Facebook : Travel @ Manager
หนาวนี้มีแพลนเที่ยวเหนือแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีหรือกำลังวางแผนเที่ยว "ตะลอนเที่ยว" ขอแนะนำ "ลำปาง" เมืองรถม้า ชามตราไก่ ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองน่าเที่ยวแห่งภาคเหนือในระดับที่ "ต้องห้าม...พลาด" ที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เขาหยิบชูขึ้นมาให้นักท่องเที่ยวได้รู้ว่าถึงเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่ก็อัดแน่นไปด้วยศักยภาพทางการท่องเที่ยว ทั้งเที่ยววัดงาม ชุมชนน่ารัก ธรรมชาติอันมีมนต์เสน่ห์ ที่ลำปางนั้นมีพร้อม
อย่างที่ "ตะลอนเที่ยว" ได้มาเยือนลำปางในวันนี้ ก่อนอื่นต้องมาสักการะพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองที่ “วัดพระธาตุลำปางหลวง” อยู่ในอำเภอเกาะคา ไม่ไกลจากตัวเมืองลำปาง เป็นวัดเก่าแก่อันเป็นที่ประดิษฐานองค์พระธาตุลำปางหลวง พระธาตุคู่เมืองลำปางและพระธาตุประจำปีฉลู (วัว)
จากทางด้านหน้าวัดเมื่อเดินขึ้นบันไดและลอดซุ้มประตูโขงเข้ามาจะพบกับ “วิหารหลวง” วิหารขนาดใหญ่เปิดโล่งมีพระเจ้าล้านทอง พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในลำปางประดิษฐานเป็นพระประธานภายในกู่หรือเจดีย์ทรงปราสาท หลังพระวิหารคือองค์พระธาตุลำปางหลวง เป็นเจดีย์กลมทรงระฆังคว่ำภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีผู้คนแวะเวียนมากราบไหว้ตลอดทั้งวัน
อีกหนึ่งสิ่งที่ห้ามพลาดชมที่นี่ก็คือ “พระธาตุหัวกลับ” หรือเงาพระธาตุ ภายในมณฑปพระพุทธบาทที่อยู่ด้านหลังเยื้องกับองค์พระธาตุ พระธาตุหัวกลับเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์กล้องรูเข็ม ที่แสงส่องลอดรูเล็กๆ เข้ามาในห้องที่ปิดมืด ทำให้เห็นเป็นภาพพระธาตุในลักษณะหัวกลับ ซึ่งภายในมณฑปพระพุทธบาทจะอนุญาตให้เฉพาะผู้ชายเข้าชมเท่านั้น ส่วนผู้หญิงสามารถชมพระธาตุหัวกลับได้ที่วิหารพระพุทธ (ทางด้านซ้ายขององค์พระธาตุ) และสามารถกราบสักการะพระพุทธรูปเชียงแสนภายในพระวิหารได้ด้วย
“ตะลอนเที่ยว” ไหว้พระเสร็จเรียบร้อยแล้วเดินออกมาบริเวณริมถนนด้านหน้าวัด พบว่าเต็มไปด้วยรถม้าที่มารอให้บริการนักท่องเที่ยว สามารถถ่ายรูปคู่กับรถม้า ขึ้นไปลองนั่ง หรือจะให้รถม้าวิ่งพาเที่ยวบริเวณใกล้ๆ ก็ได้ เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวไม่น้อย
ไม่ไกลจากวัดพระธาตุลำปางหลวงมีชุมชนเล็กๆ ที่น่าสนใจ ชื่อว่า “บ้านศาลาบัวบก” (ต.ท่าผา อ.เกาะคา) ในย่านนี้มีโรงงานทำเซรามิกขนาดย่อมหลายแห่งทำเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน ผลิตสินค้าที่ใช้ในครัวเรือน เช่น ถ้วย ชาม แจกัน กระปุก ฯลฯ ไม่เพียงเท่านั้น ชาวชุมชนยังได้ต่อยอดการผลิตเซรามิกมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวในชุมชนอีกด้วย
อย่างแรกก็คือ “ลูกประคบเซรามิก” ที่ชาวชุมชนนำเอาดินขาวมาปั้นเป็นก้อนกลมเล็กๆ แล้วนำไปเผาจนกลายเป็นเซรามิก แล้วนำไปใส่ผสมกับเครื่องสมุนไพรอีกนับสิบชนิดห่อผ้าทำเป็นลูกประคบ ลูกเซรามิกจะเก็บความร้อนได้นาน ทำให้ลูกประคบร้อนนาน น้ำหนักดี นวดเพลินมากยิ่งขึ้น
เซรามิกกลมนี้ยังสามารถปั้นให้เป็นก้อนกลมใหญ่ขึ้น แล้วนำไปแช่ในอ่างผสมกับน้ำสมุนไพรที่ต้มจนร้อน ใช้เป็นอ่างแช่เท้าสมุนไพรออนเซ็น สูตรของบ้านศาลาบัวบก การแช่เท้าในน้ำร้อนจะช่วยผ่อนคลายความเมื่อยตึง น้ำสมุนไพรจะช่วยขับของเสียออกมาทางผิวหนัง ขณะแช่เท้าให้ใช้เท้าเหยียบคลึงลูกเซรามิกก็จะเป็นการนวดจุดต่างๆ บนฝ่าเท้าได้อีกด้วย
ทั้งการนวดประคบและการแช่เท้านี้ถ้าใครอยากลองว่าฟินแค่ไหนก็ต้องมาที่บ้านศาลาบัวบก ที่นอกจากจะมีกิจกรรมสองอย่างนี้แล้ว ก็ยังมีการทดลองทำผ้ามัดย้อม ลองปั้นลูกเซรามิก หรือจะมาทำน้ำคลอโรฟิลด์จากผักใบเขียวดื่มเพื่อสุขภาพ หากใครอยากใช้เวลานานหน่อยก็มีโฮมสเตย์ให้บริการ ซึ่งก็จะได้ชิมอาหารพื้นบ้านที่ใช้ผักปลอดสารที่ปลูกเองในหมู่บ้านมาทำเป็นเมนูอร่อยๆ ให้ชิมกันด้วย
จากนั้นเข้ามาเที่ยวในเมืองลำปางกันบ้าง มาชม “ชามกาไก่” หรือ “ชามตราไก่” ที่ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองลำปางมาช้านาน โดยหากอยากรู้เรื่องราวของชามตราไก่ ขอแนะนำให้มาเยือนที่ “พิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดี” ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้เรื่องชามตราไก่ อีกทั้งยังเป็นพิพิธภัณฑ์เกียรติประวัติของนายอี้ (ซิมหยู) แซ่ฉิน ผู้ก่อตั้งโรงงานเซรามิคแห่งแรกของจังหวัดลำปาง หรือโรงงานธนบดีสกุล ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดีแห่งนี้
ภายในพิพิธภัณฑ์มีประวัติของ “อาปาอี้” (คุณพ่ออี้) ชาวจีนที่มาตั้งรกรากที่เมืองไทย และพบว่าที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง มีดินขาวคุณภาพดีเนื้อดินสวยงาม เผาอุณหภูมิไม่สูงมากเหมาะสำหรับการปั้นถ้วยชาม อาปาอี้จึงนำดินขาวมาใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ส่วนชามตราไก่นั้นมีต้นกำเนิดมาจากเมืองจีนกว่าร้อยปีแล้ว บางส่วนส่งมาขายที่ประเทศไทย โดยไก่ถือเป็นลวดลายมงคลหนึ่งของจีน ภายหลังโรงงานธนบดีสกุลแห่งนี้จึงผลิตชามตราไก่ออกขายเรื่อยมา
นอกจากจะรับรู้เรื่องราวความเป็นมาของชามตราไก่แล้ว ภายในพิพิธภัณฑ์ยังเป็นโรงงานผลิตถ้วยชามที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ จึงเรียกได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต เพราะจะได้เห็นขั้นตอนการผลิตชามตราไก่และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ภายในโรงงานอีกด้วย
ได้ชมและชอปชามตราไก่แล้ว “ตะลอนเที่ยว” จะพาไปชมอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของลำปาง นั่นก็คือ “สะพานรัษฎาภิเศก” สะพานสีขาวโดดเด่นที่ทอดข้ามแม่น้ำวังกลางเมืองลำปาง โดยสะพานรัษฎาภิเศกมีการสร้างมาแล้วถึง 3 รุ่น ปัจจุบันคือรุ่นที่ 3 ซึ่งมีอายุ 100 ปีแล้ว
ตัวสะพานงดงามด้วยรูปทรงโค้งคันธนูรวม 4 โค้ง และมีสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายได้แก่ “เสาสี่ต้น” ซึ่งตั้งอยู่ตรงหัวสะพานฝั่งละสองต้น เปรียบดังความมั่นคงแข็งแรงและสง่างาม “พวงมาลายอดเสา” บนยอดเสาทั้งสี่ด้านของเสาทั้งสี่ต้นเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 “ครุฑหลวงสีแดง” ประดับอยู่กลางเสาด้านหน้าทุกต้นทั้งสองฝั่งหัวสะพาน บ่งบอกถึงตราสัญลักษณ์แห่งแผ่นดินสยามสมัยรัชกาลที่ 6 และ “ไก่ขาว” ที่ประดับตรงกลางเสาด้านข้างทุกต้นทั้งสองฝั่งหัวสะพาน คือสัญลักษณ์ประจำนครลำปาง
บริเวณเชิงสะพานรัษฎาฯ ฝั่งทิศใต้ มีถนนสายหนึ่งตัดขนานไปกับแม่น้ำวังนั่นคือ “ถนนตลาดเก่า” ถนนสายนี้เป็นย่านตลาดการค้าในอดีตของลำปางที่ยังคงหลงเหลือสถาปัตยกรรมเรือนไม้น่ายลและอาคารปูนเก่าแก่ที่น่าสนใจ เช่น อาคารหม่องโง่ยซิ่น ซึ่งเป็นเรือนขนมปังขิงแสนสวย อาคารฟองหลีที่มีลวดลายไม้ฉลุงามวิจิตร
และในช่วงเย็นย่ำค่ำคืนของวันเสาร์และอาทิตย์ ถนนตลาดเก่าจะแปลงร่างกลายเป็น “ถนนคนเดินกาดกองต้า” เปลี่ยนบรรยากาศของถนนเงียบๆ ในวันธรรมดาให้กลายเป็นถนนคนเดินอันแสนคึกคักมีชีวิตชีวากับสินค้าอันหลากหลาย ทั้งอาหารการกิน งานศิลปะ งานแฮนด์เมด สินค้าพื้นเมือง สินค้าที่มีเอกลักษณ์ และสินค้าจิปาถะท่ามกลางบรรยากาศของอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ ซึ่งมีทั้งคนลำปางและนักท่องเที่ยวนิยมมาเดินเที่ยวกันอย่างเนืองแน่น
แต่หากอยากไปสัมผัสบรรยากาศของถนนคนเดินเล็กๆ น่ารักๆ ต้องลองมาที่ “ถนนสายวัฒนธรรม” บนถนนวังเหนือ ย่านเมืองเก่าท่ามะโอ (หลังวัดประตูป่อง) ที่จะมีขึ้นทุกวันศุกร์ตั้งแต่ช่วงเย็นไปจนถึงค่ำ ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นถนนสายพื้นเมืองของชาวลำปางที่น่าเดินไปด้วยเสน่ห์แห่งความเป็นท้องถิ่น กับบรรยากาศของ กาดหมั้วคัวแลง มีอาหารพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง รวมไปถึงสินค้าการเกษตร พืชผักปลอดสารพิษ สินค้าทำมือ และสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ก็ยังมีดนตรีพื้นเมือง และการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากเหล่าเยาวชน รวมถึงการสาธิตงานฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจให้ได้สัมผัสกัน
มาถึงลำปางแล้วอยากชวนไปสัมผัสอากาศหนาวและชมพระอาทิตย์ขึ้นสวยๆ และทะเลหมอกยามเช้าแบบไม่ไกลจากเมืองที่ “วัดพระธาตุดอยพระฌาน” ใน ต.ป่าตัน อ.แม่ทะ ที่เดินทางจากตัวเมืองไปไม่เกินครึ่งชั่วโมง วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 350 เมตร สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของอำเภอแม่ทะที่มีขุนเขาโอบล้อมได้โดยรอบ
วัดพระธาตุดอยพระฌานเป็นวัดเก่าแก่สร้างมากว่า 100 ปี แต่ถูกปล่อยให้รกร้างมานานหลายปี พระพรชัย อัคควังโส เจ้าอาวาส และพระปิยพงษ์ ธัมมะวังโส ได้เดินทางจากจังหวัดนครราชสีมา มายังลำปางจนมาพบพระธาตุแห่งนี้และได้เริ่มบูรณะพื้นที่และสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ในปี 2555 เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างเดิมชำรุดทรุดโทรม
จนปัจจุบันวัดพระธาตุดอยพระฌานได้รับการบูรณะและปลูกสร้างอย่างงดงามมีพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป ด้านหลังเป็นองค์เจดีย์สีขาวสะอาดตา ลานด้านหน้าพระวิหารหันออกสู่ที่ราบเบื้องล่างภูเขา มองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นได้อย่างงดงาม และในวันที่สภาพอากาศเป็นใจก็จะได้ชมทะเลหมอกด้วย จึงมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยี่ยมชมตั้งแต่ตอนเช้ามืดในทุกๆ วัน
และหากใครอยากออกไปเที่ยวนอกเมืองแบบไปเช้าเย็นกลับใกล้ๆ ขอแนะนำ “อำเภองาว” ที่มีแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่ออย่าง “วัดจองคำ” ซึ่งเป็นพระอารามหลวงและเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในลำปาง ที่วัดนี้เป็นที่ตั้งของ “เจดีย์พุทธคยา” ที่จำลองมาจากประเทศอินเดีย ดำริการสร้างโดยพระเทพปริยัติมงคล (หลวงปู่โอภาส โอภาโส) เจ้าอาวาส ด้วยประสงค์ที่จะทดแทนบุญคุณแผ่นดินไทย บุญคุณของพระมหากษัตริย์ อีกทั้งเพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั่วทุกสารทิศได้มีโอกาสมาสักการบูชาพระมหาเจดีย์ สถานที่ที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงประเทศอินเดีย
การก่อเจดีย์พุทธคยาองค์จำลองนี้เสร็จสิ้นภายในเวลา 2 ปี 11 เดือน 27 วัน เป็นองค์เจดีย์ที่งดงาม ภายในองค์เจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน 3 องค์ และยังมีพระพุทธรูปและโบราณวัตถุต่างๆ จัดแสดงอยู่ในตู้กระจกที่ล้อมรอบพระพุทธรูปประธานทั้งสามองค์ให้ได้กราบไหว้ขอพรอีกด้วย
และพลาดไม่ได้กับ “หล่มภูเขียว” แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันสวยงามลึกลับในเขตอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท (ต.บ้านอ้อน อ.งาว) ที่มีลักษณะเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เนื้อที่ราว 1-2 ไร่ เป็นบ่อน้ำนิ่งสงบสีเขียวมรกต เห็นสวยๆ อย่างนั้นก็ห้ามลงไปเล่นเชียวเพราะความลึกนั้นไม่สามารถระบุได้ สันนิษฐานว่าแอ่งแห่งนี้เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกในสมัยดึกดำบรรพ์ หรืออาจเกิดจากการยุบตัวของหินปูนซึ่งเคยเป็นเพดานถ้ำมาก่อน แล้วจมลงใต้น้ำ เรียกว่าหลุมยุบ (Sink Hole) ต่อมาจึงกลายเป็นแหล่งรับน้ำ และมีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันหล่มภูเขียวกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังที่ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ โดยเชื่อว่าเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีพญางูใหญ่อาศัยอยู่จึงได้ทำพิธีบูชาน้ำเป็นประจำทุกปี สมัยก่อนชาวบ้านจะนำขันข้าวพร้อมดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา โดยนำไปวางบนขอนไม้และลอยไปกลางลำน้ำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบึงน้ำ และได้เกิดปรากฏการณ์ขอนไม้จมลงไปใต้น้ำแล้วลอยขึ้นมาโดยที่เทียนยังไม่ดับ จึงเกิดความเชื่อว่าเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจึงนำมาดื่มกินและอธิษฐานขอให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ
ทั้งนี้ผู้สนใจสอบถามข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางไปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในจังหวัดลำปางเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานลำปาง (พื้นที่รับผิดชอบลำปาง,ลำพูน) โทร.0-5422-2214-15
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
หนาวนี้มีแพลนเที่ยวเหนือแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีหรือกำลังวางแผนเที่ยว "ตะลอนเที่ยว" ขอแนะนำ "ลำปาง" เมืองรถม้า ชามตราไก่ ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองน่าเที่ยวแห่งภาคเหนือในระดับที่ "ต้องห้าม...พลาด" ที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เขาหยิบชูขึ้นมาให้นักท่องเที่ยวได้รู้ว่าถึงเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่ก็อัดแน่นไปด้วยศักยภาพทางการท่องเที่ยว ทั้งเที่ยววัดงาม ชุมชนน่ารัก ธรรมชาติอันมีมนต์เสน่ห์ ที่ลำปางนั้นมีพร้อม
อย่างที่ "ตะลอนเที่ยว" ได้มาเยือนลำปางในวันนี้ ก่อนอื่นต้องมาสักการะพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองที่ “วัดพระธาตุลำปางหลวง” อยู่ในอำเภอเกาะคา ไม่ไกลจากตัวเมืองลำปาง เป็นวัดเก่าแก่อันเป็นที่ประดิษฐานองค์พระธาตุลำปางหลวง พระธาตุคู่เมืองลำปางและพระธาตุประจำปีฉลู (วัว)
จากทางด้านหน้าวัดเมื่อเดินขึ้นบันไดและลอดซุ้มประตูโขงเข้ามาจะพบกับ “วิหารหลวง” วิหารขนาดใหญ่เปิดโล่งมีพระเจ้าล้านทอง พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในลำปางประดิษฐานเป็นพระประธานภายในกู่หรือเจดีย์ทรงปราสาท หลังพระวิหารคือองค์พระธาตุลำปางหลวง เป็นเจดีย์กลมทรงระฆังคว่ำภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีผู้คนแวะเวียนมากราบไหว้ตลอดทั้งวัน
อีกหนึ่งสิ่งที่ห้ามพลาดชมที่นี่ก็คือ “พระธาตุหัวกลับ” หรือเงาพระธาตุ ภายในมณฑปพระพุทธบาทที่อยู่ด้านหลังเยื้องกับองค์พระธาตุ พระธาตุหัวกลับเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์กล้องรูเข็ม ที่แสงส่องลอดรูเล็กๆ เข้ามาในห้องที่ปิดมืด ทำให้เห็นเป็นภาพพระธาตุในลักษณะหัวกลับ ซึ่งภายในมณฑปพระพุทธบาทจะอนุญาตให้เฉพาะผู้ชายเข้าชมเท่านั้น ส่วนผู้หญิงสามารถชมพระธาตุหัวกลับได้ที่วิหารพระพุทธ (ทางด้านซ้ายขององค์พระธาตุ) และสามารถกราบสักการะพระพุทธรูปเชียงแสนภายในพระวิหารได้ด้วย
“ตะลอนเที่ยว” ไหว้พระเสร็จเรียบร้อยแล้วเดินออกมาบริเวณริมถนนด้านหน้าวัด พบว่าเต็มไปด้วยรถม้าที่มารอให้บริการนักท่องเที่ยว สามารถถ่ายรูปคู่กับรถม้า ขึ้นไปลองนั่ง หรือจะให้รถม้าวิ่งพาเที่ยวบริเวณใกล้ๆ ก็ได้ เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวไม่น้อย
ไม่ไกลจากวัดพระธาตุลำปางหลวงมีชุมชนเล็กๆ ที่น่าสนใจ ชื่อว่า “บ้านศาลาบัวบก” (ต.ท่าผา อ.เกาะคา) ในย่านนี้มีโรงงานทำเซรามิกขนาดย่อมหลายแห่งทำเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน ผลิตสินค้าที่ใช้ในครัวเรือน เช่น ถ้วย ชาม แจกัน กระปุก ฯลฯ ไม่เพียงเท่านั้น ชาวชุมชนยังได้ต่อยอดการผลิตเซรามิกมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวในชุมชนอีกด้วย
อย่างแรกก็คือ “ลูกประคบเซรามิก” ที่ชาวชุมชนนำเอาดินขาวมาปั้นเป็นก้อนกลมเล็กๆ แล้วนำไปเผาจนกลายเป็นเซรามิก แล้วนำไปใส่ผสมกับเครื่องสมุนไพรอีกนับสิบชนิดห่อผ้าทำเป็นลูกประคบ ลูกเซรามิกจะเก็บความร้อนได้นาน ทำให้ลูกประคบร้อนนาน น้ำหนักดี นวดเพลินมากยิ่งขึ้น
เซรามิกกลมนี้ยังสามารถปั้นให้เป็นก้อนกลมใหญ่ขึ้น แล้วนำไปแช่ในอ่างผสมกับน้ำสมุนไพรที่ต้มจนร้อน ใช้เป็นอ่างแช่เท้าสมุนไพรออนเซ็น สูตรของบ้านศาลาบัวบก การแช่เท้าในน้ำร้อนจะช่วยผ่อนคลายความเมื่อยตึง น้ำสมุนไพรจะช่วยขับของเสียออกมาทางผิวหนัง ขณะแช่เท้าให้ใช้เท้าเหยียบคลึงลูกเซรามิกก็จะเป็นการนวดจุดต่างๆ บนฝ่าเท้าได้อีกด้วย
ทั้งการนวดประคบและการแช่เท้านี้ถ้าใครอยากลองว่าฟินแค่ไหนก็ต้องมาที่บ้านศาลาบัวบก ที่นอกจากจะมีกิจกรรมสองอย่างนี้แล้ว ก็ยังมีการทดลองทำผ้ามัดย้อม ลองปั้นลูกเซรามิก หรือจะมาทำน้ำคลอโรฟิลด์จากผักใบเขียวดื่มเพื่อสุขภาพ หากใครอยากใช้เวลานานหน่อยก็มีโฮมสเตย์ให้บริการ ซึ่งก็จะได้ชิมอาหารพื้นบ้านที่ใช้ผักปลอดสารที่ปลูกเองในหมู่บ้านมาทำเป็นเมนูอร่อยๆ ให้ชิมกันด้วย
จากนั้นเข้ามาเที่ยวในเมืองลำปางกันบ้าง มาชม “ชามกาไก่” หรือ “ชามตราไก่” ที่ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองลำปางมาช้านาน โดยหากอยากรู้เรื่องราวของชามตราไก่ ขอแนะนำให้มาเยือนที่ “พิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดี” ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้เรื่องชามตราไก่ อีกทั้งยังเป็นพิพิธภัณฑ์เกียรติประวัติของนายอี้ (ซิมหยู) แซ่ฉิน ผู้ก่อตั้งโรงงานเซรามิคแห่งแรกของจังหวัดลำปาง หรือโรงงานธนบดีสกุล ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดีแห่งนี้
ภายในพิพิธภัณฑ์มีประวัติของ “อาปาอี้” (คุณพ่ออี้) ชาวจีนที่มาตั้งรกรากที่เมืองไทย และพบว่าที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง มีดินขาวคุณภาพดีเนื้อดินสวยงาม เผาอุณหภูมิไม่สูงมากเหมาะสำหรับการปั้นถ้วยชาม อาปาอี้จึงนำดินขาวมาใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ส่วนชามตราไก่นั้นมีต้นกำเนิดมาจากเมืองจีนกว่าร้อยปีแล้ว บางส่วนส่งมาขายที่ประเทศไทย โดยไก่ถือเป็นลวดลายมงคลหนึ่งของจีน ภายหลังโรงงานธนบดีสกุลแห่งนี้จึงผลิตชามตราไก่ออกขายเรื่อยมา
นอกจากจะรับรู้เรื่องราวความเป็นมาของชามตราไก่แล้ว ภายในพิพิธภัณฑ์ยังเป็นโรงงานผลิตถ้วยชามที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ จึงเรียกได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต เพราะจะได้เห็นขั้นตอนการผลิตชามตราไก่และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ภายในโรงงานอีกด้วย
ได้ชมและชอปชามตราไก่แล้ว “ตะลอนเที่ยว” จะพาไปชมอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของลำปาง นั่นก็คือ “สะพานรัษฎาภิเศก” สะพานสีขาวโดดเด่นที่ทอดข้ามแม่น้ำวังกลางเมืองลำปาง โดยสะพานรัษฎาภิเศกมีการสร้างมาแล้วถึง 3 รุ่น ปัจจุบันคือรุ่นที่ 3 ซึ่งมีอายุ 100 ปีแล้ว
ตัวสะพานงดงามด้วยรูปทรงโค้งคันธนูรวม 4 โค้ง และมีสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายได้แก่ “เสาสี่ต้น” ซึ่งตั้งอยู่ตรงหัวสะพานฝั่งละสองต้น เปรียบดังความมั่นคงแข็งแรงและสง่างาม “พวงมาลายอดเสา” บนยอดเสาทั้งสี่ด้านของเสาทั้งสี่ต้นเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 “ครุฑหลวงสีแดง” ประดับอยู่กลางเสาด้านหน้าทุกต้นทั้งสองฝั่งหัวสะพาน บ่งบอกถึงตราสัญลักษณ์แห่งแผ่นดินสยามสมัยรัชกาลที่ 6 และ “ไก่ขาว” ที่ประดับตรงกลางเสาด้านข้างทุกต้นทั้งสองฝั่งหัวสะพาน คือสัญลักษณ์ประจำนครลำปาง
บริเวณเชิงสะพานรัษฎาฯ ฝั่งทิศใต้ มีถนนสายหนึ่งตัดขนานไปกับแม่น้ำวังนั่นคือ “ถนนตลาดเก่า” ถนนสายนี้เป็นย่านตลาดการค้าในอดีตของลำปางที่ยังคงหลงเหลือสถาปัตยกรรมเรือนไม้น่ายลและอาคารปูนเก่าแก่ที่น่าสนใจ เช่น อาคารหม่องโง่ยซิ่น ซึ่งเป็นเรือนขนมปังขิงแสนสวย อาคารฟองหลีที่มีลวดลายไม้ฉลุงามวิจิตร
และในช่วงเย็นย่ำค่ำคืนของวันเสาร์และอาทิตย์ ถนนตลาดเก่าจะแปลงร่างกลายเป็น “ถนนคนเดินกาดกองต้า” เปลี่ยนบรรยากาศของถนนเงียบๆ ในวันธรรมดาให้กลายเป็นถนนคนเดินอันแสนคึกคักมีชีวิตชีวากับสินค้าอันหลากหลาย ทั้งอาหารการกิน งานศิลปะ งานแฮนด์เมด สินค้าพื้นเมือง สินค้าที่มีเอกลักษณ์ และสินค้าจิปาถะท่ามกลางบรรยากาศของอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ ซึ่งมีทั้งคนลำปางและนักท่องเที่ยวนิยมมาเดินเที่ยวกันอย่างเนืองแน่น
แต่หากอยากไปสัมผัสบรรยากาศของถนนคนเดินเล็กๆ น่ารักๆ ต้องลองมาที่ “ถนนสายวัฒนธรรม” บนถนนวังเหนือ ย่านเมืองเก่าท่ามะโอ (หลังวัดประตูป่อง) ที่จะมีขึ้นทุกวันศุกร์ตั้งแต่ช่วงเย็นไปจนถึงค่ำ ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นถนนสายพื้นเมืองของชาวลำปางที่น่าเดินไปด้วยเสน่ห์แห่งความเป็นท้องถิ่น กับบรรยากาศของ กาดหมั้วคัวแลง มีอาหารพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง รวมไปถึงสินค้าการเกษตร พืชผักปลอดสารพิษ สินค้าทำมือ และสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ก็ยังมีดนตรีพื้นเมือง และการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากเหล่าเยาวชน รวมถึงการสาธิตงานฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจให้ได้สัมผัสกัน
มาถึงลำปางแล้วอยากชวนไปสัมผัสอากาศหนาวและชมพระอาทิตย์ขึ้นสวยๆ และทะเลหมอกยามเช้าแบบไม่ไกลจากเมืองที่ “วัดพระธาตุดอยพระฌาน” ใน ต.ป่าตัน อ.แม่ทะ ที่เดินทางจากตัวเมืองไปไม่เกินครึ่งชั่วโมง วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 350 เมตร สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของอำเภอแม่ทะที่มีขุนเขาโอบล้อมได้โดยรอบ
วัดพระธาตุดอยพระฌานเป็นวัดเก่าแก่สร้างมากว่า 100 ปี แต่ถูกปล่อยให้รกร้างมานานหลายปี พระพรชัย อัคควังโส เจ้าอาวาส และพระปิยพงษ์ ธัมมะวังโส ได้เดินทางจากจังหวัดนครราชสีมา มายังลำปางจนมาพบพระธาตุแห่งนี้และได้เริ่มบูรณะพื้นที่และสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ในปี 2555 เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างเดิมชำรุดทรุดโทรม
จนปัจจุบันวัดพระธาตุดอยพระฌานได้รับการบูรณะและปลูกสร้างอย่างงดงามมีพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป ด้านหลังเป็นองค์เจดีย์สีขาวสะอาดตา ลานด้านหน้าพระวิหารหันออกสู่ที่ราบเบื้องล่างภูเขา มองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นได้อย่างงดงาม และในวันที่สภาพอากาศเป็นใจก็จะได้ชมทะเลหมอกด้วย จึงมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยี่ยมชมตั้งแต่ตอนเช้ามืดในทุกๆ วัน
และหากใครอยากออกไปเที่ยวนอกเมืองแบบไปเช้าเย็นกลับใกล้ๆ ขอแนะนำ “อำเภองาว” ที่มีแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่ออย่าง “วัดจองคำ” ซึ่งเป็นพระอารามหลวงและเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในลำปาง ที่วัดนี้เป็นที่ตั้งของ “เจดีย์พุทธคยา” ที่จำลองมาจากประเทศอินเดีย ดำริการสร้างโดยพระเทพปริยัติมงคล (หลวงปู่โอภาส โอภาโส) เจ้าอาวาส ด้วยประสงค์ที่จะทดแทนบุญคุณแผ่นดินไทย บุญคุณของพระมหากษัตริย์ อีกทั้งเพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั่วทุกสารทิศได้มีโอกาสมาสักการบูชาพระมหาเจดีย์ สถานที่ที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงประเทศอินเดีย
การก่อเจดีย์พุทธคยาองค์จำลองนี้เสร็จสิ้นภายในเวลา 2 ปี 11 เดือน 27 วัน เป็นองค์เจดีย์ที่งดงาม ภายในองค์เจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน 3 องค์ และยังมีพระพุทธรูปและโบราณวัตถุต่างๆ จัดแสดงอยู่ในตู้กระจกที่ล้อมรอบพระพุทธรูปประธานทั้งสามองค์ให้ได้กราบไหว้ขอพรอีกด้วย
และพลาดไม่ได้กับ “หล่มภูเขียว” แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันสวยงามลึกลับในเขตอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท (ต.บ้านอ้อน อ.งาว) ที่มีลักษณะเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เนื้อที่ราว 1-2 ไร่ เป็นบ่อน้ำนิ่งสงบสีเขียวมรกต เห็นสวยๆ อย่างนั้นก็ห้ามลงไปเล่นเชียวเพราะความลึกนั้นไม่สามารถระบุได้ สันนิษฐานว่าแอ่งแห่งนี้เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกในสมัยดึกดำบรรพ์ หรืออาจเกิดจากการยุบตัวของหินปูนซึ่งเคยเป็นเพดานถ้ำมาก่อน แล้วจมลงใต้น้ำ เรียกว่าหลุมยุบ (Sink Hole) ต่อมาจึงกลายเป็นแหล่งรับน้ำ และมีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันหล่มภูเขียวกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังที่ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ โดยเชื่อว่าเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีพญางูใหญ่อาศัยอยู่จึงได้ทำพิธีบูชาน้ำเป็นประจำทุกปี สมัยก่อนชาวบ้านจะนำขันข้าวพร้อมดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา โดยนำไปวางบนขอนไม้และลอยไปกลางลำน้ำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบึงน้ำ และได้เกิดปรากฏการณ์ขอนไม้จมลงไปใต้น้ำแล้วลอยขึ้นมาโดยที่เทียนยังไม่ดับ จึงเกิดความเชื่อว่าเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจึงนำมาดื่มกินและอธิษฐานขอให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ
ทั้งนี้ผู้สนใจสอบถามข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางไปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในจังหวัดลำปางเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานลำปาง (พื้นที่รับผิดชอบลำปาง,ลำพูน) โทร.0-5422-2214-15
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager