โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
ท่ามกลางความเติบโตทางวัตถุ สิ่งปลูกสร้าง แสง สี สถานบันเทิง ร้านเหล้า บาร์เบียร์ แบบก้าวกระโดดบนเกาะหลีเป๊ะอย่างน่าใจหาย(โดยเฉพาะทางฝั่งหาดพัทยา) การเติบโตของประชากรหมาแมวบนเกาะแห่งนี้ก็รวดเร็วก้าวกระโดดจนน่าใจหายไม่แพ้กัน
ก้าวกระโดดจนมีคนอดเป็นห่วงไม่ได้ว่า หมาและแมวอาจจะล้นเกาะหลีเป๊ะเอาได้ง่ายๆในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
นอกจากนี้เหล่าหมาแมวจรจัดเหล่านั้น ปัจจุบันยังได้เข้าไปสร้างปัญหาตามร้านอาหาร ที่พัก และบริเวณริมชายหาด จนทางปศุสัตว์จังหวัดสตูลได้รับเรื่องร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวบ่อยครั้ง ทั้งเรื่องหมาแมวจรจัดรบกวน และเรื่องที่มีหมาท่าทีดุร้ายจะทำร้ายนักท่องเที่ยว
ด้วยเหตุนี้หลายภาคส่วนในจังหวัดสตูลจึงร่วมกันจัดทำโครงการ “การทำหมันสุนัขและแมว เพื่อลดประชากรสัตว์บนเกาะหลีเป๊ะ”ขึ้นมา เพื่อคุมกำเนิดประชากรหมาแมวบนเกาะหลีเป๊ะไม่ให้มันแพร่พันธุ์ออกลูกออกหลานจนเกลื่อน ไปสร้างปัญหาให้กับเกาะท่องเที่ยวแห่งนี้
สำหรับโครงการทำหมันหมาแมวปีนี้ เขาจัดในช่วงเดียวกับโครงการ “เปิดฟ้าอันดามัน สวรรค์สตูล” และกิจกรรม “รักษ์เล ป่า ฟ้า สตูล” ที่นำเหล่าจิตอาสามาร่วมกันเก็บขยะตามเกาะต่างๆในอุทยานแห่งชาติตะรุเตาทั้งบนบกและใต้น้ำ ซึ่งมันประจวบเหมาะกับช่วงที่ผมหนีป้าน้ำลงใต้ไปเที่ยวเกาะหลีเป๊ะพอดี งานนี้หลังจากที่ดูบรรดาแหม่มๆอวบอึ๋มบ๊ะลึ่มฮึ่มสวมบิกีนี่อะหล่างฉ่างนอนอาบแดดริมชายหาดจนปลงแล้ว ผมเลยขอเปลี่ยนบรรยากาศไปดูเขาตอนหมาแมวกันบ้าง
หมาเยอะ เพราะคน
เมื่อมาถึงยังจุดตอนหมาที่ทีมงานกำลังตั้งหน้าตั้งตาทำงานกันอย่างขะมักเขม้น “วิทยา ขจีรัมย์” นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงาน ปศุสัตว์จังหวัดสตูล หนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงหลักของการตอนหมาแมว ได้สละเวลามาบอกเล่าข้อมูลให้ฟัง หมาบนเกาะหลีเป๊ะมีแค่ประมาณ 10% เท่านั้นที่มีเจ้าของ ส่วนที่เหลืออีก 90% เป็นหมาจรจัด ส่วนใหญ่เป็นหมาจากบนฝั่งที่นักท่องเที่ยวนำมาเที่ยวด้วยแล้วก็ปล่อยทิ้งมันไว้ ให้มันขยายพันธุ์กันอย่างรวดเร็ว(มาก) เฉพาะแค่ช่วงปี 2553 - 2554 พบว่าบนเกาะหลีเป๊ะมีจำนวนหมาแมวเพิ่มขึ้นมากถึงกว่า 600 ตัว รวมของเก่าก็ร่วมๆพันกว่าตัวเลยทีเดียว
