xs
xsm
sm
md
lg

พิชิต(อดีต)ภูเขาไฟที่ "เขากระโดง" บุรีรัมย์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ปัจจุบันประเทศไทย เป็นพื้นที่ปลอดภูเขาไฟ แต่ในอดีตนั้นบ้านเรามีภูเขาไฟอยู่หลายแห่งเหมือนกัน โดยหนึ่งในนั้นก็คือ "เขากระโดง" ที่ปัจจุบันเป็น "วนอุทยานเขากระโดง" หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งอนุรักษ์ที่สำคัญของ จ.บุรีรัมย์

สำหรับเขากระโดง มีลักษณะเป็นเนินเขาขนาดเล็ก 2 ลูกติดกัน สูงจากพื้นที่โดยรอบประมาณ 60 ม. โดยเนินทางทิศใต้เรียกว่า "เขาใหญ่" ส่วนเนินทางทิศเหนือเรียกว่า "เขาน้อยหรือเขากระโดง"

ทั้งสองเนิน เกิดจากการทับถมของเศษหินภูเขาไฟที่พ่นปะทุออกมา ซึ่งจากการสำรวจความหนาของชั้นลาวาจากการระเบิดของเหมืองหิน พบว่า มีอายุประมาณ 3 แสนถึง 9 แสนปี มีความหนามากกว่า 20 ม. ส่วนบริเวณที่เป็นขอบปล่องช่องปะทุ คือบริเวณที่เป็นหุบเขาอยู่ตรงกลางระหว่างเขาใหญ่กับเขากระโดง ซึ่งปัจจุบันมีสภาพเป็นแอ่งน้ำมีน้ำขังตลอดปี

สำหรับบริเวณปากปล่องภูเขาไฟ อยู่ในเขตบ้านน้ำซับ ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ สูงจากระดับน้ำทะเล 283 ม. ปัจจุบันตรงปากปล่องมีลักษณะเป็นหลุมลึก มีทางเดินเท้าก่อด้วยหิน และมีระเบียงให้ชมวิว มีหินฟองน้ำกระจายอยู่โดยรอบ หรือที่เรียกกันว่า หินลอยน้ำ

ด้านบนของปากปล่องภูเขาไฟเป็นพื้นที่ราบประดิษฐาน "พระสุภัทรบพิตร" เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองบุรีรัมย์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2512 โดยอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ (สุรวุฒิ บุญญานุสาสน์) หลวงพ่อบุญมา ปัญญาปโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขากระโดง ร่วมกับชาวบุรีรัมย์และผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ได้ร่วมกันสร้างขึ้นเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 12 ม. ฐานยาว 14 ม. หันหน้าไปทางด้านทิศเหนือ

ในพระเศียรพระสุภัทรบพิตรองค์นี้มี "พระบรมสารีริกธาตุ" บรรจุอยู่ ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมาเองตามคำอธิฐานจิตของนางแจ๋ว มารดาของนายเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน เมื่อมีการสร้างพระสุภัทรบพิตร นายเสรี จึงนำมาบรรจุไว้ในพระเศียรนี้ จากจุดที่ตั้งองค์พระสามารถเห็นทัศนียภาพเมืองบุรีรัมย์ได้สวยงามอีกด้วย

ใกล้กับที่ประดิษฐานพระสุภัทรบพิตร มี "มณฑปรอยพระพุทธบาทจำลอง" ที่พระยาประเสริฐ สุนทราศรัย อดีตเจ้าเมืองบุรีรัมย์ กับคุณหญิงประเสริฐ สุนทราศรัย มีจิตศรัทธาเลื่อมใสได้สร้างขึ้นไว้ที่เขากระโดง เมื่อเดือนเมษายน 2448 เพื่อเป็นพุทธบูชา และเป็นปูชนียสถานสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ต่อมาเมื่อพ.ศ.2505 ตระกูลสิงหเสนีย์ ได้มีผู้มีจิตศรัทธาสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นมาใหม่ขนาดยาว 2 ศอก 1 คืบ กว้าง 1 ศอก แล้วนำมาประดิษฐานไว้ในปราสาทหินเขากระโดง พร้อมกับได้สร้างมณฑปครอบทับไว้ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ปราสาทหินเขากระโดง ยังได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2518 โดยมีขอบเขตโบราณสถาน 1 งาน 50 ตารางวา

สำหรับการขึ้นเขากระโดงไปสักการะพระสุภัทรบพิตรบนยอดเขานั้น สามารถขึ้นได้ 2 ทางคือ ทางรถยนต์ ซึ่งตลอดเส้นทางจะพบพระพุทธรูปปางต่างๆเรียงรายอยู่เป็นระยะ ส่วนทางขึ้นอีกทางหนึ่งเป็น "บันไดนาค" สร้างเมื่อปี 2512 มีความสูงประมาณ 265 เมตร หรือ 297 ขั้น ก่อนถึงยอดเขาจะเห็นสระน้ำมณีวรรณ อยู่ทางขวามือ สระน้ำนี้เชื่อว่าเดิมเป็นปากปล่องภูเขาไฟ

ปัจจุบันประเทศไทย เป็นพื้นที่ปลอดภูเขาไฟ แต่ในอดีตนั้นบ้านเรามีภูเขาไฟอยู่หลายแห่งเหมือนกัน โดยหนึ่งในนั้นก็คือ "เขากระโดง" ที่ปัจจุบันเป็น "วนอุทยานเขากระโดง" หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งอนุรักษ์ที่สำคัญของ จ.บุรีรัมย์

สำหรับเขากระโดง มีลักษณะเป็นเนินเขาขนาดเล็ก 2 ลูกติดกัน สูงจากพื้นที่โดยรอบประมาณ 60 ม. โดยเนินทางทิศใต้เรียกว่า "เขาใหญ่" ส่วนเนินทางทิศเหนือเรียกว่า "เขาน้อยหรือเขากระโดง"

ทั้งสองเนิน เกิดจากการทับถมของเศษหินภูเขาไฟที่พ่นปะทุออกมา ซึ่งจากการสำรวจความหนาของชั้นลาวาจากการระเบิดของเหมืองหิน พบว่า มีอายุประมาณ 3 แสนถึง 9 แสนปี มีความหนามากกว่า 20 ม. ส่วนบริเวณที่เป็นขอบปล่องช่องปะทุ คือบริเวณที่เป็นหุบเขาอยู่ตรงกลางระหว่างเขาใหญ่กับเขากระโดง ซึ่งปัจจุบันมีสภาพเป็นแอ่งน้ำมีน้ำขังตลอดปี

สำหรับบริเวณปากปล่องภูเขาไฟ อยู่ในเขตบ้านน้ำซับ ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ สูงจากระดับน้ำทะเล 283 ม. ปัจจุบันตรงปากปล่องมีลักษณะเป็นหลุมลึก มีทางเดินเท้าก่อด้วยหิน และมีระเบียงให้ชมวิว มีหินฟองน้ำกระจายอยู่โดยรอบ หรือที่เรียกกันว่า หินลอยน้ำ

ด้านบนของปากปล่องภูเขาไฟเป็นพื้นที่ราบประดิษฐาน "พระสุภัทรบพิตร" เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองบุรีรัมย์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2512 โดยอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ (สุรวุฒิ บุญญานุสาสน์) หลวงพ่อบุญมา ปัญญาปโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขากระโดง ร่วมกับชาวบุรีรัมย์และผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ได้ร่วมกันสร้างขึ้นเป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 12 ม. ฐานยาว 14 ม. หันหน้าไปทางด้านทิศเหนือ

ในพระเศียรพระสุภัทรบพิตรองค์นี้มี "พระบรมสารีริกธาตุ" บรรจุอยู่ ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมาเองตามคำอธิฐานจิตของนางแจ๋ว มารดาของนายเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน เมื่อมีการสร้างพระสุภัทรบพิตร นายเสรี จึงนำมาบรรจุไว้ในพระเศียรนี้ จากจุดที่ตั้งองค์พระสามารถเห็นทัศนียภาพเมืองบุรีรัมย์ได้สวยงามอีกด้วย

ใกล้กับที่ประดิษฐานพระสุภัทรบพิตร มี "มณฑปรอยพระพุทธบาทจำลอง" ที่พระยาประเสริฐ สุนทราศรัย อดีตเจ้าเมืองบุรีรัมย์ กับคุณหญิงประเสริฐ สุนทราศรัย มีจิตศรัทธาเลื่อมใสได้สร้างขึ้นไว้ที่เขากระโดง เมื่อเดือนเมษายน 2448 เพื่อเป็นพุทธบูชา และเป็นปูชนียสถานสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ต่อมาเมื่อพ.ศ.2505 ตระกูลสิงหเสนีย์ ได้มีผู้มีจิตศรัทธาสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นมาใหม่ขนาดยาว 2 ศอก 1 คืบ กว้าง 1 ศอก แล้วนำมาประดิษฐานไว้ในปราสาทหินเขากระโดง พร้อมกับได้สร้างมณฑปครอบทับไว้ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ปราสาทหินเขากระโดง ยังได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2518 โดยมีขอบเขตโบราณสถาน 1 งาน 50 ตารางวา

สำหรับการขึ้นเขากระโดงไปสักการะพระสุภัทรบพิตรบนยอดเขานั้น สามารถขึ้นได้ 2 ทางคือ ทางรถยนต์ ซึ่งตลอดเส้นทางจะพบพระพุทธรูปปางต่างๆเรียงรายอยู่เป็นระยะ ส่วนทางขึ้นอีกทางหนึ่งเป็น "บันไดนาค" สร้างเมื่อปี 2512 มีความสูงประมาณ 265 เมตร หรือ 297 ขั้น ก่อนถึงยอดเขาจะเห็นสระน้ำมณีวรรณ อยู่ทางขวามือ สระน้ำนี้เชื่อว่าเดิมเป็นปากปล่องภูเขาไฟ






กำลังโหลดความคิดเห็น