โดย : The Mouse
วันที่สองของฉันซึ่งเป็นวันสุดท้ายในเบอร์ลิน ฉันมีภารกิจใหญ่คือการเข้าไปฝังตัวอยู่ในพิพิธภัณฑ์ใหญ่
แต่ว่าช่วงเช้าตรู่ก่อนที่ที่หมายหลักจะเปิดให้บริการ ฉันยังพอมีเวลาสัก 2-3 ชั่วโมง สำหรับการท่องชมเมือง เพื่อชี้จุดเกิดเหตุต่างๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
การเดินทางคนเดียวครั้งนี้ออกจะหดหู่สักเล็กน้อย เพราะฉันพาตัวเองไปตามสถานที่ประวัติศาสตร์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ในเมื่อมีโอกาสได้มาเยือนเมืองหลวงที่เคยเต็มไปด้วยบาดแผลแห่งนี้ ฉันก็ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์เป็นเพียงแค่ในหน้ากระดาษหนังสือที่เราได้ร่ำเรียนกันมา
แผนการท่องเบอร์ลินก็แสนง่ายดาย ด้วยรถหมายเลข 100 สายเดียวเที่ยวได้ทั่ว
ต้นทางของฉันก็เริ่มขึ้นที่สถานีรถไฟสวนสัตว์อีกเช่นเคย แต่คราวนี้เรามารอที่ถนนด้านหน้า ซึ่งไม่ต้องกังวลว่าจะรอกันนานขนาดไหน เพราะมีป้ายไฟแสดงสายรถเมล์ต่างๆ พร้อมเวลาที่กำลังจะมาถึง รถเมล์สายนี้มีเยอะพอดู ชนิดที่ยืนยังไม่ทันเมื่อย รถก็จอดเทียบท่าที่ฉันยืนรอท่า
เมื่อได้ยานพาหนะคู่ใจแล้ว ฉันค่อยๆ ไต่บันไดขึ้นไปชั้น 2 ของรถ จะได้ชมวิวสองข้างทางได้อย่างเต็มที่ ล้อรถหมุนไปได้ไม่กี่รอบ โบสถ์หัก (The Ruin Church) ก็ปรากฏขึ้นตรงหน้า จริงๆ แล้วโบสถ์นี้มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า ไกเซอร์ วิลเฮล์ม เกดาคชนิชเคียร์เช (Emperor Wilhelm II Memorial Church) สร้างขึ้นช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ในสไตล์นีโอโรมันเนสก์ แต่ถูกโจมตีทางอากาศจนเหลือแค่หอคอยที่เว้าแหว่งนี้ในปี 1943 หลังสงครามได้สร้างโบสถ์หลังใหม่ขึ้นข้างๆ เป็นอาคารรูปแปดเหลี่ยม ภายในสวยงามด้วยกระจกสีน้ำเงิน ทำให้โบสถ์ดูงดงามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามค่ำคืน
ถัดจากโบสถ์ รถสาย 100 ก็พาผ่านทางเข้าสวนสัตว์เบอร์ลินอันเก่าแก่ในอีกด้านประตู (รูป) ช้าง ซึ่งทางเข้าแห่งนี้ก็ถูกทำลายและสร้างใหม่ให้เหมือนเดิม จากนั้นรถก็จะผ่านเทียร์การ์เท้น (Tiergarten) สวนสาธารณะใหญ่ใจกลางเมือง
ในเทียร์การ์เท้นนี้มี ซีเกสซอยเลอ หรือ เสาแห่งชัยชนะ (Siegess?ule) ตั้งตระหง่านเป็นวงเวียนอยู่กลางสวน พร้อมรูปปั้นสำริดเคลือบทองของเทพีแห่งชัยชนะ หรือ “ไนกี้” ยืนถือคฑาศักดิ์สิทธิ์และช่อมะกอกอยู่ที่ปลายยอด ขึ้นไปบริเวณนี้จะมองได้ทั่วเมืองเบอร์ลิน
เสาชัยอายุ 145 ปีแห่งนี้สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะที่กองทัพปรัสเซียมีเหนือเดนมาร์ก, ออสเตรีย และฝรั่งเศส โดยชัยชนะเหล่านี้มีส่วนทำให้ปรัสเซียรวมชาติเยอรมนี กลายเป็นจักรวรรดิเยอรมันในเวลาต่อมา เดิมทีเสายักษ์นี้ตั้งอยู่ที่สนามหญ้าหน้ารัฐสภา แต่สมัยฮิตเลอร์ได้นำมาตั้งไว้ที่วงเวียนกลางสวน มีถนนเชื่อมต่อไปยังประตูบรานเดนบรวก อีกสัญลักษณ์แห่งความมีชัยเหนือศัตรูผู้รุกราน
สิ่งปลูกสร้างอันยิ่งใหญ่ที่แสดงชัยชนะนี้ บ้างก็ว่าสร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนในชาติ บ้างก็ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการยกย่องสงคราม
สาย 100 เลี้ยวไปข้างๆ เทียร์การ์เท้น ผ่านสถาบันศิลปะสำหรับจัดแสดงโชว์และคอนเสิร์ตต่างๆ เขาว่าอาคารนี้มีรูปร่างเหมือน “หอยนางรมท้อง” ฉันก็เพิ่งจะเคยเห็นหอยท้องก็จากตึกหลังนี้
ยังไม่ทันหายงงกับท้องหอย รถเมล์ก็พาฉันมาถึง “ไร้คชทาก” (Reichstag) หรือตึกรัฐสภานั่นเอง เห็นทางเข้าด้านหน้าเป็นแบบโรมันโบร่ำโบราณ แต่สถาปัตยกรรมด้านในเป็นโดมกระจกโค้งทันสมัยสวยงาม อีกทั้งยังเปิดให้เข้าชมฟรี จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ผู้คนถึงได้ต่อแถวกันหยาวเหยียดขนาดอยู่ตลอดเวลา แต่กว่าจะถึงปลายแถวก็ใช้เวลานับชั่วโมง ฉันจึงขอสละสิทธิ์ แค่ชมๆ ดูๆ อยู่รอบๆ แล้วกัน
จากตรงนี้เราสามารถเดินทะลุสวนสู่ประตูบรานเดนบรวก ได้ไม่กี่ชั่วเหนื่อย แต่ฉันเดินเรียบแนวกำแพงเดิม ตัดประตูเลยไปสู่ “โฮโลคอส เดงมาล” หรือ “อนุสรณ์แด่ชาวยิวผู้ล่วงลับ” (Holocaust Denkmal) โดยใช้พื้นที่ใน “เส้นทางแห่งความตาย” ที่ว่างระหว่างกำแพงที่ปลิดชีพผู้คิดหนี สร้างเป็นสวนแท่งปูนขึ้น
ฉันเดินตามแนวช่องแท่นปูนสีเทาสูงๆ ต่ำๆ สลับกัน พร้อมกับรับไอเย็นจากแผ่นหิน ทำให้ขนลุกอยู่พอควร คนสร้างก็ช่างคิดได้ เพราะต้องการให้ความรู้สึกเหมือนกับชาวยิวในค่ายกักกัน
ถ้าใครมีเวลา (และจิตใจเข้มแข็ง) ก็ขอชวนมุดต่อไปใต้สถานที่แห่งนี้ มีพิพิธภัณฑ์เก็บข้าวของของชาวยิวเอาไว้มากมาย ทั้งจดหมายที่บอกลาและตามหาญาติ รวมถึงภาพถ่ายต่างๆ ในค่ายกักกัน หน้าตาที่แช่มชื่นของชีวิตในค่ายกักกันที่รู้ว่าจะได้ไป “อาบน้ำ” ซึ่งคือวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ซ้ำด้วยภาพการใช้รถแทรกเตอร์ตักขนย้ายร่างไร้วิญญาณเหล่านั้นมากองรวมกัน
