไปสร้างสนามบิน ซึ่งถ้าปล่อยมีการให้สร้างสนามบินพังงาขึ้นในบริเวณนี้ ชุมชนบ้านท่าดินแดงต้องถูกย้ายออกไปทั้งหมด อีกทั้งยังทำให้ทรัพยากร ทั้งป่าบก ผืนป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ และทรัพยากรชายฝั่ง ต้องถูกทำลายอย่างมากมายมหาศาล
อย่างไรก็ดี กลับมีข้อมูลจากหน่วยงานฝ่ายชงให้สร้างสนามบินพังงาบอกว่า การสร้างสนามบินที่นี่“ไม่มีปัญหากับคนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง” แต่จากที่ผมลงไปสัมผัสชุมชนบ้านท่าดินแดงมา เจอแต่คนคัดค้านและเล่าถึงผลกระทบจากการสร้างสนามบินให้ฟังอย่างเปิดเผย
นอกจากนี้พวกเขายังได้ออกมาร้องทุกข์ ร้องเรียน ผ่านสื่อและอีกหลายหน่วยงาน จนบางคนถูกข่มขู่ คุกคาม
นั่นเลยทำให้ผมงุนงงว่า ไอ้คนที่บอกไม่มีปัญหากับชุมชนนั้นมันเอามาจากไหน
เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีเรื่องราวหมกเม็ดในเรื่องของการทำประชาพิจารณ์ และวิชามารอื่นๆต่อชาวบ้านผู้คัดค้านอีกหลากหลาย
อย่างไรก็ดีด้วยกระเสียงคัดค้านจากสังคมที่ดังหนาหู และเริ่มขยายตัวออกไปในวงกว้าง ทำให้นายทุนผู้คิดสร้างสนามบินเลือกที่จะ“ถอย”ออกมา ด้วยการชะลอโครงการดังกล่าวไว้ก่อน
แต่งานนี้ก็อย่าชะล่าใจไป เพราะชาวบ้านหลายคนที่บ้านท่าดินแดงบอกกับผมว่า เรื่องนี้ถ้าเผลอเมื่อไหร่ก็จะมีการหมกเม็ดชงเรื่องให้สร้างสนามบินพังงาขึ้นมาอีก พร้อมๆกับการสร้างข่าวเท็จ บิดเบือนข้อมูลในหลายๆเรื่อง ทั้งในเรื่องของสภาพพื้นที่ สิ่งแวดล้อม ผืนป่า และชุมชน
นี่จึงถือเป็นอีกเรื่องที่สังคมต้องช่วยกันจับตาและเฝ้าระวังให้ดี เพราะถ้าเกิดมีการดันทุรังให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนทุ่งมะพร้าวสร้างสนามบินพังงา นอกจากจะเกิดผลกระทบก่อให้เกิดการทำลายผืนป่าในจำนวนมหาศาลแล้ว
เมื่อสนามบินพังงามา
สภาพแวดล้อม ของดี และวิถีชีวิตของชาวชุมชนบ้านท่าดินแดง“พัง”!!! แน่นอน
******************************************
กิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนบ้านท่าดินแดงมีให้เลือกเป็นแพคเกจทั้งในรูปแบบครึ่งวัน เต็มวัน ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บังโหรน 084-443-3539 /บังดีน 086-273-0823 /บังจิ๋ว 086-274-7061 หรือดูที่เฟซบุก : กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านท่าดินแดง
และสามารถสอบถามรายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร การเดินทางในจังหวัดพังงา เชื่อมโยงกับชุมชนบ้านท่าดินแดง ได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพังงา โทร. 0-7641-3400-2
******************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager