โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
ปีไก่จากลา ปีหมามาแทน
ปีนี้ พ.ศ.2561หรือ ค.ศ.2018 เป็นปีจอหรือปีหมา
ตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณเรื่องการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดหรือการไหว้พระธาตุประจำปีนักษัตร(12 นักษัตร) เชื่อว่าคนเกิดปีจอมี “พระเจดีย์จุฬามณี” หรือ “พระเจดีย์เกศแก้วจุฬามณี” เป็นพระธาตุประจำปีเกิด
พระเจดีย์จุฬามณี เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระเกศา(ผม) คือ พระจุฬา(จุก)และพระเมาลี(มวยผม) พร้อมด้วยเครื่องทรงคือปิ่นมณีและผ้าพันโพกพระเศียรของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วทรงสละทิ้งเมื่อคราวออกผนวช เพื่อแสวงหาหนทางดับทุกข์ให้กับมวลมนุษยชาติ
นอกจากนี้พระเจดีย์จุฬามณียังเป็นที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้า หลังการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วมีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปยังที่ต่างๆ
พระเจดีย์จุฬามณี ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นสวรรค์ที่ตั้งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ ใน“ไตรภูมิพระร่วง” วรรณกรรมศาสนาพุทธสำคัญแห่งสยามประเทศได้กล่าวถึงรูปลักษณะของพระเจดีย์จุฬามณี เอาไว้ว่า เป็นเจดีย์ที่มีกำแพงทองล้อมรอบ ส่วนกลางเป็นแก้ว ช่วงปลายเป็นทอง ประดับด้วยรัตนะมีค่า
พระเจดีย์จุฬามณี เป็นสิ่งสำคัญบนสวรรค์ชั้นฟ้าที่เหล่าทวยเทพยดาพากันมากราบไหว้อยู่เสมอ ขณะที่สามัญชนคนทั่วไปก็ปรารถนาที่จะได้กราบไหว้พระเจดีย์จุฬามณีด้วยเชื่อว่าจะได้บุญกุศลแรงกล้า และจะทำให้ได้ไปเกิดในยุคพระศรีอาริย์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกมีแต่ความสงบสุข
แต่ทว่า...คนผู้นั้นต้องตายหรือสำเร็จฌานจึงจะสามารถขึ้นไปนมัสการพระเจดีย์จุฬามณีได้
เมื่อเจดีย์จุฬามณีอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มนุษย์ทั่วไปไม่อาจไปสักการะได้ คนล้านนาโบราณจึงมีการสมมุติให้ “พระธาตุอินทร์แขวน” ในประเทศเมียนมาหรือพม่า เป็นพระธาตุประจำตัวคนเกิดปีจอ ซึ่งหากคนที่เกิดปีนี้ได้สักการะองค์พระธาตุอินทร์แขวน เชื่อว่าจะได้รับอานิสงส์ผลบุญสูงล้ำยิ่ง
ตำนานพระธาตุอินทร์แขวน
พระธาตุอินทร์แขวน ตั้งอยู่ในเมือง “ไจก์โถ่” รัฐมอญ บนยอดเขาพวงลวง ณ ระดับความสูง 3,615 ฟุต จากระดับน้ำทะเล
คนไทยเรียกพระธาตุองค์นี้ว่า“พระธาตุอินทร์แขวน” ส่วนคนพม่าและคนมอญเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า “ไจก์ทิโย” ซึ่งเป็นภาษามอญ หมายถึง เจดีย์เหมือนศีรษะฤๅษี หรือ “เจดีย์หัวฤๅษี”
พระธาตุอินทร์แขวนมีตำนานเรื่องเล่าที่มีเค้าโครงเรื่องหลักคล้ายๆกัน แตกต่างกันก็ตรงในรายละเอียด โดยมีตำนานหลักๆอยู่ 2 ตำนาน ได้แก่
ตำนานแรก เล่าขานกันว่า...กษัตริย์สุวรรณภูมิในสมัยพุทธกาลมีโอรส 2 องค์ แต่ทั้งคู่ไม่ยอมขึ้นครองราชย์บัลลังก์เป็นกษัตริย์ แต่กลับขอออกบวชครองตนเป็นฤๅษีอยู่ในป่า วันหนึ่งนางนาคที่ตั้งท้องกับมนุษย์ได้มาออกไข่ทิ้งไว้ในป่า ฤๅษีผู้พี่จึงเก็บไปดูแล เมื่อฟักออกมาเป็นเด็กชายจึงเลี้ยงดูจนเติบใหญ่
ต่อมาเมื่อพระราชบิดาผู้เป็นกษัตริย์สวรรคต ฤๅษีผู้พี่จึงส่งเด็กหนุ่มลูกพญานาคที่เลี้ยงดูให้ไปเป็นกระษัตริย์ ส่วนท่านก็ยังมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมในป่าต่อไป จนวันหนึ่งท่านฤๅษีมีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังได้พระเกศาจากพระพุทธองค์มาบูชา ท่านจึงเก็บรักษาไว้อย่างดีบนศีรษะ
ครั้นเมื่ออายุขัยถึงวันใกล้จะละสังขาร ท่านฤๅษีได้จึงอธิษฐานขอให้มีสถานที่ที่ปลอดภัย ปราศจากผู้รบกวน เพื่อเก็บรักษาพระเกศาของพระพุทธองค์ โดยพระเกศาต้องบรรจุอยู่ในก้อนหินที่มีรูปทรงเหมือนศีรษะของท่าน ด้วยเหตุนี่พระอินทร์ได้ช่วยค้นหาก้อนหินดังกล่าวจนพบ หลังจากนำพระเกศาธาตุไปบรรจุแล้ว ท่านฤาษีก็ทำการละสังขาร ขณะที่หินก้อนที่บรรจุพระเกศาธาตุนั้นก็ได้กลายมาเป็นพระธาตุอินทร์แขวนมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนอีกตำนานเล่าขานกันว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ประทานพระเกศาแก่ฤๅษี ซึ่งเหล่าฤๅษีต่างนำพระเกศาไปบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ต่างๆ แต่มีฤๅษีองค์หนึ่ง(หลายข้อมูลระบุว่าชื่อ“ฤๅษีติสสะ”)กลับนำพระเกศาไปซ่อนไว้ในมวยผม ครั้นเมื่อถึงคราวต้องละสังขาร ฤๅษีองค์นี้จึงอธิษฐานว่าจะนำพระเกศาไปบรรจุไว้ในก้อนหินที่มีรูปร่างคล้ายกับศีรษะของตน พระอินทร์จึงมาช่วยค้นหาก้อนหิน แล้วค้นพบก้อนหินรูปลักษณะดังกล่าวจากใต้ท้องมหาสมุทร พระอินทร์จึงนำมาแขวนไว้บนภูเขาหิน อันเป็นที่มาของ“พระธาตุอินทร์แขวน” อันลือลั่น
1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด
ตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณ พระธาตุอินทร์แขวนเป็นดังองค์สมมุติแทนพระเจดีย์จุฬามณีที่เป็นพระธาตุประจำตัวคนเกิดปีจอ ซึ่งหากวิเคราะห์จากตำนานก็จะเห็นถึงการเชื่อมโยงกันในเรื่องพระเกศาของพระพุทธเจ้า
ขณะที่ชาวพม่าและชาวมอญ ไจก์ทิโยหรือพระธาตุอินทร์แขวนนั้น คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญยิ่ง นับเป็น 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุดของพม่า* ที่เชื่อว่าใครได้มากราบสักการะองค์พระอินทร์แขวนจะได้บุญกุศลแรงกล้า ยิ่งหากใครได้กราบไหว้ 3 ครั้ง(3 รอบ) ขึ้นไป จะได้รับอานิสงส์ผลบุญที่สุดวิเศษยิ่งนัก
นอกจากนี้มีชื่อเสียงเลื่องลือในด้านของความศักดิ์สิทธิ์แล้ว พระธาตุอินทร์แขวนยังได้ชื่อเป็นหนึ่งใน“สิ่งมหัศจรรย์”ของประเทศเมียนมา อันเนื่องมาจากมีลักษณะเป็นก้อนหินทาสีทองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมหน้าผาสูงชันอย่างหมิ่นเหม่ท้าทายแรงดึงดูดโลก ดูคล้ายจะตกแต่ไม่ตก ดูน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ที่ผ่านมามีเรื่องเล่าขานถึงความมหัศจรรย์ของก้อนหินแห่งองค์พระธาตุอินทร์แขวนไปต่างๆนานามากมายโดยเฉพาะเรื่องเล่าที่ว่า หินก้อนบนที่ประดิษฐานองค์พระธาตุเจดีย์นั้นลอยอยู่บนก้อนหินใหญ่ที่รองรับอยู่ เคยมีคนได้ทดลองนำเส้นด้ายไปลอดระหว่างหินทั้งสองก้อน ปรากฏว่าเส้นด้ายสามารถลอดผ่านได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องมหัศจรรย์ของพระธาตุอินทร์แขวน
นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานกันว่า เทวดาได้ใช้ดาบแทงลงไปในก้อนหินเพื่อใช้เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุ แล้วจึงสร้างเจดีย์ครอบทับไว้ด้านบน รวมถึงได้ตัดหินให้แยกตัวออกมาจากหน้าผา เพื่อป้องกันคนเข้าถึงพระเกศาธาตุ แต่ผู้คนได้มาสร้างสะพานบุญเชื่อมไปยังองค์พระธาตุอินทร์แขวนในภายหลัง
จากเรื่องเล่าขานโจษจันอันน่าตื่นตาตื่นใจ หันมาดูข้อมูลประกอบในทางวิทยาศาสตร์ของพระธาตุอินทร์แขวนกันบ้าง โดยหนึ่งในข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่อ้างอิงกันอย่างแพร่หลาย เป็นของ ดร.บัญชา พนาจรัญสวัสดิ์ ที่ตั้งข้อสันนิษฐาน สรุปความว่า...
...เมื่อผิวโลกมีการเคลื่อนตัว ก้อนหินพระธาตุอินทร์แขวนอาจเคลื่อนหล่นลงมา แล้วบังเอิญมาติดคาตั้งตระหง่านอยู่ริมเพิงผาของยอดเขาพวงลวง ซึ่งเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องเพราะมี “จุดศูนย์ถ่วง” หรือ “จุดรวมมวล” อยู่บนหน้าผามากกว่าส่วนที่ยื่นออกไป และจะคงอยู่เช่นนั้นตลอดไป หากไม่มีเหตุการณ์อะไรมาทำให้จุดดังกล่าวเคลื่อนไปจากเดิม...
