xs
xsm
sm
md
lg

“จัตุรัสวิทยาศาสตร์ "อพวช." เที่ยวเพลินสุดสนุกไปกับ วิทยาศาสตร์ ใจกลางกรุง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ภายในบรรยากาศ “จัตุรัสวิทยาศาสตร อพวช.”
ในยุคปัจจุบันดูเหมือนว่าวิทยาศาสตร์จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ฉันเองก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นเรื่องที่มีเหตุมีผล สามารถอธิบายความเป็นไปได้ ฉันเลยถือโอกาสในวันหยุดสุดสัปดาห์ เสาะแสวงหาที่เที่ยวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กันสักหน่อย จึงเดินทางไปอย่างกลางใจเมือง จนพบสถานที่แหล่งเรียนรู้แห่งหนึ่งที่มีความน่าสนใจ จัดอยู่ในรูปแบบผสมผสานสาระวิทยาศาสตร์ควบคูไปกับความบันเทิง ในชื่อวา “จัตุรัสวิทยาศาสตร อพวช.” (NSM Science Square) บริเวณชั้น 4 และ ชั้น 5 ของอาคารจัตุรัสจามจุรี ซึ่งการเดินก็สะดวกสบายเพียงแค่นั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน ลงสถานีสามย่าน เพียงเท่านั้น
“จัตุรัสวิทยาศาสตร อพวช.” ตั้งอยู่อาคารจัตุรัสจามจุรี
เครื่องเล่นๆ ทดลองต่างๆ ในแต่ละโซน
" จัตุรัสวิทยาศาสตร อพวช.” (NSM Science Square) ถือว่าเป็นสถานที่ที่ให้เรียนรูวิทยาศาสตรในบรรยากาศอันทันสมัยตามไลฟสไตลของคนเมือง ดวยนิทรรศการ กิจกรรมและชิ้นงาน วิทยาศาสตรแบบ Interactive ที่ผูชมสามารถทดลองสัมผัส เรียนรูดวยตนเอง ใหความรู ประสบการณ สรางจินตนาการ แรงบันดาลใจใหกับเด็ก เยาวชน เปนทางเลือกใหมในการพักผอนพร้อมกับเรียนรูวิทยาศาสตร์ได้อยางสนุกสนาน
เครื่องทดลองทีสามารถสัมผัสและจับได้
วิทยาศาสตร์อยูรอบตัวเรา
สำหรับที่นี่ มีความน่าสนใจตรงที่ว่า การจัดเเสดงเรื่องราววิทยาศาสตร์นั้น จะแบ่งออกจามเป็นโซนต่างๆ ซึ่งแต่ละโซนจะมีเครื่องที่สามารถเเสดงปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันไป ให้ได้ลองใช้สัมผัส นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่ทันสมัยและให้ความเพลิดเพลินควบคู่กันไป เป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีความน่าเบื่อเลย เช่น โซนคณิตศาสตรรอบตัวเรา เป็นโซนที่เรียนรูคณิตศาสตรที่เกี่ยวของกับการดํารงชีวิตประจําวันของมนุษย เชน คณิตศาสตรในบาน ตลาด โรงพยาบาล ทาเรือ เปนตน 
สนุกสนานไปกับการทดลองวิทยาศาสตร์
ภายในโซนนี้ก็จะมีเปนชิ้นงานแบบ Interactive สามารถหยิบจับสัมผัสเรียนรูไดดวยตัวเอง และมีคำอธิบายบอกความเป็นไปและความเป็นมาต่างๆ ถือว่าเป็นโซนหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก นอกจากนั้นยังมีทั้งโซน นิทรรศการทองโลกการสื่อสาร และนิทรรศการสวนสนุกวิทยาศาสตร ที่จัดแสดงชิ้นงานวิทยาศาสตรโดยแบงเปน หมวดหมูตางๆ ไดแก คณิตศาสตร กลศาสตร แมเหล็ก ไฟฟา ประสาทรับรู้ และโลกของการสื่อสาร ไว้ให้ได้เรียนรู้อีกด้วย
ทดลองเรื่องตัวนำฉนวน
นอกจากโซนต่างๆ ที่ให้ได้ลองเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แล้ว ยังมี มุมสนามเด็กเลน (Kid zone) ซึ่งเปนมุมที่ใหบริการของเลนเสริมทักษะ เหมาะสมหรับเด็กน่ารักๆ อายุ 3-6 ป และมุมนักอาน เปนมุมบริการหนังสือและนิตยสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งใหบริการอินเตอรเน็ต สําหรับสืบคน ถ้าหากการติดตอเปนหมูคณะ ก็สามารถจัดกิจกรรมบานนักวิทยาศาสตรนอยได้ โดยจะเปนการทดลองวิทยาศาสตรอยางงายดายเพื่อ สงเสริมและเปดประสบการณใหเด็กไดเรียนรูวิทยาศาสตร รวมทั้งเพื่อใหเด็กฝกสังเกต รูจักคิด ตั้งคําถามและคิดหาคําตอบไดดวยตัวเอง ใชเวลาประมาณ 30-45 นาที ตัวอยางการทดลองที่มีไดแกความลับของสีดํา หมุดลอยน้ำสนุก กับฟองสบู การละลายของน้ำตาล เป็นต้น
มุมเด็กเล่น
และไฮไลท์ที่มาที่นี่ แล้วไม่ควรพลาดนั่นคือ นิทรรศการ “บทเรียนในความมืด: Dialogue in the Dark" ซึ่งป็นแนวความคิดมาจาก Dr. Andreas Heinecke ชาวเยอรมันนี เมื่อครั้งที่เขายังเปน นักหนังสือพิมพและไดรวมงานกับคนตาบอด เขารูสึกวาเปนเรื่องยากที่จะอยูรวมกับคนตาบอด แตก็ไดพบวาคนตาบอดสามารถทําอะไรไดเหมือนคนทั่วไป และคนทั่วไปมักจะแบงแยกคนตาบอดจากสังคมของคนตาดี มีความรูสึก สงสาร เห็นใจ และไมกลาสื่อสารกับคนตาบอด ซึ่งสิ่งเหลานี้เกิดขึ้นเพราะความไมรูและไมเขาใจคนตาบอด ครั้งหนึ่งเมื่อไฟดับ เพื่อนคนตาบอดไดสอนเขาใหรูจักสิ่งรอบขางในความมืด และจากเหตุการณนั้นเองที่ไดจุด ประกายแนวความคิดของนิทรรศการ Dialogue in the Dark เพื่อเปนการสื่อสารใหคนทั่วไปไดเรียนรูและเขาใจคนตาบอดมากขึ้น คนตาดีจะไดเรียนรูที่จะอยูกับคนตาบอด และคนตาบอดจะไดสอนคนตาดีในความมืด เพื่อที่จะคนพบ สิ่งที่มองไมเห็นในตัวเราและรอบขาง
นิทรรศการบทเรียนแห่งความมืด
นิทรรศการ “บทเรียนในความมืด: Dialogue in the Dark" ไดพัฒนาสรางเปนนิทรรศการชั่วคราวและ ถาวร จัดแสดงมาแลวกวา 160 เมือง 35 ประเทศทั่วโลก โดยนิทรรศการนี้จะกระตุนใหผูเขาชมไดตระหนักถึง ความสําคัญของประสาทสัมผัสในรางกายของเราวามีความสําคัญยิ่งนัก ซึ่งถือเปนการแลกเปลี่ยนการเรียนรูในสังคม ที่จะให้สัมผัสกับการใช้ชีวิตในความมืดเป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง ซึ่งนับว่าเป็นโซนที่ได้รับความนิยมเเละสามารถสร้างการเรียนรู้เเล้วความเข้าใจได้เป็นอย่างดี อีกทั้งโซนนี้ยังได้รับความนิยมจากนักศึกษาในสาขาการออกเเบบไม่ว่าจะเป็น ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มัณฑศิลป ในการมาลองใช้ชีวิตดู เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปในในการออกเเบบสำหรับบุคคลที่มีปัญหาในเรื่องของการมองเห็นอีกด้วย

ถือว่าเป็นหนึ่งสถานที่การเรียนรู้ทีดี ในกรุงเทพฯ อีกแห่ง ที่นอกจากจะให้ความสนุกสนานควบคู่ไปกับความรู้แล้ว ถือว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ที่ดีอีกด้วย
จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ตั้งอยู่ ชั้น 4 จามจุรีสแควร์ สามย่าน เปิดบริการทุวัน จันทร์-อาทิตย์
10:30 - 19:30 น. โทรศัพท์ 0 2160 5356 , 0 2577 9999 ต่อ 1829-1830 การเดินทาง รถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สถานีสามย่าน (ทางออก 2)
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล travel_astvmgr@hotmail.com

 

กำลังโหลดความคิดเห็น