โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)

แม้ประเทศไทยจะไม่มีหิมะตก แต่ทีมแกะสลักหิมะชาวไทยก็สุดยอด สามารถไปสร้างชื่อคว้าแชมป์ในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ ในงานเทศกาลหิมะซัปโปโร เมืองฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น มาได้หลายต่อหลายครั้ง
และนี่ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทีมไทยยังคงเจ๋ง สามารถคว้าแชมป์แกะสลักนานาชาติในงานเทศกาลหิมะซัปโปโรครั้งล่าสุดมาครองได้อีกครั้ง โดยนอกจากจะสร้างชื่อให้กับประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการนำวิถีไทย เอกลักษณ์ไทย ไปเผยแพร่ให้ชาวโลกรับรู้อีกด้วย

เทศกาลหิมะเมืองซัปโปโร ฮอกไกโด
ฮอกไกโด เป็นเกาะใหญ่อันดับ 2 ของ 4 เกาะหลักในญี่ปุ่น(รองจากเกาะฮอนชู) แต่เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นและเป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของญี่ปุ่น ฮอกไกโดมีเมือง“ซัปโปโร” เป็นเมืองเอกหรือเมืองหลวง
ฮอกไกโดเป็นเมืองที่มีฤดูหนาวยาวนาน ตั้งแต่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม โดยหิมะจะเริ่มตกในช่วงปลายปี หากเป็นบนเขาบางปีจะตกตั้งแต่เดือนกันยายน ส่วนในเมืองหิมะจะตกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน และจะตกหนักที่สุดในเดือนมกราคม ส่งผลให้เกิดหิมะทับถมกันอย่างหนาและมากในเดือนกุมภาพันธ์

ช่วงหน้าหนาวที่ฮอกไกโดแม้จะมีอากาศหนาวเหน็บมีอุณหภูมิติดลบอยู่เป็นนิจ แต่ฤดูหนาวที่ฮอกไกโดก็อวลไปด้วยเสน่ห์จากหิมะที่ตกย้อมเมืองดูขาวโพลนไปทั่ว นั่นจึงทำให้เมืองฮอกไกโดได้จัดเทศกาลหิมะและน้ำแข็งขึ้นมาในหลายแห่ง เพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้คนมาเที่ยวฮอกไกโดยามหน้าหนาวมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เทศกาลทางเดินหิมะประดับไฟโอตารุ เทศกาลเสาน้ำแข็งทะเลสาบชิโกะสึ ชิโตเสะ เป็นต้น

นอกจากนี้ก็ยังมี“เทศกาลหิมะซัปโปโร” ที่ถือเป็นไฮไลท์ของงานเทศกาลหิมะในฮอกไกโด เป็นงานเทศกาลหิมะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และเลื่องชื่อเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดยงานเทศกาลหิมะในซัปโปโรมีอยู่ 3 จุดหลักๆ คือ เทศกาลหิมะสึโดเมะ เทศกาลน้ำแข็งซูซูกิโนะ และจุดไฮไลท์สำคัญก็คืองานเทศกาลหิมะซัปโปโรที่จัดขึ้นที่สวน“โอโดริ” สวนสาธารณะสำคัญใจกลางเมือง

เทศกาลหิมะซัปโปโร(Sapporo Snow Festival) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2493(ค.ศ.1950) เมื่อกลุ่มเด็กนักเรียนมัธยมในเมืองนี้ได้นำหิมะจำนวนมากที่ทางเมืองซัปโปโรมาทิ้งรวมกันไว้ที่สวนสาธารณะโอโดริ มาสร้างเป็นรูปปั้นหิมะขึ้นที่กลางสวนโอโดริจำนวน 6 ชิ้น สร้างความสนใจให้กับชาวเมืองเป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้ยังได้เชิญชวนให้ชาวเมืองมาร่วมเล่นหิมะด้วยกัน
จากนั้นในปีถัดๆไปก็ได้มีการทำเช่นนี้อีก โดยสิ่งคาดไม่ถึงที่ตามมาก็คือกิจกรรมนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก มีคนมาเข้าร่วมงานกว่า 50,000 คน ทำให้ในปี พ.ศ. 2498(ค.ศ.1955) ได้มีการยกระดับให้กิจกรรมนี้เป็นเทศกาลหิมะประจำเมือง โดยมีหน่วยงานหลายภาคส่วนให้การส่งเสริมสนับสนุนในการปั้น แกะสลัก และสร้างประติมากรรมหิมะและน้ำแข็งขึ้นมา เกิดเป็นเทศกาลหิมะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และเป็นงานเทศกาลหิมะอันโด่งดังในอันดับต้นๆของโลก ที่แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติเดินทางมาไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน ซึ่งนักท่องเที่ยวบ้านเราชาวไทยก็นิยมไปเที่ยวชมงานนี้กันเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน

แข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ
เทศกาลหิมะซัปโปโรปีนี้(พ.ศ.2558)จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 66 โดยได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 5-11 ก.พ.ที่ผ่านมา
ภายในงานปีนี้นั้นโดดเด่นไปด้วย การสร้างสรรค์หิมะและน้ำแข็ง เป็นรูปปั้นและประติมากรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตาหิมะในรูปแบบตัวการ์ตูน แอนิเมชั่น ที่มีประดับทั่วไปอยู่มากหลาย เป็นที่ถ่ายรูปแสนเพลินสุดชิลล์ของนักท่องเที่ยว หรืองานตามเวทีหิมะต่างๆ เช่น เวทีใหญ่หรือเวทีกลางที่เปิดให้แต่ละประเทศเวียนกันเป็นเจ้าภาพของเวทีกลางในแต่ละปีโดยปีนี้เป็นของประเทศฟิลิปปินส์(ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพเวทีกลางหนล่าสุดในปี 2556),เวทีสตาร์วอร์สที่สลักหิมะเป็นรูปดาร์ธ เวเดอร์กับบริวารอย่างอลังการ ที่ในยามค่ำคืนมีการแสดงเสียง สี เสียง เป็นสีสันประกอบคู่ไปกับเวที, เวทีน้ำแข็งที่แกะสลักเป็นรูปปราสาทแบบจีนประดับแสงสีอย่างสวยงาม รวมไปถึงสไลเดอร์ในรางหิมะที่เด็กๆชื่นชอบกันมาก และกิจกรรมการละเล่นทางหิมะ รวมถึงมีการโชว์ไอเดียเด็ดๆที่เกี่ยวพันกับหิมะต่างๆอีกหลากหลาย

นอกจากนี้ในเทศกาลหิมะซัปโปโรปีนี้ยังมีอีกกิจกรรมเด่น(ดังเช่นทุกปี)ที่มีคนสนใจกันมากนั่นก็คือ “การแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ”(International Snow Sculpture) ซึ่งได้มีการจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517(ค.ศ.1974) โดยทาง“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)” ได้ส่งทีมนักแกะสลักหิมะไทยเข้าร่วมแข่งขันเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534(ค.ศ.1991) และได้ส่งเข้าร่วมเรื่อยมา รวมครั้งนี้(ปี 2558)เป็นครั้งที่ 19 แล้ว
สำหรับในปีนี้ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ได้ส่งทีมนักแกะสลักหิมะไทยมือฉมัง (1 ทีมมี 3 คน) ประกอบด้วย 1.นายกุศล(พี่ตู่) บุญกอบส่งเสริม จากโรงแรมแชง-กรีล่า 2.นายอำนวยศักดิ์(พี่เซ็ง) ศรีสุข จากโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ และ 3.นายกฤษณะ(พี่เจี๊ยบ) วงศ์เทศ นักแกะสลักอิสระ เพื่อเข้าร่วมประชันฝีมือกับยอดนักแกะสลักหิมะจากประเทศอื่นๆอีก 11 ทีม(รวมทีมไทยเป็น 12 ทีม) ได้แก่ 1.ทีมออสเตรเลีย 2.ทีมฟินแลนด์ 3.ทีมฮาวาย สหรัฐอเมริกา 4.ทีมอินโดนีเซีย 5.ทีมอิตาลี 6. ทีมเกาหลี 7.ทีมมาเลเซีย 8.ทีมนิวซีแลนด์ 9.ทีมโปแลนด์ 10.ทีมพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา 11.ทีมสิงคโปร์ และ 12.ทีมไทย

ตุ๊ก ตุ๊ก - ไทยแลนด์
การแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติซัปโปโรปีนี้ กำหนดให้ทีมนักแกะหิมะสร้างสรรค์ผลงานกัน 3 วัน ได้แก่ วันที่ 5,6 ก.พ. เวลา 9.00 น.-21.00 น. และวันที่ 7 ก.พ. เวลา 9.00 น.-22.00 น. แล้วจึงมีการตัดสินประกาศผลการแข่งขันกันในเช้าวันที่ 8 ก.พ. เวลาประมาณ 10.30 น.
ทั้งนี้ในการแข่งขันทางทีมผู้จัดได้เตรียมหิมะเป็นก้อนลูกบาศก์ขนาด 3x3x3 เมตร เอาไว้ให้สำหรับแต่ละทีม พร้อมด้วยอุปกรณ์แกะสลักหิมะแบบดั้งเดิม(โดยแต่ละทีมสามารถนำอุปกรณ์เสริมมาช่วยในการแกะสลักได้แต่ต้องเป็นอุปกรณ์แบบดั้งเดิม ไม่ใช้ไฟฟ้าและเครื่องมือดัดแปลงต่างๆ)

นอกจากนี้ก็ยังมีกฎกติกาอื่นๆอีกอย่างเช่น ไม่อนุญาตให้ใช้แสงหรือสีใดๆตกแต่งชิ้นงาน ไม่อนุญาตให้นำหิมะจากนอกพื้นที่แท่นแกะสลักของตนเองมาซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดแตกหัก รวมถึงกำหนดให้ผู้แกะสลักต้องใช้ประสบการณ์ของตัวเองเพียวๆมาสร้างสรรค์ผลงาน โดยไม่สามารถปรึกษาบุคคลภายนอกหรือกรรมการได้ ซึ่งนักแกะจำเป็นจะต้องทราบถึงสภาพอากาศในแต่ละวันที่ลงมือปฏิบัติงาน เพื่อได้วางแผนการทำงาน การแกะสลัก และแก้ปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งก่อนการแข่งขันแต่ละทีมจะต้องส่งคอนเซ็ปต์ แนวคิด ของผลงานให้กับทีมผู้จัด พร้อมกับมีแบบร่างๆเป็นโมเดลเล็กๆวางอยู่หน้าก้อนหิมะที่ใช้แกะสลัก เพื่อเป็นกำหนดเป็นแนวทางคร่าวๆของผู้เข้าร่วมแข่งขัน

งานนี้นอกจากนักแกะสลักจะต้องมีการกำหนดแผนการแกะสลักมาเป็นอย่างดี รู้ว่าตรงไหนควรแกะก่อนแกะหลังแล้ว ยังต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์เป็นสำคัญอีกด้วย เพราะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ไซต์งานแบบด้นสด แก้แบบกันสดๆนั้นถือว่ามีความสำคัญมากทีเดียว
โดยในปีนี้ ททท.ได้ร่วมกับทีมนักแกะสลักไทยส่งผลงานชุด “ตุ๊ก ตุ๊ก” (The Ubiquitous Tuk Tuk) เข้าร่วมการแข่งขันภายใต้แนวคิดว่า รถ“ตุ๊กตุ๊ก”เป็นยานพาหนะที่สื่อถึงความเป็นไทยที่ชาวต่างชาติจำนวนมากเห็นแล้วเข้าใจง่าย ซึ่งนี่ถือหนึ่งเป็นการเผยแพร่วิถีไทยให้ชาวโลกรับรู้อีกช่องทางหนึ่ง

ทีมไทย แชมป์หลายสมัย
ครั้นเมื่อการแข่งขันแกะสลักเริ่มต้นขึ้น นักแกะสลักแต่ละทีมต่างมุ่งมั่งสร้างสรรค์งานของตัวเองตามสไตล์ถนัดของแต่ละทีม แต่ละคน โดยสำหรับทีมนำแกะหิมะของไทยนั้นต้องถือว่าเป็นเจ้าแห่งรางวัลในการแกะสลักหิมะของงานนี้โดยแท้ เพราะที่ผ่านมาทีมไทยได้ไปคว้าแชมป์กวาดรางวัลแกะสลักหิมะในการแข่งขันเทศกาลหิมะนานาชาติซัปโปโรมาแล้วหลายสมัยด้วยกัน
โดยข้อมูลจากทาง ททท. ได้ระบุว่า ที่ผ่านมาทีมจากประเทศไทยได้รับรางวัลชนะเลิศ(Grand Champion) ในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติซัปโปโรรวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง ได้แก่ ในปี พ.ศ. 2543(ค.ศ. 2000), พ.ศ.(2551-2553(ค.ศ.2008-2010) ซึ่งมีความพิเศษตรงที่ได้ใน 3 ปีนี้ ทีมไทยสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาครองได้ 3 สมัยติด นับเป็นครั้งแรกที่ทีมนักแกะสามารถทำแฮตทริคคว้าแชมป์มาครองได้ติดต่อกันถึง 3 ครั้ง

จากนั้นทีมไทยก็เว้นว่างการคว้าแชมป์ไปพักหนึ่งก่อนจะมาได้แชมป์อีกครั้งเป็นสมัยที่ 5 ในการแข่งขันปี พ.ศ.2556 ส่วนเมื่อปีที่แล้ว 2557 เราได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 มาครอง ซึ่งรางวัลประเภทรองชนะเลิศอันดับต่างๆนี่เราก็ได้มาครองอีกหลายสมัยเช่นกัน
อนึ่งจากการที่ทีมนักแกะหิมะชาวไทยสามารถคว้ารางวัลมาได้หลายต่อหลายครั้งนั้น ยิ่งทำให้ผู้เข้าร่วมงานจำนวนมากสนใจที่จะรู้จักประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และยิ่งประเทศไทยไม่มีหิมะ แต่สามารถคว้าแชมป์แกะสลักหิมะ ชนะประเทศที่มีหิมะมาได้มากหลาย จึงมีคนสนใจว่า แต่ละปีทีมไทยจะแกะสลักเป็นรูปอะไร

และด้วยรางวัลบวกกับชื่อเสียงที่สั่งสมมาทำให้ทีมนักแกะชาวไทยเรามีแฟนพันธุ์แท้เป็นกองเชียร์ชาวญี่ปุ่นที่ตามมาร่วมเชียร์ ร่วมลุ้นกันทุกปีเลยทีเดียว โดยสำหรับปีนี้ถือว่าเป็นพิเศษหน่อย เมื่อสถานีโทรทัศน์ชื่อดังของญี่ปุ่นอย่าง NHK ได้เลือกทำสารคดีทีมนักแกะหิมะชาวไทย ที่มีการเกาะติดกันตั้งแต่ที่เมืองไทยก่อนที่จะไปลงแข่งขันกันในสนามจริงที่ซัปโปโร ซึ่งเหมือนทาง NHK เก็งไว้ว่ายังไงปีนี้ทีมไทยน่าจะมีรางวัลใดรางวัลหนึ่งติดมือกลับไปอีกปีเหมือนเช่นหลายๆปีที่ผ่านมา

ตุ๊กกะตุ สุโค่ย
สำหรับการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติในปีนี้ ผมมีโอกาสได้ไปเที่ยวซัปโปโรและได้ไปร่วมชม เชียร์ และร่วมลุ้นทีมนักแกะสลักชาวไทยให้สามารถคว้าแชมป์มาครองได้อีกปี ซึ่งตลอดช่วงการ(แกะสลัก)แข่งขัน ที่โซนทีมนักแกะชาวไทยนี่ต้องบอกว่าหัวกะไดไม่แห้งกันเลยทีเดียว เพราะมีกองเชียร์แวะเวียนมาชื่นชมกันไม่ได้ขาด แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ไปเที่ยวฮอกไกโด ซัปโปโร ในช่วงเทศกาลหิมะ ยังไงๆก็ตั้งแวะไปชมและเชียร์ทีมไทยกันหน่อย

ส่วนอีกหนึ่งกองเชียร์ที่ผมเห็นเยอะเป็นพิเศษก็คือกองเชียร์ชาวญี่ปุ่นที่แวะเวียนมาถ่ายรูปให้กำลังใจทีมนักแข่งไทยกันไม่ได้ขาด หลายคนเป็นแฟนพันธุ์ทีมนักแกะสลักไทยที่เดินทางมาเชียร์ให้กำลังใจกันอย่างต่อเนื่องทุกปี
ขณะที่ชาวญี่ปุ่นหลายคนแม้เป็นกองเชียร์ขาจรแต่เมื่อมาเห็นฝีมือการแกะหิมะของไทยแล้ว พวกเขาก็ซูฮก ชื่นชอบ โดยชาวญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่จะนิยมเรียกรถตุ๊ก ตุ๊ก ของบ้านเรา ว่า “ตุ๊กกะตุ” ซึ่ง
ผมได้ยินชาวญี่ปุ่นหลายๆคนเมื่อมาเห็นนักแกะหิมะของเราโชว์ฝีมือขั้นเทพ สร้างสรรค์ผลงานรถตุ๊ก ตุ๊ก แล้วเสร็จออกมาได้อย่างเนี้ยบ ประณีต และสื่อได้ถึงอารมณ์ พวกเขาหลายคนต่างอุทานอย่างชื่นชมออกมาว่า
“ตุ๊กกะตุ สุโค่ย” !?! (ตุ๊ก ตุ๊ก สุดยอด)

ตุ๊ก ตุ๊ก นำไทยคว้าแชมป์อีกครั้ง
ครับสำหรับการแข่งขันแกะหิมะครั้งนี้ ถ้ามีรางวัลโหวตจากกองเชียร์ เราได้แน่นอน เพราะทั้งจากกองเชียร์ชาวไทยที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นกันเพียบก็ยังมีกองเชียร์ชาวญี่ปุ่นที่คอยเชียร์ชาวไทยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ประทานโทษ!!! งานนี้ไม่มีรางวัลกองเชียร์ นั่นจึงทำให้แต่ละชาติ แต่ละทีม ต้องมาลุ้นกันในวันตัดสินและประกาศผลในช่วงเช้า(ราวๆ 10.30 น.) ของวันที่ 8 ก.พ. ที่ตัวผมมีโอกาสได้ไปร่วมงานเทศกาลหิมะซัปโปโรและไปร่วมลุ้นทีมไทยคว้ารางวัลในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย
ครั้นเมื่อถึงเวลาวงโยธวาธิตทหารเล่นดนตรีเบิกฤกษ์ แต่ละทีมที่เข้าแข่งขันเดินขึ้นไปยืนบนเวที แล้วพิธีกรก็ค่อยๆ ประกาศรางวัล 5 อันดับไล่เรียงไปจากอันดับ 5 อิตาลี อันดับ 4 โปแลนด์ อันดับ 3 เกาหลี จากนั้นพิธีกรทิ้งช่วงไปพักหนึ่ง เพื่อประกาศรางวัลอันดับ 2 แล้วต่อด้วยรางวัลอันดับ 1 คือ แกรนด์แชมป์เปี้ยน โดยทีมอันดับ 2 ได้แก่ ทีมฟินแลนด์

ส่วนอันดับหนึ่งเว้นช่วงให้กองเชียร์ลุ้นกัน ซึ่งงานนี้ต้องขอบอกว่าผมลุ้นระทึกจริงๆ เพราะถ้าทีมอื่นได้ ทีมไทยก็จะไม่ได้รางวัลใดๆติดมือกลับไปเลย แต่สุดท้ายพิธีกรก็ประกาศว่า ทีมที่ชนะเลิศคือ “ไทยแลนด์”
เท่านั้นแหละกองเชียร์ไทยที่มีอยู่จำนวนหนึ่งเฮกันลั่นกับรางวัลแชมป์แกะสลักหิมะที่เราได้มาครองอีกหนึ่งปี

เมืองไทยไม่มีหิมะ แต่ทีมไทยคว้าแชมป์แกะหิมะหลายสมัย
“ไทยเจ๋ง!!! คว้าแชมป์แกะสลักหิมะที่ญี่ปุ่น”
พาดหัวข่าวจากเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์(และสำนักข่าวอื่นๆที่มีทิศทางไปในแนวเดียวกัน) หลังการประกาศผลการแข่งขันได้ไม่นาน ซึ่งในปีนี้ทีมนักแกะสลักไทยสามารถคว้าชัยเป็นสมัยที่ 6 เข้าไปแล้ว
อย่างไรก็ดีกว่าจะมาถึงวันนี้ของทีมนักแกะสลัก พวกเขาต้องฟันฝ่าอุปสรรคมาไม่น้อย โดยหลายปีมาแล้วก่อนที่จะมาลงมือแกะหิมะ พี่ๆนักแกะยามอยู่เมืองไทย พวกเขาเคยแต่แกะน้ำแข็ง แกะโฟม แต่เมื่อได้ถูกส่งให้มาแกะหิมะก็ต้องเรียนรู้กันอย่างหนัก ซึ่งพวกเขาทั้ง 3 คน ก่อนมาแข่งขันที่ญี่ปุ่นไม่เคยซ้อมแกะหิมะที่เมืองไทยกันแต่อย่างใด เมื่อทำแบบร่าง(โมเดล)ก็มาเทียบสเกลแกะกันสดๆ แก้ปัญหากันสดๆที่หน้าไซต์งาน แบบถ้าแกะพลาดชิ้นงานก็อาจจะถึงกาล“จบเห่”ได้

“ก่อนมาแกะหิมะ คิดว่าแกะหิมะ คงคล้ายแกะสลักทราย แต่ว่ามันไม่ใช่ หิมะก็มีรูปแบบของหิมะ มีเนื้อ ผิว และลักษณะเฉพาะตัว เมื่อเราได้เรียนรู้มากขึ้นๆในแต่ละปี ก็ทำให้ปีหลังๆเราแกะสลักได้แม่นยำขึ้น” พี่เซ็ง-อำนวยศักดิ์ บอกกับผม
สำหรับการเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาแกะหิมะของพวกพี่ทีมนักแกะในยุคแรกๆนั้น มีความยากลำบากมาก นอกจากเครื่องไม้เครื่องมือไม่พร้อมแล้ว ประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อนก็เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปรับตัว อีกทั้งในยุคสมัยนั้นชุดใส่ในสภาพพื้นที่หิมะไม่ได้แพร่หลายอย่างในปัจจุบัน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ ททท. ที่เคยติดตามคณะนี้มาร่วมแข่งขัน บอกกับผมว่าแรกๆที่พวกเขามาแข่งแกะหิมะที่ซัปโปโร บางคนถึงขนาดต้องยัดกระดาษหนังสือพิมพ์แน่นๆใส่ไว้ในรองเท้าเพื่อสู้กับสภาพอากาศที่หนาวเหน็บอย่างรุนแรง

แต่เมื่อทุกคนได้ร่วมมือกันทำงาน ได้เรียนรู้หิมะ เรียนรู้วิธีการแกะ พร้อมกับผ่านอุปสรรคและประสบการณ์อื่นๆอีกหลากหลายมา ทำให้พวกเขาแต่ละเจนสังเวียน อีกทั้งยังเป็นทีมเวิร์คที่ร่วมงานกันมาถึงกว่า 9 ปี(นอกจาก 3 คนนี้แล้วก็มีสมาชิกคนอื่นผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาตามแต่ภารกิจและวาระ)
“จะบอกว่าพวกเรามองตาแล้วรู้ใจ ก็ว่าได้นะ” พี่ตู่-กุศลบอกกับผม ก่อนเล่าต่อว่า ในการแกะสลักหิมะ ทุกคนสำคัญเท่ากันหมด และทุกจุดที่แกะสลักต่างก็มีความสำคัญ มีความสัมพันธ์กัน การแกะต้องมีการวางแผนลำดับการแกะมาให้ดี โดยของทีมไทยจะแกะขึ้นโครงหลักก่อน จากนั้นจึงแกะเป็นรูปร่างและเก็บรายละเอียดในขั้นตอนสุดท้าย

มาวันนี้แม้วันนี้แต่ละคนจะเจนสังเวียน แต่ในเรื่องอุปกรณ์เสริมที่ทางทีมผู้จัดอนุญาตให้นำมาเป็นตัวช่วย เราก็ยังสู้ประเทศที่มีหิมะไม่ได้ จะมีก็แต่ประสบการณ์กับปณิธานไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่หน้าไซต์งาน
“สำหรับสิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการแกะหิมะ คือ สภาพอากาศ ฝน และอุณหภูมิที่สูงขึ้น ที่ส่งผลต่อเนื้อของหิมะ ซึ่งปีนี้เราเจอหมด” พี่เจี๊ยบ-กฤษณะ เล่าให้ฟัง ก่อนที่ทางพี่ๆทีมนักแกะหิมะชาวไทยทั้งสาม จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
“ตั้งแต่เคยเข้าแข่งขันมาสภาพอากาศปีนี้เลวร้ายที่สุด”

เพราะไหนจะเจออุณหภูมิที่ไม่คงที่ เพิ่มสูงขึ้นในบางวันที่ส่งผลต่อการจับตัวของหิมะแล้ว ในช่วงคืนก่อนการตัดสิน ยังมีฝนตก ลมแรง ทำให้ชิ้นงานแกะสลักของหิมะหลายๆทีมที่ทำโครงสร้างไม่แข้งแรงต้องพังครืนลง ขณะที่ของไทยเรานั้นก็ต้องใช้ประสบการณ์แก้ไขปรับเปลี่ยนแบบกันสดๆหน้าไซต์งานแบบไม่ให้เสียคอนเซ็ปต์
และสุดท้ายเราก็ทำได้ สามารถคว้าแชมป์งานแกะสลักหิมะนานาชาติมาครองได้อีกปี ซึ่งไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อในจำนวน 5 ประเทศที่คว้ารางวัลแกะสลักหิมะนานาชาติเมืองซัปโปโรมาครองในปีนี้
ไทยเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีหิมะ!!!
ผมขอสดุดีแด่พี่ๆนักแกะสลักหิมะทั้งสามและทีมงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยอีกครั้ง
ด้วยจิตคารวะ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
แม้ประเทศไทยจะไม่มีหิมะตก แต่ทีมแกะสลักหิมะชาวไทยก็สุดยอด สามารถไปสร้างชื่อคว้าแชมป์ในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ ในงานเทศกาลหิมะซัปโปโร เมืองฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น มาได้หลายต่อหลายครั้ง
และนี่ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทีมไทยยังคงเจ๋ง สามารถคว้าแชมป์แกะสลักนานาชาติในงานเทศกาลหิมะซัปโปโรครั้งล่าสุดมาครองได้อีกครั้ง โดยนอกจากจะสร้างชื่อให้กับประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการนำวิถีไทย เอกลักษณ์ไทย ไปเผยแพร่ให้ชาวโลกรับรู้อีกด้วย
เทศกาลหิมะเมืองซัปโปโร ฮอกไกโด
ฮอกไกโด เป็นเกาะใหญ่อันดับ 2 ของ 4 เกาะหลักในญี่ปุ่น(รองจากเกาะฮอนชู) แต่เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นและเป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของญี่ปุ่น ฮอกไกโดมีเมือง“ซัปโปโร” เป็นเมืองเอกหรือเมืองหลวง
ฮอกไกโดเป็นเมืองที่มีฤดูหนาวยาวนาน ตั้งแต่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม โดยหิมะจะเริ่มตกในช่วงปลายปี หากเป็นบนเขาบางปีจะตกตั้งแต่เดือนกันยายน ส่วนในเมืองหิมะจะตกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน และจะตกหนักที่สุดในเดือนมกราคม ส่งผลให้เกิดหิมะทับถมกันอย่างหนาและมากในเดือนกุมภาพันธ์
ช่วงหน้าหนาวที่ฮอกไกโดแม้จะมีอากาศหนาวเหน็บมีอุณหภูมิติดลบอยู่เป็นนิจ แต่ฤดูหนาวที่ฮอกไกโดก็อวลไปด้วยเสน่ห์จากหิมะที่ตกย้อมเมืองดูขาวโพลนไปทั่ว นั่นจึงทำให้เมืองฮอกไกโดได้จัดเทศกาลหิมะและน้ำแข็งขึ้นมาในหลายแห่ง เพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้คนมาเที่ยวฮอกไกโดยามหน้าหนาวมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เทศกาลทางเดินหิมะประดับไฟโอตารุ เทศกาลเสาน้ำแข็งทะเลสาบชิโกะสึ ชิโตเสะ เป็นต้น
นอกจากนี้ก็ยังมี“เทศกาลหิมะซัปโปโร” ที่ถือเป็นไฮไลท์ของงานเทศกาลหิมะในฮอกไกโด เป็นงานเทศกาลหิมะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และเลื่องชื่อเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดยงานเทศกาลหิมะในซัปโปโรมีอยู่ 3 จุดหลักๆ คือ เทศกาลหิมะสึโดเมะ เทศกาลน้ำแข็งซูซูกิโนะ และจุดไฮไลท์สำคัญก็คืองานเทศกาลหิมะซัปโปโรที่จัดขึ้นที่สวน“โอโดริ” สวนสาธารณะสำคัญใจกลางเมือง
เทศกาลหิมะซัปโปโร(Sapporo Snow Festival) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2493(ค.ศ.1950) เมื่อกลุ่มเด็กนักเรียนมัธยมในเมืองนี้ได้นำหิมะจำนวนมากที่ทางเมืองซัปโปโรมาทิ้งรวมกันไว้ที่สวนสาธารณะโอโดริ มาสร้างเป็นรูปปั้นหิมะขึ้นที่กลางสวนโอโดริจำนวน 6 ชิ้น สร้างความสนใจให้กับชาวเมืองเป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้ยังได้เชิญชวนให้ชาวเมืองมาร่วมเล่นหิมะด้วยกัน
จากนั้นในปีถัดๆไปก็ได้มีการทำเช่นนี้อีก โดยสิ่งคาดไม่ถึงที่ตามมาก็คือกิจกรรมนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก มีคนมาเข้าร่วมงานกว่า 50,000 คน ทำให้ในปี พ.ศ. 2498(ค.ศ.1955) ได้มีการยกระดับให้กิจกรรมนี้เป็นเทศกาลหิมะประจำเมือง โดยมีหน่วยงานหลายภาคส่วนให้การส่งเสริมสนับสนุนในการปั้น แกะสลัก และสร้างประติมากรรมหิมะและน้ำแข็งขึ้นมา เกิดเป็นเทศกาลหิมะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และเป็นงานเทศกาลหิมะอันโด่งดังในอันดับต้นๆของโลก ที่แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติเดินทางมาไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน ซึ่งนักท่องเที่ยวบ้านเราชาวไทยก็นิยมไปเที่ยวชมงานนี้กันเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน
แข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ
เทศกาลหิมะซัปโปโรปีนี้(พ.ศ.2558)จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 66 โดยได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 5-11 ก.พ.ที่ผ่านมา
ภายในงานปีนี้นั้นโดดเด่นไปด้วย การสร้างสรรค์หิมะและน้ำแข็ง เป็นรูปปั้นและประติมากรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตุ๊กตาหิมะในรูปแบบตัวการ์ตูน แอนิเมชั่น ที่มีประดับทั่วไปอยู่มากหลาย เป็นที่ถ่ายรูปแสนเพลินสุดชิลล์ของนักท่องเที่ยว หรืองานตามเวทีหิมะต่างๆ เช่น เวทีใหญ่หรือเวทีกลางที่เปิดให้แต่ละประเทศเวียนกันเป็นเจ้าภาพของเวทีกลางในแต่ละปีโดยปีนี้เป็นของประเทศฟิลิปปินส์(ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพเวทีกลางหนล่าสุดในปี 2556),เวทีสตาร์วอร์สที่สลักหิมะเป็นรูปดาร์ธ เวเดอร์กับบริวารอย่างอลังการ ที่ในยามค่ำคืนมีการแสดงเสียง สี เสียง เป็นสีสันประกอบคู่ไปกับเวที, เวทีน้ำแข็งที่แกะสลักเป็นรูปปราสาทแบบจีนประดับแสงสีอย่างสวยงาม รวมไปถึงสไลเดอร์ในรางหิมะที่เด็กๆชื่นชอบกันมาก และกิจกรรมการละเล่นทางหิมะ รวมถึงมีการโชว์ไอเดียเด็ดๆที่เกี่ยวพันกับหิมะต่างๆอีกหลากหลาย
นอกจากนี้ในเทศกาลหิมะซัปโปโรปีนี้ยังมีอีกกิจกรรมเด่น(ดังเช่นทุกปี)ที่มีคนสนใจกันมากนั่นก็คือ “การแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ”(International Snow Sculpture) ซึ่งได้มีการจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517(ค.ศ.1974) โดยทาง“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)” ได้ส่งทีมนักแกะสลักหิมะไทยเข้าร่วมแข่งขันเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534(ค.ศ.1991) และได้ส่งเข้าร่วมเรื่อยมา รวมครั้งนี้(ปี 2558)เป็นครั้งที่ 19 แล้ว
สำหรับในปีนี้ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ได้ส่งทีมนักแกะสลักหิมะไทยมือฉมัง (1 ทีมมี 3 คน) ประกอบด้วย 1.นายกุศล(พี่ตู่) บุญกอบส่งเสริม จากโรงแรมแชง-กรีล่า 2.นายอำนวยศักดิ์(พี่เซ็ง) ศรีสุข จากโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ และ 3.นายกฤษณะ(พี่เจี๊ยบ) วงศ์เทศ นักแกะสลักอิสระ เพื่อเข้าร่วมประชันฝีมือกับยอดนักแกะสลักหิมะจากประเทศอื่นๆอีก 11 ทีม(รวมทีมไทยเป็น 12 ทีม) ได้แก่ 1.ทีมออสเตรเลีย 2.ทีมฟินแลนด์ 3.ทีมฮาวาย สหรัฐอเมริกา 4.ทีมอินโดนีเซีย 5.ทีมอิตาลี 6. ทีมเกาหลี 7.ทีมมาเลเซีย 8.ทีมนิวซีแลนด์ 9.ทีมโปแลนด์ 10.ทีมพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา 11.ทีมสิงคโปร์ และ 12.ทีมไทย
ตุ๊ก ตุ๊ก - ไทยแลนด์
การแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติซัปโปโรปีนี้ กำหนดให้ทีมนักแกะหิมะสร้างสรรค์ผลงานกัน 3 วัน ได้แก่ วันที่ 5,6 ก.พ. เวลา 9.00 น.-21.00 น. และวันที่ 7 ก.พ. เวลา 9.00 น.-22.00 น. แล้วจึงมีการตัดสินประกาศผลการแข่งขันกันในเช้าวันที่ 8 ก.พ. เวลาประมาณ 10.30 น.
ทั้งนี้ในการแข่งขันทางทีมผู้จัดได้เตรียมหิมะเป็นก้อนลูกบาศก์ขนาด 3x3x3 เมตร เอาไว้ให้สำหรับแต่ละทีม พร้อมด้วยอุปกรณ์แกะสลักหิมะแบบดั้งเดิม(โดยแต่ละทีมสามารถนำอุปกรณ์เสริมมาช่วยในการแกะสลักได้แต่ต้องเป็นอุปกรณ์แบบดั้งเดิม ไม่ใช้ไฟฟ้าและเครื่องมือดัดแปลงต่างๆ)
นอกจากนี้ก็ยังมีกฎกติกาอื่นๆอีกอย่างเช่น ไม่อนุญาตให้ใช้แสงหรือสีใดๆตกแต่งชิ้นงาน ไม่อนุญาตให้นำหิมะจากนอกพื้นที่แท่นแกะสลักของตนเองมาซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดแตกหัก รวมถึงกำหนดให้ผู้แกะสลักต้องใช้ประสบการณ์ของตัวเองเพียวๆมาสร้างสรรค์ผลงาน โดยไม่สามารถปรึกษาบุคคลภายนอกหรือกรรมการได้ ซึ่งนักแกะจำเป็นจะต้องทราบถึงสภาพอากาศในแต่ละวันที่ลงมือปฏิบัติงาน เพื่อได้วางแผนการทำงาน การแกะสลัก และแก้ปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งก่อนการแข่งขันแต่ละทีมจะต้องส่งคอนเซ็ปต์ แนวคิด ของผลงานให้กับทีมผู้จัด พร้อมกับมีแบบร่างๆเป็นโมเดลเล็กๆวางอยู่หน้าก้อนหิมะที่ใช้แกะสลัก เพื่อเป็นกำหนดเป็นแนวทางคร่าวๆของผู้เข้าร่วมแข่งขัน
งานนี้นอกจากนักแกะสลักจะต้องมีการกำหนดแผนการแกะสลักมาเป็นอย่างดี รู้ว่าตรงไหนควรแกะก่อนแกะหลังแล้ว ยังต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์เป็นสำคัญอีกด้วย เพราะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ไซต์งานแบบด้นสด แก้แบบกันสดๆนั้นถือว่ามีความสำคัญมากทีเดียว
โดยในปีนี้ ททท.ได้ร่วมกับทีมนักแกะสลักไทยส่งผลงานชุด “ตุ๊ก ตุ๊ก” (The Ubiquitous Tuk Tuk) เข้าร่วมการแข่งขันภายใต้แนวคิดว่า รถ“ตุ๊กตุ๊ก”เป็นยานพาหนะที่สื่อถึงความเป็นไทยที่ชาวต่างชาติจำนวนมากเห็นแล้วเข้าใจง่าย ซึ่งนี่ถือหนึ่งเป็นการเผยแพร่วิถีไทยให้ชาวโลกรับรู้อีกช่องทางหนึ่ง
ทีมไทย แชมป์หลายสมัย
ครั้นเมื่อการแข่งขันแกะสลักเริ่มต้นขึ้น นักแกะสลักแต่ละทีมต่างมุ่งมั่งสร้างสรรค์งานของตัวเองตามสไตล์ถนัดของแต่ละทีม แต่ละคน โดยสำหรับทีมนำแกะหิมะของไทยนั้นต้องถือว่าเป็นเจ้าแห่งรางวัลในการแกะสลักหิมะของงานนี้โดยแท้ เพราะที่ผ่านมาทีมไทยได้ไปคว้าแชมป์กวาดรางวัลแกะสลักหิมะในการแข่งขันเทศกาลหิมะนานาชาติซัปโปโรมาแล้วหลายสมัยด้วยกัน
โดยข้อมูลจากทาง ททท. ได้ระบุว่า ที่ผ่านมาทีมจากประเทศไทยได้รับรางวัลชนะเลิศ(Grand Champion) ในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติซัปโปโรรวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง ได้แก่ ในปี พ.ศ. 2543(ค.ศ. 2000), พ.ศ.(2551-2553(ค.ศ.2008-2010) ซึ่งมีความพิเศษตรงที่ได้ใน 3 ปีนี้ ทีมไทยสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาครองได้ 3 สมัยติด นับเป็นครั้งแรกที่ทีมนักแกะสามารถทำแฮตทริคคว้าแชมป์มาครองได้ติดต่อกันถึง 3 ครั้ง
จากนั้นทีมไทยก็เว้นว่างการคว้าแชมป์ไปพักหนึ่งก่อนจะมาได้แชมป์อีกครั้งเป็นสมัยที่ 5 ในการแข่งขันปี พ.ศ.2556 ส่วนเมื่อปีที่แล้ว 2557 เราได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 มาครอง ซึ่งรางวัลประเภทรองชนะเลิศอันดับต่างๆนี่เราก็ได้มาครองอีกหลายสมัยเช่นกัน
อนึ่งจากการที่ทีมนักแกะหิมะชาวไทยสามารถคว้ารางวัลมาได้หลายต่อหลายครั้งนั้น ยิ่งทำให้ผู้เข้าร่วมงานจำนวนมากสนใจที่จะรู้จักประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และยิ่งประเทศไทยไม่มีหิมะ แต่สามารถคว้าแชมป์แกะสลักหิมะ ชนะประเทศที่มีหิมะมาได้มากหลาย จึงมีคนสนใจว่า แต่ละปีทีมไทยจะแกะสลักเป็นรูปอะไร
และด้วยรางวัลบวกกับชื่อเสียงที่สั่งสมมาทำให้ทีมนักแกะชาวไทยเรามีแฟนพันธุ์แท้เป็นกองเชียร์ชาวญี่ปุ่นที่ตามมาร่วมเชียร์ ร่วมลุ้นกันทุกปีเลยทีเดียว โดยสำหรับปีนี้ถือว่าเป็นพิเศษหน่อย เมื่อสถานีโทรทัศน์ชื่อดังของญี่ปุ่นอย่าง NHK ได้เลือกทำสารคดีทีมนักแกะหิมะชาวไทย ที่มีการเกาะติดกันตั้งแต่ที่เมืองไทยก่อนที่จะไปลงแข่งขันกันในสนามจริงที่ซัปโปโร ซึ่งเหมือนทาง NHK เก็งไว้ว่ายังไงปีนี้ทีมไทยน่าจะมีรางวัลใดรางวัลหนึ่งติดมือกลับไปอีกปีเหมือนเช่นหลายๆปีที่ผ่านมา
ตุ๊กกะตุ สุโค่ย
สำหรับการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติในปีนี้ ผมมีโอกาสได้ไปเที่ยวซัปโปโรและได้ไปร่วมชม เชียร์ และร่วมลุ้นทีมนักแกะสลักชาวไทยให้สามารถคว้าแชมป์มาครองได้อีกปี ซึ่งตลอดช่วงการ(แกะสลัก)แข่งขัน ที่โซนทีมนักแกะชาวไทยนี่ต้องบอกว่าหัวกะไดไม่แห้งกันเลยทีเดียว เพราะมีกองเชียร์แวะเวียนมาชื่นชมกันไม่ได้ขาด แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ไปเที่ยวฮอกไกโด ซัปโปโร ในช่วงเทศกาลหิมะ ยังไงๆก็ตั้งแวะไปชมและเชียร์ทีมไทยกันหน่อย
ส่วนอีกหนึ่งกองเชียร์ที่ผมเห็นเยอะเป็นพิเศษก็คือกองเชียร์ชาวญี่ปุ่นที่แวะเวียนมาถ่ายรูปให้กำลังใจทีมนักแข่งไทยกันไม่ได้ขาด หลายคนเป็นแฟนพันธุ์ทีมนักแกะสลักไทยที่เดินทางมาเชียร์ให้กำลังใจกันอย่างต่อเนื่องทุกปี
ขณะที่ชาวญี่ปุ่นหลายคนแม้เป็นกองเชียร์ขาจรแต่เมื่อมาเห็นฝีมือการแกะหิมะของไทยแล้ว พวกเขาก็ซูฮก ชื่นชอบ โดยชาวญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่จะนิยมเรียกรถตุ๊ก ตุ๊ก ของบ้านเรา ว่า “ตุ๊กกะตุ” ซึ่ง
ผมได้ยินชาวญี่ปุ่นหลายๆคนเมื่อมาเห็นนักแกะหิมะของเราโชว์ฝีมือขั้นเทพ สร้างสรรค์ผลงานรถตุ๊ก ตุ๊ก แล้วเสร็จออกมาได้อย่างเนี้ยบ ประณีต และสื่อได้ถึงอารมณ์ พวกเขาหลายคนต่างอุทานอย่างชื่นชมออกมาว่า
“ตุ๊กกะตุ สุโค่ย” !?! (ตุ๊ก ตุ๊ก สุดยอด)
ตุ๊ก ตุ๊ก นำไทยคว้าแชมป์อีกครั้ง
ครับสำหรับการแข่งขันแกะหิมะครั้งนี้ ถ้ามีรางวัลโหวตจากกองเชียร์ เราได้แน่นอน เพราะทั้งจากกองเชียร์ชาวไทยที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นกันเพียบก็ยังมีกองเชียร์ชาวญี่ปุ่นที่คอยเชียร์ชาวไทยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ประทานโทษ!!! งานนี้ไม่มีรางวัลกองเชียร์ นั่นจึงทำให้แต่ละชาติ แต่ละทีม ต้องมาลุ้นกันในวันตัดสินและประกาศผลในช่วงเช้า(ราวๆ 10.30 น.) ของวันที่ 8 ก.พ. ที่ตัวผมมีโอกาสได้ไปร่วมงานเทศกาลหิมะซัปโปโรและไปร่วมลุ้นทีมไทยคว้ารางวัลในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย
ครั้นเมื่อถึงเวลาวงโยธวาธิตทหารเล่นดนตรีเบิกฤกษ์ แต่ละทีมที่เข้าแข่งขันเดินขึ้นไปยืนบนเวที แล้วพิธีกรก็ค่อยๆ ประกาศรางวัล 5 อันดับไล่เรียงไปจากอันดับ 5 อิตาลี อันดับ 4 โปแลนด์ อันดับ 3 เกาหลี จากนั้นพิธีกรทิ้งช่วงไปพักหนึ่ง เพื่อประกาศรางวัลอันดับ 2 แล้วต่อด้วยรางวัลอันดับ 1 คือ แกรนด์แชมป์เปี้ยน โดยทีมอันดับ 2 ได้แก่ ทีมฟินแลนด์
ส่วนอันดับหนึ่งเว้นช่วงให้กองเชียร์ลุ้นกัน ซึ่งงานนี้ต้องขอบอกว่าผมลุ้นระทึกจริงๆ เพราะถ้าทีมอื่นได้ ทีมไทยก็จะไม่ได้รางวัลใดๆติดมือกลับไปเลย แต่สุดท้ายพิธีกรก็ประกาศว่า ทีมที่ชนะเลิศคือ “ไทยแลนด์”
เท่านั้นแหละกองเชียร์ไทยที่มีอยู่จำนวนหนึ่งเฮกันลั่นกับรางวัลแชมป์แกะสลักหิมะที่เราได้มาครองอีกหนึ่งปี
เมืองไทยไม่มีหิมะ แต่ทีมไทยคว้าแชมป์แกะหิมะหลายสมัย
“ไทยเจ๋ง!!! คว้าแชมป์แกะสลักหิมะที่ญี่ปุ่น”
พาดหัวข่าวจากเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์(และสำนักข่าวอื่นๆที่มีทิศทางไปในแนวเดียวกัน) หลังการประกาศผลการแข่งขันได้ไม่นาน ซึ่งในปีนี้ทีมนักแกะสลักไทยสามารถคว้าชัยเป็นสมัยที่ 6 เข้าไปแล้ว
อย่างไรก็ดีกว่าจะมาถึงวันนี้ของทีมนักแกะสลัก พวกเขาต้องฟันฝ่าอุปสรรคมาไม่น้อย โดยหลายปีมาแล้วก่อนที่จะมาลงมือแกะหิมะ พี่ๆนักแกะยามอยู่เมืองไทย พวกเขาเคยแต่แกะน้ำแข็ง แกะโฟม แต่เมื่อได้ถูกส่งให้มาแกะหิมะก็ต้องเรียนรู้กันอย่างหนัก ซึ่งพวกเขาทั้ง 3 คน ก่อนมาแข่งขันที่ญี่ปุ่นไม่เคยซ้อมแกะหิมะที่เมืองไทยกันแต่อย่างใด เมื่อทำแบบร่าง(โมเดล)ก็มาเทียบสเกลแกะกันสดๆ แก้ปัญหากันสดๆที่หน้าไซต์งาน แบบถ้าแกะพลาดชิ้นงานก็อาจจะถึงกาล“จบเห่”ได้
“ก่อนมาแกะหิมะ คิดว่าแกะหิมะ คงคล้ายแกะสลักทราย แต่ว่ามันไม่ใช่ หิมะก็มีรูปแบบของหิมะ มีเนื้อ ผิว และลักษณะเฉพาะตัว เมื่อเราได้เรียนรู้มากขึ้นๆในแต่ละปี ก็ทำให้ปีหลังๆเราแกะสลักได้แม่นยำขึ้น” พี่เซ็ง-อำนวยศักดิ์ บอกกับผม
สำหรับการเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาแกะหิมะของพวกพี่ทีมนักแกะในยุคแรกๆนั้น มีความยากลำบากมาก นอกจากเครื่องไม้เครื่องมือไม่พร้อมแล้ว ประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อนก็เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปรับตัว อีกทั้งในยุคสมัยนั้นชุดใส่ในสภาพพื้นที่หิมะไม่ได้แพร่หลายอย่างในปัจจุบัน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ ททท. ที่เคยติดตามคณะนี้มาร่วมแข่งขัน บอกกับผมว่าแรกๆที่พวกเขามาแข่งแกะหิมะที่ซัปโปโร บางคนถึงขนาดต้องยัดกระดาษหนังสือพิมพ์แน่นๆใส่ไว้ในรองเท้าเพื่อสู้กับสภาพอากาศที่หนาวเหน็บอย่างรุนแรง
แต่เมื่อทุกคนได้ร่วมมือกันทำงาน ได้เรียนรู้หิมะ เรียนรู้วิธีการแกะ พร้อมกับผ่านอุปสรรคและประสบการณ์อื่นๆอีกหลากหลายมา ทำให้พวกเขาแต่ละเจนสังเวียน อีกทั้งยังเป็นทีมเวิร์คที่ร่วมงานกันมาถึงกว่า 9 ปี(นอกจาก 3 คนนี้แล้วก็มีสมาชิกคนอื่นผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาตามแต่ภารกิจและวาระ)
“จะบอกว่าพวกเรามองตาแล้วรู้ใจ ก็ว่าได้นะ” พี่ตู่-กุศลบอกกับผม ก่อนเล่าต่อว่า ในการแกะสลักหิมะ ทุกคนสำคัญเท่ากันหมด และทุกจุดที่แกะสลักต่างก็มีความสำคัญ มีความสัมพันธ์กัน การแกะต้องมีการวางแผนลำดับการแกะมาให้ดี โดยของทีมไทยจะแกะขึ้นโครงหลักก่อน จากนั้นจึงแกะเป็นรูปร่างและเก็บรายละเอียดในขั้นตอนสุดท้าย
มาวันนี้แม้วันนี้แต่ละคนจะเจนสังเวียน แต่ในเรื่องอุปกรณ์เสริมที่ทางทีมผู้จัดอนุญาตให้นำมาเป็นตัวช่วย เราก็ยังสู้ประเทศที่มีหิมะไม่ได้ จะมีก็แต่ประสบการณ์กับปณิธานไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่หน้าไซต์งาน
“สำหรับสิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการแกะหิมะ คือ สภาพอากาศ ฝน และอุณหภูมิที่สูงขึ้น ที่ส่งผลต่อเนื้อของหิมะ ซึ่งปีนี้เราเจอหมด” พี่เจี๊ยบ-กฤษณะ เล่าให้ฟัง ก่อนที่ทางพี่ๆทีมนักแกะหิมะชาวไทยทั้งสาม จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
“ตั้งแต่เคยเข้าแข่งขันมาสภาพอากาศปีนี้เลวร้ายที่สุด”
เพราะไหนจะเจออุณหภูมิที่ไม่คงที่ เพิ่มสูงขึ้นในบางวันที่ส่งผลต่อการจับตัวของหิมะแล้ว ในช่วงคืนก่อนการตัดสิน ยังมีฝนตก ลมแรง ทำให้ชิ้นงานแกะสลักของหิมะหลายๆทีมที่ทำโครงสร้างไม่แข้งแรงต้องพังครืนลง ขณะที่ของไทยเรานั้นก็ต้องใช้ประสบการณ์แก้ไขปรับเปลี่ยนแบบกันสดๆหน้าไซต์งานแบบไม่ให้เสียคอนเซ็ปต์
และสุดท้ายเราก็ทำได้ สามารถคว้าแชมป์งานแกะสลักหิมะนานาชาติมาครองได้อีกปี ซึ่งไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อในจำนวน 5 ประเทศที่คว้ารางวัลแกะสลักหิมะนานาชาติเมืองซัปโปโรมาครองในปีนี้
ไทยเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีหิมะ!!!
ผมขอสดุดีแด่พี่ๆนักแกะสลักหิมะทั้งสามและทีมงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยอีกครั้ง
ด้วยจิตคารวะ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com