โดย : ปิ่น บุตรี

“บนถนนหนทางซุปเปอร์ไฮเวย์
หนุ่มพเนจรท่องไปกลางฝัน
ฝันของเจ้าดูเลิศล้ำลาวัณย์
ฝันเจ้าฝันว่าโลกพิสุทธิ์เมลืองมลัง...“
เพลง "หนุ่มพเนจร" วง "คาราวาน"(คลิกฟังเพลงหนุ่มพเนจรได้ที่ไอคอนมุมบนขวามือ)
เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว สมัยที่ผมยังใช้ชีวิตอย่าง ระห่ำ มัน ฝัน แสวงหา และบ้าบอคอแตก ตามสไตล์เด็กแนวส่วนหนึ่งในยุคนั้น
สิ่งหนึ่งที่นิยมทำก็คือการออกลุยถั่วตะลอนเที่ยวทั่วไปในรูปแบบของซำเหมาแมนที่มีคอนเซ็ปต์ประจำกลุ่มว่า “ถึงไม่มีตังค์ แต่ก็ดันทุรังอยากเที่ยว” ทำให้ชีวิตบางส่วน บางมุม จึงออกจะดูคล้ายกับ“หนุ่มพเนจร”ในบทเพลงของคาราวานอยู่บ้าง โดยเฉพาะเรื่องของการแบกเป้โบกรถเที่ยวไปตามที่ต่างๆ ซึ่งประสบการณ์โบกรถครั้งแรกของผมนั้นเกิดจากพฤติกรรมเลียนแบบที่ “ถนนบนเขาใหญ่”ซึ่งผมยังจดจำบรรยากาศครั้งนั้นได้เป็นอย่างดี
ครั้งนั้นสมัยที่ยังเรียนอยู่ ม.ปลาย ผมขึ้นเขาใหญ่เป็นครั้งแรกด้วยความไม่ประสีประสา รู้แต่เพียงว่าที่หมอชิต(เก่า)มีรถทัวร์วิ่งขึ้นเขาใหญ่
และทันทีที่ขึ้นไปถึงบนเขาใหญ่ “ปาก”ของพวกเราก็ทำหน้าที่ทันที ทั้งถามไถ่นักท่องเที่ยวคนอื่น ขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่อุทยานฯ
จากนั้นพวกเราที่ไม่มีรถและไม่สตางค์พอที่จะเช่ารถ ก็เริ่มออกเดินเท้าเที่ยวตามจุดน่าสนใจต่างๆบนเขาใหญ่เท่าที่กำลังขาและกำลังใจจะพาไปได้ โดยยึดเอา“ผากล้วยไม้”จุดกางเต็นท์นอนเป็นฐานที่มั่น โดยจุดแรกที่ตั้งเป้าไว้ก็คือ“น้ำตกเหวสุวัต”
ว่าแล้วผมกับเพื่อนๆก็ออกเดินลุยถั่วในเส้นทางเดินป่า “ผากล้วยไม้-น้ำตกเหวสุวัต” ที่มีระยะทางประมาณ 3 กม.ในทันทีที่เรี่ยวแรงยังมี
ขาไปพวกเราไม่โดดเดี่ยวเพราะว่ามีนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นร่วมเดินทางไปด้วยกัน แต่ว่าขากลับนี่สิ พวกขาลุยที่เดินมาด้วยกันหายไปไหนหมด ทำไมไม่ยอมเดินกลับด้วยกัน
และในระหว่างที่กลุ่มของผมกำลังยืนเก้ๆกังๆอยู่ว่าจะเอายังไงกันดี สายตาก็เหลือบไปเห็นนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งกำลังยืนโบกรถกันอยู่ แล้วจากนั้นไม่นานพวกเขาก็ขึ้นกระบะรถคันหนึ่งแล่นหายไป
งานนี้เมื่อเห็นคนอื่นทำได้ ด้วยความขี้เกียจเดินผสมกับพฤติกรรมเลียนแบบ หัวใจก็สั่งมาให้พวกเราก็ลองทำดูมั่ง
รถคันแรกแล่นผ่านเลยไป ส่วนคันที่ 2 แวะรับพร้อมๆกับพาพวกเราไปส่งที่ผากล้วยไม้อย่างเต็มเปี่ยมไปด้วยมิตรไมตรี และนั่นก็คือครั้งแรกที่ผมรู้จักกลับการโบกรถ และก็เป็นครั้งแรกในการขึ้นเขาใหญ่ด้วย
เมื่อมีครั้งแรก ครั้งที่ 2,3,4 และครั้งที่นับไม่ถ้วนก็ย่อมตามมา ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าเราหน้าด้านมากขึ้น เอ้ย!!! ไม่ใช่ เรามีความชำนาญมากขึ้น มีทั้งโบกขึ้นเหนือ-ล่องใต้-ไปอีสาน และทั่วเมืองไทย บางครั้งที่บังเอิญโชคดีก็จะได้โบกกับพาหนะที่ไม่คาดฝันอย่างเช่น โบกเรือรบ โบกเฮลิคอปเตอร์ โบกเกวียน โบกรถอีแต๊ก และโบกฯลฯ
แต่ถึงแม้ว่าดีกรีการโบกรถจะเข้มข้นขึ้น แต่ผมก็ไม่เคยลืมการโบกรถบนเขาใหญ่ที่ถือเป็นจุดเริ่มต้น
หลังจากนั้นมาผมกลับเพื่อนๆก็โบกรถเที่ยวบนเขาใหญ่กันอยู่บ่อยครั้ง เพราะบนเขาใหญ่นั้นโบกรถไม่ยากเย็นแต่อย่างใด แม้ว่าบางครั้งเจ้าของรถที่แวะจอดรับจะขอให้แสดงบัตรนักศึกษาเพื่อความไว้ใจ เพราะในช่วงที่ผมเรียนอยู่มหาวิทยาลัยนั้น บังเอิญว่าหน้าตาดีจนดูคล้ายกับนักร้องดัง อย่าง “เสก โลโซ” และ “ไท ธนาวุฒิ” การโบกรถจึงต้องแสดงบัตรนักศึกษาบ้างในบางครั้ง
และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง(อีก)ครั้งสำคัญบนเขาใหญ่ ที่มีการปิดโรงแรม ปิดสนามกอล์ฟ ปิดรถทัวร์สายขึ้นเขาใหญ่ พร้อมๆกับกำหนดเวลาเปิด-ปิดถนนบนเส้นที่ตัดผ่านอุทยานฯเขาใหญ่(ปากช่อง-ปราจีนบุรี) ก็ดูเหมือนว่าถนนบนเขาใหญ่ที่ผมคุ้นเคยจะยิ่งมีเสน่ห์มากขึ้น
เพราะถนนบนเขาใหญ่ส่วนใหญ่เริ่มสงบมากขึ้น นอกจากนี้ยังดูสวยงามและร่มรื่นไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่นานาพันธุ์ ส่วนบางช่วงที่เป็นทุ่งหญ้า ก็ดูพัดพลิ้วท่ามกลางขุนเขา แต่ก็มีข้อยกเว้นว่า ต้องเป็นในวันปกติที่ไม่ใช่วันหยุดยาวหรือลองวีคเอนด์ เพราะหากเป็นในช่วงนั้นถนนบนเขาใหญ่จะเต็มไปด้วยรถนักท่องเที่ยวมากมายมหาศาล บางช่วงอย่างในเส้นทางที่ใกล้จะถึงน้ำตกเหวสุวัตและเส้นทางก่อนจะถึงน้ำตกเหวนรกมีรถติดระยับ!!! ไม่ต่างไปจากกรุงเทพฯเท่าใดนัก
นอกเหนือไปจากความร่มรื่นสวยงามและความคดไปเคี้ยวมาแล้ว ถนนบนเขาใหญ่ยังมีความพิเศษกว่าถนนทั่วไปตรงที่ถนนสายนี้ บางช่วงไม่ได้เป็นทางสัญจรของคนและรถเท่านั้น แต่ว่ายังเป็นทางสัญจรอันสำคัญของสัตว์อีกด้วย

ใครที่ขึ้นเขาใหญ่แล้วโชคดีก็จะได้พบกับ เก้ง กวาง ช้าง ชะนี ลิง ออกหากินอยู่ริมทาง และก็มีบ้างที่สัตว์เหล่านั้นเดินเอ้อระเหยลอยชายข้ามถนน ซึ่งคนที่ขับรถก็ต้องระวังให้ดี โดยเฉพาะช่วงเช้ากับช่วงเย็นจะมีโอกาสพบสัตว์ออกหากินริมถนนมากเป็นพิเศษ
ส่วนใครที่อยากเห็นบรรยากาศหากินของสัตว์ยามค่ำคืนก็ให้ใช้บริการส่องสัตว์ของทางอุทยานฯที่จะมีรถ 6 ล้อ พานักท่องเที่ยวแล่นไปตามถนน ที่ 2 ข้างทางเต็มไปด้วย เก้ง กวาง ช้าง ลิง และสัตว์อีกหลายชนิดออกหากิน
และด้วยความที่ถนนบนเขาใหญ่สามารถพบเห็นสัตว์ได้บ่อยครั้งก็ทำให้มีนักท่องเที่ยวผู้ประสงค์ดี แต่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ มักจะหยิบยื่นอาหารให้เหล่าสรรพสัตว์ที่พบเจอกินจนทำให้สัตว์หลายตัวเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างเหล่าบรรดาเจ้าจ๋อทั้งหลายที่พักหลังๆไม่ยอมไปหากินในป่า แต่ว่ามักจะมาคอยดักรถนักท่องเที่ยวเพื่อขออาหารกิน จนทำให้ลิงบางตัวถูกรถชนตาย ลิงบางตัวตายเพราะไปกินพลาสติกที่ติดมากับอาหาร ซึ่งเรื่องนี้ทางอุทยานฯ ก็ได้พยายามขอร้องให้นักท่องเที่ยวเลิกพฤติกรรมการหวังดีแต่เป็นผลร้ายเช่นนี้
เมื่อการขอร้องธรรมดาไม่ค่อยเห็นผลทางอุทยานฯก็เลยใช้วิธีการขอร้องเชิงไสยศาสตร์ด้วยการหยิบยกเหตุผลมาว่า “หากใครให้อาหารสัตว์บนเขาใหญ่อาจจะเป็นการลบหลู่เจ้าพ่อเขาใหญ่ได้” ซึ่งงานนี้ก็ช่วยลดพฤติกรรมให้อาหารสัตว์ของนักท่องเที่ยวได้พอสมควร
มาวันนี้หลังจากที่ป่าเขาใหญ่และดงพญาเย็น อันประกอบไปด้วย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่-ทับลาน-ปางสีดา-ตาพระยา-และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของเมืองไทย
สิ่งหนึ่งที่เริ่มมีคนพูดถึงกันมากขึ้นก็คือเรื่องของแนวทางการจัดการกับทางหลวงหมายเลข 304 อันเป็นถนนอีกเส้นหนึ่งที่ตัดผ่านเขาใหญ่(คนละเส้นกับถนนสายปากช่อง-ปราจีนฯ) ซึ่งถนนสายนี้ได้แบ่งผืนป่าเขาใหญ่และป่าทับลานออกจากกัน แต่ว่าหากยึดตามกฎมรดกโลกของยูเนสโกแล้วจำเป็นที่จะต้องทำให้ผืนป่าเชื่อมติดกัน
สำหรับแนวทางนั้นบ้างก็ว่าจะทำอุโมงค์ให้รถวิ่งลอด บ้างก็ว่าจะทำทางลอยฟ้าให้รถวิ่งข้าม ส่วนถนนเส้นเดิมก็ปิดตายเพื่อให้ผืนป่าเชื่อมติดกัน งานนี้ก็คงต้องตามดูกันต่อไปว่าจะออกมารูปแบบใด พร้อมๆกับต้องตามดูในเรื่องของงบประมาณด้วย เพราะโครงการประเภทนี้ใช้งบมากโขอยู่
จากเรื่องราวบางส่วนของถนนบนเขาใหญ่ จะเห็นได้ว่าถนนลาดยางที่ดูธรรมดานั้น หากมองลึกลงไปกลับมีความไม่ธรรมดาแฝงอยู่ เช่นเดียวกับส่วนหนึ่งของถนนแนวกันชนรอบๆเขาใหญ่ที่ดูผิวเผินก็อาจจะเป็นเพียงถนนลูกรังธรรมดาๆ แต่ว่าลึกๆลงไปแล้วเท่าที่ผมได้สดับรับฟังจากชาวบ้านกลุ่มหนึ่งและเจ้าหน้าที่อุทยานฯบางคน
ถนนแนวกันชนรอบป่าเขาใหญ่นี้มีความพิเศษตรงที่ นอกจากจะเป็นจุดแบ่งระหว่างพื้นที่ป่ากับพื้นที่ไร่-สวนของชาวบ้านอย่างชัดเจนแล้ว ยังเป็นถนนที่ใช้ป้องกันนักการเมือง(บางคน)ไม่ให้ฉกฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากผืนป่า เนื่องจากว่าที่ผ่านมานักการเมืองคนนี้(ชาวบ้านแถวเขาใหญ่ต่างรู้จักชื่อเสียงเรียงนามกันดี) ในสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งใหญ่โตนั้น ได้ใช้ผืนป่าเขาใหญ่เป็นลู่ทางทำมาหากินให้ตัวเอง โดยมีการขอเวนคืนที่รอบๆเขาใหญ่ของชาวบ้าน ซึ่งเขาคนนั้นได้อ้างว่าจะนำที่ดินของชาวบ้านไปฟื้นฟูเป็นป่ากันชนรอบๆเขาใหญ่ แต่ว่าสุดท้ายนักการเมืองคนนั้นกลับนำที่ดินของชาวบ้านไปสร้างรีสอร์ท พร้อมๆกับพยายามรุกคืบผืนป่าเขาใหญ่เข้าไปเรื่อยๆ
ด้วยเหตุนี้ทำให้ทางอุทยานฯและชาวบ้านในพื้นที่ ที่แม้ว่าแต่เดิมพวกเขาจะไม่ค่อยกินเส้นกัน แต่ว่ากับเหตุผลเพื่อสกัดการรุกป่าเขาใหญ่ของนักการเมือง พวกเขาจึงหันหน้าเข้าหากันโดยมีจุดประสานเป็นโครงการถนนแนวกันชนรอบๆเขาใหญ่ เพื่อป้องกันการรุกป่าของนักการเมืองและนายทุนหลายๆคนที่ปัจจุบันได้สร้างไปบางส่วน ซึ่งจะว่าไปแล้วถนนแนวกันชนรอบเขาใหญ่เส้นนี้นอกจากจะช่วยป้องกันการบุกรุกป่าแล้ว ยังถือเป็นถนนที่ช่วยให้ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้หันหน้าเข้าหากันมากขึ้นอีกด้วย...
“บนถนนหนทางซุปเปอร์ไฮเวย์
หนุ่มพเนจรท่องไปกลางฝัน
ฝันของเจ้าดูเลิศล้ำลาวัณย์
ฝันเจ้าฝันว่าโลกพิสุทธิ์เมลืองมลัง...“
เพลง "หนุ่มพเนจร" วง "คาราวาน"(คลิกฟังเพลงหนุ่มพเนจรได้ที่ไอคอนมุมบนขวามือ)
เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว สมัยที่ผมยังใช้ชีวิตอย่าง ระห่ำ มัน ฝัน แสวงหา และบ้าบอคอแตก ตามสไตล์เด็กแนวส่วนหนึ่งในยุคนั้น
สิ่งหนึ่งที่นิยมทำก็คือการออกลุยถั่วตะลอนเที่ยวทั่วไปในรูปแบบของซำเหมาแมนที่มีคอนเซ็ปต์ประจำกลุ่มว่า “ถึงไม่มีตังค์ แต่ก็ดันทุรังอยากเที่ยว” ทำให้ชีวิตบางส่วน บางมุม จึงออกจะดูคล้ายกับ“หนุ่มพเนจร”ในบทเพลงของคาราวานอยู่บ้าง โดยเฉพาะเรื่องของการแบกเป้โบกรถเที่ยวไปตามที่ต่างๆ ซึ่งประสบการณ์โบกรถครั้งแรกของผมนั้นเกิดจากพฤติกรรมเลียนแบบที่ “ถนนบนเขาใหญ่”ซึ่งผมยังจดจำบรรยากาศครั้งนั้นได้เป็นอย่างดี
ครั้งนั้นสมัยที่ยังเรียนอยู่ ม.ปลาย ผมขึ้นเขาใหญ่เป็นครั้งแรกด้วยความไม่ประสีประสา รู้แต่เพียงว่าที่หมอชิต(เก่า)มีรถทัวร์วิ่งขึ้นเขาใหญ่
และทันทีที่ขึ้นไปถึงบนเขาใหญ่ “ปาก”ของพวกเราก็ทำหน้าที่ทันที ทั้งถามไถ่นักท่องเที่ยวคนอื่น ขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่อุทยานฯ
จากนั้นพวกเราที่ไม่มีรถและไม่สตางค์พอที่จะเช่ารถ ก็เริ่มออกเดินเท้าเที่ยวตามจุดน่าสนใจต่างๆบนเขาใหญ่เท่าที่กำลังขาและกำลังใจจะพาไปได้ โดยยึดเอา“ผากล้วยไม้”จุดกางเต็นท์นอนเป็นฐานที่มั่น โดยจุดแรกที่ตั้งเป้าไว้ก็คือ“น้ำตกเหวสุวัต”
ว่าแล้วผมกับเพื่อนๆก็ออกเดินลุยถั่วในเส้นทางเดินป่า “ผากล้วยไม้-น้ำตกเหวสุวัต” ที่มีระยะทางประมาณ 3 กม.ในทันทีที่เรี่ยวแรงยังมี
ขาไปพวกเราไม่โดดเดี่ยวเพราะว่ามีนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นร่วมเดินทางไปด้วยกัน แต่ว่าขากลับนี่สิ พวกขาลุยที่เดินมาด้วยกันหายไปไหนหมด ทำไมไม่ยอมเดินกลับด้วยกัน
และในระหว่างที่กลุ่มของผมกำลังยืนเก้ๆกังๆอยู่ว่าจะเอายังไงกันดี สายตาก็เหลือบไปเห็นนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งกำลังยืนโบกรถกันอยู่ แล้วจากนั้นไม่นานพวกเขาก็ขึ้นกระบะรถคันหนึ่งแล่นหายไป
งานนี้เมื่อเห็นคนอื่นทำได้ ด้วยความขี้เกียจเดินผสมกับพฤติกรรมเลียนแบบ หัวใจก็สั่งมาให้พวกเราก็ลองทำดูมั่ง
รถคันแรกแล่นผ่านเลยไป ส่วนคันที่ 2 แวะรับพร้อมๆกับพาพวกเราไปส่งที่ผากล้วยไม้อย่างเต็มเปี่ยมไปด้วยมิตรไมตรี และนั่นก็คือครั้งแรกที่ผมรู้จักกลับการโบกรถ และก็เป็นครั้งแรกในการขึ้นเขาใหญ่ด้วย
เมื่อมีครั้งแรก ครั้งที่ 2,3,4 และครั้งที่นับไม่ถ้วนก็ย่อมตามมา ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าเราหน้าด้านมากขึ้น เอ้ย!!! ไม่ใช่ เรามีความชำนาญมากขึ้น มีทั้งโบกขึ้นเหนือ-ล่องใต้-ไปอีสาน และทั่วเมืองไทย บางครั้งที่บังเอิญโชคดีก็จะได้โบกกับพาหนะที่ไม่คาดฝันอย่างเช่น โบกเรือรบ โบกเฮลิคอปเตอร์ โบกเกวียน โบกรถอีแต๊ก และโบกฯลฯ
แต่ถึงแม้ว่าดีกรีการโบกรถจะเข้มข้นขึ้น แต่ผมก็ไม่เคยลืมการโบกรถบนเขาใหญ่ที่ถือเป็นจุดเริ่มต้น
หลังจากนั้นมาผมกลับเพื่อนๆก็โบกรถเที่ยวบนเขาใหญ่กันอยู่บ่อยครั้ง เพราะบนเขาใหญ่นั้นโบกรถไม่ยากเย็นแต่อย่างใด แม้ว่าบางครั้งเจ้าของรถที่แวะจอดรับจะขอให้แสดงบัตรนักศึกษาเพื่อความไว้ใจ เพราะในช่วงที่ผมเรียนอยู่มหาวิทยาลัยนั้น บังเอิญว่าหน้าตาดีจนดูคล้ายกับนักร้องดัง อย่าง “เสก โลโซ” และ “ไท ธนาวุฒิ” การโบกรถจึงต้องแสดงบัตรนักศึกษาบ้างในบางครั้ง
และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง(อีก)ครั้งสำคัญบนเขาใหญ่ ที่มีการปิดโรงแรม ปิดสนามกอล์ฟ ปิดรถทัวร์สายขึ้นเขาใหญ่ พร้อมๆกับกำหนดเวลาเปิด-ปิดถนนบนเส้นที่ตัดผ่านอุทยานฯเขาใหญ่(ปากช่อง-ปราจีนบุรี) ก็ดูเหมือนว่าถนนบนเขาใหญ่ที่ผมคุ้นเคยจะยิ่งมีเสน่ห์มากขึ้น
เพราะถนนบนเขาใหญ่ส่วนใหญ่เริ่มสงบมากขึ้น นอกจากนี้ยังดูสวยงามและร่มรื่นไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่นานาพันธุ์ ส่วนบางช่วงที่เป็นทุ่งหญ้า ก็ดูพัดพลิ้วท่ามกลางขุนเขา แต่ก็มีข้อยกเว้นว่า ต้องเป็นในวันปกติที่ไม่ใช่วันหยุดยาวหรือลองวีคเอนด์ เพราะหากเป็นในช่วงนั้นถนนบนเขาใหญ่จะเต็มไปด้วยรถนักท่องเที่ยวมากมายมหาศาล บางช่วงอย่างในเส้นทางที่ใกล้จะถึงน้ำตกเหวสุวัตและเส้นทางก่อนจะถึงน้ำตกเหวนรกมีรถติดระยับ!!! ไม่ต่างไปจากกรุงเทพฯเท่าใดนัก
นอกเหนือไปจากความร่มรื่นสวยงามและความคดไปเคี้ยวมาแล้ว ถนนบนเขาใหญ่ยังมีความพิเศษกว่าถนนทั่วไปตรงที่ถนนสายนี้ บางช่วงไม่ได้เป็นทางสัญจรของคนและรถเท่านั้น แต่ว่ายังเป็นทางสัญจรอันสำคัญของสัตว์อีกด้วย
ใครที่ขึ้นเขาใหญ่แล้วโชคดีก็จะได้พบกับ เก้ง กวาง ช้าง ชะนี ลิง ออกหากินอยู่ริมทาง และก็มีบ้างที่สัตว์เหล่านั้นเดินเอ้อระเหยลอยชายข้ามถนน ซึ่งคนที่ขับรถก็ต้องระวังให้ดี โดยเฉพาะช่วงเช้ากับช่วงเย็นจะมีโอกาสพบสัตว์ออกหากินริมถนนมากเป็นพิเศษ
ส่วนใครที่อยากเห็นบรรยากาศหากินของสัตว์ยามค่ำคืนก็ให้ใช้บริการส่องสัตว์ของทางอุทยานฯที่จะมีรถ 6 ล้อ พานักท่องเที่ยวแล่นไปตามถนน ที่ 2 ข้างทางเต็มไปด้วย เก้ง กวาง ช้าง ลิง และสัตว์อีกหลายชนิดออกหากิน
และด้วยความที่ถนนบนเขาใหญ่สามารถพบเห็นสัตว์ได้บ่อยครั้งก็ทำให้มีนักท่องเที่ยวผู้ประสงค์ดี แต่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ มักจะหยิบยื่นอาหารให้เหล่าสรรพสัตว์ที่พบเจอกินจนทำให้สัตว์หลายตัวเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างเหล่าบรรดาเจ้าจ๋อทั้งหลายที่พักหลังๆไม่ยอมไปหากินในป่า แต่ว่ามักจะมาคอยดักรถนักท่องเที่ยวเพื่อขออาหารกิน จนทำให้ลิงบางตัวถูกรถชนตาย ลิงบางตัวตายเพราะไปกินพลาสติกที่ติดมากับอาหาร ซึ่งเรื่องนี้ทางอุทยานฯ ก็ได้พยายามขอร้องให้นักท่องเที่ยวเลิกพฤติกรรมการหวังดีแต่เป็นผลร้ายเช่นนี้
เมื่อการขอร้องธรรมดาไม่ค่อยเห็นผลทางอุทยานฯก็เลยใช้วิธีการขอร้องเชิงไสยศาสตร์ด้วยการหยิบยกเหตุผลมาว่า “หากใครให้อาหารสัตว์บนเขาใหญ่อาจจะเป็นการลบหลู่เจ้าพ่อเขาใหญ่ได้” ซึ่งงานนี้ก็ช่วยลดพฤติกรรมให้อาหารสัตว์ของนักท่องเที่ยวได้พอสมควร
มาวันนี้หลังจากที่ป่าเขาใหญ่และดงพญาเย็น อันประกอบไปด้วย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่-ทับลาน-ปางสีดา-ตาพระยา-และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกแห่งใหม่ของเมืองไทย
สิ่งหนึ่งที่เริ่มมีคนพูดถึงกันมากขึ้นก็คือเรื่องของแนวทางการจัดการกับทางหลวงหมายเลข 304 อันเป็นถนนอีกเส้นหนึ่งที่ตัดผ่านเขาใหญ่(คนละเส้นกับถนนสายปากช่อง-ปราจีนฯ) ซึ่งถนนสายนี้ได้แบ่งผืนป่าเขาใหญ่และป่าทับลานออกจากกัน แต่ว่าหากยึดตามกฎมรดกโลกของยูเนสโกแล้วจำเป็นที่จะต้องทำให้ผืนป่าเชื่อมติดกัน
สำหรับแนวทางนั้นบ้างก็ว่าจะทำอุโมงค์ให้รถวิ่งลอด บ้างก็ว่าจะทำทางลอยฟ้าให้รถวิ่งข้าม ส่วนถนนเส้นเดิมก็ปิดตายเพื่อให้ผืนป่าเชื่อมติดกัน งานนี้ก็คงต้องตามดูกันต่อไปว่าจะออกมารูปแบบใด พร้อมๆกับต้องตามดูในเรื่องของงบประมาณด้วย เพราะโครงการประเภทนี้ใช้งบมากโขอยู่
จากเรื่องราวบางส่วนของถนนบนเขาใหญ่ จะเห็นได้ว่าถนนลาดยางที่ดูธรรมดานั้น หากมองลึกลงไปกลับมีความไม่ธรรมดาแฝงอยู่ เช่นเดียวกับส่วนหนึ่งของถนนแนวกันชนรอบๆเขาใหญ่ที่ดูผิวเผินก็อาจจะเป็นเพียงถนนลูกรังธรรมดาๆ แต่ว่าลึกๆลงไปแล้วเท่าที่ผมได้สดับรับฟังจากชาวบ้านกลุ่มหนึ่งและเจ้าหน้าที่อุทยานฯบางคน
ถนนแนวกันชนรอบป่าเขาใหญ่นี้มีความพิเศษตรงที่ นอกจากจะเป็นจุดแบ่งระหว่างพื้นที่ป่ากับพื้นที่ไร่-สวนของชาวบ้านอย่างชัดเจนแล้ว ยังเป็นถนนที่ใช้ป้องกันนักการเมือง(บางคน)ไม่ให้ฉกฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากผืนป่า เนื่องจากว่าที่ผ่านมานักการเมืองคนนี้(ชาวบ้านแถวเขาใหญ่ต่างรู้จักชื่อเสียงเรียงนามกันดี) ในสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งใหญ่โตนั้น ได้ใช้ผืนป่าเขาใหญ่เป็นลู่ทางทำมาหากินให้ตัวเอง โดยมีการขอเวนคืนที่รอบๆเขาใหญ่ของชาวบ้าน ซึ่งเขาคนนั้นได้อ้างว่าจะนำที่ดินของชาวบ้านไปฟื้นฟูเป็นป่ากันชนรอบๆเขาใหญ่ แต่ว่าสุดท้ายนักการเมืองคนนั้นกลับนำที่ดินของชาวบ้านไปสร้างรีสอร์ท พร้อมๆกับพยายามรุกคืบผืนป่าเขาใหญ่เข้าไปเรื่อยๆ
ด้วยเหตุนี้ทำให้ทางอุทยานฯและชาวบ้านในพื้นที่ ที่แม้ว่าแต่เดิมพวกเขาจะไม่ค่อยกินเส้นกัน แต่ว่ากับเหตุผลเพื่อสกัดการรุกป่าเขาใหญ่ของนักการเมือง พวกเขาจึงหันหน้าเข้าหากันโดยมีจุดประสานเป็นโครงการถนนแนวกันชนรอบๆเขาใหญ่ เพื่อป้องกันการรุกป่าของนักการเมืองและนายทุนหลายๆคนที่ปัจจุบันได้สร้างไปบางส่วน ซึ่งจะว่าไปแล้วถนนแนวกันชนรอบเขาใหญ่เส้นนี้นอกจากจะช่วยป้องกันการบุกรุกป่าแล้ว ยังถือเป็นถนนที่ช่วยให้ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้หันหน้าเข้าหากันมากขึ้นอีกด้วย...