Facebook :Travel @ Manager
“เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม”
คำขวัญจังหวัด“บุรีรัมย์” 1 ใน “12 เมืองต้องห้าม...พลาด” ซึ่งทาง“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย”(ททท.) ได้นำเอาจุดเด่นของอารยธรรมขอมโบราณอันรุ่งโรจน์ มาผสานรวมเข้ากับมนต์เสน่ห์ของสถานที่ท่องเที่ยวร่วมสมัย รวมไปถึงความเป็นเมืองด้านกีฬาอันโดดเด่น
เกิดเป็นบุรีรัมย์ “เมืองปราสาทสองยุค” ที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเมืองปราสาทหินในยุคขอมโบราณ ข้ามกาลเวลามาสู่เมืองปราสาทสายฟ้าในยุคปัจจุบันได้อย่างลงตัว กลายเป็นแม่เหล็กชั้นดี ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนเมืองปราสาทสองยุคกันไม่ได้ขาด
ปราสาทหินพนมรุ้ง
บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งปราสาทหิน เนื่องจากในสมัยโบราณดินแดนอีสานใต้ได้รับอิทธิพลสำคัญจากอารยธรรมขอม จึงมีการสร้างปราสาทขอมหรือปราสาทหินขึ้นอยู่ที่ทั่วไปในแถบอีสานใต้ ไม่ว่าจะเป็น นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ และโดยเฉพาะบุรีรัมย์ที่มี“ปราสาทหินพนมรุ้ง” และ “ปราสาทเมืองต่ำ” เป็น 2 ปราสาทไฮไลท์ ที่ผู้มาเยือนบุรีรัมย์ไม่ควรพลาดด้ายประการทั้งปวง
ปราสาทหินพนมรุ้ง(อ.เฉลิมพระเกียรติ) ตั้งอยู่บน“เขาพนมรุ้ง”บริเวณปากปล่องภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ปราสาทแห่งนี้เดิมสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการก่อสร้างอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15-18
ปราสาทหินพนมรุ้ง ก่อสร้างด้วยคติจักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง มีเส้นทางเดินสู่ตัวปราสาทที่ถูกออกแบบลดหลั่นกันไปตามภูมิประเทศ ไปตามเส้นทางที่มีเสานางเรียงตั้งอยู่เรียงราย ผ่านสะพานนาคซึ่งเป็นดังจุดเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์และสรวงสวรรค์ นำสู่องค์ปราสาทประธานที่เปรียบดังยอดเขาพระสุเมรุ
สำหรับตัวอาคารปราสาทประธาน ก่อสร้างด้วย“หินทรายสีชมพู”อันงดงามสมส่วน ตามจุดต่างๆจะมีภาพจำหลักหิน(งานแกะสลักหิน)ฝีมือวิจิตรประณีต นำโดย “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” และภาพ“ศิวนาฏราช” รวมไปถึงภาพจำหลักหินอื่นๆที่ช่างขอมโบราณได้ซุกซ่อนเรื่องราว และแฝงอารมณ์ขัน(ในบางภาพ)เอาไว้ให้เราได้เที่ยวชมกันอย่างเพลิดเพลิน
นอกจากจะงดงามอลังการแล้ว ทุกๆปีปราสาทหินพนมรุ้งยังมีสิ่งอันน่ามหัศจรรย์เกิดขึ้น กับปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ลอดช่องผ่านบานประตูทั้ง 15 ช่องเป็นแนวเดียวกันได้อย่างพอดี โดยปีหนึ่งจะมีเพียง 4 ครั้งเท่านั้น คือ ขึ้น 2 ครั้ง ในช่วงเดือน เม.ย.และ ก.ย. ตก 2 ครั้ง ในช่วงเดือน มี.ค.และ ต.ค. นับเป็นภูมิปัญญาการก่อสร้างของสถาปนิกโบราณที่น่าทึ่งไม่น้อย
ปราสาทเมืองต่ำ
ไม่ไกลจากปราสาทหินพนมรุ้งเท่าไหร่ เป็นที่ตั้งของ ปราสาทเมืองต่ำ(อ.ประโคนชัย) ซึ่งเป็นปราสาทหินขนาดกะทัดรัด แต่มีความงดงามคลาสสิกสมส่วน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อถวายพระศิวะ ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู
ปราสาทเมืองต่ำมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เส้นทางเดินสู่ตัวปราสาทจะผ่านกลุ่มต้นไม้ใหญ่อันร่มรื่น นำสู่โคปุระ(ซุ้มประตู)ชั้นนอกที่สร้างล้อมลานปราสาท ที่มีลักษณะพิเศษคือสร้างเป็นปรางค์อิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ซึ่งเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ 5 ยอด อันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
ปราสาทเมืองต่ำงดงามไปด้วยภาพจำหลักหินฝีมือประณีตละเอียดลออ นำโดยภาพ“พระอินทร์นั่งประทับบนตัวหน้ากาล” บนทับหลังซุ้มประตูด้านตะวันออก ซึ่งเชื่อกันว่าพระอินทร์จะช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าสู่ภายในปราสาท
นอกจากนี้ปราสาทเมืองต่ำยังมีอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญคือ “บาราย”(สระน้ำ) ที่สร้างรายรอบตัวปราสาททั้ง 4 ด้าน เปรียบดังมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ
บารายทั้ง 4 ด้านนี้ ที่มุมขอบสระสร้างเป็นรูปพญานาค 5 หัว กำลังชูคอแผ่พังพาน ด้านบนหัวพญานาคเรียบเกลี้ยงไม่มีรัศมีหรือเครื่องประดับใดๆ จนถูกเรียกเป็น“พญานาคหัวโล้น” ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของศิลปะขอมแบบบาปวนที่ยังคงเอกลักษณ์ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้
ปราสาทสายฟ้า
จากรอยอดีตอันรุ่งโรจน์ของปราสาทขอมในยุคโบราณมาสู่ยุคปัจจุบัน บุรีรัมย์วันนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นถิ่น“ปราสาทสายฟ้า” ซึ่งเป็นฉายาของทีมสโมสรฟุตบอล“บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” ทีมฟุตบอลระดับแถวหน้าของเมืองไทย ที่มีสนามเหย้า(เจ้าบ้าน)คือ “สนามฟุตบอลไอ-โมบาย สเตเดียม” หรือ “ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม” ที่จุผู้ชมได้มากถึง 32,600 คน
สนามไอ-โมบายฯ นอกจากจะใช้เป็นสนามแข่งขันฟุตบอลแล้ว ยังเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวดูงาน ให้ผู้สนใจได้เข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศของสนามมาตรฐานระดับโลก ซึ่งได้รับการบันทึกจากฟีฟ่าว่าเป็นสนามที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลก เพียง 265 วัน นับเป็นหนึ่งในสนามกีฬาที่มีคนอยากเข้าไปเยี่ยมชม และเซลฟี่ ถ่ายรูปด้วยเป็นจำนวนมาก
นอกจากสนามฟุตบอลไอ-โมบายฯแล้ว บุรีรัมย์ยังมีสนามแข่งรถ “ช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต” ที่สร้างบนพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ เป็นสนามมอร์เตอร์สปอร์ตมาตรฐานโลก และเป็นสนามเดียวในไทยที่ได้รับรองมาตรฐานระดับ FIA Grade 1 / FIM Grade A
ถ้าใครได้ขึ้นไปยืนอยู่บนแกรนด์แสตนของสนามแห่งนี้ จะสามารถมองเห็นการแข่งขันได้ถึง 180 องศา เรียกว่าสามารถมองเห็นกันได้ชัดเจนทุกโค้งของสนาม ให้อารมณ์ตื่นเต้นระทึกใจอย่างเต็มที่ ถูกใจผู้ที่ชอบการแข่งขันในกีฬาประชันความเร็วเป็นยิ่งนัก
ถิ่นภูเขาไฟ
บุรีรัมย์ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นภูเขาไฟ เพราะในจังหวัดมีการสำรวจพบว่าเป็นแหล่งภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วอยู่หลายแห่งด้วยกัน นำโดย“เขาพนมรุ้ง” ซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทหินพนมรุ้งอันเลื่องชื่อ
นอกจากนี้ก็ยังมีแหล่งภูเขาไฟ(ดับสนิทแล้ว) ที่เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของบุรีรัมย์อีก 2 แห่งด้วยกัน
เริ่มกันที่ “เขากระโดง” ที่ปัจจุบันจัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว “วนอุทยานเขากระโดง”(อ.เมือง) ซึ่งวันนี้ยังคงปรากฏร่องรอยของปากปล่องภูเขาไฟให้เห็นได้ชัดเจน นักท่องเที่ยวสามารถเดินบนสะพานแขวน เพื่อชมทัศนียภาพของปากปล่องภูเขาไฟที่มีลักษณะเป็นหลุมลึกลงในเบื้องล่างได้
ขณะที่บนยอดเขากระโดงยังเป็นที่ประดิษฐาน “พระสุภัทรบพิตร” พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ และมีมณฑปรอยพระพุทธบาทจำลองให้ผู้ที่ศรัทธาได้มากราบไหว้กัน
ส่วน “เขาอังคาร” (อ.เฉลิมพระเกียรติ) เป็นอีกหนึ่งแหล่งภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเขาพนมรุ้ง บนยอดเขาอังคารปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ “วัดเขาอังคาร” ที่มีโบสถ์ที่สร้างด้วยงานสถาปัตยกรรมแบบประยุกต์ที่สวยงามแปลกตา อีกทั้งยังมีการค้นพบโบราณสถานเก่าแก่และใบเสมาหินทรายสลักภาพบุคคล สถูป ดอกบัว และธรรมจักรสมัยทวารวดีหลายชิ้น
ขณะที่บริเวณลานสนามกลางแจ้งหน้าวัดมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์(พระพุทธรูปนอน)ขนาดใหญ่ สร้างด้วยงานพุทธศิลป์รูปแบบเฉพาะตัว เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของเขาอังคารให้ผู้ที่มาเยือนได้สักการะกัน
ผ้าหางกระรอก
บุรีรัมย์เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีชื่อในเรื่องของการทำผ้าทำมือแห่งดินแดนอีสานใต้ โดยมีผ้าทำมือที่สำคัญอย่าง เช่น “ผ้าภูอัคนี” หรือ “ผ้าย้อมดินภูเขาไฟ” ของชุมชนบ้านเจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ ที่อยู่ใกล้ๆกับเขาอังคาร, “ผ้าซิ่นตีนแดง” หรือ “ซิ่นหมี่รวด” ซึ่งมีการสืบทอดภูมิปัญญาต่อกันมากว่า 200 ปี ของชาว อ.พุทไธสง และ อ.นาโพธิ์ กับการทอผ้าไหมทั้งผืน โดยทอหัวและตีนของซิ่นเป็นสีแดงสด
นอกจากนี้บุรีรัมย์ยังขึ้นชื่อในเรื่องของ “ผ้าหางกระรอก” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการทอผ้าของชาวอีสานใต้ โดยหนึ่งในแหล่งผลิตผ้าหางกระรอกอันโดดเด่นของบุรีรัมย์นั้นอยู่ที่ “บ้านสนวนนอก” ต.สนวน อ.ห้วยราช
ชาวบ้านสนวนนอกจะมีการปลูกต้นหม่อนไว้เลี้ยงไหมกันภายในชุมชน หลังจากผ่านกระบวนการจนได้เส้นไหมคุณภาพดีที่ผ่านการย้อมสีแล้ว ก็จะนำเส้นไหมไป“ตีเกลียว”ให้เส้นไหมสองสีมาพันเป็นเกลียวจนกลายเป็นเส้นเดียวกัน
จากนั้นก็จะนำไปทอเป็นผืนผ้า ซึ่งผ้าที่ทอออกมาจะมีสีสันเลื่อมลายเหลื่อมกันคล้ายกับหางกระรอก จึงเรียกผ้าทอลักษณะนี้ว่า “ผ้าหางกระรอก”
ด้วยความเป็นแหล่งผลิตผ้าทอหางกระรอกขึ้นชื่อ และมีวิถีวัฒนธรรมอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ปัจจุบันบ้านสนวนนอกจึงได้รับการพัฒนาให้เป็น“หมู่บ้านท่องเที่ยวไหม” ที่นอกจากจะได้มาเรียนรู้กับกระบวนการทำผ้าหางกระรอก และซื้อผ้าทอมือสวยๆงามๆติดมือกลับไปแล้ว ในหมู่บ้านสนวนนอกยังมีกิจกรรมและสิ่งน่าสนใจต่างๆให้สัมผัสกันอีกหลากหลาย อาทิ การนั่งรถกระสวยเที่ยวชมวิถีชุมชน การทำกระดิ่งผูกคอวัว เครื่องจักสาน แปรรูปกะลามะพร้าว ถ่ายรูปที่สะพานยายชุน ตักบาตรยามเช้า เที่ยวตลาดโบราณ(เปิดขายทุกวันเสาร์หรือเมื่อมีคณะดูงานมาเยี่ยมชมหมู่บ้าน) เป็นต้น
เพ ลา เพลิน-นกกระเรียนพันธุ์ไทย
สำหรับคนชอบดอกไม้สวยๆ ชอบถ่ายรูปเซลฟี่ บุรีรัมย์ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยๆ คือที่ “เพ ลา เพลิน บูติค รีสอร์ท แอนด์ แอดเวนเจอร์ แคมป์” (อ.คูเมือง) ที่มีการจัดแสดงพันธุ์ไม้นานาชนิดในธีมต่างๆ
ทั้งยังมีโรงเรือนพืชตามฤดูกาลที่จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนดอกไม้สวยๆ มาให้ชมกันตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมีโซนเกษตรฟาร์ม และกิจกรรมชวนตื่นเต้นให้ร่วมสนุกกัน อย่างเช่น โรยตัวจากหอไอเฟล ปีนกำแพงเมืองจีน ข้ามสะพานเชือกทาวเวอร์บริดจ์ และสนุกกับสวนน้ำ เป็นต้น
ส่วนคนที่ชื่นชอบการดูนกที่บุรีรัมย์มี “เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน” (อ.ประโคนชัย) เป็นอีกหนึ่งแหล่งดูนกชั้นดี ที่นี่มีนกไม่ต่ำกว่า 214 ชนิด มีทั้งนกน้ำ นกป่า และนกทุ่ง เป็นต้น
ที่สำคัญคือวันนี้ ที่นี่มี “นกกระเรียนพันธุ์ไทย” ที่ครั้งหนึ่งเคยสูญพันธุ์จากเมืองไทยไปแล้ว ได้กลับคืนสู่ธรรมชาติของบ้านเราอีกครั้ง อันเนื่องมาจากในปี พ.ศ. 2554 ทางสวนสัตว์นครราชสีมาได้มีโครงการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติ จนวันนี้ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน มีนกกระเรียนพันธุ์ไทยที่กลับคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งได้จับคู่ทำรังให้กำเนิดลูกนกตามธรรมชาติสืบต่อมา เป็นที่น่ายินดียิ่ง
บุรีรัมย์ plus สุรินทร์
จากบุรีรัมย์เมื่อเดินทางต่อไปยังจังหวัดสุรินทร์ที่อยู่ติดกัน ซึ่งทางททท.ได้จับคู่ บุรีรัมย์กับสุรินทร์ ให้เป็นหนึ่งใน “เมืองต้องห้าม...พลาด plus” เพื่อนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวอันโดดเด่นของทั้งสองจังหวัดในเส้นทาง “บุรีรัมย์ plus สุรินทร์”
สำหรับผู้มาเยือนสุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ นั้นไม่ควรพลาดการไปเที่ยวชมที่ “หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง” หรือ“ศูนย์คชศึกษา”(อ.ท่าตูม) ซึ่งถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลท์สำคัญของจังหวัดสุรินทร์
หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านเลี้ยงช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก ชาวบ้านที่นี่เป็นชาวกวย หรือชาวกูย ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในอดีตของสุรินทร์ ที่มีความรู้ความชำนาญในการจับช้างป่ามาเลี้ยงตั้งแต่ในอดีต โดยนำมาเลี้ยงไว้ใช้งาน และเลี้ยงเป็นเสมือนสมาชิกในครอบครัว
ภายในหมู่บ้านช้างตากลาง นักท่องเที่ยวสามารถไปชมวิถีชีวิตคนกับช้างที่ผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น สัมผัสกับควาญช้างที่เฝ้าเลี้ยงดูช้างเหมือนลูกในไส้ได้อย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ภายในหมู่บ้านช้างยังมี “ศาลปะกำ”สถานที่สิงสถิตของวิญญาณบรรพบุรุษและผีปะกำ, “พิพิธภัณฑ์ช้าง” จัดแสดงเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับช้าง, “สุสานช้าง” สถานที่เก็บกระดูกช้างในหมู่บ้านที่ล้มตาย ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในโลก
และที่พลาดไม่ได้ก็คือ “การแสดงช้าง” ที่ลานแสดงช้าง ซึ่งจะมีการแสดงโชว์ความสามารถอันน่าทึ่งของช้างไทย ไม่ว่าจะเป็น ช้างวาดรูป ช้างเตะฟุตบอล ช้างเต้นรำ เป็นต้น
นอกจากขึ้นชื่อเรื่องช้างแล้ว สุรินทร์ยังเป็นเมืองที่มีปราสาทหินจำนวนมากเช่นเดียวกับบุรีรัมย์ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมขอมโบราณมาเช่นเดียวกัน โดยปราสาทที่ขึ้นชื่อในจังหวัดสุรินทร์นั้นได้แก่
“กลุ่มปราสาทตาเมือน” (อ.พนมดงรัก) ที่ประกอบด้วยปราสาทขอม 3 หลัง คือ “ปราสาทตาเมือนธม” ปราสาทที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม “ปราสาทตาเมือนโต๊ด” ที่เชื่อว่าเป็นอโรคยาศาล หรือสถานที่รักษาพยาบาลของชุมชน และ“ปราสาทตาเมือน (บายกรีม)” เป็นปราสาทหลังเล็กที่สุด เชื่อว่าเป็นธรรมศาลา หรือที่พักสำหรับคนเดินทาง
“ปราสาทศีขรภูมิ” (อ.ศีขรภูมิ) ที่สร้างขึ้นตามความเชื่อศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีลักษณะเป็นปราสาทอิฐ 5 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง ซึ่งโดดเด่นไปด้วยทับหลังจำหลักหินภาพศิวนาฏราชอันงดงาม ขณะที่บริเวณขอบประตูขององค์ปรางค์ประธานมีงานจำหลักหินภาพ“นางอัปสรา”ที่ได้ชื่อว่าสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดในเมืองไทย
“ปราสาทภูมิโปน” (อ.สังขะ) ได้ชื่อว่าเป็นปราสาทศิลปะขอมที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ก่อสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ประกอบด้วยอาคาร 4 หลัง โดยมีปราสาทอิฐหลังใหญ่ที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ที่สุด และยังคงเหลือลวดลายสลักหินให้ชมกันบ้างเล็กน้อย
นอกจากปราสาทหินและหมู่บ้านช้างแล้ว จังหวัดสุรินทร์ยังมีสิ่งน่าสนใจอื่นๆที่ชวนให้ไปสัมผัสกัน อาทิ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์”แหล่งรวมศิลปวัตถุขอมโบราณที่น่าสนใจ, “วัดบูรพาราม” วัดคู่บ้านคู่เมืองสุรินทร์ ซึ่งประดิษฐาน “หลวงพ่อพระชีว์” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวสุรินทร์ต่างเคารพศรัทธา, “วนอุทยานเขาพนมสวาย” ภูเขาไฟที่ปัจจุบันดับสนิทแล้ว บนยอดเขามีสิ่งน่าสนใจหลากหลายให้เที่ยวชม อาทิ “พระพุทธสุรินทรมงคล” หรือ “พระใหญ่” อัฐิหลวงปู่ดุลย์ อตุโล รอยพระพุทธบาทจำลอง พระพุทธรูปองค์ดำ เป็นต้น
และนี่ก็คือมนต์เสน่ห์ของเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง “บุรีรัมย์ plus สุรินทร์” ที่นอกจากจะโดดเด่นด้วยรอยอดีตแห่งอารยธรรมขอมโบราณที่น่าสนใจแล้ว ยังมากไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวอันหลากหลายชวนให้ไปสัมผัสค้นหา
นับเป็นมนต์เสน่ห์ที่จะพาให้เราได้เพลิดเพลินไปในดินแดนอีสานใต้ได้อย่างน่าประทับใจยิ่ง
******************************************
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางในเส้นทาง เมืองต้องห้าม...พลาด พลัส “บุรีรัมย์ plus สุรินทร์” เพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุรินทร์ (พื้นที่รับผิดชอบสุรินทร์ บุรีรัมย์ ) โทร.0 4451-4447-8
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager
“เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม”
คำขวัญจังหวัด“บุรีรัมย์” 1 ใน “12 เมืองต้องห้าม...พลาด” ซึ่งทาง“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย”(ททท.) ได้นำเอาจุดเด่นของอารยธรรมขอมโบราณอันรุ่งโรจน์ มาผสานรวมเข้ากับมนต์เสน่ห์ของสถานที่ท่องเที่ยวร่วมสมัย รวมไปถึงความเป็นเมืองด้านกีฬาอันโดดเด่น
เกิดเป็นบุรีรัมย์ “เมืองปราสาทสองยุค” ที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเมืองปราสาทหินในยุคขอมโบราณ ข้ามกาลเวลามาสู่เมืองปราสาทสายฟ้าในยุคปัจจุบันได้อย่างลงตัว กลายเป็นแม่เหล็กชั้นดี ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนเมืองปราสาทสองยุคกันไม่ได้ขาด
ปราสาทหินพนมรุ้ง
บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งปราสาทหิน เนื่องจากในสมัยโบราณดินแดนอีสานใต้ได้รับอิทธิพลสำคัญจากอารยธรรมขอม จึงมีการสร้างปราสาทขอมหรือปราสาทหินขึ้นอยู่ที่ทั่วไปในแถบอีสานใต้ ไม่ว่าจะเป็น นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ และโดยเฉพาะบุรีรัมย์ที่มี“ปราสาทหินพนมรุ้ง” และ “ปราสาทเมืองต่ำ” เป็น 2 ปราสาทไฮไลท์ ที่ผู้มาเยือนบุรีรัมย์ไม่ควรพลาดด้ายประการทั้งปวง
ปราสาทหินพนมรุ้ง(อ.เฉลิมพระเกียรติ) ตั้งอยู่บน“เขาพนมรุ้ง”บริเวณปากปล่องภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ปราสาทแห่งนี้เดิมสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการก่อสร้างอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15-18
ปราสาทหินพนมรุ้ง ก่อสร้างด้วยคติจักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง มีเส้นทางเดินสู่ตัวปราสาทที่ถูกออกแบบลดหลั่นกันไปตามภูมิประเทศ ไปตามเส้นทางที่มีเสานางเรียงตั้งอยู่เรียงราย ผ่านสะพานนาคซึ่งเป็นดังจุดเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์และสรวงสวรรค์ นำสู่องค์ปราสาทประธานที่เปรียบดังยอดเขาพระสุเมรุ
สำหรับตัวอาคารปราสาทประธาน ก่อสร้างด้วย“หินทรายสีชมพู”อันงดงามสมส่วน ตามจุดต่างๆจะมีภาพจำหลักหิน(งานแกะสลักหิน)ฝีมือวิจิตรประณีต นำโดย “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” และภาพ“ศิวนาฏราช” รวมไปถึงภาพจำหลักหินอื่นๆที่ช่างขอมโบราณได้ซุกซ่อนเรื่องราว และแฝงอารมณ์ขัน(ในบางภาพ)เอาไว้ให้เราได้เที่ยวชมกันอย่างเพลิดเพลิน
นอกจากจะงดงามอลังการแล้ว ทุกๆปีปราสาทหินพนมรุ้งยังมีสิ่งอันน่ามหัศจรรย์เกิดขึ้น กับปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ลอดช่องผ่านบานประตูทั้ง 15 ช่องเป็นแนวเดียวกันได้อย่างพอดี โดยปีหนึ่งจะมีเพียง 4 ครั้งเท่านั้น คือ ขึ้น 2 ครั้ง ในช่วงเดือน เม.ย.และ ก.ย. ตก 2 ครั้ง ในช่วงเดือน มี.ค.และ ต.ค. นับเป็นภูมิปัญญาการก่อสร้างของสถาปนิกโบราณที่น่าทึ่งไม่น้อย
ปราสาทเมืองต่ำ
ไม่ไกลจากปราสาทหินพนมรุ้งเท่าไหร่ เป็นที่ตั้งของ ปราสาทเมืองต่ำ(อ.ประโคนชัย) ซึ่งเป็นปราสาทหินขนาดกะทัดรัด แต่มีความงดงามคลาสสิกสมส่วน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อถวายพระศิวะ ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู
ปราสาทเมืองต่ำมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เส้นทางเดินสู่ตัวปราสาทจะผ่านกลุ่มต้นไม้ใหญ่อันร่มรื่น นำสู่โคปุระ(ซุ้มประตู)ชั้นนอกที่สร้างล้อมลานปราสาท ที่มีลักษณะพิเศษคือสร้างเป็นปรางค์อิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ซึ่งเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ 5 ยอด อันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
ปราสาทเมืองต่ำงดงามไปด้วยภาพจำหลักหินฝีมือประณีตละเอียดลออ นำโดยภาพ“พระอินทร์นั่งประทับบนตัวหน้ากาล” บนทับหลังซุ้มประตูด้านตะวันออก ซึ่งเชื่อกันว่าพระอินทร์จะช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าสู่ภายในปราสาท
นอกจากนี้ปราสาทเมืองต่ำยังมีอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญคือ “บาราย”(สระน้ำ) ที่สร้างรายรอบตัวปราสาททั้ง 4 ด้าน เปรียบดังมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ
บารายทั้ง 4 ด้านนี้ ที่มุมขอบสระสร้างเป็นรูปพญานาค 5 หัว กำลังชูคอแผ่พังพาน ด้านบนหัวพญานาคเรียบเกลี้ยงไม่มีรัศมีหรือเครื่องประดับใดๆ จนถูกเรียกเป็น“พญานาคหัวโล้น” ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของศิลปะขอมแบบบาปวนที่ยังคงเอกลักษณ์ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้
ปราสาทสายฟ้า
จากรอยอดีตอันรุ่งโรจน์ของปราสาทขอมในยุคโบราณมาสู่ยุคปัจจุบัน บุรีรัมย์วันนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นถิ่น“ปราสาทสายฟ้า” ซึ่งเป็นฉายาของทีมสโมสรฟุตบอล“บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” ทีมฟุตบอลระดับแถวหน้าของเมืองไทย ที่มีสนามเหย้า(เจ้าบ้าน)คือ “สนามฟุตบอลไอ-โมบาย สเตเดียม” หรือ “ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม” ที่จุผู้ชมได้มากถึง 32,600 คน
สนามไอ-โมบายฯ นอกจากจะใช้เป็นสนามแข่งขันฟุตบอลแล้ว ยังเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวดูงาน ให้ผู้สนใจได้เข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศของสนามมาตรฐานระดับโลก ซึ่งได้รับการบันทึกจากฟีฟ่าว่าเป็นสนามที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลก เพียง 265 วัน นับเป็นหนึ่งในสนามกีฬาที่มีคนอยากเข้าไปเยี่ยมชม และเซลฟี่ ถ่ายรูปด้วยเป็นจำนวนมาก
นอกจากสนามฟุตบอลไอ-โมบายฯแล้ว บุรีรัมย์ยังมีสนามแข่งรถ “ช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต” ที่สร้างบนพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ เป็นสนามมอร์เตอร์สปอร์ตมาตรฐานโลก และเป็นสนามเดียวในไทยที่ได้รับรองมาตรฐานระดับ FIA Grade 1 / FIM Grade A
ถ้าใครได้ขึ้นไปยืนอยู่บนแกรนด์แสตนของสนามแห่งนี้ จะสามารถมองเห็นการแข่งขันได้ถึง 180 องศา เรียกว่าสามารถมองเห็นกันได้ชัดเจนทุกโค้งของสนาม ให้อารมณ์ตื่นเต้นระทึกใจอย่างเต็มที่ ถูกใจผู้ที่ชอบการแข่งขันในกีฬาประชันความเร็วเป็นยิ่งนัก
ถิ่นภูเขาไฟ
บุรีรัมย์ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นภูเขาไฟ เพราะในจังหวัดมีการสำรวจพบว่าเป็นแหล่งภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วอยู่หลายแห่งด้วยกัน นำโดย“เขาพนมรุ้ง” ซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทหินพนมรุ้งอันเลื่องชื่อ
นอกจากนี้ก็ยังมีแหล่งภูเขาไฟ(ดับสนิทแล้ว) ที่เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของบุรีรัมย์อีก 2 แห่งด้วยกัน
เริ่มกันที่ “เขากระโดง” ที่ปัจจุบันจัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว “วนอุทยานเขากระโดง”(อ.เมือง) ซึ่งวันนี้ยังคงปรากฏร่องรอยของปากปล่องภูเขาไฟให้เห็นได้ชัดเจน นักท่องเที่ยวสามารถเดินบนสะพานแขวน เพื่อชมทัศนียภาพของปากปล่องภูเขาไฟที่มีลักษณะเป็นหลุมลึกลงในเบื้องล่างได้
ขณะที่บนยอดเขากระโดงยังเป็นที่ประดิษฐาน “พระสุภัทรบพิตร” พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ และมีมณฑปรอยพระพุทธบาทจำลองให้ผู้ที่ศรัทธาได้มากราบไหว้กัน
ส่วน “เขาอังคาร” (อ.เฉลิมพระเกียรติ) เป็นอีกหนึ่งแหล่งภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเขาพนมรุ้ง บนยอดเขาอังคารปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ “วัดเขาอังคาร” ที่มีโบสถ์ที่สร้างด้วยงานสถาปัตยกรรมแบบประยุกต์ที่สวยงามแปลกตา อีกทั้งยังมีการค้นพบโบราณสถานเก่าแก่และใบเสมาหินทรายสลักภาพบุคคล สถูป ดอกบัว และธรรมจักรสมัยทวารวดีหลายชิ้น
ขณะที่บริเวณลานสนามกลางแจ้งหน้าวัดมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์(พระพุทธรูปนอน)ขนาดใหญ่ สร้างด้วยงานพุทธศิลป์รูปแบบเฉพาะตัว เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของเขาอังคารให้ผู้ที่มาเยือนได้สักการะกัน
ผ้าหางกระรอก
บุรีรัมย์เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีชื่อในเรื่องของการทำผ้าทำมือแห่งดินแดนอีสานใต้ โดยมีผ้าทำมือที่สำคัญอย่าง เช่น “ผ้าภูอัคนี” หรือ “ผ้าย้อมดินภูเขาไฟ” ของชุมชนบ้านเจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ ที่อยู่ใกล้ๆกับเขาอังคาร, “ผ้าซิ่นตีนแดง” หรือ “ซิ่นหมี่รวด” ซึ่งมีการสืบทอดภูมิปัญญาต่อกันมากว่า 200 ปี ของชาว อ.พุทไธสง และ อ.นาโพธิ์ กับการทอผ้าไหมทั้งผืน โดยทอหัวและตีนของซิ่นเป็นสีแดงสด
นอกจากนี้บุรีรัมย์ยังขึ้นชื่อในเรื่องของ “ผ้าหางกระรอก” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการทอผ้าของชาวอีสานใต้ โดยหนึ่งในแหล่งผลิตผ้าหางกระรอกอันโดดเด่นของบุรีรัมย์นั้นอยู่ที่ “บ้านสนวนนอก” ต.สนวน อ.ห้วยราช
ชาวบ้านสนวนนอกจะมีการปลูกต้นหม่อนไว้เลี้ยงไหมกันภายในชุมชน หลังจากผ่านกระบวนการจนได้เส้นไหมคุณภาพดีที่ผ่านการย้อมสีแล้ว ก็จะนำเส้นไหมไป“ตีเกลียว”ให้เส้นไหมสองสีมาพันเป็นเกลียวจนกลายเป็นเส้นเดียวกัน
จากนั้นก็จะนำไปทอเป็นผืนผ้า ซึ่งผ้าที่ทอออกมาจะมีสีสันเลื่อมลายเหลื่อมกันคล้ายกับหางกระรอก จึงเรียกผ้าทอลักษณะนี้ว่า “ผ้าหางกระรอก”
ด้วยความเป็นแหล่งผลิตผ้าทอหางกระรอกขึ้นชื่อ และมีวิถีวัฒนธรรมอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ปัจจุบันบ้านสนวนนอกจึงได้รับการพัฒนาให้เป็น“หมู่บ้านท่องเที่ยวไหม” ที่นอกจากจะได้มาเรียนรู้กับกระบวนการทำผ้าหางกระรอก และซื้อผ้าทอมือสวยๆงามๆติดมือกลับไปแล้ว ในหมู่บ้านสนวนนอกยังมีกิจกรรมและสิ่งน่าสนใจต่างๆให้สัมผัสกันอีกหลากหลาย อาทิ การนั่งรถกระสวยเที่ยวชมวิถีชุมชน การทำกระดิ่งผูกคอวัว เครื่องจักสาน แปรรูปกะลามะพร้าว ถ่ายรูปที่สะพานยายชุน ตักบาตรยามเช้า เที่ยวตลาดโบราณ(เปิดขายทุกวันเสาร์หรือเมื่อมีคณะดูงานมาเยี่ยมชมหมู่บ้าน) เป็นต้น
เพ ลา เพลิน-นกกระเรียนพันธุ์ไทย
สำหรับคนชอบดอกไม้สวยๆ ชอบถ่ายรูปเซลฟี่ บุรีรัมย์ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยๆ คือที่ “เพ ลา เพลิน บูติค รีสอร์ท แอนด์ แอดเวนเจอร์ แคมป์” (อ.คูเมือง) ที่มีการจัดแสดงพันธุ์ไม้นานาชนิดในธีมต่างๆ
ทั้งยังมีโรงเรือนพืชตามฤดูกาลที่จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนดอกไม้สวยๆ มาให้ชมกันตลอดทั้งปี อีกทั้งยังมีโซนเกษตรฟาร์ม และกิจกรรมชวนตื่นเต้นให้ร่วมสนุกกัน อย่างเช่น โรยตัวจากหอไอเฟล ปีนกำแพงเมืองจีน ข้ามสะพานเชือกทาวเวอร์บริดจ์ และสนุกกับสวนน้ำ เป็นต้น
ส่วนคนที่ชื่นชอบการดูนกที่บุรีรัมย์มี “เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน” (อ.ประโคนชัย) เป็นอีกหนึ่งแหล่งดูนกชั้นดี ที่นี่มีนกไม่ต่ำกว่า 214 ชนิด มีทั้งนกน้ำ นกป่า และนกทุ่ง เป็นต้น
ที่สำคัญคือวันนี้ ที่นี่มี “นกกระเรียนพันธุ์ไทย” ที่ครั้งหนึ่งเคยสูญพันธุ์จากเมืองไทยไปแล้ว ได้กลับคืนสู่ธรรมชาติของบ้านเราอีกครั้ง อันเนื่องมาจากในปี พ.ศ. 2554 ทางสวนสัตว์นครราชสีมาได้มีโครงการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติ จนวันนี้ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน มีนกกระเรียนพันธุ์ไทยที่กลับคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งได้จับคู่ทำรังให้กำเนิดลูกนกตามธรรมชาติสืบต่อมา เป็นที่น่ายินดียิ่ง
บุรีรัมย์ plus สุรินทร์
จากบุรีรัมย์เมื่อเดินทางต่อไปยังจังหวัดสุรินทร์ที่อยู่ติดกัน ซึ่งทางททท.ได้จับคู่ บุรีรัมย์กับสุรินทร์ ให้เป็นหนึ่งใน “เมืองต้องห้าม...พลาด plus” เพื่อนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวอันโดดเด่นของทั้งสองจังหวัดในเส้นทาง “บุรีรัมย์ plus สุรินทร์”
สำหรับผู้มาเยือนสุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ นั้นไม่ควรพลาดการไปเที่ยวชมที่ “หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง” หรือ“ศูนย์คชศึกษา”(อ.ท่าตูม) ซึ่งถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลท์สำคัญของจังหวัดสุรินทร์
หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านเลี้ยงช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก ชาวบ้านที่นี่เป็นชาวกวย หรือชาวกูย ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในอดีตของสุรินทร์ ที่มีความรู้ความชำนาญในการจับช้างป่ามาเลี้ยงตั้งแต่ในอดีต โดยนำมาเลี้ยงไว้ใช้งาน และเลี้ยงเป็นเสมือนสมาชิกในครอบครัว
ภายในหมู่บ้านช้างตากลาง นักท่องเที่ยวสามารถไปชมวิถีชีวิตคนกับช้างที่ผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น สัมผัสกับควาญช้างที่เฝ้าเลี้ยงดูช้างเหมือนลูกในไส้ได้อย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ภายในหมู่บ้านช้างยังมี “ศาลปะกำ”สถานที่สิงสถิตของวิญญาณบรรพบุรุษและผีปะกำ, “พิพิธภัณฑ์ช้าง” จัดแสดงเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับช้าง, “สุสานช้าง” สถานที่เก็บกระดูกช้างในหมู่บ้านที่ล้มตาย ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในโลก
และที่พลาดไม่ได้ก็คือ “การแสดงช้าง” ที่ลานแสดงช้าง ซึ่งจะมีการแสดงโชว์ความสามารถอันน่าทึ่งของช้างไทย ไม่ว่าจะเป็น ช้างวาดรูป ช้างเตะฟุตบอล ช้างเต้นรำ เป็นต้น
นอกจากขึ้นชื่อเรื่องช้างแล้ว สุรินทร์ยังเป็นเมืองที่มีปราสาทหินจำนวนมากเช่นเดียวกับบุรีรัมย์ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมขอมโบราณมาเช่นเดียวกัน โดยปราสาทที่ขึ้นชื่อในจังหวัดสุรินทร์นั้นได้แก่
“กลุ่มปราสาทตาเมือน” (อ.พนมดงรัก) ที่ประกอบด้วยปราสาทขอม 3 หลัง คือ “ปราสาทตาเมือนธม” ปราสาทที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม “ปราสาทตาเมือนโต๊ด” ที่เชื่อว่าเป็นอโรคยาศาล หรือสถานที่รักษาพยาบาลของชุมชน และ“ปราสาทตาเมือน (บายกรีม)” เป็นปราสาทหลังเล็กที่สุด เชื่อว่าเป็นธรรมศาลา หรือที่พักสำหรับคนเดินทาง
“ปราสาทศีขรภูมิ” (อ.ศีขรภูมิ) ที่สร้างขึ้นตามความเชื่อศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีลักษณะเป็นปราสาทอิฐ 5 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง ซึ่งโดดเด่นไปด้วยทับหลังจำหลักหินภาพศิวนาฏราชอันงดงาม ขณะที่บริเวณขอบประตูขององค์ปรางค์ประธานมีงานจำหลักหินภาพ“นางอัปสรา”ที่ได้ชื่อว่าสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดในเมืองไทย
“ปราสาทภูมิโปน” (อ.สังขะ) ได้ชื่อว่าเป็นปราสาทศิลปะขอมที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ก่อสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ประกอบด้วยอาคาร 4 หลัง โดยมีปราสาทอิฐหลังใหญ่ที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ที่สุด และยังคงเหลือลวดลายสลักหินให้ชมกันบ้างเล็กน้อย
นอกจากปราสาทหินและหมู่บ้านช้างแล้ว จังหวัดสุรินทร์ยังมีสิ่งน่าสนใจอื่นๆที่ชวนให้ไปสัมผัสกัน อาทิ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์”แหล่งรวมศิลปวัตถุขอมโบราณที่น่าสนใจ, “วัดบูรพาราม” วัดคู่บ้านคู่เมืองสุรินทร์ ซึ่งประดิษฐาน “หลวงพ่อพระชีว์” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวสุรินทร์ต่างเคารพศรัทธา, “วนอุทยานเขาพนมสวาย” ภูเขาไฟที่ปัจจุบันดับสนิทแล้ว บนยอดเขามีสิ่งน่าสนใจหลากหลายให้เที่ยวชม อาทิ “พระพุทธสุรินทรมงคล” หรือ “พระใหญ่” อัฐิหลวงปู่ดุลย์ อตุโล รอยพระพุทธบาทจำลอง พระพุทธรูปองค์ดำ เป็นต้น
และนี่ก็คือมนต์เสน่ห์ของเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง “บุรีรัมย์ plus สุรินทร์” ที่นอกจากจะโดดเด่นด้วยรอยอดีตแห่งอารยธรรมขอมโบราณที่น่าสนใจแล้ว ยังมากไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวอันหลากหลายชวนให้ไปสัมผัสค้นหา
นับเป็นมนต์เสน่ห์ที่จะพาให้เราได้เพลิดเพลินไปในดินแดนอีสานใต้ได้อย่างน่าประทับใจยิ่ง
******************************************
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดของสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทางในเส้นทาง เมืองต้องห้าม...พลาด พลัส “บุรีรัมย์ plus สุรินทร์” เพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุรินทร์ (พื้นที่รับผิดชอบสุรินทร์ บุรีรัมย์ ) โทร.0 4451-4447-8
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager