โดย : ปิ่น บุตรี

หากพูดถึงประเพณีแห่เทียนพรรษาแล้ว ในเมืองไทยคงไม่มีที่ไหนโด่งดังและยิ่งใหญ่เท่าที่เมืองดอกบัวงามนาม “อุบลราชธานี”
ยิ่งในปีนี้เป็นปีมหามงคลฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว งานแห่เทียนเมืองอุบลฯก็ยิ่งมีความพิเศษและน่าตื่นตาตื่นใจมากขึ้น
“60 ปี พระบารมีแผ่ไพศาล งามตระการเทียนพรรษา เทิดราชัน” คือชื่องานแห่เทียนเมืองอุบลฯในปีนี้ ที่ทางททท.และจังหวัดอุบลฯร่วมกันจัดขึ้น
อนึ่งจากการได้ไปร่วมชม และร่วมสัมผัสกับบรรยากาศของงานปีนี้มา ผมค้นพบว่างานแห่เทียนพรรษาของเมืองอุบลฯนี่มันช่างเต็มไปด้วยอารมณ์ที่หลากหลายเสียกระไรปานนั้น

เซ็ง...
ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นประเพณีปฏิบัติไปแล้ว สำหรับงานประเพณีใหญ่ๆตามต่างจังหวัดที่ขั้นตอนการเปิดงานค่อนข้างยืดเยื้อ น่าเบื่อ ซึ่งงานแห่เทียนอุบลฯปีนี้ก็ไม่ต่างกันเท่าใดนัก เพราะประธานในพิธีส่วนใหญ่ไม่รู้เป็นอะไรมักจะเดินทางมาที่งานสายกว่ากำหนดการ แล้วปล่อยให้คนมายืนชะเง้อคอมองตลอดว่าเมื่อไหร่ประธานจะมาจะได้เปิดงาน และเริ่มงานกันเสียที จากนั้นก็มีการกล่าวรายงานกันอย่างยืดเยื้อ ก่อนที่ประธานจะกล่าวเปิดงานอย่างยืดเยื้ออีกเช่นกัน (ดูๆแล้วพิธีเปิดงานรูปแบบนี้มันค่อนข้างออกไปในแนวพิธีเปิดงานการจัดแข่งขันมวยโลก(หาเสียง)ในบ้านเรายังยังงั้น)
“เฮ้อ...เมื่อไหร่งานจะเริ่มเสียที(วะ) แดดเริ่มร้อนขึ้นเรื่อยๆแล้ว”
นี่คือเสียงบ่น(อุบ)ที่ผมได้ยินจากปากของนักท่องเที่ยวและช่างภาพบางคนที่เดินทางไปแต่เช้าเพื่อรอชมงาน โดยพวกเขาบอกผมว่าไม่ได้ต้องการมาดูพิธีเปิดงาน แต่ต้องการมาดูขบวนแห่เทียนอันยิ่งใหญ่สวยงามของอุบลฯมากกว่า

ร้อน...
แม้ว่าอากาศยามเช้าก่อนเปิดงานแห่เทียนจะขมุกขมัวดูเป็นใจไร้เงาแดด แต่ว่าพอเริ่มสายแดดเริ่มมา ทีมงานต่างๆที่รอร่วมขบวนแห่เริ่มแสดงอาการร้อนและเมื่อยให้เห็นอย่างชัดเจน นางงามคนหนึ่งต้องขอตัวเข้าไปพักระหว่างยืนรอพิธีเปิดเพราะเธอไม่สบายมาก่อน
ส่วนที่ผมรู้สึกเห็นใจที่สุดก็เห็นจะเป็นบรรดาเหล่าหนูน้อยนางรำ หรือนักแสดงต่างๆที่ต้องตื่นกันแต่เช้ามืดเดินทางมาจากโรงเรียนต่างอำเภอ แล้วต้องมาแต่งหน้าแต่งตัวยืนกลางแดดเปรี้ยงๆรอร่วมขบวนงาน ซึ่งดูแล้วน่าเห็นใจไม่น้อย แต่ว่านี่ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวอุบลฯที่หนึ่งปีมีครั้ง เพราะฉะนั้นคนส่วนใหญ่จึงยินดีร่วมแรงร่วมใจกันอย่างเต็มที่
เกร็ง...
