โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)

ในมหากาพย์“รามายณะ”ของอินเดีย หรือ“รามเกียรติ์” ของบ้านเรา
“พระราม”พระเอกของเรื่อง ถือเป็นองค์นารายณ์(พระวิษณุ)อวตาร ส่วน “พระลักษมณ์”(ลักษมัณ) น้องชายของพระราม เป็นภาคอวตารของ“พญาอนันตนาคราช” ที่ประทับของพระนารายณ์ ซี่งร่วมรบเคียงคู่กับพระรามอยู่เสมอ
สำหรับเรื่องราวของมหากาพย์รามายณะ แม้จะเป็นเรื่องแต่ง แต่ก็มีอิทธิพลต่อคนอินเดียเป็นอย่างสูงมาช้านานแล้ว(และก็มีอิทธิพลต่อคนไทยเช่นกัน) ด้วยเหตุนี้ในประเทศอินเดีย จึงมีเมืองที่ถูกเรียกขาน(จินตนาการ)เป็นเมืองของพระราม พระลักษณ์ และท้าวทศรถบิดาของเทพทั้งสอง ซึ่งทั้ง 3 เมืองนั้นมีอยู่จริงในประเทศอินเดีย
โดยเมืองของท้าว“ทศรถ”คือเมือง“อโยธา”(Ayodhyaya) ซึ่งเป็นเมืองประสูติของพระราม ส่วนเมืองพระรามคือเมือง“รามปุระ”(Rampur) ขณะที่เมืองพระลักษณ์คือเมือง“ลักษมันปุระ”(Lakshmanpur) หรือที่ปัจจุบันมีชื่อเรียกขานกันว่าเมือง“ลัคเนา”

แม้บทบาทของพระลักษณ์ในรามายณะจะเป็นพระรอง แต่บทบาทของเมืองพระลักษณ์ คือ เมืองลัคเนานั้นกลับมีความโดดเด่นไม่น้อย
นับเป็นอีกหนึ่งเมืองในดินแดนภารตะยุคปัจจุบันที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
1.
“ลัคเนา”(Lucknow) เป็นเมืองเอกแห่งรัฐอุตตรประเทศ หรือ รัฐยูพี (Uttar Pradesh : UP) ในประเทศอินเดียทางตอนเหนือ รัฐยูพีเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนอู่ข้าวอู่น้ำนับจากอดีตถึงปัจจุบัน
ในอดีตเมืองลัคเนาถือเป็นเมืองรองสำคัญของอินเดีย แต่ปัจจุบันลัคเนาได้พัฒนาเติบโตขึ้นชั้นเป็น หนึ่งในเมืองหลักของอินเดีย เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน คมนาคม แห่งอินเดียตอนเหนือ และเป็นเมืองใหญ่อันดับต้นๆของประเทศอินเดีย

นอกจากนี้ลัคเนายังมีสนามบินนานาชาติ สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้ อีกทั้งยังเป็นประตูสำคัญสู่สังเวชนียสถาน 4 เพราะลัคเนาเป็นทางผ่านและเป็นเมืองที่เชื่อมต่อไปยังสังเวชนียสถาน 4
ด้วยความที่ลัคเนาเป็นเมืองใหญ่ที่กำลังโตวันโตคืนและมีศักยภาพทางด้านการบินสูง สายการบิน “ไทยสมายล์” จึงเดินหน้ารุกตลาดอินเดีย ด้วยการเปิดบินตรง “กรุงเทพฯ-ลัคเนา” และ “ลัคเนา-กรุงเทพฯ” สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน เชื่อมเมืองไทยกับเมืองหลวงของรัฐยูพี ประตูสู่สังเวชนียสถาน 4 ให้ใกล้กันยิ่งขึ้น

2.
ลัคเนา เป็นเมืองที่มีประชากรหลักนับถือฮินดูเป็นศาสนาหลัก รองลงไปก็คือศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเมืองประวัติศาสตร์ที่มีความเป็นมายาวนาน เมืองนี้เคยถูกปกครองโดยมุสลิมที่มาจากเปอร์เซีย และราชวงศ์โมกุลที่มาจากมองโกล(เชื้อสายเจงกีสข่าน) รวมถึงถูกอังกฤษปกครองในยุคเมืองขึ้น ลัคเนาจึงมีความโดดเด่นในเรื่องของงานศิลปกรรม สถาปัตยกรรมผสมผสานทั้งแบบฮินดู-มุสลิม(แบบเปอร์เซีย)-ยุโรป และศิลปะแบบ“มุสลิมโมกุล” ที่เป็นชื่อเรียกขานเฉพาะของงานศิลปกรรมคลาสสิกโดยรวมของเมืองนี้
ด้วยความโดดเด่นของงานศิลปกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะตัวอันน่าตื่นตาตื่นใจ และเห็นได้ทั่วไปในเมืองนี้ ลัคเนาจึงถูกเรียกขานขนานนามในหลายฉายาด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น “เมืองอาหรับราตรี”, “สุวรรณภูมิแห่งบูรพา” หรือ “คอนแสตนโนเปิลแห่งอินเดีย” ที่ชาวต่างชาตินิยมเรียกกัน ขณะที่ชาวอินเดียนิยมเรียกขานกันว่า “เมืองเจ้าอาหรับ” (City of Nawabs)

สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือเป็นพระเอก เป็นไฮไลท์ต้องห้ามพลาดของเมืองลัคเนา นั่นก็คือ “บารา อิมามบารา”(Bara Imambara) หรือ“อัครมัสยิด”ที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่ในเขตเมืองเก่า
บารา อิมามบารา เป็นอัครสถานเก่าแก่ สร้างในปี ค.ศ.1785 เพื่อเป็นที่อยู่ของท่าน“Asaf u daula” นาวาบ(Nawab) องค์ที่ 4 แห่งเมืองลัคเนา โดยตำแหน่งนาวาบนั้นก็เปรียบได้กับสุลต่านหรือเทียบเท่ากับเจ้าเมือง

ในอัครสถาน บารา อิมามบารา มีทั้งวังของท่านอาซาฟ( Asaf u daula) และ “มัสยิดอัสฟี”(Asfi Mosque) ที่เป็นมัสยิดขนาดใหญ่ ซึ่งในยุคนั้นที่อยู่ของเจ้าเมืองจะมีมัสยิดรวมอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันด้วย ทำให้บารา อิมามบารา ได้รับการยกย่องให้เป็นมัสยิดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอินเดีย

บารา อิมามบารา มีประตู 2 ชั้นด้วยกัน ก่อนที่เราจะเข้าสู่ตัวอาคารสำคัญ โดยเมื่อเดินผ่านประตูชั้นนอกเข้ามา จะพบกับสนามหญ้าที่มีการจัดสวนเล็กๆ เมื่อเดินเลียบสนามไปจะเข้าสู่ประตูชั้นในที่มี 2 เส้นทางสำคัญ คือหนึ่งเดินไปสู่มัสยิดอัสฟี และอีกหนึ่งเดินไปสู่วังของท่านอาซาฟ

งานนี้ผมเลือกเดินไปชมมัสยิดอัสฟีที่อยู่ใกล้กว่าทางขวามือก่อน มัสยิดแห่งนี้เป็นมัสยิดเก่าแก่ที่โดดเด่นไปด้วยโดม 3 ยอด ขนาบข้างด้วยหอระฆังแฝด 2 หอสูงเด่น ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของเมืองลัคเนา ที่ถ้าหากใครมาเยือนเมืองนี้แล้วไม่ได้มายลความสวยงามอลังการของมัสยิดอัสฟีก็เหมือนกับว่ายังมาไม่ถึงเมืองลัคเนาโดยสมบูรณ์
แม้ว่ามัสยิดอัสฟีจะยืนชมได้แค่เพียงภายนอก แต่ว่าก็สวยคลาสสิกและอลังการมาก ยิ่งเดินเข้าไปใกล้เราจะรู้สึกตัวเล็กลงไปทุกที

ต่อจากนั้นผมเดินเลาะเลียบด้านหน้าและด้านข้างของมัสยิดอัสฟีสู่วังของท่านอาซาฟ ที่ระหว่างทาแม้จะเป็นช่วงทางเดินสั้นๆ แต่ว่าก็มีมุมเก๋ๆของซุ้มประตูทางเดิน หอคอยชั้นสอง และลวดลายประดับให้ถ่ายรูปกันไม่น้อย

แต่ว่าก็อย่ามัวแต่ถ่ายรูปที่นี่กันเพลินจนลืมเวลา เพราะในวังของท่านอาซาฟนั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของที่นี่ และเราสามารถเข้าไปชมความอลังการข้างในกันได้ด้วย

ภายในวังท่านอาซาฟโดดเด่นไปด้วยงานศิลปกรรมผสมผสานระหว่างฮินดูกับมุสลิม เน้นสีโทนเขียวอ่อน มีห้องโถงท้องพระโรงขนาดใหญ่ให้เดินชมสิ่งน่าสนใจในที่โดดเด่นไปด้วย หลุมฝังศพของท่านอาซาฟ ข้าวของจัดแสดง และลวดลายปูนปั้นประดับอันสวยงามตามจุดต่างๆ รวมไปถึงลูกเล่นในเรื่องของช่องประตู หน้าต่าง และช่องแสง ที่ทำให้เกิดแสงและเงาภายในวังได้อย่างสวยงามน่ายล

หลังชมบารา อิมามบารา กันอย่างจุใจได้ที่(และได้เวลาไกด์นัดแล้ว) เมื่อเดินออกมาจากอัครสถานแห่งนี้ ผมยังหยุดชื่นชมกับงานสถาปัตยกรรมโบราณที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่ตรงข้ามกับ บารา อิมามบารา

อาคารโบราณแห่งนี้ เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานกันทั้งศิลปะมุสลิม ฮินดู และยุโรป ที่ช่างสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างลงตัวสวยงาม โดยตัวอาคารหลัก หอคอยรูปโดมขนาดเล็ก และช่องประตูนั้นเป็นศิลปะในแบบมุสลิม ส่วนงานปูนปั้นรูปปลา(ที่ดูสวยงามเหมือนมีชีวิต)นั้นเป็นศิลปะของฮินดู ขณะที่ลวดลายใบไม้นั้นเป็นศิลปะในแบบยุโรป นับได้ว่านี่เป็นอีกหนึ่งสิ่งก่อสร้างอันเก่าแก่สวยงามคลาสสิกคู่เมืองลัคเนาที่ไม่ควรเลยผ่านด้วยประการทั้งปวง

3.
ไม่ไกลจากบารา อิมามบาราสักเท่าไหร่ ชนิดที่เดินเท้าไปได้แบบไม่เหนื่อยไม่เมื่อย เป็นที่ตั้งของ“รูมิ ดะร์วาซา”(Rumi Darwaza) หรือ “ประตูเตอร์กิซ” ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมคลาสสิกคู่เมืองลัคเนา

ประตูเตอร์กิซสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 18 เป็นประตูเมืองขนาดใหญ่อันงามสง่า เป็นศิลปะอินเดียที่สวยงามทั้งมุมมองในด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้าบริเวณส่วนกลางเป็นโถงซุ้มประตูขนาดใหญ่ มี 3 ช่องประตูเล็ก ไว้ให้รถยนต์วิ่งเข้า-ออก สวนทางกัน 2 ช่อง ส่วนอีก 1 ช่อง เป็นช่องทางเดิน

บริเวณด้านหน้าประตูเตอร์กิซมีร้านรถเข็น ขายอาหารท้องถิ่น ของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว ใครที่มั่นใจว่าธาตุแข็งก็น่าจะลองอาหารของที่นี่ดูสักหน่อย เพราะเขาทำกันร้อนๆ ซึ่งผมลองแล้วอร่อยใช้ได้ และปลอดภัย ไม่เป็นอะไร

ขณะที่ในช่องซุ้มประตูมีบรรยากาศคึกคักของรถราที่วิ่งกันขวักไขว่ โดยที่สะดุดตาก็คือ“รถม้า” ซึ่งคนที่นี่เขายังคงใช้รถม้าในชีวิตประจำวันกันอยู่ทั้งบรรทุกผู้โดยสาร บรรทุกสิ่งของ รวมถึงมีไว้ให้กับบริการนักท่องเที่ยวผู้สนใจอีกด้วย

ส่วนที่สะดุดหูก็คือรถยนต์หลายๆคันที่ต่างก็วิ่งกันด้วยเสียง“แตร”ที่บีบระรัวสั่นประสาท แสดงจุดยืนแห่งความเป็นอินเดียอย่างชัดเจน
และนี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าผมได้มาถึงประเทศอินเดียอย่างจริงแท้แน่นอนแล้ว...(อ่านต่อตอนหน้า)

**************************************************
“ลัคเนา”(Lucknow) เป็นเมืองหลวงแห่งรัฐอุตตรประเทศ หรือ รัฐยูพี (Uttar Pradesh : UP) ในประเทศอินเดียทางตอนเหนือ ซึ่งล่าสุดสายการบิน “ไทยสมายล์” ได้เปิดเที่ยวบินตรง “กรุงเทพฯ-ลัคเนา” 3 เที่ยวบิน/สัปดาห์ ได้แก่ วันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ และเส้นทาง“ลัคเนา-กรุงเทพฯ” 3 เที่ยวบิน/สัปดาห์เช่นกัน คือวันพุธ ศุกร์ และอาทิตย์ มีราคาเริ่มต้นที่ 4,910 บาท ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 1181 หรือที่ 0-2118-8888
ในมหากาพย์“รามายณะ”ของอินเดีย หรือ“รามเกียรติ์” ของบ้านเรา
“พระราม”พระเอกของเรื่อง ถือเป็นองค์นารายณ์(พระวิษณุ)อวตาร ส่วน “พระลักษมณ์”(ลักษมัณ) น้องชายของพระราม เป็นภาคอวตารของ“พญาอนันตนาคราช” ที่ประทับของพระนารายณ์ ซี่งร่วมรบเคียงคู่กับพระรามอยู่เสมอ
สำหรับเรื่องราวของมหากาพย์รามายณะ แม้จะเป็นเรื่องแต่ง แต่ก็มีอิทธิพลต่อคนอินเดียเป็นอย่างสูงมาช้านานแล้ว(และก็มีอิทธิพลต่อคนไทยเช่นกัน) ด้วยเหตุนี้ในประเทศอินเดีย จึงมีเมืองที่ถูกเรียกขาน(จินตนาการ)เป็นเมืองของพระราม พระลักษณ์ และท้าวทศรถบิดาของเทพทั้งสอง ซึ่งทั้ง 3 เมืองนั้นมีอยู่จริงในประเทศอินเดีย
โดยเมืองของท้าว“ทศรถ”คือเมือง“อโยธา”(Ayodhyaya) ซึ่งเป็นเมืองประสูติของพระราม ส่วนเมืองพระรามคือเมือง“รามปุระ”(Rampur) ขณะที่เมืองพระลักษณ์คือเมือง“ลักษมันปุระ”(Lakshmanpur) หรือที่ปัจจุบันมีชื่อเรียกขานกันว่าเมือง“ลัคเนา”
แม้บทบาทของพระลักษณ์ในรามายณะจะเป็นพระรอง แต่บทบาทของเมืองพระลักษณ์ คือ เมืองลัคเนานั้นกลับมีความโดดเด่นไม่น้อย
นับเป็นอีกหนึ่งเมืองในดินแดนภารตะยุคปัจจุบันที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
1.
“ลัคเนา”(Lucknow) เป็นเมืองเอกแห่งรัฐอุตตรประเทศ หรือ รัฐยูพี (Uttar Pradesh : UP) ในประเทศอินเดียทางตอนเหนือ รัฐยูพีเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนอู่ข้าวอู่น้ำนับจากอดีตถึงปัจจุบัน
ในอดีตเมืองลัคเนาถือเป็นเมืองรองสำคัญของอินเดีย แต่ปัจจุบันลัคเนาได้พัฒนาเติบโตขึ้นชั้นเป็น หนึ่งในเมืองหลักของอินเดีย เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน คมนาคม แห่งอินเดียตอนเหนือ และเป็นเมืองใหญ่อันดับต้นๆของประเทศอินเดีย
นอกจากนี้ลัคเนายังมีสนามบินนานาชาติ สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้ อีกทั้งยังเป็นประตูสำคัญสู่สังเวชนียสถาน 4 เพราะลัคเนาเป็นทางผ่านและเป็นเมืองที่เชื่อมต่อไปยังสังเวชนียสถาน 4
ด้วยความที่ลัคเนาเป็นเมืองใหญ่ที่กำลังโตวันโตคืนและมีศักยภาพทางด้านการบินสูง สายการบิน “ไทยสมายล์” จึงเดินหน้ารุกตลาดอินเดีย ด้วยการเปิดบินตรง “กรุงเทพฯ-ลัคเนา” และ “ลัคเนา-กรุงเทพฯ” สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน เชื่อมเมืองไทยกับเมืองหลวงของรัฐยูพี ประตูสู่สังเวชนียสถาน 4 ให้ใกล้กันยิ่งขึ้น
2.
ลัคเนา เป็นเมืองที่มีประชากรหลักนับถือฮินดูเป็นศาสนาหลัก รองลงไปก็คือศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเมืองประวัติศาสตร์ที่มีความเป็นมายาวนาน เมืองนี้เคยถูกปกครองโดยมุสลิมที่มาจากเปอร์เซีย และราชวงศ์โมกุลที่มาจากมองโกล(เชื้อสายเจงกีสข่าน) รวมถึงถูกอังกฤษปกครองในยุคเมืองขึ้น ลัคเนาจึงมีความโดดเด่นในเรื่องของงานศิลปกรรม สถาปัตยกรรมผสมผสานทั้งแบบฮินดู-มุสลิม(แบบเปอร์เซีย)-ยุโรป และศิลปะแบบ“มุสลิมโมกุล” ที่เป็นชื่อเรียกขานเฉพาะของงานศิลปกรรมคลาสสิกโดยรวมของเมืองนี้
ด้วยความโดดเด่นของงานศิลปกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะตัวอันน่าตื่นตาตื่นใจ และเห็นได้ทั่วไปในเมืองนี้ ลัคเนาจึงถูกเรียกขานขนานนามในหลายฉายาด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น “เมืองอาหรับราตรี”, “สุวรรณภูมิแห่งบูรพา” หรือ “คอนแสตนโนเปิลแห่งอินเดีย” ที่ชาวต่างชาตินิยมเรียกกัน ขณะที่ชาวอินเดียนิยมเรียกขานกันว่า “เมืองเจ้าอาหรับ” (City of Nawabs)
สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือเป็นพระเอก เป็นไฮไลท์ต้องห้ามพลาดของเมืองลัคเนา นั่นก็คือ “บารา อิมามบารา”(Bara Imambara) หรือ“อัครมัสยิด”ที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่ในเขตเมืองเก่า
บารา อิมามบารา เป็นอัครสถานเก่าแก่ สร้างในปี ค.ศ.1785 เพื่อเป็นที่อยู่ของท่าน“Asaf u daula” นาวาบ(Nawab) องค์ที่ 4 แห่งเมืองลัคเนา โดยตำแหน่งนาวาบนั้นก็เปรียบได้กับสุลต่านหรือเทียบเท่ากับเจ้าเมือง
ในอัครสถาน บารา อิมามบารา มีทั้งวังของท่านอาซาฟ( Asaf u daula) และ “มัสยิดอัสฟี”(Asfi Mosque) ที่เป็นมัสยิดขนาดใหญ่ ซึ่งในยุคนั้นที่อยู่ของเจ้าเมืองจะมีมัสยิดรวมอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันด้วย ทำให้บารา อิมามบารา ได้รับการยกย่องให้เป็นมัสยิดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอินเดีย
บารา อิมามบารา มีประตู 2 ชั้นด้วยกัน ก่อนที่เราจะเข้าสู่ตัวอาคารสำคัญ โดยเมื่อเดินผ่านประตูชั้นนอกเข้ามา จะพบกับสนามหญ้าที่มีการจัดสวนเล็กๆ เมื่อเดินเลียบสนามไปจะเข้าสู่ประตูชั้นในที่มี 2 เส้นทางสำคัญ คือหนึ่งเดินไปสู่มัสยิดอัสฟี และอีกหนึ่งเดินไปสู่วังของท่านอาซาฟ
งานนี้ผมเลือกเดินไปชมมัสยิดอัสฟีที่อยู่ใกล้กว่าทางขวามือก่อน มัสยิดแห่งนี้เป็นมัสยิดเก่าแก่ที่โดดเด่นไปด้วยโดม 3 ยอด ขนาบข้างด้วยหอระฆังแฝด 2 หอสูงเด่น ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของเมืองลัคเนา ที่ถ้าหากใครมาเยือนเมืองนี้แล้วไม่ได้มายลความสวยงามอลังการของมัสยิดอัสฟีก็เหมือนกับว่ายังมาไม่ถึงเมืองลัคเนาโดยสมบูรณ์
แม้ว่ามัสยิดอัสฟีจะยืนชมได้แค่เพียงภายนอก แต่ว่าก็สวยคลาสสิกและอลังการมาก ยิ่งเดินเข้าไปใกล้เราจะรู้สึกตัวเล็กลงไปทุกที
ต่อจากนั้นผมเดินเลาะเลียบด้านหน้าและด้านข้างของมัสยิดอัสฟีสู่วังของท่านอาซาฟ ที่ระหว่างทาแม้จะเป็นช่วงทางเดินสั้นๆ แต่ว่าก็มีมุมเก๋ๆของซุ้มประตูทางเดิน หอคอยชั้นสอง และลวดลายประดับให้ถ่ายรูปกันไม่น้อย
แต่ว่าก็อย่ามัวแต่ถ่ายรูปที่นี่กันเพลินจนลืมเวลา เพราะในวังของท่านอาซาฟนั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของที่นี่ และเราสามารถเข้าไปชมความอลังการข้างในกันได้ด้วย
ภายในวังท่านอาซาฟโดดเด่นไปด้วยงานศิลปกรรมผสมผสานระหว่างฮินดูกับมุสลิม เน้นสีโทนเขียวอ่อน มีห้องโถงท้องพระโรงขนาดใหญ่ให้เดินชมสิ่งน่าสนใจในที่โดดเด่นไปด้วย หลุมฝังศพของท่านอาซาฟ ข้าวของจัดแสดง และลวดลายปูนปั้นประดับอันสวยงามตามจุดต่างๆ รวมไปถึงลูกเล่นในเรื่องของช่องประตู หน้าต่าง และช่องแสง ที่ทำให้เกิดแสงและเงาภายในวังได้อย่างสวยงามน่ายล
หลังชมบารา อิมามบารา กันอย่างจุใจได้ที่(และได้เวลาไกด์นัดแล้ว) เมื่อเดินออกมาจากอัครสถานแห่งนี้ ผมยังหยุดชื่นชมกับงานสถาปัตยกรรมโบราณที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่ตรงข้ามกับ บารา อิมามบารา
อาคารโบราณแห่งนี้ เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานกันทั้งศิลปะมุสลิม ฮินดู และยุโรป ที่ช่างสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างลงตัวสวยงาม โดยตัวอาคารหลัก หอคอยรูปโดมขนาดเล็ก และช่องประตูนั้นเป็นศิลปะในแบบมุสลิม ส่วนงานปูนปั้นรูปปลา(ที่ดูสวยงามเหมือนมีชีวิต)นั้นเป็นศิลปะของฮินดู ขณะที่ลวดลายใบไม้นั้นเป็นศิลปะในแบบยุโรป นับได้ว่านี่เป็นอีกหนึ่งสิ่งก่อสร้างอันเก่าแก่สวยงามคลาสสิกคู่เมืองลัคเนาที่ไม่ควรเลยผ่านด้วยประการทั้งปวง
3.
ไม่ไกลจากบารา อิมามบาราสักเท่าไหร่ ชนิดที่เดินเท้าไปได้แบบไม่เหนื่อยไม่เมื่อย เป็นที่ตั้งของ“รูมิ ดะร์วาซา”(Rumi Darwaza) หรือ “ประตูเตอร์กิซ” ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมคลาสสิกคู่เมืองลัคเนา
ประตูเตอร์กิซสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 18 เป็นประตูเมืองขนาดใหญ่อันงามสง่า เป็นศิลปะอินเดียที่สวยงามทั้งมุมมองในด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้าบริเวณส่วนกลางเป็นโถงซุ้มประตูขนาดใหญ่ มี 3 ช่องประตูเล็ก ไว้ให้รถยนต์วิ่งเข้า-ออก สวนทางกัน 2 ช่อง ส่วนอีก 1 ช่อง เป็นช่องทางเดิน
บริเวณด้านหน้าประตูเตอร์กิซมีร้านรถเข็น ขายอาหารท้องถิ่น ของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว ใครที่มั่นใจว่าธาตุแข็งก็น่าจะลองอาหารของที่นี่ดูสักหน่อย เพราะเขาทำกันร้อนๆ ซึ่งผมลองแล้วอร่อยใช้ได้ และปลอดภัย ไม่เป็นอะไร
ขณะที่ในช่องซุ้มประตูมีบรรยากาศคึกคักของรถราที่วิ่งกันขวักไขว่ โดยที่สะดุดตาก็คือ“รถม้า” ซึ่งคนที่นี่เขายังคงใช้รถม้าในชีวิตประจำวันกันอยู่ทั้งบรรทุกผู้โดยสาร บรรทุกสิ่งของ รวมถึงมีไว้ให้กับบริการนักท่องเที่ยวผู้สนใจอีกด้วย
ส่วนที่สะดุดหูก็คือรถยนต์หลายๆคันที่ต่างก็วิ่งกันด้วยเสียง“แตร”ที่บีบระรัวสั่นประสาท แสดงจุดยืนแห่งความเป็นอินเดียอย่างชัดเจน
และนี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าผมได้มาถึงประเทศอินเดียอย่างจริงแท้แน่นอนแล้ว...(อ่านต่อตอนหน้า)
**************************************************
“ลัคเนา”(Lucknow) เป็นเมืองหลวงแห่งรัฐอุตตรประเทศ หรือ รัฐยูพี (Uttar Pradesh : UP) ในประเทศอินเดียทางตอนเหนือ ซึ่งล่าสุดสายการบิน “ไทยสมายล์” ได้เปิดเที่ยวบินตรง “กรุงเทพฯ-ลัคเนา” 3 เที่ยวบิน/สัปดาห์ ได้แก่ วันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ และเส้นทาง“ลัคเนา-กรุงเทพฯ” 3 เที่ยวบิน/สัปดาห์เช่นกัน คือวันพุธ ศุกร์ และอาทิตย์ มีราคาเริ่มต้นที่ 4,910 บาท ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 1181 หรือที่ 0-2118-8888