สักการะพระธาตุอินทร์แขวน
ด้วยความเป็น 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุด และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูน่ามหัศจรรย์ วันนี้พระธาตุอินทร์แขวนจึงเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้นๆของเมียนมา ซึ่งนอกจากชาวพม่า มอญ กะเหรี่ยง ไทใหญ่ และคนในประเทศเมียนมาจะเดินทางขึ้นไปสักการะพระธาตุอินทร์แขวนกันเป็นจำนวนมากแล้วนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงคนไทยต่างก็นิยมเดินทางไปกราบไหว้พระธาตุอินทร์แขวนกันเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน
สำหรับการเดินทางขึ้นไปสักการะพระธาตุอินทร์แขวนบนยอดเขาพวงลวงนั้น ในอดีตก็ต้องเดินขึ้นเขาสูงชันไปตามจิตศรัทธาอันแรงกล้า ครั้นต่อมาก็มีบริการรถบรรทุก หรือ รถคอกหมู ให้นั่งอัดแน่นกันขึ้นเขา ไปบนเส้นทางคดเคี้ยวสูงชัน เป็นความตื่นเต้นหวาดเสียว ก่อนจะได้พบเจอกับความเป็นสิริมงคล
มาวันนี้การขึ้นไปไหว้พระธาตุอินทร์แขวนพัฒนาขึ้นไปอีกเมื่อมีกระเช้า เคเบิ้ลคาร์ นำพานักท่องเที่ยวขึ้นสู่ตัวพระธาตุอินทร์แขวน ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆได้ไม่นานมานี้
เมื่อขึ้นไปถึงบนนั้น จะพบกับหมู่บ้านที่เป็นเมืองขนาดย่อมๆสร้างลดหลั่นกันไปตามภูมิประเทศของขุนเขา ซึ่งมีทั้ง ที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกมากมาย รวมถึงมีเด็กๆมาเดินเร่ขายของต่างๆมากมาย
ส่วนเมื่อเดินผ่านบันไดและซุ้มประตูสิงห์ถึงลานทางเดินสู่พระธาตุอินทร์แขวนแล้ว ก็จะได้พบกับองค์พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง รวมถึงอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญที่เดินไปอีกหน่อยก็จะได้พบกับ รูปปั้นของ“พระนางชเวนันจิน” ในท่านอนหงายอยู่ในอาคาร
ตามตำนานเล่าขานกันว่า นางชเวนันจิน เป็นบุตรีของนางนาคและมนุษย์ เมื่อถือกำเนิดออกจากไข่เป็ฯเด็กผู้หญิง ฤๅษีได้นำไปฝากให้หัวหน้าเผ่าชาวกะเหรี่ยงเลี้ยงไว้ เมื่อเติบใหญ่เป็นสาวสวย ได้แต่งงานกับโอรสของเจ้าเมืองสะเทิม
ต่อมานางชเวนันจินเจ็บป่วยหนัก โหรหลวงทำนายว่าเนื่องจากก่อนแต่งงานนางไม่ได้ไห้ผีบรรพบุรุษ คือฤๅษีผู้มีพระคุณที่เคยเลี้ยงดู นางจึงเดินทางกลับมาไหว้ฤๅษีที่พระธาตุอินทร์แขวน แต่ระหว่างทางถูกเสือทำร้าย นางจึงตั้งจิตอธิษฐานต่อองค์พระธาตุอินทร์แขวน ว่า ถ้าหนีไม่ทัน หากต้องตายก็ขอให้วิญญาณได้สิงสถิตวนเวียนอยู่แถวนี้ เพื่อคอยช่วยเหลือผู้คนที่เดินทางมากราบไหว้พระธาตุอินทร์แขวน ซึ่งสุดท้ายแม้นางจะไม่ถูกเสือทำร้าย แต่ก็ได้สิ้นใจลงที่ตรงทางขึ้นพระธาตุ
ปัจจุบันพระนางชเวนันจินเป็น“นัต” หรือ ภูติวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวพม่า ที่คอยคุ้มครองปกปักรักษาพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งคนพม่าเชื่อว่าเป็นเทพแห่งสุขภาพ ใครที่เจ็บป่วยตรงส่วนใด ให้ไปแตะสัมผัสลูบคลำตรงส่วนนั้นของเจ้าแม่กะเหรี่ยง พร้อมตั้งจิตอธิษฐานก็จะช่วยให้หายโรคหรืออาการดีขึ้น
ต่อจากนั้นเมื่อเดินไปอีกสักพักก็จะพบลานกว้าง ที่บริเวณริมผาประดิษฐานพระธาตุอินทร์แขวนโดดเด่นดูน่าอัศจรรย์ ซึ่งเขาจะอนุญาตให้เฉพาะผู้ชายที่สามารถเดินเข้าไปปิดทองก้อนหินองค์พระธาตุได้ ส่วนผู้หญิงก็ให้ฝากทองผู้ชายไปปิด หรือไม่ก็ไปปิดด้วยตัวเองที่ห้องรูปปั้น หรือที่รอยพระพุทธบาทจำลอง
สำหรับการไปไหว้พระธาตุอินทร์แขวนแต่ละครั้งของผม นอกจากภาพความมหัศจรรย์อันน่าทึ่งขององค์พระธาตุที่ตั้งตระหง่านท้าทายแรงดึงดูดโลกแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ดูน่าทึ่งมากๆก็คือ “พลังศรัทธา” ที่ชาวเมียนมามีต่อพระธาตุอินทร์แขวนแห่งนี้ ซึ่งนอกจากการขึ้นมากราบไหว้ ปิดทองจนเหลืองอร่ามแล้ว ยังมีขึ้นมานั่งสมาธิ สวดมนต์ ทำบุญ บริจาคเงิน โดยชาวพม่าจำนวนมากต่างเดินทางขึ้นมานอนรอกันเป็นจำนวนมากที่ลานกลางแจ้ง เพื่อที่จะได้ใส่บาตร สวดมนต์ยามเช้า รับแสงตะวันที่ทาบทอสาดแสงมายังองค์พระธาตุอินทร์แขวนแห่งนี้ ที่ถือเป็นอีกหนึ่งดินแดนแห่งศรัทธา ที่ไม่ว่าจะเกิดปีจอหรือปีไหนๆ หากใครได้เดินทางมาไหว้พระธาตุอินทร์แขวนนั้น ชาวพม่าเชื่อว่าจะได้รับอานิสงส์ผลบุญที่แรงกล้ายิ่ง
