โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
นี่เป็นอีกครั้งที่ผมไป “พบพระ”
พบพระที่ว่าหาใช่การไปพบพระ ไหว้พระไหว้เจ้าทำบุญขอพรไม่
หากแต่เป็น “อำเภอพบพระ” อำเภอหนึ่งในจังหวัดตากที่มีชายแดนติดกับพม่า
พบพระเป็นอำเภอที่มีที่มาของชื่อน่าสนใจไม่น้อย เพราะเป็นการเผยให้เห็นถึงปูมหลังของอำเภอแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี โดยในอดีตก่อนที่จะมีการตัดถนนหมายเลข 1206 ซึ่งเป็นถนนเชื่อมระหว่างแม่สอดกับพบพระ การเดินทางจากแม่สอดไปพบพระลำบากมาก เนื่องจากพื้นที่พบพระอยู่ในที่สูง อีกทั้งยังมีฝนตกชุก เพราะได้รับลมมรสุมจากอ่าวเมาะตะมะ
เมื่อมีฝนตกชุก เส้นทางคมนาคมแต่ก่อนที่เป็นดินลูกรังก็เละเทะเป็นโคลนตม ชาวบ้านจึงพากันเรียกสภาพแบบนี้ว่า “ขี้เปรอะเพอะพะ” ที่หมายถึงขี้โคลนเปรอะเลอะเทอะ ถ้าหากใครผ่านไปทางนั้นแข้งขาจะมีแต่ขี้เปรอะเพอะพะ ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นถูกเรียกว่า “บ้านเพอะพะ”
ต่อมาทางการเห็นว่าชื่อฟังไม่เหมาะสม จึงเปลี่ยนเป็นชื่อ “พบพระ” ที่ฟังแล้วดูเป็นสิริมงคลดี
พบพระเป็นเส้นทางผ่านจาก อ.แม่สอด ไป อ.อุ้มผาง ที่มีน้ำตกทีลอซูอันลือลั่น
ด้วยความเป็นทางผ่านทำให้พบพระถูกมองข้ามไป แต่เมื่อประมาณปีที่แล้ว ทาง ททท.สำนักงานตาก อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ได้ร่วมมือกับบางชุมชน พยายามผลักดันให้คนหันมาเที่ยวพบพระมากขึ้น เพราะเดิมเวลาคนจะไปเที่ยวอุ้มผางหรือกลับจากอุ้มผาง ส่วนใหญ่จะแวะเที่ยวใน อ.พบพระ ก็เพียงแค่ที่น้ำตกพาเจริญเท่านั้น ทั้งๆ ที่ในพบพระยังมีของดีน่าสนใจซ่อนกายให้ไปสัมผัสกันไม่น้อย
เที่ยวเกษตร-ชุมชน
ความที่มีฝนตกชุก มีดินดี อากาศดี ทำให้พบพระเป็นพื้นที่ทำการเกษตรชั้นดีของเมืองไทย ทั้งพืชผัก พืชไร่ พืชสวน โดยเฉพาะ“กุหลาบ” ที่พบพระถือว่ามีชื่อมาก เนื่องจากมีอากาศดี ดินดี อุณหภูมิเหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน ในพื้นที่พบพระจึงปลูกกุหลาบได้ดี ทำให้ปัจจุบันพบพระได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกกุหลาบที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย โดยกุหลาบส่วนใหญ่จะเป็นกุหลาบไร้หนาม ซึ่งสวนกุหลาบบางแห่งก็เปิดสวนให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชม ซื้อกุหลาบกันในแบบกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร
นอกจากกุหลาบแล้ว พบพระยังเป็นแหล่งปลูกดาวเรืองแหล่งใหญ่ที่หากใครผ่านไปจะเห็นพื้นที่สีเหลืองอร่าม (จากดอกดาวเรือง) ปรากฏอยู่เป็นหย่อมๆ
ส่วนผลิตผลทางการเกษตรที่มาแรงมากช่วงนี้ก็คือ “ข้าวลืมผัว” ข้าวชื่อสะดุดหูกับข้าวเหนียวดำหรือข้าวกล่ำพันธุ์พิเศษที่มีรสชาติอร่อย หอมนุ่ม ซึ่งวันนี้มีหลายพื้นที่ต่างอ้างตัวว่าเป็นต้นตำรับของข้าวลืมผัว แต่ที่พบพระนี่ผมไปเจอกับพี่ “สมเดช ท้าววัฒนากุล” ประธานสภา อบต.คีรีราษฎร์ ผู้ที่ยืนยันชัดเจนพร้อมเล่าที่มาที่ไปว่าเขาเป็นผู้ที่คิดตั้งชื่อข้าวพันธุ์นี้ขึ้นว่า “ข้าวลืมผัว” เพราะเดิมนี่เป็นข้าวกล่ำสายพันธุ์โบราณ ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่าข้าวเหนียวดำหรือข้าวกล่ำ ไม่มีการตั้งชื่อพิเศษ ขณะที่ชาวม้งเรียกว่า “หม่อบล่าวล้า” ที่แปลว่าข้าวเหนียวแดง
พูดถึงข้าวลืมผัวแล้ว ที่หมู่บ้านม้ง “บ้านป่าคาใหม่” ใน ต.คีรีราษฎร์ เขาได้ริเริ่มจัดกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนขึ้นโดยชูข้าวลืมผัวมาเป็นหนึ่งในแม่เหล็กดึงดูด ให้คนไปกิน ไปซื้อหรือถ้าตรงกับช่วงฤดูกาลต่างๆ นักท่องเที่ยวก็สามารถขอไปร่วมปลูกข้าว ดำนา เกี่ยวข้าว ตำข้าวได้
สำหรับผู้ที่ติดต่อมาเที่ยวบ้านป่าคาใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว (หลายสิ่งหลายอย่างอาจยังไม่ลงตัว แต่มีความน่ารักเป็นธรรมชาติดี) จะได้สัมผัสกับวิถีเกษตร วิถีชุมชน การแสดงของชาวม้ง ซึ่งหากไปในช่วงที่เขามีเทศกาลจะสนุกมาก
นอกจากนี้ทางชุมชนยังมีเมนูพื้นบ้าน มีข้าวลืมผัวเป็นเมนูชูโรงกินกับอาหารพื้นบ้าน อย่าง ต้มไก่บ้านสมุนไพร ต้มหมื่นปี (คล้ายผักกาดจอ) รวมไปถึงยังได้ลิ้มรสสุราพื้นบ้านที่มีวัฒนธรรมการดื่มในจอกเขาวัว และการชน (เหล้า) เขาวัวที่ผมบอกได้เลยว่า
เมื่อชนแล้วส่วนใหญ่เมากันถ้วนหน้า
ท่องธรรมชาติ
ในอำเภอพบพระมีสถานที่ท่องเที่ยวเด่นคือ “น้ำตกพาเจริญ” ที่ถือเป็นหนึ่งในน้ำตกขึ้นชื่อของจังหวัดตากที่มีคนนิยมมาท่องเที่ยวและพักผ่อนเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ใน “อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ”
น้ำตกพาเจริญเป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากลำห้วยหลายสายไหลมารวมกับน้ำซับบนเขา แล้วไหลเป็นสายน้ำตกลงสู่เบื้องล่าง มีลักษณะเป็นชั้นใหญ่ชั้นเดียว แต่มีชั้นเล็กๆ น้อยๆ ยิบย่อยมากมายนับรวมได้ถึง 97 ชั้น ซึ่งสายน้ำจะไหลลดหลั่นผ่านชั้นหินดูคล้ายบันไดขาวฟูฟ่องสวยงามมาจนถึงแอ่งลำธารเบื้องล่างที่สามารถลงเล่นน้ำได้ ในบรรยากาศธรรมชาติแมกไม้อันร่มรื่น
สำหรับผู้ที่ไปเที่ยวน้ำตกพาเจริญในช่วงนี้ (ส.ค.-ต้น ต.ค.) จะได้พบกับความพิเศษคือทุ่งดอกกระเจียวส้มสีสด ที่ทางอุทยานฯ ได้ปลูกดอกกระเจียวชนิดนี้ประดับไว้ตามที่ว่างต่างๆ ทั่วบริเวณ มองเห็นเป็นสีส้มสดตัดกับสีเขียวของต้นใบ (กระเจียว) และต้นไม้ใบหญ้าอื่นๆ นับเป็นเสน่ห์พิเศษของน้ำตกพาเจริญที่พบได้เฉพาะในหน้าฝนเท่านั้น
ในอุทยานฯ น้ำตกพาเจริญยังมี “น้ำตกป่าหวาย” เป็นอีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวอันโดดเด่นในอุทยานฯ น้ำตกพาเจริญ
น้ำตกป่าหวาย อยู่ห่างจากน้ำตกพาเจริญประมาณ 20 กม. มีทางเดินลงไปชมน้ำตกจากริมถนน ผ่านลำธาร แมกไม้อันร่มรื่น ก่อนที่จะไปยังตัวน้ำตกป่าหวาย ผมแวะเดินเที่ยวในเส้นทางสัมผัสธรรมชาติที่แม้จะเป็นเส้นทางสั้นๆ แต่ก็มีของดีของแปลกให้สัมผัสกันหลากหลายทีเดียว เริ่มจากปล่องภูเขาธรรมชาติ กว้างประมาณ 10 เมตร มีสายน้ำไหลบางๆ ลงไปในปล่องที่ไม่สามารถคะเนความลึกได้ และก็ไม่มีใครคิดจะลงไปสำรวจอย่างจริงจัง
ปล่องภูเขาแห่งนี้เดิมชาวบ้านเรียกว่า "ถ้ำนรก" ซึ่ง “เน้ง แซ่กือ” ชาวม้งในพื้นที่ที่มาทำหน้าที่เป็นไกด์เที่ยวชมบอกกับผมว่า ในสมัยที่มีการต่อสู้ทางการเมืองพบพระเป็นพื้นที่สีแดง มีการนำศพคนตายมาทิ้งไว้ที่นี่
“ผมเคยใช้เชือกยาว 20 วา โรยตัวลงไป ยังไปไม่ถึงก้นปล่องเลย มันคงลึกมาก และข้างล่างมีค้างคาวเยอะ” เน้งเล่าให้ฟัง
มาวันนี้ปล่องภูเขาแห่งนี้ได้รับการเรียกขานใหม่ว่า “น้ำตกพิศวง” ที่ยังคงปล่อยให้ผู้คนที่มาเที่ยวชมพิศวงสงสัยในความลึกของมันต่อไป
จากน้ำตกพิศวงมีเส้นทางเดินชมสิ่งน่าสนใจต่างๆ ข้างทาง ไม่ว่าจะเป็นถ้ำหนู ถ้ำเจ้าบ่าว ถ้ำเจ้าสาว ถ้ำเม่น แต่ละถ้ำเป็นถ้ำเล็กๆ เข้าไปไม่ลึก บางถ้ำดูไม่เหมือนถ้ำ แต่ไม่น่าเชื่อว่ามันจะมีหินงอกหินย้อยสวยๆ งามๆ ให้ชมกันพอดู โดยเฉพาะหินรูปปะการัง กับหินย้อยที่มีลักษณะเป็นดอกเล็กๆ เคลือบด้วยหยดน้ำสีคล้ายน้ำผึ้ง ดูคล้ายหินเคลือบน้ำผึ้งที่น่าประหลาดทีเดียว
นอกจากนี้ในเส้นทางดังกล่าวยังมีต้นกระบากยักษ์หลายคนโอบ ปอเลียงฝ้ายต้นยักษ์ยืนตายซากที่คนสามารถเข้าไปยืนในลำต้นของมันได้
หลังเดินดูสิ่งแปลกๆ ในเส้นทางที่ผ่านมาแล้ว เราเดินย้อนกลับมาทางเดิมเพื่อไปเที่ยวชมน้ำตกป่าหวาย น้ำตกหินปูนที่ตั้งชื่อตามสภาพที่มีต้นหวายขึ้นเป็นจำนวนมาก
เจ้าหน้าที่อุทยานฯ บอกกับผมว่า น้ำตกแห่งนี้มีชั้นหลักๆ หรือชั้นใหญ่ๆ ทั้งหมด 7 ชั้นด้วยกัน แต่ละชั้นแบ่งเป็นชั้นย่อยๆ มากมาย นับรวมแล้วเกินกว่าร้อยชั้น
น้ำตกป่าหวาย แต่ละชั้นมีสายน้ำไหลฟูฟ่องลดหลั่นลงมาตามชั้นหินน้อยใหญ่ ในตัวน้ำตกมีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นแซม ท่ามกลางธรรมชาติอันร่มรื่นสวยงาม ซึ่งแม้ผมเพิ่งจะมีโอกาสได้มาสัมผัสกับน้ำตกป่าหวายเป็นครั้งแรก แต่ความงามของน้ำตกแห่งนี้ได้สร้างความตรึงตาตรึงใจไม่น้อยเลย
นี่ก็คือเสน่ห์ของพบพระ อำเภอทางผ่าน ที่หากใครผ่านแล้ว ไม่ผ่านเลยก็จะพบว่า
พบพระพาเพลิน พบพานเพื่อผูกพัน
*****************************************
ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญยังมีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจได้แก่ “จุดชมวิวดอยเกี๊ยะ” ที่เป็นจุดสูงสุดบริเวณชายแดนไทย-พม่า สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 512 เมตร เมื่อขึ้นไปบนนั้นสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ข้ามประเทศไปถึงพม่าได้ ในช่วงหน้าหนาวจะมีทะเลหมอกอันสวยงามในทัศนากัน
“บ่อน้ำร้อนห้วยน้ำนัก” เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ ปราศจากกลิ่นกำมะถัน มีอุณหภูมิประมาณ 60 องศาเซลเซียส ในเอกสารของอุทยานฯ น้ำตกพาเจริญระบุว่า น้ำในบ่อน้ำร้อนมีแร่ธาตุสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งปัจจุบันทางอุทยานฯ ได้พัฒนาปรับปรุงพื้นที่สำหรับการแช่น้ำร้อนเพื่อสุขภาพ ผ่อนคลาย และเพื่อการท่องเที่ยว พร้อมชูเป็น “ออนเซนเมืองตาก” ให้ผู้สนใจได้มาสัมผัสกัน
นอกจากนี้ก็ยังมีน้ำตกห้วยตะปูเคาะ น้ำตกสายฟ้า น้ำตกธารารักษ์ ถ้ำช้างร้องหรืออุโมงค์วงกต ซึ่งผู้สนใจเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-5557-7590, 0-5550-0906 และสามารถสอบถามข้อมูลท่องเที่ยวใน อ.พบพระ เชื่อมโยงกับอำเภออื่นๆ และสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร การเดินทางใน จ.ตาก ได้ที่โทร. 0-5551-4341-3
นี่เป็นอีกครั้งที่ผมไป “พบพระ”
พบพระที่ว่าหาใช่การไปพบพระ ไหว้พระไหว้เจ้าทำบุญขอพรไม่
หากแต่เป็น “อำเภอพบพระ” อำเภอหนึ่งในจังหวัดตากที่มีชายแดนติดกับพม่า
พบพระเป็นอำเภอที่มีที่มาของชื่อน่าสนใจไม่น้อย เพราะเป็นการเผยให้เห็นถึงปูมหลังของอำเภอแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี โดยในอดีตก่อนที่จะมีการตัดถนนหมายเลข 1206 ซึ่งเป็นถนนเชื่อมระหว่างแม่สอดกับพบพระ การเดินทางจากแม่สอดไปพบพระลำบากมาก เนื่องจากพื้นที่พบพระอยู่ในที่สูง อีกทั้งยังมีฝนตกชุก เพราะได้รับลมมรสุมจากอ่าวเมาะตะมะ
เมื่อมีฝนตกชุก เส้นทางคมนาคมแต่ก่อนที่เป็นดินลูกรังก็เละเทะเป็นโคลนตม ชาวบ้านจึงพากันเรียกสภาพแบบนี้ว่า “ขี้เปรอะเพอะพะ” ที่หมายถึงขี้โคลนเปรอะเลอะเทอะ ถ้าหากใครผ่านไปทางนั้นแข้งขาจะมีแต่ขี้เปรอะเพอะพะ ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นถูกเรียกว่า “บ้านเพอะพะ”
ต่อมาทางการเห็นว่าชื่อฟังไม่เหมาะสม จึงเปลี่ยนเป็นชื่อ “พบพระ” ที่ฟังแล้วดูเป็นสิริมงคลดี
พบพระเป็นเส้นทางผ่านจาก อ.แม่สอด ไป อ.อุ้มผาง ที่มีน้ำตกทีลอซูอันลือลั่น
ด้วยความเป็นทางผ่านทำให้พบพระถูกมองข้ามไป แต่เมื่อประมาณปีที่แล้ว ทาง ททท.สำนักงานตาก อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ได้ร่วมมือกับบางชุมชน พยายามผลักดันให้คนหันมาเที่ยวพบพระมากขึ้น เพราะเดิมเวลาคนจะไปเที่ยวอุ้มผางหรือกลับจากอุ้มผาง ส่วนใหญ่จะแวะเที่ยวใน อ.พบพระ ก็เพียงแค่ที่น้ำตกพาเจริญเท่านั้น ทั้งๆ ที่ในพบพระยังมีของดีน่าสนใจซ่อนกายให้ไปสัมผัสกันไม่น้อย
เที่ยวเกษตร-ชุมชน
ความที่มีฝนตกชุก มีดินดี อากาศดี ทำให้พบพระเป็นพื้นที่ทำการเกษตรชั้นดีของเมืองไทย ทั้งพืชผัก พืชไร่ พืชสวน โดยเฉพาะ“กุหลาบ” ที่พบพระถือว่ามีชื่อมาก เนื่องจากมีอากาศดี ดินดี อุณหภูมิเหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน ในพื้นที่พบพระจึงปลูกกุหลาบได้ดี ทำให้ปัจจุบันพบพระได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกกุหลาบที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย โดยกุหลาบส่วนใหญ่จะเป็นกุหลาบไร้หนาม ซึ่งสวนกุหลาบบางแห่งก็เปิดสวนให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชม ซื้อกุหลาบกันในแบบกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร
นอกจากกุหลาบแล้ว พบพระยังเป็นแหล่งปลูกดาวเรืองแหล่งใหญ่ที่หากใครผ่านไปจะเห็นพื้นที่สีเหลืองอร่าม (จากดอกดาวเรือง) ปรากฏอยู่เป็นหย่อมๆ
ส่วนผลิตผลทางการเกษตรที่มาแรงมากช่วงนี้ก็คือ “ข้าวลืมผัว” ข้าวชื่อสะดุดหูกับข้าวเหนียวดำหรือข้าวกล่ำพันธุ์พิเศษที่มีรสชาติอร่อย หอมนุ่ม ซึ่งวันนี้มีหลายพื้นที่ต่างอ้างตัวว่าเป็นต้นตำรับของข้าวลืมผัว แต่ที่พบพระนี่ผมไปเจอกับพี่ “สมเดช ท้าววัฒนากุล” ประธานสภา อบต.คีรีราษฎร์ ผู้ที่ยืนยันชัดเจนพร้อมเล่าที่มาที่ไปว่าเขาเป็นผู้ที่คิดตั้งชื่อข้าวพันธุ์นี้ขึ้นว่า “ข้าวลืมผัว” เพราะเดิมนี่เป็นข้าวกล่ำสายพันธุ์โบราณ ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่าข้าวเหนียวดำหรือข้าวกล่ำ ไม่มีการตั้งชื่อพิเศษ ขณะที่ชาวม้งเรียกว่า “หม่อบล่าวล้า” ที่แปลว่าข้าวเหนียวแดง
พูดถึงข้าวลืมผัวแล้ว ที่หมู่บ้านม้ง “บ้านป่าคาใหม่” ใน ต.คีรีราษฎร์ เขาได้ริเริ่มจัดกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนขึ้นโดยชูข้าวลืมผัวมาเป็นหนึ่งในแม่เหล็กดึงดูด ให้คนไปกิน ไปซื้อหรือถ้าตรงกับช่วงฤดูกาลต่างๆ นักท่องเที่ยวก็สามารถขอไปร่วมปลูกข้าว ดำนา เกี่ยวข้าว ตำข้าวได้
สำหรับผู้ที่ติดต่อมาเที่ยวบ้านป่าคาใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว (หลายสิ่งหลายอย่างอาจยังไม่ลงตัว แต่มีความน่ารักเป็นธรรมชาติดี) จะได้สัมผัสกับวิถีเกษตร วิถีชุมชน การแสดงของชาวม้ง ซึ่งหากไปในช่วงที่เขามีเทศกาลจะสนุกมาก
นอกจากนี้ทางชุมชนยังมีเมนูพื้นบ้าน มีข้าวลืมผัวเป็นเมนูชูโรงกินกับอาหารพื้นบ้าน อย่าง ต้มไก่บ้านสมุนไพร ต้มหมื่นปี (คล้ายผักกาดจอ) รวมไปถึงยังได้ลิ้มรสสุราพื้นบ้านที่มีวัฒนธรรมการดื่มในจอกเขาวัว และการชน (เหล้า) เขาวัวที่ผมบอกได้เลยว่า
เมื่อชนแล้วส่วนใหญ่เมากันถ้วนหน้า
ท่องธรรมชาติ
ในอำเภอพบพระมีสถานที่ท่องเที่ยวเด่นคือ “น้ำตกพาเจริญ” ที่ถือเป็นหนึ่งในน้ำตกขึ้นชื่อของจังหวัดตากที่มีคนนิยมมาท่องเที่ยวและพักผ่อนเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ใน “อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ”
น้ำตกพาเจริญเป็นน้ำตกหินปูนที่เกิดจากลำห้วยหลายสายไหลมารวมกับน้ำซับบนเขา แล้วไหลเป็นสายน้ำตกลงสู่เบื้องล่าง มีลักษณะเป็นชั้นใหญ่ชั้นเดียว แต่มีชั้นเล็กๆ น้อยๆ ยิบย่อยมากมายนับรวมได้ถึง 97 ชั้น ซึ่งสายน้ำจะไหลลดหลั่นผ่านชั้นหินดูคล้ายบันไดขาวฟูฟ่องสวยงามมาจนถึงแอ่งลำธารเบื้องล่างที่สามารถลงเล่นน้ำได้ ในบรรยากาศธรรมชาติแมกไม้อันร่มรื่น
สำหรับผู้ที่ไปเที่ยวน้ำตกพาเจริญในช่วงนี้ (ส.ค.-ต้น ต.ค.) จะได้พบกับความพิเศษคือทุ่งดอกกระเจียวส้มสีสด ที่ทางอุทยานฯ ได้ปลูกดอกกระเจียวชนิดนี้ประดับไว้ตามที่ว่างต่างๆ ทั่วบริเวณ มองเห็นเป็นสีส้มสดตัดกับสีเขียวของต้นใบ (กระเจียว) และต้นไม้ใบหญ้าอื่นๆ นับเป็นเสน่ห์พิเศษของน้ำตกพาเจริญที่พบได้เฉพาะในหน้าฝนเท่านั้น
ในอุทยานฯ น้ำตกพาเจริญยังมี “น้ำตกป่าหวาย” เป็นอีกหนึ่งจุดท่องเที่ยวอันโดดเด่นในอุทยานฯ น้ำตกพาเจริญ
น้ำตกป่าหวาย อยู่ห่างจากน้ำตกพาเจริญประมาณ 20 กม. มีทางเดินลงไปชมน้ำตกจากริมถนน ผ่านลำธาร แมกไม้อันร่มรื่น ก่อนที่จะไปยังตัวน้ำตกป่าหวาย ผมแวะเดินเที่ยวในเส้นทางสัมผัสธรรมชาติที่แม้จะเป็นเส้นทางสั้นๆ แต่ก็มีของดีของแปลกให้สัมผัสกันหลากหลายทีเดียว เริ่มจากปล่องภูเขาธรรมชาติ กว้างประมาณ 10 เมตร มีสายน้ำไหลบางๆ ลงไปในปล่องที่ไม่สามารถคะเนความลึกได้ และก็ไม่มีใครคิดจะลงไปสำรวจอย่างจริงจัง
ปล่องภูเขาแห่งนี้เดิมชาวบ้านเรียกว่า "ถ้ำนรก" ซึ่ง “เน้ง แซ่กือ” ชาวม้งในพื้นที่ที่มาทำหน้าที่เป็นไกด์เที่ยวชมบอกกับผมว่า ในสมัยที่มีการต่อสู้ทางการเมืองพบพระเป็นพื้นที่สีแดง มีการนำศพคนตายมาทิ้งไว้ที่นี่
“ผมเคยใช้เชือกยาว 20 วา โรยตัวลงไป ยังไปไม่ถึงก้นปล่องเลย มันคงลึกมาก และข้างล่างมีค้างคาวเยอะ” เน้งเล่าให้ฟัง
มาวันนี้ปล่องภูเขาแห่งนี้ได้รับการเรียกขานใหม่ว่า “น้ำตกพิศวง” ที่ยังคงปล่อยให้ผู้คนที่มาเที่ยวชมพิศวงสงสัยในความลึกของมันต่อไป
จากน้ำตกพิศวงมีเส้นทางเดินชมสิ่งน่าสนใจต่างๆ ข้างทาง ไม่ว่าจะเป็นถ้ำหนู ถ้ำเจ้าบ่าว ถ้ำเจ้าสาว ถ้ำเม่น แต่ละถ้ำเป็นถ้ำเล็กๆ เข้าไปไม่ลึก บางถ้ำดูไม่เหมือนถ้ำ แต่ไม่น่าเชื่อว่ามันจะมีหินงอกหินย้อยสวยๆ งามๆ ให้ชมกันพอดู โดยเฉพาะหินรูปปะการัง กับหินย้อยที่มีลักษณะเป็นดอกเล็กๆ เคลือบด้วยหยดน้ำสีคล้ายน้ำผึ้ง ดูคล้ายหินเคลือบน้ำผึ้งที่น่าประหลาดทีเดียว
นอกจากนี้ในเส้นทางดังกล่าวยังมีต้นกระบากยักษ์หลายคนโอบ ปอเลียงฝ้ายต้นยักษ์ยืนตายซากที่คนสามารถเข้าไปยืนในลำต้นของมันได้
หลังเดินดูสิ่งแปลกๆ ในเส้นทางที่ผ่านมาแล้ว เราเดินย้อนกลับมาทางเดิมเพื่อไปเที่ยวชมน้ำตกป่าหวาย น้ำตกหินปูนที่ตั้งชื่อตามสภาพที่มีต้นหวายขึ้นเป็นจำนวนมาก
เจ้าหน้าที่อุทยานฯ บอกกับผมว่า น้ำตกแห่งนี้มีชั้นหลักๆ หรือชั้นใหญ่ๆ ทั้งหมด 7 ชั้นด้วยกัน แต่ละชั้นแบ่งเป็นชั้นย่อยๆ มากมาย นับรวมแล้วเกินกว่าร้อยชั้น
น้ำตกป่าหวาย แต่ละชั้นมีสายน้ำไหลฟูฟ่องลดหลั่นลงมาตามชั้นหินน้อยใหญ่ ในตัวน้ำตกมีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นแซม ท่ามกลางธรรมชาติอันร่มรื่นสวยงาม ซึ่งแม้ผมเพิ่งจะมีโอกาสได้มาสัมผัสกับน้ำตกป่าหวายเป็นครั้งแรก แต่ความงามของน้ำตกแห่งนี้ได้สร้างความตรึงตาตรึงใจไม่น้อยเลย
นี่ก็คือเสน่ห์ของพบพระ อำเภอทางผ่าน ที่หากใครผ่านแล้ว ไม่ผ่านเลยก็จะพบว่า
พบพระพาเพลิน พบพานเพื่อผูกพัน
*****************************************
ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญยังมีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจได้แก่ “จุดชมวิวดอยเกี๊ยะ” ที่เป็นจุดสูงสุดบริเวณชายแดนไทย-พม่า สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 512 เมตร เมื่อขึ้นไปบนนั้นสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ข้ามประเทศไปถึงพม่าได้ ในช่วงหน้าหนาวจะมีทะเลหมอกอันสวยงามในทัศนากัน
“บ่อน้ำร้อนห้วยน้ำนัก” เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติ ปราศจากกลิ่นกำมะถัน มีอุณหภูมิประมาณ 60 องศาเซลเซียส ในเอกสารของอุทยานฯ น้ำตกพาเจริญระบุว่า น้ำในบ่อน้ำร้อนมีแร่ธาตุสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งปัจจุบันทางอุทยานฯ ได้พัฒนาปรับปรุงพื้นที่สำหรับการแช่น้ำร้อนเพื่อสุขภาพ ผ่อนคลาย และเพื่อการท่องเที่ยว พร้อมชูเป็น “ออนเซนเมืองตาก” ให้ผู้สนใจได้มาสัมผัสกัน
นอกจากนี้ก็ยังมีน้ำตกห้วยตะปูเคาะ น้ำตกสายฟ้า น้ำตกธารารักษ์ ถ้ำช้างร้องหรืออุโมงค์วงกต ซึ่งผู้สนใจเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-5557-7590, 0-5550-0906 และสามารถสอบถามข้อมูลท่องเที่ยวใน อ.พบพระ เชื่อมโยงกับอำเภออื่นๆ และสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร การเดินทางใน จ.ตาก ได้ที่โทร. 0-5551-4341-3