ประมาณได้ว่าเฉพาะในปกครองของเยอรมัน มีชาวยิวถูกฆ่าหมู่ไป 5-6 ล้านคน ฉันร่วมระลึกความหลังจนขนลุก ก็ค่อยพาตัวเองกลับออกมารอสาย 100 คันต่อไป เพื่อมุ่งหน้าสู่ถนนสายประวัติศาสตร์อีกเส้น
“อุนเทอร์ เดน ลินเดน” (Unter den Linden) หรือแปลได้ว่า ใต้ต้นลินเดน ซึ่งฉันก็ไม่รู้ว่าบ้านเราเรียกต้นไม้นี้ว่าอย่างไร แต่ต้นลินเดนเป็นไม้ใหญ่เรียงรายอยู่ให้เราเดินใต้ต้นไม้เหล่านี้ได้ ไม่ผิดเพี้ยนไปจากชื่อถนน
ส้นทางรถเมล์สาย 100 บนถนนแห่งนี้ เต็มไปด้วยอาคารสมัยศตวรรษที่ 17-18 มีสถานที่สำคัญเก่าแก่มากมาย หมู่เกาะพิพิธภัณฑ์, โบสถ์เซ็นต์แมร์รีที่เก่าแก่ที่สุดในเบอร์ลิน สร้างไว้ตั้งแต่ปี 1292 จนถึงปลายทางที่อเล็กซานเดอร์พลัตซ์กับหอคอยเสาโทรทัศน์ ที่มองจากมุมไหนของเมืองก็ต้องได้เห็น และนับเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดในเยอรมนี
การขึ้นลงรถเมล์ที่นี่สบายมาก เพราะในรถมีจอไฟวิ่งบอกชื่อย่านของป้ายรถเมล์ที่จะไปถึง ไม่ต้องชะเง้อชะแง้ว่าผิดป้ายหรือไม่ ส่วนขากลับจะนั่งสายเดิม หรือเปลี่ยนบรรยากาศเป็นสาย 200 ถึงปลายทางสถานีสวนสัตว์เช่นกัน แต่มุ่งหน้าไปทาง “พอตส์ดาเมอร์พลัตซ์” (Potsdamer Platz) ย่านทันสมัย จะไปช้อปปิ้ง จิบเบียร์ดูบอลกันได้ก็แถวนั้น
ส่วนฉันเลือกไม่ไปสุดทางของสาย 100 ขอลงตรง “ฮุมโบลต์” มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของเบอร์ลิน เพราะ อาการสลดหดหู่จากภาพสังหารหมู่ชาวยิวยังไม่จาง ฉันเลยสาวเท้าเข้าไปซึมซับมันต่อที่ “อนุสรณ์แด่เหยื่อสงครามและทรราช” ด้านข้างๆ
อาคารที่ด้านหน้าเรียงรายไปด้วยเสาดอริกแห่งนี้ ภายในเปิดโล่งมีรูปปั้นสีดำเป็นหญิงกอดลูกชายของเธอไว้ ชื่อผลงานว่า “Mother with her Dead Son” ผนังเหนือรูปปั้นเจาะว่างเป็นวงกลม เพื่อให้โดนแสงแดด สายฝน หิมะ และความหนาวเย็น สะท้อนว่าประชาชนเจ็บปวดเพียงไรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ช่างพอดีเหลือเกินที่สายฝนกระหน่ำลงมา ช่วงที่ฉันกำลังเข้าไปที่อนุสรณ์แห่งนี้ เลยทำให้ได้เห็นภาพแม่กอดลูกท่ามกลางฝนเม็ดใหญ่ ภาพที่เห็นกันได้ในหนังสงคราม แต่รูปปั้นแห่งนี้ตอกย้ำว่ามันเป็นเรื่องจริง
ฉันเฝ้ามองจนแม่ลูกคู่นี้ถูกแดดอีกครั้ง ก็ข้ามถนนไปยัง “เบเบลพลัตซ์” (Bebelplatz) สถานที่ใช้เผาหนังสือ 2 หมื่นเล่ม ปัจจุบันได้เจาะพื้นติดกระจก ให้เราเห็นชั้นหนังสือที่ว่างเปล่าตรงพื้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ พร้อมประโยคเตือนใจว่า “ที่ใดเผาหนังสือ ที่นั่นได้เผาประชาชนไปในที่สุด”
ผลจากการทำลายล้างทรัพยากรมนุษย์และทรัพย์สมบัติทางปัญญาจำนวนมหาศาล จึงนำพาเบอร์ลินสู่ความวอดวายในช่วงปลายของสงคราม และแม้แต่ “ฮิตเลอร์” ผู้นำในการก่อการก็ต้องชิงสังหารตัวเอง เพราะกลัวการถูกจับเป็นเชลย
บางตำรา (อีกแล้ว) บอกว่าเขายังไม่ตาย แต่แฝงกายอยู่ที่โน่นที่นี่ รัสเซียให้ความดูแลบ้างล่ะ อังกฤษจับไปได้บ้างล่ะ ... แต่ไม่ว่าจะอย่างไร วาระสุดท้ายของทรราช ถ้ายังไม่จบชีวิต ก็หาได้อยู่อย่างผาดเผย อำนาจและวาสนามาแล้วก็หมดไป สุดท้ายอยากให้ผู้คนจดจำเราแบบไหน ก็แล้วแต่กรรมที่ทำไว้ เหมือนที่ฉันได้มาเดินย้อนรอยดูผลกรรมที่ฮิตเลอร์ทำไว้ในวันนี้
สายฝนในลมหนาวเริ่มโปรยมาอีกระลอก ประหนึ่งเตือนให้ฉันจบภารกิจที่ลานกว้างแห่งนี้ ถึงเวลาที่ฉันจะหลบความหนาวเย็น ใช้เวลาค่อนวันสุดท้ายในเบอร์ลิน กับ “หมู่เกาะพิพิธภัณฑ์” ที่เยื้องไปข้างหน้า
เชื่อไหมว่าเมืองหลวงแห่งนี้มีพิพิธภัณฑ์น้อยใหญ่กว่า 170 แห่ง ... จะรอช้าอยู่ใย (ติดตามต่อตอหน้า)
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
เมืองที่เดินทางสุดแสนง่ายดาย
เบอร์ลินนับเป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองในโลก ที่ถือว่าเดินทางได้สะดวกสบาย เพราะไม่ว่าคุณจะเดินทางไปมุมไหน เครือข่ายคมนาคมทุกชนิดได้เชื่อมถึงกันหมด ทั้งเอสบาห์น (S-Bahn : รถไฟเมือง), อูบาห์น (U-Bahn : รถไฟใต้ดิน), รถเมล์ และ รถราง
สำหรับนักท่องเที่ยว เพื่อความประหยัดเพียงแค่หาซื้อตั๋วโดยสารเหมาจ่ายตามแต่ระยะเวลาและรูปแบบการเดินทาง แถมด้วยไกด์บุคและแผนที่เบอร์ลินขนาดเหมาะมือ พร้อมทั้งคูปองลดราคากิน-เที่ยว และช้อปปิ้งอีกปึกใหญ่ (สอบถามได้จากศูนย์ขายตั๋วตามสถานี หรือศูนย์บริการนักท่องเที่ยว)
การ์ดที่แนะนำคือ เบอร์ลินเวลคัมการ์ด (berlin-welcomecard.de) และ เบอร์ลินซิตีทัวร์การ์ด (citytourcard.com) จำหน่ายตามสถานีรถไฟ สนามบิน และซุ้มข้อมูลนักท่องเที่ยว หรือเข้าไปที่การขนส่งเบอร์ลิน (bvg.de) ก็มีข้อมูลการเดินทางและการ์ดให้ดูอย่างพร้อมสรรพ
เมื่อได้บัตรเหล่านี้แล้ว ให้นำไปเปิดใช้งาน (Validate) โดยบันทึกเวลาเริ่มเดินทางครั้งแรกตามตู้ขายตั๋วที่สถานีรถไฟ บนรถเมล์หรือรถราง เพราะถ้าเกิดถูกเจ้าหน้าที่ตรวจขึ้นมาจะโดนปรับถึง 40 ยูโรเลยทีเดียว
วันที่สองของฉันซึ่งเป็นวันสุดท้ายในเบอร์ลิน ฉันมีภารกิจใหญ่คือการเข้าไปฝังตัวอยู่ในพิพิธภัณฑ์ใหญ่
แต่ว่าช่วงเช้าตรู่ก่อนที่ที่หมายหลักจะเปิดให้บริการ ฉันยังพอมีเวลาสัก 2-3 ชั่วโมง สำหรับการท่องชมเมือง เพื่อชี้จุดเกิดเหตุต่างๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
การเดินทางคนเดียวครั้งนี้ออกจะหดหู่สักเล็กน้อย เพราะฉันพาตัวเองไปตามสถานที่ประวัติศาสตร์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ในเมื่อมีโอกาสได้มาเยือนเมืองหลวงที่เคยเต็มไปด้วยบาดแผลแห่งนี้ ฉันก็ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์เป็นเพียงแค่ในหน้ากระดาษหนังสือที่เราได้ร่ำเรียนกันมา
แผนการท่องเบอร์ลินก็แสนง่ายดาย ด้วยรถหมายเลข 100 สายเดียวเที่ยวได้ทั่ว
ต้นทางของฉันก็เริ่มขึ้นที่สถานีรถไฟสวนสัตว์อีกเช่นเคย แต่คราวนี้เรามารอที่ถนนด้านหน้า ซึ่งไม่ต้องกังวลว่าจะรอกันนานขนาดไหน เพราะมีป้ายไฟแสดงสายรถเมล์ต่างๆ พร้อมเวลาที่กำลังจะมาถึง รถเมล์สายนี้มีเยอะพอดู ชนิดที่ยืนยังไม่ทันเมื่อย รถก็จอดเทียบท่าที่ฉันยืนรอท่า
เมื่อได้ยานพาหนะคู่ใจแล้ว ฉันค่อยๆ ไต่บันไดขึ้นไปชั้น 2 ของรถ จะได้ชมวิวสองข้างทางได้อย่างเต็มที่ ล้อรถหมุนไปได้ไม่กี่รอบ โบสถ์หัก (The Ruin Church) ก็ปรากฏขึ้นตรงหน้า จริงๆ แล้วโบสถ์นี้มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า ไกเซอร์ วิลเฮล์ม เกดาคชนิชเคียร์เช (Emperor Wilhelm II Memorial Church) สร้างขึ้นช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ในสไตล์นีโอโรมันเนสก์ แต่ถูกโจมตีทางอากาศจนเหลือแค่หอคอยที่เว้าแหว่งนี้ในปี 1943 หลังสงครามได้สร้างโบสถ์หลังใหม่ขึ้นข้างๆ เป็นอาคารรูปแปดเหลี่ยม ภายในสวยงามด้วยกระจกสีน้ำเงิน ทำให้โบสถ์ดูงดงามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามค่ำคืน
ถัดจากโบสถ์ รถสาย 100 ก็พาผ่านทางเข้าสวนสัตว์เบอร์ลินอันเก่าแก่ในอีกด้านประตู (รูป) ช้าง ซึ่งทางเข้าแห่งนี้ก็ถูกทำลายและสร้างใหม่ให้เหมือนเดิม จากนั้นรถก็จะผ่านเทียร์การ์เท้น (Tiergarten) สวนสาธารณะใหญ่ใจกลางเมือง
ในเทียร์การ์เท้นนี้มี ซีเกสซอยเลอ หรือ เสาแห่งชัยชนะ (Siegess?ule) ตั้งตระหง่านเป็นวงเวียนอยู่กลางสวน พร้อมรูปปั้นสำริดเคลือบทองของเทพีแห่งชัยชนะ หรือ “ไนกี้” ยืนถือคฑาศักดิ์สิทธิ์และช่อมะกอกอยู่ที่ปลายยอด ขึ้นไปบริเวณนี้จะมองได้ทั่วเมืองเบอร์ลิน
เสาชัยอายุ 145 ปีแห่งนี้สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะที่กองทัพปรัสเซียมีเหนือเดนมาร์ก, ออสเตรีย และฝรั่งเศส โดยชัยชนะเหล่านี้มีส่วนทำให้ปรัสเซียรวมชาติเยอรมนี กลายเป็นจักรวรรดิเยอรมันในเวลาต่อมา เดิมทีเสายักษ์นี้ตั้งอยู่ที่สนามหญ้าหน้ารัฐสภา แต่สมัยฮิตเลอร์ได้นำมาตั้งไว้ที่วงเวียนกลางสวน มีถนนเชื่อมต่อไปยังประตูบรานเดนบรวก อีกสัญลักษณ์แห่งความมีชัยเหนือศัตรูผู้รุกราน
สิ่งปลูกสร้างอันยิ่งใหญ่ที่แสดงชัยชนะนี้ บ้างก็ว่าสร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนในชาติ บ้างก็ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการยกย่องสงคราม
สาย 100 เลี้ยวไปข้างๆ เทียร์การ์เท้น ผ่านสถาบันศิลปะสำหรับจัดแสดงโชว์และคอนเสิร์ตต่างๆ เขาว่าอาคารนี้มีรูปร่างเหมือน “หอยนางรมท้อง” ฉันก็เพิ่งจะเคยเห็นหอยท้องก็จากตึกหลังนี้
ยังไม่ทันหายงงกับท้องหอย รถเมล์ก็พาฉันมาถึง “ไร้คชทาก” (Reichstag) หรือตึกรัฐสภานั่นเอง เห็นทางเข้าด้านหน้าเป็นแบบโรมันโบร่ำโบราณ แต่สถาปัตยกรรมด้านในเป็นโดมกระจกโค้งทันสมัยสวยงาม อีกทั้งยังเปิดให้เข้าชมฟรี จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ผู้คนถึงได้ต่อแถวกันหยาวเหยียดขนาดอยู่ตลอดเวลา แต่กว่าจะถึงปลายแถวก็ใช้เวลานับชั่วโมง ฉันจึงขอสละสิทธิ์ แค่ชมๆ ดูๆ อยู่รอบๆ แล้วกัน
จากตรงนี้เราสามารถเดินทะลุสวนสู่ประตูบรานเดนบรวก ได้ไม่กี่ชั่วเหนื่อย แต่ฉันเดินเรียบแนวกำแพงเดิม ตัดประตูเลยไปสู่ “โฮโลคอส เดงมาล” หรือ “อนุสรณ์แด่ชาวยิวผู้ล่วงลับ” (Holocaust Denkmal) โดยใช้พื้นที่ใน “เส้นทางแห่งความตาย” ที่ว่างระหว่างกำแพงที่ปลิดชีพผู้คิดหนี สร้างเป็นสวนแท่งปูนขึ้น
ฉันเดินตามแนวช่องแท่นปูนสีเทาสูงๆ ต่ำๆ สลับกัน พร้อมกับรับไอเย็นจากแผ่นหิน ทำให้ขนลุกอยู่พอควร คนสร้างก็ช่างคิดได้ เพราะต้องการให้ความรู้สึกเหมือนกับชาวยิวในค่ายกักกัน
ถ้าใครมีเวลา (และจิตใจเข้มแข็ง) ก็ขอชวนมุดต่อไปใต้สถานที่แห่งนี้ มีพิพิธภัณฑ์เก็บข้าวของของชาวยิวเอาไว้มากมาย ทั้งจดหมายที่บอกลาและตามหาญาติ รวมถึงภาพถ่ายต่างๆ ในค่ายกักกัน หน้าตาที่แช่มชื่นของชีวิตในค่ายกักกันที่รู้ว่าจะได้ไป “อาบน้ำ” ซึ่งคือวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ซ้ำด้วยภาพการใช้รถแทรกเตอร์ตักขนย้ายร่างไร้วิญญาณเหล่านั้นมากองรวมกัน
ประมาณได้ว่าเฉพาะในปกครองของเยอรมัน มีชาวยิวถูกฆ่าหมู่ไป 5-6 ล้านคน ฉันร่วมระลึกความหลังจนขนลุก ก็ค่อยพาตัวเองกลับออกมารอสาย 100 คันต่อไป เพื่อมุ่งหน้าสู่ถนนสายประวัติศาสตร์อีกเส้น
“อุนเทอร์ เดน ลินเดน” (Unter den Linden) หรือแปลได้ว่า ใต้ต้นลินเดน ซึ่งฉันก็ไม่รู้ว่าบ้านเราเรียกต้นไม้นี้ว่าอย่างไร แต่ต้นลินเดนเป็นไม้ใหญ่เรียงรายอยู่ให้เราเดินใต้ต้นไม้เหล่านี้ได้ ไม่ผิดเพี้ยนไปจากชื่อถนน
ส้นทางรถเมล์สาย 100 บนถนนแห่งนี้ เต็มไปด้วยอาคารสมัยศตวรรษที่ 17-18 มีสถานที่สำคัญเก่าแก่มากมาย หมู่เกาะพิพิธภัณฑ์, โบสถ์เซ็นต์แมร์รีที่เก่าแก่ที่สุดในเบอร์ลิน สร้างไว้ตั้งแต่ปี 1292 จนถึงปลายทางที่อเล็กซานเดอร์พลัตซ์กับหอคอยเสาโทรทัศน์ ที่มองจากมุมไหนของเมืองก็ต้องได้เห็น และนับเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดในเยอรมนี
การขึ้นลงรถเมล์ที่นี่สบายมาก เพราะในรถมีจอไฟวิ่งบอกชื่อย่านของป้ายรถเมล์ที่จะไปถึง ไม่ต้องชะเง้อชะแง้ว่าผิดป้ายหรือไม่ ส่วนขากลับจะนั่งสายเดิม หรือเปลี่ยนบรรยากาศเป็นสาย 200 ถึงปลายทางสถานีสวนสัตว์เช่นกัน แต่มุ่งหน้าไปทาง “พอตส์ดาเมอร์พลัตซ์” (Potsdamer Platz) ย่านทันสมัย จะไปช้อปปิ้ง จิบเบียร์ดูบอลกันได้ก็แถวนั้น
ส่วนฉันเลือกไม่ไปสุดทางของสาย 100 ขอลงตรง “ฮุมโบลต์” มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของเบอร์ลิน เพราะ อาการสลดหดหู่จากภาพสังหารหมู่ชาวยิวยังไม่จาง ฉันเลยสาวเท้าเข้าไปซึมซับมันต่อที่ “อนุสรณ์แด่เหยื่อสงครามและทรราช” ด้านข้างๆ
อาคารที่ด้านหน้าเรียงรายไปด้วยเสาดอริกแห่งนี้ ภายในเปิดโล่งมีรูปปั้นสีดำเป็นหญิงกอดลูกชายของเธอไว้ ชื่อผลงานว่า “Mother with her Dead Son” ผนังเหนือรูปปั้นเจาะว่างเป็นวงกลม เพื่อให้โดนแสงแดด สายฝน หิมะ และความหนาวเย็น สะท้อนว่าประชาชนเจ็บปวดเพียงไรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ช่างพอดีเหลือเกินที่สายฝนกระหน่ำลงมา ช่วงที่ฉันกำลังเข้าไปที่อนุสรณ์แห่งนี้ เลยทำให้ได้เห็นภาพแม่กอดลูกท่ามกลางฝนเม็ดใหญ่ ภาพที่เห็นกันได้ในหนังสงคราม แต่รูปปั้นแห่งนี้ตอกย้ำว่ามันเป็นเรื่องจริง
ฉันเฝ้ามองจนแม่ลูกคู่นี้ถูกแดดอีกครั้ง ก็ข้ามถนนไปยัง “เบเบลพลัตซ์” (Bebelplatz) สถานที่ใช้เผาหนังสือ 2 หมื่นเล่ม ปัจจุบันได้เจาะพื้นติดกระจก ให้เราเห็นชั้นหนังสือที่ว่างเปล่าตรงพื้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ พร้อมประโยคเตือนใจว่า “ที่ใดเผาหนังสือ ที่นั่นได้เผาประชาชนไปในที่สุด”
ผลจากการทำลายล้างทรัพยากรมนุษย์และทรัพย์สมบัติทางปัญญาจำนวนมหาศาล จึงนำพาเบอร์ลินสู่ความวอดวายในช่วงปลายของสงคราม และแม้แต่ “ฮิตเลอร์” ผู้นำในการก่อการก็ต้องชิงสังหารตัวเอง เพราะกลัวการถูกจับเป็นเชลย
บางตำรา (อีกแล้ว) บอกว่าเขายังไม่ตาย แต่แฝงกายอยู่ที่โน่นที่นี่ รัสเซียให้ความดูแลบ้างล่ะ อังกฤษจับไปได้บ้างล่ะ ... แต่ไม่ว่าจะอย่างไร วาระสุดท้ายของทรราช ถ้ายังไม่จบชีวิต ก็หาได้อยู่อย่างผาดเผย อำนาจและวาสนามาแล้วก็หมดไป สุดท้ายอยากให้ผู้คนจดจำเราแบบไหน ก็แล้วแต่กรรมที่ทำไว้ เหมือนที่ฉันได้มาเดินย้อนรอยดูผลกรรมที่ฮิตเลอร์ทำไว้ในวันนี้
สายฝนในลมหนาวเริ่มโปรยมาอีกระลอก ประหนึ่งเตือนให้ฉันจบภารกิจที่ลานกว้างแห่งนี้ ถึงเวลาที่ฉันจะหลบความหนาวเย็น ใช้เวลาค่อนวันสุดท้ายในเบอร์ลิน กับ “หมู่เกาะพิพิธภัณฑ์” ที่เยื้องไปข้างหน้า
เชื่อไหมว่าเมืองหลวงแห่งนี้มีพิพิธภัณฑ์น้อยใหญ่กว่า 170 แห่ง ... จะรอช้าอยู่ใย (ติดตามต่อตอหน้า)
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
เมืองที่เดินทางสุดแสนง่ายดาย
เบอร์ลินนับเป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองในโลก ที่ถือว่าเดินทางได้สะดวกสบาย เพราะไม่ว่าคุณจะเดินทางไปมุมไหน เครือข่ายคมนาคมทุกชนิดได้เชื่อมถึงกันหมด ทั้งเอสบาห์น (S-Bahn : รถไฟเมือง), อูบาห์น (U-Bahn : รถไฟใต้ดิน), รถเมล์ และ รถราง
สำหรับนักท่องเที่ยว เพื่อความประหยัดเพียงแค่หาซื้อตั๋วโดยสารเหมาจ่ายตามแต่ระยะเวลาและรูปแบบการเดินทาง แถมด้วยไกด์บุคและแผนที่เบอร์ลินขนาดเหมาะมือ พร้อมทั้งคูปองลดราคากิน-เที่ยว และช้อปปิ้งอีกปึกใหญ่ (สอบถามได้จากศูนย์ขายตั๋วตามสถานี หรือศูนย์บริการนักท่องเที่ยว)
การ์ดที่แนะนำคือ เบอร์ลินเวลคัมการ์ด (berlin-welcomecard.de) และ เบอร์ลินซิตีทัวร์การ์ด (citytourcard.com) จำหน่ายตามสถานีรถไฟ สนามบิน และซุ้มข้อมูลนักท่องเที่ยว หรือเข้าไปที่การขนส่งเบอร์ลิน (bvg.de) ก็มีข้อมูลการเดินทางและการ์ดให้ดูอย่างพร้อมสรรพ
เมื่อได้บัตรเหล่านี้แล้ว ให้นำไปเปิดใช้งาน (Validate) โดยบันทึกเวลาเริ่มเดินทางครั้งแรกตามตู้ขายตั๋วที่สถานีรถไฟ บนรถเมล์หรือรถราง เพราะถ้าเกิดถูกเจ้าหน้าที่ตรวจขึ้นมาจะโดนปรับถึง 40 ยูโรเลยทีเดียว