โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

ใครเล่าจะคิดว่า ซอยมากเลี้ยวอย่างซอยวิภาวดี 60 แห่งย่านหลักสี่ จะมีของดีน่ายลซุกซ่อนอยู่ในซอยลึกที่ไม่ลึกอย่างเดียว แต่ยังลึกลับอีกต่างหาก ไม่เชื่อก็ลองดูชื่อซอยเสียก่อน ซอยวิภาวดี 60 แยก 18-1-6-4-3 เรียกว่าต้องเลี้ยวกันหลายที เลี้ยวแล้วเลี้ยวเล่า จึงจะถึงยังจุดหมายปลายทาง
สำหรับของดีที่ฉันดั้นด้นมาหานั้นก็คือ "บ้านตุ๊กกะตุ่น หุ่นกระบอกไทย" ศิลปะแขนงหนึ่งของไทยที่มีความเป็นมายาวนาน แต่ปัจจุบันเหลือผู้สืบสานอยู่ไม่มากเท่าไรแล้ว จึงนับว่าไม่เสียทีที่ได้มาเห็นในวันนี้

ความเป็นมาของหุ่นกระบอกนั้นยาวนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จากลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือสาสน์สมเด็จ ทำให้ทราบว่าหุ่นกระบอกเริ่มมีขึ้นครั้งแรกราว พ.ศ.2435 ที่เมืองสุโขทัย โดยนายเหน่ง สุโขทัย เป็นต้นคิดขึ้นโดยจำแบบอย่างมาจากหุ่นไหหลำ นำมาดัดแปลงเป็นหุ่นแต่งกายอย่างไทย
การเล่นหุ่นกระบอกมียุคเฟื่องฟูในสมัยรัชกาลที่ 5 นี่เอง โดยได้มีคณะหุ่นกระบอกเกิดขึ้นหลายคณะด้วยกัน และกลายเป็นการละเล่นที่นิยมของประชาชนในสมัยนั้น

แต่สำหรับที่มาของ "บ้านตุ๊กกะตุ่น หุ่นกระบอกไทย" นั้น เริ่มมาจากความคิดของ นิเวศ แววสมณะ ที่อาชีพแรกเริ่มนั้นอยู่ในวงการโฆษณา ดูแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกับหุ่นกระบอกเลย นิเวศเล่าให้ฉันฟังว่า ด้วยความสนใจส่วนตัว และความต้องการมีรายได้เสริม รวมทั้งด้วยความที่พอจะมีพื้นฐานทางด้านวาดๆ เขียนๆ มาบ้าง จึงอยากจะหัดเรียนการทำหุ่นกระบอก เพราะเห็นว่าไม่ค่อยจะมีคนทำหุ่นกระบอกกันมากนัก แต่คนในวงการหุ่นกระบอกนั้นค่อนข้างจะหวงวิชา นิเวศจึงต้องใช้วิธีศึกษาการทำหุ่นกระบอกจากหนังสือ ฝึกทำอยู่ 2-3 เดือน ก็เริ่มจะพอทำได้ จากนั้นก็เริ่มจะทำขายทางเว็บไซต์ก่อน
แต่หลังจากที่เริ่มทำหุ่นกระบอกมาได้ระยะหนึ่ง นิเวศก็ได้ครูคนแรกมาช่วยสอนในเรื่องหุ่นกระบอกจนได้ โดยครูท่านนั้นก็คือครูชูศรี (ชื้น) สกุลแก้ว ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปการแสดง (หุ่นกระบอก) พ.ศ.2529 โดยเมื่อครูชื้นได้เห็นหุ่นกระบอกของนิเวศแล้วก็กล่าวว่า "หุ่นกระบอกสวยดีนะ แต่ทำไมตัวเล็กจัง" จากคำพูดนี้ทำให้นิเวศรู้สึกประทับใจ และขอเป็นลูกศิษย์ครูชื้นอีกคนหนึ่ง

นิเวศเล่าให้ฉันฟังถึงสิ่งที่ครูชื้นสอนเกี่ยวกับหุ่นกระบอก นั่นก็คือประวัติของหุ่นกระบอก และการเชิดหุ่นกระบอก การเชิดนั้นก็จะต้องเรียนท่ารำ ต้องรู้จักท่ารำในแต่ละเพลง ทั้งเพลงเชิด เพลงโอด ฯลฯ แต่สิ่งสำคัญนั้น ครูชื้นบอกว่า "การเชิดหุ่นสำคัญที่ใจรัก มีความมานะพยายามเชิดหุ่นให้สวย ให้ดีที่สุดเพราะหุ่นไม่มีกฎเกณฑ์อะไร เชิดให้สวยให้ได้จังหวะ ให้ได้อารมณ์ตามบทเท่านั้นเอง"
เมื่อฉันถามถึงขั้นตอนการทำหุ่นกระบอกแต่ละตัว นิเวศเล่าว่าวิธีทำแบบดั้งเดิมนั้นจะใช้ไม้ที่มีน้ำหนักเบาเช่นไม้นุ่น หรือทองหลางแกะส่วนหัว จากนั้นก็มากระแหนะลาย (กดลาย) เป็นชฎาและจอนหู จากนั้นจึงเขียนหน้าและลงรักปิดทอง ส่วนชุดของหุ่นนั้นก็เป็นผ้าปักลวดลายและใส่เครื่องประดับ ภายในชุดของหุ่นนั้นก็ไม่มีกลไกอะไรมาก มีเพียงกระบอกไม้ไผ่เป็นแกนของตัวหุ่น ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหุ่นกระบอก ส่วนช่วงแขนทำจากตะเกียบ เวลาจะเชิดก็ใช้มือซ้ายจับลำตัวหรือกระบอกไม้ไผ่ ส่วนมือขวาจับตะเกียบสองอันให้ขยับร่ายรำไปตามจังหวะและเนื้อเรื่อง โดยที่หุ่นกระบอกจะแสดงอยู่หน้าฉาก แต่คนเชิดจะอยู่หลังฉาก

ปัจจุบันนี้การทำหุ่นกระบอกก็เปลี่ยนไปบ้างบางอย่าง เช่น ส่วนหัวที่แกะจากไม้ก็เปลี่ยนไปเป็นเรซิ่น กระบอกไม้ไผ่เปลี่ยนเป็นท่อพีวีซี แต่ความสวยงามของหุ่นกระบอกก็ยังอยู่ครบถ้วนไม่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งราคาของหุ่นจากบ้านตุ๊กกะตุ่นนี้นิเวศบอกว่า มีตั้งแต่หลักพันถึงหลักแสนขึ้นไป
แต่วันนี้ฉันก็ไม่ได้เตรียมเงินจะมาซื้อหุ่นกระบอกเสียด้วยสิ จึงจะขอเพียงชมหุ่นสวยๆ เหล่านี้แทน ซึ่งภายในบ้านตุ๊กกะตุ่นนี้ก็มีหุ่นกระบอกอยู่กว่าร้อยตัวจัดแสดงอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นหุ่นกระบอกฝีมือของคุณนิเวศนั่นเอง โดยหุ่นเหล่านี้ก็มีหลายขนาดด้วยกัน ทั้งขนาดประมาณ 1 เมตร 23 นิ้ว และขนาดย่อมลงไปอีก แต่ละตัวก็เป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่องต่างๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็นพระราม พระลักษณ์ ทศกัณฑ์ หนุมาน ตัวละครในเรื่องขุนช้างขุนแผน รวมทั้งตัวละครในวรรณคดีเรื่องสามก๊กก็มีเช่นกัน

นอกจากนั้นแล้ว จากการที่นิเวศได้ไปเป็นทูตวัฒนธรรมนำหุ่นกระบอกไทยไปให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก จึงได้เห็นหุ่นของประเทศต่างๆ ด้วยเช่นกัน และก็ได้ซื้อหุ่นเหล่านั้นกลับมาไว้ที่บ้านตุ๊กกะตุ่นด้วย โดยมีทั้งหุ่นของประเทศญี่ปุ่น จีน ฝรั่งเศส ฯลฯ ฉันถามนิเวศว่า ตามความเห็นของคนทำหุ่นแล้ว หุ่นของประเทศไหนสวยที่สุด นิเวศตอบว่า เรื่องความสวยงามนั้นต้องยกให้หุ่นไทย แต่เรื่องการเชิดต้องยกให้จีน พม่า และญี่ปุ่น เพราะเชิดได้เหมือนมีชีวิต เหมือนคนจริงมากที่สุด
แม้ที่บ้านตุ๊กกะตุ่นนี้จะไม่ได้ใหญ่โตหรือมีหุ่นกระบอกจัดแสดงไว้ให้ชมจนละลานตา แต่ที่นี่ก็มีความน่าสนใจตรงที่เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหุ่นกระบอกได้อย่างครบถ้วนสำหรับผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบรรดาเด็กๆ จากโรงเรียนต่างๆ ที่คุณครูพามาชมเป็นกลุ่มๆ ยิ่งในช่วงเปิดเทอมนั้นนิเวศบอกว่าจะมีโรงเรียนต่างๆ มาดูแทบทุกอาทิตย์เลยทีเดียว

และเวลาที่เด็กๆ มาดู ทางบ้านตุ๊กกะตุ่นก็จะจัดเตรียมโรงละครหุ่นกระบอกไว้เล่นให้เด็กๆ ได้ชมกัน แถมเด็กๆ เหล่านั้นก็ยังจะได้ลองหัดทำหุ่นกระบอกด้วยตัวเอง เอาหุ่นกระบอกกลับบ้านไปอวดพ่อแม่ได้อีกด้วย ส่วนตัวของนิเวศเอง หากมีเวลาก็จะยกเอาโรงละครหุ่นกระบอกออกไปแสดงตามต่างจังหวัดเพื่อให้เด็กๆ ได้ชมกันด้วย
จากความตั้งใจแรกเมื่อเริ่มก่อตั้งบ้านตุ๊กกะตุ่น หุ่นกระบอกไทย นิเวศต้องการให้เป็นเพียงแหล่งผลิต ตั้งแสดงงานและการซื้อขายหุ่นกระบอกไทยเท่านั้น แต่เมื่อได้ผูกพันอยู่กับหุ่นกระบอกมากว่าสิบปี ก็ทำให้ความตั้งใจกลายเป็นความมุ่งมั่นที่จะสืบสานงานศิลปะแขนงนี้ต่อไป เพราะนอกจากจะได้เป็นแหล่งศึกษาของผู้ที่สนใจแล้ว ก็ยังเป็นการทำตามเจตนารมณ์ของครูสอนหุ่นกระบอกคนแรกของนิเวศ หรือครูชื้น แก้วสกุล ศิลปินแห่งชาติที่เคยกล่าวไว้ว่า

"ดิฉันเชิดหุ่นมานานกว่า 70 ปีแล้ว จนหุ่นเกือบเป็นชีวิตของฉันเอง ฉันไม่อยากให้หุ่นกระบอกต้องหาย หรือเสื่อมไปเลยอยากให้มีคนเชิด คนเล่น รับทอดกันต่อๆไปขอคุณครูหุ่นทุกท่านที่ดิฉันเคารพบูชา บันดาลให้เจตนารมณ์นี้สัมฤทธิ์ผลด้วยเทอญ"
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
บ้านตุ๊กกะตุ่น หุ่นกระบอกไทย ตั้งอยู่ที่ 1/5 หมู่ที่ 1 ซอยวิภาวดี 60 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00 น. ผู้ที่สนใจเข้าชมควรติดต่อล่วงหน้าที่ โทร.0-2579-8101, 0-2940-7969 หรือสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับหุ่นกระบอกได้ที่ www.tookkatoon.com
การเดินทาง เมื่อเข้าไปในซอยวิภาวดี 60 จะเจอวงเวียนเล็กๆ ให้ขับผ่านวงเวียนแล้วตรงไป จากนั้นให้เลี้ยวขวาตรงซอยวิภาวดี 60 แยก20 ขับผ่านไปจนถึงซอยวิภาวดี 60 แยก 18-1-6-2 ให้เลี้ยวซ้ายที่แยกนี้ แล้วเลี้ยวขวาอีกครั้งตรงซอยวิภาวดี 60 แยก 18-1-6-4 จากนั้นให้ขับตรงไปอีกผ่านซอยวิภาวดี 60 แยก 18-1-6-4-1 จะเห็นบ้านทรงไทย เมื่อผ่านบ้านทรงไทยแล้วเลี้ยวซ้ายอีกครั้งตรงซอยวิภาวดี 60 แยก 18-1-6-4-3 ก็จะเห็นบ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทยอยู่สุดซอยพอดี หรือหากมาไม่ถูกให้เรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ถามหาบ้านช่างแป๊ะก็ได้เช่นกัน
ใครเล่าจะคิดว่า ซอยมากเลี้ยวอย่างซอยวิภาวดี 60 แห่งย่านหลักสี่ จะมีของดีน่ายลซุกซ่อนอยู่ในซอยลึกที่ไม่ลึกอย่างเดียว แต่ยังลึกลับอีกต่างหาก ไม่เชื่อก็ลองดูชื่อซอยเสียก่อน ซอยวิภาวดี 60 แยก 18-1-6-4-3 เรียกว่าต้องเลี้ยวกันหลายที เลี้ยวแล้วเลี้ยวเล่า จึงจะถึงยังจุดหมายปลายทาง
สำหรับของดีที่ฉันดั้นด้นมาหานั้นก็คือ "บ้านตุ๊กกะตุ่น หุ่นกระบอกไทย" ศิลปะแขนงหนึ่งของไทยที่มีความเป็นมายาวนาน แต่ปัจจุบันเหลือผู้สืบสานอยู่ไม่มากเท่าไรแล้ว จึงนับว่าไม่เสียทีที่ได้มาเห็นในวันนี้
ความเป็นมาของหุ่นกระบอกนั้นยาวนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จากลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือสาสน์สมเด็จ ทำให้ทราบว่าหุ่นกระบอกเริ่มมีขึ้นครั้งแรกราว พ.ศ.2435 ที่เมืองสุโขทัย โดยนายเหน่ง สุโขทัย เป็นต้นคิดขึ้นโดยจำแบบอย่างมาจากหุ่นไหหลำ นำมาดัดแปลงเป็นหุ่นแต่งกายอย่างไทย
การเล่นหุ่นกระบอกมียุคเฟื่องฟูในสมัยรัชกาลที่ 5 นี่เอง โดยได้มีคณะหุ่นกระบอกเกิดขึ้นหลายคณะด้วยกัน และกลายเป็นการละเล่นที่นิยมของประชาชนในสมัยนั้น
แต่สำหรับที่มาของ "บ้านตุ๊กกะตุ่น หุ่นกระบอกไทย" นั้น เริ่มมาจากความคิดของ นิเวศ แววสมณะ ที่อาชีพแรกเริ่มนั้นอยู่ในวงการโฆษณา ดูแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกับหุ่นกระบอกเลย นิเวศเล่าให้ฉันฟังว่า ด้วยความสนใจส่วนตัว และความต้องการมีรายได้เสริม รวมทั้งด้วยความที่พอจะมีพื้นฐานทางด้านวาดๆ เขียนๆ มาบ้าง จึงอยากจะหัดเรียนการทำหุ่นกระบอก เพราะเห็นว่าไม่ค่อยจะมีคนทำหุ่นกระบอกกันมากนัก แต่คนในวงการหุ่นกระบอกนั้นค่อนข้างจะหวงวิชา นิเวศจึงต้องใช้วิธีศึกษาการทำหุ่นกระบอกจากหนังสือ ฝึกทำอยู่ 2-3 เดือน ก็เริ่มจะพอทำได้ จากนั้นก็เริ่มจะทำขายทางเว็บไซต์ก่อน
แต่หลังจากที่เริ่มทำหุ่นกระบอกมาได้ระยะหนึ่ง นิเวศก็ได้ครูคนแรกมาช่วยสอนในเรื่องหุ่นกระบอกจนได้ โดยครูท่านนั้นก็คือครูชูศรี (ชื้น) สกุลแก้ว ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปการแสดง (หุ่นกระบอก) พ.ศ.2529 โดยเมื่อครูชื้นได้เห็นหุ่นกระบอกของนิเวศแล้วก็กล่าวว่า "หุ่นกระบอกสวยดีนะ แต่ทำไมตัวเล็กจัง" จากคำพูดนี้ทำให้นิเวศรู้สึกประทับใจ และขอเป็นลูกศิษย์ครูชื้นอีกคนหนึ่ง
นิเวศเล่าให้ฉันฟังถึงสิ่งที่ครูชื้นสอนเกี่ยวกับหุ่นกระบอก นั่นก็คือประวัติของหุ่นกระบอก และการเชิดหุ่นกระบอก การเชิดนั้นก็จะต้องเรียนท่ารำ ต้องรู้จักท่ารำในแต่ละเพลง ทั้งเพลงเชิด เพลงโอด ฯลฯ แต่สิ่งสำคัญนั้น ครูชื้นบอกว่า "การเชิดหุ่นสำคัญที่ใจรัก มีความมานะพยายามเชิดหุ่นให้สวย ให้ดีที่สุดเพราะหุ่นไม่มีกฎเกณฑ์อะไร เชิดให้สวยให้ได้จังหวะ ให้ได้อารมณ์ตามบทเท่านั้นเอง"
เมื่อฉันถามถึงขั้นตอนการทำหุ่นกระบอกแต่ละตัว นิเวศเล่าว่าวิธีทำแบบดั้งเดิมนั้นจะใช้ไม้ที่มีน้ำหนักเบาเช่นไม้นุ่น หรือทองหลางแกะส่วนหัว จากนั้นก็มากระแหนะลาย (กดลาย) เป็นชฎาและจอนหู จากนั้นจึงเขียนหน้าและลงรักปิดทอง ส่วนชุดของหุ่นนั้นก็เป็นผ้าปักลวดลายและใส่เครื่องประดับ ภายในชุดของหุ่นนั้นก็ไม่มีกลไกอะไรมาก มีเพียงกระบอกไม้ไผ่เป็นแกนของตัวหุ่น ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหุ่นกระบอก ส่วนช่วงแขนทำจากตะเกียบ เวลาจะเชิดก็ใช้มือซ้ายจับลำตัวหรือกระบอกไม้ไผ่ ส่วนมือขวาจับตะเกียบสองอันให้ขยับร่ายรำไปตามจังหวะและเนื้อเรื่อง โดยที่หุ่นกระบอกจะแสดงอยู่หน้าฉาก แต่คนเชิดจะอยู่หลังฉาก
ปัจจุบันนี้การทำหุ่นกระบอกก็เปลี่ยนไปบ้างบางอย่าง เช่น ส่วนหัวที่แกะจากไม้ก็เปลี่ยนไปเป็นเรซิ่น กระบอกไม้ไผ่เปลี่ยนเป็นท่อพีวีซี แต่ความสวยงามของหุ่นกระบอกก็ยังอยู่ครบถ้วนไม่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งราคาของหุ่นจากบ้านตุ๊กกะตุ่นนี้นิเวศบอกว่า มีตั้งแต่หลักพันถึงหลักแสนขึ้นไป
แต่วันนี้ฉันก็ไม่ได้เตรียมเงินจะมาซื้อหุ่นกระบอกเสียด้วยสิ จึงจะขอเพียงชมหุ่นสวยๆ เหล่านี้แทน ซึ่งภายในบ้านตุ๊กกะตุ่นนี้ก็มีหุ่นกระบอกอยู่กว่าร้อยตัวจัดแสดงอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นหุ่นกระบอกฝีมือของคุณนิเวศนั่นเอง โดยหุ่นเหล่านี้ก็มีหลายขนาดด้วยกัน ทั้งขนาดประมาณ 1 เมตร 23 นิ้ว และขนาดย่อมลงไปอีก แต่ละตัวก็เป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่องต่างๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็นพระราม พระลักษณ์ ทศกัณฑ์ หนุมาน ตัวละครในเรื่องขุนช้างขุนแผน รวมทั้งตัวละครในวรรณคดีเรื่องสามก๊กก็มีเช่นกัน
นอกจากนั้นแล้ว จากการที่นิเวศได้ไปเป็นทูตวัฒนธรรมนำหุ่นกระบอกไทยไปให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก จึงได้เห็นหุ่นของประเทศต่างๆ ด้วยเช่นกัน และก็ได้ซื้อหุ่นเหล่านั้นกลับมาไว้ที่บ้านตุ๊กกะตุ่นด้วย โดยมีทั้งหุ่นของประเทศญี่ปุ่น จีน ฝรั่งเศส ฯลฯ ฉันถามนิเวศว่า ตามความเห็นของคนทำหุ่นแล้ว หุ่นของประเทศไหนสวยที่สุด นิเวศตอบว่า เรื่องความสวยงามนั้นต้องยกให้หุ่นไทย แต่เรื่องการเชิดต้องยกให้จีน พม่า และญี่ปุ่น เพราะเชิดได้เหมือนมีชีวิต เหมือนคนจริงมากที่สุด
แม้ที่บ้านตุ๊กกะตุ่นนี้จะไม่ได้ใหญ่โตหรือมีหุ่นกระบอกจัดแสดงไว้ให้ชมจนละลานตา แต่ที่นี่ก็มีความน่าสนใจตรงที่เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหุ่นกระบอกได้อย่างครบถ้วนสำหรับผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือบรรดาเด็กๆ จากโรงเรียนต่างๆ ที่คุณครูพามาชมเป็นกลุ่มๆ ยิ่งในช่วงเปิดเทอมนั้นนิเวศบอกว่าจะมีโรงเรียนต่างๆ มาดูแทบทุกอาทิตย์เลยทีเดียว
และเวลาที่เด็กๆ มาดู ทางบ้านตุ๊กกะตุ่นก็จะจัดเตรียมโรงละครหุ่นกระบอกไว้เล่นให้เด็กๆ ได้ชมกัน แถมเด็กๆ เหล่านั้นก็ยังจะได้ลองหัดทำหุ่นกระบอกด้วยตัวเอง เอาหุ่นกระบอกกลับบ้านไปอวดพ่อแม่ได้อีกด้วย ส่วนตัวของนิเวศเอง หากมีเวลาก็จะยกเอาโรงละครหุ่นกระบอกออกไปแสดงตามต่างจังหวัดเพื่อให้เด็กๆ ได้ชมกันด้วย
จากความตั้งใจแรกเมื่อเริ่มก่อตั้งบ้านตุ๊กกะตุ่น หุ่นกระบอกไทย นิเวศต้องการให้เป็นเพียงแหล่งผลิต ตั้งแสดงงานและการซื้อขายหุ่นกระบอกไทยเท่านั้น แต่เมื่อได้ผูกพันอยู่กับหุ่นกระบอกมากว่าสิบปี ก็ทำให้ความตั้งใจกลายเป็นความมุ่งมั่นที่จะสืบสานงานศิลปะแขนงนี้ต่อไป เพราะนอกจากจะได้เป็นแหล่งศึกษาของผู้ที่สนใจแล้ว ก็ยังเป็นการทำตามเจตนารมณ์ของครูสอนหุ่นกระบอกคนแรกของนิเวศ หรือครูชื้น แก้วสกุล ศิลปินแห่งชาติที่เคยกล่าวไว้ว่า
"ดิฉันเชิดหุ่นมานานกว่า 70 ปีแล้ว จนหุ่นเกือบเป็นชีวิตของฉันเอง ฉันไม่อยากให้หุ่นกระบอกต้องหาย หรือเสื่อมไปเลยอยากให้มีคนเชิด คนเล่น รับทอดกันต่อๆไปขอคุณครูหุ่นทุกท่านที่ดิฉันเคารพบูชา บันดาลให้เจตนารมณ์นี้สัมฤทธิ์ผลด้วยเทอญ"
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
บ้านตุ๊กกะตุ่น หุ่นกระบอกไทย ตั้งอยู่ที่ 1/5 หมู่ที่ 1 ซอยวิภาวดี 60 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00 น. ผู้ที่สนใจเข้าชมควรติดต่อล่วงหน้าที่ โทร.0-2579-8101, 0-2940-7969 หรือสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับหุ่นกระบอกได้ที่ www.tookkatoon.com
การเดินทาง เมื่อเข้าไปในซอยวิภาวดี 60 จะเจอวงเวียนเล็กๆ ให้ขับผ่านวงเวียนแล้วตรงไป จากนั้นให้เลี้ยวขวาตรงซอยวิภาวดี 60 แยก20 ขับผ่านไปจนถึงซอยวิภาวดี 60 แยก 18-1-6-2 ให้เลี้ยวซ้ายที่แยกนี้ แล้วเลี้ยวขวาอีกครั้งตรงซอยวิภาวดี 60 แยก 18-1-6-4 จากนั้นให้ขับตรงไปอีกผ่านซอยวิภาวดี 60 แยก 18-1-6-4-1 จะเห็นบ้านทรงไทย เมื่อผ่านบ้านทรงไทยแล้วเลี้ยวซ้ายอีกครั้งตรงซอยวิภาวดี 60 แยก 18-1-6-4-3 ก็จะเห็นบ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทยอยู่สุดซอยพอดี หรือหากมาไม่ถูกให้เรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ถามหาบ้านช่างแป๊ะก็ได้เช่นกัน