Facebook :Travel @ Manager
เมื่อฉันนั่งเรือด่วนเจ้าพระยาผ่านมาแถวๆ ใต้สะพานพระรามแปด จะมองเห็นการก่อสร้างอาคารในบริเวณของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ปิดปรับปรุงพื้นที่เมื่อปี 2560 และไม่กี่วันมานี้ฉันทราบมาว่า อาคารพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงเสร็จเรียบร้อย และตั้งเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย” และเพิ่งเปิดให้เข้าชมเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งฉันไม่พลาดที่จะเข้าไปชมความไฉไลของอาคารใหม่แห่งนี้
ก่อนที่จะเข้าไปชมด้านใน เรามาทำความรู้จักกับพื้นที่แห่งนี้กันก่อน พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณใต้สะพานพระรามแปดเดิมพื้นที่แห่งใหม่นี้เคยเป็นอาคารโรงพิมพ์ธนบัตร ต่อมามีการก่อสร้างเป็น “พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย” และล่าสุดปรับปรุงมาเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย”
ภายใน “ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย” แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ มีทั้งหมด 4 ชั้น ในแต่ละชั้นจะบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของการผลิตเงินตราในแต่ละยุคสมัย ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่นำพาชม พร้อมเล่าประวัติเรื่องราวในอดีตให้ฟัง โดยมีทั้งหมด 8 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 เวลา 9.30 น., รอบที่ 2 เวลา 10.00 น., รอบที่ 3 เวลา 10.30 น., รอบที่ 4 เวลา 11.00 น., รอบที่ 5 เวลา 13.00 น., รอบที่ 6 เวลา 13.30 น., รอบที่ 7 เวลา 14.00 น. และรอบที่ 8 เวลา 14.30 น. ในแต่ละรอบจะใช้ชมเวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง โดยจะเปิดให้เข้าชมฟรีจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2561
เมื่อก้าวเข้ามายัง “ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย” จากนั้นติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับบัตรเข้าชมตามรอบเวลาที่จัดไว้ ห้องแรกที่เจ้าหน้าที่พาไปชมคือ “นิทรรศการโรงพิมพ์ธนบัตร” ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 ภายในห้องนี้จะเป็นโถงโรงพิมพ์ธนบัตร ได้สัมผัสเรื่องราวการพิมพ์ธนบัตรตั้งแต่อดีต ผ่านเครื่องพิมพ์ธนบัตรเก่าแก่ ที่มีอายุกว่า 50 ปี โดยมีทั้งหมด 3 เครื่องด้วยกัน ได้แก่ เครื่องพิมพ์สีพื้น เครื่องพิมพ์เส้นนูน และเครื่องพิมพ์เลขหมายลายเซ็น
เมื่อชมเครื่องพิมพ์ธนบัตรโบราณกันแบบจุใจแล้ว ถัดไปจากห้องโถงโรงพิมพ์ธนบัตร จะเป็นส่วนของ “เรื่องเล่า ธปท.” เจ้าหน้าที่จะเปิดวีดีทัศน์สั้นๆ ให้ชม โดยใช้เวลาปราณ 5 นาที โดยจะบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินของประเทศ รวมถึงบทบาทภารกิจหลักของธปท. ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
และในส่วน “เรื่องเล่า ธปท.” ห้องนี้เมื่อก่อนเคยเป็น “ห้องมั่นคง” เป็นที่เก็บรักษาธนบัตรของประเทศ เงินตราสำรองระหว่างประเทศ และสินทรัพย์อื่นๆ ของประเทศ และเคยเป็นหนึ่งในห้องที่ถือว่าต้องรักษาความปลอดภัยสูงสุดของประเทศ ซึ่งเป็นเขตหวงห้ามเฉพาะ โดยภายในยังคงลักษณะเดิมของห้องเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเสาหรือประตูเหล็กนิรภัย
จากชั้น 2 เดินลงไปยังชั้น B2 ซึ่งอยู่ชั้นล่างสุด เป็นชั้นใต้ดินอยู่ต่ำกว่าระดับแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 2 ชั้น โดยในชั้นนี้เป็นห้อง “นิทรรศการเงินตรา 1” มาย้อนรอยค้นหาแหล่งที่มาของเงิน ที่ได้ปรากฏขึ้นในแหล่งอารยธรรมต่างๆ ของโลก มารู้จักกับต้นกำเนิดของเหรียญกษาปณ์แรกของโลก คือ เหรียญลิเดีย ที่มีอายุราว 2,600 ปี
“เหรียญลิเดีย” ถือเป็นการใช้เหรียญเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน จนทำให้อาณาจักรลิเดียมีความเฟื่องฟูขึ้นมา ต่อมานครรัฐกรีกจึงผลิตเหรียญออกใช้บ้าง ความนิยมการใช้เงินตราได้แพร่สู่โลกตะวันออกเรื่อยมา จนถึงเหรียญและเงินรูปแบบต่างๆ ในภูมิภาคสุวรรณภูมิของเมืองต่างๆ เช่น เหรียญทวารวดี ของอาณาจักรทวารวดี, เงินเจียง ของอาณาล้านนา และเงินพดด้วง ของอาณาจักรสุโขทัย เป็นต้น
เมื่อชมต้นกำเนิดของเงินตราในรูปแบบของเหรียญแล้ว จากนั้นมาชมความเป็นมาของธนบัตรกันบ้าง โดยจัดแสดงอยู่ที่ห้อง “นิทรรศการเงินตรา 2” ตั้งอยู่บริเวณ ชั้น B1 ห้องนี้มีการนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทยกับวิวัฒนาการของเงินตราไทย ที่เล่าเรื่องผ่านชีวิตของชาวสยามในยุครัตนโกสินทร์จนมาถึงปัจจุบัน มีการรวบรวมธนบัตรไทยที่สมบูรณ์ที่สุดในแต่ละยุคสมัย
จุดเริ่มต้นของการใช้เงินที่มีรูปแบบกระดาษนั้น เกิดขึ้นหลังจากที่ไทยได้มีการลงนามในสนธิสัญญาเบาริ่ง ซึ่งเป็นการทำสนธิสัญญาทางการค้า ทำให้ประเทศไทยมีการค้าขายกับนานาประเทศจนมีความเจริญมากขึ้น ทำให้เงินพดด้วงที่ผลิตด้วยแร่เงินมีการผลิตไม่ทันใช้ จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการใช้ "เงินกระดาษ" เป็นครั้งแรก ใช้คำเรียกว่า "หมาย" ออกมาทั้งสิ้น 3 รุ่น ต่อมาใช้คำว่า “อัฐกระดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5
จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการออกแบบเงินกระดาษขึ้น เป็นธนบัตรแบบที่ 1 พิมพ์ใช้ครั้งแรกในวันที่ 19 กันยายน 2445 เป็นธนบัตรที่มีการพิมพ์เพียงด้านเดียว ต่อมามีการพิมพ์ธนบัตรแบบที่ 2 เป็นธนบัตรที่มีการพิมพ์สองด้าน และธนบัตรแบบที่ 3 มีการพิมพ์ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ จากนั้นมีการพัฒนาการพิมพ์เรื่อยมาจวบจนถึงธนบัตรแบบที่ 16 ซึ่งเป็นแบบที่มีการพิมพ์ใช้ในปัจจุบัน
นอกจากมีการแสดงธนบัตรในแต่สมัยแล้ว ภายในห้อง “นิทรรศการเงินตรา 2” ได้รวบรวมธนบัตรและเหรียญที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ เช่น เป็นที่ระลึก หรือใช้ในเหตุการณ์พิเศษ เช่น เหรียญทองคำและธนบัตรทองคำ เป็นต้น มาให้ชมกันอีกด้วย
จากชั้น B1 ขึ้นบันไดมาที่ชั้น 1 “นิทรรศการบทบาทหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย” มาเรียนรู้ประวัติและบทบาทหน้าที่ของธปท. ในด้านต่างๆ ได้แก่ การดำเนินนโยบายการเงิน การกำกับดูแลสถาบันการเงิน บทบาทหน้าที่การผลิตและบริหารจัดการธนบัตร และด้านระบบการชำระเงิน ผ่านการนำเสนอผ่านสื่อด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
บริเวณริมผนังภายในห้องนี้จะมีแผ่นไม้กระดานเป็นส่วนโค้ง ส่วนเว้า แสดงถึงผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ที่มีการบอกเล่าเกี่ยวกับเศรษฐกิจของไทยในระยะเวลา 75 ปี หากมีความโค้งมากมีความหมายว่าในปีนั้นมีผลผลิตมวลรวมภายในประเทศสูง ในช่วงล่างเป็นการแสดงถึงอัตราเงินเฟ้อ หากมีส่วนเว้ามากก็แสดงว่าในปีนั้นมีอัตราเงินเฟ้อสูง หรืออยู่ในช่วงเหตุการณ์สงครามโลก
