Facebook : Travel @ Manager
สถานที่ท่องเที่ยวหลายๆ แห่งได้ผูกเอาตำนานพื้นถิ่นเข้ากับลักษณะหรือสภาพพื้นที่ เกิดเป็นเรื่องราวเกี่ยวโยงให้สถานที่นั้นๆ มีที่มาและเรื่องราวที่ชวนสัมผัส โดยส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องราวของความรักที่มักจบไม่สวย กลายเป็นโศกนาฎกรรมตำนานรักอมตะเคียงคู่สถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ให้ได้เล่าขานกัน
ในวันแห่งความรัก 14 กุมภา วันวาเลนไทน์ เราจึงขอนำเอาเรื่องราวของ 9 สถานที่ท่องเที่ยวอันมีตำนานรักอันโดดเด่นมาฝากกัน เพิ่มอรรถรสในการท่องเที่ยวให้มากยิ่งขึ้น
“หนองหาน” ตำนานรัก “ผาแดง-นางไอ่”
“หนองหาน” เป็นทะเลสาบน้ำจืดอันกว้างใหญ่ในภาคอีสาน มีหนองหานอยู่สองแห่งด้วยกันคือหนองหาร จ.สกลนคร และหนองหาน จ.อุดรธานี แม้หนองหานทั้งสองจะอยู่คนละจังหวัด แต่ทั้งคู่ต่างมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานรัก “ผาแดง-นางไอ่” เช่นเดียวกัน
นางไอ่กับท้าวผาแดงหากรักกันตามปกติก็คงไม่มีหนองหานเกิดขึ้น แต่เมื่อ “ท้าวภังคี” โอรสของพญานาคใต้เมืองบาดาลผู้หลงรักนางไอ่ได้แปลงกายมาเป็นกระรอกเผือกเพื่อหวังชิดใกล้ แต่สุดท้ายถูกจับมากินเป็นอาหาร ก่อนตายท้าวภังคีได้สาปแช่งไว้ว่าผู้ใดที่กินเนื้อของตนจะต้องล่มจมลงใต้บาดาลพร้อมกับบ้านเมือง และในคืนนั้นได้เกิดพายุใหญ่ แผ่นดินไหว น้ำท่วม ถล่มเมืองทั้งเมืองล่มจมลงไปในท้องบาดาลที่เชื่อกันว่าคือหนองหานในทุกวันนี้
หนองหานในปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยเฉพาะหนองหานที่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องของ “ทะเลบัวแดง” ซึ่งในช่วงหน้าหนาวจะมีดอกบัวแดง (บัวสาย) สีชมพูสดบานสะพรั่งนับล้านๆ ดอก กระจายไปทั่วน่านน้ำ สวยงามเป็นอย่างยิ่ง
“ภูพระบาท” ตำนานรัก “นางอุษา-ท้าวบารส”
“ภูพระบาท” ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี มีสภาพพื้นที่เป็นโขดหินและเพิงหินทรายกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเองจากฝีมือของธรรมชาติผ่านกาลเวลามานับแสนนับล้านปี เกิดเป็นกลุ่มก้อนหินรูปทรงประหลาดบนลานหินกว้างใหญ่
ที่นี่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับตำนานรักของ “นางอุสา-ท้าวบารส” นิทานพื้นบ้านที่เล่าว่า นางอุสาเป็นลูกสาวสุดรักของท้าวกงพาน ด้วยความหวงแหนจึงได้สร้างตำหนักเป็นหอสูงไว้บนภูเขาให้นางอุสาอยู่ แต่ต่อมานางอุสาไปพบรักกับท้าวบารสและลักลอบได้เสียกัน เมื่อท้าวกงพานรู้จึงโกรธมากและอยากจะประหารท้าวบารส แต่กลับถูกท้าวบารสตัดเศียรประหารแทน
เมื่อนางอุสาได้อยู่กับท้าวบารสแทนที่จะมีความสุข กลับต้องผจญกับมเหสีของท้าวบารสที่มีอยู่ก่อนหน้าถึง 10 นาง สุดท้ายแล้วนางอุสาตรอมใจกลับไปเสียชีวิตบนหอสูงที่ตัวเองอาศัยอยู่ และท้าวบารสก็ตรอมใจตายตามไป จากโศกนาฏกรรมรักนี้ทำให้สถานที่และก้อนหินรูปร่างต่างๆ บริเวณภูพระบาทมีชื่อเรียกขานเกี่ยวพันกับตำนานรักนางอุสา อาทิ หอนางอุษา คอกม้าท้าวบารส หีบศพนางอุษา หีบศพท้าวบารส บ่อน้ำนางอุษา เป็นต้น
ตำนานรักพระลอ-เพื่อนแพงแห่งเมืองสอง
มาที่ จ.แพร่ กันบ้าง วรรคหนึ่งของคำขวัญเมืองแพร่คือ “ถิ่นรักพระลอ” ซึ่งหมายถึง “ลิลิตพระลอ” วรรณคดีเก่าแก่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเกี่ยวกับตำนานความรักของพระลอแห่งเมืองสรวง และพระเพื่อนพระแพงแห่งเมืองสรอง (เมืองสอง) ซึ่งเชื่อกันว่าอยู่ใน อ.สอง จ.แพร่
ตำนานเล่าว่าเมืองสรวงและเมืองสองนั้นมีความแค้นเคืองกัน แต่ลูกชายและลูกสาวของทั้งสองเมืองกลับมีความรักต่อกัน โดยพระเพื่อนและพระแพงหลงรักพระลอจากคำกล่าวขาน จึงให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์จนทั้งสามคนได้อยู่ด้วยกันที่เมืองสองอย่างลับๆ ต่อมาพระเจ้าย่าของฝ่ายหญิงทราบเรื่อง จึงโกรธและให้ทหารสังหารหลานสาวและพระสวามีด้วยธนู ทั้งสามคนร่วมต่อสู้จนตัวตายในลักษณะยืนอิงพิงกัน
ด้วยตำนานรักนี้ ใน อ.สอง จ.แพร่ จึงมีการสร้าง “อุทยานลิลิตพระลอ” ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานตำนานความรักของทั้งสามคน อีกทั้งไม่ไกลกันยังเป็นที่ตั้งของ “วัดพระธาตุพระลอ” ซึ่งเชื่อว่าบริเวณนี้เคยเป็นชุมชนเมืองสรองโบราณ มีพระธาตุเก่าแก่ที่เชื่อกันว่าเป็นอนุสรณ์แห่งความรักของพระลอและพระเพื่อนพระแพง
รอคอยคนรักที่ถ้ำผานางคอย
ใน อ.ร้องกวาง จ.แพร่ มี “ถ้ำผานางคอย” เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ถ้ำแห่งนี้อยู่บนหน้าผา เป็นอุโมงค์ลึกยาว 150 เมตร มีหินงอกหินย้อยในลักษณะต่างๆ อีกทั้งในหน้าน้ำยังมีลำธารเล็กๆ ในถ้ำอีกด้วย และบริเวณสุดทางถ้ำมีก้อนหินใหญ่รูปร่างคล้ายหญิงสาวอุ้มลูกคล้ายรอคอยใครสักคนหนึ่ง จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำผานางคอย ที่มีตำนานพื้นบ้านเล่าขานสืบต่อกันมาว่า
ในสมัยอาณาจักรแสนหวี องค์หญิงอรัญญาณีผู้สูงศักดิ์พบรักกับคะนองเดช หัวหน้าฝีพาย จนฝ่ายหญิงตั้งครรภ์แล้วหนีมาด้วยกัน เมื่อถึงกลางป่าทหารยิงคะนองเดชแต่พลาดไปถูกกลางอุระขององค์หญิงอรัญญาณี ทั้งสองหลบเข้ามาอยู่ในถ้ำและประสูติพระโอรส องค์หญิงให้ชายที่รักรีบหนีไป และสัญญาว่าจะรออยู่ที่นี่ชั่วกัลปาวสาน แรงอธิษฐานดังกล่าวทำให้นางกลายเป็นหิน มือโอบพระโอรสไว้บนตัก เป็นที่มาของชื่อถ้ำผานางคอย
ตำนานรักสามเส้า ณ “ผาชู้”
“ผาชู้” ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีน่าน อ.นาน้อย จ.น่าน คำว่า “ชู้” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงชู้สาว แต่หมายถึงคนรัก โดยเป็นตำนานรัก 3 เส้า ระหว่าง “เจ้าจ๋วง” เจ้าเมืองหนุ่มรูปงาม กับ “เจ้าจันทน์ผา” ผู้เป็นชายา และ “เอื้อง” ลูกสาวพรานป่าที่เจ้าจ๋วงมาพบรักในระหว่างออกล่าสัตว์และได้ครองคู่กันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่เจ้าจันทน์ผาซึ่งเห็นสามีตัวเองหายไปจะตามมาพบเจ้าจ๋วงอยู่กับสาวเอื้อง
เมื่อมี 2 หญิง 1 ชาย หญิงสาวทั้งสองยื่นคำขาดให้เจ้าจ๋วงต้องเลือกใครคนใดคนหนึ่ง เจ้าจ๋วงตัดสินใจไม่ได้เพราะรักทั้งคู่ จึงอธิษฐานว่า “...ถ้าความรักของเราทั้งสามเป็นความรักแท้ที่บริสุทธิ์ ขอให้ร่างกายเรากลับกลายเป็นต้นไม้อยู่คู่กับโขดหินใหญ่แห่งนี้ตลอดกาล...” แล้วเจ้าจ๋วงก็กระโดดลงหน้าผา เจ้าจันทน์ผาเห็นดังนั้นก็กระโดดหน้าผาตายตาม ทำให้เอื้องที่เกรงกลัวบาปกรรมกระโดดหน้าผาตามไปอีกคน
เจ้าจ๋วงเมื่อตายแล้วกลายเป็นต้นจ๋วงหรือต้นสนเขา เจ้าจันทน์ผาร่างไปตายติดอยู่บนหิน กลายเป็นต้นจันทน์ผา ส่วนร่างของเอื้องตายไปติดอยู่บนต้นไม้กลายเป็นเอื้องหรือกล้วยไม้นั่นเอง
“สะพานรักสารสิน” รักต่างชนชั้น
มาที่ตำนานรักจากเรื่องจริงของชายหนุ่มหญิงสาวใน จ.ภูเก็ต ที่แตกต่างกันด้วยชาติตระกูลและฐานะทางสังคม ฝ่ายหญิงเป็นนักศึกษาวิทยาลัยครู ส่วนฝ่ายชายเป็นเพียงคนขับรถสองแถวและรับจ้างกรีดยาง บ้านของฝ่ายหญิงไม่พอใจฝ่ายชายจึงขัดขวางความรักอย่างหนัก ทั้งสองคนพยายามต่อสู้ฝ่าฟัน เพื่อให้รักสมหวังแต่ก็ทำไม่ได้ จึงตัดสินใจยอมแพ้ด้วยการเอาผ้าขาวม้าผูกมัดตัวทั้งสองติดกัน แล้วกระโดดจากกลางสะพานสารสินลงสู่ผืนน้ำ ทิ้งเรื่องราวความรักที่เป็นอมตะให้ผู้คนได้กล่าวขาน
สะพานสารสินจึงกลายมาเป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศ ปัจจุบันสะพานแห่งนี้ถูกใช้เป็นสะพานขาออกจากจังหวัดภูเก็ต ส่วนสะพานเทพกระษัตรีที่อยู่เคียงกันเป็นสะพานที่รถใช้เดินทางเข้ามาจากจังหวัดพังงา
ถ้ำพระนาง จ.กระบี่
ไม่ไกลจากหาดไร่เลย์ เป็นที่ตั้งของ “อ่าวถ้ำพระนาง” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในไฮไลต์ของทะเลกระบี่ ที่นี่มีชายหาดที่เงียบสงบ มีหาดทรายขาว และน้ำทะเลใสสะอาด อีกทั้งยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของชาวบ้านในบริเวณนี้ด้วยนั่นก็คือ “ถ้ำพระนาง” อันมีตำนานหนึ่งเล่าขานกันมาว่า นานมาแล้วมีสามีภรรยาคู่หนึ่งอยู่กันมานานไม่มีลูกเสียที จึงไปขอร้องกับพญานาคให้ประทานลูกให้ พญานาคตกลงให้ลูกสาวคนหนึ่งแต่มีข้อแม้ว่าเมื่อเด็กคนนี้โตขึ้นจะต้องให้แต่งงานกับลูกชายของตน
แต่เมื่อโตขึ้นหญิงสาวคนนั้นกลับไปแต่งงานกับคนอื่น พญานาคโกรธมากจึงออกมาอาละวาดทำลายพิธีแต่งงาน และเกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น ฤาษีตนหนึ่งที่อยู่ในถ้ำออกมาห้ามปรามก็ไม่มีใครฟัง ทุกคนจึงโดนฤาษีสาปให้เป็นหิน เรือนหอนั้นจึงกลายเป็นถ้ำ เป็นที่มาของชื่อ “ถ้ำพระนาง”
ส่วนผู้คนแถบนี้เชื่อว่าคือภายในถ้ำมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นผู้หญิงสิงสถิตย์อยู่ ชาวประมงที่เข้าไปหลบมรสุมในถ้ำแห่งนี้เคยฝันเห็นและเล่าต่อๆ กันมา หลังจากนั้นจึงมีการสร้างศาลขึ้น และเมื่อชาวเรือจะออกทะเลเพื่อไปหาปลา ก็จะไปกราบไหว้และนำปลัดขิกไปถวายเพื่อบนบานให้มีชีวิตรอดปลอดภัยจากการออกทะเล ภายในถ้ำจึงมีปลัดขิกหลากหลายขนาดวางกองเรียงรายให้เห็นกัน
เขาสามมุก-หาดบางแสน แทนความรักมั่นคง
ตำนานของเจ้าแม่เขาสามมุกแห่งบานแสนเล่ากันว่า ชายทะเลบางแสนในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ “แสน” ลูกชายคนเดียวของกำนันบ่าย ผู้มีฐานะร่ำรวย ในยามว่างหนุ่มแสนชอบที่จะไปเล่นว่าวที่บริเวณชายหาด ในวันหนึ่งว่าวปักเป้าของหนุ่มแสนขาดลอยหายไป “สามมุก” หลานสาวของยายเฒ่าที่ปลูกกระท่อมอยู่บนหน้าผาริมทะเลได้เก็บว่าวนั้นได้
เมื่อได้เจอกันทั้งสองต่างก็รักกันและได้นัดพบกันบนหน้าผาแห่งนั้นเสมอ และได้สัญญารักต่อกันว่าจะยึดมั่นในความรักไม่มีวันเปลี่ยนแปลง หากไม่สามารถได้สมรักก็จะสังเวยชีวิตด้วยกัน ณ ที่หน้าผาอันเป็นที่พบกันครั้งแรกแห่งนี้
แต่กำนันบ่ายกลับบังคับให้แสนแต่งงานกับลูกสาวของพ่อค้าที่มีฐานะดี ในวันแต่งงานของแสน สามมุกมารดน้ำสังข์ให้แสนแล้วขึ้นไปกระโดดจากหน้าผาเพื่อสังเวยชีวิต แสนก็กระโดดตามลงไปอย่างที่เคยให้คำมั่นสัญญากันไว้
ตำนานนี้อยู่คู่กับ “เขาสามมุก” และหาดบางแสน โดยมี “เจ้าแม่เขาสามมุก” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนมาเคารพสักการะและบนบานศาลกล่าวกันอยู่เนืองนิจ
สุดปลายทางรัก “โกโบริ-อังศุมาลิน” ที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย
แม้เรื่องนี้จะเป็นเรื่องแต่งจากปลายปากกาของ “ทมยันตี” แต่เรื่องราวของโกโบริ-อังศุมาลิน จากนวนิยาย “คู่กรรม” ก็เป็นสิ่งที่คนนึกถึงคู่กับ “สถานีรถไฟธนบุรี” หรือ “สถานีบางกอกน้อย” ซึ่งเป็นเรื่องราวของนายทหารหนุ่มชาวญี่ปุ่นและสาวชาวบางกอกน้อยที่ต้องมาผูกพันกันในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2
โกโบริและอังศุมาลินต้องแต่งงานกันด้วยเหตุผลทางการเมืองทั้งที่อังศุมาลินมีคนรักอยู่แล้ว แม้เธอจะไม่ชอบหน้าเขา แต่ด้วยความดีและความรักของโกโบริก็ทำให้อังศุมาลินใจอ่อน ในคืนที่มีการทิ้งระเบิดอย่างหนักที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย อังศุมาลินได้รีบตามโกโบริไปเพื่อจะบอกว่ารักเขามากแค่ไหน แต่ก็ไม่ทัน โกโบริโดนระเบิดเจียนตาย ก่อนที่โกโบริจะสิ้นใจ เขาบอกว่าจะไปรออังศุมาลินบนทางช้างเผือก เหมือนดั่งนิทานของเจ้าหญิงกับชายเลี้ยงวัว
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
สถานที่ท่องเที่ยวหลายๆ แห่งได้ผูกเอาตำนานพื้นถิ่นเข้ากับลักษณะหรือสภาพพื้นที่ เกิดเป็นเรื่องราวเกี่ยวโยงให้สถานที่นั้นๆ มีที่มาและเรื่องราวที่ชวนสัมผัส โดยส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องราวของความรักที่มักจบไม่สวย กลายเป็นโศกนาฎกรรมตำนานรักอมตะเคียงคู่สถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ให้ได้เล่าขานกัน
ในวันแห่งความรัก 14 กุมภา วันวาเลนไทน์ เราจึงขอนำเอาเรื่องราวของ 9 สถานที่ท่องเที่ยวอันมีตำนานรักอันโดดเด่นมาฝากกัน เพิ่มอรรถรสในการท่องเที่ยวให้มากยิ่งขึ้น
“หนองหาน” ตำนานรัก “ผาแดง-นางไอ่”
“หนองหาน” เป็นทะเลสาบน้ำจืดอันกว้างใหญ่ในภาคอีสาน มีหนองหานอยู่สองแห่งด้วยกันคือหนองหาร จ.สกลนคร และหนองหาน จ.อุดรธานี แม้หนองหานทั้งสองจะอยู่คนละจังหวัด แต่ทั้งคู่ต่างมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานรัก “ผาแดง-นางไอ่” เช่นเดียวกัน
นางไอ่กับท้าวผาแดงหากรักกันตามปกติก็คงไม่มีหนองหานเกิดขึ้น แต่เมื่อ “ท้าวภังคี” โอรสของพญานาคใต้เมืองบาดาลผู้หลงรักนางไอ่ได้แปลงกายมาเป็นกระรอกเผือกเพื่อหวังชิดใกล้ แต่สุดท้ายถูกจับมากินเป็นอาหาร ก่อนตายท้าวภังคีได้สาปแช่งไว้ว่าผู้ใดที่กินเนื้อของตนจะต้องล่มจมลงใต้บาดาลพร้อมกับบ้านเมือง และในคืนนั้นได้เกิดพายุใหญ่ แผ่นดินไหว น้ำท่วม ถล่มเมืองทั้งเมืองล่มจมลงไปในท้องบาดาลที่เชื่อกันว่าคือหนองหานในทุกวันนี้
หนองหานในปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยเฉพาะหนองหานที่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องของ “ทะเลบัวแดง” ซึ่งในช่วงหน้าหนาวจะมีดอกบัวแดง (บัวสาย) สีชมพูสดบานสะพรั่งนับล้านๆ ดอก กระจายไปทั่วน่านน้ำ สวยงามเป็นอย่างยิ่ง
“ภูพระบาท” ตำนานรัก “นางอุษา-ท้าวบารส”
“ภูพระบาท” ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี มีสภาพพื้นที่เป็นโขดหินและเพิงหินทรายกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเองจากฝีมือของธรรมชาติผ่านกาลเวลามานับแสนนับล้านปี เกิดเป็นกลุ่มก้อนหินรูปทรงประหลาดบนลานหินกว้างใหญ่
ที่นี่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับตำนานรักของ “นางอุสา-ท้าวบารส” นิทานพื้นบ้านที่เล่าว่า นางอุสาเป็นลูกสาวสุดรักของท้าวกงพาน ด้วยความหวงแหนจึงได้สร้างตำหนักเป็นหอสูงไว้บนภูเขาให้นางอุสาอยู่ แต่ต่อมานางอุสาไปพบรักกับท้าวบารสและลักลอบได้เสียกัน เมื่อท้าวกงพานรู้จึงโกรธมากและอยากจะประหารท้าวบารส แต่กลับถูกท้าวบารสตัดเศียรประหารแทน
เมื่อนางอุสาได้อยู่กับท้าวบารสแทนที่จะมีความสุข กลับต้องผจญกับมเหสีของท้าวบารสที่มีอยู่ก่อนหน้าถึง 10 นาง สุดท้ายแล้วนางอุสาตรอมใจกลับไปเสียชีวิตบนหอสูงที่ตัวเองอาศัยอยู่ และท้าวบารสก็ตรอมใจตายตามไป จากโศกนาฏกรรมรักนี้ทำให้สถานที่และก้อนหินรูปร่างต่างๆ บริเวณภูพระบาทมีชื่อเรียกขานเกี่ยวพันกับตำนานรักนางอุสา อาทิ หอนางอุษา คอกม้าท้าวบารส หีบศพนางอุษา หีบศพท้าวบารส บ่อน้ำนางอุษา เป็นต้น
ตำนานรักพระลอ-เพื่อนแพงแห่งเมืองสอง
มาที่ จ.แพร่ กันบ้าง วรรคหนึ่งของคำขวัญเมืองแพร่คือ “ถิ่นรักพระลอ” ซึ่งหมายถึง “ลิลิตพระลอ” วรรณคดีเก่าแก่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเกี่ยวกับตำนานความรักของพระลอแห่งเมืองสรวง และพระเพื่อนพระแพงแห่งเมืองสรอง (เมืองสอง) ซึ่งเชื่อกันว่าอยู่ใน อ.สอง จ.แพร่
ตำนานเล่าว่าเมืองสรวงและเมืองสองนั้นมีความแค้นเคืองกัน แต่ลูกชายและลูกสาวของทั้งสองเมืองกลับมีความรักต่อกัน โดยพระเพื่อนและพระแพงหลงรักพระลอจากคำกล่าวขาน จึงให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์จนทั้งสามคนได้อยู่ด้วยกันที่เมืองสองอย่างลับๆ ต่อมาพระเจ้าย่าของฝ่ายหญิงทราบเรื่อง จึงโกรธและให้ทหารสังหารหลานสาวและพระสวามีด้วยธนู ทั้งสามคนร่วมต่อสู้จนตัวตายในลักษณะยืนอิงพิงกัน
ด้วยตำนานรักนี้ ใน อ.สอง จ.แพร่ จึงมีการสร้าง “อุทยานลิลิตพระลอ” ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานตำนานความรักของทั้งสามคน อีกทั้งไม่ไกลกันยังเป็นที่ตั้งของ “วัดพระธาตุพระลอ” ซึ่งเชื่อว่าบริเวณนี้เคยเป็นชุมชนเมืองสรองโบราณ มีพระธาตุเก่าแก่ที่เชื่อกันว่าเป็นอนุสรณ์แห่งความรักของพระลอและพระเพื่อนพระแพง
รอคอยคนรักที่ถ้ำผานางคอย
ใน อ.ร้องกวาง จ.แพร่ มี “ถ้ำผานางคอย” เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ถ้ำแห่งนี้อยู่บนหน้าผา เป็นอุโมงค์ลึกยาว 150 เมตร มีหินงอกหินย้อยในลักษณะต่างๆ อีกทั้งในหน้าน้ำยังมีลำธารเล็กๆ ในถ้ำอีกด้วย และบริเวณสุดทางถ้ำมีก้อนหินใหญ่รูปร่างคล้ายหญิงสาวอุ้มลูกคล้ายรอคอยใครสักคนหนึ่ง จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำผานางคอย ที่มีตำนานพื้นบ้านเล่าขานสืบต่อกันมาว่า
ในสมัยอาณาจักรแสนหวี องค์หญิงอรัญญาณีผู้สูงศักดิ์พบรักกับคะนองเดช หัวหน้าฝีพาย จนฝ่ายหญิงตั้งครรภ์แล้วหนีมาด้วยกัน เมื่อถึงกลางป่าทหารยิงคะนองเดชแต่พลาดไปถูกกลางอุระขององค์หญิงอรัญญาณี ทั้งสองหลบเข้ามาอยู่ในถ้ำและประสูติพระโอรส องค์หญิงให้ชายที่รักรีบหนีไป และสัญญาว่าจะรออยู่ที่นี่ชั่วกัลปาวสาน แรงอธิษฐานดังกล่าวทำให้นางกลายเป็นหิน มือโอบพระโอรสไว้บนตัก เป็นที่มาของชื่อถ้ำผานางคอย
ตำนานรักสามเส้า ณ “ผาชู้”
“ผาชู้” ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีน่าน อ.นาน้อย จ.น่าน คำว่า “ชู้” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงชู้สาว แต่หมายถึงคนรัก โดยเป็นตำนานรัก 3 เส้า ระหว่าง “เจ้าจ๋วง” เจ้าเมืองหนุ่มรูปงาม กับ “เจ้าจันทน์ผา” ผู้เป็นชายา และ “เอื้อง” ลูกสาวพรานป่าที่เจ้าจ๋วงมาพบรักในระหว่างออกล่าสัตว์และได้ครองคู่กันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่เจ้าจันทน์ผาซึ่งเห็นสามีตัวเองหายไปจะตามมาพบเจ้าจ๋วงอยู่กับสาวเอื้อง
เมื่อมี 2 หญิง 1 ชาย หญิงสาวทั้งสองยื่นคำขาดให้เจ้าจ๋วงต้องเลือกใครคนใดคนหนึ่ง เจ้าจ๋วงตัดสินใจไม่ได้เพราะรักทั้งคู่ จึงอธิษฐานว่า “...ถ้าความรักของเราทั้งสามเป็นความรักแท้ที่บริสุทธิ์ ขอให้ร่างกายเรากลับกลายเป็นต้นไม้อยู่คู่กับโขดหินใหญ่แห่งนี้ตลอดกาล...” แล้วเจ้าจ๋วงก็กระโดดลงหน้าผา เจ้าจันทน์ผาเห็นดังนั้นก็กระโดดหน้าผาตายตาม ทำให้เอื้องที่เกรงกลัวบาปกรรมกระโดดหน้าผาตามไปอีกคน
เจ้าจ๋วงเมื่อตายแล้วกลายเป็นต้นจ๋วงหรือต้นสนเขา เจ้าจันทน์ผาร่างไปตายติดอยู่บนหิน กลายเป็นต้นจันทน์ผา ส่วนร่างของเอื้องตายไปติดอยู่บนต้นไม้กลายเป็นเอื้องหรือกล้วยไม้นั่นเอง
“สะพานรักสารสิน” รักต่างชนชั้น
มาที่ตำนานรักจากเรื่องจริงของชายหนุ่มหญิงสาวใน จ.ภูเก็ต ที่แตกต่างกันด้วยชาติตระกูลและฐานะทางสังคม ฝ่ายหญิงเป็นนักศึกษาวิทยาลัยครู ส่วนฝ่ายชายเป็นเพียงคนขับรถสองแถวและรับจ้างกรีดยาง บ้านของฝ่ายหญิงไม่พอใจฝ่ายชายจึงขัดขวางความรักอย่างหนัก ทั้งสองคนพยายามต่อสู้ฝ่าฟัน เพื่อให้รักสมหวังแต่ก็ทำไม่ได้ จึงตัดสินใจยอมแพ้ด้วยการเอาผ้าขาวม้าผูกมัดตัวทั้งสองติดกัน แล้วกระโดดจากกลางสะพานสารสินลงสู่ผืนน้ำ ทิ้งเรื่องราวความรักที่เป็นอมตะให้ผู้คนได้กล่าวขาน
สะพานสารสินจึงกลายมาเป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศ ปัจจุบันสะพานแห่งนี้ถูกใช้เป็นสะพานขาออกจากจังหวัดภูเก็ต ส่วนสะพานเทพกระษัตรีที่อยู่เคียงกันเป็นสะพานที่รถใช้เดินทางเข้ามาจากจังหวัดพังงา
ถ้ำพระนาง จ.กระบี่
ไม่ไกลจากหาดไร่เลย์ เป็นที่ตั้งของ “อ่าวถ้ำพระนาง” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในไฮไลต์ของทะเลกระบี่ ที่นี่มีชายหาดที่เงียบสงบ มีหาดทรายขาว และน้ำทะเลใสสะอาด อีกทั้งยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของชาวบ้านในบริเวณนี้ด้วยนั่นก็คือ “ถ้ำพระนาง” อันมีตำนานหนึ่งเล่าขานกันมาว่า นานมาแล้วมีสามีภรรยาคู่หนึ่งอยู่กันมานานไม่มีลูกเสียที จึงไปขอร้องกับพญานาคให้ประทานลูกให้ พญานาคตกลงให้ลูกสาวคนหนึ่งแต่มีข้อแม้ว่าเมื่อเด็กคนนี้โตขึ้นจะต้องให้แต่งงานกับลูกชายของตน
แต่เมื่อโตขึ้นหญิงสาวคนนั้นกลับไปแต่งงานกับคนอื่น พญานาคโกรธมากจึงออกมาอาละวาดทำลายพิธีแต่งงาน และเกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น ฤาษีตนหนึ่งที่อยู่ในถ้ำออกมาห้ามปรามก็ไม่มีใครฟัง ทุกคนจึงโดนฤาษีสาปให้เป็นหิน เรือนหอนั้นจึงกลายเป็นถ้ำ เป็นที่มาของชื่อ “ถ้ำพระนาง”
ส่วนผู้คนแถบนี้เชื่อว่าคือภายในถ้ำมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นผู้หญิงสิงสถิตย์อยู่ ชาวประมงที่เข้าไปหลบมรสุมในถ้ำแห่งนี้เคยฝันเห็นและเล่าต่อๆ กันมา หลังจากนั้นจึงมีการสร้างศาลขึ้น และเมื่อชาวเรือจะออกทะเลเพื่อไปหาปลา ก็จะไปกราบไหว้และนำปลัดขิกไปถวายเพื่อบนบานให้มีชีวิตรอดปลอดภัยจากการออกทะเล ภายในถ้ำจึงมีปลัดขิกหลากหลายขนาดวางกองเรียงรายให้เห็นกัน
เขาสามมุก-หาดบางแสน แทนความรักมั่นคง
ตำนานของเจ้าแม่เขาสามมุกแห่งบานแสนเล่ากันว่า ชายทะเลบางแสนในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ “แสน” ลูกชายคนเดียวของกำนันบ่าย ผู้มีฐานะร่ำรวย ในยามว่างหนุ่มแสนชอบที่จะไปเล่นว่าวที่บริเวณชายหาด ในวันหนึ่งว่าวปักเป้าของหนุ่มแสนขาดลอยหายไป “สามมุก” หลานสาวของยายเฒ่าที่ปลูกกระท่อมอยู่บนหน้าผาริมทะเลได้เก็บว่าวนั้นได้
เมื่อได้เจอกันทั้งสองต่างก็รักกันและได้นัดพบกันบนหน้าผาแห่งนั้นเสมอ และได้สัญญารักต่อกันว่าจะยึดมั่นในความรักไม่มีวันเปลี่ยนแปลง หากไม่สามารถได้สมรักก็จะสังเวยชีวิตด้วยกัน ณ ที่หน้าผาอันเป็นที่พบกันครั้งแรกแห่งนี้
แต่กำนันบ่ายกลับบังคับให้แสนแต่งงานกับลูกสาวของพ่อค้าที่มีฐานะดี ในวันแต่งงานของแสน สามมุกมารดน้ำสังข์ให้แสนแล้วขึ้นไปกระโดดจากหน้าผาเพื่อสังเวยชีวิต แสนก็กระโดดตามลงไปอย่างที่เคยให้คำมั่นสัญญากันไว้
ตำนานนี้อยู่คู่กับ “เขาสามมุก” และหาดบางแสน โดยมี “เจ้าแม่เขาสามมุก” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนมาเคารพสักการะและบนบานศาลกล่าวกันอยู่เนืองนิจ
สุดปลายทางรัก “โกโบริ-อังศุมาลิน” ที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย
แม้เรื่องนี้จะเป็นเรื่องแต่งจากปลายปากกาของ “ทมยันตี” แต่เรื่องราวของโกโบริ-อังศุมาลิน จากนวนิยาย “คู่กรรม” ก็เป็นสิ่งที่คนนึกถึงคู่กับ “สถานีรถไฟธนบุรี” หรือ “สถานีบางกอกน้อย” ซึ่งเป็นเรื่องราวของนายทหารหนุ่มชาวญี่ปุ่นและสาวชาวบางกอกน้อยที่ต้องมาผูกพันกันในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2
โกโบริและอังศุมาลินต้องแต่งงานกันด้วยเหตุผลทางการเมืองทั้งที่อังศุมาลินมีคนรักอยู่แล้ว แม้เธอจะไม่ชอบหน้าเขา แต่ด้วยความดีและความรักของโกโบริก็ทำให้อังศุมาลินใจอ่อน ในคืนที่มีการทิ้งระเบิดอย่างหนักที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย อังศุมาลินได้รีบตามโกโบริไปเพื่อจะบอกว่ารักเขามากแค่ไหน แต่ก็ไม่ทัน โกโบริโดนระเบิดเจียนตาย ก่อนที่โกโบริจะสิ้นใจ เขาบอกว่าจะไปรออังศุมาลินบนทางช้างเผือก เหมือนดั่งนิทานของเจ้าหญิงกับชายเลี้ยงวัว
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager