โดย : แมวลาย

ไม่เคยมีประสบการณ์การนั่งรถครั้งไหนเลยที่ฉันจะจำไม่มีวันลืมเหมือนอย่างครั้งที่ได้นั่งรถจากปอยเปตไปยังเมืองเสียมเรียบหรือเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา
ระยะทาง 150 กิโลเมตรนับว่าไม่ไกลนัก ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเศษๆ แต่เป็น 3 ชั่วโมงที่ต้องใช้ความอดทนค่อนข้างมากเลยทีเดียว เพราะถนนสายนี้ของเขมรขึ้นชื่อมานานแล้วในเรื่องของสภาพถนนที่ทรหด ด้วยเส้นทางที่เป็นทางลูกรัง มีพร้อมทั้งเศษหินเศษดินทั้งเล็กทั้งใหญ่และฝุ่นสีแดง มีหลุมมีบ่อตื้นๆ แต่สม่ำเสมอไปทั่วทั้งถนน ทำให้รถบัสขนาดเล็กที่ฉันนั่งไปสั่นกราวราวกับชั้นวางของด้านบนจะหล่นลงมาใส่หัว และเมื่อนั่งไปได้สักชั่วโมงหนึ่งก็รู้สึกเหมือนว่าตับไตไส้พุงข้างในถูกเขย่าจนไหลมารวมกันหมด
แต่ที่มาทรมานตัวเองอย่างนี้ก็เพราะว่าจุดมุ่งหมายของเราในเขมรก็คือการมาชม “นครวัด-นครธม” อลังการปราสาทหินของเมืองเขมร ที่เรียกว่าต่อให้สภาพถนนแย่ยิ่งกว่านี้ ก็ยังคุ้มค่าที่จะมาชมให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต

รถวิ่งโขยกเขยกไปตามเส้นทาง ผ่านทุ่งนาสีเขียวสดและบ้านเรือนของชาวบ้านที่ทาสีเหมือนๆ กันหมดคือสีแดงอมส้มของฝุ่นลูกรัง มีการหยุดแวะพักรถและพักคนทุกๆ 50 กิโลเมตร ก่อนจะเดินทางต่อเข้าสู่เมืองเสียมเรียบ ซึ่งเมื่อเริ่มเข้าสู่เขตเมืองเสียมเรียบก็คือ เริ่มเห็นความเจริญที่แตกต่างจากเส้นทางที่ผ่านมาอย่างมาก สังเกตได้จากโรงแรม 5 ดาว ใหญ่โตมากมาย ทั้งที่กำลังก่อสร้างและกำลังเปิดให้บริการอยู่
ทั้งหมดนี้ก็เป็นการยืนยันได้ดีว่า เมืองเสียมเรียบนี้มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนมากมากเท่าใด และในอนาคตก็น่าจะมีคนมาเที่ยวมากขึ้นอีก เพราะที่เสียมเรียบนี้มีสิ่งดึงดูดที่เรียกว่า “สิ่งมหัศจรรย์ของโลก” อยู่ที่นี่ นั่นก็คือปราสาทนครวัด สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคปัจจุบัน
แต่ขออนุญาตเก็บนครวัดเอาไว้มาเล่าสู่กันฟังในคราวหลัง เพราะวันนี้ฉันขอไปเที่ยว "นครธม" สถานที่ท่องเที่ยวเคียงคู่นครวัดก่อน ไปชมไฮไลท์ของนครธม ซึ่งก็คือ “ปราสาทบายน” ไปพร้อมๆ กัน

มีบางคนยังเข้าใจผิดเรียกนครธมว่าเป็นปราสาทนครธม เหมือนที่เรียกปราสาทนครวัด แท้จริงแล้วนครธมเป็นเมืองที่มีปราสาทมากมายอยู่ภายใน โดยคำว่านครธมนั้นแปลว่าเมืองใหญ่ กำแพงเมืองแต่ละด้านยาว 3 กิโลเมตร มีพื้นที่รวม 5,625 ไร่ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นช่วงที่พุทธศาสนาลัทธิมหายานเจริญสูงสุดในกัมพูชา
ถ้าเทียบอายุกันแล้ว นครธมจะเป็นน้องนครวัดอยู่ประมาณ 70 ปี ด้วยกัน แต่เนื่องจากเป็นการสร้างเมืองทับเมืองเก่าโบราณที่มีอยู่ก่อน ทำให้ปราสาทต่างๆ ที่อยู่ในเขตกำแพงเมืองนั้นมีอายุมากน้อยไม่เท่ากัน บางแห่งก็เก่าแก่มากในขณะที่บางแห่งก็เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
แค่ประตูเมืองของนครธมก็ทำให้เกิดความรู้สึกทึ่งได้มากมายแล้ว โดยเฉพาะประตูทางทิศใต้ ที่เป็นสะพานหินทอดยาวผ่านคูน้ำเข้าสู่กำแพงและซุ้มประตูเมือง บนราวสะพานทั้ง 2 ฝั่ง สร้างเป็นเรื่องราวของการกวนเกษียรสมุทรโดยมีเทวดาอยู่ด้านหนึ่ง และอสูรอยู่อีกด้านหนึ่ง ต่างฝ่ายต่างก็ดึงยุคพญานาควาสุกรีกันอยู่ข้างละ 54 องค์และตน

ด้านซุ้มประตูเมืองนครธมก็อลังการไม่ใช่น้อย เพราะสลักเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือบางคนก็ว่าเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อยู่ทั้ง 4 ด้าน และจากประตูเมืองเข้ามาอีก 1 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของ “ปราสาทบายน” ที่กล่าวไปแล้วว่าเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของนครธม บายนเป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 โดยทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในคติพุทธนิกายมหายาน ซึ่งเป็นศาสนาที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงศรัทธานับถือ
ความโดดเด่นของปราสาทบายนที่หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินชื่อเสียงมาบ้างแล้วก็คือใบหน้าขนาดใหญ่นับร้อยถูกที่สลักลงบนหิน และมีรอยยิ้มแบบที่เรียกว่า “ยิ้มบายน” ประดับอยู่บนทุกใบหน้า
แต่ก่อนที่จะได้ใบยลยิ้มบายนเหล่านั้น สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดชมเลยก็คือ ภาพสลักบนระเบียงคดชั้นนอกของตัวปราสาททั้ง 4 ด้าน เรื่องราวส่วนใหญ่ที่ถูกสลักลงบนก้อนหินก็คือเรื่องของการศึกสงครามระหว่างชนชาติขอมกับจามเพื่อสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งภาพการสู้รบนั้นน่าจะเป็นสงครามในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อขับไล่พวกจามที่เข้ามายึดพระนครในขณะนั้น มีภาพการเดินทัพของทหารเขมรถืออาวุธ รวมทั้งมีภาพสลักชาวจีนซึ่งเป็นทหารรับจ้างมาช่วยรบกับพวกจามด้วย คนไหนเป็นคนจีนสังเกตได้จากการเกล้ามวยผมและเคราแหลมๆ
ไม่เพียงแต่จะมีเรื่องราวของการรบเท่านั้น แต่บนภาพสลักหินก็ยังมีเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวเขมรในสมัยนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งกาย ชีวิตความเป็นอยู่ เช่นการหุงหาอาหาร การล่าสัตว์ แม้แต่ภาพการทำคลอดก็ยังมี และแน่นอนว่าที่นี่ก็มีนางอัปสราร่ายรำด้วยท่าทางต่างๆ อยู่ด้วยเช่นกัน แม้จะไม่โดดเด่นเท่ากับนางอัปสราที่นครวัดก็ตาม แต่ก็ดูแปลกตาไปอีกแบบซึ่งสะท้อนถึงศิลปะการสลักนางอัปสราในยุคบายนได้เป็นอย่างดี

และแล้วฉันก็เดินขึ้นไปยืนยิ้มคู่กับยิ้มบายนที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของปราสาทของบายนที่ไม่มีที่ไหนเหมือน
เรื่องที่ถามกันมากก็คือ ใบหน้านี้เป็นใบหน้าของใครกัน นักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่าเป็นใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร บ้างก็ว่าเป็นพระพรหมเพราะมีสี่หน้า และบ้างก็ว่าเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง
แต่ไม่ว่าจะถอดแบบมาจากใบหน้าใครก็ตาม เชื่อว่าผู้ที่ได้เห็นทุกคนก็จะรู้สึกแบบเดียวกันว่า บนใบหน้าเหล่านั้นมีสายตาที่มองดูทุกคนอย่างปรานี และมีรอยยิ้มน้อยๆ อย่างอ่อนโยนตรงมุมปากแบบที่เรียกกันว่า “ยิ้มบายน” เป็นยิ้มที่ไม่มีที่ไหนเหมือน และเป็นยิ้มที่มองแล้วทำให้จิตใจสงบได้

เดิมเมื่อแรกสร้าง ยิ้มบายนมี 216 ใบหน้า จาก 54 ยอด แค่ปัจจุบันหักพังไปตามกาลเวลาเหลืออยู่ 37 ยอด แถมบางหน้าก็หักพัง บางหน้าก็ลบเลือนไปตามเวลา แต่ก็ยังมีบางหน้าที่ยังคงสมบูรณ์และงดงามอยู่เช่นเดิม รวมถึงหน้าที่ว่ากันว่ายิ้มสวยที่สุด ซึ่งหากใครอยากรู้ว่าเป็นใบหน้าไหนก็สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ตรงที่จะมีรั้วไม้เล็กๆ กั้นไว้ พร้อมกับมีมหาชนยืนคอยถ่ายรูปคู่ด้วยนั่นเอง
ขณะที่ฉันเดินถ่ายรูปใบหน้าบนยอดปราสาทอยู่เพลินๆ ก็มีคุณป้าชาวเขมรกวักมือเรียกเชิญชวนให้เข้าไปไหว้พระพุทธรูปศิลาที่ตั้งอยู่ภายในปรางค์องค์หนึ่ง รอยยิ้มคุณป้าดูใจดีจนฉันไม่อยากขัดศรัทธา เลยต้องเข้าไปนั่งพนมมือแต้อยู่หน้าพระพุทธรูป โดยที่มีคุณป้านั่งสวดมนต์อยู่ข้างๆ ด้วยภาษาเขมรที่ฟังยังไง้...ยังไงก็ไม่เข้าใจ แต่ก็ฟังดูขลังๆ ดีเหมือนกัน ตบท้ายด้วยการร่วมทำบุญกับคุณป้า และจากมาพร้อมกับคำว่า “ออกุนเจริญ” (ขอบใจมาก) ซึ่งถือเป็นฤกษ์ดีในการอำลาปราสาทบายน เดินทางสู่ปราสาทที่น่าสนใจอื่นๆ อาทิ ปราสาทปาปวน ปราสาทพิมานอากาศ และอีกมากมายหลายปราสาทภายในรั้วกำแพงของนครธม

ก่อนที่ฉันจะออกจากเขตเมืองนครธมมุ่งหน้าสู่นครวัด ปราสาทหินที่เขาว่ากันว่า ห้ามตายก่อนจะได้เห็น จะอลังการสักแค่ไหนนั้น โปรดติดตามต่อตอนหน้า...
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
การเดินทาง โดยทางรถยนต์ เส้นทางที่สะดวกที่สุดคือเข้าทาง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ผ่านด่านคลองลึกเข้าสู่ประเทศกัมพูชาที่ด่านปอยเปต แล้วผ่านจังหวัดบันเตียเมียนเจย สู่จังหวัดเสียมเรียบ(เสียมราฐ) ระยะทาง 154 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง สภาพถนนไม่ดีนัก หรือหากไม่อยากนั่งรถ ก็สามารถนั่งเครื่องบินไปลงที่สนามบินเสียมเรียบได้
การเที่ยวชมปราสาทขอมในเขมรนั้นจะเสียค่าเที่ยวชม 20 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 พันบาท) ต่อวัน (เที่ยวได้ทุกปราสาทและทุกโบราณสถานในเสียมเรียบ) ส่วนถ้าอยากเที่ยวนานๆ สามารถซื้อตั๋วแบบ 3 วัน ราคา 40 เหรียญ ส่วนค่าวีซ่าเข้าเขมรก็อยู่ที่ 20 เหรียญเช่นกัน
สำหรับผู้สนในเที่ยวนครวัด-นครธม สามารถเดินทางไปเที่ยวเองหรือติดต่อได้กับบริษัททัวร์ทั่วไป
ไม่เคยมีประสบการณ์การนั่งรถครั้งไหนเลยที่ฉันจะจำไม่มีวันลืมเหมือนอย่างครั้งที่ได้นั่งรถจากปอยเปตไปยังเมืองเสียมเรียบหรือเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา
ระยะทาง 150 กิโลเมตรนับว่าไม่ไกลนัก ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเศษๆ แต่เป็น 3 ชั่วโมงที่ต้องใช้ความอดทนค่อนข้างมากเลยทีเดียว เพราะถนนสายนี้ของเขมรขึ้นชื่อมานานแล้วในเรื่องของสภาพถนนที่ทรหด ด้วยเส้นทางที่เป็นทางลูกรัง มีพร้อมทั้งเศษหินเศษดินทั้งเล็กทั้งใหญ่และฝุ่นสีแดง มีหลุมมีบ่อตื้นๆ แต่สม่ำเสมอไปทั่วทั้งถนน ทำให้รถบัสขนาดเล็กที่ฉันนั่งไปสั่นกราวราวกับชั้นวางของด้านบนจะหล่นลงมาใส่หัว และเมื่อนั่งไปได้สักชั่วโมงหนึ่งก็รู้สึกเหมือนว่าตับไตไส้พุงข้างในถูกเขย่าจนไหลมารวมกันหมด
แต่ที่มาทรมานตัวเองอย่างนี้ก็เพราะว่าจุดมุ่งหมายของเราในเขมรก็คือการมาชม “นครวัด-นครธม” อลังการปราสาทหินของเมืองเขมร ที่เรียกว่าต่อให้สภาพถนนแย่ยิ่งกว่านี้ ก็ยังคุ้มค่าที่จะมาชมให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต
รถวิ่งโขยกเขยกไปตามเส้นทาง ผ่านทุ่งนาสีเขียวสดและบ้านเรือนของชาวบ้านที่ทาสีเหมือนๆ กันหมดคือสีแดงอมส้มของฝุ่นลูกรัง มีการหยุดแวะพักรถและพักคนทุกๆ 50 กิโลเมตร ก่อนจะเดินทางต่อเข้าสู่เมืองเสียมเรียบ ซึ่งเมื่อเริ่มเข้าสู่เขตเมืองเสียมเรียบก็คือ เริ่มเห็นความเจริญที่แตกต่างจากเส้นทางที่ผ่านมาอย่างมาก สังเกตได้จากโรงแรม 5 ดาว ใหญ่โตมากมาย ทั้งที่กำลังก่อสร้างและกำลังเปิดให้บริการอยู่
ทั้งหมดนี้ก็เป็นการยืนยันได้ดีว่า เมืองเสียมเรียบนี้มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนมากมากเท่าใด และในอนาคตก็น่าจะมีคนมาเที่ยวมากขึ้นอีก เพราะที่เสียมเรียบนี้มีสิ่งดึงดูดที่เรียกว่า “สิ่งมหัศจรรย์ของโลก” อยู่ที่นี่ นั่นก็คือปราสาทนครวัด สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคปัจจุบัน
แต่ขออนุญาตเก็บนครวัดเอาไว้มาเล่าสู่กันฟังในคราวหลัง เพราะวันนี้ฉันขอไปเที่ยว "นครธม" สถานที่ท่องเที่ยวเคียงคู่นครวัดก่อน ไปชมไฮไลท์ของนครธม ซึ่งก็คือ “ปราสาทบายน” ไปพร้อมๆ กัน
มีบางคนยังเข้าใจผิดเรียกนครธมว่าเป็นปราสาทนครธม เหมือนที่เรียกปราสาทนครวัด แท้จริงแล้วนครธมเป็นเมืองที่มีปราสาทมากมายอยู่ภายใน โดยคำว่านครธมนั้นแปลว่าเมืองใหญ่ กำแพงเมืองแต่ละด้านยาว 3 กิโลเมตร มีพื้นที่รวม 5,625 ไร่ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นช่วงที่พุทธศาสนาลัทธิมหายานเจริญสูงสุดในกัมพูชา
ถ้าเทียบอายุกันแล้ว นครธมจะเป็นน้องนครวัดอยู่ประมาณ 70 ปี ด้วยกัน แต่เนื่องจากเป็นการสร้างเมืองทับเมืองเก่าโบราณที่มีอยู่ก่อน ทำให้ปราสาทต่างๆ ที่อยู่ในเขตกำแพงเมืองนั้นมีอายุมากน้อยไม่เท่ากัน บางแห่งก็เก่าแก่มากในขณะที่บางแห่งก็เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
แค่ประตูเมืองของนครธมก็ทำให้เกิดความรู้สึกทึ่งได้มากมายแล้ว โดยเฉพาะประตูทางทิศใต้ ที่เป็นสะพานหินทอดยาวผ่านคูน้ำเข้าสู่กำแพงและซุ้มประตูเมือง บนราวสะพานทั้ง 2 ฝั่ง สร้างเป็นเรื่องราวของการกวนเกษียรสมุทรโดยมีเทวดาอยู่ด้านหนึ่ง และอสูรอยู่อีกด้านหนึ่ง ต่างฝ่ายต่างก็ดึงยุคพญานาควาสุกรีกันอยู่ข้างละ 54 องค์และตน
ด้านซุ้มประตูเมืองนครธมก็อลังการไม่ใช่น้อย เพราะสลักเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือบางคนก็ว่าเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อยู่ทั้ง 4 ด้าน และจากประตูเมืองเข้ามาอีก 1 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของ “ปราสาทบายน” ที่กล่าวไปแล้วว่าเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของนครธม บายนเป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 โดยทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในคติพุทธนิกายมหายาน ซึ่งเป็นศาสนาที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงศรัทธานับถือ
ความโดดเด่นของปราสาทบายนที่หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินชื่อเสียงมาบ้างแล้วก็คือใบหน้าขนาดใหญ่นับร้อยถูกที่สลักลงบนหิน และมีรอยยิ้มแบบที่เรียกว่า “ยิ้มบายน” ประดับอยู่บนทุกใบหน้า
แต่ก่อนที่จะได้ใบยลยิ้มบายนเหล่านั้น สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดชมเลยก็คือ ภาพสลักบนระเบียงคดชั้นนอกของตัวปราสาททั้ง 4 ด้าน เรื่องราวส่วนใหญ่ที่ถูกสลักลงบนก้อนหินก็คือเรื่องของการศึกสงครามระหว่างชนชาติขอมกับจามเพื่อสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งภาพการสู้รบนั้นน่าจะเป็นสงครามในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อขับไล่พวกจามที่เข้ามายึดพระนครในขณะนั้น มีภาพการเดินทัพของทหารเขมรถืออาวุธ รวมทั้งมีภาพสลักชาวจีนซึ่งเป็นทหารรับจ้างมาช่วยรบกับพวกจามด้วย คนไหนเป็นคนจีนสังเกตได้จากการเกล้ามวยผมและเคราแหลมๆ
ไม่เพียงแต่จะมีเรื่องราวของการรบเท่านั้น แต่บนภาพสลักหินก็ยังมีเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวเขมรในสมัยนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งกาย ชีวิตความเป็นอยู่ เช่นการหุงหาอาหาร การล่าสัตว์ แม้แต่ภาพการทำคลอดก็ยังมี และแน่นอนว่าที่นี่ก็มีนางอัปสราร่ายรำด้วยท่าทางต่างๆ อยู่ด้วยเช่นกัน แม้จะไม่โดดเด่นเท่ากับนางอัปสราที่นครวัดก็ตาม แต่ก็ดูแปลกตาไปอีกแบบซึ่งสะท้อนถึงศิลปะการสลักนางอัปสราในยุคบายนได้เป็นอย่างดี
และแล้วฉันก็เดินขึ้นไปยืนยิ้มคู่กับยิ้มบายนที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของปราสาทของบายนที่ไม่มีที่ไหนเหมือน
เรื่องที่ถามกันมากก็คือ ใบหน้านี้เป็นใบหน้าของใครกัน นักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่าเป็นใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร บ้างก็ว่าเป็นพระพรหมเพราะมีสี่หน้า และบ้างก็ว่าเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง
แต่ไม่ว่าจะถอดแบบมาจากใบหน้าใครก็ตาม เชื่อว่าผู้ที่ได้เห็นทุกคนก็จะรู้สึกแบบเดียวกันว่า บนใบหน้าเหล่านั้นมีสายตาที่มองดูทุกคนอย่างปรานี และมีรอยยิ้มน้อยๆ อย่างอ่อนโยนตรงมุมปากแบบที่เรียกกันว่า “ยิ้มบายน” เป็นยิ้มที่ไม่มีที่ไหนเหมือน และเป็นยิ้มที่มองแล้วทำให้จิตใจสงบได้
เดิมเมื่อแรกสร้าง ยิ้มบายนมี 216 ใบหน้า จาก 54 ยอด แค่ปัจจุบันหักพังไปตามกาลเวลาเหลืออยู่ 37 ยอด แถมบางหน้าก็หักพัง บางหน้าก็ลบเลือนไปตามเวลา แต่ก็ยังมีบางหน้าที่ยังคงสมบูรณ์และงดงามอยู่เช่นเดิม รวมถึงหน้าที่ว่ากันว่ายิ้มสวยที่สุด ซึ่งหากใครอยากรู้ว่าเป็นใบหน้าไหนก็สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ตรงที่จะมีรั้วไม้เล็กๆ กั้นไว้ พร้อมกับมีมหาชนยืนคอยถ่ายรูปคู่ด้วยนั่นเอง
ขณะที่ฉันเดินถ่ายรูปใบหน้าบนยอดปราสาทอยู่เพลินๆ ก็มีคุณป้าชาวเขมรกวักมือเรียกเชิญชวนให้เข้าไปไหว้พระพุทธรูปศิลาที่ตั้งอยู่ภายในปรางค์องค์หนึ่ง รอยยิ้มคุณป้าดูใจดีจนฉันไม่อยากขัดศรัทธา เลยต้องเข้าไปนั่งพนมมือแต้อยู่หน้าพระพุทธรูป โดยที่มีคุณป้านั่งสวดมนต์อยู่ข้างๆ ด้วยภาษาเขมรที่ฟังยังไง้...ยังไงก็ไม่เข้าใจ แต่ก็ฟังดูขลังๆ ดีเหมือนกัน ตบท้ายด้วยการร่วมทำบุญกับคุณป้า และจากมาพร้อมกับคำว่า “ออกุนเจริญ” (ขอบใจมาก) ซึ่งถือเป็นฤกษ์ดีในการอำลาปราสาทบายน เดินทางสู่ปราสาทที่น่าสนใจอื่นๆ อาทิ ปราสาทปาปวน ปราสาทพิมานอากาศ และอีกมากมายหลายปราสาทภายในรั้วกำแพงของนครธม
ก่อนที่ฉันจะออกจากเขตเมืองนครธมมุ่งหน้าสู่นครวัด ปราสาทหินที่เขาว่ากันว่า ห้ามตายก่อนจะได้เห็น จะอลังการสักแค่ไหนนั้น โปรดติดตามต่อตอนหน้า...
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
การเดินทาง โดยทางรถยนต์ เส้นทางที่สะดวกที่สุดคือเข้าทาง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ผ่านด่านคลองลึกเข้าสู่ประเทศกัมพูชาที่ด่านปอยเปต แล้วผ่านจังหวัดบันเตียเมียนเจย สู่จังหวัดเสียมเรียบ(เสียมราฐ) ระยะทาง 154 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง สภาพถนนไม่ดีนัก หรือหากไม่อยากนั่งรถ ก็สามารถนั่งเครื่องบินไปลงที่สนามบินเสียมเรียบได้
การเที่ยวชมปราสาทขอมในเขมรนั้นจะเสียค่าเที่ยวชม 20 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 พันบาท) ต่อวัน (เที่ยวได้ทุกปราสาทและทุกโบราณสถานในเสียมเรียบ) ส่วนถ้าอยากเที่ยวนานๆ สามารถซื้อตั๋วแบบ 3 วัน ราคา 40 เหรียญ ส่วนค่าวีซ่าเข้าเขมรก็อยู่ที่ 20 เหรียญเช่นกัน
สำหรับผู้สนในเที่ยวนครวัด-นครธม สามารถเดินทางไปเที่ยวเองหรือติดต่อได้กับบริษัททัวร์ทั่วไป