โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
เมื่อวันก่อนฉันมีโอกาสได้ไปเดินชมงาน“พิพิธพาเพลิน มหาวิทยาลัยวัดโพธิ์”ที่วัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งเป็นงานที่บอกเล่าถึงความเป็นมา ภูมิปัญญาและเกร็ดความรู้ต่างๆเกี่ยวกับวัดโพธิ์และชุมชนท่าเตียนที่เป็นชุมชนเก่าแก่ที่อยู่คู่กับวัดโพธิ์มาช้านาน
ในงานนี้ฉันได้รู้จักกับคุณลุง“จุล ดุลยวิจิตรเกษม” คนเก่าคนแก่และปราชญ์ท้องถิ่นสำคัญแห่งชุมชนท่าเตียนที่มากไปด้วยความรู้และความทรงจำเกี่ยวกับชุมชนท่าเตียน
และด้วยความติดใจในความเป็นปราชญ์ท้องถิ่นของคุณลุงจุล ในวันรุ่งขึ้นฉันจึงตั้งใจว่าจะกลับไปเดินเที่ยวในท่าเตียนให้หนำใจสักครั้ง โดยนัดหมายให้คุณลุงจุลเป็นไกด์กิตติมศักดิ์พาเที่ยวชมในชุมชนท่าเตียน ซึ่งลุงแกก็ตอบรับด้วยความยินดี
เมื่อเป็นเช่นนี้ในสายของวันถัดมาหลังงานพิพิธพาเพลินฯ ฉันจึงมุ่งหน้าสู่ท่าเตียนในทันที
สัมผัสแรกที่ฉันมาถึงยังชุมชนท่าเตียนก็คือ กลิ่นเหม็นบ้างหอมบ้างของพวกปลาตากแห้งที่ลอยมาเตะจมูกหลังจากที่ฉันเดินเข้ามาถึงยังท่าเตียน ตลอดฝากฝั่งด้านตลาดท่าเตียนตั้งแต่แยกจากถนนมหาราชเข้ามายังท่าเรือท่าเตียนเต็มไปด้วยบรรดาร้านขายปลาแห้งมากมายที่ทำเอาน้ำย่อยในกระเพาะเกิดคึกคักขึ้นมาอย่างกะทันหัน เพราะถ้าปลาแห้งที่ใครๆว่าเหม็นเหล่านี้ เมื่อเอาไปทอดแล้วละก็ อร่อยเด็ดทีเดียว
และที่จุดนัดหมาย คุณลุงจุลออกมายืนยิ้มเผล่รอฉันอยู่แล้ว
ลุงจุล หรือที่ชาวท่าเตียนรู้จักกันในชื่อเล่นว่า "ลุงจุ่น" เป็นเสมือนองค์ความรู้ที่มีลมหายใจของชุมชนท่าเตียน เนื่องจากคุณลุงจุ่นอยู่ที่นี่มาตั้งแต่เด็ก และเคยได้เรียนรู้ศึกษาอยู่ที่วัดโพธิ์จึงทำให้คุณลุงเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวของท่าเตียนได้เป็นอย่างดี
คุณลุงเล่าว่า ที่ท่าเตียนแห่งนี้เป็นชุมชนมาตั้งสมัยอยุธยาแล้วเรียกว่าชุมชนบางกอก ในสมัยรัตนโกสินทร์บริเวณท่าเตียนแห่งนี้เคยเป็นตลาดท้ายสนมหรือตลาดท้ายวังมาก่อน และเป็นตลาดที่มีความคึกคัก มีเรือมาจอดเทียบท่าส่งของและค้าขายกันเต็มท่า ซึ่งนอกจากจะเป็นศูนย์กลางตลาดขนส่งสินค้าทางการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯแล้ว ยังถือได้ว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการคมนาคมทางน้ำอีกด้วย ไม่ว่าใครจะเดินทางไปไหนมาไหน หรือจะไปต่างประเทศก็ตามก็ต้องมาขึ้นลงเรือที่ท่านี้ทั้งสิ้น
และตลอดสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาก็เต็มไปด้วยเรือนแพของชาวบ้านที่มาอาศัยอยู่และค้าขายในแถบนี้ จนกระทั่งมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ทำให้บริเวณท่าเรือ เรือนแพต่างๆ ที่อยู่ริมน้ำ ตลาดท้ายวัง วังของเจ้าขุนมูลนายและบริเวณใกล้เคียง ถูกเผาเรียบเป็นหน้ากลอง จึงสันนิษฐานว่าด้วยเพลิงไหม้ครั้งนี้จึงเป็นมูลเหตุที่มาของชื่อ “ท่าเตียน”
นอกจากนี้ลุงจุลยังเล่าตำนานสนุกๆอีกด้านหนึ่งของท่าเตียนให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยักษ์วัดโพธิ์ที่ดูแลความเรียบร้อยที่วัดโพธิ์ กับยักษ์วัดแจ้งที่ดูแลความเรียบร้อยที่วัดแจ้งหรือวัดอรุณฝั่งตรงข้าม ยังเป็นเพื่อนรักกันมาก วันหนึ่งทางฝ่ายยักษ์วัดโพธิ์ไม่มีเงิน(น่าแปลกที่ยักษ์ก็ต้องใช้เงินเหมือนกัน) จึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดแจ้งพร้อมทั้งนัดวันที่จะนำเงินไปส่งคืน แต่พอถึงวันคืนเงิน ยักษ์วัดโพธิ์กลับเบี้ยวเอาเสียดื้อๆ
ยักษ์วัดแจ้งเมื่อรอแล้วรอเล่าจนทนไม่ไหว จึงตัดสินใจข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาทวงเงินคืนแต่ยักษ์วัดโพธิ์ไม่ยอมให้ ในที่สุดจึงเกิดการทะเลาะถึงขั้นต่อสู้กัน
ด้วยความที่ยักษ์ทั้ง 2 ต่างเป็นยักษ์ที่มีร่างกายมหึมาและมีกำลังมหาศาล เมื่อต่อสู้กันจึงทำให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกยักษ์ทั้งสองเหยียบย่ำจนล้มตายลงหมด หลังจากที่เลิกต่อสู้กันแล้วบริเวณที่ทั้งสองประลองกำลังกันนั้นจึงราบเรียบกลายเป็นสถานที่ที่โล่งเตียนไปหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย เมื่อพระอิศวรได้ยินเรื่องราวที่ต่อสู้กันทำให้บรรดามนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายในบริเวณนั้นเดือดร้อน จึงได้ลงโทษโดยการสาปให้ยักษ์ทั้ง 2 กลายเป็นหิน โดยยักษ์วัดโพธิ์ทำหน้าที่ยืนเฝ้าหน้าพระอุโบสถ ส่วนยักษ์วัดแจ้งทำหน้าที่ เฝ้าวิหารวัดแจ้งเรื่อยมา
ส่วนฤทธิ์จากการสู้รบของยักษ์ทั้งคู่ที่ทำชุมชนละแวกนี้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง ทำให้ชาวบ้านพากันเรียกว่า “ท่าเตียน”เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
นั่นเป็นตำนานสนุกๆที่ฉันเคยรับฟังมาเมื่อสมัยเด็ก ซึ่งหลังจากที่ท่าเตียนมอดไหม้จนโล่งเตียน(หรือถูกยักษ์ทั้ง 2 ตนสู้รบจนราบเรียบตามตำนาน) ชาวบ้านก็ได้ทำการสร้างตึกขึ้นมาใหม่
โดยในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้สร้างตึกแบบยุโรปขึ้นตรงท่าโรงโม่หรือซอยทางเข้าท่าเรือข้ามฟากท่าเตียน ซึ่งจะสร้างเป็นตัวยูไปทางซอยท่าเรือแดง ส่วนตรงกลางตึกรูปตัวยูคือตลาดท่าเตียน ส่วนตึกที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 จะอยู่แถวซอยประตูนกยูง แต่ยังมีตึกที่เก่ากว่านั้นตรงใกล้ๆซอยประตูนกยูง ที่เคยเป็นอู่จอดเรือของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส แถวนั้นจึงมีห้องพักของพวกฝีพาย เป็นอาคารชั้นเดียว 11 ห้อง ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งสถาปัตยกรรมเก่าแก่เหล่านี้ทางชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยกันอนุรักษ์รักษาไว้
นอกจากนี้หลายคนคงไม่รู้ว่าท่าเตียนเป็นแหล่งที่กำเนิดเพลงไทยสำเนียงลาวอันอมตะนั้นก็คือ“เพลงลาวดวงเดือน”หลายคนอ่านดูอาจจะคุ้นแต่นึกไม่ออก งั้นฉันขอร้องเนื้อเพลงท่อนแรกให้ได้ถึงบางอ้อกันก็แล้วกัน..โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง โอ้ดึกแล้วหนอพี่ขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย…
คุณลุงจุลบอกฉันว่า เพลงลาวดวงเดือนเดิมชื่อว่า เพลงลาวดำเนินเกวียน ซึ่งเป็นเพลงที่ทรงพระนิพนธ์โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (หรือพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์) พระราชโอรสองค์ที่ 38 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งแถวท่าเตียนนี้เคยเป็นที่อยู่ของขุนนางและเจ้าขุนมูลนายหลายพระองค์รวมทั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมด้วย ต้นเหตุของการนิพนธ์เพลงนี้เนื่องจากว่าครั้งหนึ่งกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมได้เสด็จไปยังเชียงใหม่ และเกิดชอบพอกับเจ้าหญิงชมชื่น พระธิดาองค์โตของเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่ ทรงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเฒ่าแก่เจรจาสู่ขอ แต่ได้รับการทัดทาน ไม่มีโอกาสที่จะได้สมรสกัน ทำให้พระองค์โศกเศร้ามาก และได้ทรงพระนิพนธ์เพลงนี้ขึ้น เพื่อเป็นการระลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่น แต่ด้วยเนื้อเพลงมีคำว่าดวงเดือนอยู่หลายคำ จึงได้เรียกเพี้ยนกันมาจนกลายเป็นชื่อเพลงลาวดวงเดือน
ลุงจุลเล่าต่อว่า “แต่ก่อนจะมีร้านขายเหล้าเล็กๆแต่สรรพคุณมากล้น และจะมีนายพลเรือทั้งหลายนิยมมานั่งกินเหล้ายาดองแล้วใช้ริมฟุตบาทถนนฝั่งตลาดท่าเตียนเป็นเวทีบรรเลงเพลงไทยกันเป็นประจำ มานั่งตีขิมริมถนน ซึ่งภาพเหล่านั้นหาดูที่ไหนไม่ได้นอกจากที่ท่าเตียน ท่าเตียนจึงเป็นเหมือนจุดศูนย์กลางของวัฒนธรรมในยุคนั้น”
“เมื่อ 50 กว่าปีก่อนสมัยที่ลุงยังเด็กๆ ตลาดท่าเตียนคึกคักมากแทบจะเดินชนกันเลย แถวๆนี้ตรงซอยประตูนกยูงเคยมีร้านทำท็อฟฟี่ทั้งแถวเลย เช้าๆลุงจะตื่นมาดูสาวๆมาเข้าแถวยาวเหยียดเพื่อมารอห่อท็อฟฟี่ บางทีแซงกันแล้วตีกันเองก็มี เราดูแล้วสนุกดี แต่ที่เลิกกันไปเพราะตอนหลังเขาใช้เครื่องจักรทำได้ปริมาณที่เยอะกว่าเร็วกว่า”
เมื่อวันเวลาผ่านพ้นมา ท่าเตียนแหล่งชุมชนที่เคยเป็นศูนย์รวมทั้งวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การคมนาคม ได้ซบเซาลงหลังจากที่เกิดตลาดย่อยขึ้นมาเยอะ และการคมนาคมสะดวกขึ้นคือมีการสร้างถนนทำให้การสัญจรทางน้ำลดบทบาทลง อีกทั้งยังมีกลุ่มทุนจากต่างประเทศเข้ามาสร้างห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ หลังจากตลาดสดย้ายจากท่าเตียนไปอยู่ที่ปากคลองตลาดแล้ว ที่ท่าเตียนก็เหลือแต่ตลาดปลาเค็มกับตลาดโชว์ห่วยหรือร้านค้าของชำที่นับวันจะยิ่งเหลือน้อยลงทุกที
ปัจจุบันสิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ที่ท่าเตียนก็คือความเป็นตลาดปลาแห้ง ซึ่งก็ค่อนข้างที่จะเงียบเหงาผิดกับแต่ก่อน ท่าเรือที่เคยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำก็เหลือเพียงท่าเรือข้ามฟากจากฝั่งท่าเตียนไปยังฝั่งวัดอรุณฯ สิ่งปลูกสร้างสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่หลายรัชกาลก็ยังคงมีอยู่บ้างในชุมชนท่าเตียน ซึ่งหากคนที่ไม่รู้จักเรื่องราวประวัติความเป็นมาของชุมชนนี้ก็คงจะไม่สังเกตและไม่รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของท่าเตียนชุมชนอันเก่าแก่คู่วัดโพธิ์แห่งนี้
เมื่อรู้เรื่องราวของชุมชนท่าเตียนแล้ว ใครอยากจะไปเดินซื้ออาหารแห้งจากทะเลเช่นปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาหมึกแห้งก็สามารถมาจับจ่ายที่ตลาดท่าเตียนได้ ส่วนใครจะมาเดินชมชุนชนที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายแห่งอดีตที่ผสมผสานกับความเป็นปัจจุบันก็สามารถไปสัมผัสกับบรรยากาศเหล่านั้นได้ที่ท่าเตียนได้ หนึ่งในชุมชนเก่าแก่ที่ยังมีลมหายใจ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ท่าเตียน ตั้งอยู่บนถนนมหาราชตรงข้ามกับวัดโพธิ์ และริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีรถประจำทางผ่านหลายสายอาทิ สาย 1,25,32,44,47, 53,ปอ.44 หากไปทางน้ำมีท่าเรือข้ามฟากท่าเตียน-วัดอรุณ และท่าเรือด่วนเจ้าพระยา
นอกจากข้อสันนิษฐานเรื่องที่มาของ"ท่าเตียน"ว่ามาจากการถูกไฟไหม้ครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 4 แล้ว ยังมีข้อสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์บางท่านว่า ท่าเตียนน่าจะมาจากคำว่า"ฮาเตียน" ในภาษาเวียดนาม ซึ่งในอดีตท่าเตียนเคยเป็นชุมชนของชาวเวียดนามมาก่อน
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
เปิดมิติใหม่ มหาวิทยาลัยวัดโพธิ์
กำหนดการ งาน "พิพิธพาเพลิน มหาวิทยาลัยวัดโพธิ์"
เมื่อวันก่อนฉันมีโอกาสได้ไปเดินชมงาน“พิพิธพาเพลิน มหาวิทยาลัยวัดโพธิ์”ที่วัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งเป็นงานที่บอกเล่าถึงความเป็นมา ภูมิปัญญาและเกร็ดความรู้ต่างๆเกี่ยวกับวัดโพธิ์และชุมชนท่าเตียนที่เป็นชุมชนเก่าแก่ที่อยู่คู่กับวัดโพธิ์มาช้านาน
ในงานนี้ฉันได้รู้จักกับคุณลุง“จุล ดุลยวิจิตรเกษม” คนเก่าคนแก่และปราชญ์ท้องถิ่นสำคัญแห่งชุมชนท่าเตียนที่มากไปด้วยความรู้และความทรงจำเกี่ยวกับชุมชนท่าเตียน
และด้วยความติดใจในความเป็นปราชญ์ท้องถิ่นของคุณลุงจุล ในวันรุ่งขึ้นฉันจึงตั้งใจว่าจะกลับไปเดินเที่ยวในท่าเตียนให้หนำใจสักครั้ง โดยนัดหมายให้คุณลุงจุลเป็นไกด์กิตติมศักดิ์พาเที่ยวชมในชุมชนท่าเตียน ซึ่งลุงแกก็ตอบรับด้วยความยินดี
เมื่อเป็นเช่นนี้ในสายของวันถัดมาหลังงานพิพิธพาเพลินฯ ฉันจึงมุ่งหน้าสู่ท่าเตียนในทันที
สัมผัสแรกที่ฉันมาถึงยังชุมชนท่าเตียนก็คือ กลิ่นเหม็นบ้างหอมบ้างของพวกปลาตากแห้งที่ลอยมาเตะจมูกหลังจากที่ฉันเดินเข้ามาถึงยังท่าเตียน ตลอดฝากฝั่งด้านตลาดท่าเตียนตั้งแต่แยกจากถนนมหาราชเข้ามายังท่าเรือท่าเตียนเต็มไปด้วยบรรดาร้านขายปลาแห้งมากมายที่ทำเอาน้ำย่อยในกระเพาะเกิดคึกคักขึ้นมาอย่างกะทันหัน เพราะถ้าปลาแห้งที่ใครๆว่าเหม็นเหล่านี้ เมื่อเอาไปทอดแล้วละก็ อร่อยเด็ดทีเดียว
และที่จุดนัดหมาย คุณลุงจุลออกมายืนยิ้มเผล่รอฉันอยู่แล้ว
ลุงจุล หรือที่ชาวท่าเตียนรู้จักกันในชื่อเล่นว่า "ลุงจุ่น" เป็นเสมือนองค์ความรู้ที่มีลมหายใจของชุมชนท่าเตียน เนื่องจากคุณลุงจุ่นอยู่ที่นี่มาตั้งแต่เด็ก และเคยได้เรียนรู้ศึกษาอยู่ที่วัดโพธิ์จึงทำให้คุณลุงเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวของท่าเตียนได้เป็นอย่างดี
คุณลุงเล่าว่า ที่ท่าเตียนแห่งนี้เป็นชุมชนมาตั้งสมัยอยุธยาแล้วเรียกว่าชุมชนบางกอก ในสมัยรัตนโกสินทร์บริเวณท่าเตียนแห่งนี้เคยเป็นตลาดท้ายสนมหรือตลาดท้ายวังมาก่อน และเป็นตลาดที่มีความคึกคัก มีเรือมาจอดเทียบท่าส่งของและค้าขายกันเต็มท่า ซึ่งนอกจากจะเป็นศูนย์กลางตลาดขนส่งสินค้าทางการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯแล้ว ยังถือได้ว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการคมนาคมทางน้ำอีกด้วย ไม่ว่าใครจะเดินทางไปไหนมาไหน หรือจะไปต่างประเทศก็ตามก็ต้องมาขึ้นลงเรือที่ท่านี้ทั้งสิ้น
และตลอดสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาก็เต็มไปด้วยเรือนแพของชาวบ้านที่มาอาศัยอยู่และค้าขายในแถบนี้ จนกระทั่งมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ทำให้บริเวณท่าเรือ เรือนแพต่างๆ ที่อยู่ริมน้ำ ตลาดท้ายวัง วังของเจ้าขุนมูลนายและบริเวณใกล้เคียง ถูกเผาเรียบเป็นหน้ากลอง จึงสันนิษฐานว่าด้วยเพลิงไหม้ครั้งนี้จึงเป็นมูลเหตุที่มาของชื่อ “ท่าเตียน”
นอกจากนี้ลุงจุลยังเล่าตำนานสนุกๆอีกด้านหนึ่งของท่าเตียนให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยักษ์วัดโพธิ์ที่ดูแลความเรียบร้อยที่วัดโพธิ์ กับยักษ์วัดแจ้งที่ดูแลความเรียบร้อยที่วัดแจ้งหรือวัดอรุณฝั่งตรงข้าม ยังเป็นเพื่อนรักกันมาก วันหนึ่งทางฝ่ายยักษ์วัดโพธิ์ไม่มีเงิน(น่าแปลกที่ยักษ์ก็ต้องใช้เงินเหมือนกัน) จึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดแจ้งพร้อมทั้งนัดวันที่จะนำเงินไปส่งคืน แต่พอถึงวันคืนเงิน ยักษ์วัดโพธิ์กลับเบี้ยวเอาเสียดื้อๆ
ยักษ์วัดแจ้งเมื่อรอแล้วรอเล่าจนทนไม่ไหว จึงตัดสินใจข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาทวงเงินคืนแต่ยักษ์วัดโพธิ์ไม่ยอมให้ ในที่สุดจึงเกิดการทะเลาะถึงขั้นต่อสู้กัน
ด้วยความที่ยักษ์ทั้ง 2 ต่างเป็นยักษ์ที่มีร่างกายมหึมาและมีกำลังมหาศาล เมื่อต่อสู้กันจึงทำให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกยักษ์ทั้งสองเหยียบย่ำจนล้มตายลงหมด หลังจากที่เลิกต่อสู้กันแล้วบริเวณที่ทั้งสองประลองกำลังกันนั้นจึงราบเรียบกลายเป็นสถานที่ที่โล่งเตียนไปหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย เมื่อพระอิศวรได้ยินเรื่องราวที่ต่อสู้กันทำให้บรรดามนุษย์ และสัตว์ทั้งหลายในบริเวณนั้นเดือดร้อน จึงได้ลงโทษโดยการสาปให้ยักษ์ทั้ง 2 กลายเป็นหิน โดยยักษ์วัดโพธิ์ทำหน้าที่ยืนเฝ้าหน้าพระอุโบสถ ส่วนยักษ์วัดแจ้งทำหน้าที่ เฝ้าวิหารวัดแจ้งเรื่อยมา
ส่วนฤทธิ์จากการสู้รบของยักษ์ทั้งคู่ที่ทำชุมชนละแวกนี้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง ทำให้ชาวบ้านพากันเรียกว่า “ท่าเตียน”เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
นั่นเป็นตำนานสนุกๆที่ฉันเคยรับฟังมาเมื่อสมัยเด็ก ซึ่งหลังจากที่ท่าเตียนมอดไหม้จนโล่งเตียน(หรือถูกยักษ์ทั้ง 2 ตนสู้รบจนราบเรียบตามตำนาน) ชาวบ้านก็ได้ทำการสร้างตึกขึ้นมาใหม่
โดยในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้สร้างตึกแบบยุโรปขึ้นตรงท่าโรงโม่หรือซอยทางเข้าท่าเรือข้ามฟากท่าเตียน ซึ่งจะสร้างเป็นตัวยูไปทางซอยท่าเรือแดง ส่วนตรงกลางตึกรูปตัวยูคือตลาดท่าเตียน ส่วนตึกที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 จะอยู่แถวซอยประตูนกยูง แต่ยังมีตึกที่เก่ากว่านั้นตรงใกล้ๆซอยประตูนกยูง ที่เคยเป็นอู่จอดเรือของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส แถวนั้นจึงมีห้องพักของพวกฝีพาย เป็นอาคารชั้นเดียว 11 ห้อง ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งสถาปัตยกรรมเก่าแก่เหล่านี้ทางชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยกันอนุรักษ์รักษาไว้
นอกจากนี้หลายคนคงไม่รู้ว่าท่าเตียนเป็นแหล่งที่กำเนิดเพลงไทยสำเนียงลาวอันอมตะนั้นก็คือ“เพลงลาวดวงเดือน”หลายคนอ่านดูอาจจะคุ้นแต่นึกไม่ออก งั้นฉันขอร้องเนื้อเพลงท่อนแรกให้ได้ถึงบางอ้อกันก็แล้วกัน..โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง โอ้ดึกแล้วหนอพี่ขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย…
คุณลุงจุลบอกฉันว่า เพลงลาวดวงเดือนเดิมชื่อว่า เพลงลาวดำเนินเกวียน ซึ่งเป็นเพลงที่ทรงพระนิพนธ์โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (หรือพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์) พระราชโอรสองค์ที่ 38 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งแถวท่าเตียนนี้เคยเป็นที่อยู่ของขุนนางและเจ้าขุนมูลนายหลายพระองค์รวมทั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมด้วย ต้นเหตุของการนิพนธ์เพลงนี้เนื่องจากว่าครั้งหนึ่งกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมได้เสด็จไปยังเชียงใหม่ และเกิดชอบพอกับเจ้าหญิงชมชื่น พระธิดาองค์โตของเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่ ทรงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเฒ่าแก่เจรจาสู่ขอ แต่ได้รับการทัดทาน ไม่มีโอกาสที่จะได้สมรสกัน ทำให้พระองค์โศกเศร้ามาก และได้ทรงพระนิพนธ์เพลงนี้ขึ้น เพื่อเป็นการระลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่น แต่ด้วยเนื้อเพลงมีคำว่าดวงเดือนอยู่หลายคำ จึงได้เรียกเพี้ยนกันมาจนกลายเป็นชื่อเพลงลาวดวงเดือน
ลุงจุลเล่าต่อว่า “แต่ก่อนจะมีร้านขายเหล้าเล็กๆแต่สรรพคุณมากล้น และจะมีนายพลเรือทั้งหลายนิยมมานั่งกินเหล้ายาดองแล้วใช้ริมฟุตบาทถนนฝั่งตลาดท่าเตียนเป็นเวทีบรรเลงเพลงไทยกันเป็นประจำ มานั่งตีขิมริมถนน ซึ่งภาพเหล่านั้นหาดูที่ไหนไม่ได้นอกจากที่ท่าเตียน ท่าเตียนจึงเป็นเหมือนจุดศูนย์กลางของวัฒนธรรมในยุคนั้น”
“เมื่อ 50 กว่าปีก่อนสมัยที่ลุงยังเด็กๆ ตลาดท่าเตียนคึกคักมากแทบจะเดินชนกันเลย แถวๆนี้ตรงซอยประตูนกยูงเคยมีร้านทำท็อฟฟี่ทั้งแถวเลย เช้าๆลุงจะตื่นมาดูสาวๆมาเข้าแถวยาวเหยียดเพื่อมารอห่อท็อฟฟี่ บางทีแซงกันแล้วตีกันเองก็มี เราดูแล้วสนุกดี แต่ที่เลิกกันไปเพราะตอนหลังเขาใช้เครื่องจักรทำได้ปริมาณที่เยอะกว่าเร็วกว่า”
เมื่อวันเวลาผ่านพ้นมา ท่าเตียนแหล่งชุมชนที่เคยเป็นศูนย์รวมทั้งวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การคมนาคม ได้ซบเซาลงหลังจากที่เกิดตลาดย่อยขึ้นมาเยอะ และการคมนาคมสะดวกขึ้นคือมีการสร้างถนนทำให้การสัญจรทางน้ำลดบทบาทลง อีกทั้งยังมีกลุ่มทุนจากต่างประเทศเข้ามาสร้างห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ หลังจากตลาดสดย้ายจากท่าเตียนไปอยู่ที่ปากคลองตลาดแล้ว ที่ท่าเตียนก็เหลือแต่ตลาดปลาเค็มกับตลาดโชว์ห่วยหรือร้านค้าของชำที่นับวันจะยิ่งเหลือน้อยลงทุกที
ปัจจุบันสิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ที่ท่าเตียนก็คือความเป็นตลาดปลาแห้ง ซึ่งก็ค่อนข้างที่จะเงียบเหงาผิดกับแต่ก่อน ท่าเรือที่เคยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำก็เหลือเพียงท่าเรือข้ามฟากจากฝั่งท่าเตียนไปยังฝั่งวัดอรุณฯ สิ่งปลูกสร้างสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่หลายรัชกาลก็ยังคงมีอยู่บ้างในชุมชนท่าเตียน ซึ่งหากคนที่ไม่รู้จักเรื่องราวประวัติความเป็นมาของชุมชนนี้ก็คงจะไม่สังเกตและไม่รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของท่าเตียนชุมชนอันเก่าแก่คู่วัดโพธิ์แห่งนี้
เมื่อรู้เรื่องราวของชุมชนท่าเตียนแล้ว ใครอยากจะไปเดินซื้ออาหารแห้งจากทะเลเช่นปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาหมึกแห้งก็สามารถมาจับจ่ายที่ตลาดท่าเตียนได้ ส่วนใครจะมาเดินชมชุนชนที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายแห่งอดีตที่ผสมผสานกับความเป็นปัจจุบันก็สามารถไปสัมผัสกับบรรยากาศเหล่านั้นได้ที่ท่าเตียนได้ หนึ่งในชุมชนเก่าแก่ที่ยังมีลมหายใจ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ท่าเตียน ตั้งอยู่บนถนนมหาราชตรงข้ามกับวัดโพธิ์ และริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีรถประจำทางผ่านหลายสายอาทิ สาย 1,25,32,44,47, 53,ปอ.44 หากไปทางน้ำมีท่าเรือข้ามฟากท่าเตียน-วัดอรุณ และท่าเรือด่วนเจ้าพระยา
นอกจากข้อสันนิษฐานเรื่องที่มาของ"ท่าเตียน"ว่ามาจากการถูกไฟไหม้ครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 4 แล้ว ยังมีข้อสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์บางท่านว่า ท่าเตียนน่าจะมาจากคำว่า"ฮาเตียน" ในภาษาเวียดนาม ซึ่งในอดีตท่าเตียนเคยเป็นชุมชนของชาวเวียดนามมาก่อน
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
เปิดมิติใหม่ มหาวิทยาลัยวัดโพธิ์
กำหนดการ งาน "พิพิธพาเพลิน มหาวิทยาลัยวัดโพธิ์"