โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ช่วงที่ผ่านมาในบ้านเรามีการจับกุมสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ลอกเลียนแบบกันจนเป็นข่าวใหญ่โตแถวแหล่งท่องเที่ยวกลางคืนชื่อดัง ทำให้เรื่องเกี่ยวกับของปลอม ของลอกเลียนแบบ และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ในบ้านเราโด่งดังขึ้นมาอีกครั้ง
และเพื่อเป็นการตอกย้ำความปลอดภัยของผู้บริโภคอย่างเราๆ ในวันนี้ฉันจึงพามุ่งหน้าสู่ถนนพระราม 3 เพื่อไปยัง "พิพิธภัณฑ์สินค้าปลอมและสินค้าเลียนแบบ ติลลิกี แอนด์ กิบบินส์" หรือ "พิพิธภัณฑ์ของปลอม" ที่ตั้งอยู่ชั้น 26 อาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้จัดแสดงสินค้าปลอมและสินค้าเลียนแบบไว้มากมายกว่า 500 ชิ้น พร้อมทั้งสินค้าของแท้เพื่อใช้เปรียบเทียบและให้เราศึกษาควบคู่กันไป
คุณ หัษณา จิรอาภากุล ทนายความแผนกทรัพย์สินทางปัญญา บริษัทติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และผู้ที่ผ่านคดีความทางการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญามามากมายหลายคดี เล่าให้ฉันฟังว่า ที่สำนักงานกฎหมายติลลิกีแอนด์กิบบินส์ ของเรามีมานานเกือบ 120 ปีแล้ว ทางแผนกทรัพย์สินทางปัญญาได้มีการปราบปรามสินค้าปลอมและเลียนแบบมาหลายคดีนับไม่ถ้วน ทำให้ทางสำนักงานมีสินค้าปลอมและเลียนแบบที่ใช้เป็นหลักฐานในการทำคดีมากมาย ซึ่งได้มากจากการจับกุมบ้างและสินค้าบางอย่างได้มาจากลูกความ เพื่อเป็นหลักฐานในการประกอบการดำเนินคดีบ้าง
จากจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลาทำให้ต้องใช้เนื้อที่ในการเก็บสินค้าเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น และสินค้าเหล่านี้ก็ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทางสำนักงานจึงจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการศึกษา และผู้ที่ต้องการความรู้ทางเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และผลตามกฎหมายเกี่ยวกับการปลอมแปลงสินค้าอีกด้วย
โดยมุ่งเน้นไปที่เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีความด้านนี้ เช่น นักสืบ ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ศุลกากร เป็นต้น เพื่อให้แยกแยะได้ว่าสินค้าใดเป็นของจริง สินค้าใดทำปลอมหรือทำเลียนแบบ ผิดกฎหมายข้อไหนอย่างไร และก็ด้วยด้วยเหตุผลดังกล่าว ในปี พ.ศ.2532 "พิพิธภัณฑ์สินค้าปลอมและเลียน ของติลลิกี แอนด์ กิบบินส์" จึงได้ถือกำเนิดขึ้น
เริ่มแรกสินค้าปลอมและสินค้าเลียนแบบที่รวบรวมไว้มีประมาณ 100 ชิ้น โดยจัดแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่เสื้อผ้า เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคโทรนิคส์ และเครื่องสุขภัณฑ์ ต่อมามีสินค้าปลอมที่ได้มาจากการจับกุม และตัวอย่างสินค้าของจริงซึ่งลูกความส่งมาให้เป็นหนักฐานในการดำเนินการมีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในปัจจุบันมีสินค้าปลอม สินค้าเลียนแบบทั้งเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์กว่า 2,000 ชิ้น
