โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

คราวที่แล้วเดินชมสิ่งต่างๆ ไปจนรอบวัดพระแก้วแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้แวะเวียนมาชมสิ่งสำคัญอีกสองอย่างที่ฉันติดค้างเอาไว้ ก็คือปราสาทพระเทพบิดรและอุโบสถวัดพระแก้วนั่นเอง
ไม่ต้องพูดพล่ามทำเพลงกันมาก เอาเป็นว่าเรามุ่งหน้าไปที่ปราสาทพระเทพบิดรกันก่อนดีกว่า ปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกับพระมณฑปและพระศรีรัตนเจดีย์ แต่ก่อนเรียกกันว่าพระพุทธปรางค์ปราสาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น โดยพระประสงค์ของพระองค์นั้นตั้งใจจะให้เป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต แต่พระองค์เสด็จสวรรคตไปเสียก่อนที่จะสร้างเสร็จ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับช่วงการก่อสร้างต่อ แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระองค์ทรงเห็นว่าพระพุทธปรางค์ปราสาทนี้มีขนาดเล็กเกินไป จะประกอบพระราชพิธีอะไรก็ไม่สะดวก จึงไม่ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ที่นี่

แต่ในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เกิดไฟไหม้ขึ้นทำให้เครื่องบนหลังคาพระพุทธปรางค์ปราสาทเสียหาย จึงได้มีการบูรณะขึ้นใหม่จนเสร็จสิ้นลงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์รัชกาลก่อนๆ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ และทรงเรียกชื่อใหม่ว่า “ปราสาทพระเทพบิดร”
จนมาถึงปัจจุบันนี้ภายในปราสาทพระเทพบิดรก็มีพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริย์ทั้งหมดรวม 8 พระองค์ด้วยกัน ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-8 แต่ใครที่อยากจะเข้าไปสักการะก็คงต้องรอโอกาสพิเศษกันหน่อย เพราะปราสาทพระเทพบิดรจะเปิดเฉพาะในวันสำคัญๆ เท่านั้น เช่น วันจักรี วันฉัตรมงคล เป็นต้น ฉันเองก็เพิ่งมีโอกาสได้เข้าไปกราบไหว้สักการะเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันฉลองในหลวงทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ที่ผ่านมานี้เอง
ทีนี้มาชมด้านนอกกันบ้าง คนที่เคยไปชมก็คงจะเห็นความอลังการของปราสาทหลังนี้กันแล้ว แต่คนที่ยังไม่เคยเห็น ก็ต้องอธิบายหน่อยว่า ปราสาทพระเทพบิดรนี้เป็นอาคารจตุรมุขทรงไทย ผนังปราสาทก่ออิฐฉาบปูนประดับกระเบื้องเคลือบ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มยอดทรงมงกุฎ ส่วนหลังคาก็เป็นแบบจตุรมุข มียอดเป็นปรางค์ประดับกระเบื้องเคลือบสีเขียวอ่อน และที่น่าสนใจและเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวก็คือรูปหล่อของสัตว์หิมพานต์ที่ตั้งอยู่รอบปราสาทอีกด้วย

ด้านหน้าของปราสาทพระเทพบิดรเป็นมุมถ่ายรูปยอดนิยมอีกมุมหนึ่ง เพราะตรงมุมนี้มีเจดีย์ทองสององค์ตั้งอยู่ด้านข้าง ทำให้ปราสาทดูสวยสง่ายิ่งขึ้นไปอีก เจดีย์ทองสององค์นี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยพระองค์ทรงสร้างอุทิศถวายแด่พระราชบิดาและพระราชมารดา ลักษณะของเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงเครื่องย่อมุมไม้สิบสอง หุ้มด้วยแผ่นทองจังโก้ และลงรักปิดทองทับอีกชั้นหนึ่ง บนฐานแปดเหลี่ยมมียักษ์และลิงปูนปั้นประดับกระจกสีกำลังแบกเจดีย์อยู่ด้วยท่าทางที่ดูเหมือนจะหนักไม่ใช่เล่น
