มูลนิธิเพื่อทะเล จับมือกับหน่วยงานทางภาครัฐและเอกชนร่วม “โครงการฝูงบินปะการังเพื่อทะเล” เพื่ออนุรักษ์พัฒนาปะการัง หวังกระตุ้นนักท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้น
งานครั้งนี้ ได้ใช้เวลาเตรียมการมามากกว่า 3 ปีแล้ว แต่เนื่องจากเกิดเหตุการณ์พายุไซโคลน นากีส ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการ ปัจจุบันนี้เครื่องบินทั้ง 10 ลำ ได้ถูกจัดเก็บบริเวณ อ่าวมะนาว จ.ภูเก็ต และเตรียมขนย้ายระหว่างวันที่ 21-22 พย. 2551
ในวันที่ 29 พย. 2551 นี้เป็นงานเปิดพิธีการวางเครื่องบินลำสุดท้าย ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นโครงการที่ยิ่งใหญ่กระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้อย่างมาก เนื่องจากเครื่องบินทั้ง 10 ลำล้วนมีประวัติที่ผ่านร้อนผ่านหนาวรับใช้ชาติมายาวนาน ซึ่งโครงการนี้จึงถือเป็นการนำเครื่องบินที่เคยเป็นวีรบุรุษของวงการบินไทยกลับมาใช้ชาติอีกครั้งหนึ่ง
วิทเยนทร์ มุตตามระ กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิเพื่อทะเล กล่าวว่า เนื่องจากคลื่นยักษ์สึนามิได้ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ทำให้แนวปะการังธรรมชาติได้รับผลกระทบและได้รับความเสียหายไปด้วย
มูลนิธิเพื่อทะเลจึงคิดสร้างแนวปะการังเทียมขึ้น ซึ่งได้เลือกเครื่องบิน จำนวน 10 ลำ ได้แก่ เครื่องบิน ดาโกต้า รุ่น ซี 47 จำนวน 4 ลำ และเครื่องบิน ปีกหมุน Helicopter รุ่น เอส 58 ที จำวนว 6 ลำ อีกทั้งเครื่องบินยังเป็นอลูมิเนียมและเป็นวัสดุที่มีความคงทนต่อน้ำทะเล ไม่ก่อให้เกิดพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพราะว่าเครื่องบินไม่ขึ้นสนิม
ซึ่งถ้าใช้วัสดุอื่นอย่างเช่นประเภทไม้มันก็จะไม่คงทน และอีกทั้งเครื่องบินยังไม่ส่งผลกระทบต่อกระแสน้ำมากนัก และยังช่วยแบ่งเบาจำนวนนักท่องเที่ยวและนักดำน้ำที่ไปดำน้ำในจุดดำน้ำธรรมชาติให้น้อยลงไปได้ เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวทวิทยาทางทะเลอีกด้วย
ทางด้าน สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด นั้นมีนโยบายมุ่งเน้นในเรื่องการช่วยเหลือสังคมและตอบแทนสังคม
ซึ่งในโอกาสนี้บริษัทจึงได้ร่วม “โครงการฝูงบินปะการังเพื่อทะเล” นำเครื่องบินที่ปลดประจำการจำนวน 10 ลำลงสู่ใต้ท้องทะเล เพื่อใช้ทำแนวปะการังเทียม นับเป็นโครงการที่มีประโยชน์และตรงกับวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของเรา
โครงการนี้ทำให้เราได้เห็นว่าเป็นโครงการที่สามารถสานต่อความตั้งใจเดิมได้เร็วที่สุด โดยบริษัทฯ มีส่วนร่วมในการสร้างแนวปะการังเทียมให้เป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ และทำประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์