แต่เนื่องจากสถานที่ไม่พอจึงมีการหมุนเวียนมาจัดแสดงในบางส่วนเท่านั้น สำหรับสินค้าในพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบันสามารถจำแนกเป็นประเภทได้ถึง 15 ประเภทนอกเหนือจาก 4 ประเภทเดิม อาทิ รองเท้า นาฬิกา น้ำหอม ของใช้ภายในบ้าน เครื่องเสียง อะไหล่รถยนต์และเครื่องจักร เครื่องประดับตกแต่ง อาหาร ยา สุรา เคมีภัณฑ์ และเครื่องเขียน
คุณหัษณา เล่าต่อว่า เราจะมีตัวแทนของแบรนด์ต่างๆเยอะมากจากทั่วโลก แล้วแต่เจ้าของแบรนด์ว่าเขาจะเลือกสำนักกฎหมายไหนในการดูแลแบรนด์ของเขาในไทย ในส่วนที่บริษัทเราดูแลมีหลายแบรนด์ เยอะมาก อาทิ Lacoste, Puma, , Benz, Uhu, Shiseido, Adidas, Ferrari, Anna sui, Gucci, Levi’s, Abercrombie, Ferrero Roche, Nokia, Converse, Casio, Play Boy เป็นต้น
"เจ้าของแบรนด์อาจจะทราบเองว่ามีโรงงานหรือมีร้านขายของปลอมของเขา หรือไม่เราเป็นคนได้ข้อมูลแล้วแจ้งให้เขาทราบ หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับนโยบายว่ามีนโยบายปราบปรามหรือไม่ ถ้ามีเราจะส่งนักสืบออกไปสืบไปหาข้อมูลก่อนว่าร้านที่ขายอยู่ที่ไหน ขายอะไรบ้าง จำนวนของที่ขายเยอะขนาดไหน เราต้องมีการเตรียมการหาข้อมูลหลักฐานก่อน แล้วจึงประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขอหมายศาลและเข้าไปตรวจค้น"
แต่ไม่ว่าจะปราบปรามจับกุมไปมากเท่าไร ก็ดูเหมือนสินค้าปลอมแปลงเหล่านี้ไม่ได้ลดจำนวนลงเลย เพราะถึงจะจับกุมผู้ขาย แต่ตัวโรงงานผลิตซึ่งส่วนมากจะตั้งอยู่ในประเทศจีน ซึ่งจะผลิตสินค้าปลอมและเลียนแบบแล้วส่งไปจำหน่ายทั่วโลก ปลอมกันตั้งแต่ของใช้ที่ใช้ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า แล้วยังจะมีของใช้ของจิปาถะอีกมากมายตั้งแต่ดินสอ ไส้แม็ก หนังสือ อาหารการกิน นมผงเด็ก โทรศัพท์มือถือ เครื่องคิดเลข นาฬิกา รถยนต์ ก็ยังมีการปลอมแปลงกัน
บ้างก็ลอกแต่เครื่องหมายการค้า บ้างลอกแต่การออกแบบ อย่างเช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายยี่ห้อ PUMA และ adidas เราก็จะเห็นสินค้าปลอมและเลียนแบบโดยบางครั้งจะเปลี่ยนเพียงตัวอักษรบางตัว เช่น PAMA, TUNA, adids, daiads หรือยี่ห้อ La coste บางครั้งก็ใช้รูปจระเข้กลับข้างกับของแท้บ้าง จระเข้ตาบอดบ้าง แต่คงไว้ซึ่งรูปแบบสีทรงลักษณะเครื่องหมายการค้า โดยมีเจตนาจะลวงขาย หรือเจตนาให้ผู้ซื้อเกิดการเข้าใจผิด
บางสินค้าลอกเลียนแบบภายนอกเหมือนของแท้มาก แต่ต่างกันตรงคุณภาพของสารประกอบ เช่น สินค้าประเภทอาหารและยา และเครื่องสำอาง ซึ่งผู้บริโภคอาจจะไม่รู้ตัวว่าซื้อของปลอมหรือเลียนแบบมาบริโภค ซึ่งการผลิตอาจจะใช้วัตถุดิบ ส่วนประกอบที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือใส่สารที่อาจก่อให้เกิดอันตรายลงไปผสมอยู่ หากบริโภคเข้าไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง แพ้ คัน อาเจียน ท้องเสีย หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้
หรือพวกของเล่น โมเดลตุ๊กตุ่นตุ๊กตาปลอมหรือเลียนแบบ อาจใช้วัสดุในการผลิตไม่ดี เช่นพลาสติกที่มีอันตราย เมื่อเด็กเอาเข้าปาก เอาไปอม หรือเคี้ยวก็อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังเป็นการไม่เคารพต่อผู้สร้างสรรค์ผลงานอีกด้วย
คุณหัษณา ได้ฝากถึงผู้บริโภคทุกคนด้วยว่า "กรุณาใช้ของแท้ แม้ของปลอมและเลียนแบบอาจจะมีราคาที่ถูกกว่าแต่อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่คุ้มกับมูลค่าเลยก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังทำให้ประเทศของเราเสียภาพพจน์ เสียดุลการค้า ดังนั้นการเลือกซื้อสินค้าต่างๆ ทางที่ดีควรพิจารณาเลือกซื้อในแหล่งที่น่าเชื่อถือ ราคา คุณภาพของสินค้า และควรสังเกตชื่อและเครื่องหมายการค้าให้ดี"
สำหรับฉันคิดว่า เหตุผลหนึ่งที่ยังมีการขายสินค้าปลอมและเลียนแบบอยู่มากมายเกลื่อนประเทศขนาดนี้ ส่วนหนึ่งเพราะการปราบปรามบ้านเราไม่จริงจังและไม่ต่อเนื่อง อีกทั้งผู้ขายก็มียุทธวิธีมากมายหลากหลายในการหลบหนี้หลบหลีก จับยังไงก็ไม่ถึงต้นตอ ซึ่งก็ต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งสกัดกั้นไม่ให้นำสินค้าปลอมและเลียนแบบเข้ามาในไทย และปราบปรามจับกุมผู้ขาย และทำลายสินค้าเหล่านั้นให้สิ้น
แต่สำหรับฉันและผู้บริโภคทั้งหลาย หากข้องใจว่าสินค้าที่ใช้อยู่เป็นของแท้หรือเทียม เป็นพาดา(PADA) หรือ ป้าดา, พูมา(PUMA) หรือ ทูนา(TUNA), ไนกี้ (NIKE) หรือ ไฮกี้(HIKE), PLAY BOY หรือ PAY BOY, NOKIA หรือ NOKIE, Gucci หรือ Guci, LACOSTE หรือ LACCOSTE ล่ะก็ไปหาคำตอบกันได้ที่ "พิพิธภัณฑ์สินค้าปลอมและเลียน ของติลลิกี แอนด์ กิบบินส์"
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
"พิพิธภัณฑ์สินค้าปลอมและเลียน ของติลลิกี แอนด์ กิบบินส์" ตั้งอยู่ชั้น 26 อาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ ถ.พระราม 3 ช่องนนทรี ยานาวา กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-17.00 น. และต้องโทรนัดล่วงหน้าเพื่อจัดเตรียมวิทยากร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและโทรนัดล่วงหน้าที่ โทร. 0-2653-5555
ช่วงที่ผ่านมาในบ้านเรามีการจับกุมสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ลอกเลียนแบบกันจนเป็นข่าวใหญ่โตแถวแหล่งท่องเที่ยวกลางคืนชื่อดัง ทำให้เรื่องเกี่ยวกับของปลอม ของลอกเลียนแบบ และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ในบ้านเราโด่งดังขึ้นมาอีกครั้ง
และเพื่อเป็นการตอกย้ำความปลอดภัยของผู้บริโภคอย่างเราๆ ในวันนี้ฉันจึงพามุ่งหน้าสู่ถนนพระราม 3 เพื่อไปยัง "พิพิธภัณฑ์สินค้าปลอมและสินค้าเลียนแบบ ติลลิกี แอนด์ กิบบินส์" หรือ "พิพิธภัณฑ์ของปลอม" ที่ตั้งอยู่ชั้น 26 อาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้จัดแสดงสินค้าปลอมและสินค้าเลียนแบบไว้มากมายกว่า 500 ชิ้น พร้อมทั้งสินค้าของแท้เพื่อใช้เปรียบเทียบและให้เราศึกษาควบคู่กันไป
คุณ หัษณา จิรอาภากุล ทนายความแผนกทรัพย์สินทางปัญญา บริษัทติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และผู้ที่ผ่านคดีความทางการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญามามากมายหลายคดี เล่าให้ฉันฟังว่า ที่สำนักงานกฎหมายติลลิกีแอนด์กิบบินส์ ของเรามีมานานเกือบ 120 ปีแล้ว ทางแผนกทรัพย์สินทางปัญญาได้มีการปราบปรามสินค้าปลอมและเลียนแบบมาหลายคดีนับไม่ถ้วน ทำให้ทางสำนักงานมีสินค้าปลอมและเลียนแบบที่ใช้เป็นหลักฐานในการทำคดีมากมาย ซึ่งได้มากจากการจับกุมบ้างและสินค้าบางอย่างได้มาจากลูกความ เพื่อเป็นหลักฐานในการประกอบการดำเนินคดีบ้าง
จากจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลาทำให้ต้องใช้เนื้อที่ในการเก็บสินค้าเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น และสินค้าเหล่านี้ก็ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทางสำนักงานจึงจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการศึกษา และผู้ที่ต้องการความรู้ทางเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และผลตามกฎหมายเกี่ยวกับการปลอมแปลงสินค้าอีกด้วย
โดยมุ่งเน้นไปที่เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีความด้านนี้ เช่น นักสืบ ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ศุลกากร เป็นต้น เพื่อให้แยกแยะได้ว่าสินค้าใดเป็นของจริง สินค้าใดทำปลอมหรือทำเลียนแบบ ผิดกฎหมายข้อไหนอย่างไร และก็ด้วยด้วยเหตุผลดังกล่าว ในปี พ.ศ.2532 "พิพิธภัณฑ์สินค้าปลอมและเลียน ของติลลิกี แอนด์ กิบบินส์" จึงได้ถือกำเนิดขึ้น
เริ่มแรกสินค้าปลอมและสินค้าเลียนแบบที่รวบรวมไว้มีประมาณ 100 ชิ้น โดยจัดแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่เสื้อผ้า เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคโทรนิคส์ และเครื่องสุขภัณฑ์ ต่อมามีสินค้าปลอมที่ได้มาจากการจับกุม และตัวอย่างสินค้าของจริงซึ่งลูกความส่งมาให้เป็นหนักฐานในการดำเนินการมีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในปัจจุบันมีสินค้าปลอม สินค้าเลียนแบบทั้งเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์กว่า 2,000 ชิ้น
แต่เนื่องจากสถานที่ไม่พอจึงมีการหมุนเวียนมาจัดแสดงในบางส่วนเท่านั้น สำหรับสินค้าในพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบันสามารถจำแนกเป็นประเภทได้ถึง 15 ประเภทนอกเหนือจาก 4 ประเภทเดิม อาทิ รองเท้า นาฬิกา น้ำหอม ของใช้ภายในบ้าน เครื่องเสียง อะไหล่รถยนต์และเครื่องจักร เครื่องประดับตกแต่ง อาหาร ยา สุรา เคมีภัณฑ์ และเครื่องเขียน
คุณหัษณา เล่าต่อว่า เราจะมีตัวแทนของแบรนด์ต่างๆเยอะมากจากทั่วโลก แล้วแต่เจ้าของแบรนด์ว่าเขาจะเลือกสำนักกฎหมายไหนในการดูแลแบรนด์ของเขาในไทย ในส่วนที่บริษัทเราดูแลมีหลายแบรนด์ เยอะมาก อาทิ Lacoste, Puma, , Benz, Uhu, Shiseido, Adidas, Ferrari, Anna sui, Gucci, Levi’s, Abercrombie, Ferrero Roche, Nokia, Converse, Casio, Play Boy เป็นต้น
"เจ้าของแบรนด์อาจจะทราบเองว่ามีโรงงานหรือมีร้านขายของปลอมของเขา หรือไม่เราเป็นคนได้ข้อมูลแล้วแจ้งให้เขาทราบ หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับนโยบายว่ามีนโยบายปราบปรามหรือไม่ ถ้ามีเราจะส่งนักสืบออกไปสืบไปหาข้อมูลก่อนว่าร้านที่ขายอยู่ที่ไหน ขายอะไรบ้าง จำนวนของที่ขายเยอะขนาดไหน เราต้องมีการเตรียมการหาข้อมูลหลักฐานก่อน แล้วจึงประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขอหมายศาลและเข้าไปตรวจค้น"
แต่ไม่ว่าจะปราบปรามจับกุมไปมากเท่าไร ก็ดูเหมือนสินค้าปลอมแปลงเหล่านี้ไม่ได้ลดจำนวนลงเลย เพราะถึงจะจับกุมผู้ขาย แต่ตัวโรงงานผลิตซึ่งส่วนมากจะตั้งอยู่ในประเทศจีน ซึ่งจะผลิตสินค้าปลอมและเลียนแบบแล้วส่งไปจำหน่ายทั่วโลก ปลอมกันตั้งแต่ของใช้ที่ใช้ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า แล้วยังจะมีของใช้ของจิปาถะอีกมากมายตั้งแต่ดินสอ ไส้แม็ก หนังสือ อาหารการกิน นมผงเด็ก โทรศัพท์มือถือ เครื่องคิดเลข นาฬิกา รถยนต์ ก็ยังมีการปลอมแปลงกัน
บ้างก็ลอกแต่เครื่องหมายการค้า บ้างลอกแต่การออกแบบ อย่างเช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายยี่ห้อ PUMA และ adidas เราก็จะเห็นสินค้าปลอมและเลียนแบบโดยบางครั้งจะเปลี่ยนเพียงตัวอักษรบางตัว เช่น PAMA, TUNA, adids, daiads หรือยี่ห้อ La coste บางครั้งก็ใช้รูปจระเข้กลับข้างกับของแท้บ้าง จระเข้ตาบอดบ้าง แต่คงไว้ซึ่งรูปแบบสีทรงลักษณะเครื่องหมายการค้า โดยมีเจตนาจะลวงขาย หรือเจตนาให้ผู้ซื้อเกิดการเข้าใจผิด
บางสินค้าลอกเลียนแบบภายนอกเหมือนของแท้มาก แต่ต่างกันตรงคุณภาพของสารประกอบ เช่น สินค้าประเภทอาหารและยา และเครื่องสำอาง ซึ่งผู้บริโภคอาจจะไม่รู้ตัวว่าซื้อของปลอมหรือเลียนแบบมาบริโภค ซึ่งการผลิตอาจจะใช้วัตถุดิบ ส่วนประกอบที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือใส่สารที่อาจก่อให้เกิดอันตรายลงไปผสมอยู่ หากบริโภคเข้าไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง แพ้ คัน อาเจียน ท้องเสีย หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้
หรือพวกของเล่น โมเดลตุ๊กตุ่นตุ๊กตาปลอมหรือเลียนแบบ อาจใช้วัสดุในการผลิตไม่ดี เช่นพลาสติกที่มีอันตราย เมื่อเด็กเอาเข้าปาก เอาไปอม หรือเคี้ยวก็อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังเป็นการไม่เคารพต่อผู้สร้างสรรค์ผลงานอีกด้วย
คุณหัษณา ได้ฝากถึงผู้บริโภคทุกคนด้วยว่า "กรุณาใช้ของแท้ แม้ของปลอมและเลียนแบบอาจจะมีราคาที่ถูกกว่าแต่อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่คุ้มกับมูลค่าเลยก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังทำให้ประเทศของเราเสียภาพพจน์ เสียดุลการค้า ดังนั้นการเลือกซื้อสินค้าต่างๆ ทางที่ดีควรพิจารณาเลือกซื้อในแหล่งที่น่าเชื่อถือ ราคา คุณภาพของสินค้า และควรสังเกตชื่อและเครื่องหมายการค้าให้ดี"
สำหรับฉันคิดว่า เหตุผลหนึ่งที่ยังมีการขายสินค้าปลอมและเลียนแบบอยู่มากมายเกลื่อนประเทศขนาดนี้ ส่วนหนึ่งเพราะการปราบปรามบ้านเราไม่จริงจังและไม่ต่อเนื่อง อีกทั้งผู้ขายก็มียุทธวิธีมากมายหลากหลายในการหลบหนี้หลบหลีก จับยังไงก็ไม่ถึงต้นตอ ซึ่งก็ต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งสกัดกั้นไม่ให้นำสินค้าปลอมและเลียนแบบเข้ามาในไทย และปราบปรามจับกุมผู้ขาย และทำลายสินค้าเหล่านั้นให้สิ้น
แต่สำหรับฉันและผู้บริโภคทั้งหลาย หากข้องใจว่าสินค้าที่ใช้อยู่เป็นของแท้หรือเทียม เป็นพาดา(PADA) หรือ ป้าดา, พูมา(PUMA) หรือ ทูนา(TUNA), ไนกี้ (NIKE) หรือ ไฮกี้(HIKE), PLAY BOY หรือ PAY BOY, NOKIA หรือ NOKIE, Gucci หรือ Guci, LACOSTE หรือ LACCOSTE ล่ะก็ไปหาคำตอบกันได้ที่ "พิพิธภัณฑ์สินค้าปลอมและเลียน ของติลลิกี แอนด์ กิบบินส์"
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
"พิพิธภัณฑ์สินค้าปลอมและเลียน ของติลลิกี แอนด์ กิบบินส์" ตั้งอยู่ชั้น 26 อาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ ถ.พระราม 3 ช่องนนทรี ยานาวา กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-17.00 น. และต้องโทรนัดล่วงหน้าเพื่อจัดเตรียมวิทยากร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและโทรนัดล่วงหน้าที่ โทร. 0-2653-5555