ไหว้พระธาตุปีจอ เมืองไทย
ตามความเชื่อเรื่องการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของล้านนานั้น จะมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง แล้วจะมีการไหว้พระธาตุแตกกระจายไปตามเมืองต่างๆ รวมถึงในล้านช้าง และในพม่า ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นกุศโลบายในการเดินทางไปมาหาสู่ เชื่อมสัมพันธ์ต่อกัน
อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่เกิดปีจอ แล้วต้องการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดคือพระธาตุอินทร์แขวนที่ตั้งอยู่ในประเทศเมียนมา หลายคนอาจมีอุปสรรคเรื่องการเดินทาง เรื่องงบประมาณ วันนี้ในบ้านเราได้มีการสร้างพระธาตุอินทร์แขวนจำลองขึ้นมามากมาย(และเชื่อว่าจะมีการสร้างเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า) ในทั่วทุกภูมิภาคของเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น
ภาคเหนือ : “พระธาตุอินทร์แขวนลำพูน” หรือ “พระพุทธบาทพระธาตุอินทร์แขวน” ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำพุ ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน, “พระธาตุอินทร์แขวนมหาโพธิสัมฤทธิ์” ตั้งอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาโพธิวงศาจริยาราม พุทธอุทยานดอยผาสวรรค์เฉลิมพระเกียรติ ร.9 หรือเรียกสั้นๆ ว่า “พุทธอุทยานดอยผาสวรรค์” ที่บ้านนาคูหา ต.สวนเขื่อน อ.เมือง จ.แพร่, “พระธาตุหินกิ่ว” แห่งวัด "วัดพระธาตุหินกิ่ว" หรือ “วัดพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่” ตั้งอยู่ที่บ้านวังตะเคียน ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก, พระธาตุผาไข่อินทร์แขวน หรือ "เจดีย์สันติภาพโลก" ตั้งอยู่บนหน้าผาไข่ ริมทะเลสาบแม่ปิง(อยู่ห่างจากเขื่อนภูมิพลประมาณ 40 กม.) อ.สามเงา จ.ตาก,พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง วัดพระธาตุดอยมอญจิ่ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
ภาคกลาง : พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง วัดสมานรัตนาราม ริมแม่น้ำบางปะกง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา,พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง วัดทัพศิลา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี, พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง สำนักสงฆ์พรหมรังสี อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี
ภาคอีสาน : พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง วัดถ้ำผาแด่น ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน บ้านดงน้อย ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร
ภาคใต้ : พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง วัดสิเหร่ อ.รัษฎา จ.ภูเก็ต, พระธาตุนิลเปา อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี
นอกจากนี้สำหรับคนที่เกิดปีจอก็ยังสามารถไหว้เจดีย์“วัดเกตการาม” ในตัวเมืองเชียงใหม่ได้อีกด้วย เนื่องจากมีการกำหนดให้เจดีย์วัดเกตการาม เป็นอีกหนึ่งสิ่งแทนพระเจดีย์จุฬามณี หรือ พระเจดีย์เกศแก้วจุฬามณี เนื่องจากชื่อวัดมีคำที่พ้องเสียงกับคำว่า“เกศ”แก้วจุฬามณี นั่นเอง
ขณะที่ตามความเชื่อใหม่นั้น ผู้ที่เกิดปีจอก็สามารถไหว้“พระเจดีย์จุฬามณี” ที่บางวัดได้สร้างไว้ อาทิ พระจุฬามณีเจดีย์ วัดคีรีวงศ์ จ.นครสวรรค์, พระเจดีย์จุฬามณี วัดท่าซุง(วัดจันทาราม) จ.อุทัยธานี, พระเจดีย์มหาจุฬามณี ในวิหารน้อย วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ ซึ่งก็ถือว่าเป็นดังสิ่งแทนพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระธาตุพระจำตัวคนเกิดปีจอได้เช่นกัน
เพราะหัวใจหลักที่เป็นแก่นของการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด รวมถึงการไหว้พระธาตุเจดีย์ตามที่ต่างๆนั้นก็คือการสักการะ“พระบรมสารีริกธาตุ”ที่บรรจุอยู่ในสิ่งก่อสร้างจำพวกสถูป พระธาตุ เจดีย์ ที่เป็นดังพลังใจสำคัญให้ผู้ที่มากราบอธิษฐานขอพร ตั้งมั่นทำในสิ่งที่ขอเพื่อให้ได้สมดังหวัง และต้องทำด้วยจิตที่ดี ประพฤติดี ปฏิบัติดี
ส่วนใครที่คิดเพียงว่า ถ้าได้ไหว้พระธาตุประจำปีเกิดแล้วจะโชคดี ได้รับบุญใหญ่ กุศลสูงล้ำ โดยที่ไม่ได้มุ่งมั่นลงมือทำในสิ่งที่ขอ รวมถึงยังเป็นผู้ที่ประพฤติมิชอบ ปฏิบัติมิชอบ จิตใจยังเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา
งานนี้ต่อให้เดินสายไหว้พระธาตุทั่วโลกก็ไม่สามารถที่จะช่วยอะไรได้
**************************************************
หมายเหตุ : *ประเทศเมียนมาหรือพม่ามี 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุด หรือ 5 มหาสถานแห่งศรัทธา หรือ “เบญจมหาบูชาสถาน” ได้แก่
1. เจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง
2. พระธาตุอินทร์แขวน ไจก์ทิโย เมืองไจก์โถ่
3. เจดีย์ชเวมอดอร์ (เจดีย์มุเตา) เมืองหงสาวดี
4. เจดีย์ชเวซิกอง เมืองพุกาม
5. พระมหามัยมุนี เมืองมัณฑะเลย์
******************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
Facebook Travel Unlimited / เที่ยวถึงไหนถึงกัน
ปีไก่จากลา ปีหมามาแทน
ปีนี้ พ.ศ.2561หรือ ค.ศ.2018 เป็นปีจอหรือปีหมา
ตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณเรื่องการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดหรือการไหว้พระธาตุประจำปีนักษัตร(12 นักษัตร) เชื่อว่าคนเกิดปีจอมี “พระเจดีย์จุฬามณี” หรือ “พระเจดีย์เกศแก้วจุฬามณี” เป็นพระธาตุประจำปีเกิด
พระเจดีย์จุฬามณี เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระเกศา(ผม) คือ พระจุฬา(จุก)และพระเมาลี(มวยผม) พร้อมด้วยเครื่องทรงคือปิ่นมณีและผ้าพันโพกพระเศียรของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วทรงสละทิ้งเมื่อคราวออกผนวช เพื่อแสวงหาหนทางดับทุกข์ให้กับมวลมนุษยชาติ
นอกจากนี้พระเจดีย์จุฬามณียังเป็นที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้า หลังการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วมีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปยังที่ต่างๆ
พระเจดีย์จุฬามณี ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นสวรรค์ที่ตั้งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ ใน“ไตรภูมิพระร่วง” วรรณกรรมศาสนาพุทธสำคัญแห่งสยามประเทศได้กล่าวถึงรูปลักษณะของพระเจดีย์จุฬามณี เอาไว้ว่า เป็นเจดีย์ที่มีกำแพงทองล้อมรอบ ส่วนกลางเป็นแก้ว ช่วงปลายเป็นทอง ประดับด้วยรัตนะมีค่า
พระเจดีย์จุฬามณี เป็นสิ่งสำคัญบนสวรรค์ชั้นฟ้าที่เหล่าทวยเทพยดาพากันมากราบไหว้อยู่เสมอ ขณะที่สามัญชนคนทั่วไปก็ปรารถนาที่จะได้กราบไหว้พระเจดีย์จุฬามณีด้วยเชื่อว่าจะได้บุญกุศลแรงกล้า และจะทำให้ได้ไปเกิดในยุคพระศรีอาริย์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกมีแต่ความสงบสุข
แต่ทว่า...คนผู้นั้นต้องตายหรือสำเร็จฌานจึงจะสามารถขึ้นไปนมัสการพระเจดีย์จุฬามณีได้
เมื่อเจดีย์จุฬามณีอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มนุษย์ทั่วไปไม่อาจไปสักการะได้ คนล้านนาโบราณจึงมีการสมมุติให้ “พระธาตุอินทร์แขวน” ในประเทศเมียนมาหรือพม่า เป็นพระธาตุประจำตัวคนเกิดปีจอ ซึ่งหากคนที่เกิดปีนี้ได้สักการะองค์พระธาตุอินทร์แขวน เชื่อว่าจะได้รับอานิสงส์ผลบุญสูงล้ำยิ่ง
ตำนานพระธาตุอินทร์แขวน
พระธาตุอินทร์แขวน ตั้งอยู่ในเมือง “ไจก์โถ่” รัฐมอญ บนยอดเขาพวงลวง ณ ระดับความสูง 3,615 ฟุต จากระดับน้ำทะเล
คนไทยเรียกพระธาตุองค์นี้ว่า“พระธาตุอินทร์แขวน” ส่วนคนพม่าและคนมอญเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า “ไจก์ทิโย” ซึ่งเป็นภาษามอญ หมายถึง เจดีย์เหมือนศีรษะฤๅษี หรือ “เจดีย์หัวฤๅษี”
พระธาตุอินทร์แขวนมีตำนานเรื่องเล่าที่มีเค้าโครงเรื่องหลักคล้ายๆกัน แตกต่างกันก็ตรงในรายละเอียด โดยมีตำนานหลักๆอยู่ 2 ตำนาน ได้แก่
ตำนานแรก เล่าขานกันว่า...กษัตริย์สุวรรณภูมิในสมัยพุทธกาลมีโอรส 2 องค์ แต่ทั้งคู่ไม่ยอมขึ้นครองราชย์บัลลังก์เป็นกษัตริย์ แต่กลับขอออกบวชครองตนเป็นฤๅษีอยู่ในป่า วันหนึ่งนางนาคที่ตั้งท้องกับมนุษย์ได้มาออกไข่ทิ้งไว้ในป่า ฤๅษีผู้พี่จึงเก็บไปดูแล เมื่อฟักออกมาเป็นเด็กชายจึงเลี้ยงดูจนเติบใหญ่
ต่อมาเมื่อพระราชบิดาผู้เป็นกษัตริย์สวรรคต ฤๅษีผู้พี่จึงส่งเด็กหนุ่มลูกพญานาคที่เลี้ยงดูให้ไปเป็นกระษัตริย์ ส่วนท่านก็ยังมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมในป่าต่อไป จนวันหนึ่งท่านฤๅษีมีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังได้พระเกศาจากพระพุทธองค์มาบูชา ท่านจึงเก็บรักษาไว้อย่างดีบนศีรษะ
ครั้นเมื่ออายุขัยถึงวันใกล้จะละสังขาร ท่านฤๅษีได้จึงอธิษฐานขอให้มีสถานที่ที่ปลอดภัย ปราศจากผู้รบกวน เพื่อเก็บรักษาพระเกศาของพระพุทธองค์ โดยพระเกศาต้องบรรจุอยู่ในก้อนหินที่มีรูปทรงเหมือนศีรษะของท่าน ด้วยเหตุนี่พระอินทร์ได้ช่วยค้นหาก้อนหินดังกล่าวจนพบ หลังจากนำพระเกศาธาตุไปบรรจุแล้ว ท่านฤาษีก็ทำการละสังขาร ขณะที่หินก้อนที่บรรจุพระเกศาธาตุนั้นก็ได้กลายมาเป็นพระธาตุอินทร์แขวนมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนอีกตำนานเล่าขานกันว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ประทานพระเกศาแก่ฤๅษี ซึ่งเหล่าฤๅษีต่างนำพระเกศาไปบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ต่างๆ แต่มีฤๅษีองค์หนึ่ง(หลายข้อมูลระบุว่าชื่อ“ฤๅษีติสสะ”)กลับนำพระเกศาไปซ่อนไว้ในมวยผม ครั้นเมื่อถึงคราวต้องละสังขาร ฤๅษีองค์นี้จึงอธิษฐานว่าจะนำพระเกศาไปบรรจุไว้ในก้อนหินที่มีรูปร่างคล้ายกับศีรษะของตน พระอินทร์จึงมาช่วยค้นหาก้อนหิน แล้วค้นพบก้อนหินรูปลักษณะดังกล่าวจากใต้ท้องมหาสมุทร พระอินทร์จึงนำมาแขวนไว้บนภูเขาหิน อันเป็นที่มาของ“พระธาตุอินทร์แขวน” อันลือลั่น
1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด
ตามคติความเชื่อของล้านนาโบราณ พระธาตุอินทร์แขวนเป็นดังองค์สมมุติแทนพระเจดีย์จุฬามณีที่เป็นพระธาตุประจำตัวคนเกิดปีจอ ซึ่งหากวิเคราะห์จากตำนานก็จะเห็นถึงการเชื่อมโยงกันในเรื่องพระเกศาของพระพุทธเจ้า
ขณะที่ชาวพม่าและชาวมอญ ไจก์ทิโยหรือพระธาตุอินทร์แขวนนั้น คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญยิ่ง นับเป็น 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุดของพม่า* ที่เชื่อว่าใครได้มากราบสักการะองค์พระอินทร์แขวนจะได้บุญกุศลแรงกล้า ยิ่งหากใครได้กราบไหว้ 3 ครั้ง(3 รอบ) ขึ้นไป จะได้รับอานิสงส์ผลบุญที่สุดวิเศษยิ่งนัก
นอกจากนี้มีชื่อเสียงเลื่องลือในด้านของความศักดิ์สิทธิ์แล้ว พระธาตุอินทร์แขวนยังได้ชื่อเป็นหนึ่งใน“สิ่งมหัศจรรย์”ของประเทศเมียนมา อันเนื่องมาจากมีลักษณะเป็นก้อนหินทาสีทองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมหน้าผาสูงชันอย่างหมิ่นเหม่ท้าทายแรงดึงดูดโลก ดูคล้ายจะตกแต่ไม่ตก ดูน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ที่ผ่านมามีเรื่องเล่าขานถึงความมหัศจรรย์ของก้อนหินแห่งองค์พระธาตุอินทร์แขวนไปต่างๆนานามากมายโดยเฉพาะเรื่องเล่าที่ว่า หินก้อนบนที่ประดิษฐานองค์พระธาตุเจดีย์นั้นลอยอยู่บนก้อนหินใหญ่ที่รองรับอยู่ เคยมีคนได้ทดลองนำเส้นด้ายไปลอดระหว่างหินทั้งสองก้อน ปรากฏว่าเส้นด้ายสามารถลอดผ่านได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องมหัศจรรย์ของพระธาตุอินทร์แขวน
นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานกันว่า เทวดาได้ใช้ดาบแทงลงไปในก้อนหินเพื่อใช้เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุ แล้วจึงสร้างเจดีย์ครอบทับไว้ด้านบน รวมถึงได้ตัดหินให้แยกตัวออกมาจากหน้าผา เพื่อป้องกันคนเข้าถึงพระเกศาธาตุ แต่ผู้คนได้มาสร้างสะพานบุญเชื่อมไปยังองค์พระธาตุอินทร์แขวนในภายหลัง
จากเรื่องเล่าขานโจษจันอันน่าตื่นตาตื่นใจ หันมาดูข้อมูลประกอบในทางวิทยาศาสตร์ของพระธาตุอินทร์แขวนกันบ้าง โดยหนึ่งในข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่อ้างอิงกันอย่างแพร่หลาย เป็นของ ดร.บัญชา พนาจรัญสวัสดิ์ ที่ตั้งข้อสันนิษฐาน สรุปความว่า...
...เมื่อผิวโลกมีการเคลื่อนตัว ก้อนหินพระธาตุอินทร์แขวนอาจเคลื่อนหล่นลงมา แล้วบังเอิญมาติดคาตั้งตระหง่านอยู่ริมเพิงผาของยอดเขาพวงลวง ซึ่งเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องเพราะมี “จุดศูนย์ถ่วง” หรือ “จุดรวมมวล” อยู่บนหน้าผามากกว่าส่วนที่ยื่นออกไป และจะคงอยู่เช่นนั้นตลอดไป หากไม่มีเหตุการณ์อะไรมาทำให้จุดดังกล่าวเคลื่อนไปจากเดิม...