หลังการเปิดงานผ่านพ้นไป(จุดเปิดขบวนอยู่บริเวณวัดศรีอุบลรัตนาราม)ขบวนแห่ต่างพากันเคลื่อนขบวนไปตามถนนเพื่อผ่านยังบริเวณถนนพิธีการจุดชมงานของประธานในพิธีและแขกวีไอพี รวมถึงยังเป็นจุดถ่ายทอดสด)
ช่างภาพหลายๆคนจะมารอดักถ่ายรูปกันในบริเวณนี้ เนื่องจากเป็นจุดถ่ายรูปที่มีองค์ประกอบลงตัวและมีเอกลักษณ์ของงานที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ก็ดูเหมือนว่าขบวนแห่ต่างๆเมื่อเคลื่อนขบวนผ่านจุดประธานนั่งและจุดแขกวีไอพีจะค่อนข้างเกร็ง ยิ่งบางขบวนต้องถูกจัดแถว แนว ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมมาหยุดรอแสดง ก็ยิ่งทำให้นักแสดงหลายๆคนออกอาการเกร็งมากขึ้น
ครุ่นคิด...
เมื่อขบวนแห่เปิดงานเฉลิมพระเกียรติในหลวงผ่านพ้น ต่อจากนั้นก็เป็นเริ่มเป็นขบวนแห่เทียนพรรษาที่ทุกคนรอคอย สำหรับช่วงแรกถือเป็นขบวนต้นเทียนที่พิเศษกว่าทุกๆปี เพราะปีนี้มีศิลปินจาก 9 ชาติ(ไทย ฝรั่งเศส อินเดีย อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เม็กซิโก โปรตุเกส เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา) มาร่วมสร้างสีสันของขบวนต้นเทียนในรูปแบบของงานศิลปะร่วมสมัยให้ชมกัน
สำหรับประติมากรรมเทียนพวกนี้ดูแล้วมันช่างแตกต่างกับงานต้นเทียนแบบไทยๆอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทางผู้จัดได้ให้เหตุผลว่า นี่เป็นการก้าวไปอีกขั้นหนึ่งของงานแห่เทียนเมืองอุบลฯ ที่บางทีชาวบ้าน นักท่องเที่ยว และคนอย่างเราๆท่านๆอาจจะดูไม่เข้าใจ แต่สำหรับศิลปินแล้วนี่คืองานศิลปะของเขาล่ะ...

ทึ่ง...
หันมาดูขบวนแห่ต้นเทียนแบบไทยๆกันบ้าง
ขบวนต้นเทียนแบบไทยๆที่แต่ละคุ้มวัดและแต่ละหน่วยงานส่วนเข้าร่วมประกวดและเข้าร่วมขบวนแห่นั้น แบ่งเป็นประเภทแกะสลัก(ใหญ่ เล็ก) ประเภทติดพิมพ์(ใหญ่ เล็ก) และประเภทเทียนโบราณ ซึ่งนี่ถือเป็นไฮไลท์ที่ทุกคนรอคอย โดยในปีนี้แต่ละคุ้มวัดต่างก็บรรจงสร้างสรรค์ประติมากรรมบนต้นเทียนกันอย่างเต็มที่
โดยส่วนตัวผมแล้ว เมื่อได้ชมงานต้นเทียนพรรษาต่างๆเหล่านี้ต่างก็อดทึ่งในความงดงามอลังการไม่ได้ โดยเทียนแบบแกะสลักจะดูน่าทึ่งไปด้วยความสามารถอันยอดเยี่ยมของช่างทำเทียนที่สลักเทียนออกมาเป็นเรื่องราวต่างๆบนต้นเทียนอย่างสวยงาม (ส่วนใหญ่จะเป็น เรื่องราวในพุทธศาสนา ชาดก รวมถึงแทรกเหตุการณ์ในปัจจุบันเข้าไปบ้าง)
ส่วนเทียนแบบติดพิมพ์นั้นก็ดูวิจิตรอ่อนช้อยงดงามมากๆ ไม่ว่าจะเป็นพญานาค เทพ เทวดา หงส์ ปลาอานนน์ หรือองค์ประกอบและลวดลายต่างๆที่ใครได้เห็นแล้วเป็นอดทึ่งไม่ได้
สำหรับปีนี้ทีมที่คว้ารางวัลประเภทแกะสลักประกอบด้วย ประเภทแกะสลักขนาดใหญ่ อันดับ 1 วัดไชยมงคล อันดับ 2 วัดเมืองเดช และอันดับ 3 วัดพระธาตุหนองบัว ประเภทแกะสลักขนาดเล็ก อันดับ 1 อำเภอตระการพืชผล อันดับ 2 วัดท่าวังหิน และอันดับ 3 วัดผาสุการาม
ส่วนทีมที่คว้ารางวัลประเภทติดพิมพ์นั้นก็มี ประเภทติดพิมพ์ขนาดใหญ่ อันดับ 1 วัดบูรพาราม อันดับ 2 วัดศรีประดู่ อันดับ 3 วัดสุปัฏนาราม และรางวัลชมเชย วัดทุ่งศรีเมืองกับวัดแจ้ง ประเภทติดพิมพ์ขนาดเล็ก อันดับ 1 วัดศรีเมืองใหม่ อันดับ 2 วัดป่าแสนอุดม อันดับ 3 ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวัดศรีประดู่
ในขณะที่ทีมที่ได้รับรางวัลประเภทเทียนโบราณก็มี อันดับ 1 วัดมณีวนาราม อันดับ 2 อำเภอนาจะหลวย อันดับ 3 วัดศรีบุญเรือง
สนุก....
ในขณะที่ขบวนแห่ช่วงผ่านบริเวณพิธีการที่มีประธานและแขกวีไอพีนั่งชม ค่อนข้างจะดูเกร็ง แต่ว่าตามขบวนแห่ของหน่วยงานต่างๆที่อยู่รอบนอกนั้น กลับสนุกสนานคึกคักไปด้วยเสียงดนตรี วงโปงลาง การร้องรำทำเพลงของขบวนแห่ รวมถึงประชาชนที่มาชมงานและมาถ่ายรูปคู่กับต้นเทียนกันอย่างเนืองแน่น นับเป็นบรรยากาศแห่งความสนุกที่แตกต่างจากบริเวณพิธีการโดยสิ้นเชิง

เสียว...
ในการแห่ต้นเทียนนั้น ใช่ว่าขบวนต้นเทียนจะสามารถเคลื่อนไปได้อย่างราบรื่นสะดวกโยธิน โดยเฉพาะต้นเทียนที่มีขนาดสูงใหญ่นั้นบนถนนบางช่วง ความสูงของต้นเทียนจะไปชนเกี่ยว ชนกับสายไฟ ทำให้ขบวนต้นเทียนเคลื่อนผ่านไปไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ผู้ร่วมขบวนเทียนที่สูงๆแต่ละต้นจึงมีไม้ค้ำ ดันสายไฟเพื่อเปิดทางให้ต้นเทียนสูงเคลื่อนผ่านไปได้อย่างสะดวก แต่ก็เป็นที่น่าเสียวไส้ว่าบรรดาผู้ผู้ถือไม้ดันสายไฟนั้นค่อนข้างสุ่มเสี่ยงต่อการถูกไฟช็อตเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งหากเกิดไฟรั่วขึ้นมาแล้วละก็ดูไม่จืดเลยจริงๆ
สำหรับในเรื่องนี้ผู้สังเกตการณ์หลายๆคนแสดงทัศนะว่าทางจังหวัดอุบลฯน่าจะหาทางแก้ในเรื่องนี้กันเสียที ซึ่งก็อาจจะเป็นการทำสายไฟลงดิน เพื่อให้สะดวกต่อขบวนแห่และเพื่อทัศนียภาพของเมืองที่น่าชมมากขึ้น เพราะทุกๆปีที่ผ่านมาก็ได้มีการทำลักษณะ ค้ำ ดัน สายไฟ เช่นนี้มาไม่เคยแปรเปลี่ยน

ประทับใจ...
หากพูดโดยรวมของงานแห่เทียนเข้าพรรษาเมืองอุบลฯทั้งขบวนต้นเทียน และขบวนการแสดงประกอบขงวนแห่แล้ว ก็ต้องถือว่าสามารถสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ได้ไม่น้อยทีเดียว แม้ว่าจะมีบางช่วง บางจังหวะที่น่าอาจดูกร่อยและน่าเบื่อไปบ้าง
ทั้งนี้หากลองมองลึกลงไปก็จะเห็นได้ถึงการร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้าน ที่ช่วยกันสร้างสรรค์งานเทียนออกมาเป็นประติมากรรมเทียนอันวิจิตรสวยงาม นับเป็นความสามัคคีในชุมชนที่โอกาสเช่นนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการทำเทียนแต่ละต้นจะใช้เงินค่อนข้างมากในหลักหมื่น หลักแสน แต่ว่านี่ถือเป็นความภูมิใจของชาวเมืองอุบลฯที่หนึ่งปีจะมีงานแห่เทียนอันยิ่งใหญ่ให้คนไทยได้ชมกันสักครั้ง

ศรัทธา...
หลังจากผมชมงานแห่เทียนเข้าพรรษาเมืองอุบลฯในอารมณ์ที่หลากหลายแต่ว่าก็แฝงไว้ด้วยความประทับใจนั้น ผมอดคิดไปถึงคำกล่าวของ พระครูกิตติวรรโณบล เจ้าอาวาสวัดหนองบัว ที่ท่านกล่าวกับผมไว้เมื่อ 4 ปีที่แล้วไม่ได้ว่า
“...งานแห่เทียนเข้าพรรษาในปัจจุบันส่วนใหญ่มีแต่กระพี้ หาแก่นแทบไม่ได้แล้ว ในขณะที่คนสมัยก่อนเขาทำเทียนกันอย่างสวยงามด้วยศรัทธาเพื่อเป็นพุทธบูชา แต่มาสมัยนี้ทางราชการกลับมาส่งเสริมให้ทำเทียนเพื่อประกวด ส่งเสริมให้ทำเทียนเล่มใหญ่โตเพื่อการท่องเที่ยว แต่ว่าใช้งานจริงไม่ได้
กระนั้นงานแห่เทียนในปัจจุบันก็มีข้อดี ตรงที่เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้ชุมชน แต่ก็อย่าละเลยศรัทธาอันดีงามของชาวบ้าน ส่วนใครที่มาเที่ยวงานเทียน ก็ควรให้เข้าได้ซึมซับถึงประเพณีอันดีงามของชาวพุทธกลับไปด้วย ไม่ใช่แค่มาเพื่อถ่ายรูปกับต้นเทียนยักษ์อย่างเดียว...”
ครับ...หลังรำลึกถึงคำกล่าวของพระครูกิตติฯ เปลวไฟในงานเทียนพรรษาก็ได้ติดขึ้นมาในดวงใจ ซึ่งก็ทำให้ปีนี้ผมสัญญากับใครบางคนว่า จะขอ“ลดเหล้าช่วงเข้าพรรษา”ดูสักครั้ง
หากพูดถึงประเพณีแห่เทียนพรรษาแล้ว ในเมืองไทยคงไม่มีที่ไหนโด่งดังและยิ่งใหญ่เท่าที่เมืองดอกบัวงามนาม “อุบลราชธานี”
ยิ่งในปีนี้เป็นปีมหามงคลฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว งานแห่เทียนเมืองอุบลฯก็ยิ่งมีความพิเศษและน่าตื่นตาตื่นใจมากขึ้น
“60 ปี พระบารมีแผ่ไพศาล งามตระการเทียนพรรษา เทิดราชัน” คือชื่องานแห่เทียนเมืองอุบลฯในปีนี้ ที่ทางททท.และจังหวัดอุบลฯร่วมกันจัดขึ้น
อนึ่งจากการได้ไปร่วมชม และร่วมสัมผัสกับบรรยากาศของงานปีนี้มา ผมค้นพบว่างานแห่เทียนพรรษาของเมืองอุบลฯนี่มันช่างเต็มไปด้วยอารมณ์ที่หลากหลายเสียกระไรปานนั้น
เซ็ง...
ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นประเพณีปฏิบัติไปแล้ว สำหรับงานประเพณีใหญ่ๆตามต่างจังหวัดที่ขั้นตอนการเปิดงานค่อนข้างยืดเยื้อ น่าเบื่อ ซึ่งงานแห่เทียนอุบลฯปีนี้ก็ไม่ต่างกันเท่าใดนัก เพราะประธานในพิธีส่วนใหญ่ไม่รู้เป็นอะไรมักจะเดินทางมาที่งานสายกว่ากำหนดการ แล้วปล่อยให้คนมายืนชะเง้อคอมองตลอดว่าเมื่อไหร่ประธานจะมาจะได้เปิดงาน และเริ่มงานกันเสียที จากนั้นก็มีการกล่าวรายงานกันอย่างยืดเยื้อ ก่อนที่ประธานจะกล่าวเปิดงานอย่างยืดเยื้ออีกเช่นกัน (ดูๆแล้วพิธีเปิดงานรูปแบบนี้มันค่อนข้างออกไปในแนวพิธีเปิดงานการจัดแข่งขันมวยโลก(หาเสียง)ในบ้านเรายังยังงั้น)
“เฮ้อ...เมื่อไหร่งานจะเริ่มเสียที(วะ) แดดเริ่มร้อนขึ้นเรื่อยๆแล้ว”
นี่คือเสียงบ่น(อุบ)ที่ผมได้ยินจากปากของนักท่องเที่ยวและช่างภาพบางคนที่เดินทางไปแต่เช้าเพื่อรอชมงาน โดยพวกเขาบอกผมว่าไม่ได้ต้องการมาดูพิธีเปิดงาน แต่ต้องการมาดูขบวนแห่เทียนอันยิ่งใหญ่สวยงามของอุบลฯมากกว่า
ร้อน...
แม้ว่าอากาศยามเช้าก่อนเปิดงานแห่เทียนจะขมุกขมัวดูเป็นใจไร้เงาแดด แต่ว่าพอเริ่มสายแดดเริ่มมา ทีมงานต่างๆที่รอร่วมขบวนแห่เริ่มแสดงอาการร้อนและเมื่อยให้เห็นอย่างชัดเจน นางงามคนหนึ่งต้องขอตัวเข้าไปพักระหว่างยืนรอพิธีเปิดเพราะเธอไม่สบายมาก่อน
ส่วนที่ผมรู้สึกเห็นใจที่สุดก็เห็นจะเป็นบรรดาเหล่าหนูน้อยนางรำ หรือนักแสดงต่างๆที่ต้องตื่นกันแต่เช้ามืดเดินทางมาจากโรงเรียนต่างอำเภอ แล้วต้องมาแต่งหน้าแต่งตัวยืนกลางแดดเปรี้ยงๆรอร่วมขบวนงาน ซึ่งดูแล้วน่าเห็นใจไม่น้อย แต่ว่านี่ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวอุบลฯที่หนึ่งปีมีครั้ง เพราะฉะนั้นคนส่วนใหญ่จึงยินดีร่วมแรงร่วมใจกันอย่างเต็มที่
เกร็ง...
หลังการเปิดงานผ่านพ้นไป(จุดเปิดขบวนอยู่บริเวณวัดศรีอุบลรัตนาราม)ขบวนแห่ต่างพากันเคลื่อนขบวนไปตามถนนเพื่อผ่านยังบริเวณถนนพิธีการจุดชมงานของประธานในพิธีและแขกวีไอพี รวมถึงยังเป็นจุดถ่ายทอดสด)
ช่างภาพหลายๆคนจะมารอดักถ่ายรูปกันในบริเวณนี้ เนื่องจากเป็นจุดถ่ายรูปที่มีองค์ประกอบลงตัวและมีเอกลักษณ์ของงานที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ก็ดูเหมือนว่าขบวนแห่ต่างๆเมื่อเคลื่อนขบวนผ่านจุดประธานนั่งและจุดแขกวีไอพีจะค่อนข้างเกร็ง ยิ่งบางขบวนต้องถูกจัดแถว แนว ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมมาหยุดรอแสดง ก็ยิ่งทำให้นักแสดงหลายๆคนออกอาการเกร็งมากขึ้น
ครุ่นคิด...
เมื่อขบวนแห่เปิดงานเฉลิมพระเกียรติในหลวงผ่านพ้น ต่อจากนั้นก็เป็นเริ่มเป็นขบวนแห่เทียนพรรษาที่ทุกคนรอคอย สำหรับช่วงแรกถือเป็นขบวนต้นเทียนที่พิเศษกว่าทุกๆปี เพราะปีนี้มีศิลปินจาก 9 ชาติ(ไทย ฝรั่งเศส อินเดีย อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เม็กซิโก โปรตุเกส เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา) มาร่วมสร้างสีสันของขบวนต้นเทียนในรูปแบบของงานศิลปะร่วมสมัยให้ชมกัน
สำหรับประติมากรรมเทียนพวกนี้ดูแล้วมันช่างแตกต่างกับงานต้นเทียนแบบไทยๆอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทางผู้จัดได้ให้เหตุผลว่า นี่เป็นการก้าวไปอีกขั้นหนึ่งของงานแห่เทียนเมืองอุบลฯ ที่บางทีชาวบ้าน นักท่องเที่ยว และคนอย่างเราๆท่านๆอาจจะดูไม่เข้าใจ แต่สำหรับศิลปินแล้วนี่คืองานศิลปะของเขาล่ะ...
ทึ่ง...
หันมาดูขบวนแห่ต้นเทียนแบบไทยๆกันบ้าง
ขบวนต้นเทียนแบบไทยๆที่แต่ละคุ้มวัดและแต่ละหน่วยงานส่วนเข้าร่วมประกวดและเข้าร่วมขบวนแห่นั้น แบ่งเป็นประเภทแกะสลัก(ใหญ่ เล็ก) ประเภทติดพิมพ์(ใหญ่ เล็ก) และประเภทเทียนโบราณ ซึ่งนี่ถือเป็นไฮไลท์ที่ทุกคนรอคอย โดยในปีนี้แต่ละคุ้มวัดต่างก็บรรจงสร้างสรรค์ประติมากรรมบนต้นเทียนกันอย่างเต็มที่
โดยส่วนตัวผมแล้ว เมื่อได้ชมงานต้นเทียนพรรษาต่างๆเหล่านี้ต่างก็อดทึ่งในความงดงามอลังการไม่ได้ โดยเทียนแบบแกะสลักจะดูน่าทึ่งไปด้วยความสามารถอันยอดเยี่ยมของช่างทำเทียนที่สลักเทียนออกมาเป็นเรื่องราวต่างๆบนต้นเทียนอย่างสวยงาม (ส่วนใหญ่จะเป็น เรื่องราวในพุทธศาสนา ชาดก รวมถึงแทรกเหตุการณ์ในปัจจุบันเข้าไปบ้าง)
ส่วนเทียนแบบติดพิมพ์นั้นก็ดูวิจิตรอ่อนช้อยงดงามมากๆ ไม่ว่าจะเป็นพญานาค เทพ เทวดา หงส์ ปลาอานนน์ หรือองค์ประกอบและลวดลายต่างๆที่ใครได้เห็นแล้วเป็นอดทึ่งไม่ได้
สำหรับปีนี้ทีมที่คว้ารางวัลประเภทแกะสลักประกอบด้วย ประเภทแกะสลักขนาดใหญ่ อันดับ 1 วัดไชยมงคล อันดับ 2 วัดเมืองเดช และอันดับ 3 วัดพระธาตุหนองบัว ประเภทแกะสลักขนาดเล็ก อันดับ 1 อำเภอตระการพืชผล อันดับ 2 วัดท่าวังหิน และอันดับ 3 วัดผาสุการาม
ส่วนทีมที่คว้ารางวัลประเภทติดพิมพ์นั้นก็มี ประเภทติดพิมพ์ขนาดใหญ่ อันดับ 1 วัดบูรพาราม อันดับ 2 วัดศรีประดู่ อันดับ 3 วัดสุปัฏนาราม และรางวัลชมเชย วัดทุ่งศรีเมืองกับวัดแจ้ง ประเภทติดพิมพ์ขนาดเล็ก อันดับ 1 วัดศรีเมืองใหม่ อันดับ 2 วัดป่าแสนอุดม อันดับ 3 ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวัดศรีประดู่
ในขณะที่ทีมที่ได้รับรางวัลประเภทเทียนโบราณก็มี อันดับ 1 วัดมณีวนาราม อันดับ 2 อำเภอนาจะหลวย อันดับ 3 วัดศรีบุญเรือง
สนุก....
ในขณะที่ขบวนแห่ช่วงผ่านบริเวณพิธีการที่มีประธานและแขกวีไอพีนั่งชม ค่อนข้างจะดูเกร็ง แต่ว่าตามขบวนแห่ของหน่วยงานต่างๆที่อยู่รอบนอกนั้น กลับสนุกสนานคึกคักไปด้วยเสียงดนตรี วงโปงลาง การร้องรำทำเพลงของขบวนแห่ รวมถึงประชาชนที่มาชมงานและมาถ่ายรูปคู่กับต้นเทียนกันอย่างเนืองแน่น นับเป็นบรรยากาศแห่งความสนุกที่แตกต่างจากบริเวณพิธีการโดยสิ้นเชิง
เสียว...
ในการแห่ต้นเทียนนั้น ใช่ว่าขบวนต้นเทียนจะสามารถเคลื่อนไปได้อย่างราบรื่นสะดวกโยธิน โดยเฉพาะต้นเทียนที่มีขนาดสูงใหญ่นั้นบนถนนบางช่วง ความสูงของต้นเทียนจะไปชนเกี่ยว ชนกับสายไฟ ทำให้ขบวนต้นเทียนเคลื่อนผ่านไปไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ผู้ร่วมขบวนเทียนที่สูงๆแต่ละต้นจึงมีไม้ค้ำ ดันสายไฟเพื่อเปิดทางให้ต้นเทียนสูงเคลื่อนผ่านไปได้อย่างสะดวก แต่ก็เป็นที่น่าเสียวไส้ว่าบรรดาผู้ผู้ถือไม้ดันสายไฟนั้นค่อนข้างสุ่มเสี่ยงต่อการถูกไฟช็อตเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งหากเกิดไฟรั่วขึ้นมาแล้วละก็ดูไม่จืดเลยจริงๆ
สำหรับในเรื่องนี้ผู้สังเกตการณ์หลายๆคนแสดงทัศนะว่าทางจังหวัดอุบลฯน่าจะหาทางแก้ในเรื่องนี้กันเสียที ซึ่งก็อาจจะเป็นการทำสายไฟลงดิน เพื่อให้สะดวกต่อขบวนแห่และเพื่อทัศนียภาพของเมืองที่น่าชมมากขึ้น เพราะทุกๆปีที่ผ่านมาก็ได้มีการทำลักษณะ ค้ำ ดัน สายไฟ เช่นนี้มาไม่เคยแปรเปลี่ยน
ประทับใจ...
หากพูดโดยรวมของงานแห่เทียนเข้าพรรษาเมืองอุบลฯทั้งขบวนต้นเทียน และขบวนการแสดงประกอบขงวนแห่แล้ว ก็ต้องถือว่าสามารถสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ได้ไม่น้อยทีเดียว แม้ว่าจะมีบางช่วง บางจังหวะที่น่าอาจดูกร่อยและน่าเบื่อไปบ้าง
ทั้งนี้หากลองมองลึกลงไปก็จะเห็นได้ถึงการร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้าน ที่ช่วยกันสร้างสรรค์งานเทียนออกมาเป็นประติมากรรมเทียนอันวิจิตรสวยงาม นับเป็นความสามัคคีในชุมชนที่โอกาสเช่นนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการทำเทียนแต่ละต้นจะใช้เงินค่อนข้างมากในหลักหมื่น หลักแสน แต่ว่านี่ถือเป็นความภูมิใจของชาวเมืองอุบลฯที่หนึ่งปีจะมีงานแห่เทียนอันยิ่งใหญ่ให้คนไทยได้ชมกันสักครั้ง
ศรัทธา...
หลังจากผมชมงานแห่เทียนเข้าพรรษาเมืองอุบลฯในอารมณ์ที่หลากหลายแต่ว่าก็แฝงไว้ด้วยความประทับใจนั้น ผมอดคิดไปถึงคำกล่าวของ พระครูกิตติวรรโณบล เจ้าอาวาสวัดหนองบัว ที่ท่านกล่าวกับผมไว้เมื่อ 4 ปีที่แล้วไม่ได้ว่า
“...งานแห่เทียนเข้าพรรษาในปัจจุบันส่วนใหญ่มีแต่กระพี้ หาแก่นแทบไม่ได้แล้ว ในขณะที่คนสมัยก่อนเขาทำเทียนกันอย่างสวยงามด้วยศรัทธาเพื่อเป็นพุทธบูชา แต่มาสมัยนี้ทางราชการกลับมาส่งเสริมให้ทำเทียนเพื่อประกวด ส่งเสริมให้ทำเทียนเล่มใหญ่โตเพื่อการท่องเที่ยว แต่ว่าใช้งานจริงไม่ได้
กระนั้นงานแห่เทียนในปัจจุบันก็มีข้อดี ตรงที่เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้ชุมชน แต่ก็อย่าละเลยศรัทธาอันดีงามของชาวบ้าน ส่วนใครที่มาเที่ยวงานเทียน ก็ควรให้เข้าได้ซึมซับถึงประเพณีอันดีงามของชาวพุทธกลับไปด้วย ไม่ใช่แค่มาเพื่อถ่ายรูปกับต้นเทียนยักษ์อย่างเดียว...”
ครับ...หลังรำลึกถึงคำกล่าวของพระครูกิตติฯ เปลวไฟในงานเทียนพรรษาก็ได้ติดขึ้นมาในดวงใจ ซึ่งก็ทำให้ปีนี้ผมสัญญากับใครบางคนว่า จะขอ“ลดเหล้าช่วงเข้าพรรษา”ดูสักครั้ง