Facebook :Travel @ Manager
บนดอยสูงอย่างที่ “ดอยช้าง” ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ในอดีตก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีลักษณะเป็นภูเขาหัวโล้น จากการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย แต่ปัจจุบันนี้กลายมาเป็นพื้นที่เพาะปลูกกาแฟสายพันธุ์อราบิกาคุณภาพดี ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย
จุดเริ่มต้นก็มาจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้ชาวไทยภูเขาในพื้นที่สูงหันมาปลูกพืชเมืองหนาวทดแทนการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย โดยในครั้งนั้น ชาวไทยภูเขาบนดอยช้าง ก็ได้รับพระราชทานพันธุ์กาแฟเพื่อนำมาปลูกบนดอย สร้างอาชีพใหม่ให้กับครอบครัว
แต่การที่ชาวไทยภูเขาเหล่านี้ไม่มีสัญชาติไทย การจะลงไปขายผลผลิตกาแฟที่ด้านล่างก็ลำบาก ต้องขายผ่านพ่อค้าคนกลาง จึงทำให้ถูกกดราคา จนกระทั่งในช่วงปลายปี พ.ศ.2545 จึงได้มีการก่อตั้งเป็นรูปแบบบริษัท เพื่อช่วยเหลือชุมชนผู้ปลูกกาแฟบนดอยช้าง และกลายมาเป็น “กาแฟดอยช้าง” จนถึงทุกวันนี้
กาแฟดอยช้างนั้น เลือกใช้ชื่อ “ดอยช้าง” เพื่อให้เกียรติถิ่นกำเนิดของกาแฟดอยช้าง และเลือกใช้ภาพของ พิก่อ พิสัยเลิศ ผู้อาวุโสและผู้ร่วมก่อตั้งกาแฟดอยช้าง ซึ่งเป็นหนึ่งในชาวไทยภูเขา 40 ครอบครัวแรกที่ได้รับพระราชทานพันธุ์กาแฟ นำมาเป็นต้นแบบโลโก้ของกาแฟดอยช้าง
พื้นที่ของดอยช้าง ตั้งอยู่ที่ความสูงระหว่าง 1,000-1,700 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางดิน และมีอากาศเย็นสบาย จึงเหมาะกับการปลูกกาแฟสายพันธุ์อราบิกา โดยกาแฟแบรนด์ดอยช้างนั้นจะเป็นกาแฟอราบิกาชนิดพิเศษคุณภาพสูง จากแหล่งผลิตเฉพาะบริเวณดอยช้างแห่งเดียวเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสหภาพยุโรป ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
ความโดดเด่นของกาแฟดอยช้าง อยู่ที่การเป็นกาแฟชนิดพิเศษคุณภาพสูง เมล็ดกาแฟมีขนาดใหญ่พิเศษ มีการควบคุมคุณภาพตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ คือ ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิต กระบวนการผลิต ไปจนถึงขั้นตอนการชงกาแฟ
สำหรับขั้นตอนการผลิตกาแฟดอยช้างนั้นเริ่มตั้งแต่การปลูกต้นกาแฟบนดอยช้าง ซึ่งกาแฟของที่นี่จะเป็นสายพันธุ์อราบิกา หากเดินทางขึ้นมาที่หมู่บ้านดอยช้าง ก็จะเห็นต้น แฟอยู่ตามข้างทาง รอบๆ บ้าน และในป่า โดยวิธีการปลูกต้นกาแฟของที่นี่จะปลูกอยู่ใต้ร่มเงาไม้ แซมอยู่กับต้นไม้ที่มีอยู่เดิม และปลูกต้นไม้เพิ่มเติมในทุกปี
ต้นกาแฟจะให้ผลผลิตปีละครั้ง ช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ โดยจะเลือกเก็บผลกาแฟที่สุกแล้ว ผลเป็นสีแดงก่ำคล้ายสีของผลเชอร์รี่ วิธีเก็บจะต้องใช้กำลังคนเลือกเก็บด้วยมือทีละผล เนื่องจากผลกาแฟไม่ได้สุกพร้อมกันทั้งต้น เมื่อรวบรวมผลกาแฟที่เก็บมาทั้งวันแล้ว ในช่วงเย็นชาวบ้านจะนำผลกาแฟที่ได้มาขายที่โรงงาน
เมื่อผลกาแฟมาถึงโรงงาน ก็จะถูกเทลงในบ่อน้ำเพื่อล้างทำความสะอาด และแยกเอาเฉพาะผลสมบูรณ์ที่จมน้ำ ส่วนผลไม่สมบูรณ์ที่ลอยน้ำอยู่ก็จะถูกคัดแยกออกไป จากนั้นก็นำผลกาแฟมาเข้าเครื่องกระเทาะเปลือกกาแฟภายใน 24 ชั่วโมงหลังการเก็บเกี่ยว
กาแฟกะลาเปียกที่ได้จะถูกนำมาหมักแห้งเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง และนำไปหมักเปียกอีก 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยขจัดเมือกเคลือบออกจากกาแฟกะลา จากนั้นจะแช่พักเมล็ดที่ผ่านการหมักในน้ำสะอาดอีกประมาณ 24 ชั่วโมง เพื่อให้กาแฟมีกลิ่นและรสที่สะอาดขึ้น เสร็จแล้วจึงขนส่งลงมาที่ด้านล่าง เพื่อตากบนลานตากกาแฟ ตากด้วยแสงอาทิตย์ ใช้เวลาประมาณ 7-8 วัน ระหว่างนั้นก็พลิกกลับกาแฟเป็นครั้งคราว
เมื่อได้ความชื้นในระดับที่ต้องการ ก็จะบรรจุกาแฟกะลาในกระสอบแล้วนำไปเก็บรักษาในคลังที่มีการควบคุมระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม เก็บไว้ประมาณ 8 เดือน เพื่อเป็นการบ่มเมล็ดกาแฟให้รสชาติดีขึ้น
มาถึงขึ้นตอนการผลิตกาแฟสาร จะขนส่งเมล็ดกาแฟจากคลังกลับขึ้นมาบนดอยช้าง เพื่อเข้าสู่โรงงาน โดยจะนำกาแฟกะลามาเข้าเครื่องสีส่วนของกะลาแห้งออก จากนั้นจะส่งเข้าเครื่องคัดแยกขนาดและคุณภาพของเมล็ดกาแฟ แล้วจึงคัดแยกคุณภาพเมล็ดกาแฟด้วยแรงงานคนอีกครั้งหนึ่ง
กาแฟสารที่ได้ เป็นกาแฟที่พร้อมนำมาคั่ว เมื่อถูกนำเข้าเครื่องคั่วกาแฟ คั่วด้วยอุณหภูมิและระยะเวลาตามที่กำหนดแล้ว นำออกมาพักให้คลายความร้อนลง จากนั้นก็จะผ่านการคัดคุณภาพด้วยแรงงานคนอีกครั้ง ก่อนจะนำลงบรรจุถุงพร้อมส่ง
ส่วนเอกลักษณ์ด้านกลิ่นและรสชาติของกาแฟดอยช้าง จะมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ เจือรสเปรี้ยวจากกรดของผลไม้ เป็นผลมาจากพื้นที่ในการปลูกกาแฟ ทำให้ดื่มแล้วชุ่มคอ มีรสชาติกลมกล่อม มีคาเฟอีนต่ำ
นอกจากจะเป็นที่รู้จักในประเทศแล้ว กาแฟดอยช้างก็ยังได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ การันตีได้จากรางวัลจากสถาบันต่างๆ อาทิ การเป็นสมาชิกสมาคมกาแฟชนิดพิเศษ การได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป เป็นต้น จึงนับว่าเป็นกาแฟของคนไทยที่ไปสร้างความภาคภูมิใจบนเวทีระดับโลก
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
บนดอยสูงอย่างที่ “ดอยช้าง” ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ในอดีตก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีลักษณะเป็นภูเขาหัวโล้น จากการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย แต่ปัจจุบันนี้กลายมาเป็นพื้นที่เพาะปลูกกาแฟสายพันธุ์อราบิกาคุณภาพดี ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย
จุดเริ่มต้นก็มาจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้ชาวไทยภูเขาในพื้นที่สูงหันมาปลูกพืชเมืองหนาวทดแทนการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย โดยในครั้งนั้น ชาวไทยภูเขาบนดอยช้าง ก็ได้รับพระราชทานพันธุ์กาแฟเพื่อนำมาปลูกบนดอย สร้างอาชีพใหม่ให้กับครอบครัว
แต่การที่ชาวไทยภูเขาเหล่านี้ไม่มีสัญชาติไทย การจะลงไปขายผลผลิตกาแฟที่ด้านล่างก็ลำบาก ต้องขายผ่านพ่อค้าคนกลาง จึงทำให้ถูกกดราคา จนกระทั่งในช่วงปลายปี พ.ศ.2545 จึงได้มีการก่อตั้งเป็นรูปแบบบริษัท เพื่อช่วยเหลือชุมชนผู้ปลูกกาแฟบนดอยช้าง และกลายมาเป็น “กาแฟดอยช้าง” จนถึงทุกวันนี้
กาแฟดอยช้างนั้น เลือกใช้ชื่อ “ดอยช้าง” เพื่อให้เกียรติถิ่นกำเนิดของกาแฟดอยช้าง และเลือกใช้ภาพของ พิก่อ พิสัยเลิศ ผู้อาวุโสและผู้ร่วมก่อตั้งกาแฟดอยช้าง ซึ่งเป็นหนึ่งในชาวไทยภูเขา 40 ครอบครัวแรกที่ได้รับพระราชทานพันธุ์กาแฟ นำมาเป็นต้นแบบโลโก้ของกาแฟดอยช้าง
พื้นที่ของดอยช้าง ตั้งอยู่ที่ความสูงระหว่าง 1,000-1,700 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางดิน และมีอากาศเย็นสบาย จึงเหมาะกับการปลูกกาแฟสายพันธุ์อราบิกา โดยกาแฟแบรนด์ดอยช้างนั้นจะเป็นกาแฟอราบิกาชนิดพิเศษคุณภาพสูง จากแหล่งผลิตเฉพาะบริเวณดอยช้างแห่งเดียวเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสหภาพยุโรป ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
ความโดดเด่นของกาแฟดอยช้าง อยู่ที่การเป็นกาแฟชนิดพิเศษคุณภาพสูง เมล็ดกาแฟมีขนาดใหญ่พิเศษ มีการควบคุมคุณภาพตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ คือ ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิต กระบวนการผลิต ไปจนถึงขั้นตอนการชงกาแฟ
สำหรับขั้นตอนการผลิตกาแฟดอยช้างนั้นเริ่มตั้งแต่การปลูกต้นกาแฟบนดอยช้าง ซึ่งกาแฟของที่นี่จะเป็นสายพันธุ์อราบิกา หากเดินทางขึ้นมาที่หมู่บ้านดอยช้าง ก็จะเห็นต้น แฟอยู่ตามข้างทาง รอบๆ บ้าน และในป่า โดยวิธีการปลูกต้นกาแฟของที่นี่จะปลูกอยู่ใต้ร่มเงาไม้ แซมอยู่กับต้นไม้ที่มีอยู่เดิม และปลูกต้นไม้เพิ่มเติมในทุกปี
