โดย...หนุ่มลูกทุ่ง

จำได้ไหมว่าฉันเคยพาไปเที่ยวที่ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร" มาแล้ว และยังพอจำได้ไหมที่ฉันเคยบอกไว้ว่า เดิมที่ตรงนี้เป็น "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรือ "วังหน้า" มาก่อน แล้วถ้าฉันจะถามต่อไปว่า รู้ไหมว่า วังหน้าคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร เอ...จะมีใครตอบคำถามนี้ฉันได้บ้างไหมหนอ
บางคนยังบอกด้วยซ้ำว่า แหม... ตั้งแต่หนุ่มลูกทุ่งชวนไปเที่ยวพิพิธภัณฑสถานฯ เมื่อหลายเดือนครั้งกระนู้น จนป่านนี้ก็ยังไม่ได้ไปเลย แล้วจะให้รู้หรือให้จำอะไรได้…
โธ่ !! ไอ้ฉันก็ประเภทนิยมในลูกตื๊อเป็นยิ่งนัก ถ้าใครยังไม่ได้ไป ฉันก็อยากจะชวนไป ยิ่งช่วงนี้เขามีงาน "ยอยศวังหน้า" จัดแสดงอยู่อีก ฉันก็ยิ่งอยากให้ทุกคนมีโอกาสได้ไปเที่ยวชมสมบัติที่ดีงามและทรงคุณค่าของชาติในมุมมองอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย

อันที่จริง เรื่องราวของวังหน้านั้นอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก เอาเป็นว่าฉันจะเล่าคร่าวๆ ว่า "วังหน้า" ก็คือพระราชวังที่ประทับของพระมหาอุปราช เรียกในทางการว่า "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรืออีกนัยหนึ่งก็เรียก พระมหาอุปราช ว่า "วังหน้า"ด้วย ซึ่งสาเหตุที่เรียกพระมหาอุปราชว่าวังหน้านั้นก็มีที่มาจากการจัดกระบวนทัพในสมัยโบราณ ซึ่งจัดเป็นทัพหน้า ทัพกลาง (ทัพหลวง) และทัพหลัง
โดยที่พระมหาอุปราชมีตำแหน่งเป็นจอมทัพหน้า เสด็จไปก่อนทัพพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเสด็จไปเป็นทัพหลวง แม้แต่พระราชวังที่ประทับของพระมหาอุปราชในพระนครก็ตั้งตามตำแหน่งทัพด้านรับหน้าศึก พระมหาอุปราชจึงขึ้นชื่อว่าฝ่ายหน้าหรือวังหน้าเป็นประเพณีสืบมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
ซึ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราช "กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท" หรือชื่อเดิมว่า บุญมา ผู้ที่ทรงผ่านศึกร้อนหนาวมาพร้อมกันให้เป็นพระมหาอุปราช จึงนับว่าพระองค์ท่านเป็นวังหน้าพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และพระองค์ท่านยังได้โปรดให้สร้าง พระราชวังบวรสถานมงคล เป็นพระราชวังที่ประทับของผู้ทรงดำรงพระอิสริยยศ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า โดยเริ่มสร้างพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังในปี พ.ศ. 2325

นอกจากวังหน้า "กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท" แล้ว ที่รู้จักกันดีอีกพระองค์หนึ่งก็คือ "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" ในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้ยกเลิกตำแหน่งนี้เมื่อวังหน้าพระองค์สุดท้ายคือกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทิวงคต เมื่อพุทธศักราช 2428 ในสมัยรัชกาลที่ 5 รวมเวลาที่มีตำแหน่งวังหน้า 6 พระองค์ในสมัยรัตนโกสินทร์คือ 103 ปี
ในอดีตอาณาเขตของพระราชวังบวรสถานมงคลนั้นกว้างขวางมาก แต่ปัจจุบันได้ดัดแปลงส่วนหนึ่งเป็นสนามหลวง และถนน และเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยช่างศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งสถานที่เหล่านี้ล่ะ ที่จะเป็นที่ให้เราได้ย้อนกลับไปดูไปเห็นว่าวังหน้าเป็นอย่างไร
แต่ตอนนี้ฉันจะยังไม่เข้าไปที่พระราชวังบวรสถานมงคลหรือตอนนี้ที่กลายมาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพราะว่าฉันจะไปที่ "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร" ก่อน ซึ่งวัดแห่งนี้ถือว่ามีความสำคัญ เพราะว่าเป็นวัดที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่พร้อมๆ กับการสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล
ก่อนจะเป็นวัดที่ผู้คนเรียกชื่อกันอย่างคุ้นเคยว่า "วัดมหาธาตุ" นั้น วัดนี้เคยมีชื่ออยู่หลายชื่อ โดยเริ่มแรกตั้งแต่สมัยอยุธยามีชื่อว่า วัดสลัก จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดนิพพานาราม และเมื่อรัชกาลที่ 1โปรดเกล้าฯ ให้เป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ. 2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดพระศรีสรรเพชญ และเปลี่ยนเป็น วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช
และหลังจากกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จสวรรคตรัชกาลที่ 1 ทรงเปลี่ยนนามพระอารามใหม่ว่า "วัดมหาธาตุ" ส่วนคำว่า "ยุวราชรังสฤษดิ์" มาเติมในสมัยรัชกาลที่ 5 จนท้ายที่สุดก็เป็น “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร” ในปัจจุบัน และที่วัดนี้ยังมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ชื่อ "มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย" สำหรับเป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ แม่ชี และบุคคลทั่วไปด้วย

อย่าเพิ่งมึนกับชื่อวัด เพราะยังมีสิ่งดีๆ ที่น่าชมในวัดอีกมาก อย่างเช่น “พระอุโบสถ” ซึ่งจะแตกต่างจากโดยทั่วไปคือ ไม่มีมุขหน้าหลังทางเข้าออกมีสองด้านและขนาดใหญ่กว่าพระอุโบสถอื่น ส่วนพระประธานขนาดใหญ่ลงรักปิดทอง ก็เป็นฝีมือของพระยาเทวารังสรรค์ซึ่งถือว่าเป็นยอดฝีมือช่างวังหน้า
นอกจากนี้ “พระมณฑป” ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของพระอุโบสถนั้น ภายในได้ประดิษฐานพระเจดีย์ทองศรีรัตนมหาธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นศิลปะแบบรัชกาลที่ 1 ซึ่งถือเป็นเจดีย์แบบฉบับของเจดีย์สมัยรัตนโกสินทร์ยุคแรก ตลอดทั้งองค์ลงรักปิดทองคำเปลวที่สวยงาม
แต่ที่จะขาดไม่ได้ก็คือ "พระบรมรูปของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท" วังหน้าผู้ทรงสถาปนาวัดและประดิษฐานอยู่หน้าวิหารโพธิลังกา ก่อนหน้านี้ฉันก็ผ่านไปผ่านมาและให้นึกสงสัยว่าเป็นพระบรมรูปของพระองค์ใด กระทั่งครั้งนี้ได้มีโอกาสตามรอยวังหน้าจึงได้ถึงบางอ้อ รู้แล้วว่าพระบรมรูปในท่าประทับยืนประนมมือถือดาบหันพระพักตร์ออกสู่สนามหลวงนี้ก็คือพระอนุชาแห่งรัชกาลที่ 1 และยังเป็นแม่ทัพคนสำคัญของกองทัพไทยในสมัยเริ่มก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์

หลังจากถวายความเคารพพระบรมรูปแล้วฉันก็เดินไปตามถนนหน้าพระธาตุเข้าสู่เขตวังหน้าชั้นใน นั่นก็คือ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ฉันนึกสนุกๆ ว่าถ้าย้อนไปในอดีต นักศึกษาสาวๆ สวยๆ ที่ฉันเดินผ่านก็คงเป็นสาวชาววังผู้อ้อนแอ้นอรชร ส่วนชายหนุ่มอย่างฉันก็คงไม่มีสิทธิ์เดินผ่านไปได้โดยง่ายแน่ แต่ในเมื่อเป็นยุคปัจจุบัน เขตวังชั้นในที่เห็นและเป็นอยู่ตอนนี้ จึงเหลือเพียงซากแนวกำแพงวังซึ่งอยู่ที่โรงอาหารเป็นนิทรรศการขนาดย่อมไว้ให้ศึกษา
ฉันเดินออกประตูหลังของธรรมศาสตร์ ต่อไปที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ เพราะที่นี่มี "วัดบวรสถานสุทธาวาส" หรือเรียกอีกชื่อว่า วัดพระแก้ววังหน้า เพราะเป็นวัดที่อยู่ในเขตพระราชวังบวรสถานมงคลเช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่อยู่ในเขตพระราชวัง โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพงเสพ พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขึ้น ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ใช้เป็นพระเมรุพิมานประดิษฐานพระบรมศพเจ้านายหลายพระองค์เวลาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลแทนพระเมรุใหญ่ที่สนามหลวง
ฉันชื่นชมความงามของจิตรกรรมฝาผนังรอบๆ วัดพระแก้ววังหน้าอยู่เป็นนานสองนาน เพราะล้วนเป็นภาพที่สวยงามและทรงคุณค่าคือนอกจากจะเป็นภาพพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าทั้ง 28 พระองค์แล้ว ยังจะเห็นว่าเพราะระยะการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์นั้นนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสภาพบ้านเมืองและประเพณีวัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัยผ่านภาพจิตรกรรม นับว่าเป็นอีกหนึ่งบทบันทึกประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นๆ ได้เป็นอย่างดี
จากนั้นฉันก็ไปสิ้นสุดการเยือนถิ่นวังหน้า ณ ที่ "พระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งได้เปลี่ยนมาเป็น "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร" รวมไปถึงพื้นที่เขตวังหน้าอื่นๆ ก็เพื่อใช้เป็นสถาบันการศึกษาและสถานที่ราชการสำคัญ ฉันจะไม่เล่าซ้ำล่ะว่าที่แห่งนี้มีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร เพราะฉันเคยมาแล้วครั้งหนึ่ง เหลือแต่คุณๆ นั่นล่ะ ที่น่าจะหาโอกาสมาสัมผัสและเยี่ยมเยือนถิ่นวังหน้ากันสักครั้ง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วันนี้-30 ก.ย. 48 มีนิทรรศการ "ยอยศวังหน้า" ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ภายในงานมีการจัดแสดงถึงพระอิสริยยศ พระกรณียกิจ ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ศิลปกรรมและวิถีชีวิตของชาววังหน้า พร้อมทั้งมีการนำปืนใหญ่ขนาดเล็กหรือ "ปืนหามแล่น" จำนวน 54 กระบอก สมัยอยุธยาตอนปลายอายุประมาณ 200-250 ปี ซึ่งขุดพบขณะวางท่อสายไฟในบริเวณพิพิธภัณฑ์เมื่อปี 2541 มาจัดแสดงเป็นครั้งแรก พร้อมลูกปืนใหญ่ พระพุทธรูป พระเครื่องโคนสมอ พระบุเงิน ฯลฯ รวมไปถึงโบราณวัตถุที่เป็นเครื่องใช้ของวังหน้าผู้ครอบครองพระบวรราชวังแห่งนี้
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2224-1333
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
"พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" แหล่งรวมของดีของไทย ที่ไม่ไปไม่รู้
จำได้ไหมว่าฉันเคยพาไปเที่ยวที่ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร" มาแล้ว และยังพอจำได้ไหมที่ฉันเคยบอกไว้ว่า เดิมที่ตรงนี้เป็น "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรือ "วังหน้า" มาก่อน แล้วถ้าฉันจะถามต่อไปว่า รู้ไหมว่า วังหน้าคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร เอ...จะมีใครตอบคำถามนี้ฉันได้บ้างไหมหนอ
บางคนยังบอกด้วยซ้ำว่า แหม... ตั้งแต่หนุ่มลูกทุ่งชวนไปเที่ยวพิพิธภัณฑสถานฯ เมื่อหลายเดือนครั้งกระนู้น จนป่านนี้ก็ยังไม่ได้ไปเลย แล้วจะให้รู้หรือให้จำอะไรได้…
โธ่ !! ไอ้ฉันก็ประเภทนิยมในลูกตื๊อเป็นยิ่งนัก ถ้าใครยังไม่ได้ไป ฉันก็อยากจะชวนไป ยิ่งช่วงนี้เขามีงาน "ยอยศวังหน้า" จัดแสดงอยู่อีก ฉันก็ยิ่งอยากให้ทุกคนมีโอกาสได้ไปเที่ยวชมสมบัติที่ดีงามและทรงคุณค่าของชาติในมุมมองอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย
อันที่จริง เรื่องราวของวังหน้านั้นอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก เอาเป็นว่าฉันจะเล่าคร่าวๆ ว่า "วังหน้า" ก็คือพระราชวังที่ประทับของพระมหาอุปราช เรียกในทางการว่า "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรืออีกนัยหนึ่งก็เรียก พระมหาอุปราช ว่า "วังหน้า"ด้วย ซึ่งสาเหตุที่เรียกพระมหาอุปราชว่าวังหน้านั้นก็มีที่มาจากการจัดกระบวนทัพในสมัยโบราณ ซึ่งจัดเป็นทัพหน้า ทัพกลาง (ทัพหลวง) และทัพหลัง
โดยที่พระมหาอุปราชมีตำแหน่งเป็นจอมทัพหน้า เสด็จไปก่อนทัพพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเสด็จไปเป็นทัพหลวง แม้แต่พระราชวังที่ประทับของพระมหาอุปราชในพระนครก็ตั้งตามตำแหน่งทัพด้านรับหน้าศึก พระมหาอุปราชจึงขึ้นชื่อว่าฝ่ายหน้าหรือวังหน้าเป็นประเพณีสืบมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
ซึ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราช "กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท" หรือชื่อเดิมว่า บุญมา ผู้ที่ทรงผ่านศึกร้อนหนาวมาพร้อมกันให้เป็นพระมหาอุปราช จึงนับว่าพระองค์ท่านเป็นวังหน้าพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และพระองค์ท่านยังได้โปรดให้สร้าง พระราชวังบวรสถานมงคล เป็นพระราชวังที่ประทับของผู้ทรงดำรงพระอิสริยยศ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า โดยเริ่มสร้างพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังในปี พ.ศ. 2325
นอกจากวังหน้า "กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท" แล้ว ที่รู้จักกันดีอีกพระองค์หนึ่งก็คือ "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" ในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้ยกเลิกตำแหน่งนี้เมื่อวังหน้าพระองค์สุดท้ายคือกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทิวงคต เมื่อพุทธศักราช 2428 ในสมัยรัชกาลที่ 5 รวมเวลาที่มีตำแหน่งวังหน้า 6 พระองค์ในสมัยรัตนโกสินทร์คือ 103 ปี
ในอดีตอาณาเขตของพระราชวังบวรสถานมงคลนั้นกว้างขวางมาก แต่ปัจจุบันได้ดัดแปลงส่วนหนึ่งเป็นสนามหลวง และถนน และเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยช่างศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งสถานที่เหล่านี้ล่ะ ที่จะเป็นที่ให้เราได้ย้อนกลับไปดูไปเห็นว่าวังหน้าเป็นอย่างไร
แต่ตอนนี้ฉันจะยังไม่เข้าไปที่พระราชวังบวรสถานมงคลหรือตอนนี้ที่กลายมาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพราะว่าฉันจะไปที่ "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร" ก่อน ซึ่งวัดแห่งนี้ถือว่ามีความสำคัญ เพราะว่าเป็นวัดที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่พร้อมๆ กับการสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล
ก่อนจะเป็นวัดที่ผู้คนเรียกชื่อกันอย่างคุ้นเคยว่า "วัดมหาธาตุ" นั้น วัดนี้เคยมีชื่ออยู่หลายชื่อ โดยเริ่มแรกตั้งแต่สมัยอยุธยามีชื่อว่า วัดสลัก จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดนิพพานาราม และเมื่อรัชกาลที่ 1โปรดเกล้าฯ ให้เป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ. 2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดพระศรีสรรเพชญ และเปลี่ยนเป็น วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช
และหลังจากกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จสวรรคตรัชกาลที่ 1 ทรงเปลี่ยนนามพระอารามใหม่ว่า "วัดมหาธาตุ" ส่วนคำว่า "ยุวราชรังสฤษดิ์" มาเติมในสมัยรัชกาลที่ 5 จนท้ายที่สุดก็เป็น “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร” ในปัจจุบัน และที่วัดนี้ยังมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ชื่อ "มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย" สำหรับเป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ แม่ชี และบุคคลทั่วไปด้วย
อย่าเพิ่งมึนกับชื่อวัด เพราะยังมีสิ่งดีๆ ที่น่าชมในวัดอีกมาก อย่างเช่น “พระอุโบสถ” ซึ่งจะแตกต่างจากโดยทั่วไปคือ ไม่มีมุขหน้าหลังทางเข้าออกมีสองด้านและขนาดใหญ่กว่าพระอุโบสถอื่น ส่วนพระประธานขนาดใหญ่ลงรักปิดทอง ก็เป็นฝีมือของพระยาเทวารังสรรค์ซึ่งถือว่าเป็นยอดฝีมือช่างวังหน้า
นอกจากนี้ “พระมณฑป” ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของพระอุโบสถนั้น ภายในได้ประดิษฐานพระเจดีย์ทองศรีรัตนมหาธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นศิลปะแบบรัชกาลที่ 1 ซึ่งถือเป็นเจดีย์แบบฉบับของเจดีย์สมัยรัตนโกสินทร์ยุคแรก ตลอดทั้งองค์ลงรักปิดทองคำเปลวที่สวยงาม
แต่ที่จะขาดไม่ได้ก็คือ "พระบรมรูปของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท" วังหน้าผู้ทรงสถาปนาวัดและประดิษฐานอยู่หน้าวิหารโพธิลังกา ก่อนหน้านี้ฉันก็ผ่านไปผ่านมาและให้นึกสงสัยว่าเป็นพระบรมรูปของพระองค์ใด กระทั่งครั้งนี้ได้มีโอกาสตามรอยวังหน้าจึงได้ถึงบางอ้อ รู้แล้วว่าพระบรมรูปในท่าประทับยืนประนมมือถือดาบหันพระพักตร์ออกสู่สนามหลวงนี้ก็คือพระอนุชาแห่งรัชกาลที่ 1 และยังเป็นแม่ทัพคนสำคัญของกองทัพไทยในสมัยเริ่มก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์
หลังจากถวายความเคารพพระบรมรูปแล้วฉันก็เดินไปตามถนนหน้าพระธาตุเข้าสู่เขตวังหน้าชั้นใน นั่นก็คือ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ฉันนึกสนุกๆ ว่าถ้าย้อนไปในอดีต นักศึกษาสาวๆ สวยๆ ที่ฉันเดินผ่านก็คงเป็นสาวชาววังผู้อ้อนแอ้นอรชร ส่วนชายหนุ่มอย่างฉันก็คงไม่มีสิทธิ์เดินผ่านไปได้โดยง่ายแน่ แต่ในเมื่อเป็นยุคปัจจุบัน เขตวังชั้นในที่เห็นและเป็นอยู่ตอนนี้ จึงเหลือเพียงซากแนวกำแพงวังซึ่งอยู่ที่โรงอาหารเป็นนิทรรศการขนาดย่อมไว้ให้ศึกษา
ฉันเดินออกประตูหลังของธรรมศาสตร์ ต่อไปที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ เพราะที่นี่มี "วัดบวรสถานสุทธาวาส" หรือเรียกอีกชื่อว่า วัดพระแก้ววังหน้า เพราะเป็นวัดที่อยู่ในเขตพระราชวังบวรสถานมงคลเช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่อยู่ในเขตพระราชวัง โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพงเสพ พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขึ้น ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ใช้เป็นพระเมรุพิมานประดิษฐานพระบรมศพเจ้านายหลายพระองค์เวลาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลแทนพระเมรุใหญ่ที่สนามหลวง
ฉันชื่นชมความงามของจิตรกรรมฝาผนังรอบๆ วัดพระแก้ววังหน้าอยู่เป็นนานสองนาน เพราะล้วนเป็นภาพที่สวยงามและทรงคุณค่าคือนอกจากจะเป็นภาพพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าทั้ง 28 พระองค์แล้ว ยังจะเห็นว่าเพราะระยะการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์นั้นนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสภาพบ้านเมืองและประเพณีวัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัยผ่านภาพจิตรกรรม นับว่าเป็นอีกหนึ่งบทบันทึกประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นๆ ได้เป็นอย่างดี
จากนั้นฉันก็ไปสิ้นสุดการเยือนถิ่นวังหน้า ณ ที่ "พระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งได้เปลี่ยนมาเป็น "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร" รวมไปถึงพื้นที่เขตวังหน้าอื่นๆ ก็เพื่อใช้เป็นสถาบันการศึกษาและสถานที่ราชการสำคัญ ฉันจะไม่เล่าซ้ำล่ะว่าที่แห่งนี้มีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร เพราะฉันเคยมาแล้วครั้งหนึ่ง เหลือแต่คุณๆ นั่นล่ะ ที่น่าจะหาโอกาสมาสัมผัสและเยี่ยมเยือนถิ่นวังหน้ากันสักครั้ง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วันนี้-30 ก.ย. 48 มีนิทรรศการ "ยอยศวังหน้า" ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ภายในงานมีการจัดแสดงถึงพระอิสริยยศ พระกรณียกิจ ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ศิลปกรรมและวิถีชีวิตของชาววังหน้า พร้อมทั้งมีการนำปืนใหญ่ขนาดเล็กหรือ "ปืนหามแล่น" จำนวน 54 กระบอก สมัยอยุธยาตอนปลายอายุประมาณ 200-250 ปี ซึ่งขุดพบขณะวางท่อสายไฟในบริเวณพิพิธภัณฑ์เมื่อปี 2541 มาจัดแสดงเป็นครั้งแรก พร้อมลูกปืนใหญ่ พระพุทธรูป พระเครื่องโคนสมอ พระบุเงิน ฯลฯ รวมไปถึงโบราณวัตถุที่เป็นเครื่องใช้ของวังหน้าผู้ครอบครองพระบวรราชวังแห่งนี้
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2224-1333
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
"พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" แหล่งรวมของดีของไทย ที่ไม่ไปไม่รู้