xs
xsm
sm
md
lg

การท่องเที่ยวโดยชุมชน อีกทางเลือกบนทางรอด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

บ้านแม่กำปอง
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับหน่อยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism – CBT) เน้นอัตลักษณ์ท้องถิ่น คาดกระตุ้นให้นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบ ฯลฯ เกิดจิตสำนึกต่อสังคม และการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

พรหมมินทร์ พวงมาลา หัวหน้าโครงการวิจัยการค้นหาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนผ่านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านแม่กำปอง กิ่ง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ในการจัดการจัดการทรัพยากรในชุมชน ว่า สำหรับชุมชนแม่กำปองตั้งอยู่บนบนภูเขา โดยมีเนื้อที่ 3,000 ไร่ รอบบริเวณมีต้นน้ำลำธารขุนน้ำแม่กวง โดยทางโครงการได้จัดการแนวทางฯ 3 ส่วน ได้แก่ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ, การอนุรักษ์ทรัพยากรและวิถีชุมชน ที่มีการทำเมี่ยงและชา, การทำผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนจำหน่าย อาทิ ไกด์ท้องถิ่น กลุ่มศิลปวัฒนธรรม กลุ่มช่างฟ้อน กลุ่มนักดนตรี เป็นต้น

ทั้งนี้ยังรับสมัครบ้านที่พร้อมเป็นที่พักแก่นักท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ เพื่อผลักดันให้ชุมชมรู้จักการพึ่งพาตนเอง จนชาวบ้านเริ่มเข้าใจเข้าใจรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และทางโครงการฯ ก็ได้มีการเปิดรับนักท่องเที่ยวเมื่อปี พ.ศ.2543 ภายใต้การพัฒนาองค์ความรู้ของคนในชุมชน ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น และวิถีชีวิต และหล่อหลอมให้ตระหนักถึงการท่องเที่ยวที่ยังยืน ไม่เน้นปริมาณการท่องเที่ยว หรือรายได้ แต่จะเน้นด้านความเข็มแข็งในชุมชุน ที่คงไว้ซึ่งวัตนธรรมท้องถิ่ง รวมถึงความยังยืนของธรรมชาติ

การท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน แต่สิ่งที่ยั่งยืนคือชีวิต ซึ่งการท่องเที่ยวนั้นไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชุมชนเพื่อเอาใจนักท่องเที่ยวที่มาพร้อมกับกระแสนิยม

นพพร นิลณรงค์ ที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น แสดงความเห็นในเรื่องกระแสนิยมที่รุกเข้ามาในชุมชนและสังคมว่า กระแสนิยมทำให้บางครั้งคนเราลืมรากเหง้าของตน มองข้ามความภูมิใจ เอกลักษณ์ประจำถิ่น ฯลฯ ซึ่งถือว่าสวนทางกับกระแสหลัก เช่น โรงแรมหลายแห่ง ที่มุ่งเน้นชูจุดเด่นของศิลปวัฒนธรรม ความเป็นธรรมชาติ ดังนั้นการท่องเที่ยวชุมชนก็สามารถจัดการท่องเที่ยวได้ด้วยตนเอง โดยมุ่งเสนอในเรื่องวิถีชีวิต ความเรียบง่าย และบริหารจัดการอย่าเหมาะสมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่อไป

ด้านพจนา สวนศรี ผู้ประสานงานสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน กล่าวว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไป โดยนักท่องเที่ยวจะเลือกสัมผัสการท่องเที่ยวแบบใกล้ชิดธรรมชาติเพื่อหลบหลีกความจำเจ ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวต้นทุนต่ำ อย่างเช่นการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่มีวิถีชีวิตชุมชนที่เรียบง่ายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จะสามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าจะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เพราะการท่องเที่ยวชุมชนนั้น จะเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต การมีส่วนร่วมของชุมชน และสิทธิในการบริหารจัดการทรัพยากร ซึ่งทำให้เกิดความยั่งยืนในการท่องเที่ยว
กำลังโหลดความคิดเห็น