โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
ผมว่างเว้นจากการไปเยือน “เชียงคาน”(อ.เชียงคาน จ.เลย) มาประมาณ 2 ปี กลับไปอีกทีเมื่อช่วงปลายเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา
แม้จะแอบเผื่อใจด้วยรู้ทั้งรู้ว่าเชียงคานเปลี่ยนไปจากเดิมมาก แต่เมื่อไปเจอกับบรรยากาศสภาพเมืองเชียงคานในวันนี้มาด้วยสัมผัสทั้ง 5 ของตัวเองก็อดใจหายไม่ได้
เพราะเชียงคานวันนี้กลายเป็น“เมืองท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ” ที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก
เร็วชนิดที่ยากจะคาดเดาได้ว่าในอนาคตข้างหน้าเชียงคานจะมีสภาพเป็นเช่นใด?
1…
ย้อนไปเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว สมัยที่ผมมีโอกาสได้ไปรู้จักเมืองเชียงคานเป็นครั้งแรก
เชียงคานยุคนั้นเป็นเมืองสงบงามที่อาจดูไม่มีอะไรในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วไป แต่สำหรับผมมันกลับเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ให้ชวนค้นหา
ทว่าวันเวลาไม่อาจย้อนกลับ(แต่...ทรราชบางคนสามารถออกกฎหมายย้อนเวลาไปล้างผิดล้างชั่วให้กับตัวเองได้ ทุด!!) เชียงคานในยุคสมัยที่ใครหลายๆคนไปเยือนแล้วรู้สึกว่าวันเวลาที่นั่นเดินช้าได้ถูกกระแสท่องเที่ยวรุกคืบเข้ามาเรื่อยๆ
ยิ่งคนไทยจำนวนมากมีรสนิยม“เที่ยวตามกระแส” เชียงคานซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวกระแสแรงมาก(โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีหลัง) ก็ถีบตัวพุ่งพรวดแซงทางโค้งปาย ก่อนที่จะติดลมบนวิ่งฉิวมาจนถึงทุกวันนี้
จำได้ว่าช่วงที่เชียงคานเริ่มมีชื่อเสียง เริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว เริ่มมีทุนต่างถิ่นทยอยเข้าไปบุกเชียงคาน ผมเคยถามทางผู้บริหารเชียงคานกับชาวบ้านบางคนที่เป็นหัวหอกในการร่วมอนุรักษ์เมืองเชียงคานว่าจะหาวิธีรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างไร?
ตอนนั้นพวกเขายังมั่นใจว่าเชียงคานรับมือไหว แม้จะมีคนเชียงคานบางส่วนอยากให้เชียงคานเป็นเหมือนปาย(2) อยากให้ความเจริญทางวัตถุ ทางการท่องเที่ยวเข้ามา เพื่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เพราะดูเหมือนโดยรวมแล้วเชียงคานยังดูมีภูมิคุ้มกันเข้มแข็งแรงดีอยู่
แต่สุดท้าย(คนใน)เชียงคานก็ต้านไม่ไหว!?!
เรื่องนี้เพื่อนผมคนหนึ่งที่อยู่เชียงคานมันเคยระบายให้ฟังว่า พอน้ำเงินเข้ามา น้ำใจไมตรีมันเลือนหายไป คนพื้นที่หลายคนมองว่านี่เป็นโอกาสทองในการทำเงิน(ส่วนพวกทุนต่างถิ่นที่เข้ามาส่วนใหญ่นั้นมุ่งมากอบโกยกันอยู่แล้ว) จึงปรับเปลี่ยนวิถี หันมาลงทุนเพื่อธุรกิจท่องเที่ยว
ขณะที่ทุนท้องถิ่นอย่างคนเชียงคานเองกลับมองว่าการที่คนเชียงคานลงทุนทำเองนั้นย่อมดีกว่าการให้ทุนต่างถิ่นเข้ามากอบโกย และทิ้งซากของความเสื่อมโทรมไว้
เมื่อเชียงคานฮอตฮิต ความเปลี่ยนแปลงก็ตามมา วิถีแห่งเชียงคานก็เปลี่ยนไป
ทุนต่างถิ่นทั้งกลุ่มทุนผู้หวังดีและกลุ่มทุนผู้กอบโกยที่นิยมการทำไร่เลื่อนลอยทางการท่องเที่ยว ได้รุกโหมเข้าโจมตีเมืองเชียงคานอย่างหนัก มาเช่าบ้าน เช่าที่ บนถนนชายโขง พร้อมปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอย เป็นที่พัก ร้านอาหาร ร้านการแฟ ร้านโปสการ์ด ร้านขายของที่ระลึก ให้บริการนักท่องเที่ยว บ้านไม้เรือนแถวเก่าแก่อันเรียบง่าย ดิบ แต่ดูขลังทรงเสน่ห์จำนวนมาก ถูกตกแต่งสีสันฉาบทอหน้าตาใหม่ให้กลายเป็นอาคารสีสดใส มีทั้งแบบกิ๊บเก๋ แบบแนว แบบอาร์ต หรือแบบอะไรก็ไม่รู้ ซึ่งแม้แต่ตัวเจ้าของเองก็ยังไม่รู้
รู้เพียงแต่ว่ากูอินดี้!!
2…
บนความเปลี่ยนแปลงและเป็นไปของเชียงคาน แม้ผมจะมีโอกาสได้ไปเยือนเชียงคานอยู่บ่อยครั้ง แต่นั่นก็เป็นเพียงมุมมองของคนนอก ย่อมมิสู้มุมมองคนในซึ่งก็คือคนที่เชียงคานมองเมืองของพวกเขาเองไม่ได้
ดังนั้นผมจึงขอนำมุมมองของคนในพื้นที่อย่าง “ชมรมคนรักษ์เชียงคาน” ที่ได้เคยลุกขึ้นมาส่งเสียงและส่งสาส์นมาตั้งแต่ปี 54 เพราะรู้สึกทนไม่ได้ต่อการเปลี่ยนแปลงของเมืองเชียงคานที่เริ่มดูไร้ทิศไร้ทางมาบอกเล่าสู่กันฟัง ซึ่งผมขอสรุปคร่าวๆ ดังนี้
-วันนี้ชาวเชียงคานจำนวนมากได้เสียความเป็นตัวตนไปมาก ชาวบ้านบนถนนริมโขงหลายคน ขายที่ดิน ขายบ้าน หรือให้เช่าระยะยาว แล้วย้ายออกไปอยู่นอกพื้นที่ หรือไม่ก็เข้ากรุงเทพฯตามไปอยู่กับลูกหลานญาติพี่น้อง
-วิถีวัฒนธรรมบริเวณถนนชายโขงเปลี่ยนไป ชาวบ้านละทิ้งอาชีพดั้งเดิมหันมาเปิดห้องพัก ร้านค้า ขณะที่นิสัยใจคอก็เปลี่ยนไป หันไปมุ่งเน้นผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง อัธยาศัยไมตรีเริ่มเหือดหายไป มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น เอาเปรียบกันและกัน
-วัฒนธรรมการตักบาตรข้าวเหนียวเริ่มผิดเพี้ยนไปจากเดิม มีการเตรียมชุดใส่บาตร ข้าว ขนมอาหาร หวานคาวและเงิน สำหรับใส่บาตรพระ(ตามความต้องการของนักท่องเที่ยว) ขณะที่วิถีดั้งของชาวเชียงคานจะใส่แต่ข้าวเหนียวเท่านั้น หลังจากจึงนำอาหารไปถวายที่วัด(ไปจังหัน) หรือ บริจาคเงินที่วัด โดยไม่สร้างภาระให้กับพระท่าน
-มีการปล่อยให้สินค้าจากที่อื่นๆมาขายเกินกว่าสินค้าท้องถิ่นมาก จนเอกลักษณ์ด้านสินค้าไม่มี
-ไม่สามารถควบคุมการก่อสร้างบ้านเรือนใหม่ได้ การตกแต่งต่างคนต่างทำโดยไม่คำนึงถึงภูมิทัศน์โดยรวม ซึ่งหากปล่อยไว้อย่างนี้ในอนาคตอาจเกิดทัศนอุจาดตามมา
ครับและนั่นก็เป็นเสียงจากคนในพื้นที่ที่ต้องการให้ชาวเชียงคานตื่นตัว และผู้บริหารเมืองเชียงคานหาแนวทางบริหารจัดการ จัดระเบียบ ก่อนที่เชียงคานจะ“เละ”จนกู่ไม่กลับ
3...
เก่าไป ใหม่มา
เดิมมนต์เสน่ห์อันเป็นไฮไลท์ของเชียงคานนั้นอยู่ที่วิถีอัตลักษณ์ท้องถิ่นแห่งเชียงคาน ไม่ว่าจะเป็น ธรรมชาติ วิวทิวทัศน์ บรรยากาศริมฝั่งโขง วิถีชาวบ้านอันเรียบง่าย รอยยิ้มและน้ำใจไมตรี บ้านไม้เรือนโบราณ อาหารการกินพื้นบ้าน และประเพณีตักบาตรข้าวเหนียวอันเป็นเอกลักษณ์
แต่วันนี้ไฮไลท์แห่งเชียงคานของคนส่วนใหญ่ดูเหมือนจะพุ่งเป้าไปที่ถนนชายโขงหรือถนนคนเดิน (ทางผู้บริหารเชียงคานเรียกว่าถนนวัฒนธรรม) ซึ่งในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวถนนสายนี้มีสภาพไม่ต่างอะไรกับตลาดนัด ที่เต็มไปด้วยของกิน ของขาย เสื้อผ้า ของฝาก ของที่ระลึก (ส่วนใครที่อยากจะสัมผัสกับเชียงคานที่ยัง(พอ)มีความสงบงามและกลิ่นอายแบบย้อนยุคหลงเหลืออยู่บ้าง คงต้องไปในช่วงหน้าฝนวันธรรมดาที่มีคนมาเที่ยวกันน้อยไม่พลุกพล่าน)
หลายๆคนเมื่อมาเจอกับถนนถนนเดินเชียงคานแล้วต่างบอกว่า เชียงคานประมาณปาย หรือไม่ก็เชียงคานประมาณอัมพวาไม่ได้ เพราะที่นี่นอกจากจะตกแต่งแบบเก๋ๆแนวๆ(ตามที่กล่าวมาข้างต้น) มีป้ายประดิษฐ์คำพูดเก๋ๆ มีหลักกิโลเมตรใหญ่ให้แอ๊คท่าถ่ายรูปแล้ว ยังมีหลากหลายมุมให้ถ่ายรูป อัพลงไอจี อัพขึ้นเฟซบุ๊ค ซึ่งดูจะเป็นรสนิยมเดียวกันทั้งปาย เชียงคาน อัมพวา และถนนคนเดินหลายแห่ง ตลาดน้ำหลายที่
อย่างไรก็ดีบนถนนคนเดินวันที่ผมไปเดินนั้นก็ยังมีมุมที่เป็นเสน่ห์และสื่อถึงความเป็นเชียงคานแทรกตัวอยู่ในบางจุด(ไม่ใช่มุมหลักกิโล มุมชื่อร้านที่มีคำว่าคานหรือเลย ไม่ใช่มุมที่มีเสื้อประทับตราว่าเชียงคาน) ไม่ว่าจะเป็นมุมขายอาหารพื้นบ้าน ร้านนิยมไทย ร้านอาหารเรือนหลวงพระบาง มุมที่ผู้เฒ่าผู้แก่มาร้องเล่นดนตรีไทยเพื่อนำรายได้ไปถวายวัด มุมที่เด็กตัวน้อยมาร้องเล่นดนตรี เป็นต้น
และนี่ก็คือวิถีร่วมสมัยของเมืองเชียงคานวันนี้ที่เปลี่ยนโฉมจากเมืองโบราณริมฝั่งโขงอันมากไปด้วยเสน่ห์แห่งวันวาน มาเป็น“เมืองท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ” ที่อุดมไปด้วยจริตของคนเมือง และสะท้อนให้เห็นถึงวิถีการท่องเที่ยวแบบไทยๆที่ มีวิถีกำเนิดเกิดก่อ เติบโต และเป็นไปคล้ายๆกัน
ผมว่างเว้นจากการไปเยือน “เชียงคาน”(อ.เชียงคาน จ.เลย) มาประมาณ 2 ปี กลับไปอีกทีเมื่อช่วงปลายเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา
แม้จะแอบเผื่อใจด้วยรู้ทั้งรู้ว่าเชียงคานเปลี่ยนไปจากเดิมมาก แต่เมื่อไปเจอกับบรรยากาศสภาพเมืองเชียงคานในวันนี้มาด้วยสัมผัสทั้ง 5 ของตัวเองก็อดใจหายไม่ได้
เพราะเชียงคานวันนี้กลายเป็น“เมืองท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ” ที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก
เร็วชนิดที่ยากจะคาดเดาได้ว่าในอนาคตข้างหน้าเชียงคานจะมีสภาพเป็นเช่นใด?
1…
ย้อนไปเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว สมัยที่ผมมีโอกาสได้ไปรู้จักเมืองเชียงคานเป็นครั้งแรก
เชียงคานยุคนั้นเป็นเมืองสงบงามที่อาจดูไม่มีอะไรในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วไป แต่สำหรับผมมันกลับเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ให้ชวนค้นหา
ทว่าวันเวลาไม่อาจย้อนกลับ(แต่...ทรราชบางคนสามารถออกกฎหมายย้อนเวลาไปล้างผิดล้างชั่วให้กับตัวเองได้ ทุด!!) เชียงคานในยุคสมัยที่ใครหลายๆคนไปเยือนแล้วรู้สึกว่าวันเวลาที่นั่นเดินช้าได้ถูกกระแสท่องเที่ยวรุกคืบเข้ามาเรื่อยๆ
ยิ่งคนไทยจำนวนมากมีรสนิยม“เที่ยวตามกระแส” เชียงคานซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวกระแสแรงมาก(โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีหลัง) ก็ถีบตัวพุ่งพรวดแซงทางโค้งปาย ก่อนที่จะติดลมบนวิ่งฉิวมาจนถึงทุกวันนี้
จำได้ว่าช่วงที่เชียงคานเริ่มมีชื่อเสียง เริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว เริ่มมีทุนต่างถิ่นทยอยเข้าไปบุกเชียงคาน ผมเคยถามทางผู้บริหารเชียงคานกับชาวบ้านบางคนที่เป็นหัวหอกในการร่วมอนุรักษ์เมืองเชียงคานว่าจะหาวิธีรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างไร?
ตอนนั้นพวกเขายังมั่นใจว่าเชียงคานรับมือไหว แม้จะมีคนเชียงคานบางส่วนอยากให้เชียงคานเป็นเหมือนปาย(2) อยากให้ความเจริญทางวัตถุ ทางการท่องเที่ยวเข้ามา เพื่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เพราะดูเหมือนโดยรวมแล้วเชียงคานยังดูมีภูมิคุ้มกันเข้มแข็งแรงดีอยู่
แต่สุดท้าย(คนใน)เชียงคานก็ต้านไม่ไหว!?!
เรื่องนี้เพื่อนผมคนหนึ่งที่อยู่เชียงคานมันเคยระบายให้ฟังว่า พอน้ำเงินเข้ามา น้ำใจไมตรีมันเลือนหายไป คนพื้นที่หลายคนมองว่านี่เป็นโอกาสทองในการทำเงิน(ส่วนพวกทุนต่างถิ่นที่เข้ามาส่วนใหญ่นั้นมุ่งมากอบโกยกันอยู่แล้ว) จึงปรับเปลี่ยนวิถี หันมาลงทุนเพื่อธุรกิจท่องเที่ยว
ขณะที่ทุนท้องถิ่นอย่างคนเชียงคานเองกลับมองว่าการที่คนเชียงคานลงทุนทำเองนั้นย่อมดีกว่าการให้ทุนต่างถิ่นเข้ามากอบโกย และทิ้งซากของความเสื่อมโทรมไว้
เมื่อเชียงคานฮอตฮิต ความเปลี่ยนแปลงก็ตามมา วิถีแห่งเชียงคานก็เปลี่ยนไป
ทุนต่างถิ่นทั้งกลุ่มทุนผู้หวังดีและกลุ่มทุนผู้กอบโกยที่นิยมการทำไร่เลื่อนลอยทางการท่องเที่ยว ได้รุกโหมเข้าโจมตีเมืองเชียงคานอย่างหนัก มาเช่าบ้าน เช่าที่ บนถนนชายโขง พร้อมปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอย เป็นที่พัก ร้านอาหาร ร้านการแฟ ร้านโปสการ์ด ร้านขายของที่ระลึก ให้บริการนักท่องเที่ยว บ้านไม้เรือนแถวเก่าแก่อันเรียบง่าย ดิบ แต่ดูขลังทรงเสน่ห์จำนวนมาก ถูกตกแต่งสีสันฉาบทอหน้าตาใหม่ให้กลายเป็นอาคารสีสดใส มีทั้งแบบกิ๊บเก๋ แบบแนว แบบอาร์ต หรือแบบอะไรก็ไม่รู้ ซึ่งแม้แต่ตัวเจ้าของเองก็ยังไม่รู้
รู้เพียงแต่ว่ากูอินดี้!!
2…
บนความเปลี่ยนแปลงและเป็นไปของเชียงคาน แม้ผมจะมีโอกาสได้ไปเยือนเชียงคานอยู่บ่อยครั้ง แต่นั่นก็เป็นเพียงมุมมองของคนนอก ย่อมมิสู้มุมมองคนในซึ่งก็คือคนที่เชียงคานมองเมืองของพวกเขาเองไม่ได้
ดังนั้นผมจึงขอนำมุมมองของคนในพื้นที่อย่าง “ชมรมคนรักษ์เชียงคาน” ที่ได้เคยลุกขึ้นมาส่งเสียงและส่งสาส์นมาตั้งแต่ปี 54 เพราะรู้สึกทนไม่ได้ต่อการเปลี่ยนแปลงของเมืองเชียงคานที่เริ่มดูไร้ทิศไร้ทางมาบอกเล่าสู่กันฟัง ซึ่งผมขอสรุปคร่าวๆ ดังนี้
-วันนี้ชาวเชียงคานจำนวนมากได้เสียความเป็นตัวตนไปมาก ชาวบ้านบนถนนริมโขงหลายคน ขายที่ดิน ขายบ้าน หรือให้เช่าระยะยาว แล้วย้ายออกไปอยู่นอกพื้นที่ หรือไม่ก็เข้ากรุงเทพฯตามไปอยู่กับลูกหลานญาติพี่น้อง
-วิถีวัฒนธรรมบริเวณถนนชายโขงเปลี่ยนไป ชาวบ้านละทิ้งอาชีพดั้งเดิมหันมาเปิดห้องพัก ร้านค้า ขณะที่นิสัยใจคอก็เปลี่ยนไป หันไปมุ่งเน้นผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง อัธยาศัยไมตรีเริ่มเหือดหายไป มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น เอาเปรียบกันและกัน
-วัฒนธรรมการตักบาตรข้าวเหนียวเริ่มผิดเพี้ยนไปจากเดิม มีการเตรียมชุดใส่บาตร ข้าว ขนมอาหาร หวานคาวและเงิน สำหรับใส่บาตรพระ(ตามความต้องการของนักท่องเที่ยว) ขณะที่วิถีดั้งของชาวเชียงคานจะใส่แต่ข้าวเหนียวเท่านั้น หลังจากจึงนำอาหารไปถวายที่วัด(ไปจังหัน) หรือ บริจาคเงินที่วัด โดยไม่สร้างภาระให้กับพระท่าน
-มีการปล่อยให้สินค้าจากที่อื่นๆมาขายเกินกว่าสินค้าท้องถิ่นมาก จนเอกลักษณ์ด้านสินค้าไม่มี
-ไม่สามารถควบคุมการก่อสร้างบ้านเรือนใหม่ได้ การตกแต่งต่างคนต่างทำโดยไม่คำนึงถึงภูมิทัศน์โดยรวม ซึ่งหากปล่อยไว้อย่างนี้ในอนาคตอาจเกิดทัศนอุจาดตามมา
ครับและนั่นก็เป็นเสียงจากคนในพื้นที่ที่ต้องการให้ชาวเชียงคานตื่นตัว และผู้บริหารเมืองเชียงคานหาแนวทางบริหารจัดการ จัดระเบียบ ก่อนที่เชียงคานจะ“เละ”จนกู่ไม่กลับ
3...
เก่าไป ใหม่มา
เดิมมนต์เสน่ห์อันเป็นไฮไลท์ของเชียงคานนั้นอยู่ที่วิถีอัตลักษณ์ท้องถิ่นแห่งเชียงคาน ไม่ว่าจะเป็น ธรรมชาติ วิวทิวทัศน์ บรรยากาศริมฝั่งโขง วิถีชาวบ้านอันเรียบง่าย รอยยิ้มและน้ำใจไมตรี บ้านไม้เรือนโบราณ อาหารการกินพื้นบ้าน และประเพณีตักบาตรข้าวเหนียวอันเป็นเอกลักษณ์
แต่วันนี้ไฮไลท์แห่งเชียงคานของคนส่วนใหญ่ดูเหมือนจะพุ่งเป้าไปที่ถนนชายโขงหรือถนนคนเดิน (ทางผู้บริหารเชียงคานเรียกว่าถนนวัฒนธรรม) ซึ่งในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวถนนสายนี้มีสภาพไม่ต่างอะไรกับตลาดนัด ที่เต็มไปด้วยของกิน ของขาย เสื้อผ้า ของฝาก ของที่ระลึก (ส่วนใครที่อยากจะสัมผัสกับเชียงคานที่ยัง(พอ)มีความสงบงามและกลิ่นอายแบบย้อนยุคหลงเหลืออยู่บ้าง คงต้องไปในช่วงหน้าฝนวันธรรมดาที่มีคนมาเที่ยวกันน้อยไม่พลุกพล่าน)
หลายๆคนเมื่อมาเจอกับถนนถนนเดินเชียงคานแล้วต่างบอกว่า เชียงคานประมาณปาย หรือไม่ก็เชียงคานประมาณอัมพวาไม่ได้ เพราะที่นี่นอกจากจะตกแต่งแบบเก๋ๆแนวๆ(ตามที่กล่าวมาข้างต้น) มีป้ายประดิษฐ์คำพูดเก๋ๆ มีหลักกิโลเมตรใหญ่ให้แอ๊คท่าถ่ายรูปแล้ว ยังมีหลากหลายมุมให้ถ่ายรูป อัพลงไอจี อัพขึ้นเฟซบุ๊ค ซึ่งดูจะเป็นรสนิยมเดียวกันทั้งปาย เชียงคาน อัมพวา และถนนคนเดินหลายแห่ง ตลาดน้ำหลายที่
อย่างไรก็ดีบนถนนคนเดินวันที่ผมไปเดินนั้นก็ยังมีมุมที่เป็นเสน่ห์และสื่อถึงความเป็นเชียงคานแทรกตัวอยู่ในบางจุด(ไม่ใช่มุมหลักกิโล มุมชื่อร้านที่มีคำว่าคานหรือเลย ไม่ใช่มุมที่มีเสื้อประทับตราว่าเชียงคาน) ไม่ว่าจะเป็นมุมขายอาหารพื้นบ้าน ร้านนิยมไทย ร้านอาหารเรือนหลวงพระบาง มุมที่ผู้เฒ่าผู้แก่มาร้องเล่นดนตรีไทยเพื่อนำรายได้ไปถวายวัด มุมที่เด็กตัวน้อยมาร้องเล่นดนตรี เป็นต้น
และนี่ก็คือวิถีร่วมสมัยของเมืองเชียงคานวันนี้ที่เปลี่ยนโฉมจากเมืองโบราณริมฝั่งโขงอันมากไปด้วยเสน่ห์แห่งวันวาน มาเป็น“เมืองท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ” ที่อุดมไปด้วยจริตของคนเมือง และสะท้อนให้เห็นถึงวิถีการท่องเที่ยวแบบไทยๆที่ มีวิถีกำเนิดเกิดก่อ เติบโต และเป็นไปคล้ายๆกัน