โดย : ปิ่น บุตรี

ผมรู้จักชื่อ(หมู่) “บ้านอีต่อง” ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยปี 2
ครั้งนั้นเป็นเพียงการรู้จัก“แค่ชื่อ”เพราะ“ไอ้หงอก”เพื่อนต่างมหาวิทยาลัย มันมาขอคำแนะนำเรื่องการก่อสร้างอาคารทรงเอเฟรมที่มันจะไปออกค่ายอาสาสร้างห้องสมุด(ทรงเอเฟรม)ให้โรงเรียนตชด.บ้านอีต่องในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งไอ้เรื่องการออกแบบก่อสร้างนี่มันตรงกับสาขาที่ผมเรียน จึงแนะนำมันไปตามอัตภาพพร้อมคิดค่าวิชาเป็นเหล้า 1 กลม(ส่วนค่ากับแกล้มกับโซดาน้ำผมจ่าย สุดท้ายเข้าเนื้ออีกต่างหาก)
ครั้นไอ้หงอกกลับมา มันก็มาเล่าความประทับใจในการทำค่ายและความประทับใจในหมู่บ้านอีต่อง ทั้งชาวบ้าน ตชด. และสภาพพื้นที่ให้ฟัง

“ทะเลหมอก ทะเลภูเขา ที่นั่น มึงเอ๊ย...สวยมาก กูขึ้นเขาไปดูอยู่บ่อยๆ บนนั้นมองเห็นฝั่งพม่าอยู่แค่เอื้อมเอง เอาไว้ช่วงไหนว่างๆ เราไปเที่ยวอีต่องกัน ไปพักกับชาวบ้านเขานั่นแหละ กูไปทำค่ายรู้จักอยู่หลายคน”
ครับ และตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันนี้สิบกว่าปีผ่านมา ผมกับไอ้หงอกยังไม่มีช่วงเวลาว่างตรงกันแบบพอเจียดเวลาไปเที่ยวบ้านอีต่องได้ซักกะที นั่นจึงทำให้การไปเที่ยวบ้านอีต่องของผมในหนาวนี้ นอกจากจะคิดถึงไอ้หงอกแล้ว ผมยังไปเดินท่อมๆมองหาอาคารทรงเอเฟรมแถวโรงเรียนตชด.
งานนี้เจออาคารทรงเอเฟรมอยู่หลังหนึ่ง ผมเดาเอาว่านี่น่าจะเป็นอาคารที่ไอ้หงอกกับเพื่อนๆของมันไปสร้างไว้ เพราะทั้งหมู่บ้านเห็นอาคารทรงนี้อยู่หลังเดียวแถมดูเก่ารุ่นราวคราวเดียวกับยุคที่มันไปสร้างอีกด้วย
อาคารเอเฟรมหลังนี้ตั้งอยู่อย่างเหงาๆ เช่นเดียวกับบรรยากาศของบ้านอีต่องที่วันนี้ดูเงียบเหงาผิดแผกแตกต่างไปจากอดีต เนื่องเพราะบ้านอีต่องเคยเป็นที่ตั้งของเหมืองปิล๊อกอันลือลั่น โดยหลังจากที่ องค์การเหมืองแร่ กรมโลหะกิจ ได้เปิดเหมืองปิล๊อกขึ้นเป็นแห่งแรกที่ ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ ในปี 2483 เหมืองอื่นๆก็ทยอยเปิดตามมาอีกมากมายทั้งเหมืองน้อย เหมืองใหญ่ (จนทำให้ผู้คนเรียกขานบรรดาเหมืองทั้งหลายในพื้นที่แถบนี้แบบเหมารวมว่า“เหมืองปิล๊อก”)

เหมืองปิล๊อกในยุคนั้นเฟื่องฟูมากเพราะแร่ราคาพุ่ง คนต่างถิ่นต่างมุ่งหน้ามาแสวงโชคที่เหมืองปิล๊อกกันอย่างคึกคักทั้งเป็นชาวเหมืองและทำอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
พี่ชาลี มูลสูตร อดีตพนักงานเหมืองแร่สมศักดิ์(ปัจจุบันเป็นผู้จัดการรีสอร์ทเหมืองแร่สมศักดิ์ บ้านเล็กในป่าใหญ่) คนโคราชที่มาแสวงโชคที่นี่เล่าให้ผมฟังว่า ยุคนั้น เหมืองปิล๊อก บ้านอีต่อง เป็นเมืองเจริญขนาดย่อม ชาวบ้านมีฐานะร่ำรวย เศรษฐกิจดี มีบรรยากาศที่คึกคักมาก มีทั้งตลาด มีโรงหนัง โรงน้ำชา สภากาแฟ มีคนหลายเชื้อชาติ บางคนเก็บเงินไว้เป็นปี๊บๆ แต่เมื่อได้เงินง่ายก็ใช้จ่ายง่ายเป็นเงาตามตัว
“ปิล๊อกยุคนั้น มันเหมือนเมืองคาวบอยเลยละครับ หัวหน้างาน พกปืนสั้น ขับรถจิ๊ป ตกเย็นรวมแก๊งกินเหล้า ผมเองก็มาหัดกินเกล้าที่นี่ เพราะการทำเหมืองมันทำให้ชีวิตคนต้องกร้านตามอันโนมัติ ยิ่งอยู่บ้านป่าไกลปืนเที่ยงอย่างนี้ด้วยถ้าไม่แกร่งพอก็อยู่ไม่ได้”พี่ชาลีรำลึกความหลัง
เหมืองปิล๊อกยุคนั้นเต็มไปด้วยเรื่องราวที่เป็นดังนิยายเหมืองแร่อันเพริศแพร้วมากมาย ทั้งรัก ชื่น ขื่น บู๊ หวาน ซึ้ง น่าทึ่ง ชวนฝัน ตลก ขำ และฯลฯ
นิยายเหมืองแร่ปิล๊อกโลดแล่นอยู่ในโรงละครแห่งชีวิตจริงอยู่หลายปี ก่อนประสบภาวะราคาแต่โลกตกต่ำในช่วงปี 27-28 บรรดาเหมืองต่างทยอยปิดตัวลง ผู้คนส่วนหนึ่งแยกย้ายไปแสวงโชคที่อื่น ขณะที่บางคนที่ตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ที่นี่ก็ปรับตัวไปทำงานอย่างอื่นเลี้ยงชีวิต
“นี่ถ้าเหมืองปิล๊อกมีนักเขียนอย่างอาจินต์ ปัญจพรรค์(ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์)ทำงานอยู่ บางทีพวกเราอาจรับรู้เรื่องราวอันน่าทึ่ง น่าสนใจ ของเหมืองนี้ผ่านโลกของตัวหนังสืออีกมากมาย”เพื่อนผมคนหนึ่งตั้งข้อสังเกต

มาวันนี้เหมืองปิล๊อกแม้ปิดตัวไปกว่า 20 ปีแล้ว แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศอันสวยงามอุดมไปด้วยขุนเขา ทำให้บ้านอีต่องกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจไม่ไกลจากเมืองกรุง ซึ่งแม้ว่าชุมชนอดีตเหมืองปิล๊อกแห่งนี้จะเงียบเหงาต่างจากอดีต แต่ว่าก็มีเสน่ห์อยู่ในที
หลังแวะไปรำลึกความหลังที่อาคารเอเฟรมแล้ว ผมถือโอกาสเดินสำรวจหมู่บ้านที่ช่วงเช้าๆอย่างนี้จุดที่ดูคึกคักหน่อยก็เห็นจะเป็นในตลาดที่สินค้าหลายอย่างน้ำเข้าจากพม่า โดยเฉพาะอาหารทะเลนั้นที่นี่ราคาถูกและสดดีทีเดียวเพราะจากทะเลพม่ามาที่บ้านอีต่องนั้นไม่ไกลนัก
ออกจากตลาด ผมไปเดินชมหมู่บ้านยามเช้าชมวิถีชีวิต อาคารบ้านเรือน ห้องแถวเรือนไม้ในยุครุ่งโรจน์ที่วันนี้ดูเก่าขรึมไปตามสภาพ บางบ้านเห็นหญิงสาวชาวมอญกำลังตกแต่งกล้วยไม้เอาไว้ขายนักท่องเที่ยว
ส่วนที่มองเห็นอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลนั่นคือพื้นที่อดีตเหมืองปิล๊อกที่เหลือเพียงบ้านเรือนคนงาน ซากเครื่องจักร ป้ายชื่อเหมือง และตำนานทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้า เหนือขึ้นไปโน่นเป็นวัดเหมืองปิล๊อกบนเนินเขาที่มีเจดีย์สีทองเหลืองอร่าม และนี่เด็กๆกำลังวิ่งไล่หยอกล้อกัน ก่อนผมเรียกให้มายืนแอ๊คท่าถ่ายรูป ซึ่งผมไม่รู้มาก่อนว่าเด็กๆกลุ่มนี้มีทั้ง ไทย พม่า มอญ เพราะทุกคนพูดไทยชัดแจ๋ว
จนเมื่อพวกเขาบอกออกมาถึงชาติพันธุ์ของพวกเขานั่นแหละถึงกระจ่างแจ้ง
นับเป็นมิตรภาพหลากเผ่าพันธุ์ที่พ่อค้าอาวุธสงครามยากที่จะเข้าใจ

นอกจากนี้บ้านอีต่องยังสะท้อนให้เห็นว่านี่คือหมู่บ้านสหประชาชาติหมู่บ้านหนึ่ง เพราะในยุคเหมืองเฟื่องฟูนั้น นอกจากคนไทยในพื้นที่และคนไทยต่างถิ่นที่เข้ามาแสวงโชคแล้ว ยังมีคนพลัดถิ่นอย่าง พม่า มอญ ทวาย เนปาล มาทำมาหากินอยู่เป็นจำนวนมาก
มาวันนี้แม้สิ้นยุคเหมือง คนเหล่านั้นส่วนหนึ่งก็ยังคงทำมาหากินอยู่ที่นี่ โดยชาวบ้านบางครัวเรือนยังคงออกร่อนแร่ตามลำธารน้ำ นำแร่มาขายเป็นรายได้จุนเจือชีวิตที่ต้องปากกัดตีนถีบ เพราะในวันนี้ใต้ดินปิล๊อกยังมีสินแร่อยู่มาก ว่ากันว่าเกือบ 70 % เลยทีเดียว
ซึ่งถ้าจะดูร่องรอยการทำเหมืองปิล๊อกในอดีตนั้น จุดที่เห็นภาพรวมภาพกว้างได้เป็นอย่างดีก็คือ บน“จุดชมวิวเนินช้างศึก”ที่มีฐานตชด.ตั้งอยู่ที่แม้ว่าช่วงที่ผมขึ้นไปบนเนินช้างศึกนั้น เวลาจะปาเข้าไปเกือบ 10 โมงแล้ว แต่ว่าบรรยากาศบนนี้ยังดูไม่ต่างจากยามเช้าเท่าไหร่ โดยเฉพาะสายลมหนาวที่พัดกระโชกนั้น หนาวยะเยือกสะท้านไปถึงทรวงในเลยทีเดียว

วันที่ผมขึ้นไปบนเนินช้างศึกนั้น ถือว่าค่อนข้างโชคดีเพราะฟ้าเปิดพอประมาณ บนนั้นเมื่อมองลงมาเห็นวิวทิวทัศน์เบื้องล่างได้อย่างชัดเจน
บนนี้มีจุดให้เดินชมวิวกันแบบรอบทิศ
มุมหนึ่งมองลงมาจะเห็นทิวทัศน์หมู่บ้านอีต่องที่ตั้งสงบอยู่ท่ามกลางขุนเขาแวดล้อม(มุมหลังฐานตชด.)
มุมหนึ่งมองลงเห็นทิวทัศน์ของขุนเขายะเยือกที่มีทะเลหมอกขาวโพลนลอยอ้อยอิ่งปานประหนึ่งภาพฝัน
ส่วนอีกมุมหนึ่งเมื่อมองลงมาจะเห็นทิวทัศน์ทะเลภูเขากว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ในมุมนี้อาจดูสวยสะดุดตาใครบางคน แต่สำหรับผมแล้วนี่คือมุมที่ชวนให้สะดุดใจเล็กน้อย เพราะทะเลภูเขาเหล่านี้เกิดจากการถูกขุด-เจาะ-ตัด-โค่น ทำเหมืองจนหัวโล้นโกร๋นเกรียนมีสภาพดูไม่จืดมาจนถึงทุกวันนี้
ผมรู้จักชื่อ(หมู่) “บ้านอีต่อง” ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยปี 2
ครั้งนั้นเป็นเพียงการรู้จัก“แค่ชื่อ”เพราะ“ไอ้หงอก”เพื่อนต่างมหาวิทยาลัย มันมาขอคำแนะนำเรื่องการก่อสร้างอาคารทรงเอเฟรมที่มันจะไปออกค่ายอาสาสร้างห้องสมุด(ทรงเอเฟรม)ให้โรงเรียนตชด.บ้านอีต่องในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งไอ้เรื่องการออกแบบก่อสร้างนี่มันตรงกับสาขาที่ผมเรียน จึงแนะนำมันไปตามอัตภาพพร้อมคิดค่าวิชาเป็นเหล้า 1 กลม(ส่วนค่ากับแกล้มกับโซดาน้ำผมจ่าย สุดท้ายเข้าเนื้ออีกต่างหาก)
ครั้นไอ้หงอกกลับมา มันก็มาเล่าความประทับใจในการทำค่ายและความประทับใจในหมู่บ้านอีต่อง ทั้งชาวบ้าน ตชด. และสภาพพื้นที่ให้ฟัง
“ทะเลหมอก ทะเลภูเขา ที่นั่น มึงเอ๊ย...สวยมาก กูขึ้นเขาไปดูอยู่บ่อยๆ บนนั้นมองเห็นฝั่งพม่าอยู่แค่เอื้อมเอง เอาไว้ช่วงไหนว่างๆ เราไปเที่ยวอีต่องกัน ไปพักกับชาวบ้านเขานั่นแหละ กูไปทำค่ายรู้จักอยู่หลายคน”
ครับ และตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันนี้สิบกว่าปีผ่านมา ผมกับไอ้หงอกยังไม่มีช่วงเวลาว่างตรงกันแบบพอเจียดเวลาไปเที่ยวบ้านอีต่องได้ซักกะที นั่นจึงทำให้การไปเที่ยวบ้านอีต่องของผมในหนาวนี้ นอกจากจะคิดถึงไอ้หงอกแล้ว ผมยังไปเดินท่อมๆมองหาอาคารทรงเอเฟรมแถวโรงเรียนตชด.
งานนี้เจออาคารทรงเอเฟรมอยู่หลังหนึ่ง ผมเดาเอาว่านี่น่าจะเป็นอาคารที่ไอ้หงอกกับเพื่อนๆของมันไปสร้างไว้ เพราะทั้งหมู่บ้านเห็นอาคารทรงนี้อยู่หลังเดียวแถมดูเก่ารุ่นราวคราวเดียวกับยุคที่มันไปสร้างอีกด้วย
อาคารเอเฟรมหลังนี้ตั้งอยู่อย่างเหงาๆ เช่นเดียวกับบรรยากาศของบ้านอีต่องที่วันนี้ดูเงียบเหงาผิดแผกแตกต่างไปจากอดีต เนื่องเพราะบ้านอีต่องเคยเป็นที่ตั้งของเหมืองปิล๊อกอันลือลั่น โดยหลังจากที่ องค์การเหมืองแร่ กรมโลหะกิจ ได้เปิดเหมืองปิล๊อกขึ้นเป็นแห่งแรกที่ ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ ในปี 2483 เหมืองอื่นๆก็ทยอยเปิดตามมาอีกมากมายทั้งเหมืองน้อย เหมืองใหญ่ (จนทำให้ผู้คนเรียกขานบรรดาเหมืองทั้งหลายในพื้นที่แถบนี้แบบเหมารวมว่า“เหมืองปิล๊อก”)
เหมืองปิล๊อกในยุคนั้นเฟื่องฟูมากเพราะแร่ราคาพุ่ง คนต่างถิ่นต่างมุ่งหน้ามาแสวงโชคที่เหมืองปิล๊อกกันอย่างคึกคักทั้งเป็นชาวเหมืองและทำอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
พี่ชาลี มูลสูตร อดีตพนักงานเหมืองแร่สมศักดิ์(ปัจจุบันเป็นผู้จัดการรีสอร์ทเหมืองแร่สมศักดิ์ บ้านเล็กในป่าใหญ่) คนโคราชที่มาแสวงโชคที่นี่เล่าให้ผมฟังว่า ยุคนั้น เหมืองปิล๊อก บ้านอีต่อง เป็นเมืองเจริญขนาดย่อม ชาวบ้านมีฐานะร่ำรวย เศรษฐกิจดี มีบรรยากาศที่คึกคักมาก มีทั้งตลาด มีโรงหนัง โรงน้ำชา สภากาแฟ มีคนหลายเชื้อชาติ บางคนเก็บเงินไว้เป็นปี๊บๆ แต่เมื่อได้เงินง่ายก็ใช้จ่ายง่ายเป็นเงาตามตัว
“ปิล๊อกยุคนั้น มันเหมือนเมืองคาวบอยเลยละครับ หัวหน้างาน พกปืนสั้น ขับรถจิ๊ป ตกเย็นรวมแก๊งกินเหล้า ผมเองก็มาหัดกินเกล้าที่นี่ เพราะการทำเหมืองมันทำให้ชีวิตคนต้องกร้านตามอันโนมัติ ยิ่งอยู่บ้านป่าไกลปืนเที่ยงอย่างนี้ด้วยถ้าไม่แกร่งพอก็อยู่ไม่ได้”พี่ชาลีรำลึกความหลัง
เหมืองปิล๊อกยุคนั้นเต็มไปด้วยเรื่องราวที่เป็นดังนิยายเหมืองแร่อันเพริศแพร้วมากมาย ทั้งรัก ชื่น ขื่น บู๊ หวาน ซึ้ง น่าทึ่ง ชวนฝัน ตลก ขำ และฯลฯ
นิยายเหมืองแร่ปิล๊อกโลดแล่นอยู่ในโรงละครแห่งชีวิตจริงอยู่หลายปี ก่อนประสบภาวะราคาแต่โลกตกต่ำในช่วงปี 27-28 บรรดาเหมืองต่างทยอยปิดตัวลง ผู้คนส่วนหนึ่งแยกย้ายไปแสวงโชคที่อื่น ขณะที่บางคนที่ตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ที่นี่ก็ปรับตัวไปทำงานอย่างอื่นเลี้ยงชีวิต
“นี่ถ้าเหมืองปิล๊อกมีนักเขียนอย่างอาจินต์ ปัญจพรรค์(ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์)ทำงานอยู่ บางทีพวกเราอาจรับรู้เรื่องราวอันน่าทึ่ง น่าสนใจ ของเหมืองนี้ผ่านโลกของตัวหนังสืออีกมากมาย”เพื่อนผมคนหนึ่งตั้งข้อสังเกต
มาวันนี้เหมืองปิล๊อกแม้ปิดตัวไปกว่า 20 ปีแล้ว แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศอันสวยงามอุดมไปด้วยขุนเขา ทำให้บ้านอีต่องกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจไม่ไกลจากเมืองกรุง ซึ่งแม้ว่าชุมชนอดีตเหมืองปิล๊อกแห่งนี้จะเงียบเหงาต่างจากอดีต แต่ว่าก็มีเสน่ห์อยู่ในที
หลังแวะไปรำลึกความหลังที่อาคารเอเฟรมแล้ว ผมถือโอกาสเดินสำรวจหมู่บ้านที่ช่วงเช้าๆอย่างนี้จุดที่ดูคึกคักหน่อยก็เห็นจะเป็นในตลาดที่สินค้าหลายอย่างน้ำเข้าจากพม่า โดยเฉพาะอาหารทะเลนั้นที่นี่ราคาถูกและสดดีทีเดียวเพราะจากทะเลพม่ามาที่บ้านอีต่องนั้นไม่ไกลนัก
ออกจากตลาด ผมไปเดินชมหมู่บ้านยามเช้าชมวิถีชีวิต อาคารบ้านเรือน ห้องแถวเรือนไม้ในยุครุ่งโรจน์ที่วันนี้ดูเก่าขรึมไปตามสภาพ บางบ้านเห็นหญิงสาวชาวมอญกำลังตกแต่งกล้วยไม้เอาไว้ขายนักท่องเที่ยว
ส่วนที่มองเห็นอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลนั่นคือพื้นที่อดีตเหมืองปิล๊อกที่เหลือเพียงบ้านเรือนคนงาน ซากเครื่องจักร ป้ายชื่อเหมือง และตำนานทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้า เหนือขึ้นไปโน่นเป็นวัดเหมืองปิล๊อกบนเนินเขาที่มีเจดีย์สีทองเหลืองอร่าม และนี่เด็กๆกำลังวิ่งไล่หยอกล้อกัน ก่อนผมเรียกให้มายืนแอ๊คท่าถ่ายรูป ซึ่งผมไม่รู้มาก่อนว่าเด็กๆกลุ่มนี้มีทั้ง ไทย พม่า มอญ เพราะทุกคนพูดไทยชัดแจ๋ว
จนเมื่อพวกเขาบอกออกมาถึงชาติพันธุ์ของพวกเขานั่นแหละถึงกระจ่างแจ้ง
นับเป็นมิตรภาพหลากเผ่าพันธุ์ที่พ่อค้าอาวุธสงครามยากที่จะเข้าใจ
นอกจากนี้บ้านอีต่องยังสะท้อนให้เห็นว่านี่คือหมู่บ้านสหประชาชาติหมู่บ้านหนึ่ง เพราะในยุคเหมืองเฟื่องฟูนั้น นอกจากคนไทยในพื้นที่และคนไทยต่างถิ่นที่เข้ามาแสวงโชคแล้ว ยังมีคนพลัดถิ่นอย่าง พม่า มอญ ทวาย เนปาล มาทำมาหากินอยู่เป็นจำนวนมาก
มาวันนี้แม้สิ้นยุคเหมือง คนเหล่านั้นส่วนหนึ่งก็ยังคงทำมาหากินอยู่ที่นี่ โดยชาวบ้านบางครัวเรือนยังคงออกร่อนแร่ตามลำธารน้ำ นำแร่มาขายเป็นรายได้จุนเจือชีวิตที่ต้องปากกัดตีนถีบ เพราะในวันนี้ใต้ดินปิล๊อกยังมีสินแร่อยู่มาก ว่ากันว่าเกือบ 70 % เลยทีเดียว
ซึ่งถ้าจะดูร่องรอยการทำเหมืองปิล๊อกในอดีตนั้น จุดที่เห็นภาพรวมภาพกว้างได้เป็นอย่างดีก็คือ บน“จุดชมวิวเนินช้างศึก”ที่มีฐานตชด.ตั้งอยู่ที่แม้ว่าช่วงที่ผมขึ้นไปบนเนินช้างศึกนั้น เวลาจะปาเข้าไปเกือบ 10 โมงแล้ว แต่ว่าบรรยากาศบนนี้ยังดูไม่ต่างจากยามเช้าเท่าไหร่ โดยเฉพาะสายลมหนาวที่พัดกระโชกนั้น หนาวยะเยือกสะท้านไปถึงทรวงในเลยทีเดียว
วันที่ผมขึ้นไปบนเนินช้างศึกนั้น ถือว่าค่อนข้างโชคดีเพราะฟ้าเปิดพอประมาณ บนนั้นเมื่อมองลงมาเห็นวิวทิวทัศน์เบื้องล่างได้อย่างชัดเจน
บนนี้มีจุดให้เดินชมวิวกันแบบรอบทิศ
มุมหนึ่งมองลงมาจะเห็นทิวทัศน์หมู่บ้านอีต่องที่ตั้งสงบอยู่ท่ามกลางขุนเขาแวดล้อม(มุมหลังฐานตชด.)
มุมหนึ่งมองลงเห็นทิวทัศน์ของขุนเขายะเยือกที่มีทะเลหมอกขาวโพลนลอยอ้อยอิ่งปานประหนึ่งภาพฝัน
ส่วนอีกมุมหนึ่งเมื่อมองลงมาจะเห็นทิวทัศน์ทะเลภูเขากว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ในมุมนี้อาจดูสวยสะดุดตาใครบางคน แต่สำหรับผมแล้วนี่คือมุมที่ชวนให้สะดุดใจเล็กน้อย เพราะทะเลภูเขาเหล่านี้เกิดจากการถูกขุด-เจาะ-ตัด-โค่น ทำเหมืองจนหัวโล้นโกร๋นเกรียนมีสภาพดูไม่จืดมาจนถึงทุกวันนี้