โดย : ปิ่น บุตรี

คนไปเที่ยวตรังส่วนใหญ่มักพุ่งเป้าไปที่ทะเลตรังอันสวยงาม และไม่พลุกพล่านเท่าทะเลกระบี่และทะเลภูเก็ต
แต่กระนั้นก็ใช่ว่าบนฝั่งบนบกเมืองตรังจะไม่น่าสนใจไร้ซึ่งสีสัน เพราะบนแผ่นดินใหญ่ใน“ตัวเมืองตรัง”ยังมีวิถีชีวิต มีหมูย่าง เค้ก กาแฟ ติ่มซำ และของกินอร่อยๆมากมายให้เลือกกินอย่างจุใจในตัวเมือง มี “อ.กันตัง” เป็นดินแดนประวัติศาตร์ที่มีสถานีรถไฟสุดคลาสิคและต้นยางรุ่นแรกในเมืองไทยให้ไปเรียนรู้ มี“ถ้ำเล-เขากอบ” ให้นั่งเรือผจญภัยลอดถ้ำอย่างสุดเสียว พร้อมความเชื่อว่าเปรียบดังการลอดท้องมังกรที่ช่วยเสริมมงคลให้กับชีวิต
รวมไปถึงสถานที่ที่ผมจะเล่าถึงในครั้งนี้ ที่ถือเป็นของดีเมืองตรังอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งใครไปเยือนเมืองตรังหากมีโอกาส ผมขอเชิญชวนให้ลองไปสัมผัสเที่ยวชมกัน
สำหรับสถานที่แห่งนั้นก็คือ “สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)” หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า ”สวนพฤกษศาสตร์ทุ่งค่าย” ที่ตั้งอยู่ที่ป่าสงวนแห่งชาติทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว

เดิมสวนฯแห่งนี้เคยเป็นค่ายทหารมาก่อน มีชื่อเรียกว่า“สวนรุกขชาติทุ่งค่าย”ครั้นพอนายชวน หลีกภัย ได้ขึ้นเป็นนายกฯ ท่านมีดำริให้ยกระดับสวนรุกขชาติฯให้ได้มาตรฐานในระดับสากล จึงเกิดเป็น “สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)”ขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา
สวนพฤกษศาสตร์ทุ่งค่าย ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 5 “แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ” แห่งภาคใต้ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้สำคัญท่ามกลางต้นไม้ใบหญ้า ผืนป่าใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2,600 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าบนพื้นราบ มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าพรุ และทุ่งหญ้า รอบๆบริเวณแวดล้อมไปด้วยชุมชนในลักษณะเมือง(ชุมชน)ล้อมป่า ซึ่งเดิมเคยเป็นแหล่งหาของป่า แหล่งหาอาหารของชุมชน ก่อนจะมีการอนุรักษ์ไว้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ดังในปัจจุบัน
ภายในสวนพฤกษศาสตร์ฯอันร่มรื่น มีการจัดแบ่งพื้นที่แยกย่อยออกเป็นสวนต่างๆ อาทิ สวนพฤษศาสตร์พื้นบ้าน,สวนกล้วยไม้,สวนเฟิร์น,สวนพรรณไม้พุทธประวัติ,สวนพืชทนแล้ง(รวบรวพืชที่ปรับตัวได้),สวนอนุกรมวิธาน(แหล่งรวบรวมพันธุ์พืชถิ่นใต้), สวนสัณฐานวิทยา(แหล่งเรียนรู้ลักษณะต่างๆ ของพืช),สวนพรรณไม้แห่งความรัก(พื้นที่ปลูกต้นไม้ของคู่รักจากงานวิวาห์ใต้สมุทรอันขึ้นชื่อของเมืองตรัง) รวมถึงแหล่งพืชกินแมลง(พบมาบริเวณรอบนอกป่าพรุ) แหล่งพืชวงศ์ยาง และแหล่งพืชวงศ์ปาล์ม ที่มีปาล์มน่าสนใจอย่างเช่น ปาล์มเจ้าเมืองตรัง ปาล์มหลังขาว ปาล์มพระราหู และปาล์มช้างร้องไห้ เป็นต้น

นอกจากนี้ในสวนฯยังมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ห้องสมุดพฤกษศาสตร์ พิพิธภัณฑ์พืช ห้องประชุม บ้านพักรับรอง พื้นที่กางเต็นท์และจัดกิจกรรมออกค่ายพักแรมสำหรับเยาวชน
ส่วนที่ถือเป็นสิ่งน่าสนใจอันชวนเที่ยวชมของที่นี่ก็คือเส้นทางศึกษาธรรมชาติอันหลากหลาย ทั้งเส้นทางระยะสั้น ระยะยาว พร้อมป้ายสื่อความหมาย ป้ายชื่อต้นไม้ พันธุ์ไม้บอกไว้เป็นระยะๆ โดยมี “ทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าพรุ” เป็นดังนางเอกของสวนฯ ในระยะทางประมาณ 1,200 เมตร เป็นทางเดินสบายๆสร้างผ่านป่าพรุให้เราได้ชื่นชมพืชพันธุ์ไม้เด่นๆในพื้นที่ลุ่มชุ่มน้ำแห่งนี้กัน
เมื่อมีนางเอกก็ต้องมีพระเอก สำหรับสวนพฤกษศาสตร์ฯแห่งนี้ผมยกให้ “เส้นทางสะพานศึกษาธรรมชาติเรือนยอดไม้”(Canopy Walk way)ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกในเมืองไทย เป็นพระเอกของสวน

สะพานศึกษาเรือนยอดไม้ มีความยาว 175 เมตร แบ่งเป็นสะพานในช่วงความสูงตามสภาพของเรือนยอดไม้ใน 3 ระดับด้วยกัน คือ ชั้นแรก 10 เมตร ชั้นสอง 15 เมตร และชั้นสาม 18 เมตร โดยมีหอคอยเชื่อมต่อระหว่างสะพานแต่ละช่วงรวม 6 หอด้วยกัน ซึ่งการไปเดินเหนือยอดไม้ เย้ยฟ้า ท้าความสูงนั้น ผมได้“พี่ยุทธ”กับ“พี่ต้า” สองเจ้าหน้าที่ผู้รอบรู้เรื่องพืชพันธุ์ไม้ประจำสวนมาเป็นผู้นำชม
ระหว่างทางจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวสู่สะพานเรือนยอดไม้ พี่ทั้งสองผลัดกันอธิบาย ให้ข้อมูลความรู้ และชี้ชวนให้ดูพืชพันธุ์ไม้ต่างๆกันอย่างออกรสชาติและแน่นในภูมิความรู้
สำหรับพืชพันธุ์ไม้เด่นๆที่พี่ๆทั้งสองเลือกหยิบมาอธิบาย ก็มีพวกเฟิร์น ปาล์ม ยาง กระบาก และไม้แปลกตา อย่าง “ต้นกำแพง 7 ชั้น” ที่มีเถายาวม้วนเป็นวงดูคล้ายรูปหัวใจ, “ต้นเลือดแรด” ที่มียางสีแดงเหมือนเลือด สรรพคุณใช้รักษากลากเกลื้อนได้, “เต่าร้าง” ที่ยอดอ่อนกินได้แต่ผลกลับมีพิษ, “เถาสะบ้าช้าง” กับขนาดใหญ่โตน้องๆน่องช้าง ซึ่งถือเป็นเถาไม้ยอดนิยมได้รับความสนใจถ่ายรูปจากนักท่องเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก และม้าทลายโรง ที่มีสรรพคุณด้านบำรุงกำลัง
“ม้าทลายโรงเป็นคนละชนิดกับม้ากระทืบโรง มันมีสรรพคุณแรงกว่า คนโบราณเขาถึงตั้งชื่อว่าม้าทลายโรง เพราะม้ากระทืบโรงแค่คึกกระทืบโรงแค่นั้น แต่ม้าตัวนี้เล่นพังทลายโรงกันเลยทีเดียว”
พี่ต้าเล่าแบบฮาๆ ซึ่งนี่ถือเป็นแค่น้ำจิ้มเท่านั้น เพราะถ้าเวลาไม่จำกัด พี่ทั้งสองแกสามารถเดินอธิบายสรรพคุณของพืชพันธุ์ไม้ต่างๆกันได้เป็นวันๆเลยทีเดียว

แล้วพวกเราก็เดินมาถึงจุดไฮไลท์คือสะพานเรือนยอดไม้ ที่มีประโยชน์ทั้ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ แหล่งศึกษาด้านนิเวศวิทยาของชั้นเรือนยอดไม้ รวมถึงเป็นหอดูนกไปในตัวสำหรับหอคอยเชื่อมสะพาน โดยก่อนทางขึ้นสู่สะพานแขวนไปเย้ยฟ้าเหนือยอดไม้ มีบอกเอาไว้ว่า การมาเดินที่นี่ควร “ดู”ธรรมชาติที่ซ่อนสิ่งน่าสนใจเอาไว้ในทุกหนแห่ง และเปิดตาเปิดใจเรียนรู้ “ฟัง” เสียงของป่า และเรียนรู้ภาษาจากธรรมชาติ “สัมผัส” ในความน่ามหัศจรรย์ของธรรมชาติ และรับรู้ใน “ของขวัญจากธรรมชาติ” ที่งามในคุณค่า กว่าที่ตาเห็น มือสัมผัส หูได้ยิน
เมื่ออ่านข้อแนะนำแล้ว ทีนี้ก็ได้เวลาเดินขึ้นหอคอยที่แม้จะดูเก่าไปนิดแต่ว่าสภาพยังแข็งแรง ปลอดภัย เพราะทางสวนพฤกษศาสตร์ฯดูแล ตรวจเช็คสภาพกันอยู่เสมอ
สะพานชั้นแรก(10 เมตร) หรือสะพานชั้นเรือนยอดชั้นล่าง เป็นการเดินในระหว่างกลางมวลหมู่ต้นไม้ใหญ่ เหนือเรือนยอดต้นไม้เล็ก ในชั้นนี้พืชพันธุ์ส่วนใหญ่เป็นไม้ทนความร่มสูง ผสมกับไม้พุ่มสูงภายใต้เรือนยอดชั้นรอง มีไม้เด่นๆ อาทิ จิก ตะขบป่า เข็มป่า เข็มม่วง โมกแดง ปาล์ม ปลาไหลเผือก และไม้พื้นล่างอย่าง ข่า หวาย ระกำ รวมถึงหากโชคดีเราอาจได้เห็นสัตว์อย่าง ชะมด กระแต กระจง ไก่ป่า นกกระเต็น นกคุ่ม ส่วนถ้าโชคร้ายหน่อย ก็อาจจะเจอพวกงูเขียว งูเหลือม ไปจนถึงงูพิษอย่างูเห่าและงูกะปะ

ถัดไปในพื้นที่สูงขึ้นไปเป็น สะพานชั้นที่สอง(15 เมตร) หรือสะพานชั้นเรือนยอดชั้นรอง เป็นการเดินอยู่ในระหว่างเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ ในชั้นนี้มีไม้พุ่มและต้นไม้ขนาดเล็กที่พร้อมจะเติบโตขึ้นสู่ชั้นเรือนยอดชั้นบนเป็นตัวชูโรง ได้แก่ ไม้จำพวก ส้าน เทพธาโร แวะ เมา กริม เป็นต้น สำหรับสัตว์ที่มีโอกาสพบในชั้นนี้ มีกระรอก ตุ๊กแก และพวกนกที่อาศัยตามยอดไม้ อย่าง นกเขียวก้านตอง นกโพระดก นกตีทอง นกเขา เป็นต้น
เมื่อเดินหน้า เดินขึ้นต่อไป ถือเป็นระดับความสูงที่ชวนเสียงไม่น้อยกับสะพานชั้นสาม(18 เมตร) หรือสะพานชั้นเรือนยอดชั้นบน บนนี้เป็นระดับชั้นเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่จำพวก กระบาก ตะเคียน เคี่ยม เมื่อมองลงไปจะเห็นเรือนยอดของพืช 2 ชั้นที่ผ่านมา และความเขียวขจี ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าทุ่งค่าย นอกจากนี้ยังมองลงไปเห็นสะพานของชั้นสอง ชั้นสามทอดผ่านผืนป่า ดูเป็นที่ชวนมองยิ่งนัก
จากนั้นเส้นทางพาลงอีกด้านในสะพานชั้นสอง ต่อด้วยสะพานชั้นแรก แล้วส่งลงสู่พื้นดิน ให้หัวใจผ่อนคลายจากการเต้นตุ๊มๆต่อมๆบนสะพานเรือนยอดไม้ที่ขึ้นไปผจญมา ก่อนย้อนกลับมาในเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นทางเดิม

ในเส้นทางขากลับนี้ ดูเหมือนพี่ทั้งสองมีอะไรอยากให้ดูและอยากจะบอก จากนั้นพี่ทั้งสองก็พาผมเดินไปดูต้น“ขอบนาง” หรือที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาพื้นถิ่นชวนสยึยกึ๋ยว่า ต้น“กระดอเย็น”
โอ...ทำไม้ให้ต้นไม้พันธุ์นี้มันถึงมีชื่อแปลกสะดุดหูเช่นนี้?
เรื่องนี้พี่ยุทธแกบอกว่า กระดอเย็นต้นไม้ที่สาวๆหลายคนได้ยินแล้วถึงกับหน้าแดง เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณยับยั้งฮอร์โมนในเพศชาย ช่วยลดกำหนัดได้เป็นอย่างดี หรือที่บางคนเรียกว่า”สมุนไพรสลายเซ็ก” ชายอารมณ์เปลี่ยวเมื่อกินแล้วจะรู้สึกหงอย หมดอารมณ์ จนต้องล้มเลิกเรื่องการเสพสังวาสไปเลย
“สมุนไพรชนิดนี้ เขานิยมผสมให้พวกทหารเกณฑ์ดื่มตอนออกค่ายฝึก เพื่อไม่ให้เกิดงุ่นง่าน ผู้ชายกินแล้วจะหดไม่อยากมีอะไร”พี่ยุทธบอก ซึ่งก็คงทำให้เวลาอาบน้ำไม่ต้องมาคอยระมัดระวังเรื่องสบู่หล่น สบู่ตกกันไปได้มากโข

“ในป่ามันมักมีของแก้กันของคู่กันอยู่ อย่างเช่น เมื่อมีต้นไม้มีพิษขึ้นอยู่ ใกล้ๆกันก็จะมีต้นไม้แก้พิษ(ต้นไม้ชนิดนั้น)ขึ้นอยู่คู่กัน”
พี่ต้าบอก ว่าแล้วก็ชี้ให้ดูต้น“โด่ไม่รู้ล้ม” พืชต้นเล็กๆที่ขึ้นอยู่ใกล้ๆกับต้นกระดอเย็น
โด่ไม่รู้ล้ม เป็นสมุนไพร บำรุงร่างกาย แก้ปวดเมื่อย รวมไปถึงได้ชื่อว่าเป็นสมุนไพรบำรุงกำหนัด(อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ในข้อเท็จจริงกันต่อไป)
หลายคนมักนึกว่าชื่อของต้นโด่ไม้รู้ล้มมาจากการที่กินเขาไปแล้วจะทำให้อวัยวะบางอย่างโด่ไม่รู้ล้ม แต่ที่จริงแล้วชื่อของมันมาจากลักษณะของต้นไม้ชนิดนี้ที่แม้ดูต้นเล็กๆอ่อนแออย่างนั้น แต่พอเราเหยียบย่ำลงไป มันกลับไม่หักไม่ตาย หากแต่สักพักมันกลับเด้งตั้งโด่ชูชันขึ้นมาอีกครั้ง คนโบราณจึงเรียกชื่อตามลักษณะพฤติกรรมของมัน
เมื่อธรรมชาติได้สร้างให้เกิดต้นกระดอเย็นขึ้นมา ธรรมชาติก็ได้สร้างให้เกิดต้นโด่ไม่รู้ล้มขึ้นมาอยู่ใกล้ๆกัน
นับเป็นหนึ่งในการสรรค์สร้างสิ่งคู่กันของธรรมชาติที่น่าทึ่งไม่น้อย ซึ่งนับได้ว่าสวนพฤกษศาสตร์ฯแห่งนี้นอกจากจะทำให้ผมได้รับรู้เรื่องราวต่างๆของธรรมชาติ ต้นไม้ สมุนไพร เพิ่มขึ้นมากหลายแล้ว สวนฯแห่งนี้ยังทำให้ผมรับรู้ว่า
กระดอเย็น เป็นสมุนไพรที่ผมควรหลีกลี้หนีออกให้ห่าง และห้ามไปข้องแวะลิ้มลองด้วยประการทั้งปวง
คนไปเที่ยวตรังส่วนใหญ่มักพุ่งเป้าไปที่ทะเลตรังอันสวยงาม และไม่พลุกพล่านเท่าทะเลกระบี่และทะเลภูเก็ต
แต่กระนั้นก็ใช่ว่าบนฝั่งบนบกเมืองตรังจะไม่น่าสนใจไร้ซึ่งสีสัน เพราะบนแผ่นดินใหญ่ใน“ตัวเมืองตรัง”ยังมีวิถีชีวิต มีหมูย่าง เค้ก กาแฟ ติ่มซำ และของกินอร่อยๆมากมายให้เลือกกินอย่างจุใจในตัวเมือง มี “อ.กันตัง” เป็นดินแดนประวัติศาตร์ที่มีสถานีรถไฟสุดคลาสิคและต้นยางรุ่นแรกในเมืองไทยให้ไปเรียนรู้ มี“ถ้ำเล-เขากอบ” ให้นั่งเรือผจญภัยลอดถ้ำอย่างสุดเสียว พร้อมความเชื่อว่าเปรียบดังการลอดท้องมังกรที่ช่วยเสริมมงคลให้กับชีวิต
รวมไปถึงสถานที่ที่ผมจะเล่าถึงในครั้งนี้ ที่ถือเป็นของดีเมืองตรังอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งใครไปเยือนเมืองตรังหากมีโอกาส ผมขอเชิญชวนให้ลองไปสัมผัสเที่ยวชมกัน
สำหรับสถานที่แห่งนั้นก็คือ “สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)” หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า ”สวนพฤกษศาสตร์ทุ่งค่าย” ที่ตั้งอยู่ที่ป่าสงวนแห่งชาติทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว
เดิมสวนฯแห่งนี้เคยเป็นค่ายทหารมาก่อน มีชื่อเรียกว่า“สวนรุกขชาติทุ่งค่าย”ครั้นพอนายชวน หลีกภัย ได้ขึ้นเป็นนายกฯ ท่านมีดำริให้ยกระดับสวนรุกขชาติฯให้ได้มาตรฐานในระดับสากล จึงเกิดเป็น “สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)”ขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา
สวนพฤกษศาสตร์ทุ่งค่าย ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 5 “แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ” แห่งภาคใต้ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้สำคัญท่ามกลางต้นไม้ใบหญ้า ผืนป่าใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2,600 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าบนพื้นราบ มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าพรุ และทุ่งหญ้า รอบๆบริเวณแวดล้อมไปด้วยชุมชนในลักษณะเมือง(ชุมชน)ล้อมป่า ซึ่งเดิมเคยเป็นแหล่งหาของป่า แหล่งหาอาหารของชุมชน ก่อนจะมีการอนุรักษ์ไว้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ดังในปัจจุบัน
ภายในสวนพฤกษศาสตร์ฯอันร่มรื่น มีการจัดแบ่งพื้นที่แยกย่อยออกเป็นสวนต่างๆ อาทิ สวนพฤษศาสตร์พื้นบ้าน,สวนกล้วยไม้,สวนเฟิร์น,สวนพรรณไม้พุทธประวัติ,สวนพืชทนแล้ง(รวบรวพืชที่ปรับตัวได้),สวนอนุกรมวิธาน(แหล่งรวบรวมพันธุ์พืชถิ่นใต้), สวนสัณฐานวิทยา(แหล่งเรียนรู้ลักษณะต่างๆ ของพืช),สวนพรรณไม้แห่งความรัก(พื้นที่ปลูกต้นไม้ของคู่รักจากงานวิวาห์ใต้สมุทรอันขึ้นชื่อของเมืองตรัง) รวมถึงแหล่งพืชกินแมลง(พบมาบริเวณรอบนอกป่าพรุ) แหล่งพืชวงศ์ยาง และแหล่งพืชวงศ์ปาล์ม ที่มีปาล์มน่าสนใจอย่างเช่น ปาล์มเจ้าเมืองตรัง ปาล์มหลังขาว ปาล์มพระราหู และปาล์มช้างร้องไห้ เป็นต้น
นอกจากนี้ในสวนฯยังมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ห้องสมุดพฤกษศาสตร์ พิพิธภัณฑ์พืช ห้องประชุม บ้านพักรับรอง พื้นที่กางเต็นท์และจัดกิจกรรมออกค่ายพักแรมสำหรับเยาวชน
ส่วนที่ถือเป็นสิ่งน่าสนใจอันชวนเที่ยวชมของที่นี่ก็คือเส้นทางศึกษาธรรมชาติอันหลากหลาย ทั้งเส้นทางระยะสั้น ระยะยาว พร้อมป้ายสื่อความหมาย ป้ายชื่อต้นไม้ พันธุ์ไม้บอกไว้เป็นระยะๆ โดยมี “ทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าพรุ” เป็นดังนางเอกของสวนฯ ในระยะทางประมาณ 1,200 เมตร เป็นทางเดินสบายๆสร้างผ่านป่าพรุให้เราได้ชื่นชมพืชพันธุ์ไม้เด่นๆในพื้นที่ลุ่มชุ่มน้ำแห่งนี้กัน
เมื่อมีนางเอกก็ต้องมีพระเอก สำหรับสวนพฤกษศาสตร์ฯแห่งนี้ผมยกให้ “เส้นทางสะพานศึกษาธรรมชาติเรือนยอดไม้”(Canopy Walk way)ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกในเมืองไทย เป็นพระเอกของสวน
สะพานศึกษาเรือนยอดไม้ มีความยาว 175 เมตร แบ่งเป็นสะพานในช่วงความสูงตามสภาพของเรือนยอดไม้ใน 3 ระดับด้วยกัน คือ ชั้นแรก 10 เมตร ชั้นสอง 15 เมตร และชั้นสาม 18 เมตร โดยมีหอคอยเชื่อมต่อระหว่างสะพานแต่ละช่วงรวม 6 หอด้วยกัน ซึ่งการไปเดินเหนือยอดไม้ เย้ยฟ้า ท้าความสูงนั้น ผมได้“พี่ยุทธ”กับ“พี่ต้า” สองเจ้าหน้าที่ผู้รอบรู้เรื่องพืชพันธุ์ไม้ประจำสวนมาเป็นผู้นำชม
ระหว่างทางจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวสู่สะพานเรือนยอดไม้ พี่ทั้งสองผลัดกันอธิบาย ให้ข้อมูลความรู้ และชี้ชวนให้ดูพืชพันธุ์ไม้ต่างๆกันอย่างออกรสชาติและแน่นในภูมิความรู้
สำหรับพืชพันธุ์ไม้เด่นๆที่พี่ๆทั้งสองเลือกหยิบมาอธิบาย ก็มีพวกเฟิร์น ปาล์ม ยาง กระบาก และไม้แปลกตา อย่าง “ต้นกำแพง 7 ชั้น” ที่มีเถายาวม้วนเป็นวงดูคล้ายรูปหัวใจ, “ต้นเลือดแรด” ที่มียางสีแดงเหมือนเลือด สรรพคุณใช้รักษากลากเกลื้อนได้, “เต่าร้าง” ที่ยอดอ่อนกินได้แต่ผลกลับมีพิษ, “เถาสะบ้าช้าง” กับขนาดใหญ่โตน้องๆน่องช้าง ซึ่งถือเป็นเถาไม้ยอดนิยมได้รับความสนใจถ่ายรูปจากนักท่องเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก และม้าทลายโรง ที่มีสรรพคุณด้านบำรุงกำลัง
“ม้าทลายโรงเป็นคนละชนิดกับม้ากระทืบโรง มันมีสรรพคุณแรงกว่า คนโบราณเขาถึงตั้งชื่อว่าม้าทลายโรง เพราะม้ากระทืบโรงแค่คึกกระทืบโรงแค่นั้น แต่ม้าตัวนี้เล่นพังทลายโรงกันเลยทีเดียว”
พี่ต้าเล่าแบบฮาๆ ซึ่งนี่ถือเป็นแค่น้ำจิ้มเท่านั้น เพราะถ้าเวลาไม่จำกัด พี่ทั้งสองแกสามารถเดินอธิบายสรรพคุณของพืชพันธุ์ไม้ต่างๆกันได้เป็นวันๆเลยทีเดียว
แล้วพวกเราก็เดินมาถึงจุดไฮไลท์คือสะพานเรือนยอดไม้ ที่มีประโยชน์ทั้ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ แหล่งศึกษาด้านนิเวศวิทยาของชั้นเรือนยอดไม้ รวมถึงเป็นหอดูนกไปในตัวสำหรับหอคอยเชื่อมสะพาน โดยก่อนทางขึ้นสู่สะพานแขวนไปเย้ยฟ้าเหนือยอดไม้ มีบอกเอาไว้ว่า การมาเดินที่นี่ควร “ดู”ธรรมชาติที่ซ่อนสิ่งน่าสนใจเอาไว้ในทุกหนแห่ง และเปิดตาเปิดใจเรียนรู้ “ฟัง” เสียงของป่า และเรียนรู้ภาษาจากธรรมชาติ “สัมผัส” ในความน่ามหัศจรรย์ของธรรมชาติ และรับรู้ใน “ของขวัญจากธรรมชาติ” ที่งามในคุณค่า กว่าที่ตาเห็น มือสัมผัส หูได้ยิน
เมื่ออ่านข้อแนะนำแล้ว ทีนี้ก็ได้เวลาเดินขึ้นหอคอยที่แม้จะดูเก่าไปนิดแต่ว่าสภาพยังแข็งแรง ปลอดภัย เพราะทางสวนพฤกษศาสตร์ฯดูแล ตรวจเช็คสภาพกันอยู่เสมอ
สะพานชั้นแรก(10 เมตร) หรือสะพานชั้นเรือนยอดชั้นล่าง เป็นการเดินในระหว่างกลางมวลหมู่ต้นไม้ใหญ่ เหนือเรือนยอดต้นไม้เล็ก ในชั้นนี้พืชพันธุ์ส่วนใหญ่เป็นไม้ทนความร่มสูง ผสมกับไม้พุ่มสูงภายใต้เรือนยอดชั้นรอง มีไม้เด่นๆ อาทิ จิก ตะขบป่า เข็มป่า เข็มม่วง โมกแดง ปาล์ม ปลาไหลเผือก และไม้พื้นล่างอย่าง ข่า หวาย ระกำ รวมถึงหากโชคดีเราอาจได้เห็นสัตว์อย่าง ชะมด กระแต กระจง ไก่ป่า นกกระเต็น นกคุ่ม ส่วนถ้าโชคร้ายหน่อย ก็อาจจะเจอพวกงูเขียว งูเหลือม ไปจนถึงงูพิษอย่างูเห่าและงูกะปะ
ถัดไปในพื้นที่สูงขึ้นไปเป็น สะพานชั้นที่สอง(15 เมตร) หรือสะพานชั้นเรือนยอดชั้นรอง เป็นการเดินอยู่ในระหว่างเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ ในชั้นนี้มีไม้พุ่มและต้นไม้ขนาดเล็กที่พร้อมจะเติบโตขึ้นสู่ชั้นเรือนยอดชั้นบนเป็นตัวชูโรง ได้แก่ ไม้จำพวก ส้าน เทพธาโร แวะ เมา กริม เป็นต้น สำหรับสัตว์ที่มีโอกาสพบในชั้นนี้ มีกระรอก ตุ๊กแก และพวกนกที่อาศัยตามยอดไม้ อย่าง นกเขียวก้านตอง นกโพระดก นกตีทอง นกเขา เป็นต้น
เมื่อเดินหน้า เดินขึ้นต่อไป ถือเป็นระดับความสูงที่ชวนเสียงไม่น้อยกับสะพานชั้นสาม(18 เมตร) หรือสะพานชั้นเรือนยอดชั้นบน บนนี้เป็นระดับชั้นเรือนยอดของต้นไม้ใหญ่จำพวก กระบาก ตะเคียน เคี่ยม เมื่อมองลงไปจะเห็นเรือนยอดของพืช 2 ชั้นที่ผ่านมา และความเขียวขจี ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าทุ่งค่าย นอกจากนี้ยังมองลงไปเห็นสะพานของชั้นสอง ชั้นสามทอดผ่านผืนป่า ดูเป็นที่ชวนมองยิ่งนัก
จากนั้นเส้นทางพาลงอีกด้านในสะพานชั้นสอง ต่อด้วยสะพานชั้นแรก แล้วส่งลงสู่พื้นดิน ให้หัวใจผ่อนคลายจากการเต้นตุ๊มๆต่อมๆบนสะพานเรือนยอดไม้ที่ขึ้นไปผจญมา ก่อนย้อนกลับมาในเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นทางเดิม
ในเส้นทางขากลับนี้ ดูเหมือนพี่ทั้งสองมีอะไรอยากให้ดูและอยากจะบอก จากนั้นพี่ทั้งสองก็พาผมเดินไปดูต้น“ขอบนาง” หรือที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาพื้นถิ่นชวนสยึยกึ๋ยว่า ต้น“กระดอเย็น”
โอ...ทำไม้ให้ต้นไม้พันธุ์นี้มันถึงมีชื่อแปลกสะดุดหูเช่นนี้?
เรื่องนี้พี่ยุทธแกบอกว่า กระดอเย็นต้นไม้ที่สาวๆหลายคนได้ยินแล้วถึงกับหน้าแดง เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณยับยั้งฮอร์โมนในเพศชาย ช่วยลดกำหนัดได้เป็นอย่างดี หรือที่บางคนเรียกว่า”สมุนไพรสลายเซ็ก” ชายอารมณ์เปลี่ยวเมื่อกินแล้วจะรู้สึกหงอย หมดอารมณ์ จนต้องล้มเลิกเรื่องการเสพสังวาสไปเลย
“สมุนไพรชนิดนี้ เขานิยมผสมให้พวกทหารเกณฑ์ดื่มตอนออกค่ายฝึก เพื่อไม่ให้เกิดงุ่นง่าน ผู้ชายกินแล้วจะหดไม่อยากมีอะไร”พี่ยุทธบอก ซึ่งก็คงทำให้เวลาอาบน้ำไม่ต้องมาคอยระมัดระวังเรื่องสบู่หล่น สบู่ตกกันไปได้มากโข
“ในป่ามันมักมีของแก้กันของคู่กันอยู่ อย่างเช่น เมื่อมีต้นไม้มีพิษขึ้นอยู่ ใกล้ๆกันก็จะมีต้นไม้แก้พิษ(ต้นไม้ชนิดนั้น)ขึ้นอยู่คู่กัน”
พี่ต้าบอก ว่าแล้วก็ชี้ให้ดูต้น“โด่ไม่รู้ล้ม” พืชต้นเล็กๆที่ขึ้นอยู่ใกล้ๆกับต้นกระดอเย็น
โด่ไม่รู้ล้ม เป็นสมุนไพร บำรุงร่างกาย แก้ปวดเมื่อย รวมไปถึงได้ชื่อว่าเป็นสมุนไพรบำรุงกำหนัด(อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ในข้อเท็จจริงกันต่อไป)
หลายคนมักนึกว่าชื่อของต้นโด่ไม้รู้ล้มมาจากการที่กินเขาไปแล้วจะทำให้อวัยวะบางอย่างโด่ไม่รู้ล้ม แต่ที่จริงแล้วชื่อของมันมาจากลักษณะของต้นไม้ชนิดนี้ที่แม้ดูต้นเล็กๆอ่อนแออย่างนั้น แต่พอเราเหยียบย่ำลงไป มันกลับไม่หักไม่ตาย หากแต่สักพักมันกลับเด้งตั้งโด่ชูชันขึ้นมาอีกครั้ง คนโบราณจึงเรียกชื่อตามลักษณะพฤติกรรมของมัน
เมื่อธรรมชาติได้สร้างให้เกิดต้นกระดอเย็นขึ้นมา ธรรมชาติก็ได้สร้างให้เกิดต้นโด่ไม่รู้ล้มขึ้นมาอยู่ใกล้ๆกัน
นับเป็นหนึ่งในการสรรค์สร้างสิ่งคู่กันของธรรมชาติที่น่าทึ่งไม่น้อย ซึ่งนับได้ว่าสวนพฤกษศาสตร์ฯแห่งนี้นอกจากจะทำให้ผมได้รับรู้เรื่องราวต่างๆของธรรมชาติ ต้นไม้ สมุนไพร เพิ่มขึ้นมากหลายแล้ว สวนฯแห่งนี้ยังทำให้ผมรับรู้ว่า
กระดอเย็น เป็นสมุนไพรที่ผมควรหลีกลี้หนีออกให้ห่าง และห้ามไปข้องแวะลิ้มลองด้วยประการทั้งปวง