โดย : ปิ่น บุตรี

1...
บนสะพานปูนเล็กๆที่ทอดผ่านข้ามแม่น้ำสายสงบงามนามว่า“สะแกกรัง” แห่ง จ.อุทัยธานี หากใครมองผ่านก็คงจะผ่านเลยไป
แต่หากใครมองให้ลึกลงในรายละเอียดแล้วก็จะพบว่า บนสะพานปูนเล็กแคบที่สร้างไว้ให้เฉพาะคนเดิน รถจักรยาน และรถมอเตอร์ไซค์ข้ามผ่าน กลับเป็นสะพานที่มากไปด้วยเสน่ห์ยิ่งนัก เพราะฟากหนึ่งของสะพานด้านฝั่งเมืองเป็นตลาดสดเทศบาลที่ในช่วงเช้าและเย็นจะคึกคักไปด้วยบรรยากาศการซื้อขายของชาวบ้านที่มากไปด้วยผลิตผลทางการเกษตร อย่าง พืช ผัก ผลไม้ ปลาสด ปลาแห้ง หมู ไก่ รวมถึงอาหารการกินอีกสารพัดอย่าง
ส่วนอีกฟากหนึ่งของสะพานก็สุดแสนจะคลาสสิคกับความสงบงามของ“วัดอุโปสถาราม”หรือ“วัดโบสถ์” วัดเก่าแก่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาที่มีของดีชวนชมอย่าง มณฑปแปดเหลี่ยมริมน้ำ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ และของเก่าแก่อันทรงคุณค่าอีกมากหลาย
ครั้นเมื่อขึ้นยืนบนสะพานปูนแล้วมองลงไปเบื้องล่างก็จะเห็นลำน้ำสะแกกรังไหลเอื่อยๆไปตามสภาพภูมิประเทศ ซึ่งลำน้ำสายนี้ยังคงทำหน้าที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงชาวอุทัยมาชั่วนาตาปี นับจากอดีตที่ใครล่องเรือล่องแพผ่านไป-มา ในลำน้ำสายนี้ก็จะเห็นต้นสะแกขึ้นเป็นดงอยู่ริม 2 ฝั่งน้ำเต็มไปหมด
และนี่ก็เป็นที่มาของชื่อแม่น้ำสะแกกรัง ที่บ้างก็ว่า“สะแกกรัง”เพี้ยนมาจากหมู่บ้าน“สะแกกลาง”ซึ่งเป็นชุมชนคนไทยกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ ริมฝั่งน้ำดงสะแกแห่งนี้ ในขณะที่ผู้เฒ่าผู้แก่บางคนแห่งลุ่มแม่น้ำสายนี้เล่าว่าสมัยก่อน(นานมากแล้ว)มีโขลงช้างนิยมลงมากินน้ำที่ลุ่มน้ำดงสะแก พอเดินขึ้นฝั่งกิ่ง ใบ ดอก ของต้นสะแกก็ติดเกรอะกรังตามตัวช้างเต็มไปหมด ชาวบ้านแถบนี้จึงเรียกขานลำน้ำสายนี้ว่า “แม่น้ำสะแกกรัง”
แต่ไม่ว่าแม่น้ำสะแกกรังจะมีที่มาอย่างไร การผ่านร้อนผ่านหนาวของแม่น้ำสะกรังนับจากอดีตถึงปัจจุบันได้ตกตะกอนให้บ้านเรือนแพใน 2 ฟากฝั่งแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง กลายเป็นชุมชนเรือนแพ(ขนาดใหญ่)แห่งสุดท้ายของเมืองไทยที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งดูแล้วประหนึ่งดังเมืองลอยน้ำขนาดย่อมที่มากไปด้วยเสน่ห์แห่งสีสันชีวิตชาวแพที่นับวันยิ่งมายิ่งเหลือน้อยเต็มที ทำให้ทุกครั้งที่มาเยือนลำน้ำสะแกกรังผมอดที่จะครวญเพลง“เรือนแพ”ของครู“ชรินทร์ นันทนาคร” เป็นมิวสิคประกอบทัศนียภาพไม่ได้
...เรือนแพ สุขจริง อิงกระแสธารา หริ่งระงม ลมพลิ้วมา กล่อมพฤกษา ดังว่าดนตรี
หลับอยู่ใน ความรักและความชื่น ชั่ววัน และคืนเช่นนี้ กลิ่นดอกไม้ รัญจวน ยังอบอวน ยวนยี สุดที่จะ พรรณนา...

2...
ในรอบ 4 ปี ผมไปจังหวัดอุทัยธานี 5 ครั้ง
ใน 5 ครั้งที่ไปอุทัยฯ ผมไปล่องเรือชมทิวทัศน์แม่น้ำสะแกกรังทุกครั้ง
เพราะฉะนั้นเฉลี่ยแล้วในรอบ 4 ปี ผมไปนั่งเรือล่องแม่น้ำสะแกกรัง 1.25 ครั้ง/ปี
มากไป น้อยไป หรือพอดีผมไม่รู้ รู้แต่ว่าแม่น้ำสะแกกรังยังคงเปี่ยมเสน่ห์และมนต์ขลังอยู่เสมอนับตั้งแต่พบพานครั้งแรกมาจนถึงครั้งล่าสุด
จากจุดเริ่มต้นล่องเรือไม่ว่าจะเป็นที่ท่าเรือตลาดเทศบาล(หรือท่าเรือวัดท่าซุงในเส้นทางแล่นสวนกลับ) เมื่อเรือลอยลำไปตามลำน้ำสายสงบงามที่มีสายลมเย็นเอื่อยๆพัดปะทะร่างอยู่เป็นระยะๆ
สำหรับเรือนแพแห่งสะแกกรังเป็นเรือนแพขนาดกะทัดรัด มีหลากรูปแบบหลายสไตล์ ไม่ว่าจะเป็นแพหลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา แพส่วนใหญ่เป็นเรือนไม้สีธรรมชาติ แต่ก็มีเรือนแพบางหลังที่ทาสีตัวอาคารอย่างสดใสฉูดฉาดดูบาดตาแต่ไม่บาดใจ
นอกจากนี้ก็ยังมีแพโบสถ์น้ำที่ตั้งอยู่หน้าวัดโบสถ์ ซึ่งเป็นเรือนแพเก่าแก่อายุร้อยปี(สร้างพ.ศ. 2449)ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รับเสด็จรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ ปัจจุบันชาวแพแห่งสะแกกรังใช้แพโบสถ์น้ำเป็นที่จัดงานและประกอบพิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น งานบวช งานแต่ง งานศพ รวมไปถึงงานแถลงข่าวด้วย
ไม่ไกลจากแพโบสถ์น้ำเท่าไหร่มีเรือนแพอยู่หลังหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะเป็นเรือนแพหลังสุดท้ายในเมืองไทยนั่นก็คือ “แพแฝดสาม”หลังที่ตั้งอย่างลงกลมกลืนตัวสมส่วน นับเป็นแฝดสามที่ไม่ผิดฝาผิดตัวแต่อย่างใด
ตูม!!!
นี่หาใช่เสียงระเบิดไม่ หากแต่เป็นเสียงที่ผมมักได้ยินบ่อยครั้งในการล่องเรือยลลำน้ำสะแกกรัง เพราะเด็กๆแถวนี้นิยมกระโดดน้ำตูมตามคลายความร้อน นับเป็นกิจกรรมสนุกๆวันหยุดที่นอกจากจะได้ออกกำลังกาย ได้พบปะกับเพื่อนฝูงแล้ว ดีไม่ดีใครที่เตรียมเบ็ดไปอาจจะมีปลาตัวโตๆกลับมาฝากทางบ้านเป็นมื้อเย็นอันโอชะกินกันให้หนำใจ
ไหนๆก็พูดถึงปลาแล้ว ชาวแพที่สะแกกรังส่วนหนึ่งจะเลี้ยงปลาในกระชังขาย ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ให้ไม่น้อยทีเดียว
ปลาในลำน้ำสะแกกรังที่สะอาดไหลเย็นสะอาดถือว่ามีรสชาติไม่เป็นรองปลาที่ไหนเลย โดยเฉพาะ“ปลาแรด”นี่ ถือเป็นปลาชื่อดังระดับคำขวัญจังหวัดที่ทอดกระเทียมพริกไทย กินร้อนๆกับน้ำจิ้มรสแซ่บ สุดยอดมากๆไม่น่าเชื่อว่าปลาที่ชื่อไม่รักดีเช่นนี้จะมีรสชาติอร่อยนัก

3...
เรือน...แพ ล่องลอย คอยความรักนานมา
คอยน้ำค้างกรุณา หยาดมาจากธารา แหล่งสวรรค์
วิมานน้อย ลอยริมฝั่ง ถึงอ้างว้าง เหลือใจรำพัน
หิวหรืออิ่ม ก็ยิ้มพอกัน ชีวิต กลางน้ำสุขสันต์
โอ้สวรรค์ ใน เรือน แพ...(ท่อนจบ เพลงเรือนแพ)
เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของชุมชนชาวแพสะแกกรังก็คือ เมื่อล่องเรือผ่านก็จะพบแพหลายๆหลังจะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ อย่าง พุทธรักษา เตย กล้วยไม้ ที่ที่กระถางหรือกระเช้าหน้าบ้าน โดยมีการจัดวางอย่างลงตัวและเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งดูแล้วผิดแผกแตกต่างไปจากเรือนแพหลายๆหลังที่เต็มไปด้วยเสื้อผ้าหลากสีสันตากเต็มราวตากผ้า อุปกรณ์ทำมาหากิน เครื่องครัว กะละมัง ผ้าม่าน ฯลฯ ที่แขวนไว้อย่างระเกะระกะดูเป็นงานศิลปะออกแนวตามใจฉัน
แต่ไม่ว่าจะเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือระเกะระกะสำหรับผมแล้วถือว่ามามีเสน่ห์ชวนมองทั้งคู่ เพราะนี่คือเรือนแพตามความเป็นอยู่แท้ๆของชาวแพที่ไม่มีการเสแสร้งแต่งปั้นแต่อย่างใด
เช่นเดียวกับเสน่ห์ความเป็นอยู่อันเรียบง่ายของชาวบ้าน ซึ่งถึงแม้ว่าทุกวันนี้ถนนจะเป็นปัจจัยหลักในการสัญจร แต่ภาพของชาวแพพายเรือไปมาหาสู่กันหรือพายเรือไปไหนต่อไหนยังคงมีให้เห็นกันอยู่ทั่วไป
ครั้นยามเรือนักท่องเที่ยวแล่นผ่าน ชาวบ้านบางคนจะโบกมือทักทายพร้อมด้วยรอยยิ้มพิมพ์ใจ บางก็นอนเอกเขนกอย่างสบายใจรับลมเย็นๆอยู่ที่ชานบ้าน ส่วนบางบ้านก็สาละวนอยู่กับการทำมาหากิน ทั้งการออกเรือหาปลา การปิ้งปลาย่างที่ถือเป็นอีกหนึ่งของดีเมืองอุทัยฯ บางบ้านพอตกเย็นก็นั่งก๊งเหล้าเคล้าสายลมและสายน้ำ ในขณะที่ภาพสาวๆนุ่งกระโจมอกลงอาบน้ำก็ถือเป็นอีกหนึ่งภาพของมองสำหรับหนุ่มๆ แต่หากเป็นรุ่นคุณป้า คุณย่า คุณยาย หรือรุ่นน้ำหมากกระจาย งานนี้ผมขอโบกมือบ๊าย...บาย...พร้อมกับนึกปลงในสังขารที่ไม่จีรังยั่งยืน
ชีวิตคนไยไม่เป็นเฉ กเช่นเดียวกับสายน้ำและกาลเวลา
สายน้ำไหลไปย่อมไม่ไหลกลับ
กาลเวลาผันผ่านไปย่อมไม่หวนคืนกลับ
ชีวิตคน เกิด แก่ เจ็บ ตาย คือวิถีปกติที่ดำรงคงอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งกาลเวลา
ไม่ว่ารวยหรือจนเมื่อเกิดมาต้องตาย แล้วจะยึดติดในลาภ ยศ สรรเสริญ ไปไย
1...
บนสะพานปูนเล็กๆที่ทอดผ่านข้ามแม่น้ำสายสงบงามนามว่า“สะแกกรัง” แห่ง จ.อุทัยธานี หากใครมองผ่านก็คงจะผ่านเลยไป
แต่หากใครมองให้ลึกลงในรายละเอียดแล้วก็จะพบว่า บนสะพานปูนเล็กแคบที่สร้างไว้ให้เฉพาะคนเดิน รถจักรยาน และรถมอเตอร์ไซค์ข้ามผ่าน กลับเป็นสะพานที่มากไปด้วยเสน่ห์ยิ่งนัก เพราะฟากหนึ่งของสะพานด้านฝั่งเมืองเป็นตลาดสดเทศบาลที่ในช่วงเช้าและเย็นจะคึกคักไปด้วยบรรยากาศการซื้อขายของชาวบ้านที่มากไปด้วยผลิตผลทางการเกษตร อย่าง พืช ผัก ผลไม้ ปลาสด ปลาแห้ง หมู ไก่ รวมถึงอาหารการกินอีกสารพัดอย่าง
ส่วนอีกฟากหนึ่งของสะพานก็สุดแสนจะคลาสสิคกับความสงบงามของ“วัดอุโปสถาราม”หรือ“วัดโบสถ์” วัดเก่าแก่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาที่มีของดีชวนชมอย่าง มณฑปแปดเหลี่ยมริมน้ำ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ และของเก่าแก่อันทรงคุณค่าอีกมากหลาย
ครั้นเมื่อขึ้นยืนบนสะพานปูนแล้วมองลงไปเบื้องล่างก็จะเห็นลำน้ำสะแกกรังไหลเอื่อยๆไปตามสภาพภูมิประเทศ ซึ่งลำน้ำสายนี้ยังคงทำหน้าที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงชาวอุทัยมาชั่วนาตาปี นับจากอดีตที่ใครล่องเรือล่องแพผ่านไป-มา ในลำน้ำสายนี้ก็จะเห็นต้นสะแกขึ้นเป็นดงอยู่ริม 2 ฝั่งน้ำเต็มไปหมด
และนี่ก็เป็นที่มาของชื่อแม่น้ำสะแกกรัง ที่บ้างก็ว่า“สะแกกรัง”เพี้ยนมาจากหมู่บ้าน“สะแกกลาง”ซึ่งเป็นชุมชนคนไทยกลุ่มแรกที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ ริมฝั่งน้ำดงสะแกแห่งนี้ ในขณะที่ผู้เฒ่าผู้แก่บางคนแห่งลุ่มแม่น้ำสายนี้เล่าว่าสมัยก่อน(นานมากแล้ว)มีโขลงช้างนิยมลงมากินน้ำที่ลุ่มน้ำดงสะแก พอเดินขึ้นฝั่งกิ่ง ใบ ดอก ของต้นสะแกก็ติดเกรอะกรังตามตัวช้างเต็มไปหมด ชาวบ้านแถบนี้จึงเรียกขานลำน้ำสายนี้ว่า “แม่น้ำสะแกกรัง”
แต่ไม่ว่าแม่น้ำสะแกกรังจะมีที่มาอย่างไร การผ่านร้อนผ่านหนาวของแม่น้ำสะกรังนับจากอดีตถึงปัจจุบันได้ตกตะกอนให้บ้านเรือนแพใน 2 ฟากฝั่งแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง กลายเป็นชุมชนเรือนแพ(ขนาดใหญ่)แห่งสุดท้ายของเมืองไทยที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งดูแล้วประหนึ่งดังเมืองลอยน้ำขนาดย่อมที่มากไปด้วยเสน่ห์แห่งสีสันชีวิตชาวแพที่นับวันยิ่งมายิ่งเหลือน้อยเต็มที ทำให้ทุกครั้งที่มาเยือนลำน้ำสะแกกรังผมอดที่จะครวญเพลง“เรือนแพ”ของครู“ชรินทร์ นันทนาคร” เป็นมิวสิคประกอบทัศนียภาพไม่ได้
...เรือนแพ สุขจริง อิงกระแสธารา หริ่งระงม ลมพลิ้วมา กล่อมพฤกษา ดังว่าดนตรี
หลับอยู่ใน ความรักและความชื่น ชั่ววัน และคืนเช่นนี้ กลิ่นดอกไม้ รัญจวน ยังอบอวน ยวนยี สุดที่จะ พรรณนา...
2...
ในรอบ 4 ปี ผมไปจังหวัดอุทัยธานี 5 ครั้ง
ใน 5 ครั้งที่ไปอุทัยฯ ผมไปล่องเรือชมทิวทัศน์แม่น้ำสะแกกรังทุกครั้ง
เพราะฉะนั้นเฉลี่ยแล้วในรอบ 4 ปี ผมไปนั่งเรือล่องแม่น้ำสะแกกรัง 1.25 ครั้ง/ปี
มากไป น้อยไป หรือพอดีผมไม่รู้ รู้แต่ว่าแม่น้ำสะแกกรังยังคงเปี่ยมเสน่ห์และมนต์ขลังอยู่เสมอนับตั้งแต่พบพานครั้งแรกมาจนถึงครั้งล่าสุด
จากจุดเริ่มต้นล่องเรือไม่ว่าจะเป็นที่ท่าเรือตลาดเทศบาล(หรือท่าเรือวัดท่าซุงในเส้นทางแล่นสวนกลับ) เมื่อเรือลอยลำไปตามลำน้ำสายสงบงามที่มีสายลมเย็นเอื่อยๆพัดปะทะร่างอยู่เป็นระยะๆ
สำหรับเรือนแพแห่งสะแกกรังเป็นเรือนแพขนาดกะทัดรัด มีหลากรูปแบบหลายสไตล์ ไม่ว่าจะเป็นแพหลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา แพส่วนใหญ่เป็นเรือนไม้สีธรรมชาติ แต่ก็มีเรือนแพบางหลังที่ทาสีตัวอาคารอย่างสดใสฉูดฉาดดูบาดตาแต่ไม่บาดใจ
นอกจากนี้ก็ยังมีแพโบสถ์น้ำที่ตั้งอยู่หน้าวัดโบสถ์ ซึ่งเป็นเรือนแพเก่าแก่อายุร้อยปี(สร้างพ.ศ. 2449)ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รับเสด็จรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ ปัจจุบันชาวแพแห่งสะแกกรังใช้แพโบสถ์น้ำเป็นที่จัดงานและประกอบพิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น งานบวช งานแต่ง งานศพ รวมไปถึงงานแถลงข่าวด้วย
ไม่ไกลจากแพโบสถ์น้ำเท่าไหร่มีเรือนแพอยู่หลังหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะเป็นเรือนแพหลังสุดท้ายในเมืองไทยนั่นก็คือ “แพแฝดสาม”หลังที่ตั้งอย่างลงกลมกลืนตัวสมส่วน นับเป็นแฝดสามที่ไม่ผิดฝาผิดตัวแต่อย่างใด
ตูม!!!
นี่หาใช่เสียงระเบิดไม่ หากแต่เป็นเสียงที่ผมมักได้ยินบ่อยครั้งในการล่องเรือยลลำน้ำสะแกกรัง เพราะเด็กๆแถวนี้นิยมกระโดดน้ำตูมตามคลายความร้อน นับเป็นกิจกรรมสนุกๆวันหยุดที่นอกจากจะได้ออกกำลังกาย ได้พบปะกับเพื่อนฝูงแล้ว ดีไม่ดีใครที่เตรียมเบ็ดไปอาจจะมีปลาตัวโตๆกลับมาฝากทางบ้านเป็นมื้อเย็นอันโอชะกินกันให้หนำใจ
ไหนๆก็พูดถึงปลาแล้ว ชาวแพที่สะแกกรังส่วนหนึ่งจะเลี้ยงปลาในกระชังขาย ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ให้ไม่น้อยทีเดียว
ปลาในลำน้ำสะแกกรังที่สะอาดไหลเย็นสะอาดถือว่ามีรสชาติไม่เป็นรองปลาที่ไหนเลย โดยเฉพาะ“ปลาแรด”นี่ ถือเป็นปลาชื่อดังระดับคำขวัญจังหวัดที่ทอดกระเทียมพริกไทย กินร้อนๆกับน้ำจิ้มรสแซ่บ สุดยอดมากๆไม่น่าเชื่อว่าปลาที่ชื่อไม่รักดีเช่นนี้จะมีรสชาติอร่อยนัก
3...
เรือน...แพ ล่องลอย คอยความรักนานมา
คอยน้ำค้างกรุณา หยาดมาจากธารา แหล่งสวรรค์
วิมานน้อย ลอยริมฝั่ง ถึงอ้างว้าง เหลือใจรำพัน
หิวหรืออิ่ม ก็ยิ้มพอกัน ชีวิต กลางน้ำสุขสันต์
โอ้สวรรค์ ใน เรือน แพ...(ท่อนจบ เพลงเรือนแพ)
เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของชุมชนชาวแพสะแกกรังก็คือ เมื่อล่องเรือผ่านก็จะพบแพหลายๆหลังจะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ อย่าง พุทธรักษา เตย กล้วยไม้ ที่ที่กระถางหรือกระเช้าหน้าบ้าน โดยมีการจัดวางอย่างลงตัวและเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งดูแล้วผิดแผกแตกต่างไปจากเรือนแพหลายๆหลังที่เต็มไปด้วยเสื้อผ้าหลากสีสันตากเต็มราวตากผ้า อุปกรณ์ทำมาหากิน เครื่องครัว กะละมัง ผ้าม่าน ฯลฯ ที่แขวนไว้อย่างระเกะระกะดูเป็นงานศิลปะออกแนวตามใจฉัน
แต่ไม่ว่าจะเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือระเกะระกะสำหรับผมแล้วถือว่ามามีเสน่ห์ชวนมองทั้งคู่ เพราะนี่คือเรือนแพตามความเป็นอยู่แท้ๆของชาวแพที่ไม่มีการเสแสร้งแต่งปั้นแต่อย่างใด
เช่นเดียวกับเสน่ห์ความเป็นอยู่อันเรียบง่ายของชาวบ้าน ซึ่งถึงแม้ว่าทุกวันนี้ถนนจะเป็นปัจจัยหลักในการสัญจร แต่ภาพของชาวแพพายเรือไปมาหาสู่กันหรือพายเรือไปไหนต่อไหนยังคงมีให้เห็นกันอยู่ทั่วไป
ครั้นยามเรือนักท่องเที่ยวแล่นผ่าน ชาวบ้านบางคนจะโบกมือทักทายพร้อมด้วยรอยยิ้มพิมพ์ใจ บางก็นอนเอกเขนกอย่างสบายใจรับลมเย็นๆอยู่ที่ชานบ้าน ส่วนบางบ้านก็สาละวนอยู่กับการทำมาหากิน ทั้งการออกเรือหาปลา การปิ้งปลาย่างที่ถือเป็นอีกหนึ่งของดีเมืองอุทัยฯ บางบ้านพอตกเย็นก็นั่งก๊งเหล้าเคล้าสายลมและสายน้ำ ในขณะที่ภาพสาวๆนุ่งกระโจมอกลงอาบน้ำก็ถือเป็นอีกหนึ่งภาพของมองสำหรับหนุ่มๆ แต่หากเป็นรุ่นคุณป้า คุณย่า คุณยาย หรือรุ่นน้ำหมากกระจาย งานนี้ผมขอโบกมือบ๊าย...บาย...พร้อมกับนึกปลงในสังขารที่ไม่จีรังยั่งยืน
ชีวิตคนไยไม่เป็นเฉ กเช่นเดียวกับสายน้ำและกาลเวลา
สายน้ำไหลไปย่อมไม่ไหลกลับ
กาลเวลาผันผ่านไปย่อมไม่หวนคืนกลับ
ชีวิตคน เกิด แก่ เจ็บ ตาย คือวิถีปกติที่ดำรงคงอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งกาลเวลา
ไม่ว่ารวยหรือจนเมื่อเกิดมาต้องตาย แล้วจะยึดติดในลาภ ยศ สรรเสริญ ไปไย