โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
ในกรุงเทพฯ นี้ มีหลายแง่หลายมุมด้วยกันที่มีสิ่งที่น่าสนใจแอบซ่อนอยู่ โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมต่างๆ และห่างจากฝั่งพระนครเพียงแค่แม่น้ำเจ้าพระยาขวางกั้นก็เป็นที่ตั้งของย่านที่เรียกกันติดปากว่า "ฝั่งธน" ซึ่งก็มีความเป็นมาที่เก่าแก่พอๆ กับฝั่งพระนครนั่นแหละ และวันนี้ฉันได้มาเดินเท้าทอดน่องท่องฝั่งธน ในแถบพื้นที่ของชุมชนบางไส้ไก่ หรือเรียกกันอีกอย่างว่าชุมชนบ้านลาว เอ...แต่ทำไมถึงมีบ้านลาวอยู่ในเมืองไทยได้ล่ะนี่
เหตุที่ชุมชนบางไส้ไก่แห่งนี้ถูกเรียกว่า "บ้านลาว" ก็เพราะบรรพบุรุษของคนในชุมชนเป็นชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานกันอยู่ที่นี่ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีนั่นเอง และสิ่งหนึ่งที่ชาวลาวนำติดตัวมายังเมืองสยามนี้ด้วยก็คือความรู้ในการทำขลุ่ยและแคนซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของตัวเอง จนกลายมาเป็นอาชีพเก่าแก่ที่สืบทอดกันในชุมชน และชื่อของ "ขลุ่ยบ้านลาว" ก็เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่าเป็นแหล่งผลิตขลุ่ยคุณภาพแห่งหนึ่ง ซึ่งในวันนี้ที่ฉันดั้นด้นมาก็เพื่อมาชมขลุ่ยบ้านลาวด้วยตัวเองนี่แหละ
เมื่อเข้าไปในชุมชนบางไส้ไก่ ฉันก็เห็นชาวบ้านในชุมชนกำลังนั่งเหลาท่อนพลาสติกกลมๆกันอยู่ ทำให้แน่ใจได้ว่าฉันคงมาถึงแหล่งผลิตขลุ่ยแล้ว เดินมาอีกอึดใจหนึ่งป้าย "ขลุ่ยบ้านลาว" ก็ปรากฏอยู่ตรงหน้า พร้อมกับเสียงหวานๆ สำเนียงไทยของขลุ่ยลอยมารับฉันตั้งแต่ปากทางเข้า ทำให้อดนึกถึงบรรยากาศท้องทุ่งท้องนา นั่งเป่าขลุ่ยบนหลังควายไม่ได้ ที่นี่ฉันได้มาเจอกับพี่ทวีผล สอนวิทย์ ช่างทำขลุ่ยในชุมชนบ้านลาวที่นั่งทดสอบเสียงขลุ่ยกันอยู่หน้าบ้านซึ่งทำเป็นโรงงานทำขลุ่ยขนาดเล็กด้วย
ฉันจึงสบโอกาสเหมาะที่จะให้พี่ทวีผลเล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของขลุ่ยบ้านลาว พี่ทวีผลเริ่มเล่าว่าการทำขลุ่ยของที่นี่มีมานานกว่าร้อยปีตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย หรือประมาณได้ว่าตั้งแต่เริ่มก่อตั้งชุมชน ตัวของพี่ทวีผลได้รับสืบทอดมาจากรุ่นพ่อแม่ ซึ่งสืบทอดมาจากปู่ย่าอีกทอดหนึ่ง และในชุมชนก็ยังมีอีก 5-6 ครอบครัวที่ยังคงสืบทอดการทำขลุ่ยบ้านลาวเอาไว้ แต่ก็นับว่าลดลงมากจากเมื่อก่อน
ครอบครัวของพี่ทวีผลเองนั่นก็รับทำขลุ่ยทุกประเภทแล้วแต่จะมีลูกค้าสั่ง ทั้งขลุ่ยพลาสติกที่นักเรียนนำไปใช้ฝึกหัดเป่าขลุ่ย และขลุ่ยไม้ซึ่งมีวิธีทำที่ยากกว่า เพราะต้องมีขั้นตอนตั้งแต่การเลือกไม้ไผ่ ซึ่งก็ยุ่งยากไม่น้อยเพราะไม่สามารถกำหนดขนาดของไม้ได้
พี่ทวีผลสาธิตขั้นตอนการทำขลุ่ยให้ฉันดู เริ่มจากการวัดตำแหน่งของรูขลุ่ย จากนั้นจึงทำส่วนของปากนกแก้วหรือรอยเจาะตรงบริเวณที่จะให้เกิดเสียง การทำดากขลุ่ยหรือรอยปาดให้เกิดช่องลมผ่านที่จะต้องไม่ให้กินพื้นที่มากเกินไป เพราะถ้าพื้นที่มากจะกินลม เป่าแล้วเหนื่อยง่าย แล้วยังต้องมีการทดสอบคุณภาพเสียง เห็นขั้นตอนทั้งหมดนี้แล้วก็บอกได้เลยว่า กว่าจะออกมาเป็นขลุ่ยซักหนึ่งเลาที่เสียงดีๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
สำหรับเอกลักษณ์ของขลุ่ยบ้านลาวที่ไม่เหมือนใครนั้นก็อยู่ที่ลวดลาย เรียกว่าขลุ่ยไม้ไผ่ลายดอก หรือขลุ่ยไม้ไผ่ลายหิน ซึ่งตอนนี้ค่อนข้างจะหายากแล้ว เพราะการทำลวดลายที่ว่านี้จะต้องนำตะกั่วมาละลายแล้วจึงนำมาราดบนขลุ่ยไม้ไผ่ให้เกิดเป็นลาย แต่เนื่องสารสะสมจากตะกั่วนั้นเป็นผลร้ายต่อสุขภาพ ชาวบ้านในชุมชนจึงเลิกทำขลุ่ยลายนี้กันไป
พี่ทวีผลเป่าขลุ่ยขับขานเป็นท่วงทำนองเพลงค้างคาวกินกล้วยให้ฉันฟังเป็นของแถมก่อนจะอำลา พร้อมกับบอกว่าถ้าใครอยากที่จะเข้าไปเรียนรู้เรื่องของเครื่องดนตรีขลุ่ยที่บ้านลาวแห่งนี้ ชาวชุมชนที่นี่ก็ยินดีจะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ทุกคนที่สนใจก่อนที่งานฝีมือเหล่านี้จะเลือนหายไป
ในชุมชนบางไส้ไก่ไม่ได้มีแต่ขลุ่ยบ้านลาวเท่านั้นที่น่าสนใจ เพราะใกล้ๆ กันนั้นยังมี "บ้านศิลปะไทย" ซึ่งเป็นบ้านที่ประดิษฐ์หัวโขน ทั้งแบบที่เอาไว้ใช้งานแสดงได้จริงและแบบที่เป็นของประดับตกแต่งบ้าน
ที่นี่ฉันได้พบกับคุณป้าเจริญ กิจราษฎร์ ที่กำลังนั่งประดิดประดอยหัวโขนด้วยท่าทางตั้งใจอยู่ภายในบ้าน ฉันขออนุญาตคุณป้าเข้าไปเยี่ยมชมด้านในแล้วก็ยิ่งทึ่งกับผลงานมากมายเหล่านั้น ซึ่งคุณป้าเจริญบอกกับฉันว่าเริ่มแรกก็ทำเป็นงานอดิเรกเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น แล้วก็ไม่ได้ร่ำเรียนมาจากไหน อาศัยเก็บประสบการณ์จากคุณแม่ซึ่งประดิษฐ์หัวโขนมาก่อนเช่นกัน บางครั้งก็ทำของเล่นโบราณบาง แต่ว่าขายไม่ค่อยได้ เพราะคนหันไปเล่นของเล่นแบบไฮเทค เดินได้ วิ่งได้ กันหมด ส่วนหัวโขนที่ทำนี้ก็มีทั้งแบบไว้โชว์และแบบใช้งานจริง ราคาก็แตกต่างไปตั้งแต่หลักร้อย ถึงหลักหมื่นแล้วแต่วัสดุในการผลิตซึ่ง ส่วนใหญ่ลูกค้าจะสั่งทำกันมา
คุณป้าเจริญเล่าพร้อมกับทำงานของคุณป้าไปเรื่อยๆ อย่างใจเย็น ก่อนจะหันมาชี้ให้ฉันดูรางวัลสาขา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยต่างๆ ที่แขวนอยู่เต็มบ้านไปหมด และที่สะดุดตาก็คือคุณป้าเจริญได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อถวายหัวโขนจำลองอย่างใกล้ชิด และยังได้ถวายผลงานเหล่านี้ให้แก่เชื้อพระวงศ์อีกหลายพระองค์ เรียกได้ว่าเป็นความภาคภูมิใจของคุณป้าและครอบครัวอย่างยิ่ง
ฉันนั่นมองคุณป้าลงรักปิดทองหัวโขนแล้วก็นึกสนุกอยากจะลองทำดูบ้าง แต่พอคุณป้าบอกฉันว่าหัวโขนอันหนึ่งต้องใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะเสร็จก็เริ่มถอดใจ เพราะกว่าจะขึ้นแบบ ลงลาย และค่อยๆ ปิดทองไปตามลายทีละนิดๆ ก็กินเวลานาน อันไหนไม่ได้ตามมาตรฐานก็ต้องนั่งแก้กันใหม่ตั้งแต่ต้น
แต่สำหรับใครที่มีความอดทน และอยากอนุรักษ์ศิลปะแขนงนี้ไว้ คุณป้าแกก็ยินดีที่จะสอนเพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจกัน หรือใครที่สนใจจะซื้อหาไว้ประดับบ้านก็มาเยี่ยมเยียนคุณป้ากันได้ถึงบ้าน ก่อนลาคุณป้ากลับวันนี้ฉันก็ได้งานจากฝีมือคุณป้าติดไม้ติดมือกันมาด้วย แต่จะให้ซื้อหัวโขนที่วิจิตรบรรจง เงินในกระเป๋าก็ไม่ถึง เลยได้แค่กระปุกออมสินหมูที่ทำจากกระดาษแบบโบราณไว้ออมเงินเพื่อคราวหน้าจะได้มีเงินพอมาซื้อหัวโขนที่ระลึกสวยๆ สักอันไปประดับบ้านกับเขาบ้าง
ก่อนจะลาจากชุมชนบ้านลาวนี้ ฉันก็ได้แวะเข้าไปกราบพระที่ "วัดบางไส้ไก่" วัดเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนในชุมชนบ้านลาวมายาวนาน วัดแห่งนี้ชาวชุมชนจะเรียกติดปากกันว่าวัดลาว เพราะสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับชุมชนบ้านลาว โดยชาวลาวที่อพยพเข้ามาเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้ร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นมาวัดหนึ่งเพื่อเอาไว้เป็นที่ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญกุศลและเป็นที่พึ่งทางจิตใจ เมื่อสร้างเสร็จก็ขนานนามว่า"วัดลาว" ต่อมาทางราชการได้ตั้งชื่อว่า"วัดบางไส้ไก่"
และที่นี่ก็เป็นชุมชนเล็กๆ อีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ยังอบอวลไปด้วยศิลปวัฒนธรรมและงานฝีมืออันทรงคุณค่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในชุมชนบางไส้ไก่แห่งนี้ และยังรอให้ผู้ที่สนใจเข้ามาชมและหาความรู้กันได้ตลอดเวลา
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ชุมชนบ้านลาว ตั้งอยู่ในซอยหลังมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถนนอิสรภาพ 15 แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สำหรับผู้ที่สนใจขลุ่ยบ้านลาว ติดต่อ 0-2465-8093, 08-9990-1168 หรือศิลปะหัวโขน สามารถติดต่อได้ที่ 08-1641-6961
ในกรุงเทพฯ นี้ มีหลายแง่หลายมุมด้วยกันที่มีสิ่งที่น่าสนใจแอบซ่อนอยู่ โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมต่างๆ และห่างจากฝั่งพระนครเพียงแค่แม่น้ำเจ้าพระยาขวางกั้นก็เป็นที่ตั้งของย่านที่เรียกกันติดปากว่า "ฝั่งธน" ซึ่งก็มีความเป็นมาที่เก่าแก่พอๆ กับฝั่งพระนครนั่นแหละ และวันนี้ฉันได้มาเดินเท้าทอดน่องท่องฝั่งธน ในแถบพื้นที่ของชุมชนบางไส้ไก่ หรือเรียกกันอีกอย่างว่าชุมชนบ้านลาว เอ...แต่ทำไมถึงมีบ้านลาวอยู่ในเมืองไทยได้ล่ะนี่
เหตุที่ชุมชนบางไส้ไก่แห่งนี้ถูกเรียกว่า "บ้านลาว" ก็เพราะบรรพบุรุษของคนในชุมชนเป็นชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานกันอยู่ที่นี่ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีนั่นเอง และสิ่งหนึ่งที่ชาวลาวนำติดตัวมายังเมืองสยามนี้ด้วยก็คือความรู้ในการทำขลุ่ยและแคนซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของตัวเอง จนกลายมาเป็นอาชีพเก่าแก่ที่สืบทอดกันในชุมชน และชื่อของ "ขลุ่ยบ้านลาว" ก็เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่าเป็นแหล่งผลิตขลุ่ยคุณภาพแห่งหนึ่ง ซึ่งในวันนี้ที่ฉันดั้นด้นมาก็เพื่อมาชมขลุ่ยบ้านลาวด้วยตัวเองนี่แหละ
เมื่อเข้าไปในชุมชนบางไส้ไก่ ฉันก็เห็นชาวบ้านในชุมชนกำลังนั่งเหลาท่อนพลาสติกกลมๆกันอยู่ ทำให้แน่ใจได้ว่าฉันคงมาถึงแหล่งผลิตขลุ่ยแล้ว เดินมาอีกอึดใจหนึ่งป้าย "ขลุ่ยบ้านลาว" ก็ปรากฏอยู่ตรงหน้า พร้อมกับเสียงหวานๆ สำเนียงไทยของขลุ่ยลอยมารับฉันตั้งแต่ปากทางเข้า ทำให้อดนึกถึงบรรยากาศท้องทุ่งท้องนา นั่งเป่าขลุ่ยบนหลังควายไม่ได้ ที่นี่ฉันได้มาเจอกับพี่ทวีผล สอนวิทย์ ช่างทำขลุ่ยในชุมชนบ้านลาวที่นั่งทดสอบเสียงขลุ่ยกันอยู่หน้าบ้านซึ่งทำเป็นโรงงานทำขลุ่ยขนาดเล็กด้วย
ฉันจึงสบโอกาสเหมาะที่จะให้พี่ทวีผลเล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของขลุ่ยบ้านลาว พี่ทวีผลเริ่มเล่าว่าการทำขลุ่ยของที่นี่มีมานานกว่าร้อยปีตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย หรือประมาณได้ว่าตั้งแต่เริ่มก่อตั้งชุมชน ตัวของพี่ทวีผลได้รับสืบทอดมาจากรุ่นพ่อแม่ ซึ่งสืบทอดมาจากปู่ย่าอีกทอดหนึ่ง และในชุมชนก็ยังมีอีก 5-6 ครอบครัวที่ยังคงสืบทอดการทำขลุ่ยบ้านลาวเอาไว้ แต่ก็นับว่าลดลงมากจากเมื่อก่อน
ครอบครัวของพี่ทวีผลเองนั่นก็รับทำขลุ่ยทุกประเภทแล้วแต่จะมีลูกค้าสั่ง ทั้งขลุ่ยพลาสติกที่นักเรียนนำไปใช้ฝึกหัดเป่าขลุ่ย และขลุ่ยไม้ซึ่งมีวิธีทำที่ยากกว่า เพราะต้องมีขั้นตอนตั้งแต่การเลือกไม้ไผ่ ซึ่งก็ยุ่งยากไม่น้อยเพราะไม่สามารถกำหนดขนาดของไม้ได้
พี่ทวีผลสาธิตขั้นตอนการทำขลุ่ยให้ฉันดู เริ่มจากการวัดตำแหน่งของรูขลุ่ย จากนั้นจึงทำส่วนของปากนกแก้วหรือรอยเจาะตรงบริเวณที่จะให้เกิดเสียง การทำดากขลุ่ยหรือรอยปาดให้เกิดช่องลมผ่านที่จะต้องไม่ให้กินพื้นที่มากเกินไป เพราะถ้าพื้นที่มากจะกินลม เป่าแล้วเหนื่อยง่าย แล้วยังต้องมีการทดสอบคุณภาพเสียง เห็นขั้นตอนทั้งหมดนี้แล้วก็บอกได้เลยว่า กว่าจะออกมาเป็นขลุ่ยซักหนึ่งเลาที่เสียงดีๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
สำหรับเอกลักษณ์ของขลุ่ยบ้านลาวที่ไม่เหมือนใครนั้นก็อยู่ที่ลวดลาย เรียกว่าขลุ่ยไม้ไผ่ลายดอก หรือขลุ่ยไม้ไผ่ลายหิน ซึ่งตอนนี้ค่อนข้างจะหายากแล้ว เพราะการทำลวดลายที่ว่านี้จะต้องนำตะกั่วมาละลายแล้วจึงนำมาราดบนขลุ่ยไม้ไผ่ให้เกิดเป็นลาย แต่เนื่องสารสะสมจากตะกั่วนั้นเป็นผลร้ายต่อสุขภาพ ชาวบ้านในชุมชนจึงเลิกทำขลุ่ยลายนี้กันไป
พี่ทวีผลเป่าขลุ่ยขับขานเป็นท่วงทำนองเพลงค้างคาวกินกล้วยให้ฉันฟังเป็นของแถมก่อนจะอำลา พร้อมกับบอกว่าถ้าใครอยากที่จะเข้าไปเรียนรู้เรื่องของเครื่องดนตรีขลุ่ยที่บ้านลาวแห่งนี้ ชาวชุมชนที่นี่ก็ยินดีจะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ทุกคนที่สนใจก่อนที่งานฝีมือเหล่านี้จะเลือนหายไป
ในชุมชนบางไส้ไก่ไม่ได้มีแต่ขลุ่ยบ้านลาวเท่านั้นที่น่าสนใจ เพราะใกล้ๆ กันนั้นยังมี "บ้านศิลปะไทย" ซึ่งเป็นบ้านที่ประดิษฐ์หัวโขน ทั้งแบบที่เอาไว้ใช้งานแสดงได้จริงและแบบที่เป็นของประดับตกแต่งบ้าน
ที่นี่ฉันได้พบกับคุณป้าเจริญ กิจราษฎร์ ที่กำลังนั่งประดิดประดอยหัวโขนด้วยท่าทางตั้งใจอยู่ภายในบ้าน ฉันขออนุญาตคุณป้าเข้าไปเยี่ยมชมด้านในแล้วก็ยิ่งทึ่งกับผลงานมากมายเหล่านั้น ซึ่งคุณป้าเจริญบอกกับฉันว่าเริ่มแรกก็ทำเป็นงานอดิเรกเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น แล้วก็ไม่ได้ร่ำเรียนมาจากไหน อาศัยเก็บประสบการณ์จากคุณแม่ซึ่งประดิษฐ์หัวโขนมาก่อนเช่นกัน บางครั้งก็ทำของเล่นโบราณบาง แต่ว่าขายไม่ค่อยได้ เพราะคนหันไปเล่นของเล่นแบบไฮเทค เดินได้ วิ่งได้ กันหมด ส่วนหัวโขนที่ทำนี้ก็มีทั้งแบบไว้โชว์และแบบใช้งานจริง ราคาก็แตกต่างไปตั้งแต่หลักร้อย ถึงหลักหมื่นแล้วแต่วัสดุในการผลิตซึ่ง ส่วนใหญ่ลูกค้าจะสั่งทำกันมา
คุณป้าเจริญเล่าพร้อมกับทำงานของคุณป้าไปเรื่อยๆ อย่างใจเย็น ก่อนจะหันมาชี้ให้ฉันดูรางวัลสาขา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยต่างๆ ที่แขวนอยู่เต็มบ้านไปหมด และที่สะดุดตาก็คือคุณป้าเจริญได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อถวายหัวโขนจำลองอย่างใกล้ชิด และยังได้ถวายผลงานเหล่านี้ให้แก่เชื้อพระวงศ์อีกหลายพระองค์ เรียกได้ว่าเป็นความภาคภูมิใจของคุณป้าและครอบครัวอย่างยิ่ง
ฉันนั่นมองคุณป้าลงรักปิดทองหัวโขนแล้วก็นึกสนุกอยากจะลองทำดูบ้าง แต่พอคุณป้าบอกฉันว่าหัวโขนอันหนึ่งต้องใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะเสร็จก็เริ่มถอดใจ เพราะกว่าจะขึ้นแบบ ลงลาย และค่อยๆ ปิดทองไปตามลายทีละนิดๆ ก็กินเวลานาน อันไหนไม่ได้ตามมาตรฐานก็ต้องนั่งแก้กันใหม่ตั้งแต่ต้น
แต่สำหรับใครที่มีความอดทน และอยากอนุรักษ์ศิลปะแขนงนี้ไว้ คุณป้าแกก็ยินดีที่จะสอนเพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจกัน หรือใครที่สนใจจะซื้อหาไว้ประดับบ้านก็มาเยี่ยมเยียนคุณป้ากันได้ถึงบ้าน ก่อนลาคุณป้ากลับวันนี้ฉันก็ได้งานจากฝีมือคุณป้าติดไม้ติดมือกันมาด้วย แต่จะให้ซื้อหัวโขนที่วิจิตรบรรจง เงินในกระเป๋าก็ไม่ถึง เลยได้แค่กระปุกออมสินหมูที่ทำจากกระดาษแบบโบราณไว้ออมเงินเพื่อคราวหน้าจะได้มีเงินพอมาซื้อหัวโขนที่ระลึกสวยๆ สักอันไปประดับบ้านกับเขาบ้าง
ก่อนจะลาจากชุมชนบ้านลาวนี้ ฉันก็ได้แวะเข้าไปกราบพระที่ "วัดบางไส้ไก่" วัดเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนในชุมชนบ้านลาวมายาวนาน วัดแห่งนี้ชาวชุมชนจะเรียกติดปากกันว่าวัดลาว เพราะสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับชุมชนบ้านลาว โดยชาวลาวที่อพยพเข้ามาเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้ร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นมาวัดหนึ่งเพื่อเอาไว้เป็นที่ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญกุศลและเป็นที่พึ่งทางจิตใจ เมื่อสร้างเสร็จก็ขนานนามว่า"วัดลาว" ต่อมาทางราชการได้ตั้งชื่อว่า"วัดบางไส้ไก่"
และที่นี่ก็เป็นชุมชนเล็กๆ อีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ยังอบอวลไปด้วยศิลปวัฒนธรรมและงานฝีมืออันทรงคุณค่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในชุมชนบางไส้ไก่แห่งนี้ และยังรอให้ผู้ที่สนใจเข้ามาชมและหาความรู้กันได้ตลอดเวลา
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ชุมชนบ้านลาว ตั้งอยู่ในซอยหลังมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถนนอิสรภาพ 15 แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สำหรับผู้ที่สนใจขลุ่ยบ้านลาว ติดต่อ 0-2465-8093, 08-9990-1168 หรือศิลปะหัวโขน สามารถติดต่อได้ที่ 08-1641-6961