โดย : ปิ่น บุตรี (pinn109@hotmail.com)

“พระบรมสารีริกธาตุ” หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า“พระบรมธาตุ”คือพระอัฐิหรือกระดูกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน อย่างไรก็ตามได้มีการเรียกรวมไปถึงอวัยวะต่างๆของพระพุทธองค์ อาทิ ผม เล็บ ฟัน หนัง ว่าพระบรมสารีริกธาตุด้วยเช่นกัน
นอกจากพระบรมสารีริกธาตุแล้วก็ยังมีพระอรหันตธาตุ ที่เป็นกระดูกและอวัยวะส่วนต่างๆของพระอรหันต์ที่ดับขันธ์ ซึ่งทั้งพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ จะนิยมเรียกกันสั้นๆว่า“พระธาตุ”
หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้มีการนำพระบรมธาตุแจกจ่ายไปตามที่ต่างๆ เพื่อเป็นดังตัวแทนของพระพุทธองค์ให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชา

ด้วยเหตุนี้จึงมีการสร้างสถูปเจดีย์ขึ้นเพื่อใช้บรรจุพระบรมธาตุตามวัดหรือพุทธศาสนสถานต่างๆ ทำให้มีการเรียกขานสถูปเจดีย์ต่างๆเหล่านี้ว่า“พระธาตุเจดีย์”และนิยมเรียกกันสั้นๆว่า“พระธาตุ”(เช่นเดียวกับการเรียกชื่อย่อของพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ)
ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์ และในสยามประเทศมีคติความเชื่อในเรื่องการไหว้พระธาตุเจดีย์มายาวนานนับจากอดีตถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น คติความเชื่อในเรื่องการ“ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด”(ปี 12 นักษัตร)ของชาวล้านนาดั้งเดิม หรือคติความเชื่อที่สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อการท่องเที่ยวในรูปแบบทัวร์ธรรมะ อย่างเช่น การไหว้พระธาตุประจำวันเกิดที่จังหวัดนครพนม

สำหรับในพื้นที่ภาคใต้ของเรานั้นก็เป็นอีกหนึ่งดินแดนที่มีพระพุทธศาสนารุ่งเรืองนับจากอดีตถึงปัจจุบัน และเป็นอีกหนึ่งดินแดนที่มีพระธาตุเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์อันหลากหลายขึ้นชื่อ
ด้วยเหตุนี้ทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ในกลุ่ม 4 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ที่ประกอบด้วย ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง จึงได้จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา ไหว้ 4 พระธาตุศักดิ์สิทธิ์แดนใต้ฝั่งอ่าวไทย ภายใต้แคมเปญ“จตุธรรมธาตุ -ท่องเที่ยวธรรมะ กราบ 4 พระธาตุแดนใต้ กุศลยิ่งใหญ่ในชีวิต”ขึ้น

โดยจตุธรรมธาตุภายใต้โครงการนี้ได้แก่ พระธาตุสวี-ชุมพร,พระธาตุไชยา-สุราษฎร์ธานี,พระธาตุเมืองนคร-นครศรีธรรมราช และ พระธาตุบางแก้ว-พัทลุง ซึ่งพระธาตุเจดีย์ทั้ง 4 องค์ต่างก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของภาคใต้ และเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของ 4 จังหวัดดังกล่าว ที่หากใครไปเยือนไม่ควรพลาดการไปสักการะด้วยประการทั้งปวง
พระธาตุสวี-ชุมพร
พระบรมธาตุสวี หรือที่เรียกสั้นๆว่า “พระธาตุสวี” ประดิษฐานอยู่ที่ “วัดพระบรมธาตุสวี” หมู่ 1 ต.สวี อ.สวี จ.ชุมพร

พระบรมธาตุสวี ข้อมูลทั่วไประบุว่าเป็นพระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 700 ปี โดยมีตำนานเล่าว่า พระเจ้าศรีธรรมโศกราช(พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช)ที เมื่อครั้งเสด็จนำทัพไปป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แล้วเคลื่อนทัพกลับมาพักยังบริเวณที่เป็นวัดพระบรมธาตุสวีในปัจจุบัน ได้พบเห็นเหตุการณ์ประหลาด มีกาเผือกและฝูงการ้องเกาะอยู่บนซากกองอิฐพร้อมกระพือปีกร้องเซ็งแซ่
พระองค์จึงสั่งให้ทหารรื้อซากกองอิฐที่หักพังออก พบฐานเจดีย์ใหญ่ เมื่อขุดลึกลงไป พบผอบทองคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จึงโปรดให้สร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นมาใหม่แทนที่เดิม แล้วจัดงานสมโภชเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน พร้อมพระราชทานนามว่า“พระบรมธาตุกาวีปีก”(กาวีปีก หมายถึงกากระพือปีก-วีปีก แปลว่ากระพือปีก) ต่อมาพระธาตุกาวีปีกกร่อนคำเป็นพระธาตุกาวี ก่อนที่จะเพี้ยนมาเป็นพระธาตุสวีตามชื่อเมืองดังในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดีจากข้อมูลเอกสารของทางวัดสันนิษฐานว่าพระธาตุสวีน่าจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และผ่านการบูรณะมาหลายครั้ง ล่าสุดบูรณะโดยกรมศิลปากรเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา
พระธาตุสวีองค์ปัจจุบัน เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ลักษณะเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนคร จ.นครศรีธรรมราช องค์ระฆังหรือองค์พระธาตุ ปิดประดับด้วยกระเบื้องโมเสคสีทองงามอร่ามตา

ที่ยอดสูงสุดหรือ“หยดน้ำค้าง”ขององค์พระธาตุ เดิมทำด้วยไม้สัก แต่ในการบูรณะครั้งล่าสุด ประชาชนได้ร่วมกันบริจาคทองคำน้ำหนัก 2 กก. มาทำเป็นหยดน้ำค้าง ดูเหลืองอร่ามสุกสกาว
ส่วนฐานขององค์พระธาตุ เป็นฐาน 4 เหลี่ยม มีงานปูนปั้นประดับรูปยักษ์ และช้างให้เป็นดังผู้ปกป้องค้ำองค์พระธาตุเจดีย์ไว้

องค์พระธาตุสวี มีความกว้างรอบองค์พระธาตุ วัดได้ 20 เมตร มีความสูง 18.5 เมตร ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็กกว่าองค์พระบรมธาตุเมืองนครมาก แต่ว่าก็เป็นความเล็กกะทัดรัดที่งดงามสมส่วน สอดรับกับแนวระเบียงคดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปมากกว่า 108 องค์
ขณะที่ภายในบริเวณวัดพระบรมธาตุสวีนั้นก็มีการจัดตกแต่งภูมิทัศน์อย่างเป็นระเบียบสวยงาม สะอาดสะอ้าน สามารถมองเห็นองค์พระธาตุสวีสีทองอร่ามตาได้แต่ไกล

ส่วนบริเวณด้านหลังวัดตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำสวีที่มีวิวทิวทัศน์อันสวยงาม อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ“ศาลพระเสื้อเมือง” ซึ่งตามตำนานเล่าว่าหลังจากพระเจ้าศรีธรรมโศกราช สร้างพระธาตุสวีเสร็จแล้ว ก่อนจะยกทัพกลับทรงห่วงในว่าพระธาตุจะไม่มีผู้ดูแล จึงสั่งเรียกบรรดาทหารในกองทัพซึ่งกำลังนอนหลับสนิท ขณะนั้นมีนายทหารคนหนึ่งชื่อ “เมือง” ขานรับพระองค์ จึงมีรับสั่งถามว่า ต้องการจะอยู่ดูแลรักษาพระบรมธาตุแห่งนี้ไหม นายเมืองขานรับอาสา พระองค์จึงสั่งให้นายทหารตัดศีรษะนายเมืองเซ่นสรวงบูชาไว้ในศาลเพียงตา

ศาลนี้แห่งนี้จึงถูกเรียกว่า“ศาลพระเสื้อเมือง” ซึ่งเป็นศาลวิญญาณของนายทหารในพระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่มาคอยเฝ้าปกปักรักษาพระบรมธาตุสวีแห่งนี้ นับเป็นอีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ควรพลาดการไปสักการะเคียงคู่กับองค์พระธาตุสวี
พระธาตุไชยา-สุราษฎร์ธานี
พระบรมธาตุไชยา หรือ พระธาตุไชยา ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ต.เวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

พระธาตุไชยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13 ตามคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาแบบมหายาน ปัจจุบันมีอายุเก่าแก่กว่า 1,200 ปี แสดงให้เห็นถึงการรับพระพุทธศาสนาในคาบสมุทรแดนใต้มาตั้งปี พ.ศ. 1300 อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าเมืองไชยาในอดีตเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางพุทธศาสนาแห่งหนึ่งในแหลมมลายู

องค์พระธาตุไชยา มีความสูง 24 เมตร ตั้งอยู่เหนือฐานสี่เหลี่ยมย่อเก็จ องค์พระธาตุเป็นทรงมณฑปหรือทรงปราสาท มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรมุขซ้อนชั้นลดหลั่นกันไป มีสถูปขนาดเล็กอยู่ตามมุมสี่เหลี่ยมรวมทั้งหมด 24 องค์ ตรงกลางมีมุขหน้าบัน ลวดลายปูนปั้นสีทองรูปร่างต่างๆประดับประดา อาทิ เทพพนม ช้างเอราวัณ นกยูง สิงห์ เหรา ฯลฯ

ภายในพระธาตุไชยาบรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าแต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นส่วนใดพระธาตุองค์นี้ถือเป็นงานศิลปกรรมศรีวิชัยต้นแบบที่สวยงามสมบูรณ์แบบ ที่สำคัญคือตัวองค์พระบรมธาตุไชยาถือได้ว่าเป็นองค์พระบรมธาตุเจดีย์องค์เดียวของประเทศไทย ที่ยังมีความสมบูรณ์แบบในลักษณะที่ยังเป็นองค์ดั้งเดิมมีอายุเป็นพันปี ยังไม่ถูกสร้างครอบ ยังไม่พังทลาย และยังเป็นรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากองค์พระธาตุไชยาแล้ว ในเขตพระธาตุที่ระเบียงคดยังมีพระพุทธรูปแกะสลักหินทรายสีแดงประดิษฐานอยู่ถึง 180 องค์ เป็นพระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนสมัยกรุงศรีอยุธยาสร้างถวายเป็นพุทธบูชา มีขนาดเล็ก-ใหญ่ และพุทธสรีระแตกต่างกันออกไป ซึ่งนอกจากพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาแล้ว ก็ยังมีพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งเป็นศิลปะสกุลช่างไชยาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

พระพุทธรูปปกติยอดพระเกศจะเป็นพระรัศมีเปลวเพลิง แต่พระพุทธรูปสกุลช่างไชยายอดพระเกศจะเป็นมวยผม และจะมีรูปใบโพธิ์ประดับอยู่หน้ามวยผม ใครที่ไปไหว้พระธาตุไชยาลองสอดส่ายสายตาสังเกตดูในความแตกต่าง

ส่วนที่ลานด้านนอกข้างๆโบสถ์ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทราย 3 พี่น้อง ที่มีพระพุทธสรีระสมส่วนขรึมขลังเปี่ยมศรัทธา อีกทั้งยังมีต้นโพธิ์โบราณแผ่สยายกิ่งก้านให้ความร่มเย็น ฝั่งตรงกันข้ามของต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไชยา”(เปิดวันพุธ-อาทิตย์) ที่มีศิลปวัตถุน่าสนใจให้ชมกันไม่น้อยเลย
พระธาตุเมืองนคร-นครศรีธรรมราช

พระบรมธาตุเมืองนคร หรือ พระมหาธาตุเมืองนคร พระธาตุเมืองนคร พระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ที่ “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร” ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
พระบรมธาตุเมืองนคร ตามตำนานเล่าว่า สร้างขึ้นครั้งแรกประมาณ ปี พ.ศ. 854 ภายในบรรจุพระทันตธาตุ(ส่วนฟันของพระพุทธเจ้า)ดั้งเดิมเป็นศิลปะแบบศรีวิชัย(มีลักษณะคล้ายพระบรมธาตุไชยา และได้มีการจำลองรูปแบบของพระธาตุศิลปะศรีวิชัยมาตั้งอยู่ที่ลานวัดก่อนทางเข้าสู่บริเวณเขตองค์พระธาตุ)

ต่อมาในปี พ.ศ.1093 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้สร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น พร้อมกับสร้างเจดีย์องค์ใหม่ทรงศาญจิครอบพระบรมธาตุองค์เดิม จากนั้น พ.ศ.1770 มีพระภิกษุจากลังกามาบูรณะองค์พระบรมธาตุให้เป็นแบบทรงลังกาหรือทรงโอคว่ำดังที่เห็นในปัจจุบัน มีความสูง 55.78 เมตร องค์ระฆังสูง 9.80 เมตร มีปล้องไฉน 52 ปล้อง ถือเป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ และเป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่องค์แรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พระบรมธาตุเมืองนคร ได้รับการเรียกขานว่าเป็น “พระธาตุทองคำ” เนื่องจากปลียอดหุ้มด้วยทองคำเหลืองอร่าม ขณะที่ยามแสงแดดตกต้ององค์พระธาตุ เหลื่อมเงากลับทาบทอดไม่ถึงพื้น จนดูเหมือนพระธาตุไม่มีเงา จึงทำให้ได้รับการเรียกขานว่าเป็น“พระธาตุไร้เงา”อีกฉายาหนึ่ง
พระบรมธาตุเมืองนคร ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครศรีธรรมราช เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของภาคใต้ และของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ซึ่งไม่เฉพาะแค่ชาวไทยเท่านั้น หากแต่เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ที่นิยมเดินทางมาสักการะบูชากันอย่างต่อเนื่อง

ทุกๆปีที่พระบรมธาตุเมืองนครจะมีการจัดงานประเพณีสำคัญนั่นก็คือ งาน“แห่ผ้าขึ้นธาตุ”ขึ้น ปีละ 2 ครั้ง ช่วงวันมาฆบูชา(15 ค่ำ เดือน 3) และช่วงวันวิสาขบูชา(15ค่ำ เดือน 6) โดยจะมีการนำผ้า“พระบฏ” ผ้าผืนยาว(นิยมใช้สีขาว เหลือง แดง)ไปห่มรอบองค์พระธาตุ พร้อมจัดขบวนแห่แหนกันอย่างยิ่งใหญ่

นอกจากองค์พระบรมธาตุเมืองนครแล้ว ภายในวัดพระมหาธาตุฯ ยังมีสิ่งน่าสนใจอื่นๆอีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น “พระวิหารหลวง”ที่ภายในประดิษฐานพระศรีศากยมุนีศรีธรรมราชอันงดงามเปี่ยมศรัทธา, “วิหารเกษตร”ที่เรียงรายไปด้วยองค์พระพุทธรูปประทับยืน-นั่ง อยู่มากมาย, “วิหารม้า” ที่โดดเด่นไปด้วยภาพพระม้าขนาดใหญ่ รวมถึงมีเท้าขัตตุคาม-รามเทพ ที่เชื่อว่าคือท้าวจตุคามรามเทพอันลือลั่น

“วิหารเขียน” ที่เดิมเคยมีภาพเขียนด้านพุทธประวัติ แต่เนื่องจากภาพเขียนเดิมชำรุดมาก จึงได้ทำการลบออกและปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เครื่องพุทธบูชาแทน เรียกว่า “ศรีธรรมราชพิพิธภัณฑ์” ภายในมีศิลปวัตถุน่าสนใจหลากหลายให้ชมกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพุทธบูชา ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เสาธง เสาหงส์ งาช้าง กริช เครื่องจักสาน เครื่องเงิน เครื่องทอง ฯลฯ

และ “พระแอด” หรือ “พระกัจจายนะ” ที่เชื่อกันว่าผู้ที่มากราบไหว้ขอพรท่าน ผู้หญิงที่อยากมีลูกจะได้ลูกสมหวัง อีกทั้งพระแอดยังช่วยในเรื่องสุขภาพ ช่วยให้หายจากความเจ็บไข้ได้ป่วย โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดตัว ปวดหลัง
ด้วยความสำคัญของพระบรมธาตุเมืองนครศูนย์รวมใจของชาวนครศรีและหนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของเมืองไทย รวมถึงความโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์และสิ่งน่าสนใจต่างของวัดพระมหาธาตุฯ ปัจจุบันจึงได้มีการเดินหน้าขอขึ้นทะเบียนพระบรมธาตุเมืองนครและวัดพระมหาธาตุสู่การเป็น“มรดกโลก”จากองค์การยูเนสโก ซึ่งเราคนไทยต้องร่วมกันส่งแรงใจให้พระบรมธาตุเมืองนครและวัดพระมหาธาตุได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกในเร็ววัน
พระธาตุบางแก้ว-พัทลุง

พระมหาธาตุเจดีย์บางแก้ว หรือ พระมหาธาตุเจดีย์วัดเขียนบางแก้ว พระธาตุบางแก้ว ประดิษฐานอยู่ที่ “วัดเขียนบางแก้ว” ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
พระธาตุบางแก้ว เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดพัทลุง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ซึ่งในบริเวณพื้นที่นี้น่าจะเคยเป็นที่ตั้งของเมืองพัทลุงมาก่อน เพราะพบซากปรักหักพังของศิลาแลง และพระพุทธรูปมากมาย เช่นพระแก้วคุลา ศรีมหาโพธิ(ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น)พระพุทธรูปสองพี่น้อง

พระธาตุบางแก้ว เป็นเจดีย์ก่ออิฐฐานแปดเหลี่ยม รอบฐานมีซุ้มพระพุทธรูป 3 ซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ ขณะที่องค์ระฆังนั้นเป็นทรงลังกาหรือทรงโอคว่ำ สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพระบรมธาตุเมืองนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช
นอกจากพระธาตุบางแก้วแล้ว ภายในวัดเขียนบางแก้วยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลากหลายให้เที่ยวชมกัน โดยวัดเขียนบางแก้วนั้น เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น(ขณะที่ในบางตำนานระบุว่าวัดเขียนบางแก้วมีอายุกว่า 1 พันปีมาแล้ว) โดยสร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของเมืองพัทลุงในอดีต เนื่องจากมีการขุดพบซากปรักหักพังของศิลาแลง และพระพุทธรูปมากมาย

สำหรับสิ่งน่าสนใจเด่นๆภายในวัดเขียนบางแก้วนอกจากองค์พระธาตุบางแก้วแล้วก็มี องค์พระประธานและพระนอนศิลปะพื้นบ้านในพระอุโบสถ, พิพิธภัณฑ์วัดเขียนบางแก้ว ภายในจัดแสดงพระพุทธรูป ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ศิลปวัตถุต่างๆ เช่น เครื่องถ้วยชามจีน สังคโลกสมัยสุโขทัย ศิวลึงค์ ฐานโยนีเป็นต้น

นอกจากนี้ก็ยังมีอาคารกุฏิเจ้าอาวาสองค์ก่อน เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ใต้ถุนโล่ง ในรูปแบบเรือนขนมปังขิงมีลวดลายฉลุไม้สวยงาม บนชั้น 2 เป็นที่ตั้งโลงแก้วบรรจุสังขารไม่เน่าเปื่อยของ “พ่อท่านเพิ่ม ฐานภทฺโท”(พระครูกาเดิม)อดีตเจ้าอาวาสเกจิอาจารย์ชื่อดัง ซึ่งมีคนนิยมมากราบสรีระสังขารของท่านกันอย่างต่อเนื่อง
นับได้ว่าพระธาตุบางแก้วและวัดเขียนบางแก้ว เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพัทลุงที่หากใครไปเยือนเมืองนี้ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
ท่องเที่ยวเชื่อมโยง

นอกจาก 4 พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ในโครงการจตุธรรมธาตุแดนใต้แล้ว ในกลุ่ม 4 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอีกหลากหลาย เชื่อมโยงกับ 4 องค์พระธาตุดังกล่าว อาทิ
“ชุมพร” - หาดทรายรี ศาลกรมหลวงชุมพร เขามัทรี หาดทุ่งวัวแล่น แหล่งดำน้ำเกาะง่าม
“สุราษฎร์ธานี” - เกาะต่างๆเช่น เกาะเต่า-เกาะนางยวน เกาะสมุย-เกาะพะงัน เขื่อนเชี่ยวหลาน สวนโมกขพลาราม

“นครศรีธรรมราช” - วัดธาตุน้อย ทะเลขนอม เขาหลวง น้ำตกกรุงชิง ปากพนัง คีรีวง
“พัทลุง” - ทะเลน้อย คลองปากประ เขาทะลุ วังเจ้าเมืองพัทลุง น้ำตกไพรวัลย์ เป็นต้น
ขณะที่การไหว้องค์พระธาตุเจดีย์นั้น ไม่ว่าจะเป็นการไหว้จตุธรรมธาตุแดนใต้ หรือการไหว้พระธาตุเจดีย์อื่นๆทั่วๆไปนั้น หัวใจสำคัญคือการสักการะ“พระบรมสารีริกธาตุ”ที่บรรจุอยู่ในสิ่งก่อสร้างจำพวกสถูป พระธาตุ เจดีย์ ซึ่งเป็นดังพลังใจสำคัญให้ผู้ที่มากราบอธิษฐานขอพรตั้งมั่นทำในสิ่งที่ขอเพื่อให้ได้สมดังหวัง และต้องทำด้วยจิตที่ดี ประพฤติดี ปฏิบัติดี

ส่วนใครที่มาขอพรแล้วไม่ได้มุ่งมั่นลงมือทำในสิ่งที่ขอ อีกทั้งยังประพฤติมิชอบ ปฏิบัติมิชอบ จิตใจยังเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา ต่อให้เดินสายไหว้พระธาตุทั่วโลกก็ไม่สามารถที่จะช่วยอะไรได้
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
“พระบรมสารีริกธาตุ” หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า“พระบรมธาตุ”คือพระอัฐิหรือกระดูกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน อย่างไรก็ตามได้มีการเรียกรวมไปถึงอวัยวะต่างๆของพระพุทธองค์ อาทิ ผม เล็บ ฟัน หนัง ว่าพระบรมสารีริกธาตุด้วยเช่นกัน
นอกจากพระบรมสารีริกธาตุแล้วก็ยังมีพระอรหันตธาตุ ที่เป็นกระดูกและอวัยวะส่วนต่างๆของพระอรหันต์ที่ดับขันธ์ ซึ่งทั้งพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ จะนิยมเรียกกันสั้นๆว่า“พระธาตุ”
หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้มีการนำพระบรมธาตุแจกจ่ายไปตามที่ต่างๆ เพื่อเป็นดังตัวแทนของพระพุทธองค์ให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชา
ด้วยเหตุนี้จึงมีการสร้างสถูปเจดีย์ขึ้นเพื่อใช้บรรจุพระบรมธาตุตามวัดหรือพุทธศาสนสถานต่างๆ ทำให้มีการเรียกขานสถูปเจดีย์ต่างๆเหล่านี้ว่า“พระธาตุเจดีย์”และนิยมเรียกกันสั้นๆว่า“พระธาตุ”(เช่นเดียวกับการเรียกชื่อย่อของพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ)
ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์ และในสยามประเทศมีคติความเชื่อในเรื่องการไหว้พระธาตุเจดีย์มายาวนานนับจากอดีตถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น คติความเชื่อในเรื่องการ“ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด”(ปี 12 นักษัตร)ของชาวล้านนาดั้งเดิม หรือคติความเชื่อที่สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อการท่องเที่ยวในรูปแบบทัวร์ธรรมะ อย่างเช่น การไหว้พระธาตุประจำวันเกิดที่จังหวัดนครพนม
สำหรับในพื้นที่ภาคใต้ของเรานั้นก็เป็นอีกหนึ่งดินแดนที่มีพระพุทธศาสนารุ่งเรืองนับจากอดีตถึงปัจจุบัน และเป็นอีกหนึ่งดินแดนที่มีพระธาตุเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์อันหลากหลายขึ้นชื่อ
ด้วยเหตุนี้ทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ในกลุ่ม 4 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ที่ประกอบด้วย ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง จึงได้จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา ไหว้ 4 พระธาตุศักดิ์สิทธิ์แดนใต้ฝั่งอ่าวไทย ภายใต้แคมเปญ“จตุธรรมธาตุ -ท่องเที่ยวธรรมะ กราบ 4 พระธาตุแดนใต้ กุศลยิ่งใหญ่ในชีวิต”ขึ้น
โดยจตุธรรมธาตุภายใต้โครงการนี้ได้แก่ พระธาตุสวี-ชุมพร,พระธาตุไชยา-สุราษฎร์ธานี,พระธาตุเมืองนคร-นครศรีธรรมราช และ พระธาตุบางแก้ว-พัทลุง ซึ่งพระธาตุเจดีย์ทั้ง 4 องค์ต่างก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของภาคใต้ และเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของ 4 จังหวัดดังกล่าว ที่หากใครไปเยือนไม่ควรพลาดการไปสักการะด้วยประการทั้งปวง
พระธาตุสวี-ชุมพร
พระบรมธาตุสวี หรือที่เรียกสั้นๆว่า “พระธาตุสวี” ประดิษฐานอยู่ที่ “วัดพระบรมธาตุสวี” หมู่ 1 ต.สวี อ.สวี จ.ชุมพร
พระบรมธาตุสวี ข้อมูลทั่วไประบุว่าเป็นพระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 700 ปี โดยมีตำนานเล่าว่า พระเจ้าศรีธรรมโศกราช(พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช)ที เมื่อครั้งเสด็จนำทัพไปป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แล้วเคลื่อนทัพกลับมาพักยังบริเวณที่เป็นวัดพระบรมธาตุสวีในปัจจุบัน ได้พบเห็นเหตุการณ์ประหลาด มีกาเผือกและฝูงการ้องเกาะอยู่บนซากกองอิฐพร้อมกระพือปีกร้องเซ็งแซ่
พระองค์จึงสั่งให้ทหารรื้อซากกองอิฐที่หักพังออก พบฐานเจดีย์ใหญ่ เมื่อขุดลึกลงไป พบผอบทองคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จึงโปรดให้สร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นมาใหม่แทนที่เดิม แล้วจัดงานสมโภชเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน พร้อมพระราชทานนามว่า“พระบรมธาตุกาวีปีก”(กาวีปีก หมายถึงกากระพือปีก-วีปีก แปลว่ากระพือปีก) ต่อมาพระธาตุกาวีปีกกร่อนคำเป็นพระธาตุกาวี ก่อนที่จะเพี้ยนมาเป็นพระธาตุสวีตามชื่อเมืองดังในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดีจากข้อมูลเอกสารของทางวัดสันนิษฐานว่าพระธาตุสวีน่าจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และผ่านการบูรณะมาหลายครั้ง ล่าสุดบูรณะโดยกรมศิลปากรเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา
พระธาตุสวีองค์ปัจจุบัน เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ลักษณะเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนคร จ.นครศรีธรรมราช องค์ระฆังหรือองค์พระธาตุ ปิดประดับด้วยกระเบื้องโมเสคสีทองงามอร่ามตา
ที่ยอดสูงสุดหรือ“หยดน้ำค้าง”ขององค์พระธาตุ เดิมทำด้วยไม้สัก แต่ในการบูรณะครั้งล่าสุด ประชาชนได้ร่วมกันบริจาคทองคำน้ำหนัก 2 กก. มาทำเป็นหยดน้ำค้าง ดูเหลืองอร่ามสุกสกาว
ส่วนฐานขององค์พระธาตุ เป็นฐาน 4 เหลี่ยม มีงานปูนปั้นประดับรูปยักษ์ และช้างให้เป็นดังผู้ปกป้องค้ำองค์พระธาตุเจดีย์ไว้
องค์พระธาตุสวี มีความกว้างรอบองค์พระธาตุ วัดได้ 20 เมตร มีความสูง 18.5 เมตร ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็กกว่าองค์พระบรมธาตุเมืองนครมาก แต่ว่าก็เป็นความเล็กกะทัดรัดที่งดงามสมส่วน สอดรับกับแนวระเบียงคดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปมากกว่า 108 องค์
ขณะที่ภายในบริเวณวัดพระบรมธาตุสวีนั้นก็มีการจัดตกแต่งภูมิทัศน์อย่างเป็นระเบียบสวยงาม สะอาดสะอ้าน สามารถมองเห็นองค์พระธาตุสวีสีทองอร่ามตาได้แต่ไกล
ส่วนบริเวณด้านหลังวัดตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำสวีที่มีวิวทิวทัศน์อันสวยงาม อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ“ศาลพระเสื้อเมือง” ซึ่งตามตำนานเล่าว่าหลังจากพระเจ้าศรีธรรมโศกราช สร้างพระธาตุสวีเสร็จแล้ว ก่อนจะยกทัพกลับทรงห่วงในว่าพระธาตุจะไม่มีผู้ดูแล จึงสั่งเรียกบรรดาทหารในกองทัพซึ่งกำลังนอนหลับสนิท ขณะนั้นมีนายทหารคนหนึ่งชื่อ “เมือง” ขานรับพระองค์ จึงมีรับสั่งถามว่า ต้องการจะอยู่ดูแลรักษาพระบรมธาตุแห่งนี้ไหม นายเมืองขานรับอาสา พระองค์จึงสั่งให้นายทหารตัดศีรษะนายเมืองเซ่นสรวงบูชาไว้ในศาลเพียงตา
ศาลนี้แห่งนี้จึงถูกเรียกว่า“ศาลพระเสื้อเมือง” ซึ่งเป็นศาลวิญญาณของนายทหารในพระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่มาคอยเฝ้าปกปักรักษาพระบรมธาตุสวีแห่งนี้ นับเป็นอีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ควรพลาดการไปสักการะเคียงคู่กับองค์พระธาตุสวี
พระธาตุไชยา-สุราษฎร์ธานี
พระบรมธาตุไชยา หรือ พระธาตุไชยา ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ต.เวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
พระธาตุไชยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13 ตามคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาแบบมหายาน ปัจจุบันมีอายุเก่าแก่กว่า 1,200 ปี แสดงให้เห็นถึงการรับพระพุทธศาสนาในคาบสมุทรแดนใต้มาตั้งปี พ.ศ. 1300 อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าเมืองไชยาในอดีตเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางพุทธศาสนาแห่งหนึ่งในแหลมมลายู
องค์พระธาตุไชยา มีความสูง 24 เมตร ตั้งอยู่เหนือฐานสี่เหลี่ยมย่อเก็จ องค์พระธาตุเป็นทรงมณฑปหรือทรงปราสาท มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรมุขซ้อนชั้นลดหลั่นกันไป มีสถูปขนาดเล็กอยู่ตามมุมสี่เหลี่ยมรวมทั้งหมด 24 องค์ ตรงกลางมีมุขหน้าบัน ลวดลายปูนปั้นสีทองรูปร่างต่างๆประดับประดา อาทิ เทพพนม ช้างเอราวัณ นกยูง สิงห์ เหรา ฯลฯ
ภายในพระธาตุไชยาบรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าแต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นส่วนใดพระธาตุองค์นี้ถือเป็นงานศิลปกรรมศรีวิชัยต้นแบบที่สวยงามสมบูรณ์แบบ ที่สำคัญคือตัวองค์พระบรมธาตุไชยาถือได้ว่าเป็นองค์พระบรมธาตุเจดีย์องค์เดียวของประเทศไทย ที่ยังมีความสมบูรณ์แบบในลักษณะที่ยังเป็นองค์ดั้งเดิมมีอายุเป็นพันปี ยังไม่ถูกสร้างครอบ ยังไม่พังทลาย และยังเป็นรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากองค์พระธาตุไชยาแล้ว ในเขตพระธาตุที่ระเบียงคดยังมีพระพุทธรูปแกะสลักหินทรายสีแดงประดิษฐานอยู่ถึง 180 องค์ เป็นพระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนสมัยกรุงศรีอยุธยาสร้างถวายเป็นพุทธบูชา มีขนาดเล็ก-ใหญ่ และพุทธสรีระแตกต่างกันออกไป ซึ่งนอกจากพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาแล้ว ก็ยังมีพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งเป็นศิลปะสกุลช่างไชยาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
พระพุทธรูปปกติยอดพระเกศจะเป็นพระรัศมีเปลวเพลิง แต่พระพุทธรูปสกุลช่างไชยายอดพระเกศจะเป็นมวยผม และจะมีรูปใบโพธิ์ประดับอยู่หน้ามวยผม ใครที่ไปไหว้พระธาตุไชยาลองสอดส่ายสายตาสังเกตดูในความแตกต่าง
ส่วนที่ลานด้านนอกข้างๆโบสถ์ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทราย 3 พี่น้อง ที่มีพระพุทธสรีระสมส่วนขรึมขลังเปี่ยมศรัทธา อีกทั้งยังมีต้นโพธิ์โบราณแผ่สยายกิ่งก้านให้ความร่มเย็น ฝั่งตรงกันข้ามของต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไชยา”(เปิดวันพุธ-อาทิตย์) ที่มีศิลปวัตถุน่าสนใจให้ชมกันไม่น้อยเลย
พระธาตุเมืองนคร-นครศรีธรรมราช
พระบรมธาตุเมืองนคร หรือ พระมหาธาตุเมืองนคร พระธาตุเมืองนคร พระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ที่ “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร” ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
พระบรมธาตุเมืองนคร ตามตำนานเล่าว่า สร้างขึ้นครั้งแรกประมาณ ปี พ.ศ. 854 ภายในบรรจุพระทันตธาตุ(ส่วนฟันของพระพุทธเจ้า)ดั้งเดิมเป็นศิลปะแบบศรีวิชัย(มีลักษณะคล้ายพระบรมธาตุไชยา และได้มีการจำลองรูปแบบของพระธาตุศิลปะศรีวิชัยมาตั้งอยู่ที่ลานวัดก่อนทางเข้าสู่บริเวณเขตองค์พระธาตุ)
ต่อมาในปี พ.ศ.1093 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้สร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น พร้อมกับสร้างเจดีย์องค์ใหม่ทรงศาญจิครอบพระบรมธาตุองค์เดิม จากนั้น พ.ศ.1770 มีพระภิกษุจากลังกามาบูรณะองค์พระบรมธาตุให้เป็นแบบทรงลังกาหรือทรงโอคว่ำดังที่เห็นในปัจจุบัน มีความสูง 55.78 เมตร องค์ระฆังสูง 9.80 เมตร มีปล้องไฉน 52 ปล้อง ถือเป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ และเป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่องค์แรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระบรมธาตุเมืองนคร ได้รับการเรียกขานว่าเป็น “พระธาตุทองคำ” เนื่องจากปลียอดหุ้มด้วยทองคำเหลืองอร่าม ขณะที่ยามแสงแดดตกต้ององค์พระธาตุ เหลื่อมเงากลับทาบทอดไม่ถึงพื้น จนดูเหมือนพระธาตุไม่มีเงา จึงทำให้ได้รับการเรียกขานว่าเป็น“พระธาตุไร้เงา”อีกฉายาหนึ่ง
พระบรมธาตุเมืองนคร ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครศรีธรรมราช เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของภาคใต้ และของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ซึ่งไม่เฉพาะแค่ชาวไทยเท่านั้น หากแต่เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ที่นิยมเดินทางมาสักการะบูชากันอย่างต่อเนื่อง
ทุกๆปีที่พระบรมธาตุเมืองนครจะมีการจัดงานประเพณีสำคัญนั่นก็คือ งาน“แห่ผ้าขึ้นธาตุ”ขึ้น ปีละ 2 ครั้ง ช่วงวันมาฆบูชา(15 ค่ำ เดือน 3) และช่วงวันวิสาขบูชา(15ค่ำ เดือน 6) โดยจะมีการนำผ้า“พระบฏ” ผ้าผืนยาว(นิยมใช้สีขาว เหลือง แดง)ไปห่มรอบองค์พระธาตุ พร้อมจัดขบวนแห่แหนกันอย่างยิ่งใหญ่
นอกจากองค์พระบรมธาตุเมืองนครแล้ว ภายในวัดพระมหาธาตุฯ ยังมีสิ่งน่าสนใจอื่นๆอีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น “พระวิหารหลวง”ที่ภายในประดิษฐานพระศรีศากยมุนีศรีธรรมราชอันงดงามเปี่ยมศรัทธา, “วิหารเกษตร”ที่เรียงรายไปด้วยองค์พระพุทธรูปประทับยืน-นั่ง อยู่มากมาย, “วิหารม้า” ที่โดดเด่นไปด้วยภาพพระม้าขนาดใหญ่ รวมถึงมีเท้าขัตตุคาม-รามเทพ ที่เชื่อว่าคือท้าวจตุคามรามเทพอันลือลั่น
“วิหารเขียน” ที่เดิมเคยมีภาพเขียนด้านพุทธประวัติ แต่เนื่องจากภาพเขียนเดิมชำรุดมาก จึงได้ทำการลบออกและปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เครื่องพุทธบูชาแทน เรียกว่า “ศรีธรรมราชพิพิธภัณฑ์” ภายในมีศิลปวัตถุน่าสนใจหลากหลายให้ชมกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพุทธบูชา ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เสาธง เสาหงส์ งาช้าง กริช เครื่องจักสาน เครื่องเงิน เครื่องทอง ฯลฯ
และ “พระแอด” หรือ “พระกัจจายนะ” ที่เชื่อกันว่าผู้ที่มากราบไหว้ขอพรท่าน ผู้หญิงที่อยากมีลูกจะได้ลูกสมหวัง อีกทั้งพระแอดยังช่วยในเรื่องสุขภาพ ช่วยให้หายจากความเจ็บไข้ได้ป่วย โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดตัว ปวดหลัง
ด้วยความสำคัญของพระบรมธาตุเมืองนครศูนย์รวมใจของชาวนครศรีและหนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของเมืองไทย รวมถึงความโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์และสิ่งน่าสนใจต่างของวัดพระมหาธาตุฯ ปัจจุบันจึงได้มีการเดินหน้าขอขึ้นทะเบียนพระบรมธาตุเมืองนครและวัดพระมหาธาตุสู่การเป็น“มรดกโลก”จากองค์การยูเนสโก ซึ่งเราคนไทยต้องร่วมกันส่งแรงใจให้พระบรมธาตุเมืองนครและวัดพระมหาธาตุได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกในเร็ววัน
พระธาตุบางแก้ว-พัทลุง
พระมหาธาตุเจดีย์บางแก้ว หรือ พระมหาธาตุเจดีย์วัดเขียนบางแก้ว พระธาตุบางแก้ว ประดิษฐานอยู่ที่ “วัดเขียนบางแก้ว” ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง
พระธาตุบางแก้ว เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดพัทลุง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ซึ่งในบริเวณพื้นที่นี้น่าจะเคยเป็นที่ตั้งของเมืองพัทลุงมาก่อน เพราะพบซากปรักหักพังของศิลาแลง และพระพุทธรูปมากมาย เช่นพระแก้วคุลา ศรีมหาโพธิ(ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น)พระพุทธรูปสองพี่น้อง
พระธาตุบางแก้ว เป็นเจดีย์ก่ออิฐฐานแปดเหลี่ยม รอบฐานมีซุ้มพระพุทธรูป 3 ซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ ขณะที่องค์ระฆังนั้นเป็นทรงลังกาหรือทรงโอคว่ำ สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพระบรมธาตุเมืองนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช
นอกจากพระธาตุบางแก้วแล้ว ภายในวัดเขียนบางแก้วยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลากหลายให้เที่ยวชมกัน โดยวัดเขียนบางแก้วนั้น เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น(ขณะที่ในบางตำนานระบุว่าวัดเขียนบางแก้วมีอายุกว่า 1 พันปีมาแล้ว) โดยสร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของเมืองพัทลุงในอดีต เนื่องจากมีการขุดพบซากปรักหักพังของศิลาแลง และพระพุทธรูปมากมาย
สำหรับสิ่งน่าสนใจเด่นๆภายในวัดเขียนบางแก้วนอกจากองค์พระธาตุบางแก้วแล้วก็มี องค์พระประธานและพระนอนศิลปะพื้นบ้านในพระอุโบสถ, พิพิธภัณฑ์วัดเขียนบางแก้ว ภายในจัดแสดงพระพุทธรูป ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ศิลปวัตถุต่างๆ เช่น เครื่องถ้วยชามจีน สังคโลกสมัยสุโขทัย ศิวลึงค์ ฐานโยนีเป็นต้น
นอกจากนี้ก็ยังมีอาคารกุฏิเจ้าอาวาสองค์ก่อน เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ใต้ถุนโล่ง ในรูปแบบเรือนขนมปังขิงมีลวดลายฉลุไม้สวยงาม บนชั้น 2 เป็นที่ตั้งโลงแก้วบรรจุสังขารไม่เน่าเปื่อยของ “พ่อท่านเพิ่ม ฐานภทฺโท”(พระครูกาเดิม)อดีตเจ้าอาวาสเกจิอาจารย์ชื่อดัง ซึ่งมีคนนิยมมากราบสรีระสังขารของท่านกันอย่างต่อเนื่อง
นับได้ว่าพระธาตุบางแก้วและวัดเขียนบางแก้ว เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพัทลุงที่หากใครไปเยือนเมืองนี้ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
ท่องเที่ยวเชื่อมโยง
นอกจาก 4 พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ในโครงการจตุธรรมธาตุแดนใต้แล้ว ในกลุ่ม 4 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอีกหลากหลาย เชื่อมโยงกับ 4 องค์พระธาตุดังกล่าว อาทิ
“ชุมพร” - หาดทรายรี ศาลกรมหลวงชุมพร เขามัทรี หาดทุ่งวัวแล่น แหล่งดำน้ำเกาะง่าม
“สุราษฎร์ธานี” - เกาะต่างๆเช่น เกาะเต่า-เกาะนางยวน เกาะสมุย-เกาะพะงัน เขื่อนเชี่ยวหลาน สวนโมกขพลาราม
“นครศรีธรรมราช” - วัดธาตุน้อย ทะเลขนอม เขาหลวง น้ำตกกรุงชิง ปากพนัง คีรีวง
“พัทลุง” - ทะเลน้อย คลองปากประ เขาทะลุ วังเจ้าเมืองพัทลุง น้ำตกไพรวัลย์ เป็นต้น
ขณะที่การไหว้องค์พระธาตุเจดีย์นั้น ไม่ว่าจะเป็นการไหว้จตุธรรมธาตุแดนใต้ หรือการไหว้พระธาตุเจดีย์อื่นๆทั่วๆไปนั้น หัวใจสำคัญคือการสักการะ“พระบรมสารีริกธาตุ”ที่บรรจุอยู่ในสิ่งก่อสร้างจำพวกสถูป พระธาตุ เจดีย์ ซึ่งเป็นดังพลังใจสำคัญให้ผู้ที่มากราบอธิษฐานขอพรตั้งมั่นทำในสิ่งที่ขอเพื่อให้ได้สมดังหวัง และต้องทำด้วยจิตที่ดี ประพฤติดี ปฏิบัติดี
ส่วนใครที่มาขอพรแล้วไม่ได้มุ่งมั่นลงมือทำในสิ่งที่ขอ อีกทั้งยังประพฤติมิชอบ ปฏิบัติมิชอบ จิตใจยังเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา ต่อให้เดินสายไหว้พระธาตุทั่วโลกก็ไม่สามารถที่จะช่วยอะไรได้
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com