โดย : ปิ่น บุตรี

“ไดโนเสาร์”
หากเอ่ยชื่อนี้ผมเชื่อว่าคนค่อนโลกต่างรู้จักมักคุ้นกับไดโนเสาร์เป็นอย่างดีผ่านทางแผ่นฟิล์มและผ่านทางหนังสือต่างๆ แต่ทว่ากลับไม่มีมนุษย์คนใดในโลกยุคปัจจุบันเคยเห็นไดโนเสาร์ตัวเป็นๆเลยสักคน เพราะว่าก่อนที่จะมีเผ่าพันธุ์มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาในโลกนี้ ไดโนเสาร์ได้ล้มหายตายจากโลกไปกว่า 60 ล้านปีมาแล้ว ในขณะที่เผ่าพันธุ์มนุษย์นั้นถือกำเนิดขึ้นมาได้เพียงไม่ถึงหนึ่งแสนปี
ส่วนเหตุที่คนเรามีจินตนาการเพริศแพร้วเกี่ยวกับไดโนเสาร์จนสร้างเป็นภาพยนตร์ออกมามากมาย นั่นก็เพราะเหล่านักวิทยาศาสตร์ นักโบราณคดี เขาศึกษาค้นคว้าจากซาก“ฟอสซิล” (Fossil)ต่างๆ แล้วค่อยๆไขข้อมูลความลับไปเรื่อยๆว่าไดโนเสาร์มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร
ว่ากันว่าการค้นพบกระดูกไดโนเสาร์เกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1699 แต่ยุคนั้นยังเข้าใจกันว่ามันคือ“ขวานหินโบราณ” จนเมื่อมีการขุดพบเจอกระดูกไดโนเสาร์ต่อมาเรื่อยๆก็มีการสันนิษฐานไปต่างๆนานา ว่าเป็นกระดูกช้างบ้าง กระดูกมนุษย์ยักษ์บ้าง
กระทั่งในปี ค.ศ. 1818 นายวิลเลี่ยม บัดแลนด์ นักธรณีวิทยา ได้ค้นพบชิ้นส่วนกระดูกของสัตว์ขนาดมหึมา เขาได้ตั้งชื่อเจ้ากระดูกชิ้นยักษ์ว่า “เมกกะโลซอรัส” (Megalosorus) ที่หมายถึง “กิ้งก่ายักษ์”ซึ่งถือเป็นการเปิดโลกของไดโนเสาร์สู่สายตามนุษยชาติอย่างแท้จริง

ในปี ค.ศ. 1841 โลกได้รู้จักคำว่า “ไดโนเสาร์” เป็นครั้งแรกจากการตั้งชื่อของ ดร.ริชาร์ด โอเว่น ซึ่งคำๆนี้แปลว่ากิ้งก่าที่น่าเกรงขาม
หลังจากนั้นได้มีการศึกษาและค้นคว้าเจ้าสัตว์ดึกดำบรรพ์กันอย่างต่อเนื่อง โดยในหนังสือ “ไดโนเสาร์เมืองไทย” ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความหมายของไดโนเสาร์พอสรุปได้ว่า
ไดโนเสาร์ เป็นสัตว์เลื้อยคลานโบราณชนิดหนึ่ง ปรากฏตัวขึ้นบนโลกเมื่อกว่า 220 ล้านปีที่แล้ว โดยอยู่กันกระจัดกระจายทั่วทุกมุมโลก และดำรงเผ่าพันธุ์นานถึง 160 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์โดยไม่ทราบสาเหตุไปจากโลกนี้เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว ไดโนเสาร์มีทั้งขนาดใหญ่ น้ำหนักว่า 100 ตัน สูงมากกว่า 100 ฟุต ไปจนถึงมีขนาดเล็กกว่าไก่ และมีทั้งพวกกินพืช และกินสัตว์เป็นอาหารบางพวกกินพืชเป็นอาหาร บางพวกเดิน 4 ขา บางพวกเดินและวิ่งด้วย 2 ขาหลัง
ในเมืองไทยเรามีการขุดพบกระดูกชิ้นแรกของไดโนเสาร์ ในปี พ.ศ. 2519 ที่ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ที่ถือว่าไม่ธรรมดาเอาเสียเลย เพราะได้มีการค้นพบ“ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” อันเป็นไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก ทำให้วงการไดโนเสาร์ในบ้านเราคึกคักขึ้นมามากโข
หลังจากนั้นในภาคอีสานก็ได้มีการขุดเจอซากไดโนเสาร์อยู่เรื่อยๆ โดยแหล่งขุดค้นพบไดโนเสาร์แหล่งใหญ่ของเมืองไทยอีกแห่งหนึ่งก็คือที่ ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์ ในขณะที่ภูเวียงแหล่งค้นพบซากไดโนเสาร์เป็นครั้งแรก ที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติภูเวียง ได้กลายเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญของเมืองหมอแคนขอนแก่น

ทั้งนี้การจะเที่ยวชมเรื่องราวต่างๆของไดโนเสาร์ภูเวียงให้ได้อรรถรส ผมว่าควรเริ่มต้นจาก
การเข้าไปรับรู้ข้อมูลและรูปร่างหน้าตาของไดโนเสาร์แต่ละชนิดกันก่อนที่ “พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง” เพื่อที่เวลาเดินชมตามหลุมขุดค้นของจริงจะได้จินตนาการถึงไดโนเสาร์แต่ละตัวได้อย่างไม่ยากเย็น
ภายในพิพิธภัณฑ์ฯแบ่งส่วนจัดแสดงออกหลากหลายส่วน
ส่วนแรกเป็นการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับจักรวาล เกี่ยวกับโลกและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบันนี้ ถัดจากนั้นมาก็เป็นส่วนของการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับหิน เกี่ยวกับแร่ธาตุต่างๆ
ถัดมาถือเป็นส่วนทีเด็ด เนื่องจากโดดเด่นไปด้วยเจ้าหุ่นจำลองทำจากแท่งเหล็กเป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ยักษ์ยืนอ้าปากทักทายอยู่ และก็ใช่ว่าจะมีแค่เจ้านี่ตัวเดียว แต่ว่ายังมีอีกหุ่นจำลองไดโนเสาร์อีกหลายตัวให้เลือกชม
จากจุดน่าสนใจที่กลางโถงเมื่อเดินต่อไปก็จะเจอกับไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์นี้ ซึ่งผมขอเรียกส่วนนี้ว่า “จูราสสิคปาร์คภูเวียง” เพราะส่วนนี้ได้ยกเอาบรรยากาศจำลองของป่าดึกดำบรรพ์ในโลกล้านปีมาจัดแสดงไว้ โดยทำเป็นทางเดินไม้ให้เดินลัดเลาะไปตามจุดต่างๆ ที่ 2 ข้างทางเต็มไปด้วยไดโนเสาร์ที่สำรวจพบที่ภูเวียง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินเข้าไปชมอย่างใกล้ชิดได้ แต่ห้ามแตะต้องลูบคลำขอหวยเด็ดขาด

เสน่ห์อย่างหนึ่งของจูราสสิคปาร์คจำลองนี้ก็คือนอกจากจะสร้างบรรยากาศได้น่าตื่นตาตื่นใจแล้ว ไดโนเสาร์แต่ละชนิดยังมีข้อมูลอธิบายให้ความรู้กันอย่างละเอียด โดยที่ด้านหน้าก่อนของส่วนนี้ จะเป็นตู้กระจกใหญ่ มีไดโนเสาร์ตัวเท่าหมานอนหลับปุ๋ยไม่รู้อิโหน่อิเหน่อยู่ แถมนอนไม่นอนเปล่ามันยังส่งเสียงฟังคล้ายๆเสียงกรนอีกด้วย แหมเจ้าตัวนี้จัดเป็นไดโนเสาร์จำลองไฮเทคแต่ว่าดูขี้เกียจชะมัด
สำหรับไดโนเสาร์ตัวอื่นๆ ที่เด่นๆ ในจูราสสิคปาร์คภูเวียงก็มี
“ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” ไดโนเสาร์ชนิดแรกที่ค้นพบในเมืองไทย ที่เป็นไดโนเสาร์ชนิดกินพืช มีขนาดความยาวประมาณ 15 เมตร ความสูงประมาณ 3 เมตร หางยาว ตัวนี้คอยาวมากต้องแหงนคอดู ถือว่าเป็นดาวเด่นตัวหนึ่งของพิพิธภัณฑ์
ตัวต่อมา “สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส” ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดความยาวประมาณ 7 เมตร ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ หรือ ทีเร็กซ์ จอมโหดในภาพยนตร์เรื่อง “จูราสสิก ปาร์ค” ส่วนเจ้าสยามโมไทรันนัสฯ ตัวนี้ก็ใช่ย่อยเพราะขนาดเป็นแค่หุ่นจำลองยืนแยกเขี้ยวคมกริบยังดูน่ากลัวขนาดนี้ แล้วถ้าเกิดเจอตัวเป็นๆที่มีชีวิตจะน่ากลัวขนาดไหน
อีกตัวหนึ่งที่ยืนโดดเด่นขึงขังเรียกให้นักท่องเที่ยวเดินเข้าไปยืนดูอยู่ใกล้ไม่น้อยก็คือ “สยามโมซอรัส สุธีธรริ” เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ชนิดแรกที่พบในเมืองไทย ตามข้อมูลบอกว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะคล้ายจระเข้ แต่ผมว่าเจ้าตัวนี้หน้าตาดูคล้ายไอ้โขงยังก็ไม่รู้
เมื่อเที่ยวชมสิ่งน่าสนใจในพิพิธภัณฑ์จนหายอยากผมก็ออกลุยต่อสู่หลุมขุดค้นไดโนเสาร์ที่อยู่ห่างจากพิพิธภัณฑ์ประมาณ 3 กิโลเมตร มีทั้งหมด 9 หลุม ซึ่งหลุมที่เหมาะสำหรับการเดินชมเนื่องจากว่าอยู่ในบริเวณเดียวกันนั้นมีอยู่ 4 หลุมด้วยกันคือ หลุมที่ 1 (ภูประตูตีหมา) พบกระดูกของ ภูเวียงโกซอรัสฯ และพบฟันของสยามโมซอรัสฯ,หลุมที่ 2 (ถ้ำเจีย) พบกระดูกของไดโนเสาร์กินพืชเรียงต่อกัน 6 ชิ้น,หลุมที่ 3 (ห้วยประตูตีหมา) หลุมนี้ถือเป็นหลุมที่เปิดตำนานไดโนเสาร์ของเมืองไทย เพราะว่าเป็นแห่งแรกที่ขุดพบซากของภูเวียงโกซอรัสฯ ไดโนเสาร์ตัวแรกของเมืองไทย

จากนั้นข้ามไปยังหลุมที่ 9 (ลานหินลาดยาว) เพราะหลุมที่ 4-8 นั้นอยู่ที่บริเวณ อื่น หลุมนี้ พบชิ้นกระดูกสะโพกด้านซ้ายและโคนหางของสยามโมไทรันนัสฯ ซึ่งหลุมชมไดโนเสาร์แต่ละหลุมนั้น จะมีอาคารคลุมพร้อมป้ายอธิบายเอาไว้ให้นักท่องเที่ยวอ่านกันอย่างเสร็จสรรพ
นอกจากหลุมขุดค้นแล้วที่อุทยานฯภูเวียงก็ยังมี สุสานหอยโบราณ 150 ล้านปี ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมอีกด้วย ซึ่งใครที่ไปเที่ยวชมไดโนเสาร์ที่ภูเวียงนอกจากจะได้ความรู้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังสามารถคุยได้ว่า เคยมาเหยียบยังผืนดินเดียวกันกับที่เหล่าเจ้าไดโนเสาร์เคยเหยียบย่ำกันมาแล้วอีกด้วย
*****************************************
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่“อุทยานแห่งชาติภูเวียง” โทร. 0-4343-8204-6
“ไดโนเสาร์”
หากเอ่ยชื่อนี้ผมเชื่อว่าคนค่อนโลกต่างรู้จักมักคุ้นกับไดโนเสาร์เป็นอย่างดีผ่านทางแผ่นฟิล์มและผ่านทางหนังสือต่างๆ แต่ทว่ากลับไม่มีมนุษย์คนใดในโลกยุคปัจจุบันเคยเห็นไดโนเสาร์ตัวเป็นๆเลยสักคน เพราะว่าก่อนที่จะมีเผ่าพันธุ์มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาในโลกนี้ ไดโนเสาร์ได้ล้มหายตายจากโลกไปกว่า 60 ล้านปีมาแล้ว ในขณะที่เผ่าพันธุ์มนุษย์นั้นถือกำเนิดขึ้นมาได้เพียงไม่ถึงหนึ่งแสนปี
ส่วนเหตุที่คนเรามีจินตนาการเพริศแพร้วเกี่ยวกับไดโนเสาร์จนสร้างเป็นภาพยนตร์ออกมามากมาย นั่นก็เพราะเหล่านักวิทยาศาสตร์ นักโบราณคดี เขาศึกษาค้นคว้าจากซาก“ฟอสซิล” (Fossil)ต่างๆ แล้วค่อยๆไขข้อมูลความลับไปเรื่อยๆว่าไดโนเสาร์มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร
ว่ากันว่าการค้นพบกระดูกไดโนเสาร์เกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1699 แต่ยุคนั้นยังเข้าใจกันว่ามันคือ“ขวานหินโบราณ” จนเมื่อมีการขุดพบเจอกระดูกไดโนเสาร์ต่อมาเรื่อยๆก็มีการสันนิษฐานไปต่างๆนานา ว่าเป็นกระดูกช้างบ้าง กระดูกมนุษย์ยักษ์บ้าง
กระทั่งในปี ค.ศ. 1818 นายวิลเลี่ยม บัดแลนด์ นักธรณีวิทยา ได้ค้นพบชิ้นส่วนกระดูกของสัตว์ขนาดมหึมา เขาได้ตั้งชื่อเจ้ากระดูกชิ้นยักษ์ว่า “เมกกะโลซอรัส” (Megalosorus) ที่หมายถึง “กิ้งก่ายักษ์”ซึ่งถือเป็นการเปิดโลกของไดโนเสาร์สู่สายตามนุษยชาติอย่างแท้จริง
ในปี ค.ศ. 1841 โลกได้รู้จักคำว่า “ไดโนเสาร์” เป็นครั้งแรกจากการตั้งชื่อของ ดร.ริชาร์ด โอเว่น ซึ่งคำๆนี้แปลว่ากิ้งก่าที่น่าเกรงขาม
หลังจากนั้นได้มีการศึกษาและค้นคว้าเจ้าสัตว์ดึกดำบรรพ์กันอย่างต่อเนื่อง โดยในหนังสือ “ไดโนเสาร์เมืองไทย” ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความหมายของไดโนเสาร์พอสรุปได้ว่า
ไดโนเสาร์ เป็นสัตว์เลื้อยคลานโบราณชนิดหนึ่ง ปรากฏตัวขึ้นบนโลกเมื่อกว่า 220 ล้านปีที่แล้ว โดยอยู่กันกระจัดกระจายทั่วทุกมุมโลก และดำรงเผ่าพันธุ์นานถึง 160 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์โดยไม่ทราบสาเหตุไปจากโลกนี้เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว ไดโนเสาร์มีทั้งขนาดใหญ่ น้ำหนักว่า 100 ตัน สูงมากกว่า 100 ฟุต ไปจนถึงมีขนาดเล็กกว่าไก่ และมีทั้งพวกกินพืช และกินสัตว์เป็นอาหารบางพวกกินพืชเป็นอาหาร บางพวกเดิน 4 ขา บางพวกเดินและวิ่งด้วย 2 ขาหลัง
ในเมืองไทยเรามีการขุดพบกระดูกชิ้นแรกของไดโนเสาร์ ในปี พ.ศ. 2519 ที่ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ที่ถือว่าไม่ธรรมดาเอาเสียเลย เพราะได้มีการค้นพบ“ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” อันเป็นไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก ทำให้วงการไดโนเสาร์ในบ้านเราคึกคักขึ้นมามากโข
หลังจากนั้นในภาคอีสานก็ได้มีการขุดเจอซากไดโนเสาร์อยู่เรื่อยๆ โดยแหล่งขุดค้นพบไดโนเสาร์แหล่งใหญ่ของเมืองไทยอีกแห่งหนึ่งก็คือที่ ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์ ในขณะที่ภูเวียงแหล่งค้นพบซากไดโนเสาร์เป็นครั้งแรก ที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติภูเวียง ได้กลายเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญของเมืองหมอแคนขอนแก่น
ทั้งนี้การจะเที่ยวชมเรื่องราวต่างๆของไดโนเสาร์ภูเวียงให้ได้อรรถรส ผมว่าควรเริ่มต้นจาก
การเข้าไปรับรู้ข้อมูลและรูปร่างหน้าตาของไดโนเสาร์แต่ละชนิดกันก่อนที่ “พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง” เพื่อที่เวลาเดินชมตามหลุมขุดค้นของจริงจะได้จินตนาการถึงไดโนเสาร์แต่ละตัวได้อย่างไม่ยากเย็น
ภายในพิพิธภัณฑ์ฯแบ่งส่วนจัดแสดงออกหลากหลายส่วน
ส่วนแรกเป็นการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับจักรวาล เกี่ยวกับโลกและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบันนี้ ถัดจากนั้นมาก็เป็นส่วนของการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับหิน เกี่ยวกับแร่ธาตุต่างๆ
ถัดมาถือเป็นส่วนทีเด็ด เนื่องจากโดดเด่นไปด้วยเจ้าหุ่นจำลองทำจากแท่งเหล็กเป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ยักษ์ยืนอ้าปากทักทายอยู่ และก็ใช่ว่าจะมีแค่เจ้านี่ตัวเดียว แต่ว่ายังมีอีกหุ่นจำลองไดโนเสาร์อีกหลายตัวให้เลือกชม
จากจุดน่าสนใจที่กลางโถงเมื่อเดินต่อไปก็จะเจอกับไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์นี้ ซึ่งผมขอเรียกส่วนนี้ว่า “จูราสสิคปาร์คภูเวียง” เพราะส่วนนี้ได้ยกเอาบรรยากาศจำลองของป่าดึกดำบรรพ์ในโลกล้านปีมาจัดแสดงไว้ โดยทำเป็นทางเดินไม้ให้เดินลัดเลาะไปตามจุดต่างๆ ที่ 2 ข้างทางเต็มไปด้วยไดโนเสาร์ที่สำรวจพบที่ภูเวียง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินเข้าไปชมอย่างใกล้ชิดได้ แต่ห้ามแตะต้องลูบคลำขอหวยเด็ดขาด
เสน่ห์อย่างหนึ่งของจูราสสิคปาร์คจำลองนี้ก็คือนอกจากจะสร้างบรรยากาศได้น่าตื่นตาตื่นใจแล้ว ไดโนเสาร์แต่ละชนิดยังมีข้อมูลอธิบายให้ความรู้กันอย่างละเอียด โดยที่ด้านหน้าก่อนของส่วนนี้ จะเป็นตู้กระจกใหญ่ มีไดโนเสาร์ตัวเท่าหมานอนหลับปุ๋ยไม่รู้อิโหน่อิเหน่อยู่ แถมนอนไม่นอนเปล่ามันยังส่งเสียงฟังคล้ายๆเสียงกรนอีกด้วย แหมเจ้าตัวนี้จัดเป็นไดโนเสาร์จำลองไฮเทคแต่ว่าดูขี้เกียจชะมัด
สำหรับไดโนเสาร์ตัวอื่นๆ ที่เด่นๆ ในจูราสสิคปาร์คภูเวียงก็มี
“ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน” ไดโนเสาร์ชนิดแรกที่ค้นพบในเมืองไทย ที่เป็นไดโนเสาร์ชนิดกินพืช มีขนาดความยาวประมาณ 15 เมตร ความสูงประมาณ 3 เมตร หางยาว ตัวนี้คอยาวมากต้องแหงนคอดู ถือว่าเป็นดาวเด่นตัวหนึ่งของพิพิธภัณฑ์
ตัวต่อมา “สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส” ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดความยาวประมาณ 7 เมตร ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ หรือ ทีเร็กซ์ จอมโหดในภาพยนตร์เรื่อง “จูราสสิก ปาร์ค” ส่วนเจ้าสยามโมไทรันนัสฯ ตัวนี้ก็ใช่ย่อยเพราะขนาดเป็นแค่หุ่นจำลองยืนแยกเขี้ยวคมกริบยังดูน่ากลัวขนาดนี้ แล้วถ้าเกิดเจอตัวเป็นๆที่มีชีวิตจะน่ากลัวขนาดไหน
อีกตัวหนึ่งที่ยืนโดดเด่นขึงขังเรียกให้นักท่องเที่ยวเดินเข้าไปยืนดูอยู่ใกล้ไม่น้อยก็คือ “สยามโมซอรัส สุธีธรริ” เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ชนิดแรกที่พบในเมืองไทย ตามข้อมูลบอกว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะคล้ายจระเข้ แต่ผมว่าเจ้าตัวนี้หน้าตาดูคล้ายไอ้โขงยังก็ไม่รู้
เมื่อเที่ยวชมสิ่งน่าสนใจในพิพิธภัณฑ์จนหายอยากผมก็ออกลุยต่อสู่หลุมขุดค้นไดโนเสาร์ที่อยู่ห่างจากพิพิธภัณฑ์ประมาณ 3 กิโลเมตร มีทั้งหมด 9 หลุม ซึ่งหลุมที่เหมาะสำหรับการเดินชมเนื่องจากว่าอยู่ในบริเวณเดียวกันนั้นมีอยู่ 4 หลุมด้วยกันคือ หลุมที่ 1 (ภูประตูตีหมา) พบกระดูกของ ภูเวียงโกซอรัสฯ และพบฟันของสยามโมซอรัสฯ,หลุมที่ 2 (ถ้ำเจีย) พบกระดูกของไดโนเสาร์กินพืชเรียงต่อกัน 6 ชิ้น,หลุมที่ 3 (ห้วยประตูตีหมา) หลุมนี้ถือเป็นหลุมที่เปิดตำนานไดโนเสาร์ของเมืองไทย เพราะว่าเป็นแห่งแรกที่ขุดพบซากของภูเวียงโกซอรัสฯ ไดโนเสาร์ตัวแรกของเมืองไทย
จากนั้นข้ามไปยังหลุมที่ 9 (ลานหินลาดยาว) เพราะหลุมที่ 4-8 นั้นอยู่ที่บริเวณ อื่น หลุมนี้ พบชิ้นกระดูกสะโพกด้านซ้ายและโคนหางของสยามโมไทรันนัสฯ ซึ่งหลุมชมไดโนเสาร์แต่ละหลุมนั้น จะมีอาคารคลุมพร้อมป้ายอธิบายเอาไว้ให้นักท่องเที่ยวอ่านกันอย่างเสร็จสรรพ
นอกจากหลุมขุดค้นแล้วที่อุทยานฯภูเวียงก็ยังมี สุสานหอยโบราณ 150 ล้านปี ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมอีกด้วย ซึ่งใครที่ไปเที่ยวชมไดโนเสาร์ที่ภูเวียงนอกจากจะได้ความรู้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังสามารถคุยได้ว่า เคยมาเหยียบยังผืนดินเดียวกันกับที่เหล่าเจ้าไดโนเสาร์เคยเหยียบย่ำกันมาแล้วอีกด้วย
*****************************************
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่“อุทยานแห่งชาติภูเวียง” โทร. 0-4343-8204-6