ต้นกาแฟจะให้ผลผลิตปีละครั้ง ช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ โดยจะเลือกเก็บผลกาแฟที่สุกแล้ว ผลเป็นสีแดงก่ำคล้ายสีของผลเชอร์รี่ วิธีเก็บจะต้องใช้กำลังคนเลือกเก็บด้วยมือทีละผล เนื่องจากผลกาแฟไม่ได้สุกพร้อมกันทั้งต้น เมื่อรวบรวมผลกาแฟที่เก็บมาทั้งวันแล้ว ในช่วงเย็นชาวบ้านจะนำผลกาแฟที่ได้มาขายที่โรงงาน
เมื่อผลกาแฟมาถึงโรงงาน ก็จะถูกเทลงในบ่อน้ำเพื่อล้างทำความสะอาด และแยกเอาเฉพาะผลสมบูรณ์ที่จมน้ำ ส่วนผลไม่สมบูรณ์ที่ลอยน้ำอยู่ก็จะถูกคัดแยกออกไป จากนั้นก็นำผลกาแฟมาเข้าเครื่องกระเทาะเปลือกกาแฟภายใน 24 ชั่วโมงหลังการเก็บเกี่ยว
กาแฟกะลาเปียกที่ได้จะถูกนำมาหมักแห้งเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง และนำไปหมักเปียกอีก 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยขจัดเมือกเคลือบออกจากกาแฟกะลา จากนั้นจะแช่พักเมล็ดที่ผ่านการหมักในน้ำสะอาดอีกประมาณ 24 ชั่วโมง เพื่อให้กาแฟมีกลิ่นและรสที่สะอาดขึ้น เสร็จแล้วจึงขนส่งลงมาที่ด้านล่าง เพื่อตากบนลานตากกาแฟ ตากด้วยแสงอาทิตย์ ใช้เวลาประมาณ 7-8 วัน ระหว่างนั้นก็พลิกกลับกาแฟเป็นครั้งคราว
เมื่อได้ความชื้นในระดับที่ต้องการ ก็จะบรรจุกาแฟกะลาในกระสอบแล้วนำไปเก็บรักษาในคลังที่มีการควบคุมระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม เก็บไว้ประมาณ 8 เดือน เพื่อเป็นการบ่มเมล็ดกาแฟให้รสชาติดีขึ้น
มาถึงขึ้นตอนการผลิตกาแฟสาร จะขนส่งเมล็ดกาแฟจากคลังกลับขึ้นมาบนดอยช้าง เพื่อเข้าสู่โรงงาน โดยจะนำกาแฟกะลามาเข้าเครื่องสีส่วนของกะลาแห้งออก จากนั้นจะส่งเข้าเครื่องคัดแยกขนาดและคุณภาพของเมล็ดกาแฟ แล้วจึงคัดแยกคุณภาพเมล็ดกาแฟด้วยแรงงานคนอีกครั้งหนึ่ง
กาแฟสารที่ได้ เป็นกาแฟที่พร้อมนำมาคั่ว เมื่อถูกนำเข้าเครื่องคั่วกาแฟ คั่วด้วยอุณหภูมิและระยะเวลาตามที่กำหนดแล้ว นำออกมาพักให้คลายความร้อนลง จากนั้นก็จะผ่านการคัดคุณภาพด้วยแรงงานคนอีกครั้ง ก่อนจะนำลงบรรจุถุงพร้อมส่ง
ส่วนเอกลักษณ์ด้านกลิ่นและรสชาติของกาแฟดอยช้าง จะมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ เจือรสเปรี้ยวจากกรดของผลไม้ เป็นผลมาจากพื้นที่ในการปลูกกาแฟ ทำให้ดื่มแล้วชุ่มคอ มีรสชาติกลมกล่อม มีคาเฟอีนต่ำ
นอกจากจะเป็นที่รู้จักในประเทศแล้ว กาแฟดอยช้างก็ยังได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ การันตีได้จากรางวัลจากสถาบันต่างๆ อาทิ การเป็นสมาชิกสมาคมกาแฟชนิดพิเศษ การได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป เป็นต้น จึงนับว่าเป็นกาแฟของคนไทยที่ไปสร้างความภาคภูมิใจบนเวทีระดับโลก
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager