เรื่องโดย:มะเมี้ยะ

หลังจากในตอนที่แล้วฉันได้เดินทางมาถึงยังปากประตูเมืองของรัฐ "สิกขิม"แล้ว ในครั้งนี้ก็สาสมความอยากเสียที เพราะกำลังจะเดินทางเข้าไปยังเมือง "กังต็อก" (Gangtok) เมืองหลวงของรัฐสิกขิมที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,768 เมตร
อันที่จริงจากดาร์จิลิ่งมาสิกขิมคิดเป็นระยะทางแค่ 80 กิโลเมตร ถ้าเป็นพื้นราบอย่างบ้านเราก็คงชั่วโมงเดียวถึง แต่ถนนหนทางที่นี่คดโค้งเหลือประมาณ กว่าจะถึงก็กินเวลาร่วม 4 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางไม่มีใครนอนหลับลง เพราะเดี๋ยวโดนเหวี่ยงซ้ายที ขวาที กว่าจะเข้าเขตเมืองกังต็อกก็เป็นเวลาบ่ายแล้ว
แถมตลอดเส้นทางต้องมารู้สึกหงุดหงิดรำคาญ เพราะมักจะต้องสะดุดอยู่บ่อยครั้ง กับด่านตรวจมากมายคอยดักอยู่เป็นระยะๆ แต่ฉันก็บ่ยั่นเพราะความงดงามของสิกขิมที่รออยู่เบื้องหน้ากับอุปสรรคแค่นี้ถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยซึ่งนักท่องเที่ยวที่เข้าใจในความเป็นสิกขิมคงไม่มีปัญหา

แต่สำหรับคนที่ไม่เข้าใจก็อาจจะบ่นอุบได้เหมือนกัน ก็อย่างที่บอกไปในตอนที่แล้วว่า สิกขิมเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง ทางอินเดียต้องการใช้สิกขิมเป็นรัฐกันชนจากจีน ที่นี่จึงมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง
สิกขิมจึงเป็นเขตควบคุมที่นักท่องเที่ยวต้องขออนุญาตเป็นพิเศษจากทางการ แต่เท่าที่มอง ฉันว่าถ้าทำเรื่องให้ถูกต้องเป็นเรื่องเป็นราวก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรนักหนา มิฉะนั้นคงไม่มีสารพัดบริษัททัวร์พาเรามายังสิกขิมหรอกจริงไหม?
มาเข้าเรื่องเที่ยวของเรากันต่อดีกว่าเมื่อมาถึงเมืองกังต็อกนั้น มันไม่เป็นไปดั่งที่ใจคิดมากนัก เพราะภาพกังต็อกในความคิดของฉันน่าจะเป็นภาพของบ้านเมืองในรูปแบบทรงศิลปะพื้นเมืองดั้งเดิม มากกว่าตึกราบ้านช่องที่ผุดขึ้นสูงๆต่ำๆไปตามลักษณะการลดหลั่นของภูเขาสูงแบบที่เป็นอยู่ แต่ก็จัดเป็นเสน่ห์อีกแบบหนึ่ง

ฉันมีโอกาสได้แวะเที่ยวชม "วัดรุมเต็ก" (Rumtek Monastery) ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกจากตัวเมืองกังต็อกออกไป 24 กิโลเมตร จากคำบอกเล่าของไกด์ทำให้ฉันได้รู้ว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของสิกขิม เป็นวัดของนิกายคาเกียวปะหรือกักยูปา
จำลองแบบมาจากวัดในธิเบตสร้างขึ้นในรัชสมัยกษัตริย์องค์ที่สี่ของสิกขิม เคยถูกแผ่นดินไหวจนได้รับความเสียหาย จึงได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่มีความงดงามด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบธิเบต และภาพเขียนเก่าแก่อายุหลายร้อยปี
แม้จะต่างนิกายกันแต่ฉันก็ถือว่าเป็นพุทธเหมือนกัน เมื่อเห็นชาวพื้นเมืองที่เข้ามาไหว้พระในโบสถ์กราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์จึงเอาอย่างบ้าง ถึงจะเก้ๆกังๆตามประสามือใหม่ แต่ฉันก็ได้รับคำชมจากไกด์ว่าสอบผ่าน
ปิดท้ายของวันด้วยการกลับที่พักในเมืองกังต็อกพร้อมกับความเหน็ดเหนื่อย แต่ไกด์ของเราก็ยังมิวายหลอกล่อว่าให้รีบตื่นแต่เช้าจะพาไปนั่งกระเช้าชมเมือง ซึ่งเมื่อถึงเวลาเข้าจริงๆฉันก็เป็นคนที่ตื่นสายที่สุด แต่ทั้งนี้ทัศนียภาพมุมสูงของเมืองกังต็อกที่ได้เห็นก็เล่นเอาเคลิบเคลิ้มไปเลยทีเดียว

ถ้าไม่ติดว่าต้องรีบไปชมความงามของ "วัดเอนเช่ย์"(ENCHEY) แล้วล่ะก็จะขอนั่งกระเช้าอีกสักรอบ พูดถึงวัดเอนเช่ย์เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเมืองกังต๊อก เป็นอีกที่หนึ่งที่มีความงดงามด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม แม้จะไม่เก่าแก่เท่าวัดรุมเต็ก เพราะเพิ่งสร้างในสมัยกษัตริย์องค์ที่แปดของสิกขิม แต่ก็สามารถทำให้เราได้เห็นฝีมือและความคิดของชาวสิกขิมที่ถ่ายทอดออกมาได้
ตอนเที่ยงก็แวะแถวหาอะไรกินในตลาดเมืองกังต็อกเจอเจ้า "โมโม" (momo) ที่ดูจะเป็นอาหารยอดนิยม ดูไปดูมาคล้ายเกี๊ยวซ่า มีลักษณะเป็นแป้งแผ่นบางๆยัดไส้เนื้อกับผักมีกลิ่นเนยหน่อยๆ ส่วนรสชาติก็ขนมกุ้ยช่ายดีๆนี่เอง จากนั้นเดินทางต่อมีจุดหมายอยู่ที่หมู่บ้านลาชุง พาหนะในการเดินทางของเราก็คือรถจิ๊ปหรือที่ไกด์เรียกว่าทาทาซูโม่ที่ดูจะเป็นที่นิยมของคนที่นี่ไม่แพ้เจ้าโมโมเลย

เจ้ารถจิ๊ปขนาดกลางจำนวน 2 คัน บรรทุกฉันและพวกพ้อง ผ่านจุดชมวิวที่เป็นน้ำตกและหุบเขาต่างๆจอดรถแวะถ่ายรูปกันจนเพลินใจกว่าจะถึงหมู่บ้านลาชุงก็ค่ำพอดี วันถัดมาก็ตื่นแต่เช้าออกเดินทางไปที่ "ยุมถัง"(Yumthang) กัน อันซีนอย่างหนึ่งของยุมถัง คือ ป้ายหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ที่สร้างความแปลกใจในฉันว่ามีไว้ทำไมจนบัดนี้ก็ยังหาคำตอบไม่ได้
ยุมถังคือหุบเขากว้างที่จัดได้ว่ามีความงามทางธรรมชาติที่สุดในสิกขิม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีทหารดูแล สำหรับคนที่ฟังแล้วอาจท้อใจ ฉันขอบอกว่ามาสิกขิมแต่ไม่ได้มายุมถังก็ถือว่ามาไม่ถึง บางคนถึงกลับเปรียบเปรยว่าที่นี่คือสวรรค์แห่งหิมาลัยทีเดียว
ยิ่งในช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิดอกไม้ทั่วยุมถังจะเบ่งบานเต็มไปหมด โดยเฉพาะดอกกุหลาบพันปีราชินีแห่งหิมาลัย อีกทั้งยังเต็มไปด้วยหิมะขาวโพลนตลอดปี ฉันกลายเป็นอณูเล็กๆไปเลย เมื่อมายืนอยู่ที่นี่เสน่ห์ยุมถังกระชากหัวใจฉันไว้ในอุ้งมือสำเร็จ เราระเริงอยู่ยุมถังจนบ่ายคล้อยจนกลับเข้าตัวเมืองกังต็อก เช่นเคยพอหัวถึงหมอนฉันก็หลับใหลด้วยความเหนื่อย
ในวันที่หกของการอยู่สิกขิมวันนี้เป็นไฮไลท์อีกอย่างหนึ่งของโปรแกรมเพราะฉันกำลังจะได้ไป "ทะเลสาบฉางกู"(Tsomgo Lake) เป็นทะเลสาบเลื่องชื่อที่สุดของสิกขิม จัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่ที่เข้มงวดภายใต้การดูแลของทหารเช่นเดียวกับยุมถัง

การมาเที่ยวที่นี่จึงจะต้องขอใบอนุญาตแยกต่างหาก แม้จะได้รับอนุญาตให้เข้าสิกขิมแล้วก็ตาม ต้องเสียประมาณคนละ 15 USD ที่นี่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,753 เมตร หรือกว่า 12,000 ฟุต เป็นทะเลสาบที่มีภูเขาสูงโอบล้อม นอกจากความงามทางธรรมชาติแล้วยังสามารถร่วมถ่ายภาพประทับใจกับเจ้าจามรีที่ถูกจับแต่งตัวหลากสีหรือจะทดลองขี่ก็ยังได้
เอมใจกับบรรยากาศของทะเลสาบฉางกูเสร็จ ในที่สุดวันสุดท้ายของการใช้ชีวิตแสนสุขสมบุกสมบันในสิกขิมก็มาถึงจนได้วันสุดท้ายในสิกขิมฉันได้เดินทางมาอำลาสิกขิมที่ "เพ็ลลิ่ง" (Pelling) เมืองที่ถูกระบุไว้ในใบอนุญาตว่าให้เป็นเมืองสุดท้ายทางตะวันตกที่นักท่องเที่ยวจะไปถึงได้
ที่นี่เป็นจุดที่เราจะมองเห็นยอดเขาคังเชงจุงก้าได้ใกล้ชิดที่สุดในสิกขิม และยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญเพราะเป็นที่ตั้งของวัด "พีมายองเซ่" (Pemayangtse) วัดเก่าแก่และมีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ของสิกขิม
ที่นี่ระหว่างทางเข้าสู่เขตวัดจะมีริ้วธงมนตรามากมายเรื่อยรายอยู่ตลอดทาง เป็นจุดสุดท้ายในสิกขิมของฉันก่อนจะมุ่งหน้าย้อมกลับไปยังสิลิกูรีแล้วไปกัลกัตตาเพื่อรอขึ้นเครื่องกลับเมืองไทย โดยลืมหัวใจไว้ในสิกขิม...เสียแล้ว...

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
การเดินทางเข้าสู่รัฐสิกขิมจะต้องนั่งเครื่องบินไปลงยังท่าอากาศยานนานาชาติเมืองกัลกัตตาก่อน แล้วจึงต่อรถหรือเครื่องบินโดยสารภายในประเทศเข้าสู่สิลิกูรีก่อนเข้าไปยังสิกขิม สายการบินที่ให้บริการสู่ประเทศอินเดีย มีหลายสายการบิน อาทิ สายการบินอินเดียนแอร์ไลน์ การบินไทย ดรุ๊กแอร์ สกุลเงินที่ใช้คือ รูปี อัตราแลกเปลี่ยน USD1 เท่ากับ RS.42
หลังจากในตอนที่แล้วฉันได้เดินทางมาถึงยังปากประตูเมืองของรัฐ "สิกขิม"แล้ว ในครั้งนี้ก็สาสมความอยากเสียที เพราะกำลังจะเดินทางเข้าไปยังเมือง "กังต็อก" (Gangtok) เมืองหลวงของรัฐสิกขิมที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,768 เมตร
อันที่จริงจากดาร์จิลิ่งมาสิกขิมคิดเป็นระยะทางแค่ 80 กิโลเมตร ถ้าเป็นพื้นราบอย่างบ้านเราก็คงชั่วโมงเดียวถึง แต่ถนนหนทางที่นี่คดโค้งเหลือประมาณ กว่าจะถึงก็กินเวลาร่วม 4 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางไม่มีใครนอนหลับลง เพราะเดี๋ยวโดนเหวี่ยงซ้ายที ขวาที กว่าจะเข้าเขตเมืองกังต็อกก็เป็นเวลาบ่ายแล้ว
แถมตลอดเส้นทางต้องมารู้สึกหงุดหงิดรำคาญ เพราะมักจะต้องสะดุดอยู่บ่อยครั้ง กับด่านตรวจมากมายคอยดักอยู่เป็นระยะๆ แต่ฉันก็บ่ยั่นเพราะความงดงามของสิกขิมที่รออยู่เบื้องหน้ากับอุปสรรคแค่นี้ถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยซึ่งนักท่องเที่ยวที่เข้าใจในความเป็นสิกขิมคงไม่มีปัญหา
แต่สำหรับคนที่ไม่เข้าใจก็อาจจะบ่นอุบได้เหมือนกัน ก็อย่างที่บอกไปในตอนที่แล้วว่า สิกขิมเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง ทางอินเดียต้องการใช้สิกขิมเป็นรัฐกันชนจากจีน ที่นี่จึงมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง
สิกขิมจึงเป็นเขตควบคุมที่นักท่องเที่ยวต้องขออนุญาตเป็นพิเศษจากทางการ แต่เท่าที่มอง ฉันว่าถ้าทำเรื่องให้ถูกต้องเป็นเรื่องเป็นราวก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรนักหนา มิฉะนั้นคงไม่มีสารพัดบริษัททัวร์พาเรามายังสิกขิมหรอกจริงไหม?
มาเข้าเรื่องเที่ยวของเรากันต่อดีกว่าเมื่อมาถึงเมืองกังต็อกนั้น มันไม่เป็นไปดั่งที่ใจคิดมากนัก เพราะภาพกังต็อกในความคิดของฉันน่าจะเป็นภาพของบ้านเมืองในรูปแบบทรงศิลปะพื้นเมืองดั้งเดิม มากกว่าตึกราบ้านช่องที่ผุดขึ้นสูงๆต่ำๆไปตามลักษณะการลดหลั่นของภูเขาสูงแบบที่เป็นอยู่ แต่ก็จัดเป็นเสน่ห์อีกแบบหนึ่ง
ฉันมีโอกาสได้แวะเที่ยวชม "วัดรุมเต็ก" (Rumtek Monastery) ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกจากตัวเมืองกังต็อกออกไป 24 กิโลเมตร จากคำบอกเล่าของไกด์ทำให้ฉันได้รู้ว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของสิกขิม เป็นวัดของนิกายคาเกียวปะหรือกักยูปา
จำลองแบบมาจากวัดในธิเบตสร้างขึ้นในรัชสมัยกษัตริย์องค์ที่สี่ของสิกขิม เคยถูกแผ่นดินไหวจนได้รับความเสียหาย จึงได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่มีความงดงามด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบธิเบต และภาพเขียนเก่าแก่อายุหลายร้อยปี
แม้จะต่างนิกายกันแต่ฉันก็ถือว่าเป็นพุทธเหมือนกัน เมื่อเห็นชาวพื้นเมืองที่เข้ามาไหว้พระในโบสถ์กราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์จึงเอาอย่างบ้าง ถึงจะเก้ๆกังๆตามประสามือใหม่ แต่ฉันก็ได้รับคำชมจากไกด์ว่าสอบผ่าน
ปิดท้ายของวันด้วยการกลับที่พักในเมืองกังต็อกพร้อมกับความเหน็ดเหนื่อย แต่ไกด์ของเราก็ยังมิวายหลอกล่อว่าให้รีบตื่นแต่เช้าจะพาไปนั่งกระเช้าชมเมือง ซึ่งเมื่อถึงเวลาเข้าจริงๆฉันก็เป็นคนที่ตื่นสายที่สุด แต่ทั้งนี้ทัศนียภาพมุมสูงของเมืองกังต็อกที่ได้เห็นก็เล่นเอาเคลิบเคลิ้มไปเลยทีเดียว
ถ้าไม่ติดว่าต้องรีบไปชมความงามของ "วัดเอนเช่ย์"(ENCHEY) แล้วล่ะก็จะขอนั่งกระเช้าอีกสักรอบ พูดถึงวัดเอนเช่ย์เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเมืองกังต๊อก เป็นอีกที่หนึ่งที่มีความงดงามด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม แม้จะไม่เก่าแก่เท่าวัดรุมเต็ก เพราะเพิ่งสร้างในสมัยกษัตริย์องค์ที่แปดของสิกขิม แต่ก็สามารถทำให้เราได้เห็นฝีมือและความคิดของชาวสิกขิมที่ถ่ายทอดออกมาได้
ตอนเที่ยงก็แวะแถวหาอะไรกินในตลาดเมืองกังต็อกเจอเจ้า "โมโม" (momo) ที่ดูจะเป็นอาหารยอดนิยม ดูไปดูมาคล้ายเกี๊ยวซ่า มีลักษณะเป็นแป้งแผ่นบางๆยัดไส้เนื้อกับผักมีกลิ่นเนยหน่อยๆ ส่วนรสชาติก็ขนมกุ้ยช่ายดีๆนี่เอง จากนั้นเดินทางต่อมีจุดหมายอยู่ที่หมู่บ้านลาชุง พาหนะในการเดินทางของเราก็คือรถจิ๊ปหรือที่ไกด์เรียกว่าทาทาซูโม่ที่ดูจะเป็นที่นิยมของคนที่นี่ไม่แพ้เจ้าโมโมเลย
เจ้ารถจิ๊ปขนาดกลางจำนวน 2 คัน บรรทุกฉันและพวกพ้อง ผ่านจุดชมวิวที่เป็นน้ำตกและหุบเขาต่างๆจอดรถแวะถ่ายรูปกันจนเพลินใจกว่าจะถึงหมู่บ้านลาชุงก็ค่ำพอดี วันถัดมาก็ตื่นแต่เช้าออกเดินทางไปที่ "ยุมถัง"(Yumthang) กัน อันซีนอย่างหนึ่งของยุมถัง คือ ป้ายหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ที่สร้างความแปลกใจในฉันว่ามีไว้ทำไมจนบัดนี้ก็ยังหาคำตอบไม่ได้
ยุมถังคือหุบเขากว้างที่จัดได้ว่ามีความงามทางธรรมชาติที่สุดในสิกขิม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีทหารดูแล สำหรับคนที่ฟังแล้วอาจท้อใจ ฉันขอบอกว่ามาสิกขิมแต่ไม่ได้มายุมถังก็ถือว่ามาไม่ถึง บางคนถึงกลับเปรียบเปรยว่าที่นี่คือสวรรค์แห่งหิมาลัยทีเดียว
ยิ่งในช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิดอกไม้ทั่วยุมถังจะเบ่งบานเต็มไปหมด โดยเฉพาะดอกกุหลาบพันปีราชินีแห่งหิมาลัย อีกทั้งยังเต็มไปด้วยหิมะขาวโพลนตลอดปี ฉันกลายเป็นอณูเล็กๆไปเลย เมื่อมายืนอยู่ที่นี่เสน่ห์ยุมถังกระชากหัวใจฉันไว้ในอุ้งมือสำเร็จ เราระเริงอยู่ยุมถังจนบ่ายคล้อยจนกลับเข้าตัวเมืองกังต็อก เช่นเคยพอหัวถึงหมอนฉันก็หลับใหลด้วยความเหนื่อย
ในวันที่หกของการอยู่สิกขิมวันนี้เป็นไฮไลท์อีกอย่างหนึ่งของโปรแกรมเพราะฉันกำลังจะได้ไป "ทะเลสาบฉางกู"(Tsomgo Lake) เป็นทะเลสาบเลื่องชื่อที่สุดของสิกขิม จัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่ที่เข้มงวดภายใต้การดูแลของทหารเช่นเดียวกับยุมถัง
การมาเที่ยวที่นี่จึงจะต้องขอใบอนุญาตแยกต่างหาก แม้จะได้รับอนุญาตให้เข้าสิกขิมแล้วก็ตาม ต้องเสียประมาณคนละ 15 USD ที่นี่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,753 เมตร หรือกว่า 12,000 ฟุต เป็นทะเลสาบที่มีภูเขาสูงโอบล้อม นอกจากความงามทางธรรมชาติแล้วยังสามารถร่วมถ่ายภาพประทับใจกับเจ้าจามรีที่ถูกจับแต่งตัวหลากสีหรือจะทดลองขี่ก็ยังได้
เอมใจกับบรรยากาศของทะเลสาบฉางกูเสร็จ ในที่สุดวันสุดท้ายของการใช้ชีวิตแสนสุขสมบุกสมบันในสิกขิมก็มาถึงจนได้วันสุดท้ายในสิกขิมฉันได้เดินทางมาอำลาสิกขิมที่ "เพ็ลลิ่ง" (Pelling) เมืองที่ถูกระบุไว้ในใบอนุญาตว่าให้เป็นเมืองสุดท้ายทางตะวันตกที่นักท่องเที่ยวจะไปถึงได้
ที่นี่เป็นจุดที่เราจะมองเห็นยอดเขาคังเชงจุงก้าได้ใกล้ชิดที่สุดในสิกขิม และยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญเพราะเป็นที่ตั้งของวัด "พีมายองเซ่" (Pemayangtse) วัดเก่าแก่และมีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ของสิกขิม
ที่นี่ระหว่างทางเข้าสู่เขตวัดจะมีริ้วธงมนตรามากมายเรื่อยรายอยู่ตลอดทาง เป็นจุดสุดท้ายในสิกขิมของฉันก่อนจะมุ่งหน้าย้อมกลับไปยังสิลิกูรีแล้วไปกัลกัตตาเพื่อรอขึ้นเครื่องกลับเมืองไทย โดยลืมหัวใจไว้ในสิกขิม...เสียแล้ว...
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
การเดินทางเข้าสู่รัฐสิกขิมจะต้องนั่งเครื่องบินไปลงยังท่าอากาศยานนานาชาติเมืองกัลกัตตาก่อน แล้วจึงต่อรถหรือเครื่องบินโดยสารภายในประเทศเข้าสู่สิลิกูรีก่อนเข้าไปยังสิกขิม สายการบินที่ให้บริการสู่ประเทศอินเดีย มีหลายสายการบิน อาทิ สายการบินอินเดียนแอร์ไลน์ การบินไทย ดรุ๊กแอร์ สกุลเงินที่ใช้คือ รูปี อัตราแลกเปลี่ยน USD1 เท่ากับ RS.42