โดย...ดากานดา

รอยทางที่ย่ำเดินของฉันยังอยู่ที่ “โกตาคินาบาลู” เมืองหลวงของรัฐซาบาห์ สหพันธ์รัฐมาเลเซีย
จริงๆ แล้วรัฐซาบาห์ ซึ่งมีพื้นที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว เคยมี “เมืองซานดากัน” เป็นเมืองหลวงมาก่อน จนเมื่อปี พ.ศ. 2489 ที่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา สร้างความเสียหายอย่างหนัก ทำให้กองกำลังอังกฤษต้องย้ายมาตั้งฐานทัพที่เมืองโกตาคินาบาลูแทน และได้กลายมาเป็นเมืองหลวงของรัฐแห่งใหม่ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
หลังผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองโกตาคินาบาลู หรือในชื่อเดิมสมัยอยู่ใต้ปกครองของอังกฤษว่า “เจสเซลตัน” ได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นศูนย์การพาณิชย์และท่องเที่ยวพักผ่อนที่สำคัญของมาเลเซีย เพราะความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าเขาลำเนาไพรและเกาะเล็กเกาะน้อยที่น่าสนใจอีกมาก

ด้วยเวลาที่มีเพียงไม่กี่วัน ฉันจึงต้องย่ำตะลุยท่องเที่ยวไปในหลายที่เพื่อทำความรู้จักเมืองซึ่งได้ชื่อว่า “ดินแดนใต้สายลม” (Land Below The Wind) แห่งนี้ให้มากที่สุด
ซึ่งนอกจากยอดเขาคิบาลูจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุดท้าทายสำหรับผู้ไปเยือน “อุทยานแห่งชาติคินาบาลู” แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่หลายคนยกนิ้วให้ในความรู้สึกตื่นเต้นไม่แพ้กัน นั่นก็คือ การไปเดินบน Canopy Walkway ซึ่งเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่เป็นสะพานไม้ที่ใช้ลวดสลิงขึงระหว่างต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งไปอีกต้นหนึ่งต่อกันไปเรื่อยๆ ยาวประมาณ 150 เมตร และสูงจากพื้นดินถึง 41 เมตร
โอ้...แม่เจ้า งานนี้ใครเป็นโรคกลัวความสูงต้องถอยไปให้ห่างๆ
จริงๆ แล้วเจ้าสะพานนี้เขาสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับงานวิจัยป่าฝนเขตร้อน ต่อมาได้เปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปไต่ท้าระทึกความสูงให้เสียวกันเล่นๆ เวลาเดินแต่ละทีจะเกิดการสั่นไหวยวบยาบๆ สร้างความตื่นเต้นดีแท้ แต่ก็ไม่ลืมที่จะทอดสายตาออกไปมองวิวที่เต็มไปด้วยสีเขียวๆ ของต้นไม้ที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น

จากท่องเที่ยวหวาดเสียวในมุมสูง ฉันก็มุ่งหน้าท้าลมในมุมต่ำ
อ๊ะ อ๊ะ..อย่าคิดลึก เพราะคราวนี้ต้องลงเรือล่องแม่น้ำ Klias เพื่อไปดูนกนานาชนิดและสัตว์ป่าที่อาศัยหากินอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำ โดยเฉพาะลิงจมูกยาว (Proboscis) ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเกาะบอร์เนียว เพราะจะพบเฉพาะในเขตป่าร้อนชื้นบนเกาะบอร์เนียว
ลิงจมูกยาว มีเอกลักษณ์อยู่ตรงจมูกแดงๆ ที่งอกยาวออกมาเป็นก้อนเนื้อย้วยๆ แถมยังมีพุงกลมๆ อีกต่างหาก คนมาเลย์เลยเรียกเจ้าลิงชนิดนี้ว่า Dutch man
ลิงพันธุ์นี้ตัวผู้เป็นใหญ่ คือใหญ่ทั้งตัว และใหญ่ทั้งอำนาจบารมี ไกด์เล่าให้ฟังเป็นความรู้ว่า ในหนึ่งฝูงจะมีตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูง 1 ตัว และบรรดาเมียๆ อีกนับสิบ เมื่อลูกตัวผู้อายุ 1 ปี จะถูกขับออกจากฝูงทันที ซึ่งบรรดาเจ้าลิงตัวผู้จะรวมเป็นแก๊งเด็กซ่า ส่งตัวที่แข็งแรงที่สุดไปชิงอำนาจเจ้าจ่าฝูง (ซึ่งก็น่าจะเป็นพ่อมันนั่นเอง) และถ้าชนะ ตำแหน่งจ่าฝูงและลิงตัวเมียก็จะตกเป็นของเจ้าลิงผู้ตัวใหม่ไปโดยปริยาย
อย่างนี้นี่เองรึเปล่าหนอ คนถึงคิดอุตริเชื่อว่าของสงวนของลิงจมูกยาวตัวผู้เป็นยาโด๊ป บำรุงสมรรถภาพทางเพศได้ ทำให้ลิงพันธุ์นี้ถูกล่าจนเกือบสูญพันธุ์ และเหลืออยู่จำนวนน้อยในป่าบอร์เนียว แต่ยังดีที่ตอนนี้มีมาตรการคุ้มครองรักษาพวกมันอยู่บ้าง อย่างน้อยที่ริมฝั่งแม่น้ำ Klias ก็ถือเป็นแหล่งอาศัยที่สมบูรณ์และปลอดภัยสำหรับพวกมัน
ตลอด 2 ชั่วโมงที่ล่องเรือนั้น จึงได้เห็นครอบครัวลิงจมูกยาวอยู่หลายครั้ง รวมทั้งลิงตัวเล็กๆ อีกหลายชนิดก็แวะเวียนมาเยี่ยมๆ มองๆ นักท่องเที่ยวอยู่บ่อยๆ เช่นเดียวกับหิ่งห้อยนับหมื่นนับแสนตัวก็ไม่สร้างความผิดหวัง ส่องแสงวิบวับๆ อยู่รอบๆ ต้นลำพู เป็นบรรยากาศสบายๆ คล้ายๆ อยู่ริมฝั่งน้ำบ้านเรา

วันต่อมาฉันก็สลัดผ้าถุงของอังศุมาลินสาวน้อยริมน้ำ เตรียมสวมหางปลากลายร่างเป็นลิตเติลเมอร์เมดเพื่อไปดำผุดดำว่ายในทะเลใสๆ ที่ “เกาะซาปี” หนึ่งในเกาะที่สวยที่สุดของเขตวนอุทยานตวนกู อับดุล ราห์มัน ปาร์ค ซึ่งห่างจากชายฝั่งเมืองโกตาคินาบาลูไปไม่มากนัก
แต่ก่อนจะไปที่เกาะซาปี เรือสปีดโบตได้จอดแวะให้นักท่องเที่ยวให้อาหารปลาที่เกาะมานูกันซึ่งอยู่ใกล้ๆ ดูแล้วปลามาเลย์ก็ไม่ได้แตกต่างไปกว่าปลาไทยบ้านเรา เพราะก็กินขนมปังแถวเหมือนๆ กัน แต่จมูกคงดีกว่า เพราะขนาดยังไม่ได้โยนอะไรให้ ก็มาตั้งแถวลอยหน้าลอยตามารอกินกันอยู่เต็ม จนหลายคนต้องรีบแบ่งปันขนมปังให้เจ้าพวกปลาที่มุมนั้นมุมนี้อย่างสนุกสนาน
จากเกาะมานูกัน นั่งเรือต่อไปเพียงไม่นานก็ไปถึงเกาะซาปี ซึ่งตามความรู้สึกของฉันแล้ว ก็นับเป็นแหล่งพักผ่อนท่องเที่ยวที่สวยพอใช้ได้ มองไปบรรยากาศก็คล้ายๆ ทะเลตะวันออกบ้านเรา มีน้ำทะเลใสสะอาด มีหาดทรายขาวๆ พอให้สาวๆ เกาหลี ญี่ปุ่น ได้อาบแดดโชว์หุ่นสวยๆ ด้วยชุดบิกินี่น่ารักๆ สร้างความตื่นเต้นทางสายตาแก่ผู้ชมเป็นระยะ
ที่ดูจะเป็นสิ่งพิเศษหน่อยก็ตรงที่มีแนวปะการังให้ดำแบบน้ำตื้นอยู่หลายจุด ส่วนใหญ่เป็นปะการังก้อนสีทึมๆ มีปลาว่ายวนเวียนอยู่ไม่กี่ชนิด แต่ถ้าออกไปลึกๆ ไกลๆ หน่อย อาจจะได้เห็นสีสันของหมู่ปลาและปะการังที่หลากหลายมากกว่า แต่ไม่ว่าสีสันความสวยงามใต้ทะเลจะมากหรือน้อยก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะฉันและชาวคณะก็ยังสามารถสนุกสนานกับการเล่นน้ำได้เป็นอย่างดี

สิ่งหนึ่งที่ฉันสังเกตเห็นตลอดการตระเวนเที่ยวไปในหลายๆ ที่ของเมืองโกตาคินาบาลู ก็คือ ที่นี่เป็นแหล่งรวมประชากรที่หลากหลาย ถามไถ่ไกด์จึงพอรู้ว่ารัฐซาบาห์นี้มีกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ มากถึง 32 กลุ่ม ทั้งที่อยู่บนภูเขา พื้นราบ และอาศัยอยู่ในเรือก็มี ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
เพื่อทำความรู้จักและเข้าใจให้มากขึ้น เราจึงไปเยือน “พิพิธภัณฑสถานแห่งรัฐซาบาห์” ซึ่งถือเป็นแหล่งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐซาบาห์ โดยจะแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นหมู่บ้านจำลองชนเผ่าพื้นเมือง กับส่วนที่จัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์

ไกด์เริ่มต้นพานำชมบ้านของแต่ละกลุ่ม ซึ่งแตกต่างกันตามวัฒนธรรมความเชื่อ รวมถึงลักษณะภูมิประเทศด้วย มีบ้านที่น่าสนใจหลายหลัง อย่างเช่น บ้านขนาดยาวของชาวรังกัส (Rungus) ที่จะสร้างบ้านเป็นห้องๆ เชื่อมต่อๆ กัน เพราะล้วนแต่เป็นลูกหลานญาติพี่น้องกัน พอนานๆ ไปบ้านก็จะยิ่งยาวเพิ่มมากขึ้นถึงขนาดว่า บ้านไปชนกับภูเขาแล้วก็ยังสร้างเลี้ยวไปตามแนวภูเขายาวไปเรื่อยๆ
ลักษณะอีกอย่างหนึ่งก็คือ หนึ่งห้องก็คือหนึ่งครอบครัว ที่ภายในห้องนั้นเป็นทั้งที่นอน ที่ทำครัว ที่กิน ที่อเนกประสงค์รวมกัน ซึ่งแต่ละครอบครัวก็จะแยกกันอยู่กินไม่ปะปนกัน แต่จะมีพื้นที่ชานหน้าบ้านร่วมกัน เพื่อร่วมทำกิจกรรมหรือพูดคุยกัน เปรียบไปแล้วห้องหนึ่งห้องก็คือหนึ่งบ้าน และบ้านยาวหลังใหญ่ ก็คือหนึ่งหมู่บ้านนั่นเอง
ส่วนบ้านขนาดยาวของชาวมารัต (Murat Longhouse) ก็เป็นบ้านยาวต่อกันเป็นห้องๆ และแยกกันอยู่เป็นครอบครัวเล็กๆ คล้ายๆ กับ Rungus Longhouse แต่จะกว้างขวางและดูทันสมัยกว่า ที่ตรงกลางชานบ้านจะมีพื้นที่สำหรับเต้นรำ มีไหขนาดใหญ่สำหรับใส่เหล้าพื้นเมือง แต่พวกเขาจะมารวมตัวกันสนุกรื่นเริงเวลามีเทศกาล หรือต้อนรับแขกผู้มาเยือน
แต่ที่ทำให้ฉันรู้สึกหวิวๆ ก็เมื่อไปเห็น กระท่อมหัวกะโหลก (skull Hut) ของชาวเผ่าพื้นเมืองกลุ่มหนึ่ง ซึ่งทุกครอบครัวจะนำข้าวมารวมกัน แล้วเอาหัวกะโหลกและกระดูกของคนในเผ่ามาแขวนเป็นเครื่องป้องกันพวกหนู แมลง สัตว์ หรือคนที่จะมาขโมยข้าว ซึ่งไม่รู้ว่าป้องกันได้จริงหรือไม่ ใครจะเอาวิธีนี้ไปใช้ก็ไม่ว่ากัน

ส่วนภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีแบบและหลังคาสร้างเลียนแบบบ้านขนาดยาวของชาวรังกัส ก็เป็นการรวบรวมประวัติความเป็นมาที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของซาบาห์ ดูแล้วก็น่าสนใจดี ได้ความรู้อีกมาก
....โกตาคินาบาลู จึงเป็นอีกหนึ่งรอยทาง ที่สร้างทั้งรอยยิ้มบนใบหน้าและรอยหยักบนสมองน้อยๆ ของฉันให้มีเพิ่มขึ้น
รอยทางที่ย่ำเดินของฉันยังอยู่ที่ “โกตาคินาบาลู” เมืองหลวงของรัฐซาบาห์ สหพันธ์รัฐมาเลเซีย
จริงๆ แล้วรัฐซาบาห์ ซึ่งมีพื้นที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว เคยมี “เมืองซานดากัน” เป็นเมืองหลวงมาก่อน จนเมื่อปี พ.ศ. 2489 ที่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา สร้างความเสียหายอย่างหนัก ทำให้กองกำลังอังกฤษต้องย้ายมาตั้งฐานทัพที่เมืองโกตาคินาบาลูแทน และได้กลายมาเป็นเมืองหลวงของรัฐแห่งใหม่ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
หลังผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองโกตาคินาบาลู หรือในชื่อเดิมสมัยอยู่ใต้ปกครองของอังกฤษว่า “เจสเซลตัน” ได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นศูนย์การพาณิชย์และท่องเที่ยวพักผ่อนที่สำคัญของมาเลเซีย เพราะความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าเขาลำเนาไพรและเกาะเล็กเกาะน้อยที่น่าสนใจอีกมาก
ด้วยเวลาที่มีเพียงไม่กี่วัน ฉันจึงต้องย่ำตะลุยท่องเที่ยวไปในหลายที่เพื่อทำความรู้จักเมืองซึ่งได้ชื่อว่า “ดินแดนใต้สายลม” (Land Below The Wind) แห่งนี้ให้มากที่สุด
ซึ่งนอกจากยอดเขาคิบาลูจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุดท้าทายสำหรับผู้ไปเยือน “อุทยานแห่งชาติคินาบาลู” แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่หลายคนยกนิ้วให้ในความรู้สึกตื่นเต้นไม่แพ้กัน นั่นก็คือ การไปเดินบน Canopy Walkway ซึ่งเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่เป็นสะพานไม้ที่ใช้ลวดสลิงขึงระหว่างต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งไปอีกต้นหนึ่งต่อกันไปเรื่อยๆ ยาวประมาณ 150 เมตร และสูงจากพื้นดินถึง 41 เมตร
โอ้...แม่เจ้า งานนี้ใครเป็นโรคกลัวความสูงต้องถอยไปให้ห่างๆ
จริงๆ แล้วเจ้าสะพานนี้เขาสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับงานวิจัยป่าฝนเขตร้อน ต่อมาได้เปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปไต่ท้าระทึกความสูงให้เสียวกันเล่นๆ เวลาเดินแต่ละทีจะเกิดการสั่นไหวยวบยาบๆ สร้างความตื่นเต้นดีแท้ แต่ก็ไม่ลืมที่จะทอดสายตาออกไปมองวิวที่เต็มไปด้วยสีเขียวๆ ของต้นไม้ที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น
จากท่องเที่ยวหวาดเสียวในมุมสูง ฉันก็มุ่งหน้าท้าลมในมุมต่ำ
อ๊ะ อ๊ะ..อย่าคิดลึก เพราะคราวนี้ต้องลงเรือล่องแม่น้ำ Klias เพื่อไปดูนกนานาชนิดและสัตว์ป่าที่อาศัยหากินอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำ โดยเฉพาะลิงจมูกยาว (Proboscis) ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเกาะบอร์เนียว เพราะจะพบเฉพาะในเขตป่าร้อนชื้นบนเกาะบอร์เนียว
ลิงจมูกยาว มีเอกลักษณ์อยู่ตรงจมูกแดงๆ ที่งอกยาวออกมาเป็นก้อนเนื้อย้วยๆ แถมยังมีพุงกลมๆ อีกต่างหาก คนมาเลย์เลยเรียกเจ้าลิงชนิดนี้ว่า Dutch man
ลิงพันธุ์นี้ตัวผู้เป็นใหญ่ คือใหญ่ทั้งตัว และใหญ่ทั้งอำนาจบารมี ไกด์เล่าให้ฟังเป็นความรู้ว่า ในหนึ่งฝูงจะมีตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูง 1 ตัว และบรรดาเมียๆ อีกนับสิบ เมื่อลูกตัวผู้อายุ 1 ปี จะถูกขับออกจากฝูงทันที ซึ่งบรรดาเจ้าลิงตัวผู้จะรวมเป็นแก๊งเด็กซ่า ส่งตัวที่แข็งแรงที่สุดไปชิงอำนาจเจ้าจ่าฝูง (ซึ่งก็น่าจะเป็นพ่อมันนั่นเอง) และถ้าชนะ ตำแหน่งจ่าฝูงและลิงตัวเมียก็จะตกเป็นของเจ้าลิงผู้ตัวใหม่ไปโดยปริยาย
อย่างนี้นี่เองรึเปล่าหนอ คนถึงคิดอุตริเชื่อว่าของสงวนของลิงจมูกยาวตัวผู้เป็นยาโด๊ป บำรุงสมรรถภาพทางเพศได้ ทำให้ลิงพันธุ์นี้ถูกล่าจนเกือบสูญพันธุ์ และเหลืออยู่จำนวนน้อยในป่าบอร์เนียว แต่ยังดีที่ตอนนี้มีมาตรการคุ้มครองรักษาพวกมันอยู่บ้าง อย่างน้อยที่ริมฝั่งแม่น้ำ Klias ก็ถือเป็นแหล่งอาศัยที่สมบูรณ์และปลอดภัยสำหรับพวกมัน
ตลอด 2 ชั่วโมงที่ล่องเรือนั้น จึงได้เห็นครอบครัวลิงจมูกยาวอยู่หลายครั้ง รวมทั้งลิงตัวเล็กๆ อีกหลายชนิดก็แวะเวียนมาเยี่ยมๆ มองๆ นักท่องเที่ยวอยู่บ่อยๆ เช่นเดียวกับหิ่งห้อยนับหมื่นนับแสนตัวก็ไม่สร้างความผิดหวัง ส่องแสงวิบวับๆ อยู่รอบๆ ต้นลำพู เป็นบรรยากาศสบายๆ คล้ายๆ อยู่ริมฝั่งน้ำบ้านเรา
วันต่อมาฉันก็สลัดผ้าถุงของอังศุมาลินสาวน้อยริมน้ำ เตรียมสวมหางปลากลายร่างเป็นลิตเติลเมอร์เมดเพื่อไปดำผุดดำว่ายในทะเลใสๆ ที่ “เกาะซาปี” หนึ่งในเกาะที่สวยที่สุดของเขตวนอุทยานตวนกู อับดุล ราห์มัน ปาร์ค ซึ่งห่างจากชายฝั่งเมืองโกตาคินาบาลูไปไม่มากนัก
แต่ก่อนจะไปที่เกาะซาปี เรือสปีดโบตได้จอดแวะให้นักท่องเที่ยวให้อาหารปลาที่เกาะมานูกันซึ่งอยู่ใกล้ๆ ดูแล้วปลามาเลย์ก็ไม่ได้แตกต่างไปกว่าปลาไทยบ้านเรา เพราะก็กินขนมปังแถวเหมือนๆ กัน แต่จมูกคงดีกว่า เพราะขนาดยังไม่ได้โยนอะไรให้ ก็มาตั้งแถวลอยหน้าลอยตามารอกินกันอยู่เต็ม จนหลายคนต้องรีบแบ่งปันขนมปังให้เจ้าพวกปลาที่มุมนั้นมุมนี้อย่างสนุกสนาน
จากเกาะมานูกัน นั่งเรือต่อไปเพียงไม่นานก็ไปถึงเกาะซาปี ซึ่งตามความรู้สึกของฉันแล้ว ก็นับเป็นแหล่งพักผ่อนท่องเที่ยวที่สวยพอใช้ได้ มองไปบรรยากาศก็คล้ายๆ ทะเลตะวันออกบ้านเรา มีน้ำทะเลใสสะอาด มีหาดทรายขาวๆ พอให้สาวๆ เกาหลี ญี่ปุ่น ได้อาบแดดโชว์หุ่นสวยๆ ด้วยชุดบิกินี่น่ารักๆ สร้างความตื่นเต้นทางสายตาแก่ผู้ชมเป็นระยะ
ที่ดูจะเป็นสิ่งพิเศษหน่อยก็ตรงที่มีแนวปะการังให้ดำแบบน้ำตื้นอยู่หลายจุด ส่วนใหญ่เป็นปะการังก้อนสีทึมๆ มีปลาว่ายวนเวียนอยู่ไม่กี่ชนิด แต่ถ้าออกไปลึกๆ ไกลๆ หน่อย อาจจะได้เห็นสีสันของหมู่ปลาและปะการังที่หลากหลายมากกว่า แต่ไม่ว่าสีสันความสวยงามใต้ทะเลจะมากหรือน้อยก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะฉันและชาวคณะก็ยังสามารถสนุกสนานกับการเล่นน้ำได้เป็นอย่างดี
สิ่งหนึ่งที่ฉันสังเกตเห็นตลอดการตระเวนเที่ยวไปในหลายๆ ที่ของเมืองโกตาคินาบาลู ก็คือ ที่นี่เป็นแหล่งรวมประชากรที่หลากหลาย ถามไถ่ไกด์จึงพอรู้ว่ารัฐซาบาห์นี้มีกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ มากถึง 32 กลุ่ม ทั้งที่อยู่บนภูเขา พื้นราบ และอาศัยอยู่ในเรือก็มี ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
เพื่อทำความรู้จักและเข้าใจให้มากขึ้น เราจึงไปเยือน “พิพิธภัณฑสถานแห่งรัฐซาบาห์” ซึ่งถือเป็นแหล่งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐซาบาห์ โดยจะแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นหมู่บ้านจำลองชนเผ่าพื้นเมือง กับส่วนที่จัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์
ไกด์เริ่มต้นพานำชมบ้านของแต่ละกลุ่ม ซึ่งแตกต่างกันตามวัฒนธรรมความเชื่อ รวมถึงลักษณะภูมิประเทศด้วย มีบ้านที่น่าสนใจหลายหลัง อย่างเช่น บ้านขนาดยาวของชาวรังกัส (Rungus) ที่จะสร้างบ้านเป็นห้องๆ เชื่อมต่อๆ กัน เพราะล้วนแต่เป็นลูกหลานญาติพี่น้องกัน พอนานๆ ไปบ้านก็จะยิ่งยาวเพิ่มมากขึ้นถึงขนาดว่า บ้านไปชนกับภูเขาแล้วก็ยังสร้างเลี้ยวไปตามแนวภูเขายาวไปเรื่อยๆ
ลักษณะอีกอย่างหนึ่งก็คือ หนึ่งห้องก็คือหนึ่งครอบครัว ที่ภายในห้องนั้นเป็นทั้งที่นอน ที่ทำครัว ที่กิน ที่อเนกประสงค์รวมกัน ซึ่งแต่ละครอบครัวก็จะแยกกันอยู่กินไม่ปะปนกัน แต่จะมีพื้นที่ชานหน้าบ้านร่วมกัน เพื่อร่วมทำกิจกรรมหรือพูดคุยกัน เปรียบไปแล้วห้องหนึ่งห้องก็คือหนึ่งบ้าน และบ้านยาวหลังใหญ่ ก็คือหนึ่งหมู่บ้านนั่นเอง
ส่วนบ้านขนาดยาวของชาวมารัต (Murat Longhouse) ก็เป็นบ้านยาวต่อกันเป็นห้องๆ และแยกกันอยู่เป็นครอบครัวเล็กๆ คล้ายๆ กับ Rungus Longhouse แต่จะกว้างขวางและดูทันสมัยกว่า ที่ตรงกลางชานบ้านจะมีพื้นที่สำหรับเต้นรำ มีไหขนาดใหญ่สำหรับใส่เหล้าพื้นเมือง แต่พวกเขาจะมารวมตัวกันสนุกรื่นเริงเวลามีเทศกาล หรือต้อนรับแขกผู้มาเยือน
แต่ที่ทำให้ฉันรู้สึกหวิวๆ ก็เมื่อไปเห็น กระท่อมหัวกะโหลก (skull Hut) ของชาวเผ่าพื้นเมืองกลุ่มหนึ่ง ซึ่งทุกครอบครัวจะนำข้าวมารวมกัน แล้วเอาหัวกะโหลกและกระดูกของคนในเผ่ามาแขวนเป็นเครื่องป้องกันพวกหนู แมลง สัตว์ หรือคนที่จะมาขโมยข้าว ซึ่งไม่รู้ว่าป้องกันได้จริงหรือไม่ ใครจะเอาวิธีนี้ไปใช้ก็ไม่ว่ากัน
ส่วนภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีแบบและหลังคาสร้างเลียนแบบบ้านขนาดยาวของชาวรังกัส ก็เป็นการรวบรวมประวัติความเป็นมาที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของซาบาห์ ดูแล้วก็น่าสนใจดี ได้ความรู้อีกมาก
....โกตาคินาบาลู จึงเป็นอีกหนึ่งรอยทาง ที่สร้างทั้งรอยยิ้มบนใบหน้าและรอยหยักบนสมองน้อยๆ ของฉันให้มีเพิ่มขึ้น
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
พิชิตเขา "คินาบาลู" มรดกโลกสูงเทียมฟ้า
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวมาเลเซีย