โดย : เหล็งฮู้ชง

“โฮจิมินห์” นามนี้นอกจากจะเป็นวีรบุรุษคนสำคัญของชาวเวียดนามแล้ว โฮจิมินห์ยังเป็นชื่อเมืองสำคัญของประเทศเวียดนามอีกด้วย
“ซินจ๋าว” คำๆนี้เป็นภาษาเวียดนาม หมายถึง “สวัสดี”
“โฮจิมินห์ ซินจ๋าว” หรือ“โฮจิมินห์ สวัสดี”(ครับ) เป็นคำที่ผมใช้เอ่ยทักทายกับผู้คน(โดยเฉพาะสาวๆ) ตึกรามบ้านเรือน ลมฟ้าอากาศ และทุกสรรพสิ่ง หลังเดินทางไปกับสายการบิน“บางกอกแอร์เวย์ส”จากสยามประเทศถึงสนามบินตันซอนนัต (Tan Son Nhat) แห่ง“นครโฮจิมินห์” เมืองแห่งความรุ่งโรจน์นับจากอดีตถึงปัจจุบัน ที่แม้ว่าสงครามอันโหดเหี้ยมยาวนานจะทำให้ลมหายใจของนครแห่งนี้อ่อนล้าไปบ้าง แต่หลังสงครามจบสิ้น เวียดนามรวมประเทศเป็นหนึ่ง(ค.ศ. 1975) พลเมืองชาวเวียดนามต่างก็หันหน้าเข้าหากันร่วมแรงร่วมใจพลิกฟื้นประเทศขึ้นมาใหม่ โดยมีคำขวัญในการสร้างชาติเวียดนามยุคใหม่ว่า
“ไม่ลืมความหลัง แต่อย่าเหลียวหลัง ให้มองไปข้างหน้า” ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างเวียดนามให้แข็งแกร่งยิ่งใหญ่ ซึ่งในวันนี้เวียดนามกลายเป็นประเทศแถวหน้าของอาเซียนที่กูรูเศรษฐกิจหลายๆคนวิเคราะห์ว่า บางทีอีกไม่นานเวียดนามจะแซงไทยก็เป็นได้ ถ้าประเทศไทยยังมีสภาพยักตื้นติดกึ๊กยักลึกติดกั๊กอย่างทุกวันนี้
สำหรับผมอนาคตเป็นเรื่องเกินคาดเดา ส่วนปัจจุปันเท่าที่อ่านหนังสือและมาเห็นด้วยตา พบว่านครโฮจิมินห์วันนี้กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น มีการเติบโตทางภาคสังคม เศรษฐกิจ และความเจริญทางวัตถุอย่างต่อเนื่อง แต่ถึงแม้ว่านครโฮจิมินห์จะเติบโตขนาดไหน ชาวเวียดนามกลับไม่สนใจไยดีที่จะเรียกขานเมืองนี้ว่านครโฮจิมินห์ หากแต่พวกเขายังคงเคยชินกับการเรียกนครโฮจิมินห์ว่า“ไซ่ง่อน”ที่เป็นชื่อเดิมอยู่ไม่สร่างซา

“ไซ่ง่อน มาจากศัพท์ขอมโบราณ“ไซกอน” ที่หมายถึง เมืองท่านุ่น เพราะในยุคอาณาจักรฟูนัน ไซ่ง่อนเป็นเมืองท่าใหญ่ที่ส่งขายนุ่นเป็นหลัก ส่วนอีกที่มาหนึ่ง ไซ่ง่อน มาจากคำว่า “ซ้ายหง่าน”ในภาษากวางตุ้งที่หมายถึง เมืองทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำ เพราะในสมัยที่ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู(ค.ศ.1644-1911)รุกรานราชวงศ์หมิง ( ค.ศ.1368-1644) ชาวหมิงส่วนหนึ่งได้หนีแมนจูมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเวียดนามทางฝั่งซ้ายแม่น้ำ(ไซ่ง่อน)”
