โดย : เหล็งฮู้ชง

มาดากัสการ์(Madagascar) ประเทศนี้ได้รับฉายาว่า“ดินแดนมหัศจรรย์”เพราะพืชและสัตว์ในประเทศนี้กว่า 90 % ของล้วนต่างมีลักษณะพิเศษเฉพาะที่ไม่เหมือนใครในโลกนี้
นอกจากสัตว์และพืชแล้ว “ฅน”มาดากัสการ์ก็ถือว่ามีลักษณะพิเศษและน่าสนใจเช่นเดียวกัน
มาดากัสการ์แม้ว่าจะอยู่ในทวีปแอฟริกา แต่ว่าคนมาดากัสการ์กลับไม่ใช่ชาวแอฟริกันอย่างในทวีปแม่(แอฟริกา) แต่ว่าพวกเขาคือชาว“มาลากาซี”(Malagasy) ที่ได้หลอมรวมความเป็นเอเชีย(อินโดนีเซีย)และความเป็นแอฟริกาเข้าด้วยกัน
ชาวมาลากาซีน่าสนใจและน่าศึกษาเพียงไหน หากใครอยากรู้ละเอียดคงต้องไปฝังตัวอยู่ที่มาดากัสการ์จนกว่าจะได้รับคำตอบ แต่หากใครที่อยากรู้จักชาวมาลากาซีผ่านการเดินทางท่องเที่ยว ที่เมืองหลวง“อันตานานาริโว”(Antananarivo)มีวิถีชีวิต(จริง)ส่วนหนึ่งของคนมาดากัสการ์ให้สัมผัส

เดินค้น“ฅน”บนเมืองหลวงมาดากัสการ์
เมืองหลวงในโลกส่วนใหญ่ล้วนต่างพลุกพล่าน
“อันตานานาริโว” หรือที่ชาวเมืองนิยมเรียกกันสั้นๆว่า “ตานา” ก็เป็นเช่นเดียวกัน แต่ว่าความพลุกพล่านของตานาเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงกลางวันเท่านั้น ส่วนกลางคืนเมืองนี้จะดูเงียบเชียบแทบร้างไร้ผู้คน เพราะประเทศมาดากัสการ์ไม่มีเขื่อนเพื่อใช้ปั่นไฟ จึงต้องใช้น้ำมันปั่นไฟแทน ทำให้ในแต่ละวันทางรัฐบาลจะมีการดับไฟเป็นย่านไป ซึ่งก็ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองตานามืดและเงียบเชียบต่างจากกลางวันราวฟ้ากับเหว
นอกจากนี้ความพลุกพล่านของตานายังไปกระจุกตัวอยู่แค่ในตัวเมืองและตามย่านธุรกิจเท่านั้น โดยหนึ่งในย่านพลุกพล่านที่มีเสน่ห์แฝงเร้นอยู่ก็คือที่ ถนนแห่งอิสรภาพ(Avenue de L’Independence)ในเขตอนาลาเคลี(Analakely)ที่เปรียบเสมือนถนนราชดำเนินในบ้านเรา ซึ่งช่วงกลางวันที่นี่จะคึกคักจอแจไปด้วยบรรยากาศแห่งการค้าขายที่เต็มไปด้วยร้านรวงต่างๆมากมายใน 2 ข้างทาง โดยมีสถานีรถไฟเก่าแก่หลังคาโค้งเป็นหนึ่งในจุดเด่นของถนน และเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินเที่ยวในทริปนี้ที่ถึงแม้จะชื่อถนนอิสรภาพ แต่ในวันที่ผมมาเดินเที่ยวช่วงแรกๆรู้สึกว่าจะไม่ค่อยมีอิสระสักเท่าไหร่ เพราะมีทั้งขอทานและพ่อค้าแม่ค้ามามะรุมมะตุ้มเต็มไปหมด แต่ครั้นเมื่อสลัดหลุดมาได้ด้วยความสามารถเฉพาะตัว เท่านั้นแหละ เดินฉลุยทันที
สองฟากฝั่งของถนนอิสรภาพนอกจากจะมีอาคารยุคอาณานิคมที่น่ายลแล้ว(มาดากัสการ์เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส) วิถีชีวิตของชาวมากาลาซีในท้องถนนแห่งนี้ที่ออกมาเดินกันขวักไขว่ก็น่ายลไม่แพ้กัน เพราะมีทั้งพวกที่มาเดินเร่ขายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยวและคนต่างเมือง อาทิ เครื่องดนตรีพื้นเมือง-หินสี-ผลึกหิน-งานไม้-งานจักสาน มีทั้งพวกมาเร่ขายของให้ชาวเมืองด้วยกันเองอย่างพวกขนม-ผลไม้ มีทั้งพวกสารถีขับแท็กซี่มานั่งรอลูกค้าในรถยุโรปคันโก้หรู และที่ทำให้ผมต้องเหลียวมองทุกครั้งก็คือการขนของของชาวมากาลาซีที่ใช้หัวเดินทูนสิ่งของต่างๆได้อย่างแคล่วคล่อง

นอกจากที่ถนนอิสรภาพแล้ว เมืองตานายังมีทะเลสาบอะโนซี(Lac Anosy)เป็นดังสัญลักษณ์ของเมือง ทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานแห่งความตาย(Monument aux Morts) ที่มีประติมากรรมเทพธิดามีปีกสีขาวตั้งตระหง่านริมทะเลสาบ ท่ามกลางบรรยากาศของเมืองที่ยังคงไว้ด้วยทิ้งร่องรอยของตึกรามบ้านเรือนในยุคอาณานิยมที่ปลูกสร้างเรียงรายไปตามภูมิประเทศ ตั้งแต่พื้นราบไต่ระดับไปตามไหล่เขา
ไกด์นำเที่ยวบอกกับผมว่าเมืองตานาแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือเมืองบนที่ตั้งอยู่บนเขาถือเป็นย่านคนรวย(มาก)กับพวกไฮโซ เมืองกลางที่ตั้งอยู่ตามไหล่เขาเนินเขาถือเป็นย่านธุรกิจ โรงแรม-ร้านค้า กับคนชั้นกลาง และเมืองล่างที่ตั้งอยู่ ณ ระดับพื้นดินปกติ ถือเป็นระดับของคนทำงานหาเช้ากินค่ำ หรือคนที่มีฐานะยากจน
เรียกว่าเมืองนี้มีการแบ่งระดับของคนตามฐานะชัดเจน แต่ถึงกระนั้นแต่ละระดับต่างก็มีเส้นทางไปมาหาสู่กัน โดยเฉพาะที่เมืองล่างนี่ ไม่ว่าชนชั้นไหนยังไงๆก็ต้องมาใช้บริการถนนหนทาง สวนสาธารณะ สนามบิน ขนส่ง ห้างสรรพสินค้า และสถานที่สำคัญต่างๆยังเมืองล่าง
ผมชมเมืองตานาแล้วเมื่อนึกถึงเมืองไทยก็รู้สึกดีที่บ้านเราไม่มีการแบ่งชนชั้นของเมืองชัดเจนเช่นนี้ แต่กระนั้นก็อดเสียวไม่ได้ เนื่องจากมีใครบางคนพยายามจะแบ่งชนชั้นของคนในประเทศให้มีจังหวัดชั้นสอง เพียงเพราะว่าคนในจังหวัดนั้นไม่เลือกพรรคของตนเข้ามาเป็นส.ส. ซึ่งฟังแล้วช่างน่าสมเพชยิ่งนัก...

วังกษัตริย์อัมโบฮิมังกา วังฉบับกะทัดรัด
แม้เมืองตานาจะมีการแบ่งเขตพักอาศัยเป็นระดับต่างๆ แต่นั่นไม่ได้มีผลกระทบใดๆต่ออุปนิสัยใจคอของชาวมากาลาซีที่เปี่ยมไปด้วยน้ำมิตรไมตรี
ส่วนวิถีชีวิตของชาวมากาลาซีนั้นก็เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและยังไม่ผูกพันกับวัตถุเท่าบ้านเรา
สำหรับผู้โหยหาอดีตที่ขาดหายมาดากัสการ์ถือเป็นหนึ่งในส่วนเติมเต็มที่มีภาพวิถีชีวิตกึ่งดั้งเดิมอันน่ายลอยู่มากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการซักผ้าในธารน้ำที่เสร็จแล้วก็นำมาตากเรียงเต็มบนพื้นหญ้าโดยไม่ต้องพึ่งพาราวตากผ้า การผลิตข้าวของเครื่องใช้และของที่ระลึกจากต้นไม้ใบใม้ตามธรรมชาติ หรือวิถีการทำนาแบบดั้งเดิมที่ยังคงใช้เซบู(วัวพันธุ์หนึ่ง)ไถนา ซึ่งเซบูถือเป็นสัตว์สารพัดประโยชน์ที่นอกจากไถนาเก่งแล้ว เซบูยังสามารถบรรทุกของ เทียมเกวียนและลากรถ อีกทั้งเนื้อเซบูยังมีรสชาติยอดเยี่ยมนับเป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่น่าลิ้มลองเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ชาวมากาลาซีที่อยู่นอกเมืองตามหมู่บ้านต่างๆยังคงมีมีความเชื่อในเรื่องภูตผี วิญญาณ ส่วนที่ในเมืองหลวงแม้ว่าความเจริญทางวัตถุจะบดบังจนแทบไม่เหลือความเชื่อดั้งเดิมของชาวมากาลาซี แต่ที่เมืองตานาแห่งนี้ก็ยังมีศูนย์รวมจิตใจของชาวเมืองอยู่ที่“พระราชวังของกษัตริย์อัมโบฮิมังกา” (King Ambohimanga’s Palace) ที่ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อ ค.ศ. 2001
วังฯอัมโบฮิมังกาเป็นวังที่สร้างอยู่บนยอดเขานอกตัวเมืองตานาออกไป วังแห่งนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกคือวังเก่าอายุหลายร้อยปีที่เป็นเรือนไม้หลังคาจั่วมีสีดำทั่วทั้งหลัง ภายในวังเป็นพื้นโล่งมีการแบ่งพื้นที่ เป็นส่วนต่าง เช่นส่วนนอน ส่วนกินข้าว ส่วนทำอาหาร ซึ่งทุกส่วนมีขนาดเล็กกะทัดรัด นอกจากนี้ก็ยังมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้โบราณต่างๆ
ส่วนที่ 2 คือวังใหม่ที่สร้างขึ้นใน 100 ปีต่อมาจากวังเก่า วังใหม่เป็นวังของราชินีรานาวาโลนาใน 3 รุ่น ก่อนที่จะสิ้นสุดผู้ครอบครองในปี ค.ศ. 1896 เพราะถูกฝรั่งเศสเข้ายึดมาดากัสการ์

วังใหม่แห่งนี้สร้างอย่างกะทัดรัด มี 2 ชั้น แบ่งเป็นสัดส่วนดูสวยงามกว่าวังเก่า เพราะได้มีการประยุกต์ศิลปะของทางแอฟริกา เอเชีย และยุโรปเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอาคารหลังคาจั่วมีลายฉลุไม้ทาสีสดใสประดับอยู่ทั่วไป ส่วนภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆเช่น ห้องนอน ห้องทำงาน ที่ทุกอย่างล้วนดูเรียบง่ายและเล็กกะทัดรัด ซึ่งคนมาดากัสการ์ยุคโบราณตัวค่อนข้างเล็กเลยทำให้สิ่งปลูกสร้างในยุคนั้นเล็กกะทัดรัดตามไปด้วย
สำหรับวังทั้ง 2 แห่งนี้ผมมีโอกาสได้ไปยลในยามเย็น โดยแสงแดดอ่อนๆยามเย็นช่วยสร้างบรรยากาศอันขรึมขลังให้กับวังแห่งนี้ได้ไม่น้อย
ครั้นเมื่อวังปิดผมเดินออกมาจากวังสู่หมู่บ้านอัมโมฮิมังกาที่เปรียบเสมือนชนบทในอดีตของบ้านเรา ซึ่งที่หมู่บ้านนี้ผมได้เจอชาวบ้านและเด็กๆหลายคน
แรกที่มองผ่านๆทุกคนดูถมึงทึงน่ากลัว แต่ว่าความคิดนั้นสลายไปในทันทีเมื่อยามที่พวกเขายิ้มให้ เพราะแต่ละคนในยามที่ยิ้มแย้มดูแล้วช่างน่ารักและจริงใจกระไรปานนั้น
นี่ล่ะหนาที่มีคำเปรียบเปรยเอาไว้ว่าอย่ามองคนผ่านๆจากภายนอก
สำหรับประเทศมาดากัสการ์ก็เฉกเช่นเดียวกันที่หากมองผ่านๆจากภายนอก อาจจะพบประเทศนี้มีความเจริญทางด้านวัตถุตามหลังประเทศไทยหรือประเทศใหญ่ๆทั่วโลกอยู่หลายสิบปี แต่หากว่ามองลึกลงไปมาดากัสการ์มีสิ่งให้ชวนค้นหามากมาย
มากมายแค่ไหนฉายา“ดินแดนมหัศจรรย์” คือคำตอบที่ชัดเจนอยู่ในตัวอยู่แล้ว
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ประเทศมาดากัสการ์เป็นเกาะใหญ่ที่แยกตัวออกมาจากทวีปแอฟริกาจากการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อ 180 ล้านปีที่แล้ว นับเป็นเกาะใหญ่อันดับ 4 ของโลก รองจาก กรีนแลนด์ นิวกีนี และบอร์เนียว ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากทวีปแอฟริกาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 250 ไมล์ทะเล มีพื้นที่ประมาณ 587,041 ตารางกิโลเมตร
ประเทศนี้มีสัตว์และพืชเฉพาะถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ว่าจะเป็น ตัวลีเมอร์ กิ้งก่าคามีเลี่ยน ต้นเบาบับ
มาดากัสการ์ ใช้ภาษาพื้นเมืองคือมาลากาซี นอกจากนี้ยังใช้ภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ(ไม่แพร่หลาย) มีเวลาช้ากว่าไทย 4 ชั่วโมง ใช้เงินสกุลอาเรียร์รี่ที่ 1 บาท ตกประมาณ 50 อาเรียร์รี่
สำหรับผู้ที่สนใจเที่ยวมาดากัสการ์สามารถสอบถามได้ที่บริษัททัวร์ทั่วไป หรือที่ สายการบินแอร์ มาดากัสการ์ โทร.0-2235-8226-9
มาดากัสการ์(Madagascar) ประเทศนี้ได้รับฉายาว่า“ดินแดนมหัศจรรย์”เพราะพืชและสัตว์ในประเทศนี้กว่า 90 % ของล้วนต่างมีลักษณะพิเศษเฉพาะที่ไม่เหมือนใครในโลกนี้
นอกจากสัตว์และพืชแล้ว “ฅน”มาดากัสการ์ก็ถือว่ามีลักษณะพิเศษและน่าสนใจเช่นเดียวกัน
มาดากัสการ์แม้ว่าจะอยู่ในทวีปแอฟริกา แต่ว่าคนมาดากัสการ์กลับไม่ใช่ชาวแอฟริกันอย่างในทวีปแม่(แอฟริกา) แต่ว่าพวกเขาคือชาว“มาลากาซี”(Malagasy) ที่ได้หลอมรวมความเป็นเอเชีย(อินโดนีเซีย)และความเป็นแอฟริกาเข้าด้วยกัน
ชาวมาลากาซีน่าสนใจและน่าศึกษาเพียงไหน หากใครอยากรู้ละเอียดคงต้องไปฝังตัวอยู่ที่มาดากัสการ์จนกว่าจะได้รับคำตอบ แต่หากใครที่อยากรู้จักชาวมาลากาซีผ่านการเดินทางท่องเที่ยว ที่เมืองหลวง“อันตานานาริโว”(Antananarivo)มีวิถีชีวิต(จริง)ส่วนหนึ่งของคนมาดากัสการ์ให้สัมผัส
เดินค้น“ฅน”บนเมืองหลวงมาดากัสการ์
เมืองหลวงในโลกส่วนใหญ่ล้วนต่างพลุกพล่าน
“อันตานานาริโว” หรือที่ชาวเมืองนิยมเรียกกันสั้นๆว่า “ตานา” ก็เป็นเช่นเดียวกัน แต่ว่าความพลุกพล่านของตานาเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงกลางวันเท่านั้น ส่วนกลางคืนเมืองนี้จะดูเงียบเชียบแทบร้างไร้ผู้คน เพราะประเทศมาดากัสการ์ไม่มีเขื่อนเพื่อใช้ปั่นไฟ จึงต้องใช้น้ำมันปั่นไฟแทน ทำให้ในแต่ละวันทางรัฐบาลจะมีการดับไฟเป็นย่านไป ซึ่งก็ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองตานามืดและเงียบเชียบต่างจากกลางวันราวฟ้ากับเหว
นอกจากนี้ความพลุกพล่านของตานายังไปกระจุกตัวอยู่แค่ในตัวเมืองและตามย่านธุรกิจเท่านั้น โดยหนึ่งในย่านพลุกพล่านที่มีเสน่ห์แฝงเร้นอยู่ก็คือที่ ถนนแห่งอิสรภาพ(Avenue de L’Independence)ในเขตอนาลาเคลี(Analakely)ที่เปรียบเสมือนถนนราชดำเนินในบ้านเรา ซึ่งช่วงกลางวันที่นี่จะคึกคักจอแจไปด้วยบรรยากาศแห่งการค้าขายที่เต็มไปด้วยร้านรวงต่างๆมากมายใน 2 ข้างทาง โดยมีสถานีรถไฟเก่าแก่หลังคาโค้งเป็นหนึ่งในจุดเด่นของถนน และเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินเที่ยวในทริปนี้ที่ถึงแม้จะชื่อถนนอิสรภาพ แต่ในวันที่ผมมาเดินเที่ยวช่วงแรกๆรู้สึกว่าจะไม่ค่อยมีอิสระสักเท่าไหร่ เพราะมีทั้งขอทานและพ่อค้าแม่ค้ามามะรุมมะตุ้มเต็มไปหมด แต่ครั้นเมื่อสลัดหลุดมาได้ด้วยความสามารถเฉพาะตัว เท่านั้นแหละ เดินฉลุยทันที
สองฟากฝั่งของถนนอิสรภาพนอกจากจะมีอาคารยุคอาณานิคมที่น่ายลแล้ว(มาดากัสการ์เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส) วิถีชีวิตของชาวมากาลาซีในท้องถนนแห่งนี้ที่ออกมาเดินกันขวักไขว่ก็น่ายลไม่แพ้กัน เพราะมีทั้งพวกที่มาเดินเร่ขายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยวและคนต่างเมือง อาทิ เครื่องดนตรีพื้นเมือง-หินสี-ผลึกหิน-งานไม้-งานจักสาน มีทั้งพวกมาเร่ขายของให้ชาวเมืองด้วยกันเองอย่างพวกขนม-ผลไม้ มีทั้งพวกสารถีขับแท็กซี่มานั่งรอลูกค้าในรถยุโรปคันโก้หรู และที่ทำให้ผมต้องเหลียวมองทุกครั้งก็คือการขนของของชาวมากาลาซีที่ใช้หัวเดินทูนสิ่งของต่างๆได้อย่างแคล่วคล่อง
นอกจากที่ถนนอิสรภาพแล้ว เมืองตานายังมีทะเลสาบอะโนซี(Lac Anosy)เป็นดังสัญลักษณ์ของเมือง ทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานแห่งความตาย(Monument aux Morts) ที่มีประติมากรรมเทพธิดามีปีกสีขาวตั้งตระหง่านริมทะเลสาบ ท่ามกลางบรรยากาศของเมืองที่ยังคงไว้ด้วยทิ้งร่องรอยของตึกรามบ้านเรือนในยุคอาณานิยมที่ปลูกสร้างเรียงรายไปตามภูมิประเทศ ตั้งแต่พื้นราบไต่ระดับไปตามไหล่เขา
ไกด์นำเที่ยวบอกกับผมว่าเมืองตานาแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือเมืองบนที่ตั้งอยู่บนเขาถือเป็นย่านคนรวย(มาก)กับพวกไฮโซ เมืองกลางที่ตั้งอยู่ตามไหล่เขาเนินเขาถือเป็นย่านธุรกิจ โรงแรม-ร้านค้า กับคนชั้นกลาง และเมืองล่างที่ตั้งอยู่ ณ ระดับพื้นดินปกติ ถือเป็นระดับของคนทำงานหาเช้ากินค่ำ หรือคนที่มีฐานะยากจน
เรียกว่าเมืองนี้มีการแบ่งระดับของคนตามฐานะชัดเจน แต่ถึงกระนั้นแต่ละระดับต่างก็มีเส้นทางไปมาหาสู่กัน โดยเฉพาะที่เมืองล่างนี่ ไม่ว่าชนชั้นไหนยังไงๆก็ต้องมาใช้บริการถนนหนทาง สวนสาธารณะ สนามบิน ขนส่ง ห้างสรรพสินค้า และสถานที่สำคัญต่างๆยังเมืองล่าง
ผมชมเมืองตานาแล้วเมื่อนึกถึงเมืองไทยก็รู้สึกดีที่บ้านเราไม่มีการแบ่งชนชั้นของเมืองชัดเจนเช่นนี้ แต่กระนั้นก็อดเสียวไม่ได้ เนื่องจากมีใครบางคนพยายามจะแบ่งชนชั้นของคนในประเทศให้มีจังหวัดชั้นสอง เพียงเพราะว่าคนในจังหวัดนั้นไม่เลือกพรรคของตนเข้ามาเป็นส.ส. ซึ่งฟังแล้วช่างน่าสมเพชยิ่งนัก...
วังกษัตริย์อัมโบฮิมังกา วังฉบับกะทัดรัด
แม้เมืองตานาจะมีการแบ่งเขตพักอาศัยเป็นระดับต่างๆ แต่นั่นไม่ได้มีผลกระทบใดๆต่ออุปนิสัยใจคอของชาวมากาลาซีที่เปี่ยมไปด้วยน้ำมิตรไมตรี
ส่วนวิถีชีวิตของชาวมากาลาซีนั้นก็เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและยังไม่ผูกพันกับวัตถุเท่าบ้านเรา
สำหรับผู้โหยหาอดีตที่ขาดหายมาดากัสการ์ถือเป็นหนึ่งในส่วนเติมเต็มที่มีภาพวิถีชีวิตกึ่งดั้งเดิมอันน่ายลอยู่มากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการซักผ้าในธารน้ำที่เสร็จแล้วก็นำมาตากเรียงเต็มบนพื้นหญ้าโดยไม่ต้องพึ่งพาราวตากผ้า การผลิตข้าวของเครื่องใช้และของที่ระลึกจากต้นไม้ใบใม้ตามธรรมชาติ หรือวิถีการทำนาแบบดั้งเดิมที่ยังคงใช้เซบู(วัวพันธุ์หนึ่ง)ไถนา ซึ่งเซบูถือเป็นสัตว์สารพัดประโยชน์ที่นอกจากไถนาเก่งแล้ว เซบูยังสามารถบรรทุกของ เทียมเกวียนและลากรถ อีกทั้งเนื้อเซบูยังมีรสชาติยอดเยี่ยมนับเป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่น่าลิ้มลองเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ชาวมากาลาซีที่อยู่นอกเมืองตามหมู่บ้านต่างๆยังคงมีมีความเชื่อในเรื่องภูตผี วิญญาณ ส่วนที่ในเมืองหลวงแม้ว่าความเจริญทางวัตถุจะบดบังจนแทบไม่เหลือความเชื่อดั้งเดิมของชาวมากาลาซี แต่ที่เมืองตานาแห่งนี้ก็ยังมีศูนย์รวมจิตใจของชาวเมืองอยู่ที่“พระราชวังของกษัตริย์อัมโบฮิมังกา” (King Ambohimanga’s Palace) ที่ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อ ค.ศ. 2001
วังฯอัมโบฮิมังกาเป็นวังที่สร้างอยู่บนยอดเขานอกตัวเมืองตานาออกไป วังแห่งนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกคือวังเก่าอายุหลายร้อยปีที่เป็นเรือนไม้หลังคาจั่วมีสีดำทั่วทั้งหลัง ภายในวังเป็นพื้นโล่งมีการแบ่งพื้นที่ เป็นส่วนต่าง เช่นส่วนนอน ส่วนกินข้าว ส่วนทำอาหาร ซึ่งทุกส่วนมีขนาดเล็กกะทัดรัด นอกจากนี้ก็ยังมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้โบราณต่างๆ
ส่วนที่ 2 คือวังใหม่ที่สร้างขึ้นใน 100 ปีต่อมาจากวังเก่า วังใหม่เป็นวังของราชินีรานาวาโลนาใน 3 รุ่น ก่อนที่จะสิ้นสุดผู้ครอบครองในปี ค.ศ. 1896 เพราะถูกฝรั่งเศสเข้ายึดมาดากัสการ์
วังใหม่แห่งนี้สร้างอย่างกะทัดรัด มี 2 ชั้น แบ่งเป็นสัดส่วนดูสวยงามกว่าวังเก่า เพราะได้มีการประยุกต์ศิลปะของทางแอฟริกา เอเชีย และยุโรปเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอาคารหลังคาจั่วมีลายฉลุไม้ทาสีสดใสประดับอยู่ทั่วไป ส่วนภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆเช่น ห้องนอน ห้องทำงาน ที่ทุกอย่างล้วนดูเรียบง่ายและเล็กกะทัดรัด ซึ่งคนมาดากัสการ์ยุคโบราณตัวค่อนข้างเล็กเลยทำให้สิ่งปลูกสร้างในยุคนั้นเล็กกะทัดรัดตามไปด้วย
สำหรับวังทั้ง 2 แห่งนี้ผมมีโอกาสได้ไปยลในยามเย็น โดยแสงแดดอ่อนๆยามเย็นช่วยสร้างบรรยากาศอันขรึมขลังให้กับวังแห่งนี้ได้ไม่น้อย
ครั้นเมื่อวังปิดผมเดินออกมาจากวังสู่หมู่บ้านอัมโมฮิมังกาที่เปรียบเสมือนชนบทในอดีตของบ้านเรา ซึ่งที่หมู่บ้านนี้ผมได้เจอชาวบ้านและเด็กๆหลายคน
แรกที่มองผ่านๆทุกคนดูถมึงทึงน่ากลัว แต่ว่าความคิดนั้นสลายไปในทันทีเมื่อยามที่พวกเขายิ้มให้ เพราะแต่ละคนในยามที่ยิ้มแย้มดูแล้วช่างน่ารักและจริงใจกระไรปานนั้น
นี่ล่ะหนาที่มีคำเปรียบเปรยเอาไว้ว่าอย่ามองคนผ่านๆจากภายนอก
สำหรับประเทศมาดากัสการ์ก็เฉกเช่นเดียวกันที่หากมองผ่านๆจากภายนอก อาจจะพบประเทศนี้มีความเจริญทางด้านวัตถุตามหลังประเทศไทยหรือประเทศใหญ่ๆทั่วโลกอยู่หลายสิบปี แต่หากว่ามองลึกลงไปมาดากัสการ์มีสิ่งให้ชวนค้นหามากมาย
มากมายแค่ไหนฉายา“ดินแดนมหัศจรรย์” คือคำตอบที่ชัดเจนอยู่ในตัวอยู่แล้ว
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ประเทศมาดากัสการ์เป็นเกาะใหญ่ที่แยกตัวออกมาจากทวีปแอฟริกาจากการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อ 180 ล้านปีที่แล้ว นับเป็นเกาะใหญ่อันดับ 4 ของโลก รองจาก กรีนแลนด์ นิวกีนี และบอร์เนียว ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากทวีปแอฟริกาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 250 ไมล์ทะเล มีพื้นที่ประมาณ 587,041 ตารางกิโลเมตร
ประเทศนี้มีสัตว์และพืชเฉพาะถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ว่าจะเป็น ตัวลีเมอร์ กิ้งก่าคามีเลี่ยน ต้นเบาบับ
มาดากัสการ์ ใช้ภาษาพื้นเมืองคือมาลากาซี นอกจากนี้ยังใช้ภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ(ไม่แพร่หลาย) มีเวลาช้ากว่าไทย 4 ชั่วโมง ใช้เงินสกุลอาเรียร์รี่ที่ 1 บาท ตกประมาณ 50 อาเรียร์รี่
สำหรับผู้ที่สนใจเที่ยวมาดากัสการ์สามารถสอบถามได้ที่บริษัททัวร์ทั่วไป หรือที่ สายการบินแอร์ มาดากัสการ์ โทร.0-2235-8226-9