เมื่อเป็นเช่นนี้เหล่าทีมสัตวแพทย์ผู้มองเห็นปัญหากับทีมเครือข่ายอาสาสมัครจึงร่วมกันผลักดันโครงการทำหมันหมาแมวบนเกาะให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2552
“ช่วงแรกที่เริ่มโครงการ ชาวบ้านยังไม่รู้ว่าพวกเรามาทำอะไร จึงไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ครั้งแรกทำหมันหมาได้แค่ประมาณ 20-30 ตัวเท่านั้น ”
แต่หมอวิทยากับทีมงานก็ไม่ได้ย่อท้อเดินหน้าสร้างความเข้ากับชาวบ้าน และประชาสัมพันธ์งานให้กว้างขวางขึ้น จนมีองค์กรอื่นๆเข้ามาสมทบ และได้รับการตอบรับจากชาวบ้านด้วยดี จนในปี ต่อมา 2553 สามารถดำเนินการทำหมันหมาแมวบนเกาะหลีเป๊ะได้มากถึง 200 ตัว รวมทั้งหมดที่ผ่านมา 5 ครั้ง(บางปีมีการทำหมันหมาแมวบนเกาะ 2 ครั้งด้วยกัน) สามารถทำหมันหมาแมวบนเกาะไปได้ประมาณ 500 ตัว ขณะที่ในปีนี้ก็ตั้งเป้าไว้ประมาณ 200 ตัวเช่นกัน
สำหรับหมาแมวตัวไหนที่มาทำหมันจะได้รับการฉีดยาป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วย ส่วนการจะดูว่าตัวไหนถูกทำหมันแล้ว หมอวิทยาบอกมีวิธีสังเกตง่ายๆ คือ จะมีตราประทับอยู่ที่ใบหูด้านในหรือที่ข้างลำตัว(เป็นการประทับเย็นด้วยไฮโดรเจนเหลว) ซึ่งเดิมนั้นพวกเขาใช้วิธีแขวนป้ายสีแดงให้กับหมาที่ทำหมันแล้ว แต่ว่ามันอยู่ไม่คงทนจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีประทับตราแทน
นอกจากการทำหมันหมาแมวแล้ว ยังมีเรื่องของการจัดระเบียบการให้อาหารหมาบนเกาะอย่างเป็นที่เป็นทาง โดยทางทีมงานของหมอวิทยาได้รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวนำอาหารไปให้หมาเป็นจุดๆตามที่จัดไว้ให้(มีทั้งจุดให้อาหารสัตว์และจุดห้ามให้อาหารสัตว์) เพื่อไม่ให้หมาไปก่อกวนตามร้านอาหารและที่พักต่างๆ ส่วนมันจะเปลี่ยนพฤติกรรมการหากินของหมาได้มากน้อยแค่ไหนงานนี้คงต้องติดตามกันต่อไป
ในขณะที่ต้นเหตุของการนำหมาแมวมาปล่อยทิ้งไว้ที่เกาะหลีเป๊ะด้วยน้ำมือมนุษย์นั้น ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันป้องกันให้ดี มิเช่นนั้นทำหมันแทบตายสุดท้ายเกาะหลีเป๊ะก็ยังมีหมาแมวจากบนฝั่งมาคอยเพิ่มจำนวนอยู่ดี
ลูกดอก“เรยา” ภูมิปัญญากันหมาเกิด
การทำหมันหมาแมวถ้าตัวไหนมีเจ้าของ ย่อมไม่ใช่เรื่องยากสำหรับทีมงาน จับมันมาฉีดยาสลบก็สามารถลงมือปฏิบัติงานได้ แต่เจ้าพวกจรจัดวิ่งไปวิ่งมาอยู่ไม่เป็นหลักแหล่งนี้สิ จัดการมันยากหน่อย เพราะต้องไปพยายามจับตัวมันมาให้ได้ แถมถ้าตัวไหนสู้ก็ยิ่งลำบากเข้าไปอีก
นั่นจึงทำให้เกิดมีทีมงานจับหมาขึ้น โดย “สิทธิชัย สิงห์ผล” มือเป่าลูกดอกคนสำคัญของทีม ได้อธิบายถึงขั้นตอนการทำงานของพวกเขาว่า เบื้องต้นต้องออกสำรวจก่อนว่าบริเวณไหนเป็นแหล่งอยู่อาศัยของหมาแมวจรจัด ตัวไหนจับฉีดยาได้ก็จับฉีดยา ส่วนตัวไหนดุหรือหนีจับไม่ได้ให้ส่งทีมออกไปไล่ตามจับด้วยวิธีการเป่าลูกดอกยาสลบ พร้อมด้วยทีมติดตามกับทีมจับหลังจากยิงยา
สำหรับมือลูกดอกอย่างสิทธิชัยนั้นเปรียบดังพรานอย่างรพินทร์ ไพรวัลย์ ที่การปล่อยลูกดอกแต่ละทีต้องให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เพราะนั่นนอกจากจะทำให้หมาวิ่งหนีเตลิดไปแล้ว ยังหมายถึงการหายวับไปของเม็ดเงินจำนวนหนึ่งซึ่งทางทีมงานมีอยู่อย่างจำกัดจำเขี่ย(ค่าลูกดอกไม่เท่าไหร่แต่ค่ายานี่สิแพง เป่าพลาดแล้วเสียของไปเลย)
“คนเป่าลูกดอกต้องมีความชำนาญ รู้จังหวะและต้องมีเทคนิคในการเป่า ตำแหน่งที่เป่าควรเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ บริเวณขาหน้า ขาหลัง หรือสะโพก ระยะห่างในการเป่าควรห่าง 5 เมตรขึ้นไป ตอนเป่าผมใช้ปลายกระบอกเป็นศูนย์เล็ง แล้วใช้แรงลมจากปอดเป่าออกไป มันจะช่วยให้ลูกดอกพุ่งออกไปแรงและเร็ว”
สิทธิชัยบอกกับผม ก่อนอธิบายต่อว่า หลังเป่าลูกดอกถูกหมาแมวแล้ว จะมีทีมงานตามไปห่างๆประมาณ 10 เมตร ดูว่าหมาจะไปล้มสลบลงตรงไหน เนื่องจากยาสลบในลูกดอกจะออกฤทธิ์ประมาณ 7 นาที ส่วนหมาที่โดนลูกดอกจะวิ่งหนีไปไม่เกิน 200 เมตรก็จะสิ้นฤทธิ์ จากนั้นจึงจับขึ้นรถซาเล้งนำมาส่งยังศูนย์บัญชาการให้ทีมแพทย์ดำเนินการทำหมันต่อไป
ด้วยประสบการณ์หลายปีที่เป่าลูกดอกมาอย่างโชกโชน สิทธิชัยบอกกับผมว่าปัจจุบันเขาเป่าลูกดอกเข้าเป้าถึง 99%
อย่างไรก็ดีบนความแม่นยำและความสัมฤทธิ์ผลของการเป่าในปัจจุบันนั้น เดิมมันหาได้เป็นเช่นนี้ไม่ เนื่องเพราะเคยประสบปัญหาเรื่องลูกดอกอยู่พักใหญ่
“ก่อนหน้านี้พวกเราเคยซื้อลูกดอกราคาเป็นพันจากเมืองนอกมาใช้ แต่ประสิทธิภาพไม่ดี เป่าแล้วไม่แรงพอที่จะเจาะผิวหนังหมาเข้าไปได้ บางทีเป่าไปโดนตัวหมาแล้วเข็มหักก็มี”
นั่นจึงทำให้สิทธิชัยที่ออกตัวว่าเรียนจบแค่ ม.6 ได้ทดลองคิดค้นประดิษฐ์ลูกดอกเป่าหมาแมวด้วยตัวเอง โดยการนำหลอดและเข็มฉีดยาที่มีในศูนย์ปศุสัตว์มาประยุกต์ดัดแปลง เกิดเป็นเข็มลูกดอกอันทรงประสิทธิภาพที่เขาคิดค้นขึ้นมาเองในราคาแสนถูก ตกลูกละประมาณ 20 บาทเท่านั้น แต่ผลของมันให้ประสิทธิภาพเกิน 90 %
สำหรับรายละเอียดขั้นตอนการทำลูกดอกที่สิทธิชัยเล่าให้ฟังนั้น ผมจะไม่ขอพูดถึงเนื่องจากนี่เป็นลิขสิทธิ์ทางภูมิปัญญาของเขา โดยผมได้แนะนำให้สิทธิชัยรีบนำลูกดอกรุ่นนี้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไปจดสิทธิบัตร เพราะมีฝรั่งต่างชาติที่มาเห็นนำไปทดลองทำบ้างแล้ว พร้อมกันนี้ผมยังแนะนำให้เขาตั้งชื่อรุ่นลูกดอกด้วย
สิทธิชัยยิ้ม ก่อนตอบกลับมาว่า ปีนี้เป็นปีที่ผู้หญิงมาแรง นายกฯของเราก็เป็นผู้หญิง เขาจึงขอตั้งชื่อลูกดอกรุ่นนี้ว่า รุ่น“เรยา”
เอ้อ ฟังๆแล้วผมก็ว่าเข้าทีดี เป็นลูกดอกเรยากันหมาเกิด ซึ่งแม้นี่จะเป็นเรื่องราวภูมิปัญญาเล็กๆของคนเล็กๆกลุ่มหนึ่ง แต่จากการที่ได้ไปสัมผัสมา ผมว่ามันน่ายกย่องมากกว่าเรื่องราวใหญ่ๆของพวกคนใหญ่ๆบางคนที่บริหารบ้านนี้เมืองนี้อยู่เป็นไหนๆ
ท่ามกลางความเติบโตทางวัตถุ สิ่งปลูกสร้าง แสง สี สถานบันเทิง ร้านเหล้า บาร์เบียร์ แบบก้าวกระโดดบนเกาะหลีเป๊ะอย่างน่าใจหาย(โดยเฉพาะทางฝั่งหาดพัทยา) การเติบโตของประชากรหมาแมวบนเกาะแห่งนี้ก็รวดเร็วก้าวกระโดดจนน่าใจหายไม่แพ้กัน
ก้าวกระโดดจนมีคนอดเป็นห่วงไม่ได้ว่า หมาและแมวอาจจะล้นเกาะหลีเป๊ะเอาได้ง่ายๆในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
นอกจากนี้เหล่าหมาแมวจรจัดเหล่านั้น ปัจจุบันยังได้เข้าไปสร้างปัญหาตามร้านอาหาร ที่พัก และบริเวณริมชายหาด จนทางปศุสัตว์จังหวัดสตูลได้รับเรื่องร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวบ่อยครั้ง ทั้งเรื่องหมาแมวจรจัดรบกวน และเรื่องที่มีหมาท่าทีดุร้ายจะทำร้ายนักท่องเที่ยว
ด้วยเหตุนี้หลายภาคส่วนในจังหวัดสตูลจึงร่วมกันจัดทำโครงการ “การทำหมันสุนัขและแมว เพื่อลดประชากรสัตว์บนเกาะหลีเป๊ะ”ขึ้นมา เพื่อคุมกำเนิดประชากรหมาแมวบนเกาะหลีเป๊ะไม่ให้มันแพร่พันธุ์ออกลูกออกหลานจนเกลื่อน ไปสร้างปัญหาให้กับเกาะท่องเที่ยวแห่งนี้
สำหรับโครงการทำหมันหมาแมวปีนี้ เขาจัดในช่วงเดียวกับโครงการ “เปิดฟ้าอันดามัน สวรรค์สตูล” และกิจกรรม “รักษ์เล ป่า ฟ้า สตูล” ที่นำเหล่าจิตอาสามาร่วมกันเก็บขยะตามเกาะต่างๆในอุทยานแห่งชาติตะรุเตาทั้งบนบกและใต้น้ำ ซึ่งมันประจวบเหมาะกับช่วงที่ผมหนีป้าน้ำลงใต้ไปเที่ยวเกาะหลีเป๊ะพอดี งานนี้หลังจากที่ดูบรรดาแหม่มๆอวบอึ๋มบ๊ะลึ่มฮึ่มสวมบิกีนี่อะหล่างฉ่างนอนอาบแดดริมชายหาดจนปลงแล้ว ผมเลยขอเปลี่ยนบรรยากาศไปดูเขาตอนหมาแมวกันบ้าง
หมาเยอะ เพราะคน
เมื่อมาถึงยังจุดตอนหมาที่ทีมงานกำลังตั้งหน้าตั้งตาทำงานกันอย่างขะมักเขม้น “วิทยา ขจีรัมย์” นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงาน ปศุสัตว์จังหวัดสตูล หนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงหลักของการตอนหมาแมว ได้สละเวลามาบอกเล่าข้อมูลให้ฟัง หมาบนเกาะหลีเป๊ะมีแค่ประมาณ 10% เท่านั้นที่มีเจ้าของ ส่วนที่เหลืออีก 90% เป็นหมาจรจัด ส่วนใหญ่เป็นหมาจากบนฝั่งที่นักท่องเที่ยวนำมาเที่ยวด้วยแล้วก็ปล่อยทิ้งมันไว้ ให้มันขยายพันธุ์กันอย่างรวดเร็ว(มาก) เฉพาะแค่ช่วงปี 2553 - 2554 พบว่าบนเกาะหลีเป๊ะมีจำนวนหมาแมวเพิ่มขึ้นมากถึงกว่า 600 ตัว รวมของเก่าก็ร่วมๆพันกว่าตัวเลยทีเดียว
เมื่อเป็นเช่นนี้เหล่าทีมสัตวแพทย์ผู้มองเห็นปัญหากับทีมเครือข่ายอาสาสมัครจึงร่วมกันผลักดันโครงการทำหมันหมาแมวบนเกาะให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2552
“ช่วงแรกที่เริ่มโครงการ ชาวบ้านยังไม่รู้ว่าพวกเรามาทำอะไร จึงไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ครั้งแรกทำหมันหมาได้แค่ประมาณ 20-30 ตัวเท่านั้น ”
แต่หมอวิทยากับทีมงานก็ไม่ได้ย่อท้อเดินหน้าสร้างความเข้ากับชาวบ้าน และประชาสัมพันธ์งานให้กว้างขวางขึ้น จนมีองค์กรอื่นๆเข้ามาสมทบ และได้รับการตอบรับจากชาวบ้านด้วยดี จนในปี ต่อมา 2553 สามารถดำเนินการทำหมันหมาแมวบนเกาะหลีเป๊ะได้มากถึง 200 ตัว รวมทั้งหมดที่ผ่านมา 5 ครั้ง(บางปีมีการทำหมันหมาแมวบนเกาะ 2 ครั้งด้วยกัน) สามารถทำหมันหมาแมวบนเกาะไปได้ประมาณ 500 ตัว ขณะที่ในปีนี้ก็ตั้งเป้าไว้ประมาณ 200 ตัวเช่นกัน
สำหรับหมาแมวตัวไหนที่มาทำหมันจะได้รับการฉีดยาป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วย ส่วนการจะดูว่าตัวไหนถูกทำหมันแล้ว หมอวิทยาบอกมีวิธีสังเกตง่ายๆ คือ จะมีตราประทับอยู่ที่ใบหูด้านในหรือที่ข้างลำตัว(เป็นการประทับเย็นด้วยไฮโดรเจนเหลว) ซึ่งเดิมนั้นพวกเขาใช้วิธีแขวนป้ายสีแดงให้กับหมาที่ทำหมันแล้ว แต่ว่ามันอยู่ไม่คงทนจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีประทับตราแทน
นอกจากการทำหมันหมาแมวแล้ว ยังมีเรื่องของการจัดระเบียบการให้อาหารหมาบนเกาะอย่างเป็นที่เป็นทาง โดยทางทีมงานของหมอวิทยาได้รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวนำอาหารไปให้หมาเป็นจุดๆตามที่จัดไว้ให้(มีทั้งจุดให้อาหารสัตว์และจุดห้ามให้อาหารสัตว์) เพื่อไม่ให้หมาไปก่อกวนตามร้านอาหารและที่พักต่างๆ ส่วนมันจะเปลี่ยนพฤติกรรมการหากินของหมาได้มากน้อยแค่ไหนงานนี้คงต้องติดตามกันต่อไป
ในขณะที่ต้นเหตุของการนำหมาแมวมาปล่อยทิ้งไว้ที่เกาะหลีเป๊ะด้วยน้ำมือมนุษย์นั้น ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันป้องกันให้ดี มิเช่นนั้นทำหมันแทบตายสุดท้ายเกาะหลีเป๊ะก็ยังมีหมาแมวจากบนฝั่งมาคอยเพิ่มจำนวนอยู่ดี
ลูกดอก“เรยา” ภูมิปัญญากันหมาเกิด
การทำหมันหมาแมวถ้าตัวไหนมีเจ้าของ ย่อมไม่ใช่เรื่องยากสำหรับทีมงาน จับมันมาฉีดยาสลบก็สามารถลงมือปฏิบัติงานได้ แต่เจ้าพวกจรจัดวิ่งไปวิ่งมาอยู่ไม่เป็นหลักแหล่งนี้สิ จัดการมันยากหน่อย เพราะต้องไปพยายามจับตัวมันมาให้ได้ แถมถ้าตัวไหนสู้ก็ยิ่งลำบากเข้าไปอีก
นั่นจึงทำให้เกิดมีทีมงานจับหมาขึ้น โดย “สิทธิชัย สิงห์ผล” มือเป่าลูกดอกคนสำคัญของทีม ได้อธิบายถึงขั้นตอนการทำงานของพวกเขาว่า เบื้องต้นต้องออกสำรวจก่อนว่าบริเวณไหนเป็นแหล่งอยู่อาศัยของหมาแมวจรจัด ตัวไหนจับฉีดยาได้ก็จับฉีดยา ส่วนตัวไหนดุหรือหนีจับไม่ได้ให้ส่งทีมออกไปไล่ตามจับด้วยวิธีการเป่าลูกดอกยาสลบ พร้อมด้วยทีมติดตามกับทีมจับหลังจากยิงยา
สำหรับมือลูกดอกอย่างสิทธิชัยนั้นเปรียบดังพรานอย่างรพินทร์ ไพรวัลย์ ที่การปล่อยลูกดอกแต่ละทีต้องให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เพราะนั่นนอกจากจะทำให้หมาวิ่งหนีเตลิดไปแล้ว ยังหมายถึงการหายวับไปของเม็ดเงินจำนวนหนึ่งซึ่งทางทีมงานมีอยู่อย่างจำกัดจำเขี่ย(ค่าลูกดอกไม่เท่าไหร่แต่ค่ายานี่สิแพง เป่าพลาดแล้วเสียของไปเลย)
“คนเป่าลูกดอกต้องมีความชำนาญ รู้จังหวะและต้องมีเทคนิคในการเป่า ตำแหน่งที่เป่าควรเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ บริเวณขาหน้า ขาหลัง หรือสะโพก ระยะห่างในการเป่าควรห่าง 5 เมตรขึ้นไป ตอนเป่าผมใช้ปลายกระบอกเป็นศูนย์เล็ง แล้วใช้แรงลมจากปอดเป่าออกไป มันจะช่วยให้ลูกดอกพุ่งออกไปแรงและเร็ว”
สิทธิชัยบอกกับผม ก่อนอธิบายต่อว่า หลังเป่าลูกดอกถูกหมาแมวแล้ว จะมีทีมงานตามไปห่างๆประมาณ 10 เมตร ดูว่าหมาจะไปล้มสลบลงตรงไหน เนื่องจากยาสลบในลูกดอกจะออกฤทธิ์ประมาณ 7 นาที ส่วนหมาที่โดนลูกดอกจะวิ่งหนีไปไม่เกิน 200 เมตรก็จะสิ้นฤทธิ์ จากนั้นจึงจับขึ้นรถซาเล้งนำมาส่งยังศูนย์บัญชาการให้ทีมแพทย์ดำเนินการทำหมันต่อไป
ด้วยประสบการณ์หลายปีที่เป่าลูกดอกมาอย่างโชกโชน สิทธิชัยบอกกับผมว่าปัจจุบันเขาเป่าลูกดอกเข้าเป้าถึง 99%
อย่างไรก็ดีบนความแม่นยำและความสัมฤทธิ์ผลของการเป่าในปัจจุบันนั้น เดิมมันหาได้เป็นเช่นนี้ไม่ เนื่องเพราะเคยประสบปัญหาเรื่องลูกดอกอยู่พักใหญ่
“ก่อนหน้านี้พวกเราเคยซื้อลูกดอกราคาเป็นพันจากเมืองนอกมาใช้ แต่ประสิทธิภาพไม่ดี เป่าแล้วไม่แรงพอที่จะเจาะผิวหนังหมาเข้าไปได้ บางทีเป่าไปโดนตัวหมาแล้วเข็มหักก็มี”
นั่นจึงทำให้สิทธิชัยที่ออกตัวว่าเรียนจบแค่ ม.6 ได้ทดลองคิดค้นประดิษฐ์ลูกดอกเป่าหมาแมวด้วยตัวเอง โดยการนำหลอดและเข็มฉีดยาที่มีในศูนย์ปศุสัตว์มาประยุกต์ดัดแปลง เกิดเป็นเข็มลูกดอกอันทรงประสิทธิภาพที่เขาคิดค้นขึ้นมาเองในราคาแสนถูก ตกลูกละประมาณ 20 บาทเท่านั้น แต่ผลของมันให้ประสิทธิภาพเกิน 90 %
สำหรับรายละเอียดขั้นตอนการทำลูกดอกที่สิทธิชัยเล่าให้ฟังนั้น ผมจะไม่ขอพูดถึงเนื่องจากนี่เป็นลิขสิทธิ์ทางภูมิปัญญาของเขา โดยผมได้แนะนำให้สิทธิชัยรีบนำลูกดอกรุ่นนี้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไปจดสิทธิบัตร เพราะมีฝรั่งต่างชาติที่มาเห็นนำไปทดลองทำบ้างแล้ว พร้อมกันนี้ผมยังแนะนำให้เขาตั้งชื่อรุ่นลูกดอกด้วย
สิทธิชัยยิ้ม ก่อนตอบกลับมาว่า ปีนี้เป็นปีที่ผู้หญิงมาแรง นายกฯของเราก็เป็นผู้หญิง เขาจึงขอตั้งชื่อลูกดอกรุ่นนี้ว่า รุ่น“เรยา”
เอ้อ ฟังๆแล้วผมก็ว่าเข้าทีดี เป็นลูกดอกเรยากันหมาเกิด ซึ่งแม้นี่จะเป็นเรื่องราวภูมิปัญญาเล็กๆของคนเล็กๆกลุ่มหนึ่ง แต่จากการที่ได้ไปสัมผัสมา ผมว่ามันน่ายกย่องมากกว่าเรื่องราวใหญ่ๆของพวกคนใหญ่ๆบางคนที่บริหารบ้านนี้เมืองนี้อยู่เป็นไหนๆ