เติม เรือง หรือ บุญเติม เรืองสวัสดิ์ หรือ คุณตั้ม ไกด์ชาวเวียดนามดีกรีอาจารย์ประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม ที่อยู่เมืองไทยมา 10 กว่าปี อดีตเด็กวัดดาวดึงส์ พูดไทยชัดแจ๋ว ชัดกว่าดาราและพิธีกรหลายๆคนบนหน้าจอแก้วบ้านเรา อธิบายให้ผมฟังในระหว่างที่พวกเรามุ่งหน้าสู่ย่าน“เจอะเลิ้ง”(แปลว่าตลาดใหญ่ในภาษาเวียดนาม)หรือที่ฝรั่งมักเรียกว่า“โชลอง”(Cholon) ซึ่งเป็นย่านไชน่าทาวน์ที่นอกจากจะมีความเกี่ยวพันกับชื่อไซ่ง่อนแล้ว ชาวจีนส่วนใหญ่ของที่นี่ยังคงถือว่าพวกเขายังเป็นชาวหมิงอยู่
ย่านเจอะเลิ้งดูๆไปก็ไม่ต่างจากย่านเยาราชบ้านเรา เพราะชาวจีนไม่ว่าไปอยู่ที่ไหน พวกเขาต่างก็แนบแน่นกับวิถีประเพณีและวัฒนธรรมอยู่ไม่เสื่อมคลาย ทำให้ย่านเจอะเลิ้งนอกจากจะน่ายลไปด้วยวิถีชาวจีนแบบดั้งเดิมแล้ว ที่นี่ยังเป็นย่านการค้าสำคัญที่มีทั้งร้านค้าใหญ่-เล็กและแผงลอยตั้งอยู่มากมาย แถมยังคึกคักและพลุกพล่านทั้งกลางวันกลางคืน โดยผู้คนในย่านเจอะเลิ้งต่างก็มีศูนย์รวมทางจิตใจอยู่ที่ “วัดเทียนเฮาส์” ที่เป็นวัดเก่าแก่ ยกตัวอาคาร รูปเคารพ และลวดลายต่างๆมาสร้างใหม่ในไซ่ง่อนเมื่อครั้งที่หมิงอพยพหนีชิงจากซัวเถา ซึ่งหากนับอายุที่มาตั้งอยู่ในไซ่ง่อน ปัจจุบันวัดเทียนเฮาส์มีอายุ 287 ปีแล้ว แต่หากนับอายุจริงของวัดแห่งนี้แล้วละก้อ มีอายุเก่าแก่กว่า 500 ปีทีเดียว

คุณตั้มเล่าว่า ความสำคัญของวัดเทียนเฮาส์หรือที่ชาวเวียดนามเรียกว่า“วัดเจ้าแม่สวรรค์”นั้น เปรียบได้กับศาลเจ้าแม่ทับทิมในบ้านเรา คือเป็นวัดที่ชาวประมงและผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับทะเลให้ความนับถือมาก เมื่อเดินเข้าไปในวัดเทียนเฮาส์ บรรยากาศในนั้นจะดูขรึมขลังไปด้วยควันธูปเปลวเทียน โดยเฉพาะธูปแบบเป็นขดวงกลมที่แขวนห้อยบนเพดานนั้นนอกจากจะดูเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธาแล้ว ยังดูสวยงามน่ายลเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากบรรยากาศแห่งความศรัทธาที่มีคนเดินทางเข้ามาบนบานศาลกล่าวกันอย่างต่อเนื่องแล้ว วัดเทียนเฮาส์ ยังโดดเด่นไปด้วยรูปเคารพเจ้าแม่ทับทิมและรูปเคารพเทวรูปอื่นๆอีกหลายองค์ ส่วนหากใครแหงนหน้ามองไปยังเบื้องบนก็จะเห็นลวดลายประดับกระเบื้อง ทั้งรูปเทพเจ้า นักรบ ปีศาจฯลฯ ที่งดงามน่ายลไปด้วยศิลปะแบบจีนอันเป็นเอกลักษณ์
หลังชมวิถีคนจีนในไซ่ง่อนแล้ว ทีนี้เราไปดูวิถีของชาวเวียดนามบริเวณใจกลางเมืองไซ่ง่อน ที่ ตลาดเบ็นถันห์ (Benh Than) กันบ้าง
"ตลาดเบ็นถันห์" เป็นตลาดอันโด่งดังของไซ่ง่อน สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1914 ด้านหน้าตลาดมีหอนาฬิกาตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ของตลาดแห่งนี้ ภายในนั้นตลาดเต็มไปด้วยของขายมากมายสารพัดอย่างในราคาที่สามารถต่อรองกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า อาหารการกิน ชา กาแฟ ของที่ระลึกพวกตุ๊กตาไม้ ตุ๊กตาปั้น งานศิลปะ ดอกไม้สด-แห้ง บริการเสริมสวย และสินค้าอีกมายมายหลายอย่าง ซึ่งหากจะว่าไปแล้ว ตลาดเบียนถันห์ก็เหมือนสวนจตุจักรบ้านเรานั่นแหละ เพียงแต่ว่ามีขนาดเล็กกว่าเท่านั้นเอง แถมแม่ค้าชาวเวียดนามหลายๆคนในตลาดเบ็นถันห์ยังพูดไทยชัดแจ๋ว ทำให้การต่อรองซื้อสินค้าง่ายขึ้นเป็นกอง และหากไม่มีเงินดองหรือดอลล่าร์ เขาก็ยินดีที่จะรับเงินไทยแบบไม่มีการอิดออดแต่ประการใด

นอกจากนี้ทุกๆเย็นไปถึง 3- 4 ทุ่มหลังตลาดเบ็นถันห์ปิดแล้ว ที่ถนนข้างๆตลาดจะกลายเป็นถนนคนเดินที่มากไปด้วยสินค้าและอาหารให้ช้อปให้กินกันอย่างหนำใจ เรียกได้ว่าคนไซ่ง่อนย่อตลาดเบ็นถันห์ออกมาให้นักท่องเที่ยวชิมและช้อปกันอีกรอบหนึ่ง ซึ่งสำหรับผู้ที่เป็นนักช้อปแล้วคงจะชอบตลาดเบ็นถันห์เป็นพิเศษ
ส่วนใครที่อยากมาเดินชมสาวเวียดนามหุ่นเพรียวบางงามระหงส์ ในชุด“อ๋าวใหญ่”ขี่จักรยานหรือเดินตามท้องถนน ณ กลางเมืองไซ่ง่อน ผมขอบอกว่า“ยากส์”เพราะสาวเวียดนามยุคใหม่เขาแต่งตัวกันตามสมัยนิยม สำหรับชุดอ๋าวใหญ่นั้นจะแต่งเฉพาะในกรีพิเศษ ในวันสำคัญ ในการแสดง หรือพวกที่ต้องทำอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
พูดถึงความเป็นเวียดนามที่จัดเจนอีกอย่างหนึ่ง งานนี้ไม่ต้องไปดูที่ไหนไกล เพียงแค่เดินออกมายังวงเวียนข้างๆกับตลาดเบ็นถันห์ที่มีรูปปั้นของเจิ่น เหงียน หาน (Tran Ngvyen Han)วีรบุรุษอีกคนหนึ่งของเวียดนามก็จะได้พบกับสิ่งอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของไซ่ง่อน นั่นก็คือรถมอเตอไซค์ที่วิ่งกันขวักไขว่และหวาดเสียวเต็มท้องถนน

ไซ่ง่อน เป็นเมืองที่น่าจะมีรถมอเตอร์ไซค์มากที่สุดในโลกก็ว่าได้ แถมคนไซ่ง่อนยังมีวิธีการขับรถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่เหมือนใครอีกต่าง คือเวลาที่ขับรถสวนกันหรือขับถึงทางแยก พวกเขาจะไม่มองทางไม่มองสัญญาณ แต่จะใช้คติประจำตัว ใจกล้าไปก่อน ใจอ่อนไปทีหลัง จากนั้นก็มองหน้าหัน แล้วก็ขับไปแบบตามใจฉันโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น”
คุณตั้มบอกกับผมอย่างนั้น ซึ่งจากการสังเกตของผมเปรียบเทียบกับเมื่อครั้งที่มานครโฮจิมินห์เมื่อ 4 ปีที่แล้ว พบว่ารถยนต์เริ่มมีมากขึ้น ส่วนจักรยานดูจะลดปริมาณลงไปมาก เช่นเดียวกับ“ซิกโคล่” รถสามล้อถีบอันเป็นเอกลักษณ์ของเวียดนามที่วันนี้ดูหายไปจากท้องถนนไม่น้อยทีเดียว

สำหรับความเป็นไซ่ง่อนอีกอย่างหนึ่งที่ดูเหมือนว่าชาวไซ่ง่อนยังคงภูมิใจในความเป็นเมืองเอกแห่งดินแดนเวียดนามใต้อยู่ไม่เสื่อมคลาย นั่นก็คือฉายา“ปารีสตะวันออก”ที่ไซ่ง่อนเคยได้รับในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งความโดดเด่นของปารีสตะวันออกนั้นจะน่าสนใจแค่ไหน...คงต้องติดตามอ่านกันในตอนต่อไป
**************************************************
**************************************************
นครโฮจิมินห์ หรือไซ่ง่อน เป็นอดีตเมืองหลวงแห่งเวียดนามใต้ ปัจจุบันเป็นเมืองท่าสำคัญของเวียดนาม ซึ่งล่าสุดสายการบินบางกอกแอร์เวย์สได้เปิดเที่ยวบินตรง กรุงเทพฯ-โฮจิมินห์ สัปดาห์ละ 3 เที่ยว โดยผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่ 1771
ไซ่ง่อน ใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย ใช้เงินสกุลดอง ตก 1 บาท ประมาณ 400-450 ดอง นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวที่กล่าวมาแล้ว ไซ่ง่อนยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอย่าง เจดีย์จักรพรรดิหยก วิหารนอเตรอดาม อุโมงค์กู๋จี
อดีตทำเนียบประธานาธิบดี และย่านปารีสตะวันออกกลางตัวเมือง
“โฮจิมินห์” นามนี้นอกจากจะเป็นวีรบุรุษคนสำคัญของชาวเวียดนามแล้ว โฮจิมินห์ยังเป็นชื่อเมืองสำคัญของประเทศเวียดนามอีกด้วย
“ซินจ๋าว” คำๆนี้เป็นภาษาเวียดนาม หมายถึง “สวัสดี”
“โฮจิมินห์ ซินจ๋าว” หรือ“โฮจิมินห์ สวัสดี”(ครับ) เป็นคำที่ผมใช้เอ่ยทักทายกับผู้คน(โดยเฉพาะสาวๆ) ตึกรามบ้านเรือน ลมฟ้าอากาศ และทุกสรรพสิ่ง หลังเดินทางไปกับสายการบิน“บางกอกแอร์เวย์ส”จากสยามประเทศถึงสนามบินตันซอนนัต (Tan Son Nhat) แห่ง“นครโฮจิมินห์” เมืองแห่งความรุ่งโรจน์นับจากอดีตถึงปัจจุบัน ที่แม้ว่าสงครามอันโหดเหี้ยมยาวนานจะทำให้ลมหายใจของนครแห่งนี้อ่อนล้าไปบ้าง แต่หลังสงครามจบสิ้น เวียดนามรวมประเทศเป็นหนึ่ง(ค.ศ. 1975) พลเมืองชาวเวียดนามต่างก็หันหน้าเข้าหากันร่วมแรงร่วมใจพลิกฟื้นประเทศขึ้นมาใหม่ โดยมีคำขวัญในการสร้างชาติเวียดนามยุคใหม่ว่า
“ไม่ลืมความหลัง แต่อย่าเหลียวหลัง ให้มองไปข้างหน้า” ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างเวียดนามให้แข็งแกร่งยิ่งใหญ่ ซึ่งในวันนี้เวียดนามกลายเป็นประเทศแถวหน้าของอาเซียนที่กูรูเศรษฐกิจหลายๆคนวิเคราะห์ว่า บางทีอีกไม่นานเวียดนามจะแซงไทยก็เป็นได้ ถ้าประเทศไทยยังมีสภาพยักตื้นติดกึ๊กยักลึกติดกั๊กอย่างทุกวันนี้
สำหรับผมอนาคตเป็นเรื่องเกินคาดเดา ส่วนปัจจุปันเท่าที่อ่านหนังสือและมาเห็นด้วยตา พบว่านครโฮจิมินห์วันนี้กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น มีการเติบโตทางภาคสังคม เศรษฐกิจ และความเจริญทางวัตถุอย่างต่อเนื่อง แต่ถึงแม้ว่านครโฮจิมินห์จะเติบโตขนาดไหน ชาวเวียดนามกลับไม่สนใจไยดีที่จะเรียกขานเมืองนี้ว่านครโฮจิมินห์ หากแต่พวกเขายังคงเคยชินกับการเรียกนครโฮจิมินห์ว่า“ไซ่ง่อน”ที่เป็นชื่อเดิมอยู่ไม่สร่างซา
“ไซ่ง่อน มาจากศัพท์ขอมโบราณ“ไซกอน” ที่หมายถึง เมืองท่านุ่น เพราะในยุคอาณาจักรฟูนัน ไซ่ง่อนเป็นเมืองท่าใหญ่ที่ส่งขายนุ่นเป็นหลัก ส่วนอีกที่มาหนึ่ง ไซ่ง่อน มาจากคำว่า “ซ้ายหง่าน”ในภาษากวางตุ้งที่หมายถึง เมืองทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำ เพราะในสมัยที่ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู(ค.ศ.1644-1911)รุกรานราชวงศ์หมิง ( ค.ศ.1368-1644) ชาวหมิงส่วนหนึ่งได้หนีแมนจูมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเวียดนามทางฝั่งซ้ายแม่น้ำ(ไซ่ง่อน)”
เติม เรือง หรือ บุญเติม เรืองสวัสดิ์ หรือ คุณตั้ม ไกด์ชาวเวียดนามดีกรีอาจารย์ประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม ที่อยู่เมืองไทยมา 10 กว่าปี อดีตเด็กวัดดาวดึงส์ พูดไทยชัดแจ๋ว ชัดกว่าดาราและพิธีกรหลายๆคนบนหน้าจอแก้วบ้านเรา อธิบายให้ผมฟังในระหว่างที่พวกเรามุ่งหน้าสู่ย่าน“เจอะเลิ้ง”(แปลว่าตลาดใหญ่ในภาษาเวียดนาม)หรือที่ฝรั่งมักเรียกว่า“โชลอง”(Cholon) ซึ่งเป็นย่านไชน่าทาวน์ที่นอกจากจะมีความเกี่ยวพันกับชื่อไซ่ง่อนแล้ว ชาวจีนส่วนใหญ่ของที่นี่ยังคงถือว่าพวกเขายังเป็นชาวหมิงอยู่
ย่านเจอะเลิ้งดูๆไปก็ไม่ต่างจากย่านเยาราชบ้านเรา เพราะชาวจีนไม่ว่าไปอยู่ที่ไหน พวกเขาต่างก็แนบแน่นกับวิถีประเพณีและวัฒนธรรมอยู่ไม่เสื่อมคลาย ทำให้ย่านเจอะเลิ้งนอกจากจะน่ายลไปด้วยวิถีชาวจีนแบบดั้งเดิมแล้ว ที่นี่ยังเป็นย่านการค้าสำคัญที่มีทั้งร้านค้าใหญ่-เล็กและแผงลอยตั้งอยู่มากมาย แถมยังคึกคักและพลุกพล่านทั้งกลางวันกลางคืน โดยผู้คนในย่านเจอะเลิ้งต่างก็มีศูนย์รวมทางจิตใจอยู่ที่ “วัดเทียนเฮาส์” ที่เป็นวัดเก่าแก่ ยกตัวอาคาร รูปเคารพ และลวดลายต่างๆมาสร้างใหม่ในไซ่ง่อนเมื่อครั้งที่หมิงอพยพหนีชิงจากซัวเถา ซึ่งหากนับอายุที่มาตั้งอยู่ในไซ่ง่อน ปัจจุบันวัดเทียนเฮาส์มีอายุ 287 ปีแล้ว แต่หากนับอายุจริงของวัดแห่งนี้แล้วละก้อ มีอายุเก่าแก่กว่า 500 ปีทีเดียว
คุณตั้มเล่าว่า ความสำคัญของวัดเทียนเฮาส์หรือที่ชาวเวียดนามเรียกว่า“วัดเจ้าแม่สวรรค์”นั้น เปรียบได้กับศาลเจ้าแม่ทับทิมในบ้านเรา คือเป็นวัดที่ชาวประมงและผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับทะเลให้ความนับถือมาก เมื่อเดินเข้าไปในวัดเทียนเฮาส์ บรรยากาศในนั้นจะดูขรึมขลังไปด้วยควันธูปเปลวเทียน โดยเฉพาะธูปแบบเป็นขดวงกลมที่แขวนห้อยบนเพดานนั้นนอกจากจะดูเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธาแล้ว ยังดูสวยงามน่ายลเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากบรรยากาศแห่งความศรัทธาที่มีคนเดินทางเข้ามาบนบานศาลกล่าวกันอย่างต่อเนื่องแล้ว วัดเทียนเฮาส์ ยังโดดเด่นไปด้วยรูปเคารพเจ้าแม่ทับทิมและรูปเคารพเทวรูปอื่นๆอีกหลายองค์ ส่วนหากใครแหงนหน้ามองไปยังเบื้องบนก็จะเห็นลวดลายประดับกระเบื้อง ทั้งรูปเทพเจ้า นักรบ ปีศาจฯลฯ ที่งดงามน่ายลไปด้วยศิลปะแบบจีนอันเป็นเอกลักษณ์
หลังชมวิถีคนจีนในไซ่ง่อนแล้ว ทีนี้เราไปดูวิถีของชาวเวียดนามบริเวณใจกลางเมืองไซ่ง่อน ที่ ตลาดเบ็นถันห์ (Benh Than) กันบ้าง
"ตลาดเบ็นถันห์" เป็นตลาดอันโด่งดังของไซ่ง่อน สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1914 ด้านหน้าตลาดมีหอนาฬิกาตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ของตลาดแห่งนี้ ภายในนั้นตลาดเต็มไปด้วยของขายมากมายสารพัดอย่างในราคาที่สามารถต่อรองกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า อาหารการกิน ชา กาแฟ ของที่ระลึกพวกตุ๊กตาไม้ ตุ๊กตาปั้น งานศิลปะ ดอกไม้สด-แห้ง บริการเสริมสวย และสินค้าอีกมายมายหลายอย่าง ซึ่งหากจะว่าไปแล้ว ตลาดเบียนถันห์ก็เหมือนสวนจตุจักรบ้านเรานั่นแหละ เพียงแต่ว่ามีขนาดเล็กกว่าเท่านั้นเอง แถมแม่ค้าชาวเวียดนามหลายๆคนในตลาดเบ็นถันห์ยังพูดไทยชัดแจ๋ว ทำให้การต่อรองซื้อสินค้าง่ายขึ้นเป็นกอง และหากไม่มีเงินดองหรือดอลล่าร์ เขาก็ยินดีที่จะรับเงินไทยแบบไม่มีการอิดออดแต่ประการใด
นอกจากนี้ทุกๆเย็นไปถึง 3- 4 ทุ่มหลังตลาดเบ็นถันห์ปิดแล้ว ที่ถนนข้างๆตลาดจะกลายเป็นถนนคนเดินที่มากไปด้วยสินค้าและอาหารให้ช้อปให้กินกันอย่างหนำใจ เรียกได้ว่าคนไซ่ง่อนย่อตลาดเบ็นถันห์ออกมาให้นักท่องเที่ยวชิมและช้อปกันอีกรอบหนึ่ง ซึ่งสำหรับผู้ที่เป็นนักช้อปแล้วคงจะชอบตลาดเบ็นถันห์เป็นพิเศษ
ส่วนใครที่อยากมาเดินชมสาวเวียดนามหุ่นเพรียวบางงามระหงส์ ในชุด“อ๋าวใหญ่”ขี่จักรยานหรือเดินตามท้องถนน ณ กลางเมืองไซ่ง่อน ผมขอบอกว่า“ยากส์”เพราะสาวเวียดนามยุคใหม่เขาแต่งตัวกันตามสมัยนิยม สำหรับชุดอ๋าวใหญ่นั้นจะแต่งเฉพาะในกรีพิเศษ ในวันสำคัญ ในการแสดง หรือพวกที่ต้องทำอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
พูดถึงความเป็นเวียดนามที่จัดเจนอีกอย่างหนึ่ง งานนี้ไม่ต้องไปดูที่ไหนไกล เพียงแค่เดินออกมายังวงเวียนข้างๆกับตลาดเบ็นถันห์ที่มีรูปปั้นของเจิ่น เหงียน หาน (Tran Ngvyen Han)วีรบุรุษอีกคนหนึ่งของเวียดนามก็จะได้พบกับสิ่งอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของไซ่ง่อน นั่นก็คือรถมอเตอไซค์ที่วิ่งกันขวักไขว่และหวาดเสียวเต็มท้องถนน
ไซ่ง่อน เป็นเมืองที่น่าจะมีรถมอเตอร์ไซค์มากที่สุดในโลกก็ว่าได้ แถมคนไซ่ง่อนยังมีวิธีการขับรถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่เหมือนใครอีกต่าง คือเวลาที่ขับรถสวนกันหรือขับถึงทางแยก พวกเขาจะไม่มองทางไม่มองสัญญาณ แต่จะใช้คติประจำตัว ใจกล้าไปก่อน ใจอ่อนไปทีหลัง จากนั้นก็มองหน้าหัน แล้วก็ขับไปแบบตามใจฉันโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น”
คุณตั้มบอกกับผมอย่างนั้น ซึ่งจากการสังเกตของผมเปรียบเทียบกับเมื่อครั้งที่มานครโฮจิมินห์เมื่อ 4 ปีที่แล้ว พบว่ารถยนต์เริ่มมีมากขึ้น ส่วนจักรยานดูจะลดปริมาณลงไปมาก เช่นเดียวกับ“ซิกโคล่” รถสามล้อถีบอันเป็นเอกลักษณ์ของเวียดนามที่วันนี้ดูหายไปจากท้องถนนไม่น้อยทีเดียว
สำหรับความเป็นไซ่ง่อนอีกอย่างหนึ่งที่ดูเหมือนว่าชาวไซ่ง่อนยังคงภูมิใจในความเป็นเมืองเอกแห่งดินแดนเวียดนามใต้อยู่ไม่เสื่อมคลาย นั่นก็คือฉายา“ปารีสตะวันออก”ที่ไซ่ง่อนเคยได้รับในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งความโดดเด่นของปารีสตะวันออกนั้นจะน่าสนใจแค่ไหน...คงต้องติดตามอ่านกันในตอนต่อไป
**************************************************
**************************************************
นครโฮจิมินห์ หรือไซ่ง่อน เป็นอดีตเมืองหลวงแห่งเวียดนามใต้ ปัจจุบันเป็นเมืองท่าสำคัญของเวียดนาม ซึ่งล่าสุดสายการบินบางกอกแอร์เวย์สได้เปิดเที่ยวบินตรง กรุงเทพฯ-โฮจิมินห์ สัปดาห์ละ 3 เที่ยว โดยผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่ 1771
ไซ่ง่อน ใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย ใช้เงินสกุลดอง ตก 1 บาท ประมาณ 400-450 ดอง นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวที่กล่าวมาแล้ว ไซ่ง่อนยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอย่าง เจดีย์จักรพรรดิหยก วิหารนอเตรอดาม อุโมงค์กู๋จี
อดีตทำเนียบประธานาธิบดี และย่านปารีสตะวันออกกลางตัวเมือง