โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)

กิจกรรมการท่องเที่ยวด้วยการ“ปั่นจักรยาน” จัดเป็นเทรนด์ท่องเที่ยวที่กำลังมาแรง
การปั่นจักรยานเที่ยว นอกจากจะเป็นการออกกำลังกายและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังประหยัดพลังงาน ลดมลพิษ และสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างใกล้ชิด
ด้วยเหตุที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ภูมิภาค ภาคใต้ และททท.สำนักงานชุมพร จึงได้จัดกิจกรรม“ปั่นสองน่อง ท่องสองประเทศ” จากจังหวัดชุมพร-ระนอง ปั่นข้ามประเทศไปสู่พม่า(เมียนมาร์)ที่จังหวัดเกาะสองและเมืองมะลิวัลย์ขึ้น ซึ่งนี่ถือเป็นครั้งแรกของการจัดปั่นเป็นหมู่คณะใหญ่อย่างเป็นทางการ นับเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ที่จะมาถึงในปี 2558 นี้

วันแรก ชุมพร-ระนอง
กิจกรรมปั่นสองน่อง ท่องสองประเทศ มีนักปั่นมาเข้าร่วมโครงการราว 300 คน นักปั่นส่วนใหญ่จัดเป็นประเภท สว. สูงวัย แต่เรื่องจิตใจนั้น กล้าแกร่ง ห้าวหาญ ที่สำคัญคือหลายคนในคณะนี้มีจุดยืนชัดเจนว่าไม่เอารัฐบาลทรราช ต้องการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง โดยพวกเขานำพร็อพ อย่าง เสื้อ ธงชาติ นกหวีด มาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า“กูไม่กลัวมึง”
สำหรับจุดเริ่มต้นออกสตาร์ทนั้นคือที่ “พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชุมพร” ในช่วงเวลาเช้าตรู่ประมาณ 6 โมงเช้าของวันที่ 25 ม.ค. 57 ซึ่งมีนางสาว“เอื้อมพร จิรกาลวิศัลย์” ผู้อำนวยการกองตลาดภาคใต้ ททท. มาร่วมกล่าวในพิธีเปิดอันเรียบง่าย

จากนั้นขบวนชาวจักรยานก็ค่อยๆทยอยกันปั่นออกจากชุมพร ผ่านสะพานต่างระดับแยกปฐมพร มุ่งสู่ จ.ระนอง ก่อนไปแวะพักชมศิลาสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ที่ อ.กระบุรี เมื่อหายเหนื่อยกันแล้วขบวนจักรยานปั่นต่อไปบนถนนที่คดเคี้ยวขึ้นลง ผ่านบ้านทับหลี ดินแดนแห่งซาลาเปาชื่อดัง ก่อนไปหยุดกินข้าวเที่ยงที่ “อันดามันเกตเวย์” ที่เป็นจุดพักรถ จุดชมวิว ตั้งอยู่ที่บ้านทับหลี อ.กระบุรี ก่อนถึง“คอคอดกระ”ส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายูประมาณ 50 เมตร
อันดามันเกตเวย์ มีจุดชมวิวสร้างเป็นประภาคารสูง 7 ชั้น ให้เดินขึ้นบันไดเวียนไปชมวิวของแม่น้ำกระบุรี และทิวทัศน์เมืองมะรังฝั่งพม่า
นับเป็นจุดชมวิวใหม่ที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของระนอง ที่นักปั่นหลายๆคนบอกว่าการเดินขึ้นไปชมวิวบนยอดประภาคารนั้นเหนื่อยกว่าการปั่นจักรยานเสียอีก

อิ่มหนำจากข้าวกลางวันกันแล้ว พวกเราชักภาพหมู่ร่วมกันที่นี่ จากนั้นเหล่าชาวจักรยานออกปั่นตะลุยต่อไปเข้าสู่ อ.ละอุ่น แล้วไปแวะพักเบรกอีกครั้งบริเวณหัวรถจักรโบราณ ให้นักปั่นดื่มน้ำ กินขนม และแตงโมหวานๆเติมพลัง ก่อนเดินหน้าปั่นสองน่องเข้าสู่ตัวเมืองระนอง แวะ“น้ำตกปุญญบาล” ผ่านบ่อน้ำแร่ร้อน“รักษะวาริน” แล้วเข้าเมืองไปสัมผัสกับเส้นทางเสด็จประพาสต้นของรัฐกาลที่ 5 โดยมีจุดแวะพักสำคัญอยู่ที่“พระราชวังรัตนรังสรรค์”(จำลอง) ที่เป็นพระราชวังไม้อันสวยงาม หนึ่งในสัญลักษณ์ของจังหวัดระนอง

แล้วจุดสิ้นสุดของวันนี้ก็มาถึงที่สนามกีฬากลางจังหวัดระนอง ซึ่งสิริรวมเส้นทางแล้วประมาณ 120 กม. แต่ภารกิจยังไม่หมด เพราะพรุ่งนี้ยังมีไฮไลท์กับการปั่นข้ามประเทศสู่พม่า เพราะฉะนั้นนักปั่นแต่ละคนควรรีบเข้านอนแต่หัววันเก็บแรงไว้ลุยต่อเป็นดีที่สุด
วันสุดท้าย เกาะสอง-มะลิวัลย์
เช้าวันที่ 26 ม.ค. 57 ชาวคณะนักปั่นตางตื่นกันแต่เช้าประมาณตี 5 เหมือนเช่นเมื่อวาน จากนั้นก็พากันปั่นสู่ท่าเรือสะพานปลา ปากน้ำระนอง ที่ยามเช้าอย่างนี้ตลาดปลาริมท่าเรือคึกคักเป็นพิเศษกับชาวเรือ พ่อค้า-แม่ค้า ที่มาทำการซื้อขายปลากัน

จากท่าเรือ เราต้องรำรถจักรยานลำเลียงลงเรือ พร้อมกินมื้อเช้าตุนไปเลย ช่วงนี้ลำเลียงจักรยานและผ่านตม.เมืองไทยออกนอกประเทศ เหมือนกับการจับปูใส่กระด้งหน่อยเพราะคนเยอะ มากคนมากความ แต่สุดท้ายก็ผ่านไปด้วยดี ทั้งเรือลำเลียงจักรยานและเรือบรรทุกคนได้ฤกษ์ออกจากท่าเมืองไทยประมาณ 7 โมงกว่าๆ นั่งชมวิวทิวทัศน์ ชมพระอาทิตย์ขึ้นในฝั่งไทยไปไม่นาน เพียงประมาณครึ่งชั่วโมงก็มาถึงเกาะสองของพม่าแล้ว

เกาะสองอันที่จริงไม่ใช่เกาะ แต่เป็นแผ่นดินปลายแหลมสุดของพม่า ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำกระบุรีตรงข้ามกับเมืองระนองของบ้านเรา ในอดีตสมัยที่อังกฤษปกครองพม่านั้นใช้ชื่อว่า “วิคตอเรีย พอยท์” (Victoria Point) แต่ปัจจุบัน ชาวพม่านิยมเรียกกันว่า “คิง บุเรงนอง พอยท์” (King Bayintnaung Point) หรือแหลมพระเจ้าบุเรงนองนั่นเอง
เดี๋ยวนี้การข้ามแดนเข้าไปเที่ยวในเกาะสองนั้นสะดวกสบาย อีกทั้งยังเข้าจากเกาะสองแล้วยัง่าายต่อการไปออกทางด่านอื่นๆของพม่าได้อีกด้วย ถือเป็นการขยับเตรียมเออีซีอีกก้าวหนึ่งของพม่า

บนเกาะสองมีผู้คนอาศัยหลายเชื้อชาติ ทั้งพม่า มุสลิม มอญ จีน บริเวณท่าเรือมีสภาพคึกคัก ดูเศรษฐกิจดีทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าเม็ดเงินสนับสนุนการพัฒนาเกาะสองส่วนหนึ่งนั้นไปจากนักเล่นในบ้านเรานั่นเอง
อย่างไรก็ดีสำหรับการเข้าสู่ประเทศพม่าที่เกาะสอง ทางผู้จัดได้กำชับให้ระมัดระวังในเรื่องการถ่ายรูป รูปทั่วไปนั้นถ่ายได้ แต่อย่าไปถ่ายรูปบริเวณ ตม. สถานที่ราชการ หรือรูปทหารตำรวจเข้าให้ล่ะ หากถูกจับได้ อาจจะได้อยู่พม่ายาวเลยก็ได้

เมื่อเราผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองของเกาะสอง ชาวคณะนักปั่นต่างทยอยกันรอรับจักรยานที่ขนขึ้นจากเรือและไปยืนรอร่วมพิธีเปิดกิจกรรมปั่นสองน่อง ท่องสองประเทศ ที่ทางฝ่ายพม่าเป็นเจ้าภาพ ท่ามกลางประชาชนที่มายืนมุงดูเป็น“พม่ามุง” เพราะนานๆจะมีกิจกรรมอย่างนี้สักครั้งในบ้านเขา
งานนี้ในพิธีต้อนรับและพิธีเปิดทางพม่าได้จัดเตรียมสาวงามในชุดพื้นเมืองมาร่วมเป็นสีสันคอยต้อนรับเหล่าคณะนักปั่น และด้วยความที่หนึ่งในสาวงาม(ชุดขาว)ที่เข้าร่วมพิธีนั้น เธอสวยเด้ง หน้าตาสะสวย หุ่นดี จึงทำให้เหล่านักปั่นผู้ชาย ช่างภาพ และผู้ร่วมคณะ ต่างพุ่งเป้าสายตาไปที่เธอกันเป็นจำนวนมาก ถึงกับล่ามผู้มาร่วมแปลภาษาไทย-พม่าในพิธีเปิด เอ่ยปากแซวว่า “เธอสวยมากแต่มีลูกสองแล้ว”
งานนี้เรียกเสียงฮากระจาย มุกนี้ไม่รู้จริงหรือเท็จรู้แต่ว่า สาวชุดขาวได้ขโมยซีนพิธีเปิดไปไม่น้อย รวมถึงยังขโมยหัวใจของหนุ่มๆหลายคนไปอีกด้วย

หลังพิธีเปิดเสร็จสิ้น ขบวนจักรยานข้ามประเทศได้ออกสตาร์ทจากท่าเรือเกาะสองมุ่งหน้ายาวสู่เมืองมะลิวัลย์(พม่าเรียกมะลิยุน) โดยต้องเปลี่ยนจากเลนซ้ายบ้านเรามาใช้เลนขวาตามบ้านเขา ซึ่งในระหว่างทางมีชาวพม่าโดยเฉพาะเด็กๆ ได้ออกมายืนรอชมขบวนจักรยานที่ขี่ผ่าน มีการโบกไม้โบกมือ ตะโกนทักทาย “มิงกะลาบา”(สวัสดี) กันอย่างสนุกสนาน ปานประหนึ่งว่าเป็นขบวนจักรยาน“ตูร์เดอร์ฟร็องซ์”ยังไงยั้งงั้น

มะลิวัลย์ เป็นเมืองที่มีคนไทยพลัดถิ่นในพม่าอาศัยอยู่จำนวนหนึ่ง เมืองนี้มีวัดไทยมะลิวัลย์ ที่เป็นจุดน่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวไทย ขณะที่ “วัดซุยเต่าอู” หรือ “วัดภูเขาทอง” นั้นถือเป็นอีกหนึ่งวัดน่าสนใจ ซึ่งพวกเราได้ไปร่วมเลี้ยงอาหารและบริจาคเสื้อผ้าให้เด็กกำพร้าที่วัดแห่งนี้
หลายๆคนรวมทั้งผม เมื่อได้เห็นแววตาอันสดใสปนเศร้าของเด็กเหล่านี้แล้วก็อดสะทกสะท้อนใจในความโหดร้ายของพ่อแม่ที่ทอดทิ้งลูกไม่ได้

อย่างไรก็ดีตอนที่เด็กๆผู้ชายได้รับการบริจาคเสื้อผ้านั่น กลับสามารถเรียกรอยยิ้มให้กับผู้พบเห็นได้ไม่น้อย เพราะพระที่วัดได้เลี้ยงน้องๆเหล่านี้ไปแก้ผ้าเปลี่ยนใส่เสื้อผ้าใหม่กันสดๆต่อหน้าต่อตาผู้บริจาค นับเป็นการยืนยันว่าสิ่งของที่บริจาคถึงมือผู้รับไม่มีการหมกเม็ดไว้เหมือนนักการเมืองหลายๆคนในบ้านเรา
จากวัดภูเขาทองเราเดินทางกลับทางเดิม ก่อนเลี้ยวไปแวะพักกินข่าวที่ "น้ำตกมะลิวัลย์" ที่เป็นน้ำตกร่มรื่น มีลำธารใสเย็นให้เล่นน้ำ และก็มีชาวพม่ามาเล่นน้ำกันเพียบดูคึกคักคึกครื้นยิ่งนัก

อิ่มข้าวเที่ยงแล้วก็ได้เวลาปั่นกลับ งานนี้ด้วยความที่เส้นทางที่ผ่านมาคดเคี้ยวขึ้นเขา-ลงเขา ทำให้นักปั่นบางคนออกอาการเหนื่อยล้า ตะคริวกิน จึงขอเลือกใช้บริการขึ้นรถเก็บตกกันจำนวนหนึ่ง ขณะที่นักปั่นส่วนใหญ่ที่เหลือยังคงมุ่งมั่นปั่นกันต่อไป เพื่อกลับมาแวะเที่ยวกันในจังหวัดเกาะสอง กับ 2 แหล่งท่องเที่ยวหลักๆ ของเมืองนี้

เริ่มจาก “เจดีย์ปิดอร์เอ” ที่ชื่อแปลว่า "เจดีย์แห่งความสงบร่มเย็น" ซึ่งเป็นการจำลองเจดีย์ชเวดากองที่เมืองย่างกุ้งมาไว้ที่นี่ ภายในเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนบริเวณฐานด้านในเจดีย์มีพระพุทธรูปประจำวันเกิดตั้งอยู่ประจำทิศต่างๆ อีกทั้งยังมีมีรูปปั้นเรื่องราวพระเจ้าสิบชาติ พระเจ้าทันใจ และมีพระมหามุนีที่จำลองมาจากเมืองมัณฑะเลย์มาให้กราบไหว้ นอกจากนี้บริเวณลานเจดีย์ปิดอร์เอยังเป็นจุดชมวิวชั้นดี สามารถมองลงไปเห็นบ้านเมืองเกาะสองและทิวทัศน์ริมทะเลที่คึกคักพอตัว

เราไปต่อกันที่ "อนุสาวรีย์พระเจ้าบุเรงนอง" ที่ถือชาวพม่าได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยวอันขึ้นชื่อของเกาะสอง เพราะบริเวณอนุสาวรีย์ฯสามารถชมวิวทิวทัศน์ของท้องทะเลอันสวยงามได้อีกด้วย
จากนั้นขบวนปั่นกลับมายังท่าเรือ โดยระหว่างที่รอเรือออก นักปั่นหลายคนถือโอกาสกระจายรายที่ตลาดบริเวณนั้น ก่อนจะลงเรือเดินทางกลับระนอง สู่มาตุภูมิเมืองไทยอีกครั้ง นับเป็นการสิ้นสุดภารกิจปั่นสองน่อง ท่องสองประเทศ ในระยะเวลา 2 วัน 1 คืน กับระยะทางร่วม 200 กม.(ไทย 120 พม่า 80)
งานนี้แม้เหล่านักปั่นส่วนใหญ่ต่างเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า แต่เมื่อไม่ย่นย่อท้อ เป้าหมายก็กลายเป็นฝั่งฝันให้เราพิชิตได้อย่างไม่ยากเย็น ขอเพียงมีใจสู้ไม่ถอยเท่านั้น
****************************************

เกาะสอง ประเทศพม่า(เมียนมาร์) อยู่ตรงข้ามกับประเทศไทย โดยมีแม่น้ำกระบุรีกั้นขวางตรงตัวจังหวัดระนองพอดี นักท่องเที่ยวที่ต้องการไปชมหรือซื้อสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เช่น พลอย เครื่องหวาย เครื่องเขินพม่า เครื่องประดับทำจากเปลือกหอยและงาช้าง ฯลฯ
การเดินทางสู่เกาะสอง สามารถใช้บริการเรือโดยสารบริเวณปากน้ำระนอง (ท่าเรือสะพานปลา) ค่าโดยสารคนไทยเที่ยวละ 50 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท เช่าเหมาลำราคา 500 - 600 บาท นั่งได้ประมาณ 6 - 8 คน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที หลักฐานในการทำบัตรผ่านแดนไป - กลับ มีอายุ 7 วัน ใช้สำเนาบัตรประชาชนหรือใบขับขี่ จำนวน 2 ชุด พร้อมรูปถ่าย 1 นิ้ว 3 รูป ค่าธรรมเนียมคนไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 10 ดอลล่าร์สหรัฐ ด่านทำบัตรผ่านแดนเปิดทำการตั้งแต่ 07.00 - 16.00 น. ทุกวัน สอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองระนอง โทร. 0 7781 3225, 0 7782 1216, 0 7782 2206
สำหรับผู้สนใจปั่นจักรยานเที่ยวชุมพร ระนอง เป็นหมู่คณะ หรือต้องการสอบถามข้อมูล แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในจังหวัด ชุมพร ระนอง เชื่อมโยงกับเกาะสองพม่า รวมไปถึงที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทาง สามารถติดต่อได้ที่ ททท. สำนักงานชุมพร(พื้นที่รับผิดชอบชุมพร ระนอง) โทร. 0-7750-1831-2 , 0-7750-2775-6
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
กิจกรรมการท่องเที่ยวด้วยการ“ปั่นจักรยาน” จัดเป็นเทรนด์ท่องเที่ยวที่กำลังมาแรง
การปั่นจักรยานเที่ยว นอกจากจะเป็นการออกกำลังกายและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังประหยัดพลังงาน ลดมลพิษ และสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างใกล้ชิด
ด้วยเหตุที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ภูมิภาค ภาคใต้ และททท.สำนักงานชุมพร จึงได้จัดกิจกรรม“ปั่นสองน่อง ท่องสองประเทศ” จากจังหวัดชุมพร-ระนอง ปั่นข้ามประเทศไปสู่พม่า(เมียนมาร์)ที่จังหวัดเกาะสองและเมืองมะลิวัลย์ขึ้น ซึ่งนี่ถือเป็นครั้งแรกของการจัดปั่นเป็นหมู่คณะใหญ่อย่างเป็นทางการ นับเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ที่จะมาถึงในปี 2558 นี้
วันแรก ชุมพร-ระนอง
กิจกรรมปั่นสองน่อง ท่องสองประเทศ มีนักปั่นมาเข้าร่วมโครงการราว 300 คน นักปั่นส่วนใหญ่จัดเป็นประเภท สว. สูงวัย แต่เรื่องจิตใจนั้น กล้าแกร่ง ห้าวหาญ ที่สำคัญคือหลายคนในคณะนี้มีจุดยืนชัดเจนว่าไม่เอารัฐบาลทรราช ต้องการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง โดยพวกเขานำพร็อพ อย่าง เสื้อ ธงชาติ นกหวีด มาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า“กูไม่กลัวมึง”
สำหรับจุดเริ่มต้นออกสตาร์ทนั้นคือที่ “พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชุมพร” ในช่วงเวลาเช้าตรู่ประมาณ 6 โมงเช้าของวันที่ 25 ม.ค. 57 ซึ่งมีนางสาว“เอื้อมพร จิรกาลวิศัลย์” ผู้อำนวยการกองตลาดภาคใต้ ททท. มาร่วมกล่าวในพิธีเปิดอันเรียบง่าย
จากนั้นขบวนชาวจักรยานก็ค่อยๆทยอยกันปั่นออกจากชุมพร ผ่านสะพานต่างระดับแยกปฐมพร มุ่งสู่ จ.ระนอง ก่อนไปแวะพักชมศิลาสลักพระปรมาภิไธยย่อ จปร. ที่ อ.กระบุรี เมื่อหายเหนื่อยกันแล้วขบวนจักรยานปั่นต่อไปบนถนนที่คดเคี้ยวขึ้นลง ผ่านบ้านทับหลี ดินแดนแห่งซาลาเปาชื่อดัง ก่อนไปหยุดกินข้าวเที่ยงที่ “อันดามันเกตเวย์” ที่เป็นจุดพักรถ จุดชมวิว ตั้งอยู่ที่บ้านทับหลี อ.กระบุรี ก่อนถึง“คอคอดกระ”ส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายูประมาณ 50 เมตร
อันดามันเกตเวย์ มีจุดชมวิวสร้างเป็นประภาคารสูง 7 ชั้น ให้เดินขึ้นบันไดเวียนไปชมวิวของแม่น้ำกระบุรี และทิวทัศน์เมืองมะรังฝั่งพม่า
นับเป็นจุดชมวิวใหม่ที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของระนอง ที่นักปั่นหลายๆคนบอกว่าการเดินขึ้นไปชมวิวบนยอดประภาคารนั้นเหนื่อยกว่าการปั่นจักรยานเสียอีก
อิ่มหนำจากข้าวกลางวันกันแล้ว พวกเราชักภาพหมู่ร่วมกันที่นี่ จากนั้นเหล่าชาวจักรยานออกปั่นตะลุยต่อไปเข้าสู่ อ.ละอุ่น แล้วไปแวะพักเบรกอีกครั้งบริเวณหัวรถจักรโบราณ ให้นักปั่นดื่มน้ำ กินขนม และแตงโมหวานๆเติมพลัง ก่อนเดินหน้าปั่นสองน่องเข้าสู่ตัวเมืองระนอง แวะ“น้ำตกปุญญบาล” ผ่านบ่อน้ำแร่ร้อน“รักษะวาริน” แล้วเข้าเมืองไปสัมผัสกับเส้นทางเสด็จประพาสต้นของรัฐกาลที่ 5 โดยมีจุดแวะพักสำคัญอยู่ที่“พระราชวังรัตนรังสรรค์”(จำลอง) ที่เป็นพระราชวังไม้อันสวยงาม หนึ่งในสัญลักษณ์ของจังหวัดระนอง
แล้วจุดสิ้นสุดของวันนี้ก็มาถึงที่สนามกีฬากลางจังหวัดระนอง ซึ่งสิริรวมเส้นทางแล้วประมาณ 120 กม. แต่ภารกิจยังไม่หมด เพราะพรุ่งนี้ยังมีไฮไลท์กับการปั่นข้ามประเทศสู่พม่า เพราะฉะนั้นนักปั่นแต่ละคนควรรีบเข้านอนแต่หัววันเก็บแรงไว้ลุยต่อเป็นดีที่สุด
วันสุดท้าย เกาะสอง-มะลิวัลย์
เช้าวันที่ 26 ม.ค. 57 ชาวคณะนักปั่นตางตื่นกันแต่เช้าประมาณตี 5 เหมือนเช่นเมื่อวาน จากนั้นก็พากันปั่นสู่ท่าเรือสะพานปลา ปากน้ำระนอง ที่ยามเช้าอย่างนี้ตลาดปลาริมท่าเรือคึกคักเป็นพิเศษกับชาวเรือ พ่อค้า-แม่ค้า ที่มาทำการซื้อขายปลากัน
จากท่าเรือ เราต้องรำรถจักรยานลำเลียงลงเรือ พร้อมกินมื้อเช้าตุนไปเลย ช่วงนี้ลำเลียงจักรยานและผ่านตม.เมืองไทยออกนอกประเทศ เหมือนกับการจับปูใส่กระด้งหน่อยเพราะคนเยอะ มากคนมากความ แต่สุดท้ายก็ผ่านไปด้วยดี ทั้งเรือลำเลียงจักรยานและเรือบรรทุกคนได้ฤกษ์ออกจากท่าเมืองไทยประมาณ 7 โมงกว่าๆ นั่งชมวิวทิวทัศน์ ชมพระอาทิตย์ขึ้นในฝั่งไทยไปไม่นาน เพียงประมาณครึ่งชั่วโมงก็มาถึงเกาะสองของพม่าแล้ว
เกาะสองอันที่จริงไม่ใช่เกาะ แต่เป็นแผ่นดินปลายแหลมสุดของพม่า ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำกระบุรีตรงข้ามกับเมืองระนองของบ้านเรา ในอดีตสมัยที่อังกฤษปกครองพม่านั้นใช้ชื่อว่า “วิคตอเรีย พอยท์” (Victoria Point) แต่ปัจจุบัน ชาวพม่านิยมเรียกกันว่า “คิง บุเรงนอง พอยท์” (King Bayintnaung Point) หรือแหลมพระเจ้าบุเรงนองนั่นเอง
เดี๋ยวนี้การข้ามแดนเข้าไปเที่ยวในเกาะสองนั้นสะดวกสบาย อีกทั้งยังเข้าจากเกาะสองแล้วยัง่าายต่อการไปออกทางด่านอื่นๆของพม่าได้อีกด้วย ถือเป็นการขยับเตรียมเออีซีอีกก้าวหนึ่งของพม่า
บนเกาะสองมีผู้คนอาศัยหลายเชื้อชาติ ทั้งพม่า มุสลิม มอญ จีน บริเวณท่าเรือมีสภาพคึกคัก ดูเศรษฐกิจดีทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าเม็ดเงินสนับสนุนการพัฒนาเกาะสองส่วนหนึ่งนั้นไปจากนักเล่นในบ้านเรานั่นเอง
อย่างไรก็ดีสำหรับการเข้าสู่ประเทศพม่าที่เกาะสอง ทางผู้จัดได้กำชับให้ระมัดระวังในเรื่องการถ่ายรูป รูปทั่วไปนั้นถ่ายได้ แต่อย่าไปถ่ายรูปบริเวณ ตม. สถานที่ราชการ หรือรูปทหารตำรวจเข้าให้ล่ะ หากถูกจับได้ อาจจะได้อยู่พม่ายาวเลยก็ได้
เมื่อเราผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองของเกาะสอง ชาวคณะนักปั่นต่างทยอยกันรอรับจักรยานที่ขนขึ้นจากเรือและไปยืนรอร่วมพิธีเปิดกิจกรรมปั่นสองน่อง ท่องสองประเทศ ที่ทางฝ่ายพม่าเป็นเจ้าภาพ ท่ามกลางประชาชนที่มายืนมุงดูเป็น“พม่ามุง” เพราะนานๆจะมีกิจกรรมอย่างนี้สักครั้งในบ้านเขา
งานนี้ในพิธีต้อนรับและพิธีเปิดทางพม่าได้จัดเตรียมสาวงามในชุดพื้นเมืองมาร่วมเป็นสีสันคอยต้อนรับเหล่าคณะนักปั่น และด้วยความที่หนึ่งในสาวงาม(ชุดขาว)ที่เข้าร่วมพิธีนั้น เธอสวยเด้ง หน้าตาสะสวย หุ่นดี จึงทำให้เหล่านักปั่นผู้ชาย ช่างภาพ และผู้ร่วมคณะ ต่างพุ่งเป้าสายตาไปที่เธอกันเป็นจำนวนมาก ถึงกับล่ามผู้มาร่วมแปลภาษาไทย-พม่าในพิธีเปิด เอ่ยปากแซวว่า “เธอสวยมากแต่มีลูกสองแล้ว”
งานนี้เรียกเสียงฮากระจาย มุกนี้ไม่รู้จริงหรือเท็จรู้แต่ว่า สาวชุดขาวได้ขโมยซีนพิธีเปิดไปไม่น้อย รวมถึงยังขโมยหัวใจของหนุ่มๆหลายคนไปอีกด้วย
หลังพิธีเปิดเสร็จสิ้น ขบวนจักรยานข้ามประเทศได้ออกสตาร์ทจากท่าเรือเกาะสองมุ่งหน้ายาวสู่เมืองมะลิวัลย์(พม่าเรียกมะลิยุน) โดยต้องเปลี่ยนจากเลนซ้ายบ้านเรามาใช้เลนขวาตามบ้านเขา ซึ่งในระหว่างทางมีชาวพม่าโดยเฉพาะเด็กๆ ได้ออกมายืนรอชมขบวนจักรยานที่ขี่ผ่าน มีการโบกไม้โบกมือ ตะโกนทักทาย “มิงกะลาบา”(สวัสดี) กันอย่างสนุกสนาน ปานประหนึ่งว่าเป็นขบวนจักรยาน“ตูร์เดอร์ฟร็องซ์”ยังไงยั้งงั้น
มะลิวัลย์ เป็นเมืองที่มีคนไทยพลัดถิ่นในพม่าอาศัยอยู่จำนวนหนึ่ง เมืองนี้มีวัดไทยมะลิวัลย์ ที่เป็นจุดน่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวไทย ขณะที่ “วัดซุยเต่าอู” หรือ “วัดภูเขาทอง” นั้นถือเป็นอีกหนึ่งวัดน่าสนใจ ซึ่งพวกเราได้ไปร่วมเลี้ยงอาหารและบริจาคเสื้อผ้าให้เด็กกำพร้าที่วัดแห่งนี้
หลายๆคนรวมทั้งผม เมื่อได้เห็นแววตาอันสดใสปนเศร้าของเด็กเหล่านี้แล้วก็อดสะทกสะท้อนใจในความโหดร้ายของพ่อแม่ที่ทอดทิ้งลูกไม่ได้
อย่างไรก็ดีตอนที่เด็กๆผู้ชายได้รับการบริจาคเสื้อผ้านั่น กลับสามารถเรียกรอยยิ้มให้กับผู้พบเห็นได้ไม่น้อย เพราะพระที่วัดได้เลี้ยงน้องๆเหล่านี้ไปแก้ผ้าเปลี่ยนใส่เสื้อผ้าใหม่กันสดๆต่อหน้าต่อตาผู้บริจาค นับเป็นการยืนยันว่าสิ่งของที่บริจาคถึงมือผู้รับไม่มีการหมกเม็ดไว้เหมือนนักการเมืองหลายๆคนในบ้านเรา
จากวัดภูเขาทองเราเดินทางกลับทางเดิม ก่อนเลี้ยวไปแวะพักกินข่าวที่ "น้ำตกมะลิวัลย์" ที่เป็นน้ำตกร่มรื่น มีลำธารใสเย็นให้เล่นน้ำ และก็มีชาวพม่ามาเล่นน้ำกันเพียบดูคึกคักคึกครื้นยิ่งนัก
อิ่มข้าวเที่ยงแล้วก็ได้เวลาปั่นกลับ งานนี้ด้วยความที่เส้นทางที่ผ่านมาคดเคี้ยวขึ้นเขา-ลงเขา ทำให้นักปั่นบางคนออกอาการเหนื่อยล้า ตะคริวกิน จึงขอเลือกใช้บริการขึ้นรถเก็บตกกันจำนวนหนึ่ง ขณะที่นักปั่นส่วนใหญ่ที่เหลือยังคงมุ่งมั่นปั่นกันต่อไป เพื่อกลับมาแวะเที่ยวกันในจังหวัดเกาะสอง กับ 2 แหล่งท่องเที่ยวหลักๆ ของเมืองนี้
เริ่มจาก “เจดีย์ปิดอร์เอ” ที่ชื่อแปลว่า "เจดีย์แห่งความสงบร่มเย็น" ซึ่งเป็นการจำลองเจดีย์ชเวดากองที่เมืองย่างกุ้งมาไว้ที่นี่ ภายในเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนบริเวณฐานด้านในเจดีย์มีพระพุทธรูปประจำวันเกิดตั้งอยู่ประจำทิศต่างๆ อีกทั้งยังมีมีรูปปั้นเรื่องราวพระเจ้าสิบชาติ พระเจ้าทันใจ และมีพระมหามุนีที่จำลองมาจากเมืองมัณฑะเลย์มาให้กราบไหว้ นอกจากนี้บริเวณลานเจดีย์ปิดอร์เอยังเป็นจุดชมวิวชั้นดี สามารถมองลงไปเห็นบ้านเมืองเกาะสองและทิวทัศน์ริมทะเลที่คึกคักพอตัว
เราไปต่อกันที่ "อนุสาวรีย์พระเจ้าบุเรงนอง" ที่ถือชาวพม่าได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยวอันขึ้นชื่อของเกาะสอง เพราะบริเวณอนุสาวรีย์ฯสามารถชมวิวทิวทัศน์ของท้องทะเลอันสวยงามได้อีกด้วย
จากนั้นขบวนปั่นกลับมายังท่าเรือ โดยระหว่างที่รอเรือออก นักปั่นหลายคนถือโอกาสกระจายรายที่ตลาดบริเวณนั้น ก่อนจะลงเรือเดินทางกลับระนอง สู่มาตุภูมิเมืองไทยอีกครั้ง นับเป็นการสิ้นสุดภารกิจปั่นสองน่อง ท่องสองประเทศ ในระยะเวลา 2 วัน 1 คืน กับระยะทางร่วม 200 กม.(ไทย 120 พม่า 80)
งานนี้แม้เหล่านักปั่นส่วนใหญ่ต่างเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า แต่เมื่อไม่ย่นย่อท้อ เป้าหมายก็กลายเป็นฝั่งฝันให้เราพิชิตได้อย่างไม่ยากเย็น ขอเพียงมีใจสู้ไม่ถอยเท่านั้น
****************************************
เกาะสอง ประเทศพม่า(เมียนมาร์) อยู่ตรงข้ามกับประเทศไทย โดยมีแม่น้ำกระบุรีกั้นขวางตรงตัวจังหวัดระนองพอดี นักท่องเที่ยวที่ต้องการไปชมหรือซื้อสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เช่น พลอย เครื่องหวาย เครื่องเขินพม่า เครื่องประดับทำจากเปลือกหอยและงาช้าง ฯลฯ
การเดินทางสู่เกาะสอง สามารถใช้บริการเรือโดยสารบริเวณปากน้ำระนอง (ท่าเรือสะพานปลา) ค่าโดยสารคนไทยเที่ยวละ 50 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท เช่าเหมาลำราคา 500 - 600 บาท นั่งได้ประมาณ 6 - 8 คน ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 30 นาที หลักฐานในการทำบัตรผ่านแดนไป - กลับ มีอายุ 7 วัน ใช้สำเนาบัตรประชาชนหรือใบขับขี่ จำนวน 2 ชุด พร้อมรูปถ่าย 1 นิ้ว 3 รูป ค่าธรรมเนียมคนไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 10 ดอลล่าร์สหรัฐ ด่านทำบัตรผ่านแดนเปิดทำการตั้งแต่ 07.00 - 16.00 น. ทุกวัน สอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองระนอง โทร. 0 7781 3225, 0 7782 1216, 0 7782 2206
สำหรับผู้สนใจปั่นจักรยานเที่ยวชุมพร ระนอง เป็นหมู่คณะ หรือต้องการสอบถามข้อมูล แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในจังหวัด ชุมพร ระนอง เชื่อมโยงกับเกาะสองพม่า รวมไปถึงที่พัก ร้านอาหาร และการเดินทาง สามารถติดต่อได้ที่ ททท. สำนักงานชุมพร(พื้นที่รับผิดชอบชุมพร ระนอง) โทร. 0-7750-1831-2 , 0-7750-2775-6
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com