โดย : เหล็งฮู้ชง

“หลวงพระบาง” เมืองสงบงามเมืองนี้มีเสน่ห์มากหลาย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเที่ยวชมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตมีลมหายใจ
ในตัวเมืองหลวงพระบางเปี่ยมเสน่ห์ไปด้วยวิถีของคนหลวงพระบางที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย สงบงาม มีน้ำใจไมตรี และผูกพันกับพุทธศาสนาอย่างแนบแน่น
ในตัวเมืองหลวงพระบางเปี่ยมเสน่ห์ไปด้วยวัดวาอารามที่ยังคงไร้วี่แววพุทธพาณิชย์ และตึกรามบ้านเรือนทั้งแบบลาวแท้ๆและสถาปัตยกรรมโคโรเนียลแบบฝรั่งเศส
ในขณะที่ตัวเมืองหลวงพระบางเปี่ยมเสน่ห์และน่าเที่ยวถึงปานนั้น ตามหมู่บ้านที่นอกตัวเมืองหลวงพระบางก็เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์อันน่าเที่ยวชมไม่แพ้กัน...

เที่ยวบ้านผานม ชมผ้าทอแสนงาม
คนไทยส่วนใหญ่ที่ไปทัวร์หลวงพระบาง มักจะไม่พลาดการไปเที่ยวที่ “บ้านผานม”หมู่บ้านชาวไทลื้อที่อพยพมาจากสิบสองปันนาเมื่อ 100 กว่าไปที่แล้ว
ผู้หญิงชาวไทลื้อที่บ้านผานมถือว่ามีความสามารถเป็นเลิศทางด้านการ“ตำแพน”หรือการทอผ้าด้วยมือโดยใช้กี่กระตุกแบบดั้งเดิม ซึ่งได้สืบทอดฝีมือการทอผ้ามาจากบรรพบุรุษ โดยผู้หญิงที่บ้านผานมเกือบทั้งหมดจะนุ่งซิ่นฝีมือการตำแพนของตัวเอง
ในอดีตชาวบ้านผานมเป็นผู้ทอผ้าถวายแก่เจ้ามหาชีวิต(พระมหากษัตริย์) และขุนนางในราชสำนัก ครั้นพอลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2518 บ้านผานมก็ยุติการทอผ้าให้ราชสำนัก แต่ว่าผู้หญิงของหมู่บ้านก็ยังคงไม่ทิ้งฝีมือการตำแพน โดยเปลี่ยนจากการทอผ้าให้ราชสำนักหันมาทอผ้าขายให้กับนักท่องเที่ยว
และด้วยฝีมือการทอผ้าอันยอดเยี่ยมของชาวบ้านผานม ทั้งในเรื่องลวดลาย ความงามและความประณีตทำให้ผ้าทอบ้านผานมมีชื่อเสียงเลื่องลือไกล กลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงที่สุดในหลวงพระบาง โดยใครที่ไปเที่ยวยังหมู่บ้านนี้ก็จะได้เห็นชาวบ้านประกอบขั้นตอนการทอผ้าอยู่ทั่วไปตั้งแต่การเลี้ยงไหม สาวไหม ปั่นฝ้าย ย้อมสีด้ายจากธรรมชาติ ไปจนถึงการผูกลายและนั่งทอผ้าอยู่ตามใต้ถุนบ้าน

ส่วนใครที่ต้องการซื้อผ้าทอฝีมือชาวบ้านผานมควรไปซื้อที่ศูนย์ส่งเสริมหัตถกรรมของหมู่บ้าน ที่ในนั้นจะมีชาวบ้านผานมนำมาทอมือแท้ๆมาวางขายเต็มไปหมด มีทั้งผ้าซิ่น ผ้าพันคอ ผ้าคลุมเตียง ผ้าปูโต๊ะ กระเป๋า เสื้อ กางเกงเล และอีกมากมายในลวดลายสารพัดแบบทั้งลายสมัยใหม่และลายแบบดั้งเดิม ในสนนราคาย่อมเยาตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักพัน ซึ่งหากใครได้เห็นกระบวนการทำตั้งแต่ต้นจนมาถึงการลงมือทอที่ใช้เวลาหลายวัน ก็จะรู้ว่าผ้าทอมือเหล่านี้เป็นงานระดับมาสเตอร์พีชที่สนนราคาไม่แพงแต่อย่างใดเลย
ส่วนผู้ที่ไม่ได้ไปเยี่ยมชมบ้านผานมหรือยังช้อปผ้าทอมือไม่หนำใจ กลางคืนที่ตลาดมืดในตัวเมืองก็จะมีชาวบ้านผานมนำผ้าทอมือมาวางขายให้เลือกซื้อเลือกต่อราคากันตามความพอใจ
สำหรับผมเสน่ห์ของบ้านผานมไม่ใช่มีแค่ผ้าทอฝีมือเยี่ยมและวิถีชีวิตที่ผูกพันกับเส้นสายลายผ้าเท่านั้น แต่กับน้ำมิตรจิตใจของชาวบ้านผานมนี่ก็นับได้ว่างดงามไม่แพ้กัน...

“บ้านจานเหนือ” หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผา
หมู่บ้านจานเหนือ ชื่อนี้อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนที่เคยไปเที่ยวหลวงพระบางกับทัวร์สักเท่าไหร่ แต่ว่าจริงๆแล้วหมู่บ้านนี้ถือเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวที่มีฝรั่งและญี่ปุ่นนิยมมาเที่ยวกันไม่น้อย
หมู่บ้านจานเหนือ เป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำโขงที่มีชื่อเสียงมากในเรื่องเครื่องปั้นดินเผา โดยวัตถุดิบเกือบทุกอย่างชาวหมู่บ้านจานเหนือนำมาจากในหมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นฟืนที่ชาวบ้านจะออกพายเรือเก็บท่อนไม้หลากหลายขนาดที่ลอยมาตามแม่น้ำโขง ส่วนดินนั้นก็นำมาจากในหมู่บ้าน ที่เหลือก็เป็นการใช้ความสามารถในการปั้นดินให้กลายเป็นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ จากนั้นถึงนำไปเผาซึ่งเตาเผาก็มีอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ ไม่ต้องแบกของไปเผาที่ไหนไกลๆ
อ้าย(พี่ชาย)หุมพัน พงสะหวัด หัวหน้ากลุ่มเครื่องปั้นดินเผาที่ปั้นดินขายมากว่า 15 ปี บอกกับผมว่า จริงๆแล้วชาวบ้านจานเหนือมีอาชีพหลักคือการทำนาที่ทำปี ละ 2 ครั้ง แต่เมื่อว่างเว้นจากการทำนานก็หารายได้เสริมด้วยการทำเครื่องปั้นดินเผาขาย
สำหรับกระบวนการทำเครื่องปั้นดินเผาของบ้านจานเหนือก็เป็นแบบแฮนด์เมดแท้ๆ ที่แม้แต่แป้นหมุนดินเหนียวก็ใช้มือคนหมุน ซึ่งแตกต่างจากบ้านเราที่ส่วนใหญ่จะใช้มอเตอร์หมุน โดยรูปแบบของเครื่องปั้นดินเผาก็มีหลากหลาย ทั้ง หม้อ ไห กระถาง โคมไฟ และงานปั้นรูปแบบพิเศษตามที่ลูกค้าสั่ง

ในวันนั้นอ้ายหุมพันได้โชว์ฝีมือการปั้นดินให้กลายเป็นไหใบสวยงามให้ผมชมภายในเวลาไม่ถึง 15 นาที โดยคนช่วยหมุนแป้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นภรรยาของอ้ายหุมพันเอง เรียกได้ว่า 2 สามีภรรยาคู่นี้ช่วยกันทำมาหากินดีแท้
ครั้นพอปั้นเสร็จอ้ายหุมพันเชิญชวนผมให้ทดลองปั้นดินดูบ้าง งานนี้ผมตอบอ้ายไปว่า ปั้นดินคงไม่ถนัดแต่ว่าถ้าเป็นการปั้นน้ำเป็นตัวละก็ไม่เป็นรองใครอยู่แว้ววว...
นอกจากจะเป็นหมู่บ้านที่โดดเด่นเรื่องเครื่องปั้นดินเผาแล้ว บ้านจานเหนือยังมีสิ่งที่น่าสนใจ อาทิ โบสถ์เก่าแก่อายุกว่า 300 ปีที่ยูเนสโกเตรียมการจะบูรณะ บ้านเรือนแบบลาวดั้งเดิมที่หลายๆบ้านติด“อ่างดาวเทียม”หรือจานดาวเทียมเพื่อเอาไว้ชมทีวีไทย “หลักบ้าน” ที่เป็นเสาไม้ปักอยู่กลางลานหมู่บ้านซึ่งชาวบ้านจานเหนือนับถือและจะทำพิธีบูชาหลักบ้านปีละ 2 ครั้ง
และที่ผมถือว่าเป็นเสน่ห์อย่างมากในหมู่บ้านจานเหนือก็คือ วิถีชีวิตอันเรียบง่ายและสงบงามของชาวบ้านจานเหนือ ซึ่งนับเป็นความสุขตามอัตภาพท่ามกลางวิถีชีวิตแบบพอเพียงที่ไม่เห็นจะต้องนำชีวิตไปผูกไว้กับความเจริญทางวัตถุและความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีแต่อย่างใด...
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
หลวงพระบาง ตั้งอยู่ทางเหนือของสปป.ลาว อดีตเคยเป็นนครหลวงของอาณาจักรลานช้าง ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2538 ใช้เงินกีบเป็นหลักในการซื้อขายโดย 1 บาท ประมาณ 250 กีบ แต่สามารถใช้เงินบาทได้ คนไทยสามารถเข้าหลวงพระบางได้โดยไม่ต้องทำวีซ่า
บ้านผานม อยู่ห่างจากตัวเมืองหลวงพระบางเพียง 5 กม. โดยเมื่อแยกจากทางหมายเลข 13 เหนือ ก่อนถึงสะพานข้ามแม่น้ำคานไปประมาณ 2 กม. ส่วนบ้านจานเหนืออยู่ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง นั่งเรือข้ามโขงจากท่าเรือไปเชียงแมนประมาณ 30 นาที ค่าเข้าชมบ้านจานเหนือ 5 พันกีบ หรือ 20 บาท(250 กีบ เท่ากับ 1 บาท)
นอกจากนี้ที่หลวงพระบางยังมี “บ้านซ่างไห” ที่มีชื่อเรื่องการต้มเหล้าเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านท่องเที่ยวอันโด่งดัง ซึ่งผู้ที่ชอบร่ำสุราน่าจะลองไปกระดกเหล้าแบบพื้นบ้านลาวที่บ้านซ่างไห ที่น้ำเหล้าใสแจ๋วดังตาตั๊กแตนแต่ว่ามากไปด้วยดีกรีที่ร้อนแรงกระดกทีร้อนวาบไปทั้งกระเพาะ โดยบ้านซ่างไหอยู่ห่างจากหลวงพระบางไปทางเหนือตามถนนหมายเลข 13 ประมาณ 25 กม.จากนั้นจะเจอแยกซ้ายมือเลี้ยวเข้าไปอีกประมาณ 5 กม.
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รู้จักหลวงพระบาง
การเดินทางสู่หลวงพระบาง
เก็บ"หลวงพระบาง"ไว้ในใจเสมอ
"หลวงพระบาง"เมืองงาม
“วัดเชียงทอง” สุดยอดวัดงาม แห่ง“หลวงพระบาง”
“หลวงพระบาง” เมืองสงบงามเมืองนี้มีเสน่ห์มากหลาย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเที่ยวชมวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตมีลมหายใจ
ในตัวเมืองหลวงพระบางเปี่ยมเสน่ห์ไปด้วยวิถีของคนหลวงพระบางที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย สงบงาม มีน้ำใจไมตรี และผูกพันกับพุทธศาสนาอย่างแนบแน่น
ในตัวเมืองหลวงพระบางเปี่ยมเสน่ห์ไปด้วยวัดวาอารามที่ยังคงไร้วี่แววพุทธพาณิชย์ และตึกรามบ้านเรือนทั้งแบบลาวแท้ๆและสถาปัตยกรรมโคโรเนียลแบบฝรั่งเศส
ในขณะที่ตัวเมืองหลวงพระบางเปี่ยมเสน่ห์และน่าเที่ยวถึงปานนั้น ตามหมู่บ้านที่นอกตัวเมืองหลวงพระบางก็เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์อันน่าเที่ยวชมไม่แพ้กัน...
เที่ยวบ้านผานม ชมผ้าทอแสนงาม
คนไทยส่วนใหญ่ที่ไปทัวร์หลวงพระบาง มักจะไม่พลาดการไปเที่ยวที่ “บ้านผานม”หมู่บ้านชาวไทลื้อที่อพยพมาจากสิบสองปันนาเมื่อ 100 กว่าไปที่แล้ว
ผู้หญิงชาวไทลื้อที่บ้านผานมถือว่ามีความสามารถเป็นเลิศทางด้านการ“ตำแพน”หรือการทอผ้าด้วยมือโดยใช้กี่กระตุกแบบดั้งเดิม ซึ่งได้สืบทอดฝีมือการทอผ้ามาจากบรรพบุรุษ โดยผู้หญิงที่บ้านผานมเกือบทั้งหมดจะนุ่งซิ่นฝีมือการตำแพนของตัวเอง
ในอดีตชาวบ้านผานมเป็นผู้ทอผ้าถวายแก่เจ้ามหาชีวิต(พระมหากษัตริย์) และขุนนางในราชสำนัก ครั้นพอลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2518 บ้านผานมก็ยุติการทอผ้าให้ราชสำนัก แต่ว่าผู้หญิงของหมู่บ้านก็ยังคงไม่ทิ้งฝีมือการตำแพน โดยเปลี่ยนจากการทอผ้าให้ราชสำนักหันมาทอผ้าขายให้กับนักท่องเที่ยว
และด้วยฝีมือการทอผ้าอันยอดเยี่ยมของชาวบ้านผานม ทั้งในเรื่องลวดลาย ความงามและความประณีตทำให้ผ้าทอบ้านผานมมีชื่อเสียงเลื่องลือไกล กลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงที่สุดในหลวงพระบาง โดยใครที่ไปเที่ยวยังหมู่บ้านนี้ก็จะได้เห็นชาวบ้านประกอบขั้นตอนการทอผ้าอยู่ทั่วไปตั้งแต่การเลี้ยงไหม สาวไหม ปั่นฝ้าย ย้อมสีด้ายจากธรรมชาติ ไปจนถึงการผูกลายและนั่งทอผ้าอยู่ตามใต้ถุนบ้าน
ส่วนใครที่ต้องการซื้อผ้าทอฝีมือชาวบ้านผานมควรไปซื้อที่ศูนย์ส่งเสริมหัตถกรรมของหมู่บ้าน ที่ในนั้นจะมีชาวบ้านผานมนำมาทอมือแท้ๆมาวางขายเต็มไปหมด มีทั้งผ้าซิ่น ผ้าพันคอ ผ้าคลุมเตียง ผ้าปูโต๊ะ กระเป๋า เสื้อ กางเกงเล และอีกมากมายในลวดลายสารพัดแบบทั้งลายสมัยใหม่และลายแบบดั้งเดิม ในสนนราคาย่อมเยาตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักพัน ซึ่งหากใครได้เห็นกระบวนการทำตั้งแต่ต้นจนมาถึงการลงมือทอที่ใช้เวลาหลายวัน ก็จะรู้ว่าผ้าทอมือเหล่านี้เป็นงานระดับมาสเตอร์พีชที่สนนราคาไม่แพงแต่อย่างใดเลย
ส่วนผู้ที่ไม่ได้ไปเยี่ยมชมบ้านผานมหรือยังช้อปผ้าทอมือไม่หนำใจ กลางคืนที่ตลาดมืดในตัวเมืองก็จะมีชาวบ้านผานมนำผ้าทอมือมาวางขายให้เลือกซื้อเลือกต่อราคากันตามความพอใจ
สำหรับผมเสน่ห์ของบ้านผานมไม่ใช่มีแค่ผ้าทอฝีมือเยี่ยมและวิถีชีวิตที่ผูกพันกับเส้นสายลายผ้าเท่านั้น แต่กับน้ำมิตรจิตใจของชาวบ้านผานมนี่ก็นับได้ว่างดงามไม่แพ้กัน...
“บ้านจานเหนือ” หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผา
หมู่บ้านจานเหนือ ชื่อนี้อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนที่เคยไปเที่ยวหลวงพระบางกับทัวร์สักเท่าไหร่ แต่ว่าจริงๆแล้วหมู่บ้านนี้ถือเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวที่มีฝรั่งและญี่ปุ่นนิยมมาเที่ยวกันไม่น้อย
หมู่บ้านจานเหนือ เป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำโขงที่มีชื่อเสียงมากในเรื่องเครื่องปั้นดินเผา โดยวัตถุดิบเกือบทุกอย่างชาวหมู่บ้านจานเหนือนำมาจากในหมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นฟืนที่ชาวบ้านจะออกพายเรือเก็บท่อนไม้หลากหลายขนาดที่ลอยมาตามแม่น้ำโขง ส่วนดินนั้นก็นำมาจากในหมู่บ้าน ที่เหลือก็เป็นการใช้ความสามารถในการปั้นดินให้กลายเป็นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ จากนั้นถึงนำไปเผาซึ่งเตาเผาก็มีอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ ไม่ต้องแบกของไปเผาที่ไหนไกลๆ
อ้าย(พี่ชาย)หุมพัน พงสะหวัด หัวหน้ากลุ่มเครื่องปั้นดินเผาที่ปั้นดินขายมากว่า 15 ปี บอกกับผมว่า จริงๆแล้วชาวบ้านจานเหนือมีอาชีพหลักคือการทำนาที่ทำปี ละ 2 ครั้ง แต่เมื่อว่างเว้นจากการทำนานก็หารายได้เสริมด้วยการทำเครื่องปั้นดินเผาขาย
สำหรับกระบวนการทำเครื่องปั้นดินเผาของบ้านจานเหนือก็เป็นแบบแฮนด์เมดแท้ๆ ที่แม้แต่แป้นหมุนดินเหนียวก็ใช้มือคนหมุน ซึ่งแตกต่างจากบ้านเราที่ส่วนใหญ่จะใช้มอเตอร์หมุน โดยรูปแบบของเครื่องปั้นดินเผาก็มีหลากหลาย ทั้ง หม้อ ไห กระถาง โคมไฟ และงานปั้นรูปแบบพิเศษตามที่ลูกค้าสั่ง
ในวันนั้นอ้ายหุมพันได้โชว์ฝีมือการปั้นดินให้กลายเป็นไหใบสวยงามให้ผมชมภายในเวลาไม่ถึง 15 นาที โดยคนช่วยหมุนแป้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นภรรยาของอ้ายหุมพันเอง เรียกได้ว่า 2 สามีภรรยาคู่นี้ช่วยกันทำมาหากินดีแท้
ครั้นพอปั้นเสร็จอ้ายหุมพันเชิญชวนผมให้ทดลองปั้นดินดูบ้าง งานนี้ผมตอบอ้ายไปว่า ปั้นดินคงไม่ถนัดแต่ว่าถ้าเป็นการปั้นน้ำเป็นตัวละก็ไม่เป็นรองใครอยู่แว้ววว...
นอกจากจะเป็นหมู่บ้านที่โดดเด่นเรื่องเครื่องปั้นดินเผาแล้ว บ้านจานเหนือยังมีสิ่งที่น่าสนใจ อาทิ โบสถ์เก่าแก่อายุกว่า 300 ปีที่ยูเนสโกเตรียมการจะบูรณะ บ้านเรือนแบบลาวดั้งเดิมที่หลายๆบ้านติด“อ่างดาวเทียม”หรือจานดาวเทียมเพื่อเอาไว้ชมทีวีไทย “หลักบ้าน” ที่เป็นเสาไม้ปักอยู่กลางลานหมู่บ้านซึ่งชาวบ้านจานเหนือนับถือและจะทำพิธีบูชาหลักบ้านปีละ 2 ครั้ง
และที่ผมถือว่าเป็นเสน่ห์อย่างมากในหมู่บ้านจานเหนือก็คือ วิถีชีวิตอันเรียบง่ายและสงบงามของชาวบ้านจานเหนือ ซึ่งนับเป็นความสุขตามอัตภาพท่ามกลางวิถีชีวิตแบบพอเพียงที่ไม่เห็นจะต้องนำชีวิตไปผูกไว้กับความเจริญทางวัตถุและความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีแต่อย่างใด...
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
หลวงพระบาง ตั้งอยู่ทางเหนือของสปป.ลาว อดีตเคยเป็นนครหลวงของอาณาจักรลานช้าง ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2538 ใช้เงินกีบเป็นหลักในการซื้อขายโดย 1 บาท ประมาณ 250 กีบ แต่สามารถใช้เงินบาทได้ คนไทยสามารถเข้าหลวงพระบางได้โดยไม่ต้องทำวีซ่า
บ้านผานม อยู่ห่างจากตัวเมืองหลวงพระบางเพียง 5 กม. โดยเมื่อแยกจากทางหมายเลข 13 เหนือ ก่อนถึงสะพานข้ามแม่น้ำคานไปประมาณ 2 กม. ส่วนบ้านจานเหนืออยู่ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง นั่งเรือข้ามโขงจากท่าเรือไปเชียงแมนประมาณ 30 นาที ค่าเข้าชมบ้านจานเหนือ 5 พันกีบ หรือ 20 บาท(250 กีบ เท่ากับ 1 บาท)
นอกจากนี้ที่หลวงพระบางยังมี “บ้านซ่างไห” ที่มีชื่อเรื่องการต้มเหล้าเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านท่องเที่ยวอันโด่งดัง ซึ่งผู้ที่ชอบร่ำสุราน่าจะลองไปกระดกเหล้าแบบพื้นบ้านลาวที่บ้านซ่างไห ที่น้ำเหล้าใสแจ๋วดังตาตั๊กแตนแต่ว่ามากไปด้วยดีกรีที่ร้อนแรงกระดกทีร้อนวาบไปทั้งกระเพาะ โดยบ้านซ่างไหอยู่ห่างจากหลวงพระบางไปทางเหนือตามถนนหมายเลข 13 ประมาณ 25 กม.จากนั้นจะเจอแยกซ้ายมือเลี้ยวเข้าไปอีกประมาณ 5 กม.
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รู้จักหลวงพระบาง
การเดินทางสู่หลวงพระบาง
เก็บ"หลวงพระบาง"ไว้ในใจเสมอ
"หลวงพระบาง"เมืองงาม
“วัดเชียงทอง” สุดยอดวัดงาม แห่ง“หลวงพระบาง”