โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
รอยอดีตอันยิ่งใหญ่ของมรดกโลกสุโขทัยปรากฏผ่านโบราณสถานงานพุทธศิลป์ที่ยังคงอยู่มากหลาย โดยหนึ่งในวัดดังที่ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญของเมืองมรดกโลกสุโขทัยก็คือ “วัดศรีชุม”
วัดศรีชุมตั้งอยู่ใน อ.เมือง จ.สุโขทัย มีพิกัดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขตกำแพงเมืองใกล้ๆกับประตูศาลหลวงทางทิศเหนือ
ชื่อของวัดศรีชุมข้อมูลส่วนใหญ่ระบุว่ามาจากคำว่า “สะหลีชุม” คำว่า“สะหลี” เป็นคำโบราณหมายถึง“ต้นโพธิ์” ต่อมาภายหลัง คำว่าสะหลีได้เรียกขานเป็น “ศรี” ดังนั้นคำว่าศรีชุมจึงหมายถึง ดงของต้นโพธิ์
วัดศรีชุมเป็นวัดที่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ก่อนจะถูกทิ้งร้างลงในสมัยอยุธยาตอนปลาย จากนั้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ช่วง พ.ศ. 2496-2499 ได้ทำการบูรณะฟื้นฟูวัดแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ เป็นการบูรณะครั้งสำคัญ โดยยึดรูปแบบ วิธีการ และวัสดุแบบโบราณ มีการซ่อมแซมพระประธานใหม่ตามแบบอย่างพระพุทธรูปสำริดศิลปะสุโขทัย
ปัจจุบันวัดศรีชุมหลงเหลืออาคารสำคัญอยู่เพียงหนึ่งเดียวคือ อาคารพระมณฑปที่ภายในมีพื้นที่คับแคบมาก
พระมณฑปคับแคบแบบนี้เป็นอาคารที่เรียกว่า “ปฏิมาฆระ” สร้างตามคติความเชื่อสมัยสุโขทัยที่ไม่ได้ต้องการใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาเหมือนโบสถ์ในสมัยปัจจุบัน หากแต่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการจำลอง “พระคันธกุฎี” หรือ กุฏิที่ประทับของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญเปรียบได้กับองค์เจดีย์ประธานที่เป็นดังตัวแทนของพระพุทธองค์
มณฑปหลังนี้แม้จะคับแคบ แต่กำแพงมณฑปกลับมีความกว้างร่วม 3 เมตร เนื่องเพราะไม่ได้สร้างเป็นกำแพงทึบตัน หากแต่สร้างเป็นช่องกำแพงคล้ายอุโมงค์ เจาะทำเป็นบันไดทางเดินขึ้นถึงหลังคา(ปัจจุบันพังทลายไม่เหลือร่องรอยให้เห็น) ตามผนังทางเดินมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่แม้จะเลอะเลือนไปตามกาลเวลาแต่นี่ได้ชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งงานจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย ซึ่งในสมัยเรียนมหาวิทยาลัยเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ตอนมาทัศนศึกษาที่สุโขทัย ผมเคยเดินขึ้นไปชมจิตกรรมฝาผนังโบราณที่นี่ แต่มาในวันนี้เขาปิดไม่ให้คนขึ้นไปแล้ว
อย่างไรก็ดีในความคับแคบของพระมณฑปกลับโดดเด่นไปด้วย “พระอจนะ” พระประธานองค์โตที่เป็นไฮไลท์สำคัญของวัดศรีชุม และถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของเมืองมรดกโลกสุโขทัย
พระอจนะ แปลว่าผู้ไม่หวั่นไหว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร และมีความสูงถึง 15 เมตร มีพุทธลักษณะงดงามมาก พระวรกายอวบอิ่ม พระพักตร์อมยิ้ม ดูอิ่มบุญเปี่ยมศรัทธา
พระอจนะองค์นี้ไม่ใช่พระพุทธรูปธรรมดา หากแต่(ในอดีต)คือพระพุทธรูปมหัศจรรย์ เพราะเป็น “พระพุทธรูปพูดได้”
เรื่องนี้ผมไม่ได้โม้แต่ยังเล่าไม่จบ
เหตุที่พระอจนะพูดได้นั้นมาการในสมัยอยุธยา เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จมาประชุมทัพ ณ ที่แห่งนี้ เพื่อจะยกไปปราบเมืองสวรรคโลก พระองค์ท่านต้องการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เหล่าทหาร ดังนั้นจึงได้มีพิธีเสี่ยงทายกับพระพุทธรูป โดยได้เสี่ยงทายว่า การรบครั้งนี้หากจะได้รับชัยชนะกลับมาก็ขอให้พระอจนะกล่าวตอบ แต่หากไม่ชนะก็ไม่ต้องตอบสิ่งใด
ผลปรากฏว่าพระอจนะกล่าวตอบกลับมาจริงๆ
เรื่องนี้จริงๆแล้วหาใช่ปาฏิหาริย์แต่อย่างใดไม่ หากแต่เป็นกุศโลบายของสมเด็จพระนเรศวรฯ เพราะก่อนทำพิธีเสี่ยงทาย สมเด็จพระนเรศวรฯได้ส่งคนขึ้นไปอยู่ด้านหลังเศียรพระอจนะเพื่อคอยส่งเสียงตอบกลับมา ฟังเหมือนกับองค์พระพุทธรูปพูดได้จริง
เหตุที่พระองค์ท่านทำเช่นนี้ก็เพราะต้องการสร้างขวัญกำลังใจ ปลุกปลอบขวัญเหล่าทหารหาญให้ฮึกเหิมก่อนจะทำการออกรบ
นับจากนั้นเป็นต้นมา พระอจนะวัดศรีชุมก็ได้รับการร่ำลือว่าเป็นพระพุทธรูปพูดได้
และนี่ก็คือภูมิปัญญาอันน่าทึ่งของบรรพบุรุษที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ได้ยกให้นี่เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวอันซีนไทยแลนด์
นอกจากพระมณฑปกับพระอจนะแล้ว วัดศรีชุมยังหลงเหลือร่องรอยของเสาพระวิหารในอดีตที่ด้านหน้าให้ชมกัน ซึ่งใครอยากจะรู้ว่าวัดศรีชุมดั้งเดิมในสมัยสุโขทัยนั้นเป็นเช่นไร ทางกรมศิลป์เขาก็ได้ทำแบบร่างจำลองของวัดศรีชุมเป็นป้ายเล็กๆไว้ให้ชมกัน เพื่อต่อยอดในจินตนาการ ส่วนที่ใกล้ๆกับมณฑปก็จะมีต้นมะม่วงโบราณต้นยักษ์อายุนับร้อยปี รูปฟอร์มสวยงาม แผ่สยายกิ่งก้านสร้างความร่มรื่น นับต้นไม้เด่นประจำวัดที่มีคนนิยมมาถ่ายรูปคู่ด้วยไม่น้อยเลย
ขณะที่บริเวณด้านหน้าของวัดศรีชุมจะเป็นมุมขายของที่ระลึก ซึ่งผมสะดุดตาสะดุดใจกับปลาตะเพียนและนกสานใบลานของคุณยายที่อยู่หน้าสุด
คนยายคนนี้ชื่อ คุณยาย“เฉลา” อายุอานามปาเข้าไป 94 ปีแล้ว แต่คุณยายยังแข็งแรง เดินจากบ้านที่อยู่ไม่ไกลมาขายปลาตะเพียนสานที่วัดทุกๆวัน
ยายเฉลาเป็นคนสานปลาตะเพียนขายเจ้าแรกของสุโขทัย ทำมาตั้งแต่สมัยยายเป็นเด็กๆ มาวันนี้แม้ผ่านมาร่วม 80 ปี จนฟันฟางของคุณยายไม่เหลือแล้ว แต่สายตาคุณยายยังดี มือยังนิ่ง สานปลาตะเพียนได้คล่องแคล่ว
สำหรับสนนราคาปลาตะเพียนสานของคุณยายเฉลารวมถึงคุณป้าที่อยู่ใกล้ๆกันซึ่งเป็นลูกของยายนั้น ผมเห็นแล้วถึงกับอึ้ง เพราะคุณยายขายถูกมากๆ พวงเล็กแค่ 10 บาท พวงใหญ่ก็แค่ 20 บาท
หนึ่งพวงไม่ได้มีตัวเดียว หากแต่มีหลายตัว แถมฝีมือก็เนี้ยบเกินราคา
งานนี้ผมกับน้องที่ไปจึงซื้อปลาตะเพียนงานฝีมือคุณยายติดไม้ติดมือกลับมา 5 พวง(พวงเล็ก) แต่ความที่ทั้งคนซื้อคนขายคุยกันเพลิน คุณยายจึงไม่เห็นปลาตะเพียน 1 พวงที่น้องอีกคนถือไป แกจึงเข้าใจว่าผมซื้อแค่ 4 พวง ครั้นเมื่อผมส่งเงินให้ยายไป 50 บาท เป็นแบงค์ยี่สิบ 2 ใบ เหรียญสิบ 1 เหรียญ ด้วยความเข้าใจผิด(เพราะไม่เห็นปลาอีกพวง) คุณยายแกจึงรีบคืนเหรียญสิบกลับมา พร้อมกับบอกผมว่า เงิน(10 บาท)นี่จ่ายเกินมานะ
จากนั้นคุณยายได้พูดประโยคเด็ดตามต่อมาว่า “สิบบาทยายก็ไม่โกง เงินเท่าไหร่ยายก็ไม่โกง มันไม่ดี มันบาป”
หลังได้ยินประโยคนี้แล้ว ภาพของนักโทษชายหนีคดีที่ดูไบ และนักการเมืองอีกจำนวนมากต่างผุดขึ้นมาในมโนภาพ ก่อนที่ผมกับน้องคนนั้นจะอธิบายให้คุณยายฟังว่า เราหยิบปลาไป 5 พวง แต่ยายเห็นแค่ 4 พวง ดังนั้นที่ถูกคือเราซื้อปลา 5 พวง เป็นเงิน 50 บาท
แม้ยายจะรับเงินคืนไปแบบยิ้มๆ แต่แกก็ยังพูดย้ำว่า การโกงมันไม่ดี มันบาป สำหรับเงินที่ขายของได้นี่ก็ส่วนใหญ่ก็จะนำไปทำบุญให้กับวัดอยู่เรื่อยๆ
ครับหลังเคลียร์เป็นที่เรียบร้อยให้คุณยายสบายใจแล้ว ก่อนผมอำลาจากวัดศรีชุม คุณยายเฉลาได้อวยพรทิ้งท้ายก่อนกลับว่า
“ขอให้นอนหลับให้ได้เงินหมื่น นอนตื่นให้ได้เงินแสน”
สำหรับคำอวยพรนี้ผมยินดีรับมากๆ อีกทั้งยังอยากจะให้สมพรปากเป็นไปตามที่คุณยายกล่าว แต่ในความเป็นจริงแล้วนี่คงเป็นได้แค่คำอวยพร
เพราะผมก็ไม่โกงเหมือนกัน
รอยอดีตอันยิ่งใหญ่ของมรดกโลกสุโขทัยปรากฏผ่านโบราณสถานงานพุทธศิลป์ที่ยังคงอยู่มากหลาย โดยหนึ่งในวัดดังที่ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญของเมืองมรดกโลกสุโขทัยก็คือ “วัดศรีชุม”
วัดศรีชุมตั้งอยู่ใน อ.เมือง จ.สุโขทัย มีพิกัดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขตกำแพงเมืองใกล้ๆกับประตูศาลหลวงทางทิศเหนือ
ชื่อของวัดศรีชุมข้อมูลส่วนใหญ่ระบุว่ามาจากคำว่า “สะหลีชุม” คำว่า“สะหลี” เป็นคำโบราณหมายถึง“ต้นโพธิ์” ต่อมาภายหลัง คำว่าสะหลีได้เรียกขานเป็น “ศรี” ดังนั้นคำว่าศรีชุมจึงหมายถึง ดงของต้นโพธิ์
วัดศรีชุมเป็นวัดที่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ก่อนจะถูกทิ้งร้างลงในสมัยอยุธยาตอนปลาย จากนั้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ช่วง พ.ศ. 2496-2499 ได้ทำการบูรณะฟื้นฟูวัดแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ เป็นการบูรณะครั้งสำคัญ โดยยึดรูปแบบ วิธีการ และวัสดุแบบโบราณ มีการซ่อมแซมพระประธานใหม่ตามแบบอย่างพระพุทธรูปสำริดศิลปะสุโขทัย
ปัจจุบันวัดศรีชุมหลงเหลืออาคารสำคัญอยู่เพียงหนึ่งเดียวคือ อาคารพระมณฑปที่ภายในมีพื้นที่คับแคบมาก
พระมณฑปคับแคบแบบนี้เป็นอาคารที่เรียกว่า “ปฏิมาฆระ” สร้างตามคติความเชื่อสมัยสุโขทัยที่ไม่ได้ต้องการใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาเหมือนโบสถ์ในสมัยปัจจุบัน หากแต่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการจำลอง “พระคันธกุฎี” หรือ กุฏิที่ประทับของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญเปรียบได้กับองค์เจดีย์ประธานที่เป็นดังตัวแทนของพระพุทธองค์
มณฑปหลังนี้แม้จะคับแคบ แต่กำแพงมณฑปกลับมีความกว้างร่วม 3 เมตร เนื่องเพราะไม่ได้สร้างเป็นกำแพงทึบตัน หากแต่สร้างเป็นช่องกำแพงคล้ายอุโมงค์ เจาะทำเป็นบันไดทางเดินขึ้นถึงหลังคา(ปัจจุบันพังทลายไม่เหลือร่องรอยให้เห็น) ตามผนังทางเดินมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่แม้จะเลอะเลือนไปตามกาลเวลาแต่นี่ได้ชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งงานจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย ซึ่งในสมัยเรียนมหาวิทยาลัยเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ตอนมาทัศนศึกษาที่สุโขทัย ผมเคยเดินขึ้นไปชมจิตกรรมฝาผนังโบราณที่นี่ แต่มาในวันนี้เขาปิดไม่ให้คนขึ้นไปแล้ว
อย่างไรก็ดีในความคับแคบของพระมณฑปกลับโดดเด่นไปด้วย “พระอจนะ” พระประธานองค์โตที่เป็นไฮไลท์สำคัญของวัดศรีชุม และถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของเมืองมรดกโลกสุโขทัย
พระอจนะ แปลว่าผู้ไม่หวั่นไหว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร และมีความสูงถึง 15 เมตร มีพุทธลักษณะงดงามมาก พระวรกายอวบอิ่ม พระพักตร์อมยิ้ม ดูอิ่มบุญเปี่ยมศรัทธา
พระอจนะองค์นี้ไม่ใช่พระพุทธรูปธรรมดา หากแต่(ในอดีต)คือพระพุทธรูปมหัศจรรย์ เพราะเป็น “พระพุทธรูปพูดได้”
เรื่องนี้ผมไม่ได้โม้แต่ยังเล่าไม่จบ
เหตุที่พระอจนะพูดได้นั้นมาการในสมัยอยุธยา เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จมาประชุมทัพ ณ ที่แห่งนี้ เพื่อจะยกไปปราบเมืองสวรรคโลก พระองค์ท่านต้องการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เหล่าทหาร ดังนั้นจึงได้มีพิธีเสี่ยงทายกับพระพุทธรูป โดยได้เสี่ยงทายว่า การรบครั้งนี้หากจะได้รับชัยชนะกลับมาก็ขอให้พระอจนะกล่าวตอบ แต่หากไม่ชนะก็ไม่ต้องตอบสิ่งใด
ผลปรากฏว่าพระอจนะกล่าวตอบกลับมาจริงๆ
เรื่องนี้จริงๆแล้วหาใช่ปาฏิหาริย์แต่อย่างใดไม่ หากแต่เป็นกุศโลบายของสมเด็จพระนเรศวรฯ เพราะก่อนทำพิธีเสี่ยงทาย สมเด็จพระนเรศวรฯได้ส่งคนขึ้นไปอยู่ด้านหลังเศียรพระอจนะเพื่อคอยส่งเสียงตอบกลับมา ฟังเหมือนกับองค์พระพุทธรูปพูดได้จริง
เหตุที่พระองค์ท่านทำเช่นนี้ก็เพราะต้องการสร้างขวัญกำลังใจ ปลุกปลอบขวัญเหล่าทหารหาญให้ฮึกเหิมก่อนจะทำการออกรบ
นับจากนั้นเป็นต้นมา พระอจนะวัดศรีชุมก็ได้รับการร่ำลือว่าเป็นพระพุทธรูปพูดได้
และนี่ก็คือภูมิปัญญาอันน่าทึ่งของบรรพบุรุษที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ได้ยกให้นี่เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวอันซีนไทยแลนด์
นอกจากพระมณฑปกับพระอจนะแล้ว วัดศรีชุมยังหลงเหลือร่องรอยของเสาพระวิหารในอดีตที่ด้านหน้าให้ชมกัน ซึ่งใครอยากจะรู้ว่าวัดศรีชุมดั้งเดิมในสมัยสุโขทัยนั้นเป็นเช่นไร ทางกรมศิลป์เขาก็ได้ทำแบบร่างจำลองของวัดศรีชุมเป็นป้ายเล็กๆไว้ให้ชมกัน เพื่อต่อยอดในจินตนาการ ส่วนที่ใกล้ๆกับมณฑปก็จะมีต้นมะม่วงโบราณต้นยักษ์อายุนับร้อยปี รูปฟอร์มสวยงาม แผ่สยายกิ่งก้านสร้างความร่มรื่น นับต้นไม้เด่นประจำวัดที่มีคนนิยมมาถ่ายรูปคู่ด้วยไม่น้อยเลย
ขณะที่บริเวณด้านหน้าของวัดศรีชุมจะเป็นมุมขายของที่ระลึก ซึ่งผมสะดุดตาสะดุดใจกับปลาตะเพียนและนกสานใบลานของคุณยายที่อยู่หน้าสุด
คนยายคนนี้ชื่อ คุณยาย“เฉลา” อายุอานามปาเข้าไป 94 ปีแล้ว แต่คุณยายยังแข็งแรง เดินจากบ้านที่อยู่ไม่ไกลมาขายปลาตะเพียนสานที่วัดทุกๆวัน
ยายเฉลาเป็นคนสานปลาตะเพียนขายเจ้าแรกของสุโขทัย ทำมาตั้งแต่สมัยยายเป็นเด็กๆ มาวันนี้แม้ผ่านมาร่วม 80 ปี จนฟันฟางของคุณยายไม่เหลือแล้ว แต่สายตาคุณยายยังดี มือยังนิ่ง สานปลาตะเพียนได้คล่องแคล่ว
สำหรับสนนราคาปลาตะเพียนสานของคุณยายเฉลารวมถึงคุณป้าที่อยู่ใกล้ๆกันซึ่งเป็นลูกของยายนั้น ผมเห็นแล้วถึงกับอึ้ง เพราะคุณยายขายถูกมากๆ พวงเล็กแค่ 10 บาท พวงใหญ่ก็แค่ 20 บาท
หนึ่งพวงไม่ได้มีตัวเดียว หากแต่มีหลายตัว แถมฝีมือก็เนี้ยบเกินราคา
งานนี้ผมกับน้องที่ไปจึงซื้อปลาตะเพียนงานฝีมือคุณยายติดไม้ติดมือกลับมา 5 พวง(พวงเล็ก) แต่ความที่ทั้งคนซื้อคนขายคุยกันเพลิน คุณยายจึงไม่เห็นปลาตะเพียน 1 พวงที่น้องอีกคนถือไป แกจึงเข้าใจว่าผมซื้อแค่ 4 พวง ครั้นเมื่อผมส่งเงินให้ยายไป 50 บาท เป็นแบงค์ยี่สิบ 2 ใบ เหรียญสิบ 1 เหรียญ ด้วยความเข้าใจผิด(เพราะไม่เห็นปลาอีกพวง) คุณยายแกจึงรีบคืนเหรียญสิบกลับมา พร้อมกับบอกผมว่า เงิน(10 บาท)นี่จ่ายเกินมานะ
จากนั้นคุณยายได้พูดประโยคเด็ดตามต่อมาว่า “สิบบาทยายก็ไม่โกง เงินเท่าไหร่ยายก็ไม่โกง มันไม่ดี มันบาป”
หลังได้ยินประโยคนี้แล้ว ภาพของนักโทษชายหนีคดีที่ดูไบ และนักการเมืองอีกจำนวนมากต่างผุดขึ้นมาในมโนภาพ ก่อนที่ผมกับน้องคนนั้นจะอธิบายให้คุณยายฟังว่า เราหยิบปลาไป 5 พวง แต่ยายเห็นแค่ 4 พวง ดังนั้นที่ถูกคือเราซื้อปลา 5 พวง เป็นเงิน 50 บาท
แม้ยายจะรับเงินคืนไปแบบยิ้มๆ แต่แกก็ยังพูดย้ำว่า การโกงมันไม่ดี มันบาป สำหรับเงินที่ขายของได้นี่ก็ส่วนใหญ่ก็จะนำไปทำบุญให้กับวัดอยู่เรื่อยๆ
ครับหลังเคลียร์เป็นที่เรียบร้อยให้คุณยายสบายใจแล้ว ก่อนผมอำลาจากวัดศรีชุม คุณยายเฉลาได้อวยพรทิ้งท้ายก่อนกลับว่า
“ขอให้นอนหลับให้ได้เงินหมื่น นอนตื่นให้ได้เงินแสน”
สำหรับคำอวยพรนี้ผมยินดีรับมากๆ อีกทั้งยังอยากจะให้สมพรปากเป็นไปตามที่คุณยายกล่าว แต่ในความเป็นจริงแล้วนี่คงเป็นได้แค่คำอวยพร
เพราะผมก็ไม่โกงเหมือนกัน