สักการะพระธาตุอินทร์แขวน
ด้วยความเป็น 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุด และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูน่ามหัศจรรย์ วันนี้พระธาตุอินทร์แขวนจึงเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้นๆของเมียนมา ซึ่งนอกจากชาวพม่า มอญ กะเหรี่ยง ไทใหญ่ และคนในประเทศเมียนมาจะเดินทางขึ้นไปสักการะพระธาตุอินทร์แขวนกันเป็นจำนวนมากแล้วนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงคนไทยต่างก็นิยมเดินทางไปกราบไหว้พระธาตุอินทร์แขวนกันเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน
สำหรับการเดินทางขึ้นไปสักการะพระธาตุอินทร์แขวนบนยอดเขาพวงลวงนั้น ในอดีตก็ต้องเดินขึ้นเขาสูงชันไปตามจิตศรัทธาอันแรงกล้า ครั้นต่อมาก็มีบริการรถบรรทุก หรือ รถคอกหมู ให้นั่งอัดแน่นกันขึ้นเขา ไปบนเส้นทางคดเคี้ยวสูงชัน เป็นความตื่นเต้นหวาดเสียว ก่อนจะได้พบเจอกับความเป็นสิริมงคล
มาวันนี้การขึ้นไปไหว้พระธาตุอินทร์แขวนพัฒนาขึ้นไปอีกเมื่อมีกระเช้า เคเบิ้ลคาร์ นำพานักท่องเที่ยวขึ้นสู่ตัวพระธาตุอินทร์แขวน ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆได้ไม่นานมานี้
เมื่อขึ้นไปถึงบนนั้น จะพบกับหมู่บ้านที่เป็นเมืองขนาดย่อมๆสร้างลดหลั่นกันไปตามภูมิประเทศของขุนเขา ซึ่งมีทั้ง ที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกมากมาย รวมถึงมีเด็กๆมาเดินเร่ขายของต่างๆมากมาย
ส่วนเมื่อเดินผ่านบันไดและซุ้มประตูสิงห์ถึงลานทางเดินสู่พระธาตุอินทร์แขวนแล้ว ก็จะได้พบกับองค์พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง รวมถึงอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญที่เดินไปอีกหน่อยก็จะได้พบกับ รูปปั้นของ“พระนางชเวนันจิน” ในท่านอนหงายอยู่ในอาคาร
ตามตำนานเล่าขานกันว่า นางชเวนันจิน เป็นบุตรีของนางนาคและมนุษย์ เมื่อถือกำเนิดออกจากไข่เป็ฯเด็กผู้หญิง ฤๅษีได้นำไปฝากให้หัวหน้าเผ่าชาวกะเหรี่ยงเลี้ยงไว้ เมื่อเติบใหญ่เป็นสาวสวย ได้แต่งงานกับโอรสของเจ้าเมืองสะเทิม
ต่อมานางชเวนันจินเจ็บป่วยหนัก โหรหลวงทำนายว่าเนื่องจากก่อนแต่งงานนางไม่ได้ไห้ผีบรรพบุรุษ คือฤๅษีผู้มีพระคุณที่เคยเลี้ยงดู นางจึงเดินทางกลับมาไหว้ฤๅษีที่พระธาตุอินทร์แขวน แต่ระหว่างทางถูกเสือทำร้าย นางจึงตั้งจิตอธิษฐานต่อองค์พระธาตุอินทร์แขวน ว่า ถ้าหนีไม่ทัน หากต้องตายก็ขอให้วิญญาณได้สิงสถิตวนเวียนอยู่แถวนี้ เพื่อคอยช่วยเหลือผู้คนที่เดินทางมากราบไหว้พระธาตุอินทร์แขวน ซึ่งสุดท้ายแม้นางจะไม่ถูกเสือทำร้าย แต่ก็ได้สิ้นใจลงที่ตรงทางขึ้นพระธาตุ
ปัจจุบันพระนางชเวนันจินเป็น“นัต” หรือ ภูติวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวพม่า ที่คอยคุ้มครองปกปักรักษาพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งคนพม่าเชื่อว่าเป็นเทพแห่งสุขภาพ ใครที่เจ็บป่วยตรงส่วนใด ให้ไปแตะสัมผัสลูบคลำตรงส่วนนั้นของเจ้าแม่กะเหรี่ยง พร้อมตั้งจิตอธิษฐานก็จะช่วยให้หายโรคหรืออาการดีขึ้น
ต่อจากนั้นเมื่อเดินไปอีกสักพักก็จะพบลานกว้าง ที่บริเวณริมผาประดิษฐานพระธาตุอินทร์แขวนโดดเด่นดูน่าอัศจรรย์ ซึ่งเขาจะอนุญาตให้เฉพาะผู้ชายที่สามารถเดินเข้าไปปิดทองก้อนหินองค์พระธาตุได้ ส่วนผู้หญิงก็ให้ฝากทองผู้ชายไปปิด หรือไม่ก็ไปปิดด้วยตัวเองที่ห้องรูปปั้น หรือที่รอยพระพุทธบาทจำลอง
สำหรับการไปไหว้พระธาตุอินทร์แขวนแต่ละครั้งของผม นอกจากภาพความมหัศจรรย์อันน่าทึ่งขององค์พระธาตุที่ตั้งตระหง่านท้าทายแรงดึงดูดโลกแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ดูน่าทึ่งมากๆก็คือ “พลังศรัทธา” ที่ชาวเมียนมามีต่อพระธาตุอินทร์แขวนแห่งนี้ ซึ่งนอกจากการขึ้นมากราบไหว้ ปิดทองจนเหลืองอร่ามแล้ว ยังมีขึ้นมานั่งสมาธิ สวดมนต์ ทำบุญ บริจาคเงิน โดยชาวพม่าจำนวนมากต่างเดินทางขึ้นมานอนรอกันเป็นจำนวนมากที่ลานกลางแจ้ง เพื่อที่จะได้ใส่บาตร สวดมนต์ยามเช้า รับแสงตะวันที่ทาบทอสาดแสงมายังองค์พระธาตุอินทร์แขวนแห่งนี้ ที่ถือเป็นอีกหนึ่งดินแดนแห่งศรัทธา ที่ไม่ว่าจะเกิดปีจอหรือปีไหนๆ หากใครได้เดินทางมาไหว้พระธาตุอินทร์แขวนนั้น ชาวพม่าเชื่อว่าจะได้รับอานิสงส์ผลบุญที่แรงกล้ายิ่ง
ไหว้พระธาตุปีจอ เมืองไทย
ตามความเชื่อเรื่องการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของล้านนานั้น จะมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง แล้วจะมีการไหว้พระธาตุแตกกระจายไปตามเมืองต่างๆ รวมถึงในล้านช้าง และในพม่า ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นกุศโลบายในการเดินทางไปมาหาสู่ เชื่อมสัมพันธ์ต่อกัน
อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่เกิดปีจอ แล้วต้องการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดคือพระธาตุอินทร์แขวนที่ตั้งอยู่ในประเทศเมียนมา หลายคนอาจมีอุปสรรคเรื่องการเดินทาง เรื่องงบประมาณ วันนี้ในบ้านเราได้มีการสร้างพระธาตุอินทร์แขวนจำลองขึ้นมามากมาย(และเชื่อว่าจะมีการสร้างเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า) ในทั่วทุกภูมิภาคของเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น
ภาคเหนือ : “พระธาตุอินทร์แขวนลำพูน” หรือ “พระพุทธบาทพระธาตุอินทร์แขวน” ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำพุ ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน, “พระธาตุอินทร์แขวนมหาโพธิสัมฤทธิ์” ตั้งอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาโพธิวงศาจริยาราม พุทธอุทยานดอยผาสวรรค์เฉลิมพระเกียรติ ร.9 หรือเรียกสั้นๆ ว่า “พุทธอุทยานดอยผาสวรรค์” ที่บ้านนาคูหา ต.สวนเขื่อน อ.เมือง จ.แพร่, “พระธาตุหินกิ่ว” แห่งวัด "วัดพระธาตุหินกิ่ว" หรือ “วัดพระธาตุหินกิ่วดอยดินจี่” ตั้งอยู่ที่บ้านวังตะเคียน ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก, พระธาตุผาไข่อินทร์แขวน หรือ "เจดีย์สันติภาพโลก" ตั้งอยู่บนหน้าผาไข่ ริมทะเลสาบแม่ปิง(อยู่ห่างจากเขื่อนภูมิพลประมาณ 40 กม.) อ.สามเงา จ.ตาก,พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง วัดพระธาตุดอยมอญจิ่ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
ภาคกลาง : พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง วัดสมานรัตนาราม ริมแม่น้ำบางปะกง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา,พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง วัดทัพศิลา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี, พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง สำนักสงฆ์พรหมรังสี อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี
ภาคอีสาน : พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง วัดถ้ำผาแด่น ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน บ้านดงน้อย ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร
ภาคใต้ : พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง วัดสิเหร่ อ.รัษฎา จ.ภูเก็ต, พระธาตุนิลเปา อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี
นอกจากนี้สำหรับคนที่เกิดปีจอก็ยังสามารถไหว้เจดีย์“วัดเกตการาม” ในตัวเมืองเชียงใหม่ได้อีกด้วย เนื่องจากมีการกำหนดให้เจดีย์วัดเกตการาม เป็นอีกหนึ่งสิ่งแทนพระเจดีย์จุฬามณี หรือ พระเจดีย์เกศแก้วจุฬามณี เนื่องจากชื่อวัดมีคำที่พ้องเสียงกับคำว่า“เกศ”แก้วจุฬามณี นั่นเอง
ขณะที่ตามความเชื่อใหม่นั้น ผู้ที่เกิดปีจอก็สามารถไหว้“พระเจดีย์จุฬามณี” ที่บางวัดได้สร้างไว้ อาทิ พระจุฬามณีเจดีย์ วัดคีรีวงศ์ จ.นครสวรรค์, พระเจดีย์จุฬามณี วัดท่าซุง(วัดจันทาราม) จ.อุทัยธานี, พระเจดีย์มหาจุฬามณี ในวิหารน้อย วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ ซึ่งก็ถือว่าเป็นดังสิ่งแทนพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระธาตุพระจำตัวคนเกิดปีจอได้เช่นกัน
เพราะหัวใจหลักที่เป็นแก่นของการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด รวมถึงการไหว้พระธาตุเจดีย์ตามที่ต่างๆนั้นก็คือการสักการะ“พระบรมสารีริกธาตุ”ที่บรรจุอยู่ในสิ่งก่อสร้างจำพวกสถูป พระธาตุ เจดีย์ ที่เป็นดังพลังใจสำคัญให้ผู้ที่มากราบอธิษฐานขอพร ตั้งมั่นทำในสิ่งที่ขอเพื่อให้ได้สมดังหวัง และต้องทำด้วยจิตที่ดี ประพฤติดี ปฏิบัติดี
ส่วนใครที่คิดเพียงว่า ถ้าได้ไหว้พระธาตุประจำปีเกิดแล้วจะโชคดี ได้รับบุญใหญ่ กุศลสูงล้ำ โดยที่ไม่ได้มุ่งมั่นลงมือทำในสิ่งที่ขอ รวมถึงยังเป็นผู้ที่ประพฤติมิชอบ ปฏิบัติมิชอบ จิตใจยังเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา
งานนี้ต่อให้เดินสายไหว้พระธาตุทั่วโลกก็ไม่สามารถที่จะช่วยอะไรได้
**************************************************
หมายเหตุ : *ประเทศเมียนมาหรือพม่ามี 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุด หรือ 5 มหาสถานแห่งศรัทธา หรือ “เบญจมหาบูชาสถาน” ได้แก่
1. เจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง
2. พระธาตุอินทร์แขวน ไจก์ทิโย เมืองไจก์โถ่
3. เจดีย์ชเวมอดอร์ (เจดีย์มุเตา) เมืองหงสาวดี
4. เจดีย์ชเวซิกอง เมืองพุกาม
5. พระมหามัยมุนี เมืองมัณฑะเลย์
******************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager