Facebook :Travel @ Manager
![แข่งรถล้อเลื่อนไม้สุดมัน](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000013031501.JPEG)
หากใครได้ไปเที่ยวที่ “ม่อนแจ่ม” อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หรือตามหมู่บ้านของชาวม้ง จะต้องเคยเห็น “รถล้อเลื่อนไม้” หรือที่อาจจะคุ้นหูกันว่า “ฟอร์มูล่าม้ง” กันอย่างแน่นอน
ในอดีตที่ผ่านมาชาวม้งจะอาศัยอยู่บนเขาบนดอยตามภาคเหนือ มีอาชีพหลักคือทำไร่ทำสวน และในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีน้ำปะปาและไฟฟ้าใช้ จึงต้องมีการเข้าป่าเพื่อหาฟืน ตักน้ำจากแม่น้ำมาใช้ดำรงชีวิต ดังนั้นเวลาจะขนย้ายสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ก็ต้องเดินเท้าขึ้นลงเขาเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร เพื่อนำของมากินใช้ที่บ้าน
![วัสดุตัวรถเน้นทำจากไม้](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000013031502.JPEG)
พวกเขาจึงมีการคิด “เครื่องทุ่นแรง” ขึ้นมาใช้ โดยการนำ “เศษไม้” ที่หาได้ในพื้นที่ มาดัดแปลงกลายเป็น “รถล้อเลื่อนไม้” หรือ "รถม้ง" ที่ตัวรถทุกอย่างทำขึ้นจากไม้รวมถึงล้อด้วย ขนาดของรถประมาณ 1x2 เมตร สามารถนั่งขับได้สบายๆ 1 คน และมีที่สำหรับวางของที่จะเคลื่อนย้ายด้านหลังได้
ตัวรถจะไม่มี “พวงมาลัย” เพื่อบังคับซ้ายขวา แต่จะใช้ “ขา” ยันที่ตัวเพลาล้อในการบังคับทิศทางแทน ส่วนการ “หยุดรถ” นั้นจะใช้การดึง “เบรกมือ” ที่มีลักษณะคล้ายเกียร์ของรถยนต์นั่นเอง
![มีการดัดแปลงเพิ่มเติม แต่ยังคงเน้นให้ไม้เป็นวัสดุหลัก](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000013031503.JPEG)
![ใช้น้ำมันหล่อลื่นช่วยเพิ่มความเร็ว](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000013031504.JPEG)
ในเรื่องของความเร็วของตัวรถนั้น จะเกิดจากความลาดชันของพื้นที่ที่ใช้รถล้อเลื่อนไม้ เพราะโดยปกติแล้วชาวม้งจะอาศัยอยู่บนดอย บนภูเขา และการเดินทางขึ้น-ลงเขานั้น มักจะเป็นทางชันอยู่แล้ว ทำให้รถเลื่อนลงมาตามทางได้ไม่มีปัญหา และใช้ “น้ำมันหล่อลื่น” ช่วยลดการเสียดสีและเพิ่มการลื่นไหลอีกขั้นหนึ่ง
![ฟอร์มูล่าม้งสีเหลืองสะดุดตา](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000013031505.JPEG)
ในปัจจุบันนี้เราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นชาวม้งใช้รถล้อเลื่อนไม้ในชีวิตประจำวันแล้ว เพราะเริ่มมีการพัฒนาตามยุคสมัย เป็นใช้รถยนต์และจักรยานยนต์แทน แต่เราจะได้เห็นชาวม้งใช้รถล้อเลื่อนไม้ในรูปแบบ “การละเล่น” ในวันปีใหม่ม้ง (นับตามปฏิทินจะตรงกับ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี) ซึ่งจะเป็นการแข่งกันเพื่อความสนุกสนานในหมู่เพื่อนฝูงในหมู่บ้าน
และได้พัฒนาจากแข่งขันกันในหมู่บ้าน ไปสู่ “การแข่งขันระหว่างหมู่บ้าน” ซึ่งเริ่มจัดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2545 โดยบริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดง เมื่อวันที่ 9-10 ธ.ค. 60 ที่ผ่านมาทางธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงเจอร์ไฮ ในเครือบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้ทำการจัดการแข่งขันที่รวมถึง 13 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นการจัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยนั่นเอง
![นายจาง แซ่ลี](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000013031506.JPEG)
สำหรับเทคนิคการขับรถล้อเลื่อนไม้ในการแข่งขันนั้น นายจาง แซ่ลี ตัวแทนชาวม้งจากหมู่บ้านแม่ขิ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ที่แข่งขันอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 45 และยังเป็นผู้ชนะเลิศคนล่าสุดในการแข่งขันของสนามที่ทางเครื่องดื่มกระทิงแดงจัด ได้บอกเคล็ดลับว่า “อันดับแรกเลยคือ อยู่ที่ใจ โดยต้องมีความกล้าและมั่นใจให้มากที่สุด และจะต้องแต่งรถให้เบาที่สุด ไม่เน้นสวยงามมากไปเหมือนของนักแข่งรุ่นใหม่ เป็นรถไม้เดิมๆ 100%”
![ใช้ขาบังคับทิศทาง และใช้มือดึงชะลอความเร็ว](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000013031507.JPEG)
นายจาง เล่าต่อว่า “ตัวล้อจะเลือกใช้แบบล้อเล็ก เพราะจะช่วยให้รถเบา แต่จะมีข้อเสียคือ รถจะแข็งแรงสู้คันที่ใส่ล้อใหญ่ไม่ได้ อาจจะทำให้เจ็บได้ อย่างตนก็เคยได้รับอุบัติเหตุจากการแข่งเช่นกัน ถึงกับสลบไป 1 คืน แต่ไม่บาดเจ็บแรงมากนัก หลังจากนั้นเมื่อมีการแข่งขันจึงมีการป้องกันโดยใส่หมวกกันน็อคมาตลอด”
“สำหรับเทคนิคในการออกตัวให้ไวนั้น จะต้องมีการโยกตัวครั้งแรกที่ลงจากจุดปล่อยตัวให้แรงที่สุด เพื่อให้รถทิ้งห่างจากคู่แข่ง และต้องมีแรงขาที่ดีเพื่อใช้บังคับทิศทาง ปิดเลนอีกคันไม่ให้แซงได้ เป็นช่วงสั้นๆ ในการแข่งขัน จึงต้องมีใจที่กล้าตัดสินใจนั่นเอง” นายจาง กล่าวปิดท้าย
![รถม้งหลายรูปแบบที่ม่อนแจ่ม](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000013031508.JPEG)
นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ “ฟอร์มูล่าม้ง” เพราะเป็นการแข่งขันที่ตัดสินกันด้วยความเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งหากนักท่องเที่ยวคนไหนสนใจมาลองขับฟอร์มูล่าม้งนั่น สามารถมาได้ที่ม่อนแจ่ม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ระยะทางที่เล่นประมาณ 400 เมตร มีค่าบริการอยู่ที่คนละ 50 บาท ถ้าลองขับแบบเป็นที่นั่งคู่ราคาคู่ละ 80 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-5393-9173 และ 08-1950-9767
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
หากใครได้ไปเที่ยวที่ “ม่อนแจ่ม” อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หรือตามหมู่บ้านของชาวม้ง จะต้องเคยเห็น “รถล้อเลื่อนไม้” หรือที่อาจจะคุ้นหูกันว่า “ฟอร์มูล่าม้ง” กันอย่างแน่นอน
ในอดีตที่ผ่านมาชาวม้งจะอาศัยอยู่บนเขาบนดอยตามภาคเหนือ มีอาชีพหลักคือทำไร่ทำสวน และในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีน้ำปะปาและไฟฟ้าใช้ จึงต้องมีการเข้าป่าเพื่อหาฟืน ตักน้ำจากแม่น้ำมาใช้ดำรงชีวิต ดังนั้นเวลาจะขนย้ายสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ก็ต้องเดินเท้าขึ้นลงเขาเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร เพื่อนำของมากินใช้ที่บ้าน
พวกเขาจึงมีการคิด “เครื่องทุ่นแรง” ขึ้นมาใช้ โดยการนำ “เศษไม้” ที่หาได้ในพื้นที่ มาดัดแปลงกลายเป็น “รถล้อเลื่อนไม้” หรือ "รถม้ง" ที่ตัวรถทุกอย่างทำขึ้นจากไม้รวมถึงล้อด้วย ขนาดของรถประมาณ 1x2 เมตร สามารถนั่งขับได้สบายๆ 1 คน และมีที่สำหรับวางของที่จะเคลื่อนย้ายด้านหลังได้
ตัวรถจะไม่มี “พวงมาลัย” เพื่อบังคับซ้ายขวา แต่จะใช้ “ขา” ยันที่ตัวเพลาล้อในการบังคับทิศทางแทน ส่วนการ “หยุดรถ” นั้นจะใช้การดึง “เบรกมือ” ที่มีลักษณะคล้ายเกียร์ของรถยนต์นั่นเอง
ในเรื่องของความเร็วของตัวรถนั้น จะเกิดจากความลาดชันของพื้นที่ที่ใช้รถล้อเลื่อนไม้ เพราะโดยปกติแล้วชาวม้งจะอาศัยอยู่บนดอย บนภูเขา และการเดินทางขึ้น-ลงเขานั้น มักจะเป็นทางชันอยู่แล้ว ทำให้รถเลื่อนลงมาตามทางได้ไม่มีปัญหา และใช้ “น้ำมันหล่อลื่น” ช่วยลดการเสียดสีและเพิ่มการลื่นไหลอีกขั้นหนึ่ง
ในปัจจุบันนี้เราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นชาวม้งใช้รถล้อเลื่อนไม้ในชีวิตประจำวันแล้ว เพราะเริ่มมีการพัฒนาตามยุคสมัย เป็นใช้รถยนต์และจักรยานยนต์แทน แต่เราจะได้เห็นชาวม้งใช้รถล้อเลื่อนไม้ในรูปแบบ “การละเล่น” ในวันปีใหม่ม้ง (นับตามปฏิทินจะตรงกับ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี) ซึ่งจะเป็นการแข่งกันเพื่อความสนุกสนานในหมู่เพื่อนฝูงในหมู่บ้าน
และได้พัฒนาจากแข่งขันกันในหมู่บ้าน ไปสู่ “การแข่งขันระหว่างหมู่บ้าน” ซึ่งเริ่มจัดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2545 โดยบริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดง เมื่อวันที่ 9-10 ธ.ค. 60 ที่ผ่านมาทางธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงเจอร์ไฮ ในเครือบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้ทำการจัดการแข่งขันที่รวมถึง 13 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นการจัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยนั่นเอง
สำหรับเทคนิคการขับรถล้อเลื่อนไม้ในการแข่งขันนั้น นายจาง แซ่ลี ตัวแทนชาวม้งจากหมู่บ้านแม่ขิ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ที่แข่งขันอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 45 และยังเป็นผู้ชนะเลิศคนล่าสุดในการแข่งขันของสนามที่ทางเครื่องดื่มกระทิงแดงจัด ได้บอกเคล็ดลับว่า “อันดับแรกเลยคือ อยู่ที่ใจ โดยต้องมีความกล้าและมั่นใจให้มากที่สุด และจะต้องแต่งรถให้เบาที่สุด ไม่เน้นสวยงามมากไปเหมือนของนักแข่งรุ่นใหม่ เป็นรถไม้เดิมๆ 100%”
นายจาง เล่าต่อว่า “ตัวล้อจะเลือกใช้แบบล้อเล็ก เพราะจะช่วยให้รถเบา แต่จะมีข้อเสียคือ รถจะแข็งแรงสู้คันที่ใส่ล้อใหญ่ไม่ได้ อาจจะทำให้เจ็บได้ อย่างตนก็เคยได้รับอุบัติเหตุจากการแข่งเช่นกัน ถึงกับสลบไป 1 คืน แต่ไม่บาดเจ็บแรงมากนัก หลังจากนั้นเมื่อมีการแข่งขันจึงมีการป้องกันโดยใส่หมวกกันน็อคมาตลอด”
“สำหรับเทคนิคในการออกตัวให้ไวนั้น จะต้องมีการโยกตัวครั้งแรกที่ลงจากจุดปล่อยตัวให้แรงที่สุด เพื่อให้รถทิ้งห่างจากคู่แข่ง และต้องมีแรงขาที่ดีเพื่อใช้บังคับทิศทาง ปิดเลนอีกคันไม่ให้แซงได้ เป็นช่วงสั้นๆ ในการแข่งขัน จึงต้องมีใจที่กล้าตัดสินใจนั่นเอง” นายจาง กล่าวปิดท้าย
นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ “ฟอร์มูล่าม้ง” เพราะเป็นการแข่งขันที่ตัดสินกันด้วยความเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งหากนักท่องเที่ยวคนไหนสนใจมาลองขับฟอร์มูล่าม้งนั่น สามารถมาได้ที่ม่อนแจ่ม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ระยะทางที่เล่นประมาณ 400 เมตร มีค่าบริการอยู่ที่คนละ 50 บาท ถ้าลองขับแบบเป็นที่นั่งคู่ราคาคู่ละ 80 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-5393-9173 และ 08-1950-9767
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager