โดย : ปิ่น บุตรี
วิกฤติน้ำท่วมใหญ่หลายพื้นที่ในภาคใต้ช่วงนี้
ด้านหนึ่งเราได้เห็นภาพด้านบวกของสังคมไทย จากน้ำมิตรจิตใจพ่อแม่พี่น้องประชาชนคนทั่วไปที่เลิกแบ่งสี แบ่งฝ่าย หันมาช่วยเหลือบริจาค อาหาร เงินทอง ข้าวของเครื่องใช้ ให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยเป็นจำนวนมาก
เรื่องแบบนี้เราเห็นกันเป็นปกติทุกครั้งยามเมื่อมีภัยพิบัติรุนแรงเกิดขึ้นในเมืองไทย
แต่...อีกด้านหนึ่งเราก็ได้เห็นภาพด้านลบอันชวนสมเพชของสังคมไทย จากข่าวการอมเงินค่าบริจาคของประชาชน จากการที่สื่อมวลชนบางสำนักฉวยโอกาสทำการตลาดขายข่าว ปั่นข่าว จากการที่นักการเมืองฉวยโอกาสหาเสียง และจากการที่นักการเมืองหลายคน ซึ่งนอกจากจะไม่บริจาคช่วยเหลือแล้ว ยังฉวยโอกาสทุจริตเงินบริจาค นำข้าวของที่ชาวบ้านบริจาคไปย้อมแมวใส่ชื่อของตัวเอง ใส่ชื่อพรรคตัวเอง
เรื่องแบบนี้เราเห็นกันเป็นปกติทุกครั้งยามเมื่อมีภัยพิบัติรุนแรงเกิดขึ้นในเมืองไทย
แผนรับมือ
นอกจากด้านบวกและลบแล้ว เมืองไทยยังมีด้านคลุมเครือไม่ชัดเจนของภาครัฐในการดำเนินการช่วยเหลือ แก้ปัญหา และบรรหารจัดการกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่า ภัยพิบัติหนักๆทางธรรมชาติมันป้องกันไม่ได้ มันเกินการควบคุมของมนุษย์ ดูอย่างการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น ประเทศที่มีการวางแผนรับมือกับแผ่นดินไหวและสึนามิดีเยี่ยมแห่งหนึ่งของโลก แต่พอมันเกิดขึ้นจริงและรุนแรงหนักหน่วงเกินคาด ไอ้ที่สร้างเตรียมการไว้มันก็ช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น
อย่างไรก็ตามหากภาครัฐบ้านเรามีการเตรียมพร้อมเรื่องการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติบ้าง ไม่ถึงกับต้องดีเด่เหมือนอย่างในหลายประเทศหรอก เพราะในความเป็นจริงเรื่องแบบนี้ในยุคสมัยนี้ ที่มีรัฐบาลแบบนี้ มีนักการเมืองแบบนี้ ขอแค่ภาครัฐเตรียมแผนรับมือที่ปฏิบัติได้จริงสามารถช่วยผ่อนหนักเป็นเบา สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที ผู้คนเขาก็อนุโมทนาสาธุแล้ว
แต่ที่ผ่านมาเรายังไม่เห็นความจริงใจในการแก้ปัญหาใดๆจากภาครัฐ เห็นเพียงแค่การสร้างภาพ การหาเสียง และการตั้งเรื่องเพื่อใช้งบประมาณมากมายแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำและเม้มเงินส่วนหนึ่งเข้ากระเป๋าตัวเอง
เรื่องนี้คุณปรเมศวร์ มินศิริ หัวเรี่ยวหัวแรงหลักใน www.thaiflood.com หนึ่งในกลุ่มคนเล็กๆที่มีหัวใจอาสามาทำงานช่วยเหลือในเรื่องภัยพิบัติครั้งนี้ ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ภาครัฐในเรื่องของการทำงานเตือนภัย การช่วยเหลือผู้ประสบภัยว่า ทั้งลักลั่น กระโดดข้ามขั้นตอน และขาดการวางแผนระยะยาว โดยเขาได้เปิดเผยผ่าน นสพ.กรุงเทพฯธุรกิจ หน้าคุณภาพชีวิต ฉบับ วันที่ 7 เม.ย. 54 ว่า
...ตามขั้นตอนการช่วยเหลือภัยพิบัติ จะวางไว้ 4 ขั้นตอน คือ 1.เตือนล่วงหน้าเพื่อการป้องกัน 2.ช่วงเร่งความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบเร่งด่วน 3.เข้าไปจัดการฟื้นฟู 4.ช่วงของการเยียวยา ช่วยเหลือ และสรุปบทเรียน เพื่อหาข้อผิดพลาดและไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกในครั้งต่อไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับงานด้านภัยพิบัติของไทยครือ การก้าวกระโดด ไม่รู้ว่าช่วงเวลาไหนควรทำอะไรก่อนหลัง...
คุณปรเมศวร์ยังบอกอีกว่า หลังเหตุการณ์สงบลง แผนรับมือภัยพิบัติก็หายไปพร้อมๆกับความสงบของเหตุการณ์เช่นกัน
ต้นตอปัญหา
ต้องยอมรับว่า คลื่นลมพายุที่โหมถล่ม ฝนฟ้าที่ตกหนักแบบไม่บันยะบันยัง จนเกิดภัยพิบัติ น้ำท่วมหนัก โคลนถล่ม และแผ่นดินทรุดตัว สร้างความเสียหายให้กับพี่น้องชาวใต้อย่างหนักหนล่าสุด สาเหตุหลักประการหนึ่งมาจากสภาวะผันแปรทางธรรมชาติ อากาศวิปริต แปรปรวน อันเนื่องมาจากการกระทำชำเราของมนุษย์จนโลกเราทุกวันนี้มีอาการป่วยไข้ ไม่สบาย
และก็ต้องยอมรับอีกเช่นกันว่า เหตุการณ์น้ำท่วมหนัก โคลนถล่ม และแผ่นดินทรุดตัว ที่เกิดขึ้นในภาคใต้หนล่าสุด หนก่อนหน้านั้น และหนก่อนๆโน้น สาเหตุหลักประการสำคัญมาจากการตัดไม้ทำลายป่า เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น การทำลายป่าต้นน้ำ โค่นต้นไม้ใหญ่แล้วหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว อาทิ ยางพารา ปาล์ม กาแฟ ซึ่งมีรากสั้น อุ้มน้ำได้ไม่ดี ไม่สามารถยึดเกาะชั้นดินได้ การโค่นป่าทำเหมืองแร่บนภูเขา
รวมไปถึงการบุกรุกป่าเขาอันอุดมสมบูรณ์ ป่าต้นน้ำ เพื่อสร้างรีสอร์ท โรงแรม ที่พัก สนามกอล์ฟ อย่างผิดกฎหมาย ทำให้ต้นไม้ใหญ่ตัวช่วยดูดซับน้ำถูกทำลายหายไป อีกทั้งยังเป็นตัวการกีดขวางทางไหลของน้ำตามธรรมชาติและเปลี่ยนเส้นทางน้ำ ทำให้น้ำไหลลงไปท่วมในที่ลุ่ม สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านที่อยู่พื้นล่าง อยู่ปลายน้ำ แบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่
ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ภาคใต้เท่านั้น หากแต่เกิดกับพื้นที่ป่าสวยๆทั่วประเทศนับจากเหนือจรดใต้ แล้วผลเสียหายของมันได้ส่งให้เกิดปัญหาน้ำท่วมหนักขึ้นในหลายพื้นที่เมื่อปีที่แล้ว ทั้งที่เกาะช้าง สวนผึ้ง และที่ปากช่อง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากเหตุการณ์ผ่านพ้นเรื่องก็เงียบหายเข้าป่าไป เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สำหรับรีสอร์ทรุกป่า ผิดกฎหมายเหล่านี้ นอกจากจะไม่ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยแล้ว ยังถือเป็นหนึ่งในตัวการทำลายการท่องเที่ยวไทยอย่างบัดซบร้ายกาจ ซึ่งเราๆท่านๆก็คงยากที่จะทำอะไรกับเจ้าของรีสอร์ทบุกรุกป่าเหล่านั้นได้(อาจจะทำได้เพียงแค่ไม่ไปพัก หรือช่วยกันบอกแบบปากต่อปาก)
เพราะเบื้องหลังของรีสอร์ทผิดกฎหมายเหล่านี้มีใบหน้าดำทะมึนของนักการเมืองชั่วช้า นายทุนชั้นเลว ข้าราชการขี้ฉ้อ ยืนปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองอยู่ ในลักษณะ“รีสอร์ทข้า ใครอย่าแตะ” โดยไม่แยแสสนใจในความเสียหายเดือดร้อนของผู้อื่น
คนประเภทนี้มันน่าถูกแผ่นดินถล่มถ่มทับตกลงไปจนถึงชั้นนรกเอวจีเป็นที่สุด
วิกฤติน้ำท่วมใหญ่หลายพื้นที่ในภาคใต้ช่วงนี้
ด้านหนึ่งเราได้เห็นภาพด้านบวกของสังคมไทย จากน้ำมิตรจิตใจพ่อแม่พี่น้องประชาชนคนทั่วไปที่เลิกแบ่งสี แบ่งฝ่าย หันมาช่วยเหลือบริจาค อาหาร เงินทอง ข้าวของเครื่องใช้ ให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยเป็นจำนวนมาก
เรื่องแบบนี้เราเห็นกันเป็นปกติทุกครั้งยามเมื่อมีภัยพิบัติรุนแรงเกิดขึ้นในเมืองไทย
แต่...อีกด้านหนึ่งเราก็ได้เห็นภาพด้านลบอันชวนสมเพชของสังคมไทย จากข่าวการอมเงินค่าบริจาคของประชาชน จากการที่สื่อมวลชนบางสำนักฉวยโอกาสทำการตลาดขายข่าว ปั่นข่าว จากการที่นักการเมืองฉวยโอกาสหาเสียง และจากการที่นักการเมืองหลายคน ซึ่งนอกจากจะไม่บริจาคช่วยเหลือแล้ว ยังฉวยโอกาสทุจริตเงินบริจาค นำข้าวของที่ชาวบ้านบริจาคไปย้อมแมวใส่ชื่อของตัวเอง ใส่ชื่อพรรคตัวเอง
เรื่องแบบนี้เราเห็นกันเป็นปกติทุกครั้งยามเมื่อมีภัยพิบัติรุนแรงเกิดขึ้นในเมืองไทย
แผนรับมือ
นอกจากด้านบวกและลบแล้ว เมืองไทยยังมีด้านคลุมเครือไม่ชัดเจนของภาครัฐในการดำเนินการช่วยเหลือ แก้ปัญหา และบรรหารจัดการกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่า ภัยพิบัติหนักๆทางธรรมชาติมันป้องกันไม่ได้ มันเกินการควบคุมของมนุษย์ ดูอย่างการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น ประเทศที่มีการวางแผนรับมือกับแผ่นดินไหวและสึนามิดีเยี่ยมแห่งหนึ่งของโลก แต่พอมันเกิดขึ้นจริงและรุนแรงหนักหน่วงเกินคาด ไอ้ที่สร้างเตรียมการไว้มันก็ช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น
อย่างไรก็ตามหากภาครัฐบ้านเรามีการเตรียมพร้อมเรื่องการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติบ้าง ไม่ถึงกับต้องดีเด่เหมือนอย่างในหลายประเทศหรอก เพราะในความเป็นจริงเรื่องแบบนี้ในยุคสมัยนี้ ที่มีรัฐบาลแบบนี้ มีนักการเมืองแบบนี้ ขอแค่ภาครัฐเตรียมแผนรับมือที่ปฏิบัติได้จริงสามารถช่วยผ่อนหนักเป็นเบา สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที ผู้คนเขาก็อนุโมทนาสาธุแล้ว
แต่ที่ผ่านมาเรายังไม่เห็นความจริงใจในการแก้ปัญหาใดๆจากภาครัฐ เห็นเพียงแค่การสร้างภาพ การหาเสียง และการตั้งเรื่องเพื่อใช้งบประมาณมากมายแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำและเม้มเงินส่วนหนึ่งเข้ากระเป๋าตัวเอง
เรื่องนี้คุณปรเมศวร์ มินศิริ หัวเรี่ยวหัวแรงหลักใน www.thaiflood.com หนึ่งในกลุ่มคนเล็กๆที่มีหัวใจอาสามาทำงานช่วยเหลือในเรื่องภัยพิบัติครั้งนี้ ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ภาครัฐในเรื่องของการทำงานเตือนภัย การช่วยเหลือผู้ประสบภัยว่า ทั้งลักลั่น กระโดดข้ามขั้นตอน และขาดการวางแผนระยะยาว โดยเขาได้เปิดเผยผ่าน นสพ.กรุงเทพฯธุรกิจ หน้าคุณภาพชีวิต ฉบับ วันที่ 7 เม.ย. 54 ว่า
...ตามขั้นตอนการช่วยเหลือภัยพิบัติ จะวางไว้ 4 ขั้นตอน คือ 1.เตือนล่วงหน้าเพื่อการป้องกัน 2.ช่วงเร่งความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบเร่งด่วน 3.เข้าไปจัดการฟื้นฟู 4.ช่วงของการเยียวยา ช่วยเหลือ และสรุปบทเรียน เพื่อหาข้อผิดพลาดและไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกในครั้งต่อไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับงานด้านภัยพิบัติของไทยครือ การก้าวกระโดด ไม่รู้ว่าช่วงเวลาไหนควรทำอะไรก่อนหลัง...
คุณปรเมศวร์ยังบอกอีกว่า หลังเหตุการณ์สงบลง แผนรับมือภัยพิบัติก็หายไปพร้อมๆกับความสงบของเหตุการณ์เช่นกัน
ต้นตอปัญหา
ต้องยอมรับว่า คลื่นลมพายุที่โหมถล่ม ฝนฟ้าที่ตกหนักแบบไม่บันยะบันยัง จนเกิดภัยพิบัติ น้ำท่วมหนัก โคลนถล่ม และแผ่นดินทรุดตัว สร้างความเสียหายให้กับพี่น้องชาวใต้อย่างหนักหนล่าสุด สาเหตุหลักประการหนึ่งมาจากสภาวะผันแปรทางธรรมชาติ อากาศวิปริต แปรปรวน อันเนื่องมาจากการกระทำชำเราของมนุษย์จนโลกเราทุกวันนี้มีอาการป่วยไข้ ไม่สบาย
และก็ต้องยอมรับอีกเช่นกันว่า เหตุการณ์น้ำท่วมหนัก โคลนถล่ม และแผ่นดินทรุดตัว ที่เกิดขึ้นในภาคใต้หนล่าสุด หนก่อนหน้านั้น และหนก่อนๆโน้น สาเหตุหลักประการสำคัญมาจากการตัดไม้ทำลายป่า เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น การทำลายป่าต้นน้ำ โค่นต้นไม้ใหญ่แล้วหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว อาทิ ยางพารา ปาล์ม กาแฟ ซึ่งมีรากสั้น อุ้มน้ำได้ไม่ดี ไม่สามารถยึดเกาะชั้นดินได้ การโค่นป่าทำเหมืองแร่บนภูเขา
รวมไปถึงการบุกรุกป่าเขาอันอุดมสมบูรณ์ ป่าต้นน้ำ เพื่อสร้างรีสอร์ท โรงแรม ที่พัก สนามกอล์ฟ อย่างผิดกฎหมาย ทำให้ต้นไม้ใหญ่ตัวช่วยดูดซับน้ำถูกทำลายหายไป อีกทั้งยังเป็นตัวการกีดขวางทางไหลของน้ำตามธรรมชาติและเปลี่ยนเส้นทางน้ำ ทำให้น้ำไหลลงไปท่วมในที่ลุ่ม สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านที่อยู่พื้นล่าง อยู่ปลายน้ำ แบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่
ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ภาคใต้เท่านั้น หากแต่เกิดกับพื้นที่ป่าสวยๆทั่วประเทศนับจากเหนือจรดใต้ แล้วผลเสียหายของมันได้ส่งให้เกิดปัญหาน้ำท่วมหนักขึ้นในหลายพื้นที่เมื่อปีที่แล้ว ทั้งที่เกาะช้าง สวนผึ้ง และที่ปากช่อง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากเหตุการณ์ผ่านพ้นเรื่องก็เงียบหายเข้าป่าไป เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สำหรับรีสอร์ทรุกป่า ผิดกฎหมายเหล่านี้ นอกจากจะไม่ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยแล้ว ยังถือเป็นหนึ่งในตัวการทำลายการท่องเที่ยวไทยอย่างบัดซบร้ายกาจ ซึ่งเราๆท่านๆก็คงยากที่จะทำอะไรกับเจ้าของรีสอร์ทบุกรุกป่าเหล่านั้นได้(อาจจะทำได้เพียงแค่ไม่ไปพัก หรือช่วยกันบอกแบบปากต่อปาก)
เพราะเบื้องหลังของรีสอร์ทผิดกฎหมายเหล่านี้มีใบหน้าดำทะมึนของนักการเมืองชั่วช้า นายทุนชั้นเลว ข้าราชการขี้ฉ้อ ยืนปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองอยู่ ในลักษณะ“รีสอร์ทข้า ใครอย่าแตะ” โดยไม่แยแสสนใจในความเสียหายเดือดร้อนของผู้อื่น
คนประเภทนี้มันน่าถูกแผ่นดินถล่มถ่มทับตกลงไปจนถึงชั้นนรกเอวจีเป็นที่สุด