โดย : ปิ่น บุตรี
“อัปสรา” ในความคิดของใครหลายๆคน เธอดูเหมือนจะเป็นนางฟ้า แรกๆผมก็คิดอย่างนั้น กระทั่งได้รับรู้ตำนานการเกิดและวิถีทางสังคม(เทพ)ของนางอัปสรา ผมชักไม่แน่ใจซะแล้วสิ ว่าสถานะอย่างเธอสมควรเรียกว่านางฟ้าหรือเปล่า
วิถีนางอัปสรา
สำหรับความเป็นมาของ “นางอัปสรา”หรือนาง”อัปสร” เกิดขึ้นในสมัยโบราณกาลนานนม ส่วนจะเป็นยุคไหน เก่าแก่แค่ไหน นานแค่ไหน ผมไม่รู้ แต่ตามตำนานระบุว่าเกิดขึ้นบนสวรรค์ในยุคทองของเทวดา(เทพ)และอสูร(ที่ไม่ผสมพันธุ์กันเป็นเทพเทือก(กึ่งเทพกึ่งอสูร)อย่างในประเทศสารฃัณฑ์)
เทวดากับอสูรแม้จะเป็นอริศัตรูกัน แต่เทวดามักจะรบสู้อสูรไม่ได้ วันหนึ่งตัวแทนเทวดาจึงใช้ความเจ้าเล่ห์ เอาผลประโยชน์ก้อนโตมาล่อตัวแทนอสูร อสูรฟังแล้วตาโตเห็นดีเห็นงามด้วย ทั้งสองเมื่อสมยอมในผลประโยชน์(พฤติกรรมคล้ายนักการเมืองบ้านเรา)จึงพักรบชั่วคราว หันมาจับมือกันทำพิธี “กวนเกษียรสมุทธ” โดยมีพระนารายณ์(พระวิษณุ)เป็นประธานผู้ควบคุมการทำพิธี เพื่อให้ได้น้ำอมฤตมาดื่มกินสร้างความเป็นอมตะแก่เทวดาและอสูร
การกวนเกษียรสมุทร ต้องให้พญานาควาสุกรี(พญานาค 5 เศียร)ใช้ลำตัวมาเป็นเสมือนเชือก รัดพันรอบภูเขามัณธระ(เขาพระสุเมรุ)แล้วทั้งเทวดาและอสูรต่างช่วยกันยุดนาคคนละฟาก
ฝ่ายเทพเจ้าเล่ห์อีกแล้ว ออกอุบายว่า ฝ่ายใดมีกำลังเข้มแข็งที่สุดในสามโลก(ไตรภพ)ให้มายุดทางฝั่งเศียร ฝ่ายอสูรหลงกลรีบเข้ายุดนาควาสุกรีทางฝั่งเศียรทันที ส่วนฝ่ายเทวดาเลือกไปยุดทางฝั่งหางแบบสบายใจ
เทพกับอสูรช่วยกันชักดึงภูเขามัณธระอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้ภูเขาหมุนกวนสมุนไพรให้เข้ากับน้ำนมทะเล ระหว่างทำพิธีพญานาควาสุกรีทั้งเจ็บ ทั้งอ่อนล้าจึงอ้าปากคายพิษออกมา พิษพญานาคทำให้หน้าอสูรเสียโฉมยับเยินดูหน้ากลัวดุร้ายมาจนถึงทุกวันนี้(ว่ากันว่าก่อนกวนเกษียรสมุทรเทวดาและอสูรมีหน้าตาหล่อเหลาพอๆกัน)
อนึ่งการกวนเกษียรสมุทร ก่อให้เกิดหลายสิ่งหลายอย่างตามมา 10 กว่าอย่าง อาทิ ช้างเผือกเอราวัณ ต้นปาริชาติ สังข์ หริธนู พระนางลักษมีพร้อมดอกบัว ฯ รวมถึงนางอัปสราที่ถือกำเนิดมาจากการกวนเกษียรสมุทรครั้งนี้ด้วย
โดยเรื่องมีอยู่ว่า ช่วงขณะหนึ่งของการทำพิธีภูเขามัณธระเกิดเอียงทรุดตัว ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องแปลงกายเป็นเต่าแหวกว่ายลงไปในในมหาสมุทรเพื่อหนุนเขามัณธระให้ตั้งตรงเหมือนเดิม ระหว่างนี้ส่งผลให้น้ำทะเลปั่นป่วน เกิดนางอัปสราผุดขึ้นมามากมายดังฟองคลื่น( บางตำราว่ากันว่ามีนางอัปสราผุดขึ้นมาถึง 35 ล้านนางเลยทีเดียว)
สำหรับการกวนเกษียรสมุทรใช้เวลายาวนานนับพันไป สุดท้ายก็ได้น้ำอมฤตสมดังหวังของทั้ง 2 ฝ่าย แต่ประทานโทษเทวดาเจ้าเล่ห์อีกแล้ว ใช้กลอุบายล่อหลอกอสูรจนสามารถฮุบน้ำอมฤตไปดื่มแต่ฝ่ายเดียวได้ เพิ่มพลังให้ฝ่ายตนจนสามารถสยบอสูรลงได้(เหตุการณ์ต่อเนื่องหลังจากนี้ ก่อให้เกิดตำนานราหูอมพระจันทร์และพระอาทิตย์ตามมา)
นับได้ว่าเหล่าเทวดาเจ้าเล่ห์กลิ้งกลอกไม่เบา ปานประหนึ่งโจรใส่สูทที่มีมากมายในสังคมทุกวันนี้
อัปสรา “ศรีขรภูมิ” โฉมงามแห่งสยาม
การกวนเกษียรสมุทรแม้ก่อให้เกิดนางอัปสราผู้เลอโฉมมากมายทั้งรูปร่างหน้าตาและการแต่งองค์ทรงเครื่อง แต่หลายคนบอกว่าเธอไม่สมควรเรียกว่านางฟ้า เพราะตามตำนานระบุถึงพฤติกรรมของนางอัปสราว่า เป็นพวกผู้หญิงที่ไม่เคยรักใครจริงจัง ชอบเปลี่ยนคู่นอนไปเรื่อยๆ(เอ...พฤติกรรมช่างคล้ายกับดาราสาวบางคนในบ้านเราเลย)เหล่าเทพและอสูรจึงเห็นนางอัปสราเป็นแค่นางบำเรอกามที่มีไว้เพื่อช่วยให้เสร็จสมอารมณ์หมายเท่านั้น
ในความเชื่อของใครและใครหลายๆคน นางอัปสราจึงเป็นแค่นางบำเรอกามมากว่าที่จะเป็นนางฟ้า
ขณะที่อีกหนึ่งความเชื่อ เชื่อว่านางอัปสราคือนางฟ้าหรือเทพธิดาผู้รับใช้และคอยดูแลศาสนสถาน คล้ายกับความเชื่อของชาวขอมโบราณที่ยกย่องนับถือนางอัปสราว่าเป็นเทพธิดาผู้ดูแลศาสนสถานและเป็นเทพธิดาแห่งความดีงาม นั่นจึงทำให้มีภาพสลักนางอัปสรา ปรากฏอยู่ทั่วไปตามปราสาทโบราณในเขมร
โดยเฉพาะนครวัด(สิ่งมหัศจรรย์ของโลก เมืองเสียมเรียบ) มีรูปสลักนางอัปสราประดับประดาอยู่มากมาย อยู่ทุกซอกทุกมุม ซึ่งในปี พ.ศ. 2544 มีนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสและชาวเขมรร่วมกันใช้ความพยายาม(อย่างสูง)นับนางอัปสรา(อย่างเป็นทางการ)ในนครวัดได้มากถึงประมาณ 1,800 องค์เลยทีเดียว
ทว่า...น่าแปลกที่ปราสาทขอมในบ้านเรา กลับหาภาพสลักนางอัปสราทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าปราสาทและเป็นองค์ประกอบศิลป์ของปราสาทขอมได้น้อยมาก ทอดตาทั้งแผ่นดินมีเพียง 2-3 แห่งเท่านั้น แต่ 1 ในปราสาทจำนวนน้อยนิด มีภาพสลักหินนางอัปสราสุดสวยอยู่ 2 นางที่ปราสาทศีขรภูมิ (ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์)
นางอัปสราปราสาทศีขรภูมิ สลักจากฝีมือช่างโบราณชั้นครู ความงามสู้ภาพสลักนางอัปสราตามปราสาทขอมจำนวนมากในเขมรได้สบาย(จะเป็นรองก็แต่นางอัปสราที่นครวัดและปราสาทบันทายศรีเท่านั้น)จนได้ชื่อว่าเป็นนางอัปสราที่ได้ชื่อสวยที่สุดในเมืองไทย ซึ่งเมื่อมีโอกาสได้มาเยือนปราสาทแห่งนี้กิตติศัพท์ในความงามของนางอัปสรา ทำให้ผมไม่รีรอออกเดินดุ่มๆมุ่งหน้าไปสู่ปราสาทปรางค์ประธานในทันที
สำหรับปราสาทแห่งนี้ ตามข้อมูลระบุว่า สร้างขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นปราสาทขอมที่สร้างผสมสานระหว่างศิลปะแบบบาปวนกับศิลปะแบบนครวัด เพื่อเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย(บูชาพระศิวะเป็นเทพสูงสุด) ตัวปราสาททั้งหมด มี 5 องค์ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันยกพื้นสูง
การจะชมปราสาทแห่งนี้แบบพร้อมหน้าพร้อมตาครบทั้ง 5 องค์ ให้ดูที่ด้านหน้าตรงกลางทางเดินสู่ปราสาท จากนั้นก็ขึ้นไปชมความงามของปราสาทประธานแห่งนี้ ที่ได้ชื่อว่ามีผลงานมาสเตอร์พีชระดับสุดยอดของเมืองไทยอยู่ 2 อย่าง
อย่างแรกคือ ทับหลังที่ได้ชื่อว่าสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย สลักเป็นเรื่องพระศิวะ 3 ตอน คือ ศิวนาฏราชยืนอยู่บนหงส์ พระศิวะสู่กับอรชุน(ตอนหนึ่งจากมหาภารตะยุทธ) และพระศิวะลงไปปราบพระนารายณ์ที่ถูกพิษจากการอวตารเป็นนรสิงห์ไปปราบยักษ์หิรัณยกศิปุ
อย่างที่ 2 อยู่ด้านล่าง ทับหลังพระศิวะ 3 ตอน คือภาพสลักนางอัปสราที่ได้ชื่อว่าสวยและสมบูรณ์ที่สุดในเมืองไทยตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
นางอัปสราที่นี่ มี 2 นาง ยืนขนาบซ้ายและขวาของประตูองค์ปรางค์ ต่างแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามทั้ง 2 นาง เอวคอดกิ่ว ทรวงอกเต่งตึง ไม่โชว์ถันอย่างนางอัปสราบางแห่ง และจุกไม่โผล่เหมือนดาราสาวบางคนในยุคนี้ พ.ศ.นี้
นางทางซ้ายมือขวาหนึ่งถือดอกบัวด้านข้างหูซ้ายมีนกเกาะอยู่ นางทางขวามือขวาถือดอกไม้มีนกเกาะอยู่ข้างบนข้างหูด้านขวามีกระรอกวิ่งซุกซนอยู่
นางอัปสราทั้ง 2 สวมเครื่องทรงศีรษะอันสวยงามแตกต่างกันไป เหนือศีรษะขึ้นไปสลักเป็นลวดลายประดับดอกไม้และลายอื่นๆอย่างสวยงาม
เธอทั้ง 2 ยืนเอนตัวเล็กน้อยพองาม ตามลักษณะอันอรชรอ่อนช้อยใบหน้าเปื้อนยิ้มเล็กน้อยแต่ไม่เผยอให้เห็นไรฟัน ดูแล้วอิ่มเอมเพลินใจดีแท้ ที่สำคัญคือใบหน้าของนางทั้ง 2 ดูสุขใจนัก เหมือนกับจะบอกให้โลกรับรู้ว่า พวกเธอต่างสุขใจที่ได้ทำหน้าที่เฝ้าปรนนิบัติองค์ศิวเทพ(พระศิวะ) ผู้เป็นใหญ่แห่งเทวสถานแห่งนี้
สำหรับผมรอยยิ้มของนางอัปสราทั้งสอง ทำให้ผมต้องไขว้เขวในความคิดอีกครั้งว่า สถานนะของนางอัปสรา เธอสมควรที่จะเป็นนางบำเรอกามหรือสมควรที่จะเป็นนางฟ้าดี
“อัปสรา” ในความคิดของใครหลายๆคน เธอดูเหมือนจะเป็นนางฟ้า แรกๆผมก็คิดอย่างนั้น กระทั่งได้รับรู้ตำนานการเกิดและวิถีทางสังคม(เทพ)ของนางอัปสรา ผมชักไม่แน่ใจซะแล้วสิ ว่าสถานะอย่างเธอสมควรเรียกว่านางฟ้าหรือเปล่า
วิถีนางอัปสรา
สำหรับความเป็นมาของ “นางอัปสรา”หรือนาง”อัปสร” เกิดขึ้นในสมัยโบราณกาลนานนม ส่วนจะเป็นยุคไหน เก่าแก่แค่ไหน นานแค่ไหน ผมไม่รู้ แต่ตามตำนานระบุว่าเกิดขึ้นบนสวรรค์ในยุคทองของเทวดา(เทพ)และอสูร(ที่ไม่ผสมพันธุ์กันเป็นเทพเทือก(กึ่งเทพกึ่งอสูร)อย่างในประเทศสารฃัณฑ์)
เทวดากับอสูรแม้จะเป็นอริศัตรูกัน แต่เทวดามักจะรบสู้อสูรไม่ได้ วันหนึ่งตัวแทนเทวดาจึงใช้ความเจ้าเล่ห์ เอาผลประโยชน์ก้อนโตมาล่อตัวแทนอสูร อสูรฟังแล้วตาโตเห็นดีเห็นงามด้วย ทั้งสองเมื่อสมยอมในผลประโยชน์(พฤติกรรมคล้ายนักการเมืองบ้านเรา)จึงพักรบชั่วคราว หันมาจับมือกันทำพิธี “กวนเกษียรสมุทธ” โดยมีพระนารายณ์(พระวิษณุ)เป็นประธานผู้ควบคุมการทำพิธี เพื่อให้ได้น้ำอมฤตมาดื่มกินสร้างความเป็นอมตะแก่เทวดาและอสูร
การกวนเกษียรสมุทร ต้องให้พญานาควาสุกรี(พญานาค 5 เศียร)ใช้ลำตัวมาเป็นเสมือนเชือก รัดพันรอบภูเขามัณธระ(เขาพระสุเมรุ)แล้วทั้งเทวดาและอสูรต่างช่วยกันยุดนาคคนละฟาก
ฝ่ายเทพเจ้าเล่ห์อีกแล้ว ออกอุบายว่า ฝ่ายใดมีกำลังเข้มแข็งที่สุดในสามโลก(ไตรภพ)ให้มายุดทางฝั่งเศียร ฝ่ายอสูรหลงกลรีบเข้ายุดนาควาสุกรีทางฝั่งเศียรทันที ส่วนฝ่ายเทวดาเลือกไปยุดทางฝั่งหางแบบสบายใจ
เทพกับอสูรช่วยกันชักดึงภูเขามัณธระอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้ภูเขาหมุนกวนสมุนไพรให้เข้ากับน้ำนมทะเล ระหว่างทำพิธีพญานาควาสุกรีทั้งเจ็บ ทั้งอ่อนล้าจึงอ้าปากคายพิษออกมา พิษพญานาคทำให้หน้าอสูรเสียโฉมยับเยินดูหน้ากลัวดุร้ายมาจนถึงทุกวันนี้(ว่ากันว่าก่อนกวนเกษียรสมุทรเทวดาและอสูรมีหน้าตาหล่อเหลาพอๆกัน)
อนึ่งการกวนเกษียรสมุทร ก่อให้เกิดหลายสิ่งหลายอย่างตามมา 10 กว่าอย่าง อาทิ ช้างเผือกเอราวัณ ต้นปาริชาติ สังข์ หริธนู พระนางลักษมีพร้อมดอกบัว ฯ รวมถึงนางอัปสราที่ถือกำเนิดมาจากการกวนเกษียรสมุทรครั้งนี้ด้วย
โดยเรื่องมีอยู่ว่า ช่วงขณะหนึ่งของการทำพิธีภูเขามัณธระเกิดเอียงทรุดตัว ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องแปลงกายเป็นเต่าแหวกว่ายลงไปในในมหาสมุทรเพื่อหนุนเขามัณธระให้ตั้งตรงเหมือนเดิม ระหว่างนี้ส่งผลให้น้ำทะเลปั่นป่วน เกิดนางอัปสราผุดขึ้นมามากมายดังฟองคลื่น( บางตำราว่ากันว่ามีนางอัปสราผุดขึ้นมาถึง 35 ล้านนางเลยทีเดียว)
สำหรับการกวนเกษียรสมุทรใช้เวลายาวนานนับพันไป สุดท้ายก็ได้น้ำอมฤตสมดังหวังของทั้ง 2 ฝ่าย แต่ประทานโทษเทวดาเจ้าเล่ห์อีกแล้ว ใช้กลอุบายล่อหลอกอสูรจนสามารถฮุบน้ำอมฤตไปดื่มแต่ฝ่ายเดียวได้ เพิ่มพลังให้ฝ่ายตนจนสามารถสยบอสูรลงได้(เหตุการณ์ต่อเนื่องหลังจากนี้ ก่อให้เกิดตำนานราหูอมพระจันทร์และพระอาทิตย์ตามมา)
นับได้ว่าเหล่าเทวดาเจ้าเล่ห์กลิ้งกลอกไม่เบา ปานประหนึ่งโจรใส่สูทที่มีมากมายในสังคมทุกวันนี้
อัปสรา “ศรีขรภูมิ” โฉมงามแห่งสยาม
การกวนเกษียรสมุทรแม้ก่อให้เกิดนางอัปสราผู้เลอโฉมมากมายทั้งรูปร่างหน้าตาและการแต่งองค์ทรงเครื่อง แต่หลายคนบอกว่าเธอไม่สมควรเรียกว่านางฟ้า เพราะตามตำนานระบุถึงพฤติกรรมของนางอัปสราว่า เป็นพวกผู้หญิงที่ไม่เคยรักใครจริงจัง ชอบเปลี่ยนคู่นอนไปเรื่อยๆ(เอ...พฤติกรรมช่างคล้ายกับดาราสาวบางคนในบ้านเราเลย)เหล่าเทพและอสูรจึงเห็นนางอัปสราเป็นแค่นางบำเรอกามที่มีไว้เพื่อช่วยให้เสร็จสมอารมณ์หมายเท่านั้น
ในความเชื่อของใครและใครหลายๆคน นางอัปสราจึงเป็นแค่นางบำเรอกามมากว่าที่จะเป็นนางฟ้า
ขณะที่อีกหนึ่งความเชื่อ เชื่อว่านางอัปสราคือนางฟ้าหรือเทพธิดาผู้รับใช้และคอยดูแลศาสนสถาน คล้ายกับความเชื่อของชาวขอมโบราณที่ยกย่องนับถือนางอัปสราว่าเป็นเทพธิดาผู้ดูแลศาสนสถานและเป็นเทพธิดาแห่งความดีงาม นั่นจึงทำให้มีภาพสลักนางอัปสรา ปรากฏอยู่ทั่วไปตามปราสาทโบราณในเขมร
โดยเฉพาะนครวัด(สิ่งมหัศจรรย์ของโลก เมืองเสียมเรียบ) มีรูปสลักนางอัปสราประดับประดาอยู่มากมาย อยู่ทุกซอกทุกมุม ซึ่งในปี พ.ศ. 2544 มีนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสและชาวเขมรร่วมกันใช้ความพยายาม(อย่างสูง)นับนางอัปสรา(อย่างเป็นทางการ)ในนครวัดได้มากถึงประมาณ 1,800 องค์เลยทีเดียว
ทว่า...น่าแปลกที่ปราสาทขอมในบ้านเรา กลับหาภาพสลักนางอัปสราทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าปราสาทและเป็นองค์ประกอบศิลป์ของปราสาทขอมได้น้อยมาก ทอดตาทั้งแผ่นดินมีเพียง 2-3 แห่งเท่านั้น แต่ 1 ในปราสาทจำนวนน้อยนิด มีภาพสลักหินนางอัปสราสุดสวยอยู่ 2 นางที่ปราสาทศีขรภูมิ (ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์)
นางอัปสราปราสาทศีขรภูมิ สลักจากฝีมือช่างโบราณชั้นครู ความงามสู้ภาพสลักนางอัปสราตามปราสาทขอมจำนวนมากในเขมรได้สบาย(จะเป็นรองก็แต่นางอัปสราที่นครวัดและปราสาทบันทายศรีเท่านั้น)จนได้ชื่อว่าเป็นนางอัปสราที่ได้ชื่อสวยที่สุดในเมืองไทย ซึ่งเมื่อมีโอกาสได้มาเยือนปราสาทแห่งนี้กิตติศัพท์ในความงามของนางอัปสรา ทำให้ผมไม่รีรอออกเดินดุ่มๆมุ่งหน้าไปสู่ปราสาทปรางค์ประธานในทันที
สำหรับปราสาทแห่งนี้ ตามข้อมูลระบุว่า สร้างขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นปราสาทขอมที่สร้างผสมสานระหว่างศิลปะแบบบาปวนกับศิลปะแบบนครวัด เพื่อเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย(บูชาพระศิวะเป็นเทพสูงสุด) ตัวปราสาททั้งหมด มี 5 องค์ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันยกพื้นสูง
การจะชมปราสาทแห่งนี้แบบพร้อมหน้าพร้อมตาครบทั้ง 5 องค์ ให้ดูที่ด้านหน้าตรงกลางทางเดินสู่ปราสาท จากนั้นก็ขึ้นไปชมความงามของปราสาทประธานแห่งนี้ ที่ได้ชื่อว่ามีผลงานมาสเตอร์พีชระดับสุดยอดของเมืองไทยอยู่ 2 อย่าง
อย่างแรกคือ ทับหลังที่ได้ชื่อว่าสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย สลักเป็นเรื่องพระศิวะ 3 ตอน คือ ศิวนาฏราชยืนอยู่บนหงส์ พระศิวะสู่กับอรชุน(ตอนหนึ่งจากมหาภารตะยุทธ) และพระศิวะลงไปปราบพระนารายณ์ที่ถูกพิษจากการอวตารเป็นนรสิงห์ไปปราบยักษ์หิรัณยกศิปุ
อย่างที่ 2 อยู่ด้านล่าง ทับหลังพระศิวะ 3 ตอน คือภาพสลักนางอัปสราที่ได้ชื่อว่าสวยและสมบูรณ์ที่สุดในเมืองไทยตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
นางอัปสราที่นี่ มี 2 นาง ยืนขนาบซ้ายและขวาของประตูองค์ปรางค์ ต่างแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามทั้ง 2 นาง เอวคอดกิ่ว ทรวงอกเต่งตึง ไม่โชว์ถันอย่างนางอัปสราบางแห่ง และจุกไม่โผล่เหมือนดาราสาวบางคนในยุคนี้ พ.ศ.นี้
นางทางซ้ายมือขวาหนึ่งถือดอกบัวด้านข้างหูซ้ายมีนกเกาะอยู่ นางทางขวามือขวาถือดอกไม้มีนกเกาะอยู่ข้างบนข้างหูด้านขวามีกระรอกวิ่งซุกซนอยู่
นางอัปสราทั้ง 2 สวมเครื่องทรงศีรษะอันสวยงามแตกต่างกันไป เหนือศีรษะขึ้นไปสลักเป็นลวดลายประดับดอกไม้และลายอื่นๆอย่างสวยงาม
เธอทั้ง 2 ยืนเอนตัวเล็กน้อยพองาม ตามลักษณะอันอรชรอ่อนช้อยใบหน้าเปื้อนยิ้มเล็กน้อยแต่ไม่เผยอให้เห็นไรฟัน ดูแล้วอิ่มเอมเพลินใจดีแท้ ที่สำคัญคือใบหน้าของนางทั้ง 2 ดูสุขใจนัก เหมือนกับจะบอกให้โลกรับรู้ว่า พวกเธอต่างสุขใจที่ได้ทำหน้าที่เฝ้าปรนนิบัติองค์ศิวเทพ(พระศิวะ) ผู้เป็นใหญ่แห่งเทวสถานแห่งนี้
สำหรับผมรอยยิ้มของนางอัปสราทั้งสอง ทำให้ผมต้องไขว้เขวในความคิดอีกครั้งว่า สถานนะของนางอัปสรา เธอสมควรที่จะเป็นนางบำเรอกามหรือสมควรที่จะเป็นนางฟ้าดี