นอกจากนี้ยังมีการแสดงผลงานของอดีตผู้ว่าการธปท. จนถึงปัจจุบันมาให้ชม และที่พลาดไม่ได้ในการเข้ามาชมในห้องนี้ ก็คือ “กุญแจทองคำจำลอง” ที่ใช้เปิดทำการธปท.เป็นครั้งแรก โดยปัจจุบันกุญแจทองของจริงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ภายในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ภายในตัวอาคารของศูนย์การเรียนรู้ฯ ยังมีห้องสมุดพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย และ พื้นที่ทำงานร่วมกัน หรือที่เรียกกันว่า co-working space ท่ามกลางบรรยากาศสบาย ๆ อันเงียบสงบ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและสะพานพระรามแปด โดยเปิดบริการตั้งแต่ 9.30-20.00 น.
* * * * * * * * * * * * * * * * *
“ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย” ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (ตั้งแต่วันนี้ - 30 มิถุนายน 2561) เปิดบริการในวันอังคาร-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) ตั้งแต่เวลา 09.30-16.30 น. โดยจะมีเจ้าหน้าที่บรรยายให้ความรู้ทั้งหมด 8 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 เวลา 9.30 น. รอบที่ 2 เวลา 10.00 น., รอบที่ 3 เวลา 10.30 น., รอบที่ 4 เวลา 11.00 น., รอบที่ 5 เวลา 13.00 น., รอบที่ 6 เวลา 13.30 น., รอบที่ 7 เวลา 14.00 น. และรอบที่ 8 เวลา 14.30 น. หากมาเป็นหมู่คณะต้องจองวันและเวลาเข้าชมล่วงหน้า สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2356-7766
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
เมื่อฉันนั่งเรือด่วนเจ้าพระยาผ่านมาแถวๆ ใต้สะพานพระรามแปด จะมองเห็นการก่อสร้างอาคารในบริเวณของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ปิดปรับปรุงพื้นที่เมื่อปี 2560 และไม่กี่วันมานี้ฉันทราบมาว่า อาคารพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงเสร็จเรียบร้อย และตั้งเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย” และเพิ่งเปิดให้เข้าชมเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งฉันไม่พลาดที่จะเข้าไปชมความไฉไลของอาคารใหม่แห่งนี้
ก่อนที่จะเข้าไปชมด้านใน เรามาทำความรู้จักกับพื้นที่แห่งนี้กันก่อน พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณใต้สะพานพระรามแปดเดิมพื้นที่แห่งใหม่นี้เคยเป็นอาคารโรงพิมพ์ธนบัตร ต่อมามีการก่อสร้างเป็น “พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย” และล่าสุดปรับปรุงมาเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย”
ภายใน “ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย” แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ มีทั้งหมด 4 ชั้น ในแต่ละชั้นจะบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของการผลิตเงินตราในแต่ละยุคสมัย ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่นำพาชม พร้อมเล่าประวัติเรื่องราวในอดีตให้ฟัง โดยมีทั้งหมด 8 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 เวลา 9.30 น., รอบที่ 2 เวลา 10.00 น., รอบที่ 3 เวลา 10.30 น., รอบที่ 4 เวลา 11.00 น., รอบที่ 5 เวลา 13.00 น., รอบที่ 6 เวลา 13.30 น., รอบที่ 7 เวลา 14.00 น. และรอบที่ 8 เวลา 14.30 น. ในแต่ละรอบจะใช้ชมเวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง โดยจะเปิดให้เข้าชมฟรีจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2561
เมื่อก้าวเข้ามายัง “ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย” จากนั้นติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับบัตรเข้าชมตามรอบเวลาที่จัดไว้ ห้องแรกที่เจ้าหน้าที่พาไปชมคือ “นิทรรศการโรงพิมพ์ธนบัตร” ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 ภายในห้องนี้จะเป็นโถงโรงพิมพ์ธนบัตร ได้สัมผัสเรื่องราวการพิมพ์ธนบัตรตั้งแต่อดีต ผ่านเครื่องพิมพ์ธนบัตรเก่าแก่ ที่มีอายุกว่า 50 ปี โดยมีทั้งหมด 3 เครื่องด้วยกัน ได้แก่ เครื่องพิมพ์สีพื้น เครื่องพิมพ์เส้นนูน และเครื่องพิมพ์เลขหมายลายเซ็น
เมื่อชมเครื่องพิมพ์ธนบัตรโบราณกันแบบจุใจแล้ว ถัดไปจากห้องโถงโรงพิมพ์ธนบัตร จะเป็นส่วนของ “เรื่องเล่า ธปท.” เจ้าหน้าที่จะเปิดวีดีทัศน์สั้นๆ ให้ชม โดยใช้เวลาปราณ 5 นาที โดยจะบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินของประเทศ รวมถึงบทบาทภารกิจหลักของธปท. ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
และในส่วน “เรื่องเล่า ธปท.” ห้องนี้เมื่อก่อนเคยเป็น “ห้องมั่นคง” เป็นที่เก็บรักษาธนบัตรของประเทศ เงินตราสำรองระหว่างประเทศ และสินทรัพย์อื่นๆ ของประเทศ และเคยเป็นหนึ่งในห้องที่ถือว่าต้องรักษาความปลอดภัยสูงสุดของประเทศ ซึ่งเป็นเขตหวงห้ามเฉพาะ โดยภายในยังคงลักษณะเดิมของห้องเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเสาหรือประตูเหล็กนิรภัย
จากชั้น 2 เดินลงไปยังชั้น B2 ซึ่งอยู่ชั้นล่างสุด เป็นชั้นใต้ดินอยู่ต่ำกว่าระดับแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 2 ชั้น โดยในชั้นนี้เป็นห้อง “นิทรรศการเงินตรา 1” มาย้อนรอยค้นหาแหล่งที่มาของเงิน ที่ได้ปรากฏขึ้นในแหล่งอารยธรรมต่างๆ ของโลก มารู้จักกับต้นกำเนิดของเหรียญกษาปณ์แรกของโลก คือ เหรียญลิเดีย ที่มีอายุราว 2,600 ปี
“เหรียญลิเดีย” ถือเป็นการใช้เหรียญเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน จนทำให้อาณาจักรลิเดียมีความเฟื่องฟูขึ้นมา ต่อมานครรัฐกรีกจึงผลิตเหรียญออกใช้บ้าง ความนิยมการใช้เงินตราได้แพร่สู่โลกตะวันออกเรื่อยมา จนถึงเหรียญและเงินรูปแบบต่างๆ ในภูมิภาคสุวรรณภูมิของเมืองต่างๆ เช่น เหรียญทวารวดี ของอาณาจักรทวารวดี, เงินเจียง ของอาณาล้านนา และเงินพดด้วง ของอาณาจักรสุโขทัย เป็นต้น
เมื่อชมต้นกำเนิดของเงินตราในรูปแบบของเหรียญแล้ว จากนั้นมาชมความเป็นมาของธนบัตรกันบ้าง โดยจัดแสดงอยู่ที่ห้อง “นิทรรศการเงินตรา 2” ตั้งอยู่บริเวณ ชั้น B1 ห้องนี้มีการนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทยกับวิวัฒนาการของเงินตราไทย ที่เล่าเรื่องผ่านชีวิตของชาวสยามในยุครัตนโกสินทร์จนมาถึงปัจจุบัน มีการรวบรวมธนบัตรไทยที่สมบูรณ์ที่สุดในแต่ละยุคสมัย
จุดเริ่มต้นของการใช้เงินที่มีรูปแบบกระดาษนั้น เกิดขึ้นหลังจากที่ไทยได้มีการลงนามในสนธิสัญญาเบาริ่ง ซึ่งเป็นการทำสนธิสัญญาทางการค้า ทำให้ประเทศไทยมีการค้าขายกับนานาประเทศจนมีความเจริญมากขึ้น ทำให้เงินพดด้วงที่ผลิตด้วยแร่เงินมีการผลิตไม่ทันใช้ จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการใช้ "เงินกระดาษ" เป็นครั้งแรก ใช้คำเรียกว่า "หมาย" ออกมาทั้งสิ้น 3 รุ่น ต่อมาใช้คำว่า “อัฐกระดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5
จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการออกแบบเงินกระดาษขึ้น เป็นธนบัตรแบบที่ 1 พิมพ์ใช้ครั้งแรกในวันที่ 19 กันยายน 2445 เป็นธนบัตรที่มีการพิมพ์เพียงด้านเดียว ต่อมามีการพิมพ์ธนบัตรแบบที่ 2 เป็นธนบัตรที่มีการพิมพ์สองด้าน และธนบัตรแบบที่ 3 มีการพิมพ์ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ จากนั้นมีการพัฒนาการพิมพ์เรื่อยมาจวบจนถึงธนบัตรแบบที่ 16 ซึ่งเป็นแบบที่มีการพิมพ์ใช้ในปัจจุบัน
นอกจากมีการแสดงธนบัตรในแต่สมัยแล้ว ภายในห้อง “นิทรรศการเงินตรา 2” ได้รวบรวมธนบัตรและเหรียญที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ เช่น เป็นที่ระลึก หรือใช้ในเหตุการณ์พิเศษ เช่น เหรียญทองคำและธนบัตรทองคำ เป็นต้น มาให้ชมกันอีกด้วย
จากชั้น B1 ขึ้นบันไดมาที่ชั้น 1 “นิทรรศการบทบาทหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย” มาเรียนรู้ประวัติและบทบาทหน้าที่ของธปท. ในด้านต่างๆ ได้แก่ การดำเนินนโยบายการเงิน การกำกับดูแลสถาบันการเงิน บทบาทหน้าที่การผลิตและบริหารจัดการธนบัตร และด้านระบบการชำระเงิน ผ่านการนำเสนอผ่านสื่อด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
บริเวณริมผนังภายในห้องนี้จะมีแผ่นไม้กระดานเป็นส่วนโค้ง ส่วนเว้า แสดงถึงผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ที่มีการบอกเล่าเกี่ยวกับเศรษฐกิจของไทยในระยะเวลา 75 ปี หากมีความโค้งมากมีความหมายว่าในปีนั้นมีผลผลิตมวลรวมภายในประเทศสูง ในช่วงล่างเป็นการแสดงถึงอัตราเงินเฟ้อ หากมีส่วนเว้ามากก็แสดงว่าในปีนั้นมีอัตราเงินเฟ้อสูง หรืออยู่ในช่วงเหตุการณ์สงครามโลก
นอกจากนี้ยังมีการแสดงผลงานของอดีตผู้ว่าการธปท. จนถึงปัจจุบันมาให้ชม และที่พลาดไม่ได้ในการเข้ามาชมในห้องนี้ ก็คือ “กุญแจทองคำจำลอง” ที่ใช้เปิดทำการธปท.เป็นครั้งแรก โดยปัจจุบันกุญแจทองของจริงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ภายในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ภายในตัวอาคารของศูนย์การเรียนรู้ฯ ยังมีห้องสมุดพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย และ พื้นที่ทำงานร่วมกัน หรือที่เรียกกันว่า co-working space ท่ามกลางบรรยากาศสบาย ๆ อันเงียบสงบ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและสะพานพระรามแปด โดยเปิดบริการตั้งแต่ 9.30-20.00 น.
* * * * * * * * * * * * * * * * *
“ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย” ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (ตั้งแต่วันนี้ - 30 มิถุนายน 2561) เปิดบริการในวันอังคาร-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) ตั้งแต่เวลา 09.30-16.30 น. โดยจะมีเจ้าหน้าที่บรรยายให้ความรู้ทั้งหมด 8 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 เวลา 9.30 น. รอบที่ 2 เวลา 10.00 น., รอบที่ 3 เวลา 10.30 น., รอบที่ 4 เวลา 11.00 น., รอบที่ 5 เวลา 13.00 น., รอบที่ 6 เวลา 13.30 น., รอบที่ 7 เวลา 14.00 น. และรอบที่ 8 เวลา 14.30 น. หากมาเป็นหมู่คณะต้องจองวันและเวลาเข้าชมล่วงหน้า สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2356-7766
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager