โดย : ปิ่น บุตรี

"...พระธาตุรุ่งเรือง...กู่เมืองลำปาง...ลำปาง สถิตเขลางค์ โบราณเวียงไท
กู่เก่าโบราณ...ต๋ำนาน...สร้างไว้ ยกเป็นหัวใจ ยอดธรรมชี้นำเมือง..."
ส่วนหนึ่งของบทเพลง "นิราศพระธาตุลำปางหลวง" โดย : คำหล้า ธัญยพร (คลิกฟังเพลง "นิราศพระธาตุลำปางหลวง" ได้ที่ Manager Multimedia (รูปกล้อง)ท้ายหัวเรื่อง)
แทบทุกครั้งที่ผมขึ้นไปแอ่วเมืองรถม้า ชามตราไก่ อย่างจังหวัดลำปาง สิ่งหนึ่งที่มักจะไม่พลาดก็คือการแวะเวียนไปแอ่ว "วัดพระธาตุลำปางหลวง" วัดคู่บ้านคู่เมืองลำปาง เพื่อไปกราบไหว้องค์พระธาตุและพระพุทธรูปในวัดเพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมๆกับเที่ยวชมศิลปะล้านนาโบราณที่หาดูได้ยาก(ยิ่ง)ที่วัดแห่งนี้
และการไปวัดพระธาตุลำปางหลวงแต่ละครั้ง ผมมักจะเจอกับเรื่องที่น่าสนใจแปลกใหม่ๆเสมอ อาทิ
-ไปครั้งแรก(จำพ.ศ.ไม่ได้แต่ประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว )เพลิดเพลินใจไปกับงานศิลปะล้านนาโบราณที่สวยงาม ได้รู้จักในความเชื่อเรื่องไม้ค้ำโพธิ์เพื่อสืบชะตา ต่ออายุ ที่ลานทราย

-ไปครั้งที่ 2 (พ.ศ.2539) มีโอกาสร่วมสรงน้ำองค์พระธาตุด้วยการชักรอกนำน้ำมนต์ขึ้นไปสรงองค์พระธาตุ
- ไปครั้งที่ 3 (พ.ศ.2540) ได้อธิษฐานไม้เสี่ยงทายที่ยาวประมาณ 1 วา กับพระเจ้าทันใจ ด้วยการกางแขน 2 ข้างกับไม้เสี่ยงทาย แล้วให้เพื่อนวัดความยาวด้วยหนังยางที่รัดปลายไม้อยู่ จากนั้นนำไม้ไปแตะที่ฐานของพระเจ้าทันใจพร้อมอธิษฐาน แล้วนำไม้กลับมาทำเหมือนเดิมอีกครั้ง หากสมหวังหนังยางที่รัดปลายไม้ไว้จะเลื่อนออกไปยาวกว่าเดิม หากไม่สมหวังหนังยางจะเลื่อนเข้า ซึ่งแน่นอนว่าหลังจากที่ผมอธิษฐานหนังยางเลื่อนออก สำหรับเรื่องนี้จริง-เท็จอย่างไรคงต้องไปลองพิสูจน์กันเอง แต่ถึงยังไงใครที่ไม่เชื่อก็ไม่ควรลบหลู่เป็นดีที่สุด
-ไปครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2544) ตื่นตาตื่นใจไปกับการชมปรากฏการณ์อันน่าอัศจรรย์ของ “เงาพระธาตุ” หรือ “พระธาตุหัวกลับ” ที่ตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคนรู้จักเท่าไหร่
-ไปครั้งที่ 5 (พ.ศ.2547) พบว่าวัดพระธาตุลำปางหลวงคึกคักเป็นพิเศษ เพราะหลังจากที่ททท. ชูพระธาตุหัวกลับเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวอันซีนไทยแลนด์ในพ.ศ. 2546 ก็ทำให้มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลไปชมปรากฏการณ์เงาพระธาตุกันไม่ได้ขาด

-ไปครั้งล่าสุด(30 มิ.ย. 2548 ) ผมได้พบกับ “พ่อหนานเมือง สิงห์ทอง” มัคทายกวัย 72 ปี แห่งวัดพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งผมก็รู้สึกเสียดายนิดๆว่าการไปแอ่ววัดพระธาตุลำปางหลวงที่ผ่านๆมา มัวไปงมโข่งอยู่ที่ไหนจึงไม่มีโอกาสได้รู้จักกับพ่อหนานเมืองคนนี้ (หนาน เป็นภาษาเหนือ หมายถึงผู้ที่บวชเรียนแล้ว เปรียบได้กับทิดในภาษากลาง)
เพราะพ่อหนานเมืองนั้นหาใช่มัคทายกธรรมดาไม่ แต่แกเป็นมัคทายกระดับ "กูรู"(ขอยืมคำตามสมัยนิยมมาใช้หน่อย)ผู้รอบรู้และเชี่ยวชาญเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับวัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นอย่างดี แถมแกยังสามารถอธิบายความให้ผู้ที่ไปเที่ยวชมวัดได้อย่างแม่นยำและน่าฟัง โดยข้อมูลเกี่ยวกับวัดพระธาตุลำปางหลวงที่บันทึกไว้เอกสารต่างๆ ส่วนใหญ่มาจากพ่อหนานเมืองทั้งนั้น
"พ่อเป็นคนที่นี่(ลำปาง)มาตั้งแต่เกิด ทำให้คุ้นเคยกับวัดพระธาตุลำปางหลวงมาก เคยบวชเณรที่วัดนี้ 8 พรรษา บวชพระอีก 4 พรรษา และเป็นมัคทายกมา 30 กว่าปี"
พ่อหนานเมือง บอกกับผมถึงความผูกพันต่อวัดพระธาตุลำปางหลวง ก่อนที่แกจะบอกถึงแหล่งที่มาของข้อมูลว่า ส่วนหนึ่งได้มาจากคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังเรื่อยมาตั้งแต่เด็กจนหนุ่ม อีกส่วนหนึ่งพ่อหนานเมืองศึกษาจาการอ่านคัมภีร์ใบลาน
และด้วยความที่พ่อหนานเมืองแกรอบรู้เรื่องเกี่ยวกับวัดพระธาตุลำปางหลวงชนิดหาตัวจับยาก ทำให้คนในละแวกนั้นยกให้แกเป็นไกด์กิตติมศักดิ์ ไกด์รับแขกบ้านแขกเมือง ซึ่งในวันที่แกพาผมเที่ยวชมแวะพระธาตุลำปางหลวง แม้ว่าจะเป็นเพียงชั่วเวลาไม่นานนัก แต่บอกได้คำเดียวว่า งานนี้ได้ทั้งความรู้และอรรถรสจากพ่อหนานเมืองเพียบ
โดยในช่วงแรกพ่อหนานเมืองเรียกน้ำย่อยด้วยการเล่าเรื่องราวของ ตำนานวัดนับแต่อดีตไล่มาจนถึงยุคที่วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นอยู่ในทุกวันนี้ จากนั้นก็จะเป็นการพาชมและอธิบายขยายความตามจุดสนใจต่างๆ

ในวันนั้นนอกจากเรื่องราวที่น่าสนใจของวัดพระธาตุลำปางหลวงแล้ว ผมได้เกร็ดเกี่ยวกับเรื่องของ"รู"ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงมาหลายรู ซึ่งหากผมไปเที่ยวเองก็คงจะไม่มีทางรู้แน่นอน
สำหรับรูแรกเป็น"รูรอยกระสุนปืน" ซึ่ง"หนานทิพย์ช้าง" ต้นตระกูล ณ ลำปาง, ณ ลำพูน, ณ เชียงใหม่ และเชื้อเจ็ดตน วีรบุรุษแห่งนครลำปาง ได้ใช้ปืนยิงท้าวมหายศแม่ทัพพม่าเสียชีวิตเพื่อกอบกู้เมืองคืนจากพม่า โดยรอยลูกปืน(ส่วนหนึ่ง)ในการยิงครั้งนั้นยังคงอยู่ 2 รู บนรั้วเหล็กที่สร้างกั้นองค์พระธาตุทางด้านหน้า นับเป็นรูเก่าแก่ที่มีอายุหลายร้อยปีที่หากใครสังเกตเมื่อไปไหว้องค์พระธาตุก็จะเห็น เพราะทางวัดได้มีป้ายบอกไว้
รูที่สองถือว่าเป็นที่มาของรูแรก เพราะรูนี้เป็น"รูท่อระบายน้ำ" ที่หนานทิพย์ช้างได้แอบมุดเข้ามาในขณะที่แม่ทัพพม่ากำลังเล่นหมากรุกอยู่ ก่อนที่หนานทิพย์ช้างจะใช้อุบายหลอกล่อแม่ทัพพม่าไปยิงเสียชีวิต โดยรูท่อนี้ครั้งหนึ่งในภาพยนตร์ที่ สมบัติ เมทะนี เล่นเป็นหนานทิพย์ช้างก็เคยมามุดเพื่อถ่ายหนัง แต่ว่าในปัจจุบันรูท่อระบายน้ำที่หนานทิพย์ช้างแอบมุดเข้าวัดมาได้ถูกกรมศิลป์เอาปูนไปโบกทับจากรูที่คนลอดได้ให้กลายเป็นรูท่อระบายน้ำธรรมดา ซึ่งพ่อหนานเมืองได้พาผมไปดูร่องรอยรูท่อเก่า ที่หากว่าผมไม่เจอพ่อหนานเมืองก็จะไม่มีวันรู้เลยเพราะมันดูไม่ออกจริงๆ
ในเรื่องนี้พ่อหนานเมืองบอกกับผมว่ากรมศิลป์กลัวคนมามุดรูท่อระบายน้ำเล่นจึงทำการโบกปูนทับ ซึ่งผมรู้สึกว่าน่าเสียดายเพราะจะว่าไปแล้วนี่ถือเป็นหนึ่งใน"รูประวัติศาสตร์"ของวัดพระธาตุลำปางหลวงเหมือนกัน
จากรูเก่าแก่อายุหลายร้อยปี ผมขอสลับอารมณ์ตามพ่อหนานเมืองไปดูรูใหม่ๆที่เกิดขึ้นในรอบ 10 ปีอย่าง "รูมหัศจรรย์" (ชื่อนี้ผมเรียกเอง) ที่มณฑปพระพุทธบาท ซึ่งรูนี้เป็นรูที่ทำให้เกิดเงาพระธาตุหรือพระธาตุหัวกลับ ที่พบเจออย่างบังเอิญโดยพระที่เข้าไปทำความสะอาดในมณฑปฯ เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2541 โดยหลายๆคนบอกว่านี่คือความมหัศจรรย์ขององค์พระธาตุ ในขณะที่นักวิชาการส่วนใหญ่ บอกว่าเงาพระธาตุนั้นเป็นปรากฏการณ์กล้องรูเข็มที่เกิดจากการหักเหของแสงที่รูเล็กๆบนผนังไม้แล้วไปส่องกระทบกับผนังภายในมณฑปเกิดเป็นเงาพระธาตุขึ้นมา

หลังจากนั้นเงาพระธาตุก็เริ่มเป็นที่รู้จัก และมาดังเปรี้ยงปร้างเอาเมื่อปี พ.ศ. 2546 ที่ททท.ชูให้เป็นอันซีนไทยแลนด์ ซึ่งจะว่าไปแล้วนี่คือรูที่สร้างชื่อและรายได้ให้กับวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ไม่น้อย เพราะเจ้าหน้าที่วัดคนหนึ่งได้บอกกับผมว่า หลังวัดพระธาตุลำปางหลวงถูกยกให้เป็นอันซีนไทยแลนด์ก็มีคนเดินทางมาเที่ยวกันไม่ได้ขาด ทำให้วัดมีรายได้จากการบริจาค 4-5 แสนบาทต่อเดือน โดยบางเดือนเคยได้เป็นล้านบาทก็มี
แต่ด้วยความที่มีคนไปเที่ยวชมเงาพระธาตุกันเยอะ ก็ทำให้รูมหัศจรรย์เปลี๊ยนไป๋(ซึ่งถ้าพ่อหนานเมืองไม่บอกผมก็คงจะไม่รู้อีกเหมือนเดิม) เพราะมีนักท่องเที่ยวมือบอนหลายๆคน เป็นประเภทเห็นรูไม่ได้ พอเห็นรูต้องจิ้ม ต้องแหย่ จนทำให้รูมหัศจรรย์(ที่ผมตั้งชื่อเอง) บานกว้างกว่าเดิมไปมากจากเดิมกว้างไม่ถึงนิ้ว มาวันนี้รูมหัศจรรย์กว้างเกือบ 2 นิ้ว แถมขอบรูก็เป็นมันเลื่อมเพราะโดนแหย่กันเยอะ จนทางวัดต้องเขียนป้ายไปติดข้างๆรูว่า "ห้ามแหย่ รูมันจะกว้าง"
เมื่อรูมหัศจรรย์เปลี๊ยนไป๋ เงาพระธาตุก็ยอมเปลี๊ยนไป๋ตาม
เรื่องนี้พ่อหนานเมืองได้บอกกับผมว่า พอรูกว้างขึ้นสีของเงาพระธาตุก็จะจางลง โดยเฉพาะฟ้าที่แต่ก่อนเคยเข้มสวย มาวันนี้สีของท้องฟ้าซีดลงไปเยอะเพราะว่ามีแสงเข้ามาเยอะเกินไป
และเท่าที่ผมได้เห็นมาก็รู้สึกได้ว่าสีของเงาพระธาตุซีดลงจนเกือบจะกลายเป็นภาพขาวดำ ส่วนความชัดของภาพก็ดูเหมือนจะลดน้อยถอยลงไปด้วยหากเทียบกับเมื่อก่อน ซึ่งเรื่องแบบนี้สำหรับผมแล้วถือเป็นอีกหนึ่ง"รูรั่ว"ของการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวบางคนในบ้านเรา...
"...พระธาตุรุ่งเรือง...กู่เมืองลำปาง...ลำปาง สถิตเขลางค์ โบราณเวียงไท
กู่เก่าโบราณ...ต๋ำนาน...สร้างไว้ ยกเป็นหัวใจ ยอดธรรมชี้นำเมือง..."
ส่วนหนึ่งของบทเพลง "นิราศพระธาตุลำปางหลวง" โดย : คำหล้า ธัญยพร (คลิกฟังเพลง "นิราศพระธาตุลำปางหลวง" ได้ที่ Manager Multimedia (รูปกล้อง)ท้ายหัวเรื่อง)
แทบทุกครั้งที่ผมขึ้นไปแอ่วเมืองรถม้า ชามตราไก่ อย่างจังหวัดลำปาง สิ่งหนึ่งที่มักจะไม่พลาดก็คือการแวะเวียนไปแอ่ว "วัดพระธาตุลำปางหลวง" วัดคู่บ้านคู่เมืองลำปาง เพื่อไปกราบไหว้องค์พระธาตุและพระพุทธรูปในวัดเพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมๆกับเที่ยวชมศิลปะล้านนาโบราณที่หาดูได้ยาก(ยิ่ง)ที่วัดแห่งนี้
และการไปวัดพระธาตุลำปางหลวงแต่ละครั้ง ผมมักจะเจอกับเรื่องที่น่าสนใจแปลกใหม่ๆเสมอ อาทิ
-ไปครั้งแรก(จำพ.ศ.ไม่ได้แต่ประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว )เพลิดเพลินใจไปกับงานศิลปะล้านนาโบราณที่สวยงาม ได้รู้จักในความเชื่อเรื่องไม้ค้ำโพธิ์เพื่อสืบชะตา ต่ออายุ ที่ลานทราย
-ไปครั้งที่ 2 (พ.ศ.2539) มีโอกาสร่วมสรงน้ำองค์พระธาตุด้วยการชักรอกนำน้ำมนต์ขึ้นไปสรงองค์พระธาตุ
- ไปครั้งที่ 3 (พ.ศ.2540) ได้อธิษฐานไม้เสี่ยงทายที่ยาวประมาณ 1 วา กับพระเจ้าทันใจ ด้วยการกางแขน 2 ข้างกับไม้เสี่ยงทาย แล้วให้เพื่อนวัดความยาวด้วยหนังยางที่รัดปลายไม้อยู่ จากนั้นนำไม้ไปแตะที่ฐานของพระเจ้าทันใจพร้อมอธิษฐาน แล้วนำไม้กลับมาทำเหมือนเดิมอีกครั้ง หากสมหวังหนังยางที่รัดปลายไม้ไว้จะเลื่อนออกไปยาวกว่าเดิม หากไม่สมหวังหนังยางจะเลื่อนเข้า ซึ่งแน่นอนว่าหลังจากที่ผมอธิษฐานหนังยางเลื่อนออก สำหรับเรื่องนี้จริง-เท็จอย่างไรคงต้องไปลองพิสูจน์กันเอง แต่ถึงยังไงใครที่ไม่เชื่อก็ไม่ควรลบหลู่เป็นดีที่สุด
-ไปครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2544) ตื่นตาตื่นใจไปกับการชมปรากฏการณ์อันน่าอัศจรรย์ของ “เงาพระธาตุ” หรือ “พระธาตุหัวกลับ” ที่ตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคนรู้จักเท่าไหร่
-ไปครั้งที่ 5 (พ.ศ.2547) พบว่าวัดพระธาตุลำปางหลวงคึกคักเป็นพิเศษ เพราะหลังจากที่ททท. ชูพระธาตุหัวกลับเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวอันซีนไทยแลนด์ในพ.ศ. 2546 ก็ทำให้มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลไปชมปรากฏการณ์เงาพระธาตุกันไม่ได้ขาด
-ไปครั้งล่าสุด(30 มิ.ย. 2548 ) ผมได้พบกับ “พ่อหนานเมือง สิงห์ทอง” มัคทายกวัย 72 ปี แห่งวัดพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งผมก็รู้สึกเสียดายนิดๆว่าการไปแอ่ววัดพระธาตุลำปางหลวงที่ผ่านๆมา มัวไปงมโข่งอยู่ที่ไหนจึงไม่มีโอกาสได้รู้จักกับพ่อหนานเมืองคนนี้ (หนาน เป็นภาษาเหนือ หมายถึงผู้ที่บวชเรียนแล้ว เปรียบได้กับทิดในภาษากลาง)
เพราะพ่อหนานเมืองนั้นหาใช่มัคทายกธรรมดาไม่ แต่แกเป็นมัคทายกระดับ "กูรู"(ขอยืมคำตามสมัยนิยมมาใช้หน่อย)ผู้รอบรู้และเชี่ยวชาญเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับวัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นอย่างดี แถมแกยังสามารถอธิบายความให้ผู้ที่ไปเที่ยวชมวัดได้อย่างแม่นยำและน่าฟัง โดยข้อมูลเกี่ยวกับวัดพระธาตุลำปางหลวงที่บันทึกไว้เอกสารต่างๆ ส่วนใหญ่มาจากพ่อหนานเมืองทั้งนั้น
"พ่อเป็นคนที่นี่(ลำปาง)มาตั้งแต่เกิด ทำให้คุ้นเคยกับวัดพระธาตุลำปางหลวงมาก เคยบวชเณรที่วัดนี้ 8 พรรษา บวชพระอีก 4 พรรษา และเป็นมัคทายกมา 30 กว่าปี"
พ่อหนานเมือง บอกกับผมถึงความผูกพันต่อวัดพระธาตุลำปางหลวง ก่อนที่แกจะบอกถึงแหล่งที่มาของข้อมูลว่า ส่วนหนึ่งได้มาจากคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังเรื่อยมาตั้งแต่เด็กจนหนุ่ม อีกส่วนหนึ่งพ่อหนานเมืองศึกษาจาการอ่านคัมภีร์ใบลาน
และด้วยความที่พ่อหนานเมืองแกรอบรู้เรื่องเกี่ยวกับวัดพระธาตุลำปางหลวงชนิดหาตัวจับยาก ทำให้คนในละแวกนั้นยกให้แกเป็นไกด์กิตติมศักดิ์ ไกด์รับแขกบ้านแขกเมือง ซึ่งในวันที่แกพาผมเที่ยวชมแวะพระธาตุลำปางหลวง แม้ว่าจะเป็นเพียงชั่วเวลาไม่นานนัก แต่บอกได้คำเดียวว่า งานนี้ได้ทั้งความรู้และอรรถรสจากพ่อหนานเมืองเพียบ
โดยในช่วงแรกพ่อหนานเมืองเรียกน้ำย่อยด้วยการเล่าเรื่องราวของ ตำนานวัดนับแต่อดีตไล่มาจนถึงยุคที่วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นอยู่ในทุกวันนี้ จากนั้นก็จะเป็นการพาชมและอธิบายขยายความตามจุดสนใจต่างๆ
ในวันนั้นนอกจากเรื่องราวที่น่าสนใจของวัดพระธาตุลำปางหลวงแล้ว ผมได้เกร็ดเกี่ยวกับเรื่องของ"รู"ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงมาหลายรู ซึ่งหากผมไปเที่ยวเองก็คงจะไม่มีทางรู้แน่นอน
สำหรับรูแรกเป็น"รูรอยกระสุนปืน" ซึ่ง"หนานทิพย์ช้าง" ต้นตระกูล ณ ลำปาง, ณ ลำพูน, ณ เชียงใหม่ และเชื้อเจ็ดตน วีรบุรุษแห่งนครลำปาง ได้ใช้ปืนยิงท้าวมหายศแม่ทัพพม่าเสียชีวิตเพื่อกอบกู้เมืองคืนจากพม่า โดยรอยลูกปืน(ส่วนหนึ่ง)ในการยิงครั้งนั้นยังคงอยู่ 2 รู บนรั้วเหล็กที่สร้างกั้นองค์พระธาตุทางด้านหน้า นับเป็นรูเก่าแก่ที่มีอายุหลายร้อยปีที่หากใครสังเกตเมื่อไปไหว้องค์พระธาตุก็จะเห็น เพราะทางวัดได้มีป้ายบอกไว้
รูที่สองถือว่าเป็นที่มาของรูแรก เพราะรูนี้เป็น"รูท่อระบายน้ำ" ที่หนานทิพย์ช้างได้แอบมุดเข้ามาในขณะที่แม่ทัพพม่ากำลังเล่นหมากรุกอยู่ ก่อนที่หนานทิพย์ช้างจะใช้อุบายหลอกล่อแม่ทัพพม่าไปยิงเสียชีวิต โดยรูท่อนี้ครั้งหนึ่งในภาพยนตร์ที่ สมบัติ เมทะนี เล่นเป็นหนานทิพย์ช้างก็เคยมามุดเพื่อถ่ายหนัง แต่ว่าในปัจจุบันรูท่อระบายน้ำที่หนานทิพย์ช้างแอบมุดเข้าวัดมาได้ถูกกรมศิลป์เอาปูนไปโบกทับจากรูที่คนลอดได้ให้กลายเป็นรูท่อระบายน้ำธรรมดา ซึ่งพ่อหนานเมืองได้พาผมไปดูร่องรอยรูท่อเก่า ที่หากว่าผมไม่เจอพ่อหนานเมืองก็จะไม่มีวันรู้เลยเพราะมันดูไม่ออกจริงๆ
ในเรื่องนี้พ่อหนานเมืองบอกกับผมว่ากรมศิลป์กลัวคนมามุดรูท่อระบายน้ำเล่นจึงทำการโบกปูนทับ ซึ่งผมรู้สึกว่าน่าเสียดายเพราะจะว่าไปแล้วนี่ถือเป็นหนึ่งใน"รูประวัติศาสตร์"ของวัดพระธาตุลำปางหลวงเหมือนกัน
จากรูเก่าแก่อายุหลายร้อยปี ผมขอสลับอารมณ์ตามพ่อหนานเมืองไปดูรูใหม่ๆที่เกิดขึ้นในรอบ 10 ปีอย่าง "รูมหัศจรรย์" (ชื่อนี้ผมเรียกเอง) ที่มณฑปพระพุทธบาท ซึ่งรูนี้เป็นรูที่ทำให้เกิดเงาพระธาตุหรือพระธาตุหัวกลับ ที่พบเจออย่างบังเอิญโดยพระที่เข้าไปทำความสะอาดในมณฑปฯ เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2541 โดยหลายๆคนบอกว่านี่คือความมหัศจรรย์ขององค์พระธาตุ ในขณะที่นักวิชาการส่วนใหญ่ บอกว่าเงาพระธาตุนั้นเป็นปรากฏการณ์กล้องรูเข็มที่เกิดจากการหักเหของแสงที่รูเล็กๆบนผนังไม้แล้วไปส่องกระทบกับผนังภายในมณฑปเกิดเป็นเงาพระธาตุขึ้นมา
หลังจากนั้นเงาพระธาตุก็เริ่มเป็นที่รู้จัก และมาดังเปรี้ยงปร้างเอาเมื่อปี พ.ศ. 2546 ที่ททท.ชูให้เป็นอันซีนไทยแลนด์ ซึ่งจะว่าไปแล้วนี่คือรูที่สร้างชื่อและรายได้ให้กับวัดพระธาตุลำปางหลวงได้ไม่น้อย เพราะเจ้าหน้าที่วัดคนหนึ่งได้บอกกับผมว่า หลังวัดพระธาตุลำปางหลวงถูกยกให้เป็นอันซีนไทยแลนด์ก็มีคนเดินทางมาเที่ยวกันไม่ได้ขาด ทำให้วัดมีรายได้จากการบริจาค 4-5 แสนบาทต่อเดือน โดยบางเดือนเคยได้เป็นล้านบาทก็มี
แต่ด้วยความที่มีคนไปเที่ยวชมเงาพระธาตุกันเยอะ ก็ทำให้รูมหัศจรรย์เปลี๊ยนไป๋(ซึ่งถ้าพ่อหนานเมืองไม่บอกผมก็คงจะไม่รู้อีกเหมือนเดิม) เพราะมีนักท่องเที่ยวมือบอนหลายๆคน เป็นประเภทเห็นรูไม่ได้ พอเห็นรูต้องจิ้ม ต้องแหย่ จนทำให้รูมหัศจรรย์(ที่ผมตั้งชื่อเอง) บานกว้างกว่าเดิมไปมากจากเดิมกว้างไม่ถึงนิ้ว มาวันนี้รูมหัศจรรย์กว้างเกือบ 2 นิ้ว แถมขอบรูก็เป็นมันเลื่อมเพราะโดนแหย่กันเยอะ จนทางวัดต้องเขียนป้ายไปติดข้างๆรูว่า "ห้ามแหย่ รูมันจะกว้าง"
เมื่อรูมหัศจรรย์เปลี๊ยนไป๋ เงาพระธาตุก็ยอมเปลี๊ยนไป๋ตาม
เรื่องนี้พ่อหนานเมืองได้บอกกับผมว่า พอรูกว้างขึ้นสีของเงาพระธาตุก็จะจางลง โดยเฉพาะฟ้าที่แต่ก่อนเคยเข้มสวย มาวันนี้สีของท้องฟ้าซีดลงไปเยอะเพราะว่ามีแสงเข้ามาเยอะเกินไป
และเท่าที่ผมได้เห็นมาก็รู้สึกได้ว่าสีของเงาพระธาตุซีดลงจนเกือบจะกลายเป็นภาพขาวดำ ส่วนความชัดของภาพก็ดูเหมือนจะลดน้อยถอยลงไปด้วยหากเทียบกับเมื่อก่อน ซึ่งเรื่องแบบนี้สำหรับผมแล้วถือเป็นอีกหนึ่ง"รูรั่ว"ของการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวบางคนในบ้านเรา...