โดย : ปิ่น บุตรี
“จะอยู่แห่งไหน ไม่เคยจะลืมบ้านเกิด แผ่นดินกำเนิด ถิ่นที่เคยอาศัย ผู้คนผ่านมา หาความสบาย รุมทึ้งทำลาย ไม่ยอมดูแล
แผ่นดินไม่หอมเขายอมขายขาด ให้คนต่างชาติ มากวาดซื้อพื้นทราย ทะเลอ่อนล้า ฝูงปลาคงร้องไห้ เราหวงแทบตาย เขาขายบ้าน”
อยากกลับบ้าน 2 : ศุ บุญเลี้ยง
แม้พี่จุ้ย ศุ บุญเลี้ยง จะแต่งเพลงนี้ให้กับบ้านเกิดตัวเองที่ เกาะสมุย แต่ผมว่าเนื้อเพลงนี้เป็นดังซุ่มเสียงที่สะท้อนในข้อเท็จจริงถึงเรื่องการ ซื้อที่-ขายที่ บนเกาะและริมทะเลในบ้านเรา เพื่อไปทำโครงการพัฒนาอสังหาและโครงการด้านธุรกิจท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาคลาสสิคที่เกิดขึ้นกับทะเลไทยมาช้านาน ทั้งภูเก็ต เสม็ด สมุย พีพี กระบี่ พังงา และทะเลไทยอีกหลายๆแห่ง รวมไปถึงเกาะช้าง จ. ตราด ที่ต่างก็มีประสบการณ์การ การถูกบุกรุกโจมตีของทุนสามานย์ต่างถิ่น จนทำให้ชาวบ้านเจ้าของพื้นที่ส่วนหนึ่งถูกกระทำ จนสถานะกลับกลายจาก "คนใน"(พื้นที่)กลายเป็น“คนนอก”(พื้นที่)ไป ซึ่งผมได้เขียนบางส่วนของเรื่องนี้ไปในตอนที่แล้ว โดยยกปัญหาสงครามที่ดินบนเกาะช้างที่ไปประสบพบเจอมาเป็นตัวอย่าง
แต่ดูเหมือนว่าปัญหาเรื่องคนในกลายเป็นคนนอกที่ผมได้รับรู้และเคยประสบพบเจอ จะไม่ได้มีเฉพาะเรื่องของการซื้อ-ขายที่ดินจากอำนาจทุนเท่านั้น หากแต่ยังมีเรื่องของอำนาจและอิทธิพลอื่นๆที่มาผลักไสให้คนในต้องกลายสถานะไปเป็นคนนอกด้วยเช่นกัน
อำนาจรัฐ
กรณีศึกษาในเรื่องนี้ ขอยกตัวอย่างเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับชาวมอแกนแห่งหมู่เกาะสุรินทร์ ซึ่งเดิมทีนั้นชาวเลเผ่ามอแกนยิปซีแห่งท้องทะเลได้ทำมาหากินและอาศัยอยู่ที่หมู่เกาะสุรินทร์มาช้านาน หลายรุ่นอายุคน ก่อนที่จะมีการประกาศเรียกชื่อหมู่เกาะแห่งนี้เป็น“เกาะสุรินทร์”เสียอีก แต่เมื่อมีคนบนฝั่งเข้าไปยึดครองเกาะ พร้อมประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติและเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในเวลาต่อมา
จากนั้นวิถีชีวิตของชาวมอแกนก็ได้ถูกกันออกจากเกาะสุรินทร์ถิ่นอาศัยเก่าแก่มาตั้งแต่บรรพบุรุษมากขึ้นเรื่อยๆ จากคนในที่เคยออกจับปลา จับกุ้ง แทงปลา หาอาหาร และล่องเรือไปไหนต่อไหนได้อย่างอิสระ ก็ถูกจำกัดพื้นที่ทำกินและสิทธิบางส่วน ทำให้ชาวมอแกนส่วนหนึ่ง ยอมทิ้งทะเล ปรับตัวไปทำงานด้านการท่องเที่ยว
ขณะที่มอแกนบางคนเลือกที่จะยืนหยัดต่อสู้เพื่อวิถีมอแกน แต่ก็เหมือนไม้ซีกงัดไม้ซุง ยิ่งหลังเหตุการณ์สึนามิทางการเข้าไปจัดสรรที่อยู่ใหม่ ก็ยิ่งดูจะไปเข้าทางผู้ที่ต้องการจำกัด กำจัด
ความเป็นเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมของชาวมอแกนให้กลายเป็นเพียงคนนอก กลายเป็นเพียงสินค้ามีชีวิตทางการท่องเที่ยวที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชม
เรื่องนี้จึงมีมอแกนบางคนรู้สึกอึดอัดกับการบีบกดของอำนาจรับ และการมองด้วยสายตาฉงนปานประหนึ่งคนแปลกหน้าของนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่ง ทั้งๆที่มอแกนเหล่านี้คือคนในเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิม
“แต่ก่อนเปิดเป็นที่ท่องเที่ยวที่นี่มี กุ้ง หอย ปู ปลา อุดมสมบูรณ์ เวลาพวกเราหิวก็สามารถออกไปแทงปลา ดำน้ำลงไปจับมาได้ง่ายๆ แต่เดี๋ยวนี้มันเหลือน้อยเต็มที แถมทางการเขาจำกัดเขตการจับ(สัตว์น้ำ) บอกว่าถ้าพวกเราจับเยอะจะทำให้มันหมดไปจากทะเล ลุงก็สงสัยอยู่ว่า สมัยก่อนพวกเราก็อยู่กินจับสัตว์น้ำกันแบบพอมีพอกินอย่างนี้มาตลอด ปู ปลาที่นี่มันก็ยังคงมีเยอะอยู่เหมือนเดิม แต่พอมีการท่องเที่ยวเข้ามา มีคนมาเที่ยว เรือเข้ามามากๆ มีขยะ มีน้ำมัน ลุงสังเกตว่ากุ้ง หอย ปู ปลา มันหายไปมาก แต่ไหงทางการเขาถึงมาโทษว่าพวกเราเป็นคนทำก็ไม่รู้”
ผู้นำชาวมอแกนคนหนึ่งเคยปรับทุกข์ให้ฟัง ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ยังไม่เกิดเหตุการณ์สึนามิ
อันที่จริงการประกาศพื้นที่ป่าเขา เกาะ ทะเล เป็นเขตอุทยานแห่งชาตินั้นเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง เพราะหากเป็นไปตามเจตนารมณ์ถือเป็นการช่วยปกปักรักษา ป้องกันทรัพยากรธรรมชาติในบ้านเราไม่ให้ถูกบุกรุกทำลาย แต่ในภาคปฏิบัติตามความเป็นจริง ในผืนป่าในเขตอุทยานฯบางแห่งมันช่างแตกต่างโดยสิ้นเชิง
ผมขอย้ำว่าในเขตอุทยานฯบางแห่ง โดยเฉพาะที่มีพื้นที่สวยๆบางแห่งนั้น แม้เดิมจะเคยมีชาวบ้าน ชาวเล ชาวเขา อาศัยอยู่มาก่อน แต่พอประกาศเป็นเขตอุทยานฯ หากดีหน่อย(หลักรัฐศาสตร์เข้ามาปกครอง)ก็คือการจำกัดพื้นที่อาศัยและที่ทำกินของชาวบ้าน ส่วนที่แย่ก็คือการไล่ชาวบ้านที่เป็นคนพื้นเพดั้งเดิมออกนอกพื้นที่
แต่ที่มักสร้างความฉงนให้กับใครและใครหลายๆคนก็คือ ในเขตอุทยานฯบางแห่งโดยเฉพาะทางทะเล เมื่อไล่ชาวบ้านออกนอกพื้นที่แล้ว กลับมีนายทุนเข้าไปสร้างบ้านสร้างรีสอร์ตสวยหรูในที่ดินดั้งเดิมของชาวบ้านเฉยเลย
งานนี้ชาวบ้านได้แต่มองตาปริบๆ ส่วนนายทุนและผู้สมผลประโยชน์ก็สุขสบายไป
โอ้..อนิจจาประเทศไทย
และนี่ก็คือหนึ่งในตัวอย่างคลาสสิคจากเรื่องจริงอีกมากมายทั้งบนเกาะ ชายหาด ทะเล ป่าเขา พงไพร ที่รัฐใช้อำนาจผลักดันชาวบ้าน ชาวเล ชาวเขา และเจ้าของพื้นที่คนในให้กลายเป็นคนนอกไป
อิทธิพลตะวันตก
ด้วยความที่ทะเลไทยมีชื่อเสียงกระฉ่อนดังไปไกล ทำให้แต่ละปีมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงไฮซีซั่นนี่ เกาะและชายหาดบางแห่งมีฝรั่งเต็มเพียบ แถมฝรั่งบางคนมันยังมองคนไทยที่ไปเที่ยวบนเกาะบนหาดแห่งนั้นด้วยสายตาแปลกๆ จนทำให้ใครและใครบางคนเกิดความรู้สึกว่า เอ..นี่มันหาดในเมืองนอกหรือในเมืองไทยกันน้า ซึ่งนี่ถือเป็นสภาพที่คนใน(คนไทย)ถูกสภาพแวดล้อมบีบให้กลายเป็นคนนอกไปอย่างไม่รู้เนื้อไม่รู้ตัว
พูดถึงฝรั่งที่มาเมืองไทยแล้ว ฝรั่งดีก็มีมาก ฝรั่งห่วยก็มีเยอะ บางคนมาทำมาหากินในเมืองไทยแต่กลับดูถูกดูแคลนคนไทย ที่ไม่เพียงแต่บนบกเท่านั้น หากแต่มันลามลงไปถึงโลกใต้ทะเลที่ฝรั่งตาน้ำข้าวบางคนนึกว่ามันแน่ มันเจ๋ง ถึงขนาดกล้ากระทำการดูถูกเหยียดหยามนักดำน้ำไทยหลายๆคนมาแล้ว
สำหรับเรื่องนี้พี่วินิจ รังผึ้ง บรรณาธิการ อสท. เคยประสบกับการกระทำเชิงดูถูกเหยียดหยามของนักดำน้ำฝรั่งที่บริเวณหินริเชลิวมาแล้ว ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานเขียนของพี่วินิจที่นำเสนอผ่านคอลัมน์ถนนคนเดินทางในนสพ.ผู้จัดการรายวัน เมื่อประมาณต้นเดือน พ.ค.ปีที่แล้ว ดังนี้
...ผมเองเคยได้ยินได้ฟังเพื่อนนักดำน้ำคนไทยเล่ากันว่าเคยเจอไดฟ์ลีดเดอร์ฝรั่งซึ่งเป็นพวกแก๊งฝรั่งที่แอบเข้ามาทำงาน แอบเข้ามาทำมาหากิน มาทำร้านดำน้ำ มาเป็นไกด์ดำน้ำ มาทำเรือบริการดำน้ำอยู่บนเกาะภูเก็ต ชอบมีพฤติกรรมโชว์ลูกค้านักดำน้ำฝรั่งที่พามา ด้วยการโชว์ว่าตัวเองเป็นนักอนุรักษ์เสียเต็มประดา ด้วยการคอยดึง คอยกระชากนักดำน้ำคนไทย ที่ลงดำน้ำ ไปถ่ายภาพใต้น้ำ แล้วชี้ไม้ชี้มือทำท่าประจานใต้น้ำว่าเข้าใกล้ปะการังมากเกินไปบ้าง รบกวนสัตว์เกินไปบ้าง ไม่อนุรักษ์อย่างพวกฝรั่งหัวแดงเช่นพวกตน เหมือนจะย่ำยีดูถูกนักดำน้ำคนไทยว่าต่ำช้าไร้การศึกษาล้าหลังอะไรทำนองนั้น ซึ่งผมเองก็ไม่นึกว่าจะมาเจอเข้ากับตัวเองในครั้งนี้...(จากตอน “อย่าให้ฝรั่งครอบครองอันดามัน”)
อิทธิพลตะวันตก 2
พูดถึงคนไทยใจฝรั่งที่เทิดทูนบูชาฝรั่งแบบสุดลิ่ม เกินเหตุ ในประเทศนี้นับว่ามีคนประเภทนี้อยู่มากโขในหลายวงการ ซึ่งหากโฟกัสมาที่เรื่องราวทางการท่องเที่ยว คนไทยใจฝรั่งบางคนมีพฤติกรรมจัดอยู่ในประเภท มองลูกค้าคนไทยที่เป็นคนในด้วยกันด้วยความรู้สึกอย่างคนนอก แต่กลับไปยกย่องลูกค้าฝรั่งที่เป็นคนนอกด้วยความรู้สึกอย่างคนใน แถมบางคนดูแลราวกลับเทพมาพัก
สำหรับเรื่องนี้ ผมว่าคงมีหลายคนเจออย่างที่ผมเจอมา นั่นก็คือ ตามโรงแรม รีสอร์ท ที่พักบางแห่ง(ย้ำอีกครั้งว่าเป็นเฉพาะบางแห่ง) แสดงออกอย่างชัดเจนไม่อยากรับลูกค้าคนไทย ในอารมณ์ประมาณว่า“กูไม่ง้อคนไทย” แต่หากใครจำได้ว่า ช่วงสึนามิ ใครเล่าที่คอยช่วยเหลือ โรงแรม รีสอร์ท แถบอันดามัน ที่ประสบเคราะห์กรรม แทบหมดเนื้อหมดตัว ก็ไม่ใช่คนไทยด้วยกันเองหรอกหรือ แต่พอพวกเขา(บางโรงแรม รีสอร์ท)ลืมตาอ้าปาก ฟื้นตัวได้ กลับทำตัวเป็นวัวลืมตีน เมินคนไทยไปซะอย่างงั้น
เรื่องแบบนี้หากเป็นฝรั่งต่างชาติพูดมันก็ยังพออนุโลมกันได้ แต่หากใครเคยได้ยินบรรดาพวกผู้จัดการ พนักงาน โรงแรมรีสอร์ทคนไทยบางคนพูด(ทั้งๆที่ตัวเองเป็นลูกจ้างเขา)อย่างที่ผมได้ยินมา ชนิดไม่เหลือเยื่อใยต่อคนในประเทศและผืนดินถิ่นเกิดของตนว่า “ที่นี่ไม่ค่อยอยากต้อนรับคนไทยเท่าไหร่”โดยยกพฤติกรรมความเรื่องมาก จุกจิก เสียงดัง ของคนไทยมาเป็นข้ออ้าง(อันที่จริงพฤติกรรมเช่นนี้มันก็มีอยู่จริงกับนักท่องเที่ยวไทยบางกลุ่มเท่านั้น แต่กรุณาอย่าเหมารวมทั้งหมด)ที่ผมฟังแล้วก็ยากจะตั๊นหน้ามันไม่น้อยเลย
แต่งานนี้มันถือเป็นสิทธิ์ของเรา ไอ้เรามันก็ทำได้แค่เพียงตะโกนด่าคนไทยบางคนที่ลืมตัวเป็นวัวลืมตีนในใจว่า
“(มึง)เป็นคนไทยหรือเปล่า???”(วะ)
“จะอยู่แห่งไหน ไม่เคยจะลืมบ้านเกิด แผ่นดินกำเนิด ถิ่นที่เคยอาศัย ผู้คนผ่านมา หาความสบาย รุมทึ้งทำลาย ไม่ยอมดูแล
แผ่นดินไม่หอมเขายอมขายขาด ให้คนต่างชาติ มากวาดซื้อพื้นทราย ทะเลอ่อนล้า ฝูงปลาคงร้องไห้ เราหวงแทบตาย เขาขายบ้าน”
อยากกลับบ้าน 2 : ศุ บุญเลี้ยง
แม้พี่จุ้ย ศุ บุญเลี้ยง จะแต่งเพลงนี้ให้กับบ้านเกิดตัวเองที่ เกาะสมุย แต่ผมว่าเนื้อเพลงนี้เป็นดังซุ่มเสียงที่สะท้อนในข้อเท็จจริงถึงเรื่องการ ซื้อที่-ขายที่ บนเกาะและริมทะเลในบ้านเรา เพื่อไปทำโครงการพัฒนาอสังหาและโครงการด้านธุรกิจท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี
นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาคลาสสิคที่เกิดขึ้นกับทะเลไทยมาช้านาน ทั้งภูเก็ต เสม็ด สมุย พีพี กระบี่ พังงา และทะเลไทยอีกหลายๆแห่ง รวมไปถึงเกาะช้าง จ. ตราด ที่ต่างก็มีประสบการณ์การ การถูกบุกรุกโจมตีของทุนสามานย์ต่างถิ่น จนทำให้ชาวบ้านเจ้าของพื้นที่ส่วนหนึ่งถูกกระทำ จนสถานะกลับกลายจาก "คนใน"(พื้นที่)กลายเป็น“คนนอก”(พื้นที่)ไป ซึ่งผมได้เขียนบางส่วนของเรื่องนี้ไปในตอนที่แล้ว โดยยกปัญหาสงครามที่ดินบนเกาะช้างที่ไปประสบพบเจอมาเป็นตัวอย่าง
แต่ดูเหมือนว่าปัญหาเรื่องคนในกลายเป็นคนนอกที่ผมได้รับรู้และเคยประสบพบเจอ จะไม่ได้มีเฉพาะเรื่องของการซื้อ-ขายที่ดินจากอำนาจทุนเท่านั้น หากแต่ยังมีเรื่องของอำนาจและอิทธิพลอื่นๆที่มาผลักไสให้คนในต้องกลายสถานะไปเป็นคนนอกด้วยเช่นกัน
อำนาจรัฐ
กรณีศึกษาในเรื่องนี้ ขอยกตัวอย่างเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับชาวมอแกนแห่งหมู่เกาะสุรินทร์ ซึ่งเดิมทีนั้นชาวเลเผ่ามอแกนยิปซีแห่งท้องทะเลได้ทำมาหากินและอาศัยอยู่ที่หมู่เกาะสุรินทร์มาช้านาน หลายรุ่นอายุคน ก่อนที่จะมีการประกาศเรียกชื่อหมู่เกาะแห่งนี้เป็น“เกาะสุรินทร์”เสียอีก แต่เมื่อมีคนบนฝั่งเข้าไปยึดครองเกาะ พร้อมประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติและเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในเวลาต่อมา
จากนั้นวิถีชีวิตของชาวมอแกนก็ได้ถูกกันออกจากเกาะสุรินทร์ถิ่นอาศัยเก่าแก่มาตั้งแต่บรรพบุรุษมากขึ้นเรื่อยๆ จากคนในที่เคยออกจับปลา จับกุ้ง แทงปลา หาอาหาร และล่องเรือไปไหนต่อไหนได้อย่างอิสระ ก็ถูกจำกัดพื้นที่ทำกินและสิทธิบางส่วน ทำให้ชาวมอแกนส่วนหนึ่ง ยอมทิ้งทะเล ปรับตัวไปทำงานด้านการท่องเที่ยว
ขณะที่มอแกนบางคนเลือกที่จะยืนหยัดต่อสู้เพื่อวิถีมอแกน แต่ก็เหมือนไม้ซีกงัดไม้ซุง ยิ่งหลังเหตุการณ์สึนามิทางการเข้าไปจัดสรรที่อยู่ใหม่ ก็ยิ่งดูจะไปเข้าทางผู้ที่ต้องการจำกัด กำจัด
ความเป็นเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมของชาวมอแกนให้กลายเป็นเพียงคนนอก กลายเป็นเพียงสินค้ามีชีวิตทางการท่องเที่ยวที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชม
เรื่องนี้จึงมีมอแกนบางคนรู้สึกอึดอัดกับการบีบกดของอำนาจรับ และการมองด้วยสายตาฉงนปานประหนึ่งคนแปลกหน้าของนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่ง ทั้งๆที่มอแกนเหล่านี้คือคนในเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิม
“แต่ก่อนเปิดเป็นที่ท่องเที่ยวที่นี่มี กุ้ง หอย ปู ปลา อุดมสมบูรณ์ เวลาพวกเราหิวก็สามารถออกไปแทงปลา ดำน้ำลงไปจับมาได้ง่ายๆ แต่เดี๋ยวนี้มันเหลือน้อยเต็มที แถมทางการเขาจำกัดเขตการจับ(สัตว์น้ำ) บอกว่าถ้าพวกเราจับเยอะจะทำให้มันหมดไปจากทะเล ลุงก็สงสัยอยู่ว่า สมัยก่อนพวกเราก็อยู่กินจับสัตว์น้ำกันแบบพอมีพอกินอย่างนี้มาตลอด ปู ปลาที่นี่มันก็ยังคงมีเยอะอยู่เหมือนเดิม แต่พอมีการท่องเที่ยวเข้ามา มีคนมาเที่ยว เรือเข้ามามากๆ มีขยะ มีน้ำมัน ลุงสังเกตว่ากุ้ง หอย ปู ปลา มันหายไปมาก แต่ไหงทางการเขาถึงมาโทษว่าพวกเราเป็นคนทำก็ไม่รู้”
ผู้นำชาวมอแกนคนหนึ่งเคยปรับทุกข์ให้ฟัง ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ยังไม่เกิดเหตุการณ์สึนามิ
อันที่จริงการประกาศพื้นที่ป่าเขา เกาะ ทะเล เป็นเขตอุทยานแห่งชาตินั้นเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง เพราะหากเป็นไปตามเจตนารมณ์ถือเป็นการช่วยปกปักรักษา ป้องกันทรัพยากรธรรมชาติในบ้านเราไม่ให้ถูกบุกรุกทำลาย แต่ในภาคปฏิบัติตามความเป็นจริง ในผืนป่าในเขตอุทยานฯบางแห่งมันช่างแตกต่างโดยสิ้นเชิง
ผมขอย้ำว่าในเขตอุทยานฯบางแห่ง โดยเฉพาะที่มีพื้นที่สวยๆบางแห่งนั้น แม้เดิมจะเคยมีชาวบ้าน ชาวเล ชาวเขา อาศัยอยู่มาก่อน แต่พอประกาศเป็นเขตอุทยานฯ หากดีหน่อย(หลักรัฐศาสตร์เข้ามาปกครอง)ก็คือการจำกัดพื้นที่อาศัยและที่ทำกินของชาวบ้าน ส่วนที่แย่ก็คือการไล่ชาวบ้านที่เป็นคนพื้นเพดั้งเดิมออกนอกพื้นที่
แต่ที่มักสร้างความฉงนให้กับใครและใครหลายๆคนก็คือ ในเขตอุทยานฯบางแห่งโดยเฉพาะทางทะเล เมื่อไล่ชาวบ้านออกนอกพื้นที่แล้ว กลับมีนายทุนเข้าไปสร้างบ้านสร้างรีสอร์ตสวยหรูในที่ดินดั้งเดิมของชาวบ้านเฉยเลย
งานนี้ชาวบ้านได้แต่มองตาปริบๆ ส่วนนายทุนและผู้สมผลประโยชน์ก็สุขสบายไป
โอ้..อนิจจาประเทศไทย
และนี่ก็คือหนึ่งในตัวอย่างคลาสสิคจากเรื่องจริงอีกมากมายทั้งบนเกาะ ชายหาด ทะเล ป่าเขา พงไพร ที่รัฐใช้อำนาจผลักดันชาวบ้าน ชาวเล ชาวเขา และเจ้าของพื้นที่คนในให้กลายเป็นคนนอกไป
อิทธิพลตะวันตก
ด้วยความที่ทะเลไทยมีชื่อเสียงกระฉ่อนดังไปไกล ทำให้แต่ละปีมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงไฮซีซั่นนี่ เกาะและชายหาดบางแห่งมีฝรั่งเต็มเพียบ แถมฝรั่งบางคนมันยังมองคนไทยที่ไปเที่ยวบนเกาะบนหาดแห่งนั้นด้วยสายตาแปลกๆ จนทำให้ใครและใครบางคนเกิดความรู้สึกว่า เอ..นี่มันหาดในเมืองนอกหรือในเมืองไทยกันน้า ซึ่งนี่ถือเป็นสภาพที่คนใน(คนไทย)ถูกสภาพแวดล้อมบีบให้กลายเป็นคนนอกไปอย่างไม่รู้เนื้อไม่รู้ตัว
พูดถึงฝรั่งที่มาเมืองไทยแล้ว ฝรั่งดีก็มีมาก ฝรั่งห่วยก็มีเยอะ บางคนมาทำมาหากินในเมืองไทยแต่กลับดูถูกดูแคลนคนไทย ที่ไม่เพียงแต่บนบกเท่านั้น หากแต่มันลามลงไปถึงโลกใต้ทะเลที่ฝรั่งตาน้ำข้าวบางคนนึกว่ามันแน่ มันเจ๋ง ถึงขนาดกล้ากระทำการดูถูกเหยียดหยามนักดำน้ำไทยหลายๆคนมาแล้ว
สำหรับเรื่องนี้พี่วินิจ รังผึ้ง บรรณาธิการ อสท. เคยประสบกับการกระทำเชิงดูถูกเหยียดหยามของนักดำน้ำฝรั่งที่บริเวณหินริเชลิวมาแล้ว ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานเขียนของพี่วินิจที่นำเสนอผ่านคอลัมน์ถนนคนเดินทางในนสพ.ผู้จัดการรายวัน เมื่อประมาณต้นเดือน พ.ค.ปีที่แล้ว ดังนี้
...ผมเองเคยได้ยินได้ฟังเพื่อนนักดำน้ำคนไทยเล่ากันว่าเคยเจอไดฟ์ลีดเดอร์ฝรั่งซึ่งเป็นพวกแก๊งฝรั่งที่แอบเข้ามาทำงาน แอบเข้ามาทำมาหากิน มาทำร้านดำน้ำ มาเป็นไกด์ดำน้ำ มาทำเรือบริการดำน้ำอยู่บนเกาะภูเก็ต ชอบมีพฤติกรรมโชว์ลูกค้านักดำน้ำฝรั่งที่พามา ด้วยการโชว์ว่าตัวเองเป็นนักอนุรักษ์เสียเต็มประดา ด้วยการคอยดึง คอยกระชากนักดำน้ำคนไทย ที่ลงดำน้ำ ไปถ่ายภาพใต้น้ำ แล้วชี้ไม้ชี้มือทำท่าประจานใต้น้ำว่าเข้าใกล้ปะการังมากเกินไปบ้าง รบกวนสัตว์เกินไปบ้าง ไม่อนุรักษ์อย่างพวกฝรั่งหัวแดงเช่นพวกตน เหมือนจะย่ำยีดูถูกนักดำน้ำคนไทยว่าต่ำช้าไร้การศึกษาล้าหลังอะไรทำนองนั้น ซึ่งผมเองก็ไม่นึกว่าจะมาเจอเข้ากับตัวเองในครั้งนี้...(จากตอน “อย่าให้ฝรั่งครอบครองอันดามัน”)
อิทธิพลตะวันตก 2
พูดถึงคนไทยใจฝรั่งที่เทิดทูนบูชาฝรั่งแบบสุดลิ่ม เกินเหตุ ในประเทศนี้นับว่ามีคนประเภทนี้อยู่มากโขในหลายวงการ ซึ่งหากโฟกัสมาที่เรื่องราวทางการท่องเที่ยว คนไทยใจฝรั่งบางคนมีพฤติกรรมจัดอยู่ในประเภท มองลูกค้าคนไทยที่เป็นคนในด้วยกันด้วยความรู้สึกอย่างคนนอก แต่กลับไปยกย่องลูกค้าฝรั่งที่เป็นคนนอกด้วยความรู้สึกอย่างคนใน แถมบางคนดูแลราวกลับเทพมาพัก
สำหรับเรื่องนี้ ผมว่าคงมีหลายคนเจออย่างที่ผมเจอมา นั่นก็คือ ตามโรงแรม รีสอร์ท ที่พักบางแห่ง(ย้ำอีกครั้งว่าเป็นเฉพาะบางแห่ง) แสดงออกอย่างชัดเจนไม่อยากรับลูกค้าคนไทย ในอารมณ์ประมาณว่า“กูไม่ง้อคนไทย” แต่หากใครจำได้ว่า ช่วงสึนามิ ใครเล่าที่คอยช่วยเหลือ โรงแรม รีสอร์ท แถบอันดามัน ที่ประสบเคราะห์กรรม แทบหมดเนื้อหมดตัว ก็ไม่ใช่คนไทยด้วยกันเองหรอกหรือ แต่พอพวกเขา(บางโรงแรม รีสอร์ท)ลืมตาอ้าปาก ฟื้นตัวได้ กลับทำตัวเป็นวัวลืมตีน เมินคนไทยไปซะอย่างงั้น
เรื่องแบบนี้หากเป็นฝรั่งต่างชาติพูดมันก็ยังพออนุโลมกันได้ แต่หากใครเคยได้ยินบรรดาพวกผู้จัดการ พนักงาน โรงแรมรีสอร์ทคนไทยบางคนพูด(ทั้งๆที่ตัวเองเป็นลูกจ้างเขา)อย่างที่ผมได้ยินมา ชนิดไม่เหลือเยื่อใยต่อคนในประเทศและผืนดินถิ่นเกิดของตนว่า “ที่นี่ไม่ค่อยอยากต้อนรับคนไทยเท่าไหร่”โดยยกพฤติกรรมความเรื่องมาก จุกจิก เสียงดัง ของคนไทยมาเป็นข้ออ้าง(อันที่จริงพฤติกรรมเช่นนี้มันก็มีอยู่จริงกับนักท่องเที่ยวไทยบางกลุ่มเท่านั้น แต่กรุณาอย่าเหมารวมทั้งหมด)ที่ผมฟังแล้วก็ยากจะตั๊นหน้ามันไม่น้อยเลย
แต่งานนี้มันถือเป็นสิทธิ์ของเรา ไอ้เรามันก็ทำได้แค่เพียงตะโกนด่าคนไทยบางคนที่ลืมตัวเป็นวัวลืมตีนในใจว่า
“(มึง)เป็นคนไทยหรือเปล่า???”(วะ)