โดย : มินนี่ เดอะ เม้าส์

...หลังจากสัมผัส "ดันเจียน" คุกลับที่มีร่องรอยแห่งความหนาวเหน็บ มืดมิด และโหดร้ายแห่งยุคสมัยกลาง พร้อมทั้งรำลึกความประทับใจของลอร์ดไบรอนที่ถึงกับจารึกชื่อไว้กับเสาหิน (เมื่อตอนที่แล้ว) ไกด์ของปราสาทชิลยองก็นำฉันขึ้นมาสู่โลกแห่งแสงสว่างด้านบน
ท่ามกลางสิ่งปลูกสร้างที่ล้อมรอบไปด้วยหินแห่งนี้มีห้องใหญ่น้อยถึง 25 ส่วน ทางมูลนิธิปราสาทชิลยอง (Castle of Chillon Foundation) ผู้รับผิดชอบในการจัดแสดง ได้มาร์กจุดให้นักท่องเที่ยวเดินชมตามตำแหน่งต่างๆ ไว้ 32 จุด ถ้าจะเดินชมแบบเมียงๆ มองๆ และถ่ายภาพแบบประหยัดเวลาก็ประมาณ 1 ชั่วโมง แต่มาทั้งทีน่าจะใช้เวลาให้คุ้มค่าตั๋ว (ที่บวกลบคูณหารเป็นเงินไทยแล้วแทบอยากจะเดินชมปราสาททุกซอกทุกมุมเลยทีเดียว)

ค่าเข้าชมปราสาทสำหรับผู้ใหญ่ราคา 10 ฟรังก์ ส่วนเด็กเพียง 5 ฟรังก์ หรือถ้ามาเป็นกลุ่มราคาก็จะถูกลงหน่อย มีไกด์ทัวร์ประจำปราสาทคอยอธิบายเป็นรอบๆ หรือถ้ามาเป็นกลุ่มใหญ่สามารถให้ไกด์อธิบายเฉพาะกลุ่มได้เลย หรือจะเดินเดี่ยวถือแผ่นพับที่เขาจัดไว้ให้ซึ่งแปลออกมากว่า 20 ภาษา (แต่น่าเสียดายไม่มีภาษาไทย) แผ่นพันเล่มน้อยอันนี้จะบอกทิศทางการเดิน และอธิบายจุดต่างๆ อย่างย่นย่อ (เข้าไปเช็คราคาค่าผ่านประตูได้ที่เว็บไซต์ของปราสาทที่ให้ไว้ด้านล่าง)
ส่วนฉันและเพื่อนร่วมทริปขอใช้บริการไกด์นำทาง หากเกิดข้อสงสัยอะไรระหว่างทาง ครั้นจะถามกระดาษที่ถืออยู่ในมือคงพูดจากันไม่รู้เรื่อง

จากคุกใต้ดินไกด์สาวผมทองก็พาฉันมาสู่ "ห้องครัวใหญ่" พื้นที่กว้างขวางสว่างโล่ง เตาผิงขนาดใหญ่ที่พอจะให้ความอบอุ่นได้ทั่วห้อง ตู้เก็บจาน ถ้วยโบราณเรียงรายอยู่รอบๆ ที่น่าสนใจคืออุปกรณ์ทำครัวดูง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่มีประสิทธิภาพ อย่างเช่นที่ย่างเนื้อ นำไปตั้งโดยใช้ส่วนหนึ่งของเตาผิงใหญ่ และใช้กลไกในการดึงเนื้อ พลิกเนื้อ โดยไม่ต้องเอาตัวเอาไปผิงไฟด้วย
ระหว่างที่ไกด์กำลังอธิบายวิธีการทำงานของมัน ฉันก็นึกจิตนาการถึงสาวน้อยใหญ่หลายนางในเสื้อแขนตุ๊กตา กระโปรงสุ่มพองๆ สีขาว พร้อมกับผ้ากันเปื้อนสีแดงกำลังขะมักเขม้นย่างเนื้อ อบขนมปัง จัดโต๊ะ...เพราะที่ฉันยืนอยู่ตรงนี้ เมื่อ 800 ปีก่อนเป็นที่ที่เหล่าสาวใช้แห่งชิลยองกำลังจัดเตรียมอาหารให้เจ้านายอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

ถัดจากห้องครัว ถึงคราวของห้องแห่งการสังสรรค์ เจ้าของปราสาทยุคหลังเรียกว่า "ฮอลล์ ออฟ จัสทิส" (Hall of Justice) แต่เคานต์ออฟซาวอยเจ้าของฉายาชาร์ลมาญน้อยยกให้เป็นโถงรับแขก การจัดเลี้ยงและงานรื่นเริง ห้องนี้สว่างไสวกว่าห้องอื่นๆ มีช่องหน้าต่างที่กว้างกว่า เปิดให้แขกผู้มาเยือนชมวิวทะเลสาบเจนีวาที่ล้อมรอบปราสาทไปพร้อมๆ กับการสังสรรค์ ต่างจากปราสาทที่อื่นๆ ซึ่งไม่ค่อยจะทำหน้าต่างกว้างมาก เพราะเกรงว่าศัตรูอาจเล็ดรอดเข้ามาได้
สิ่งที่น่าสนใจในห้องนี้คือ "เสาหินอ่อนดำ" ที่ใช้คำยันเสริมความแข็งแรง ไกด์ของเราอธิบายเพิ่มเติมว่า เสาเหล่านี้สะท้อนถึงทรัพยากรในสมัยก่อน ที่บริเวณแคว้นแห่งนี้มีหินอ่อนดำ ทั้งนำมาทำเป็นเสาและรูปปั้นตามปราสาทต่างๆ รวมทั้งยังเป็นแหล่งส่งออกหินอ่อนดำไปทั่วยุโรป แต่ปัจจุบันไม่มีเหลืออีกแล้ว...อีกตัวอย่างของการใช้ทรัพยากรอย่างรวดเร็วของมนุษย์ ขณะที่ธรรมชาติกว่าจะรังสรรค์ขึ้นมาต้องใช้เวลานานกว่าหลายเท่า

เมื่อปลงกับสิ่งที่เหลือแต่ร่องรอยไปแล้ว ฉันก็เดินตามไกด์เข้าสู่พื้นที่แห่งความศรัทธา "ห้องสวดมนต์" หรือ Chapel ที่มีอยู่ประจำตามปราสาทต่างๆ ในตอนแรกสร้างเคานต์ออฟซาวอยใส่ความนับถือโรมันคาทอลิกสไตล์อิตาเลียนเข้าไปอย่างเต็มที่ ทั้งภาพฝาผนัง การประดับตกแต่งตามส่วนต่างๆ ของห้องสวดมนต์
คราวต้องสูญเสียปราสาทให้แก่ชาวเบิร์น ซึ่งนับถือโปสแตสแตนท์ ทำให้ภาพวาดในห้องสวดมนต์แห่งนี้ถูกเผาและขูดออกทั้งที่ฝาผนัง เพดาน จนแทบไม่เหลือร่องรอยแห่งศตวรรษที่ 12 โชคดีที่มีศิลปะเล็กๆ เป็นรูปสลักตรีเอกานุภาพ (พระบิดา-พระบุตร-พระจิต) ซ่อนไว้ที่หัวเสา จึงทำให้นักประวัติศาสตร์รุ่นหลังสามารถหาเค้าร่างแรกเริ่มของการสร้างห้องนี้ได้ โดยสังเคราะห์ออกมาเป็นภาพฉายขึ้นบนผนังและเพดานไปตามบริเวณที่คาดว่าน่าจะเป็น ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยแบบนี้ ทำให้นักท่องเที่ยวตาดำๆ อย่างฉันไม่ต้องเหนื่อยกับการสร้างจินตนาการที่ไม่คุ้นเคย

แม้ว่าชิลยองจะถือเป็นปราสาทที่สมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง แต่การขุดค้น สืบหาประวัติที่มายังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกสุดก่อนที่เคานต์ออฟซาวอยจะเข้ามาครอบครอง...ไกด์สาวสวิสทิ้งประเด็นไว้ให้เหมือนหนังที่เตรียมจะมีภาคต่อ...ราวกับว่าฉันน่าจะกลับมาหาคำตอบในวันข้างหน้า
แต่ที่น่าสนในกว่านั้น เธอบอกว่ายังมีปราสาทมากมายในประเทศแห่งนี้ที่มีสภาพสมบูรณ์และส่วนใหญ่จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชม รวมถึงบางแห่งเปิดให้เช่าพักมีทั้งแบบเหมายกหลังหรือจัดสรรเป็นโรงแรม บางปราสาทเอามาทำบ้านพักเยาวชนก็ยังมี...เผื่อมาครั้งหน้าจะได้แปลงร่างเป็นเจ้าหญิงอยู่ในปราสาทจริงๆ บ้างก็เข้าท่าดี...
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
"ปราสาทชิลยอง" เปิดรอรับนักท่องเที่ยวทุกวันยกเว้นแค่วันคริสต์มาสและปีใหม่ การเดินทางสู่ชิลยองนั้นมีหลายรสชาติบรรยากาศให้เลือกสรร แต่เส้นทางที่แนะนำคือ "เรือ" จะนั่งมาจากโลซานน์, มองเทรอซ์, เจนีวาหรือเมืองอื่นๆ ที่เลียบทะเลสาบเจนีวาล้วนมีบริการรับส่งถึงปราสาทได้อย่างง่ายดาย สามารถเช็คตารางเวลารับส่งและจุดจอดรับได้ที่ http://www.cgn.ch/Horaires/index.php
ส่วนผู้ที่ไม่ชอบทางน้ำสามารถใช้ทางรถไฟลงที่สถานีมองเทรอซ์ จากนั้นนั่งรถโดยสารประจำทางมีป้ายจอดหน้าปราสาทพอดี รถออกทุก 10-20 นาที หรือจะเดินจากมองเทรอซ์สู่ปราสาทโดยใช้ถนนเล็กๆ เลียบทะเลสาบ ระยะทางแค่ 3 กิโลเมตรค่อยๆ เดินตามสไตล์ชาวสวิสที่นิยมใช้บริการ 2 เท้าก้าวเดินเป็นชีวิตจิตใจก็เป็นทางเลือกที่โรแมนติกไม่น้อย
สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับชิลยองคลิกเข้าไปดูได้ที่ http://www.chillon.ch/en/index.html
ท่อง “สวิตเซอร์แลนด์”(1)...บุกคุกลับใต้ปราสาทชิลยอง
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
นั่งรถไฟสู่ฟากฟ้าที่"สวิตเซอร์แลนด์"แดนฝัน (1)
นั่งรถไฟสู่ฟากฟ้าที่"สวิตเซอร์แลนด์"แดนฝัน (จบ)
...หลังจากสัมผัส "ดันเจียน" คุกลับที่มีร่องรอยแห่งความหนาวเหน็บ มืดมิด และโหดร้ายแห่งยุคสมัยกลาง พร้อมทั้งรำลึกความประทับใจของลอร์ดไบรอนที่ถึงกับจารึกชื่อไว้กับเสาหิน (เมื่อตอนที่แล้ว) ไกด์ของปราสาทชิลยองก็นำฉันขึ้นมาสู่โลกแห่งแสงสว่างด้านบน
ท่ามกลางสิ่งปลูกสร้างที่ล้อมรอบไปด้วยหินแห่งนี้มีห้องใหญ่น้อยถึง 25 ส่วน ทางมูลนิธิปราสาทชิลยอง (Castle of Chillon Foundation) ผู้รับผิดชอบในการจัดแสดง ได้มาร์กจุดให้นักท่องเที่ยวเดินชมตามตำแหน่งต่างๆ ไว้ 32 จุด ถ้าจะเดินชมแบบเมียงๆ มองๆ และถ่ายภาพแบบประหยัดเวลาก็ประมาณ 1 ชั่วโมง แต่มาทั้งทีน่าจะใช้เวลาให้คุ้มค่าตั๋ว (ที่บวกลบคูณหารเป็นเงินไทยแล้วแทบอยากจะเดินชมปราสาททุกซอกทุกมุมเลยทีเดียว)
ค่าเข้าชมปราสาทสำหรับผู้ใหญ่ราคา 10 ฟรังก์ ส่วนเด็กเพียง 5 ฟรังก์ หรือถ้ามาเป็นกลุ่มราคาก็จะถูกลงหน่อย มีไกด์ทัวร์ประจำปราสาทคอยอธิบายเป็นรอบๆ หรือถ้ามาเป็นกลุ่มใหญ่สามารถให้ไกด์อธิบายเฉพาะกลุ่มได้เลย หรือจะเดินเดี่ยวถือแผ่นพับที่เขาจัดไว้ให้ซึ่งแปลออกมากว่า 20 ภาษา (แต่น่าเสียดายไม่มีภาษาไทย) แผ่นพันเล่มน้อยอันนี้จะบอกทิศทางการเดิน และอธิบายจุดต่างๆ อย่างย่นย่อ (เข้าไปเช็คราคาค่าผ่านประตูได้ที่เว็บไซต์ของปราสาทที่ให้ไว้ด้านล่าง)
ส่วนฉันและเพื่อนร่วมทริปขอใช้บริการไกด์นำทาง หากเกิดข้อสงสัยอะไรระหว่างทาง ครั้นจะถามกระดาษที่ถืออยู่ในมือคงพูดจากันไม่รู้เรื่อง
จากคุกใต้ดินไกด์สาวผมทองก็พาฉันมาสู่ "ห้องครัวใหญ่" พื้นที่กว้างขวางสว่างโล่ง เตาผิงขนาดใหญ่ที่พอจะให้ความอบอุ่นได้ทั่วห้อง ตู้เก็บจาน ถ้วยโบราณเรียงรายอยู่รอบๆ ที่น่าสนใจคืออุปกรณ์ทำครัวดูง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่มีประสิทธิภาพ อย่างเช่นที่ย่างเนื้อ นำไปตั้งโดยใช้ส่วนหนึ่งของเตาผิงใหญ่ และใช้กลไกในการดึงเนื้อ พลิกเนื้อ โดยไม่ต้องเอาตัวเอาไปผิงไฟด้วย
ระหว่างที่ไกด์กำลังอธิบายวิธีการทำงานของมัน ฉันก็นึกจิตนาการถึงสาวน้อยใหญ่หลายนางในเสื้อแขนตุ๊กตา กระโปรงสุ่มพองๆ สีขาว พร้อมกับผ้ากันเปื้อนสีแดงกำลังขะมักเขม้นย่างเนื้อ อบขนมปัง จัดโต๊ะ...เพราะที่ฉันยืนอยู่ตรงนี้ เมื่อ 800 ปีก่อนเป็นที่ที่เหล่าสาวใช้แห่งชิลยองกำลังจัดเตรียมอาหารให้เจ้านายอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ถัดจากห้องครัว ถึงคราวของห้องแห่งการสังสรรค์ เจ้าของปราสาทยุคหลังเรียกว่า "ฮอลล์ ออฟ จัสทิส" (Hall of Justice) แต่เคานต์ออฟซาวอยเจ้าของฉายาชาร์ลมาญน้อยยกให้เป็นโถงรับแขก การจัดเลี้ยงและงานรื่นเริง ห้องนี้สว่างไสวกว่าห้องอื่นๆ มีช่องหน้าต่างที่กว้างกว่า เปิดให้แขกผู้มาเยือนชมวิวทะเลสาบเจนีวาที่ล้อมรอบปราสาทไปพร้อมๆ กับการสังสรรค์ ต่างจากปราสาทที่อื่นๆ ซึ่งไม่ค่อยจะทำหน้าต่างกว้างมาก เพราะเกรงว่าศัตรูอาจเล็ดรอดเข้ามาได้
สิ่งที่น่าสนใจในห้องนี้คือ "เสาหินอ่อนดำ" ที่ใช้คำยันเสริมความแข็งแรง ไกด์ของเราอธิบายเพิ่มเติมว่า เสาเหล่านี้สะท้อนถึงทรัพยากรในสมัยก่อน ที่บริเวณแคว้นแห่งนี้มีหินอ่อนดำ ทั้งนำมาทำเป็นเสาและรูปปั้นตามปราสาทต่างๆ รวมทั้งยังเป็นแหล่งส่งออกหินอ่อนดำไปทั่วยุโรป แต่ปัจจุบันไม่มีเหลืออีกแล้ว...อีกตัวอย่างของการใช้ทรัพยากรอย่างรวดเร็วของมนุษย์ ขณะที่ธรรมชาติกว่าจะรังสรรค์ขึ้นมาต้องใช้เวลานานกว่าหลายเท่า
เมื่อปลงกับสิ่งที่เหลือแต่ร่องรอยไปแล้ว ฉันก็เดินตามไกด์เข้าสู่พื้นที่แห่งความศรัทธา "ห้องสวดมนต์" หรือ Chapel ที่มีอยู่ประจำตามปราสาทต่างๆ ในตอนแรกสร้างเคานต์ออฟซาวอยใส่ความนับถือโรมันคาทอลิกสไตล์อิตาเลียนเข้าไปอย่างเต็มที่ ทั้งภาพฝาผนัง การประดับตกแต่งตามส่วนต่างๆ ของห้องสวดมนต์
คราวต้องสูญเสียปราสาทให้แก่ชาวเบิร์น ซึ่งนับถือโปสแตสแตนท์ ทำให้ภาพวาดในห้องสวดมนต์แห่งนี้ถูกเผาและขูดออกทั้งที่ฝาผนัง เพดาน จนแทบไม่เหลือร่องรอยแห่งศตวรรษที่ 12 โชคดีที่มีศิลปะเล็กๆ เป็นรูปสลักตรีเอกานุภาพ (พระบิดา-พระบุตร-พระจิต) ซ่อนไว้ที่หัวเสา จึงทำให้นักประวัติศาสตร์รุ่นหลังสามารถหาเค้าร่างแรกเริ่มของการสร้างห้องนี้ได้ โดยสังเคราะห์ออกมาเป็นภาพฉายขึ้นบนผนังและเพดานไปตามบริเวณที่คาดว่าน่าจะเป็น ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยแบบนี้ ทำให้นักท่องเที่ยวตาดำๆ อย่างฉันไม่ต้องเหนื่อยกับการสร้างจินตนาการที่ไม่คุ้นเคย
แม้ว่าชิลยองจะถือเป็นปราสาทที่สมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง แต่การขุดค้น สืบหาประวัติที่มายังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกสุดก่อนที่เคานต์ออฟซาวอยจะเข้ามาครอบครอง...ไกด์สาวสวิสทิ้งประเด็นไว้ให้เหมือนหนังที่เตรียมจะมีภาคต่อ...ราวกับว่าฉันน่าจะกลับมาหาคำตอบในวันข้างหน้า
แต่ที่น่าสนในกว่านั้น เธอบอกว่ายังมีปราสาทมากมายในประเทศแห่งนี้ที่มีสภาพสมบูรณ์และส่วนใหญ่จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชม รวมถึงบางแห่งเปิดให้เช่าพักมีทั้งแบบเหมายกหลังหรือจัดสรรเป็นโรงแรม บางปราสาทเอามาทำบ้านพักเยาวชนก็ยังมี...เผื่อมาครั้งหน้าจะได้แปลงร่างเป็นเจ้าหญิงอยู่ในปราสาทจริงๆ บ้างก็เข้าท่าดี...
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
"ปราสาทชิลยอง" เปิดรอรับนักท่องเที่ยวทุกวันยกเว้นแค่วันคริสต์มาสและปีใหม่ การเดินทางสู่ชิลยองนั้นมีหลายรสชาติบรรยากาศให้เลือกสรร แต่เส้นทางที่แนะนำคือ "เรือ" จะนั่งมาจากโลซานน์, มองเทรอซ์, เจนีวาหรือเมืองอื่นๆ ที่เลียบทะเลสาบเจนีวาล้วนมีบริการรับส่งถึงปราสาทได้อย่างง่ายดาย สามารถเช็คตารางเวลารับส่งและจุดจอดรับได้ที่ http://www.cgn.ch/Horaires/index.php
ส่วนผู้ที่ไม่ชอบทางน้ำสามารถใช้ทางรถไฟลงที่สถานีมองเทรอซ์ จากนั้นนั่งรถโดยสารประจำทางมีป้ายจอดหน้าปราสาทพอดี รถออกทุก 10-20 นาที หรือจะเดินจากมองเทรอซ์สู่ปราสาทโดยใช้ถนนเล็กๆ เลียบทะเลสาบ ระยะทางแค่ 3 กิโลเมตรค่อยๆ เดินตามสไตล์ชาวสวิสที่นิยมใช้บริการ 2 เท้าก้าวเดินเป็นชีวิตจิตใจก็เป็นทางเลือกที่โรแมนติกไม่น้อย
สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับชิลยองคลิกเข้าไปดูได้ที่ http://www.chillon.ch/en/index.html
ท่อง “สวิตเซอร์แลนด์”(1)...บุกคุกลับใต้ปราสาทชิลยอง
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
นั่งรถไฟสู่ฟากฟ้าที่"สวิตเซอร์แลนด์"แดนฝัน (1)
นั่งรถไฟสู่ฟากฟ้าที่"สวิตเซอร์แลนด์"แดนฝัน (จบ)