โดย : หนุ่มลูกทุ่ง

"ครั้งหนึ่ง ครั้งหนึ่งเธอจำได้ไหม สองเราเคยเที่ยวงานวัดบ้านใต้ ทำบุญปิดทององค์พระมาลัย ก่อพระเจดีย์ทรายร่วมกัน..." ฉันเดินไปพลาง ปากก็ฮัมเพลง "งานวัด" ของวง "เพื่อน" ไปพลาง และเหตุที่เลือกเพลงนี้ขึ้นมาก็เพราะว่าฉันกำลังจะไปเดินงานวัดน่ะสิ แต่งานวัดที่ว่านี้ไม่ใช่วัดบ้านใต้ ไม่มีพระมาลัย และไม่ได้ไปก่อพระเจดีย์ทรายที่ไหน แต่ที่นี่มีเจดีย์ภูเขาทององค์ใหญ่เบ้อเริ่มให้สักการะกัน ใช่แล้ว... ฉันกำลังจะไปเดินเที่ยวงานวัดภูเขาทอง ที่วัดสระเกศนี่เอง
ทะเลกรุงเทพก็ยังมี ภูเขากรุงเทพก็ต้องมี ก็ที่นี่ยังไงล่ะ ว่าแล้วก็มารู้จักวัดสระเกศกันสักเล็กน้อย วัดแห่งนี้เดิมชื่อวัดสะแก เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา และภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ และขุดคลองรอบวัดชื่อว่า คลองมหานาค และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดสระเกศ" ภายหลัง และสำหรับงานวัดภูเขาทองที่วัดสระเกศแห่งนี้ ก็เรียกได้ว่าเป็นงานวัดเก่าแก่ จัดกันมานานกว่าร้อยปีแล้ว และทางวัดก็พยายามคงบรรยากาศเหมือนแต่ก่อนไว้ให้มากที่สุด
บรรยากาศงานเริ่มคึกคักตั้งแต่บริเวณสะพานผ่านฟ้า ตรงนี้ฉันมองเห็นภูเขาทองซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เด่นมาแต่ไกล เห็นว่าภูเขาทองมีผ้าแดงผืนใหญ่ห่มคลุมอยู่ เนื่องจาก 3 วันก่อนหน้าที่จะมีงานวัดภูเขาทองนั้น จะมีพิธีห่มผ้าแดงองค์พระเจดีย์ ซึ่งเป็นพิธีสำคัญอีกพิธีหนึ่งซึ่งเชื่อว่า ผู้ที่ได้ร่วมพิธีกรรมนี้จะมีชีวิตที่ร่มเย็นเป็นสุข แคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ

เริ่มต้นเดินงานวัดกันตั้งแต่ตรงนี้ก็แล้วกัน มีข้าวของมาตั้งขายกันตั้งแต่บริเวณนี้ ไม่ว่าจะเป็นของกินที่มีให้เลือกมากมาย ของใช้ เสื้อผ้า ของเล่นสารพัดอย่าง นี่ขนาดยังเดินไปไม่ถึงตัววัดเลยนะนี่ แต่ก่อนที่ฉันจะมาเพลินเพลินจับจ่ายซื้อของกินของใช้พวกนี้ ฉันว่าควรจะขึ้นไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุบนภูเขาทองก่อนจะดีกว่า และระหว่างทางเดินขึ้นไปด้านบน ฉันจะเล่าประวัติการสร้างภูเขาทองให้ฟังไปพลางๆ ก็แล้วกัน
เจดีย์ภูเขาทองที่เราเห็นตั้งสง่าอยู่ทุกวันนี้ เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งหลังจากที่ท่านทรงสร้างพระปรางค์วัดอรุณฯ ในฝั่งธนบุรีเสร็จลง ก็มีดำริให้สร้างพระปรางค์ขึ้นที่วัดสระเกศ โดยตั้งพระทัยว่าจะสร้างให้สูงใหญ่ยิ่งกว่าพระปรางค์วัดอรุณฯ
วิธีสร้างพระปรางค์วัดสระเกศก็คือ ต้องขุดดินลงไปจนลึก เอาท่อนซุงปูเรียงขัดกันไว้ก้นหลุม แล้วเอาอิฐ กรวด เศษกระเบื้องต่างๆ ใส่อัดเข้าไปไม่ให้เหลือช่องว่าง จากนั้นจึงขนดินมาถมให้สูงแล้วก่อเป็นฐานพระปรางค์ แต่หลังจากที่สร้างไม่ทันแล้วเสร็จยอดพระปรางค์ก็หักโค่นลงมาเสียก่อน จากนั้นก็ไม่ได้มีการก่อสร้างอะไรต่ออีก ดังนั้นเมื่อกองดินซึ่งเป็นฐานพระปรางค์ถูกทิ้งร้าง ก็มีพวกวัชพืชไม้เลื้อย รวมทั้งต้นไม้ต่างๆ ขึ้นเต็มจนดูเหมือนภูเขาจริงๆ

ส่วนเจดีย์ภูเขาทองที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้นั้นสร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งที่พระองค์ได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาจากรัฐบาลอินเดีย ซึ่งขุดค้นพบที่เมืองกบิลพัสดุ์ และพิสูจน์ได้ว่าเป็นของพระสมณโคดมซึ่งเป็นส่วนแบ่งของพระราชวงศ์ศากยราชเพราะมีคำจารึกอยู่ พระองค์ท่านจึงนำมาบรรจุไว้ที่เจดีย์ภูเขาทองนี้ และจัดให้มีงานสมโภช 7 วัน 7 คืน จนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา และกลายเป็นงานวัดที่เก่าแก่ที่สุดงานหนึ่งอีกด้วย
ส่วนที่เรียกว่าภูเขาทอง ก็เพราะในกรุงเก่า หรือกรุงศรีอยุธยา ก็มีคลองที่ชื่อว่าคลองมหานาค และใกล้ๆ คลองก็มีเจดีย์ที่ชื่อว่า เจดีย์ภูเขาทองอยู่เช่นกัน เหมาะเจาะกับชื่อคลองที่รัชกาลที่ 1 โปรดให้ขุดไว้ข้างวัดสระเกศ ก็มีชื่อว่าคลองมหานาคเช่นกัน ดังนั้นภูเขาดินข้างๆ คลองนี้ที่สร้างเจดีย์ขึ้นมาก็ควรเรียกว่าภูเขาทองให้เหมือนกัน เรื่องก็เป็นเช่นนี้แล
เอาล่ะ ...เดินยังไม่ทันจะเหนื่อยฉันก็ขึ้นมาถึงบริเวณที่จะจุดธูปเทียนปิดทองสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ช่วงเทศกาลอย่างนี้คนจะเยอะเป็นพิเศษก็อย่าหงุดหงิดไป คิดไว้ในใจว่าวันนี้เรามาทำบุญกัน
ไหว้พระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว ขึ้นบันไดไปยังเจดีย์ภูเขาทองด้านบน สักการะเจดีย์ภูเขาทองด้วยการเดินทักษิณาวัตรสักสามรอบ ใครอยากทำบุญด้วยการบริจาคเงิน หรือซื้อระฆังถวายวัดก็ได้ เสร็จแล้วมาก้มหัวรับน้ำมนต์ และรับแจกสายสิญจน์จากหลวงพี่ที่นั่งรออยู่

ทำบุญกันจนอิ่มอกอิ่มใจแล้ว มาชมวิวกรุงเทพฯ ยามค่ำคืนกันต่อ อากาศตอนกลางคืนบนนี้ช่างเย็นสบายดีเหลือเกิน แถมยังมีทิวทัศน์ที่สวยงาม ฉันว่าถ้าใครอยากเห็นแสงสีของกรุงเทพฯ ละก็ มาดูได้ที่นี่แหละ ไม่ต้องไปที่ไหนไกล เพราะ ณ จุดนี้สามารถมองไปได้ไกลทุกทิศโดยที่ไม่มีตึกสูงกว่ามาบังให้เสียภูมิทัศน์ ด้านหนึ่งมองเห็นอุโบสถวัดราชนัดดา มองเห็นยอดโลหะปราสาท ด้านหนึ่งมองเห็นแสงไฟจากสะพานพระราม 8 อีกด้านหนึ่งมองเห็นยอดเสาชิงช้า มองเห็นวัดสุทัศน์ฯ และยังเห็นไกลไปถึงพระบรมมหาราชวังเลยด้วย อ้าว...ฉันไม่ได้โม้นะนี่ ใครไม่เชื่อก็ลองมาดูเองก็ได้
ชมทิวทัศน์กันจนอิ่มแล้ว ขากลับลงมาแวะไหว้พระที่วิหารหลวงพ่อโตกันก่อน ซึ่งชาวบ้านแถบนี้เชื่อกันว่าหลวงพ่อโต "เป็นหลวงพ่อที่ให้ความคุ้มครอง ให้ความสุข ความเจริญ" จากนั้น เดินต่อมาอีกนิดหนึ่ง พลาดไม่ได้ที่จะเข้าไปสักการะพระอัฏฐารส ซึ่งมีนามว่า "พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร" เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ซึ่งรัชกาลที่ 3 ได้ชะลอมาจากวัดวิหารทอง เมืองพิษณุโลก ปกติแล้วทางวัดจะไม่เปิดวิหารนี้ให้เข้าชมยกเว้นในโอกาสสำคัญอย่างนี้เท่านั้น แล้วอย่างนี้จะพลาดได้อย่างไรล่ะ

เอาล่ะ พิธีการทางศาสนาจบไปแล้ว จากนี้จะเป็นการเดินเที่ยวงานวัดกันจริงๆ จังๆ เสียที ต้องยอมรับว่างานวัดภูเขาทองนี้เป็นงานใหญ่จริงๆ เพราะฉะนั้นร้านรวงต่างๆ ที่มาขายของจึงมีมากมายนับไม่ถ้วน แต่ที่เป็นจุดเด่นของงานวัดภูเขาทองก็ต้องนี่เลย บรรดาของแปลกทั้งหลายอย่างมนุษย์ประหลาด เด็กสองหัว บ้านผีสิง กระสือสาว ที่ตอนเด็กๆ ฉันเห็นว่าน่าทึ่งมากๆ แต่เมื่อได้มาดูอีกครั้งตอนโตแล้วก็รู้สึกขำๆ ดี แล้วก็ยังมีละครลิงที่ไม่ได้หาดูกันได้บ่อยๆ อีกด้วย แต่แม้จะขาดมอเตอร์ไซค์ไต่ถังกับเมียงู สองสิ่งคู่งานวัดไป แต่ฉันว่าความสนุกและเสน่ห์ของงานวัดภูเขาทองก็ยังมีอยู่มากกว่างานวัดอื่นๆ ที่ฉันเคยเห็นมา และสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับบรรยากาศงานวัดก็คือชิงช้าสวรรค์ ม้าหมุน และรถไฟที่เด็กๆ ชอบกันนักหนา แต่ผู้ใหญ่อย่างฉันขอเล่นอะไรที่มันดูสมวัยอย่างยิงปืนอัดลม ปาเป้าลูกโป่ง สาวน้อยตกน้ำ อะไรแบบนี้ดีกว่า
เดินไปเดินมาชักจะหิว แต่ยังเลือกไม่ถูกเพราะของกินลานตาเหลือเกิน ที่นี่ฉันได้เห็นขนมหลายๆ อย่างที่ห่างหายจากสายตาไปนาน อย่างขนมตุ้บตั้บ ที่คนทำก็มาทุบขนมกันตุ้บๆ ตั้บๆ ให้ได้ดูกันเห็นๆ หรืออย่างขนมเบื้องญวน ที่เป็นไข่ห่อไส้ข้างก็ไม่ได้เห็นไม่ได้กินมานานแล้ว เฮ้อ..ว่าแล้วก็ชักหิว ขอแวะร้านไหนสักร้านเติมพลังก่อนดีกว่า

ได้มาเที่ยวงานวัดอย่างนี้ก็เหมือนกับได้กลับไปเป็นเด็กอีกครั้งหนึ่ง และฉันว่างานวัดที่ยังคงบรรยากาศเดิมๆ แบบนี้หาไม่ได้ง่ายแล้วละ เพราะฉะนั้นถ้าใครอยากจะสัมผัสงานวัดแบบย้อนยุคอย่างนี้ก็มาเที่ยวงานวัดภูเขาทองกันได้ เขาจัดตั้งแต่วันที่ 12-18 พ.ย. นี้ อ้อ...แล้วอย่าลืมกันล่ะว่า งานที่มีผู้คนมหาศาลอย่างนี้ต้องคอยระวังทรัพย์สินของตัวเองให้ดี ที่ต้องมาเตือนอย่างนี้ก็เพราะเพื่อนฉันสังเวยโทรศัพท์มือถือไปเครื่องหนึ่งแล้วนะสิ แล้วจะหาว่าไม่เตือนจ้า...
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดสระเกศ) ตั้งอยู่ริมคลองมหานาคและคลองรอบกรุง แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. งานวัดภูเขาทอง จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 12-18 พ.ย. 2548 ตั้งแต่เวลา 07.00-24.00 น. ส่วนวันปกติสามารถขึ้นไปสักการะภูเขาทองได้ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0-2223-4561
การเดินทางไปยังวัดสระเกศ มีรถเมล์สาย 15, 47, 79, 511 ผ่าน
คลิกชมภาพบรรยากาศงานวัดภูเขาทองได้ที่นี่
"ครั้งหนึ่ง ครั้งหนึ่งเธอจำได้ไหม สองเราเคยเที่ยวงานวัดบ้านใต้ ทำบุญปิดทององค์พระมาลัย ก่อพระเจดีย์ทรายร่วมกัน..." ฉันเดินไปพลาง ปากก็ฮัมเพลง "งานวัด" ของวง "เพื่อน" ไปพลาง และเหตุที่เลือกเพลงนี้ขึ้นมาก็เพราะว่าฉันกำลังจะไปเดินงานวัดน่ะสิ แต่งานวัดที่ว่านี้ไม่ใช่วัดบ้านใต้ ไม่มีพระมาลัย และไม่ได้ไปก่อพระเจดีย์ทรายที่ไหน แต่ที่นี่มีเจดีย์ภูเขาทององค์ใหญ่เบ้อเริ่มให้สักการะกัน ใช่แล้ว... ฉันกำลังจะไปเดินเที่ยวงานวัดภูเขาทอง ที่วัดสระเกศนี่เอง
ทะเลกรุงเทพก็ยังมี ภูเขากรุงเทพก็ต้องมี ก็ที่นี่ยังไงล่ะ ว่าแล้วก็มารู้จักวัดสระเกศกันสักเล็กน้อย วัดแห่งนี้เดิมชื่อวัดสะแก เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา และภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ และขุดคลองรอบวัดชื่อว่า คลองมหานาค และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดสระเกศ" ภายหลัง และสำหรับงานวัดภูเขาทองที่วัดสระเกศแห่งนี้ ก็เรียกได้ว่าเป็นงานวัดเก่าแก่ จัดกันมานานกว่าร้อยปีแล้ว และทางวัดก็พยายามคงบรรยากาศเหมือนแต่ก่อนไว้ให้มากที่สุด
บรรยากาศงานเริ่มคึกคักตั้งแต่บริเวณสะพานผ่านฟ้า ตรงนี้ฉันมองเห็นภูเขาทองซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่เด่นมาแต่ไกล เห็นว่าภูเขาทองมีผ้าแดงผืนใหญ่ห่มคลุมอยู่ เนื่องจาก 3 วันก่อนหน้าที่จะมีงานวัดภูเขาทองนั้น จะมีพิธีห่มผ้าแดงองค์พระเจดีย์ ซึ่งเป็นพิธีสำคัญอีกพิธีหนึ่งซึ่งเชื่อว่า ผู้ที่ได้ร่วมพิธีกรรมนี้จะมีชีวิตที่ร่มเย็นเป็นสุข แคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ
เริ่มต้นเดินงานวัดกันตั้งแต่ตรงนี้ก็แล้วกัน มีข้าวของมาตั้งขายกันตั้งแต่บริเวณนี้ ไม่ว่าจะเป็นของกินที่มีให้เลือกมากมาย ของใช้ เสื้อผ้า ของเล่นสารพัดอย่าง นี่ขนาดยังเดินไปไม่ถึงตัววัดเลยนะนี่ แต่ก่อนที่ฉันจะมาเพลินเพลินจับจ่ายซื้อของกินของใช้พวกนี้ ฉันว่าควรจะขึ้นไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุบนภูเขาทองก่อนจะดีกว่า และระหว่างทางเดินขึ้นไปด้านบน ฉันจะเล่าประวัติการสร้างภูเขาทองให้ฟังไปพลางๆ ก็แล้วกัน
เจดีย์ภูเขาทองที่เราเห็นตั้งสง่าอยู่ทุกวันนี้ เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งหลังจากที่ท่านทรงสร้างพระปรางค์วัดอรุณฯ ในฝั่งธนบุรีเสร็จลง ก็มีดำริให้สร้างพระปรางค์ขึ้นที่วัดสระเกศ โดยตั้งพระทัยว่าจะสร้างให้สูงใหญ่ยิ่งกว่าพระปรางค์วัดอรุณฯ
วิธีสร้างพระปรางค์วัดสระเกศก็คือ ต้องขุดดินลงไปจนลึก เอาท่อนซุงปูเรียงขัดกันไว้ก้นหลุม แล้วเอาอิฐ กรวด เศษกระเบื้องต่างๆ ใส่อัดเข้าไปไม่ให้เหลือช่องว่าง จากนั้นจึงขนดินมาถมให้สูงแล้วก่อเป็นฐานพระปรางค์ แต่หลังจากที่สร้างไม่ทันแล้วเสร็จยอดพระปรางค์ก็หักโค่นลงมาเสียก่อน จากนั้นก็ไม่ได้มีการก่อสร้างอะไรต่ออีก ดังนั้นเมื่อกองดินซึ่งเป็นฐานพระปรางค์ถูกทิ้งร้าง ก็มีพวกวัชพืชไม้เลื้อย รวมทั้งต้นไม้ต่างๆ ขึ้นเต็มจนดูเหมือนภูเขาจริงๆ
ส่วนเจดีย์ภูเขาทองที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้นั้นสร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งที่พระองค์ได้รับพระบรมสารีริกธาตุมาจากรัฐบาลอินเดีย ซึ่งขุดค้นพบที่เมืองกบิลพัสดุ์ และพิสูจน์ได้ว่าเป็นของพระสมณโคดมซึ่งเป็นส่วนแบ่งของพระราชวงศ์ศากยราชเพราะมีคำจารึกอยู่ พระองค์ท่านจึงนำมาบรรจุไว้ที่เจดีย์ภูเขาทองนี้ และจัดให้มีงานสมโภช 7 วัน 7 คืน จนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา และกลายเป็นงานวัดที่เก่าแก่ที่สุดงานหนึ่งอีกด้วย
ส่วนที่เรียกว่าภูเขาทอง ก็เพราะในกรุงเก่า หรือกรุงศรีอยุธยา ก็มีคลองที่ชื่อว่าคลองมหานาค และใกล้ๆ คลองก็มีเจดีย์ที่ชื่อว่า เจดีย์ภูเขาทองอยู่เช่นกัน เหมาะเจาะกับชื่อคลองที่รัชกาลที่ 1 โปรดให้ขุดไว้ข้างวัดสระเกศ ก็มีชื่อว่าคลองมหานาคเช่นกัน ดังนั้นภูเขาดินข้างๆ คลองนี้ที่สร้างเจดีย์ขึ้นมาก็ควรเรียกว่าภูเขาทองให้เหมือนกัน เรื่องก็เป็นเช่นนี้แล
เอาล่ะ ...เดินยังไม่ทันจะเหนื่อยฉันก็ขึ้นมาถึงบริเวณที่จะจุดธูปเทียนปิดทองสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ช่วงเทศกาลอย่างนี้คนจะเยอะเป็นพิเศษก็อย่าหงุดหงิดไป คิดไว้ในใจว่าวันนี้เรามาทำบุญกัน
ไหว้พระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว ขึ้นบันไดไปยังเจดีย์ภูเขาทองด้านบน สักการะเจดีย์ภูเขาทองด้วยการเดินทักษิณาวัตรสักสามรอบ ใครอยากทำบุญด้วยการบริจาคเงิน หรือซื้อระฆังถวายวัดก็ได้ เสร็จแล้วมาก้มหัวรับน้ำมนต์ และรับแจกสายสิญจน์จากหลวงพี่ที่นั่งรออยู่
ทำบุญกันจนอิ่มอกอิ่มใจแล้ว มาชมวิวกรุงเทพฯ ยามค่ำคืนกันต่อ อากาศตอนกลางคืนบนนี้ช่างเย็นสบายดีเหลือเกิน แถมยังมีทิวทัศน์ที่สวยงาม ฉันว่าถ้าใครอยากเห็นแสงสีของกรุงเทพฯ ละก็ มาดูได้ที่นี่แหละ ไม่ต้องไปที่ไหนไกล เพราะ ณ จุดนี้สามารถมองไปได้ไกลทุกทิศโดยที่ไม่มีตึกสูงกว่ามาบังให้เสียภูมิทัศน์ ด้านหนึ่งมองเห็นอุโบสถวัดราชนัดดา มองเห็นยอดโลหะปราสาท ด้านหนึ่งมองเห็นแสงไฟจากสะพานพระราม 8 อีกด้านหนึ่งมองเห็นยอดเสาชิงช้า มองเห็นวัดสุทัศน์ฯ และยังเห็นไกลไปถึงพระบรมมหาราชวังเลยด้วย อ้าว...ฉันไม่ได้โม้นะนี่ ใครไม่เชื่อก็ลองมาดูเองก็ได้
ชมทิวทัศน์กันจนอิ่มแล้ว ขากลับลงมาแวะไหว้พระที่วิหารหลวงพ่อโตกันก่อน ซึ่งชาวบ้านแถบนี้เชื่อกันว่าหลวงพ่อโต "เป็นหลวงพ่อที่ให้ความคุ้มครอง ให้ความสุข ความเจริญ" จากนั้น เดินต่อมาอีกนิดหนึ่ง พลาดไม่ได้ที่จะเข้าไปสักการะพระอัฏฐารส ซึ่งมีนามว่า "พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร" เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ซึ่งรัชกาลที่ 3 ได้ชะลอมาจากวัดวิหารทอง เมืองพิษณุโลก ปกติแล้วทางวัดจะไม่เปิดวิหารนี้ให้เข้าชมยกเว้นในโอกาสสำคัญอย่างนี้เท่านั้น แล้วอย่างนี้จะพลาดได้อย่างไรล่ะ
เอาล่ะ พิธีการทางศาสนาจบไปแล้ว จากนี้จะเป็นการเดินเที่ยวงานวัดกันจริงๆ จังๆ เสียที ต้องยอมรับว่างานวัดภูเขาทองนี้เป็นงานใหญ่จริงๆ เพราะฉะนั้นร้านรวงต่างๆ ที่มาขายของจึงมีมากมายนับไม่ถ้วน แต่ที่เป็นจุดเด่นของงานวัดภูเขาทองก็ต้องนี่เลย บรรดาของแปลกทั้งหลายอย่างมนุษย์ประหลาด เด็กสองหัว บ้านผีสิง กระสือสาว ที่ตอนเด็กๆ ฉันเห็นว่าน่าทึ่งมากๆ แต่เมื่อได้มาดูอีกครั้งตอนโตแล้วก็รู้สึกขำๆ ดี แล้วก็ยังมีละครลิงที่ไม่ได้หาดูกันได้บ่อยๆ อีกด้วย แต่แม้จะขาดมอเตอร์ไซค์ไต่ถังกับเมียงู สองสิ่งคู่งานวัดไป แต่ฉันว่าความสนุกและเสน่ห์ของงานวัดภูเขาทองก็ยังมีอยู่มากกว่างานวัดอื่นๆ ที่ฉันเคยเห็นมา และสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับบรรยากาศงานวัดก็คือชิงช้าสวรรค์ ม้าหมุน และรถไฟที่เด็กๆ ชอบกันนักหนา แต่ผู้ใหญ่อย่างฉันขอเล่นอะไรที่มันดูสมวัยอย่างยิงปืนอัดลม ปาเป้าลูกโป่ง สาวน้อยตกน้ำ อะไรแบบนี้ดีกว่า
เดินไปเดินมาชักจะหิว แต่ยังเลือกไม่ถูกเพราะของกินลานตาเหลือเกิน ที่นี่ฉันได้เห็นขนมหลายๆ อย่างที่ห่างหายจากสายตาไปนาน อย่างขนมตุ้บตั้บ ที่คนทำก็มาทุบขนมกันตุ้บๆ ตั้บๆ ให้ได้ดูกันเห็นๆ หรืออย่างขนมเบื้องญวน ที่เป็นไข่ห่อไส้ข้างก็ไม่ได้เห็นไม่ได้กินมานานแล้ว เฮ้อ..ว่าแล้วก็ชักหิว ขอแวะร้านไหนสักร้านเติมพลังก่อนดีกว่า
ได้มาเที่ยวงานวัดอย่างนี้ก็เหมือนกับได้กลับไปเป็นเด็กอีกครั้งหนึ่ง และฉันว่างานวัดที่ยังคงบรรยากาศเดิมๆ แบบนี้หาไม่ได้ง่ายแล้วละ เพราะฉะนั้นถ้าใครอยากจะสัมผัสงานวัดแบบย้อนยุคอย่างนี้ก็มาเที่ยวงานวัดภูเขาทองกันได้ เขาจัดตั้งแต่วันที่ 12-18 พ.ย. นี้ อ้อ...แล้วอย่าลืมกันล่ะว่า งานที่มีผู้คนมหาศาลอย่างนี้ต้องคอยระวังทรัพย์สินของตัวเองให้ดี ที่ต้องมาเตือนอย่างนี้ก็เพราะเพื่อนฉันสังเวยโทรศัพท์มือถือไปเครื่องหนึ่งแล้วนะสิ แล้วจะหาว่าไม่เตือนจ้า...
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดสระเกศ) ตั้งอยู่ริมคลองมหานาคและคลองรอบกรุง แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. งานวัดภูเขาทอง จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 12-18 พ.ย. 2548 ตั้งแต่เวลา 07.00-24.00 น. ส่วนวันปกติสามารถขึ้นไปสักการะภูเขาทองได้ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0-2223-4561
การเดินทางไปยังวัดสระเกศ มีรถเมล์สาย 15, 47, 79, 511 ผ่าน
คลิกชมภาพบรรยากาศงานวัดภูเขาทองได้ที่นี่