จริงๆ แล้วเมื่อก่อนนี้เจดีย์ทองไม่ได้ตั้งอยู่ข้างปราสาทพระเทพบิดรอย่างเหมาะเจาะอย่างนี้หรอก เพราะสร้างต่างยุคต่างสมัยกัน แต่เดิมนั้นเจดีย์ทองสร้างอยู่ด้านตะวันออกของหอมณเฑียรธรรมหลังเก่า แต่หลังจากที่รัชกาลที่ 4 จะสร้างพระพุทธปรางค์ปราสาทตรงพื้นที่นั้นจึงได้ย้ายเจดีย์ทองมาไว้ด้านหน้า จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้เคลื่อนย้ายอีกครั้งมายังจุดตรงที่เห็นอย่างในปัจจุบัน
เอาล่ะ... เดินชมปราสาทจนรอบแล้วคราวนี้ก็ได้เวลาเข้ามากราบพระแก้วมรกตในพระอุโบสถกันเสียที จริงๆ แล้วถ้าจะพูดถึงเรื่องตำนานและประวัติของพระแก้วมรกตเพียงอย่างเดียวก็คงจะต้องว่ากันยาวเป็นอีกเรื่องหนึ่งได้เลยทีเดียว แต่ฉันจะขอตัดตอนสั้นๆ เฉพาะที่พระแก้วมรกตเข้ามาสู่กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2321 ซึ่งก่อนหน้านั้นพระแก้วมรกตยังประดิษฐานอยู่ที่กรุงเวียงจันทน์
ในเวลาเดียวกันตรงกับสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์ได้ส่งกองทัพซึ่งมีสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1 ในขณะนั้น) เป็นแม่ทัพยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ หลังจากที่ตีเมืองได้และจะยกทัพกลับก็ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางจากเวียงจันทน์มายังกรุงธนบุรีด้วย แต่ในภายหลังเราก็ได้คืนพระบางให้แก่ลาวไป

ในครั้งนั้นได้มีการสมโภชใหญ่ มีมหรสพฉลองสนุกสนานไปเจ็ดวันเจ็ดคืน และจากนั้นก็ได้ประดิษฐานพระแก้วไว้ที่วัดอรุณราชวรารามฯ นานถึง 5 ปี และเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงย้ายราชธานีมายังฝั่งกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ก็ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้วเมื่อ พ.ศ.2327 นับมาจนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา 222 ปีพอดี
และนอกจากจะอัญเชิญพระแก้วมาประดิษฐานที่นี่แล้ว รัชกาลที่ 1 ก็ยังได้สร้างเครื่องทรงของพระแก้วมรกต ซึ่งเป็นเครื่องทรงฤดูร้อนและฤดูฝนถวาย และมาถึงในสมัยของรัชกาลที่ 3 พระองค์ก็ได้สร้างเครื่องทรงสำหรับฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่งเป็นอันครบ 3 ฤดู ในขณะนี้พระแก้วก็กำลังทรงเครื่องฤดูฝนอยู่ จะเปลี่ยนเป็นเครื่องทรงฤดูหนาวอีกทีก็ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นงานพระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์หรือผู้แทนพระองค์จะเสด็จมาทำพิธีเอง
ทีนี้มาดูกันในเรื่องของพระอุโบสถกันบ้าง รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างพระอุโบสถนี้ขึ้นเป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว รูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านในประดิษฐานพระแก้วมรกตอย่างที่กล่าวไปแล้ว นอกจากนั้นก็ยังมีพระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ เช่นพระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามแบบพระราชนิยม คือไม่มีเกตุมาลา เป็นต้น และก็ยังมีพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 พระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น รวมทั้งพระชัยหลังช้าง ที่ใช้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างยามออกรบอีกด้วย

นอกจากพระพุทธรูปเหล่านี้แล้ว ด้านในพระอุโบสถก็ยังมีจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม ด้านตรงข้ามพระประธานเป็นภาพมารผจญ ด้านหลังพระประธานเป็นภาพไตรภูมิ ระหว่างช่องหน้าต่างเป็นเรื่องพุทธชาดก เหนือขอบหน้าต่างเป็นเรื่องปฐมสมโพธิ แต่การชมจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดพระแก้วนี้อาจจะต้องชมจากระยะไกลสักหน่อย เพราะผู้คนที่มากราบไหว้พระแก้วอย่างมากมายทำให้เราไม่สามารถเดินชมนู่นชมนี่ได้ตามใจ
แต่หากอยากชมจิตรกรรมฝาผนังอย่างใกล้ชิด ก็สามารถเดินลงมาชมได้ที่พระระเบียงรอบๆ พระอุโบสถ ซึ่งเรื่องราวบนฝาผนังก็เป็นเรื่องราวที่เรารู้จักกันดีคือเรื่องรามเกียรติ์ ที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ช่างเขียนเขียนภาพเล่าเรื่องตามพระราชนิพนธ์ ซึ่งภาพเหล่านี้ก็ได้มีซ่อมและเขียนใหม่หลายครั้งด้วยกัน
แล้วถ้าอยากจะดูภาพเขียนรอบพระระเบียงนี้จะเริ่มดูจากตรงไหนดีล่ะ... คำตอบก็คือ จุดเริ่มเรื่องรามเกียรติบนฝาผนังนั้นอยู่ตรงห้องที่ 1 ซึ่งตรงกับประตูของวิหารยอด หากจะเดินชมตั้งแต่ต้นจนจบก็ต้องเดินวนขวาถึงจะดูได้รู้เรื่อง อย่าเดินวนซ้ายสะเปะสะปะเหมือนอย่างฉันตอนแรกล่ะ

เดินจนรอบพระระเบียงแล้ว วนมาที่หลังอุโบสถสักนิด มาดูหอพระราชพงศานุสร และหอพระราชกรมานุสรกันเสียหน่อย หอทั้งสองนี้เป็นหอพระ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ รวม 42 องค์ จารึกพระนามอุทิศถวายแด่พระมหากษัตริย์ทั้งสมัยอยุธยา ธนบุรี 34 พระองค์ และรัตนโกสินทร์อีก 8 พระองค์
ทีนี้เราก็ได้ชมวัดพระแก้วกันจนทั่วแล้วละ แต่เอ๊ะ... ดูทั่วจริงๆ แล้วแน่หรือ ฉันเองก็ชักไม่แน่ใจ ถ้าอย่างนั้นเอาไว้คราวหน้า ฉันขอกลับไปที่วัดพระแก้วอีกรอบ คราวนี้ก็ไปเก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยที่ฉันไม่ได้พูดถึงไว้ในสองตอนที่แล้ว เอาให้รู้จักวัดพระแก้วกันถ้วนทั่วทุกซอกทุกมุมกันเลยดีกว่า ...
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
คลิกอ่านรายละเอียดและการเดินทางไปยัง "วัดพระศรีรัตนศาสดาราม" ได้ที่นี่
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
วัดพระแก้ว : สุดยอดแห่งงานศิลปกรรม
ชมสิ่งละอันพันละน้อยใน"วัดพระแก้ว"
คราวที่แล้วเดินชมสิ่งต่างๆ ไปจนรอบวัดพระแก้วแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้แวะเวียนมาชมสิ่งสำคัญอีกสองอย่างที่ฉันติดค้างเอาไว้ ก็คือปราสาทพระเทพบิดรและอุโบสถวัดพระแก้วนั่นเอง
ไม่ต้องพูดพล่ามทำเพลงกันมาก เอาเป็นว่าเรามุ่งหน้าไปที่ปราสาทพระเทพบิดรกันก่อนดีกว่า ปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกับพระมณฑปและพระศรีรัตนเจดีย์ แต่ก่อนเรียกกันว่าพระพุทธปรางค์ปราสาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น โดยพระประสงค์ของพระองค์นั้นตั้งใจจะให้เป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต แต่พระองค์เสด็จสวรรคตไปเสียก่อนที่จะสร้างเสร็จ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับช่วงการก่อสร้างต่อ แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระองค์ทรงเห็นว่าพระพุทธปรางค์ปราสาทนี้มีขนาดเล็กเกินไป จะประกอบพระราชพิธีอะไรก็ไม่สะดวก จึงไม่ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ที่นี่
แต่ในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เกิดไฟไหม้ขึ้นทำให้เครื่องบนหลังคาพระพุทธปรางค์ปราสาทเสียหาย จึงได้มีการบูรณะขึ้นใหม่จนเสร็จสิ้นลงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์รัชกาลก่อนๆ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ และทรงเรียกชื่อใหม่ว่า “ปราสาทพระเทพบิดร”
จนมาถึงปัจจุบันนี้ภายในปราสาทพระเทพบิดรก็มีพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริย์ทั้งหมดรวม 8 พระองค์ด้วยกัน ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-8 แต่ใครที่อยากจะเข้าไปสักการะก็คงต้องรอโอกาสพิเศษกันหน่อย เพราะปราสาทพระเทพบิดรจะเปิดเฉพาะในวันสำคัญๆ เท่านั้น เช่น วันจักรี วันฉัตรมงคล เป็นต้น ฉันเองก็เพิ่งมีโอกาสได้เข้าไปกราบไหว้สักการะเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันฉลองในหลวงทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ที่ผ่านมานี้เอง
ทีนี้มาชมด้านนอกกันบ้าง คนที่เคยไปชมก็คงจะเห็นความอลังการของปราสาทหลังนี้กันแล้ว แต่คนที่ยังไม่เคยเห็น ก็ต้องอธิบายหน่อยว่า ปราสาทพระเทพบิดรนี้เป็นอาคารจตุรมุขทรงไทย ผนังปราสาทก่ออิฐฉาบปูนประดับกระเบื้องเคลือบ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มยอดทรงมงกุฎ ส่วนหลังคาก็เป็นแบบจตุรมุข มียอดเป็นปรางค์ประดับกระเบื้องเคลือบสีเขียวอ่อน และที่น่าสนใจและเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวก็คือรูปหล่อของสัตว์หิมพานต์ที่ตั้งอยู่รอบปราสาทอีกด้วย
ด้านหน้าของปราสาทพระเทพบิดรเป็นมุมถ่ายรูปยอดนิยมอีกมุมหนึ่ง เพราะตรงมุมนี้มีเจดีย์ทองสององค์ตั้งอยู่ด้านข้าง ทำให้ปราสาทดูสวยสง่ายิ่งขึ้นไปอีก เจดีย์ทองสององค์นี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยพระองค์ทรงสร้างอุทิศถวายแด่พระราชบิดาและพระราชมารดา ลักษณะของเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงเครื่องย่อมุมไม้สิบสอง หุ้มด้วยแผ่นทองจังโก้ และลงรักปิดทองทับอีกชั้นหนึ่ง บนฐานแปดเหลี่ยมมียักษ์และลิงปูนปั้นประดับกระจกสีกำลังแบกเจดีย์อยู่ด้วยท่าทางที่ดูเหมือนจะหนักไม่ใช่เล่น
จริงๆ แล้วเมื่อก่อนนี้เจดีย์ทองไม่ได้ตั้งอยู่ข้างปราสาทพระเทพบิดรอย่างเหมาะเจาะอย่างนี้หรอก เพราะสร้างต่างยุคต่างสมัยกัน แต่เดิมนั้นเจดีย์ทองสร้างอยู่ด้านตะวันออกของหอมณเฑียรธรรมหลังเก่า แต่หลังจากที่รัชกาลที่ 4 จะสร้างพระพุทธปรางค์ปราสาทตรงพื้นที่นั้นจึงได้ย้ายเจดีย์ทองมาไว้ด้านหน้า จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้เคลื่อนย้ายอีกครั้งมายังจุดตรงที่เห็นอย่างในปัจจุบัน
เอาล่ะ... เดินชมปราสาทจนรอบแล้วคราวนี้ก็ได้เวลาเข้ามากราบพระแก้วมรกตในพระอุโบสถกันเสียที จริงๆ แล้วถ้าจะพูดถึงเรื่องตำนานและประวัติของพระแก้วมรกตเพียงอย่างเดียวก็คงจะต้องว่ากันยาวเป็นอีกเรื่องหนึ่งได้เลยทีเดียว แต่ฉันจะขอตัดตอนสั้นๆ เฉพาะที่พระแก้วมรกตเข้ามาสู่กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2321 ซึ่งก่อนหน้านั้นพระแก้วมรกตยังประดิษฐานอยู่ที่กรุงเวียงจันทน์
ในเวลาเดียวกันตรงกับสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์ได้ส่งกองทัพซึ่งมีสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1 ในขณะนั้น) เป็นแม่ทัพยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ หลังจากที่ตีเมืองได้และจะยกทัพกลับก็ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางจากเวียงจันทน์มายังกรุงธนบุรีด้วย แต่ในภายหลังเราก็ได้คืนพระบางให้แก่ลาวไป
ในครั้งนั้นได้มีการสมโภชใหญ่ มีมหรสพฉลองสนุกสนานไปเจ็ดวันเจ็ดคืน และจากนั้นก็ได้ประดิษฐานพระแก้วไว้ที่วัดอรุณราชวรารามฯ นานถึง 5 ปี และเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงย้ายราชธานีมายังฝั่งกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ก็ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้วเมื่อ พ.ศ.2327 นับมาจนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา 222 ปีพอดี
และนอกจากจะอัญเชิญพระแก้วมาประดิษฐานที่นี่แล้ว รัชกาลที่ 1 ก็ยังได้สร้างเครื่องทรงของพระแก้วมรกต ซึ่งเป็นเครื่องทรงฤดูร้อนและฤดูฝนถวาย และมาถึงในสมัยของรัชกาลที่ 3 พระองค์ก็ได้สร้างเครื่องทรงสำหรับฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่งเป็นอันครบ 3 ฤดู ในขณะนี้พระแก้วก็กำลังทรงเครื่องฤดูฝนอยู่ จะเปลี่ยนเป็นเครื่องทรงฤดูหนาวอีกทีก็ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นงานพระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์หรือผู้แทนพระองค์จะเสด็จมาทำพิธีเอง
ทีนี้มาดูกันในเรื่องของพระอุโบสถกันบ้าง รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างพระอุโบสถนี้ขึ้นเป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว รูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านในประดิษฐานพระแก้วมรกตอย่างที่กล่าวไปแล้ว นอกจากนั้นก็ยังมีพระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ เช่นพระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามแบบพระราชนิยม คือไม่มีเกตุมาลา เป็นต้น และก็ยังมีพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 พระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น รวมทั้งพระชัยหลังช้าง ที่ใช้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างยามออกรบอีกด้วย
นอกจากพระพุทธรูปเหล่านี้แล้ว ด้านในพระอุโบสถก็ยังมีจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม ด้านตรงข้ามพระประธานเป็นภาพมารผจญ ด้านหลังพระประธานเป็นภาพไตรภูมิ ระหว่างช่องหน้าต่างเป็นเรื่องพุทธชาดก เหนือขอบหน้าต่างเป็นเรื่องปฐมสมโพธิ แต่การชมจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดพระแก้วนี้อาจจะต้องชมจากระยะไกลสักหน่อย เพราะผู้คนที่มากราบไหว้พระแก้วอย่างมากมายทำให้เราไม่สามารถเดินชมนู่นชมนี่ได้ตามใจ
แต่หากอยากชมจิตรกรรมฝาผนังอย่างใกล้ชิด ก็สามารถเดินลงมาชมได้ที่พระระเบียงรอบๆ พระอุโบสถ ซึ่งเรื่องราวบนฝาผนังก็เป็นเรื่องราวที่เรารู้จักกันดีคือเรื่องรามเกียรติ์ ที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ช่างเขียนเขียนภาพเล่าเรื่องตามพระราชนิพนธ์ ซึ่งภาพเหล่านี้ก็ได้มีซ่อมและเขียนใหม่หลายครั้งด้วยกัน
แล้วถ้าอยากจะดูภาพเขียนรอบพระระเบียงนี้จะเริ่มดูจากตรงไหนดีล่ะ... คำตอบก็คือ จุดเริ่มเรื่องรามเกียรติบนฝาผนังนั้นอยู่ตรงห้องที่ 1 ซึ่งตรงกับประตูของวิหารยอด หากจะเดินชมตั้งแต่ต้นจนจบก็ต้องเดินวนขวาถึงจะดูได้รู้เรื่อง อย่าเดินวนซ้ายสะเปะสะปะเหมือนอย่างฉันตอนแรกล่ะ
เดินจนรอบพระระเบียงแล้ว วนมาที่หลังอุโบสถสักนิด มาดูหอพระราชพงศานุสร และหอพระราชกรมานุสรกันเสียหน่อย หอทั้งสองนี้เป็นหอพระ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ รวม 42 องค์ จารึกพระนามอุทิศถวายแด่พระมหากษัตริย์ทั้งสมัยอยุธยา ธนบุรี 34 พระองค์ และรัตนโกสินทร์อีก 8 พระองค์
ทีนี้เราก็ได้ชมวัดพระแก้วกันจนทั่วแล้วละ แต่เอ๊ะ... ดูทั่วจริงๆ แล้วแน่หรือ ฉันเองก็ชักไม่แน่ใจ ถ้าอย่างนั้นเอาไว้คราวหน้า ฉันขอกลับไปที่วัดพระแก้วอีกรอบ คราวนี้ก็ไปเก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยที่ฉันไม่ได้พูดถึงไว้ในสองตอนที่แล้ว เอาให้รู้จักวัดพระแก้วกันถ้วนทั่วทุกซอกทุกมุมกันเลยดีกว่า ...
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
คลิกอ่านรายละเอียดและการเดินทางไปยัง "วัดพระศรีรัตนศาสดาราม" ได้ที่นี่
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
วัดพระแก้ว : สุดยอดแห่งงานศิลปกรรม
ชมสิ่งละอันพันละน้อยใน"วัดพระแก้ว"